พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. Pinkcivil

    Pinkcivil เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    425
    ค่าพลัง:
    +1,644
    เห็นด้วยครับ เอาจริงเดี่ยวหาโรงพิมพ์ให้ได้ครับ:cool:
     
  2. kongpak

    kongpak เลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคต ถึงที่สุดโดยส่วนเดียว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2009
    โพสต์:
    802
    ค่าพลัง:
    +6,118
    ยาตำราหลวงสิครับ

    ผลิตโดยองค์การเภสัช ดังนั้นคุณภาพเชื่อถือได้ และครอบคลุมโรคพื้นฐานและอาการบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆ ควรเป็นชุดใหญ่นะครับจะได้ชนิดของยามากกว่าชุดเล็ก
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ต้องเอาจริงครับ

    เนื้อหาจะมีเพียง บทขอขมาพระรัตนตรัย , การไหว้ 5 ครั้ง ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ญาณวรเถระ) วัดเทพศิรินทร์ และบทกรวดน้ำเท่านี้ครับ

    เริ่มตั้งแต่ ชื่อที่หน้าปก ควรเป็นชื่ออะไร

    เรื่องชื่อเท่าที่คิดในตอนนี้ คือ การไหว้ 5 ครั้ง ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ญาณวรเถระ) วัดเทพศิรินทร์ และบทกรวดน้ำ

    สำหรับชื่อ ผมขอความเห็นด้วยครับ

    ส่วนเรื่องเงิน ผมเตรียมไว้ 10,000 บาทครับ

    และสิ่งที่สำคัญก็คือ ผมมายืนยันด้วยชีวิตผมว่า หากผู้ใดที่สวดการไหว้ 5 ครั้ง ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ญาณวรเถระ) วัดเทพศิรินทร์ทุกวันโดยไม่ขาด ผู้นั้นจะเจริญเหมือนชื่อของท่านครับ


    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ส่วนรูปด้านหน้า หากมีรูปคณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร(คณะโสณะ-อุตระ) ในเล่มน่าจะมีประวัติของหลวงปู่โดยย่อๆ ซึ่งประวัติของหลวงปู่ฯ ผมเองก็ต้องไปขออนุญาตท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร

    แต่หากรูปด้านหน้าเป็นรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ) ก็ไม่ต้องครับ รูปบนเว็บน่าจะมีเยอะครับ


    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมว่าจะโทร.ไปหาน้องหมอ(อยู่ที่ศิริราช) ครับ

    ครั้งที่แล้ว ก็ให้น้องหมอช่วยซื้อให้

    หากว่าโทร.แล้วไม่ติด หรือ ไม่ได้รับสาย เนื่องจากน้องหมอเรียนหนัก ก็อาจจะไปซื้อเอง

    ก็น่าจะเป็นยาที่ผลิตโดยองค์การเภสัชครับ

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องของยาที่จะจัดซื้อถวาย เท่าที่คุณแด๋นส่งมาให้ ตามนี้ครับ

    ยาของพระอาจารย์

    1 ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด

    2 ยาแก้ท้องเสีย ผงเกลือแร่

    3. ยาบรรเทาปวด ลดไข้

    (3.1) ยาน้ำบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอล
    (3.2) พลาสเตอร์บรรเทาปวด

    4 ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก
    (4.1) ยาเม็ดแก้แพ้ ลดน้ำมูก

    5 ยาแก้ไอ ขับเสมหะ

    6 ยาดมหรือทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก

    7 ยาแก้เมารถ เมาเรือ

    8.ยาสำหรับเด็ก เช่นแก้ไข้ แก้ไอ ท้องเสีย

    9 ยาสำหรับโรคปากและลำคอ
    (9.1) ยาแก้ปวดฟัน
    (9.2) ยาอมบรรเทาอาการเจ็บคอ

    10 ยาใส่แผล ล้างแผล
    (10.1) ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไอโอดีน
    (10.2) ยาเอทิล แอลกอฮอล์
    (10.3) น้ำเกลือล้างแผล

    11 ยารักษาแผลติดเชื้อ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    (11.1) ยารักษาแผลน้ำร้อนลวก
    (11.2) ยารักษาแผลติดเชื้อ

    12 ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย

    13 ยาสำหรับโรคผิวหนัง
    (13.1) ยาทาแก้ผดผื่นคัน
    (13.2) ยารักษากลากเกลื้อน
    (13.3) ยารักษาเกลื้อน


    ยาของพระอาจารย์นิล

    ยาประสะกระเพรา
    ยาเม็ดมะขามป้อม
    ยาน้ำมะขามป้อม
    ยาขมิ้นชัน
    ยาจันทลีลา
    ชุดยาแก้หวัด 2009
    ยาทาแก้แพ้ผดผื่นคัน
    ว่านหางจระเข้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
    ยาทาแก้เชื้อรา


    สำหรับท่านใดมีความเห็นเพิ่มเติม หรือมีความเห็นอย่างไร รบกวนเสนอแนะความคิดด้วยนะครับ

    โมทนาสาธุครับ


    .
     
