เว็บพลังจิต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย ฯลฯ

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด, 7 พฤษภาคม 2010.

  1. ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    3,277
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,490
    <center> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต</center></pre> <table align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>พลสูตร
    </center> [๒๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
    กำลัง คือ ปัญญา ๑ กำลัง คือ ความเพียร ๑ กำลัง คือ การงานอันไม่มี
    โทษ ๑ กำลัง คือ การสงเคราะห์ ๑ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ ปัญญาเป็นไฉน ธรรมเหล่าใดเป็น
    กุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล ธรรมเหล่าใด
    มีโทษ นับว่ามีโทษ ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดดำ
    นับว่าดำ ธรรมเหล่าใดขาว นับว่าขาว ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควร
    เสพ ธรรมเหล่าใดควรเสพ นับว่าควรเสพ ธรรมเหล่าใดไม่สามารถทำความ
    เป็นพระอริยะ นับว่าไม่สามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่าใดสามารถทำความ
    เป็นพระอริยะ นับว่าสามารถทำความเป็นพระอริยะ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรม
    อันบุคคลเห็นแจ้ง ประพฤติได้ด้วยปัญญา นี้เรียกว่ากำลัง คือ ปัญญา ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ ความเพียรเป็นไฉน ธรรมเหล่าใด
    เป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามีโทษ ธรรมเหล่าใดดำ
    นับว่าดำ ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดไม่สามารถ
    ทำความเป็นพระอริยะ นับว่าไม่สามารถทำความเป็นพระอริยะ บุคคลยังฉันทะ
    ให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อละธรรมเหล่านั้น
    ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ
    ธรรมเหล่าใดขาว นับว่าขาว ธรรมเหล่าใดควรเสพ นับว่าควรเสพ ธรรม
    เหล่าใดสามารถทำความเป็นพระอริยะ นับว่าสามารถทำความเป็นพระอริยะ บุคคล
    ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อ
    ได้ธรรมเหล่านั้น นี้เรียกว่ากำลัง คือ ความเพียร ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ การงานอันไม่มีโทษเป็นไฉน อริยสาวก
    ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันหาโทษ
    มิได้ นี้เรียกว่ากำลัง คือ การงานอันไม่มีโทษ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ การสงเคราะห์เป็นไฉน สังคหวัตถุ ๔
    ประการนี้ คือ ทาน ๑ เปยยวัชชะ ๑ อัตถจริยา ๑ สมานัตตตา ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้
    ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก การชักชวนคน
    ผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา ชักชวนผู้ทุศีลให้ตั้งมั่นดำรงอยู่
    ในศีลสัมปทา ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา ชักชวนผู้มี
    ปัญญาทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์
    ทั้งหลาย


    พระโสดาบันมีตนเสมอกับพระโสดาบัน พระสกทาคามีมีตนเสมอกับ
    พระสกทาคามี พระอนาคามีมีตนเสมอกับพระอนาคามี พระอรหันต์มีตนเสมอกับ
    พระอรหันต์ นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอทั้งหลาย นี้เรียกว่ากำลัง คือ การ
    สงเคราะห์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้แล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล ย่อม
    ก้าวล่วงภัย ๕ ประการ ภัย ๕ ประการเป็นไฉน คือ อาชีวิตภัย ๑ อสิโลกภัย ๑
    ปริสสารัชภัย ๑ มรณภัย ๑ ทุคติภัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นแล
    พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราไม่กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต ไฉนเราจักกลัวต่อภัยอัน
    เนื่องด้วยชีวิตเล่า เรามีกำลัง ๔ ประการ คือ กำลังปัญญา กำลังความเพียร
    กำลังการงานอันไม่มีโทษ กำลังการสงเคราะห์ คนที่มีปัญญาทรามแล จึงกลัว
    ต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต คนเกียจคร้านจึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต คือ กลัว
    ต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิตเพราะการงานทางกาย ทางวาจาและทางใจที่มีโทษ คนที่
    ไม่สงเคราะห์ใครก็กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต เราไม่กลัวต่อภัย คือ การ
    ติเตียน ฯลฯ เราไม่กลัวต่อภัยคือการสะทกสะท้านในบริษัท ... เราไม่กลัวต่อภัย
    คือความตาย ... เราไม่กลัวต่อภัยคือทุคติ ไฉนเราจักกลัวต่อภัย คือ ทุคติเล่า
    เพราะเรามีกำลัง ๔ ประการ คือ กำลังปัญญา กำลังความเพียร กำลังการงาน
    อันไม่มีโทษ กำลังการสงเคราะห์ คนที่มีปัญญาทรามแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ
    คนเกียจคร้านแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ คือ กลัวต่อภัยคือทุคติเพราะการงาน
    ทางกาย ทางวาจา และทางใจที่มีโทษ คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร ก็กลัวภัยคือทุคติ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล ย่อมก้าวล่วง
    ภัย ๕ ประการนี้ ฯ
    <center>
    จบสูตรที่ ๕
    </center></pre>
     
  2. ผู้ชม

    ผู้ชม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +7
    ขออนุญาติ แนะนำเวปไซท์ครับ

    ขออนุญาติ แนะนำ เวป ธรรมะ น่าสนใจครับ

    :::
     
  3. วงบุญพิเศษ

    วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    ขออนุโมทนาสาธุการครับ

    ปัญญาบารมีนี้แล ทำให้เรารอดตราบกระทั่งถึงพระนิพพาน
     
  4. watfahuannuea

    watfahuannuea เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2012
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +595
    อนุโมทนา สาธุ

    ขอความเจริญในธรรมอันประเสริฐ จนกว่าทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งปวงทุกคนทุกท่าน.....
     
  5. dontri

    dontri สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2010
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +42
    ได้บริจาคร่วมบุญสร้างพระไตรปิฎกเว็บ..k.Natthapha.. bbk1347020149 วันที่28/10/14 เวลา16.04 ..100 บาทครับ...4
     

แชร์หน้านี้

Loading...