  7. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 5 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 3 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>psombat, sithiphong+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สวัสดีครับพี่ เช้านี้คับคั่งจัง หุหุ
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>คนกรุงเตรียมใจรับเมืองใต้บาดาล ทาง 2 แพร่งอนาคตกรุงเทพฯย้ายเมืองหลวง - สร้างเขื่อนยักษ์</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>28 ตุลาคม 2553 08:19 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> - กทม.รับไม่ถึง 10 ปีมหานครกรุงเทพฯจมน้ำ
    - บางขุนเทียนรูโหว่ใหญ่น้ำทะเลทะลักท่วมทุกเขต
    - เผยเบื้องลึกไทยยังไร้โรดแมปแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
    - ภัยน้ำจะรุนแรงขึ้นทุกปีเดือดร้อนทั้งประเทศ

    คำทำนายทั้งจากหมอดูและนักวิชาการ ที่ออกมาระบุว่า กรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศไทยจะจมน้ำภายใน 10 ปี กำลังจะเป็นความจริงแล้ว ล่าสุด “นายพรเทพ เตชะไพบูลย์” รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์”และยอมรับว่า เรื่องนี้เป็นความจริง!

    ก่อนหน้านี้สถาบันเวิลด์วอทช์ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ศึกษาวิจัยด้านสภาพแวดล้อมทั่วโลก พบว่า เมืองชายฝั่งทะเล 21 แห่งจากทั้งหมด 33 แห่งทั่วโลก กำลังเผชิญกับอันตรายจากระดับ น้ำทะเลที่สูงขึ้นและพิบัติภัย โดยเฉพาะเมืองใหญ่ ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งกรุงเทพมหานคร ติดโผเมืองใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูง คือ ระดับ 5 ที่จะเกิดภัยธรรมชาติ เนื่องจากภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม และเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน

    ข้อมูลดังกล่าวนี้ได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการชื่อดังไม่ว่าจะเป็น “สมิทธ ธรรมสโรช” ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ , “ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา” นักวิทยาศาสตร์, “ พิจิตต รัตตกุล” ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center-ADPC ) และนักวิชาการอีกหลายท่าน ซึ่งทุกคนเห็นพ้องและพยากรณ์ตรงกันว่าอีกไม่เกิน 10 ปีเมืองหลวงของประเทศไทยจะกลายเป็น “มหานครใต้บาดาล”

    “ทั้งหมดเป็นสิ่งที่คาดการณ์ แต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันกับเรา ก็อยู่ที่ว่า มันจะเป็น 10 ปีกว่ามันจะจมหรือมากกว่านี้ ตอนนี้เรายังไม่เห็นภาพชัดเจน เพราะเราดูดน้ำออกมาได้ตลอด และเรายังมี คิงไซส์ หรือ แนวกันน้ำ ระดับ 2.50 เมตรรองรับอยู่” พรเทพ บอก

    รายงานจาก กทม.ระบุว่า ปัจจุบันที่ดินครึ่งหนึ่งในกรุงเทพฯ อยู่ใต้ระดับน้ำทะเล และอีกครึ่งหนึ่งอยู่ในลักษณะที่ปริ่มน้ำ ซึ่งพรเทพ ระบุว่า สาเหตุหลักของเรื่องนี้มาจาก 2 ปัจจัยหลัก นั่นคือ การทรุดตัวลงของดินในกรุงเทพฯ ปีละ 2 ซม.เนื่องจากการดูดน้ำบาดาลไปใช้ไม่ต่ำกว่าพันบ่อต่อวัน และระดับน้าทะเลที่เพิ่มขึ้นปีละ 1 ซม. ทั้งหมดนี้ก็รวมเป็น 3 เซนติเมตร ซึ่งเป็นอัตราปรกติ

    แต่สิ่งที่น่าวิตกก็คือ ข้อมูลที่รองผู้ว่าฯ กทม.ที่ดูแลเกี่ยวกับการป้องกัน และ แก้ปัญหาน้ำท่วมเปิดเผยมาตรงๆ ว่า ความเชื่อที่ว่า แนวกันน้ำจะป้องกันน้ำไหลบ่าจะสามารถรองรับไปได้อีก 20 ปีนั้นเป็นข้อมูลที่ล้าสมัยไปแล้ว

    “จากภาวะโลกร้อน ได้กลายเป็นตัวเร่งให้ระดับน้ำเพิ่มมากขึ้น 40% ยกตัวอย่าง เดิมที่เราคาดว่ากันว่า ฝนจะตกในเดือนนี้ 180 มิลลิเมตร แต่ความจริงตกถึง 210 มิลลิเมตร หรือทั้งปีน่าจะตกแค่ 1,400 มิลลิเมตร แต่วันนี้มันตก 1,800 มิลลิเมตร มันทำให้ผมเป็นห่วงแนวกั้นน้ำ อย่าว่า 20 ปีเลย แค่ 10 ปีจะรองรับถึงหรือเปล่า เพราะระดับน้ำขึ้นไปอยู่ที่ 2.20 เมตรแล้ว”

    บางขุนเทียน
    รูโหว่น้ำทะลัก

    รองผู้ว่าฯ กทม. ชี้ว่า ช่องโหว่ที่จะทำให้กรุงเทพฯกลายเป็นนครใต้บาดาล ก็คือ “บางขุนเทียน” ซึ่งมีการกัดเซาะจากน้ำทะเลไปรวดเร็วเกินกว่าที่คาดคิดไว้

    “คุณเชื่อไหม วันนี้น้ำทะเลกัดเซาะแผ่นดินไปกว่า 300 ตร.กม.แล้ว และเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าเราพยายามจะรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ คือ การคืนสภาพป่าชายเลนแต่ก็ไม่ได้ผล”

    พรเทพ บอกว่า ปัญหาใหญ่และอุปสรรคสำคัญที่เขาประสบในการสกัดกั้นการรุกคืบของน้ำทะเลจากอ่าวไทยก็คือ เอ็นจีโอและกลุ่มคนที่มีแนวคิดอนุรักษ์ธรรมชาติ เขาเปิดเผยว่า กลุ่มคนเหล่านี้ไม่เห็นด้วยกับแนวทางหรือเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะหยุดการไหลบ่าจากน้ำทะเล ไม่ว่าจะเป็นการทำคิงไซส์ การสร้างเขื่อน หรือวิธีอื่นๆ เพราะมองว่าจะไปทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ

    ...และวิธีเดียวที่เอ็นจีโอเหล่านี้เห็นด้วย ก็คือ การทิ้งวัสดุที่เหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็น หิน ยาง หรือ เอาเสาไปปัก เพื่อทำให้เกิดการสะสมของดินตะกอน ซึ่งนำไปสู่การเกิดขึ้นของป่าชายเลน

    “วิธีเหล่านี้ก็พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผล เพราะเรามาทำตั้งแต่ปี 2523 แต่ก็หยุดการเพิ่มของระดับน้ำไม่ได้ เพราะสู้ธรรมชาติไม่ไหว ถ้าเราจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ก็ต้องย้ายเมืองหลวง เอามั้ย หรือไม่ ก็สร้างเขื่อนมี 2 ทางเลือก ถ้าไม่ทำทุ่งครุ และกรุงเทพฯ จะอยู่ใต้น้ำแน่นอน” เขาระบาย

    จับตาฮอลแลนด์โมเดล

    พรเทพ บอกว่า โมเดลของประเทศฮอลแลนด์ ที่จัดการกับปัญหาระดับน้ำทะเลเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดในขณะนี้ เพราะประเทศฮอลแลนด์เป็นประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่ประชาชนก็ไม่เดือดร้อน

    “ผมเพิ่งไปฮอลแลนด์มา ในที่สุดเขาก็ต้องสร้างเขื่อนขึ้นมากั้นเลย แล้วทำสถาบันสัตว์น้ำ จะเพาะปลา ปู ป่าโกงกางก็ทำไป เพราะถ้าใช้วิธีเดิมยังไงก็สู้ธรรมชาติไม่ได้ ไม่ว่าจะทุ่มเงินไปกี่หมื่นล้านบาทก็ตาม นักอนุรักษ์ควรปรับเปลี่ยนวิธีคิด ถ้าต้องการรักษาชีวิตคน รักษาบ้านคน ก็ต้องทำเขื่อนกั้นน้ำขึ้นมา”

    แนวคิดโดยส่วนตัวของพรเทพนั้น เขาต้องการสร้างเขื่อนยักษ์แนวปากน้ำ ตั้งแต่บางขุนเทียน ปากน้ำ ไปจรดสมุทรปราการ ซึ่งจะมีความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้งบประมาณหลายหมื่นล้านบาท โดยรัฐจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ

    “ประเทศฮอลแลนด์ ยังทำเขื่อนทั้งประเทศ ทำเป็นภูเขากั้นน้ำขึ้นมาเลย ต่ไม่แนในอนาคตอาจจะมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ขึ้นมาที่ดีกว่านี้ก็ได้”

    ทั้งนี้ แนวคิดการสร้างเขื่อนยักษ์ของพรเทพนี้ ได้มีการถกเถียงและประชุมหลายครั้ง โดยมีคณะกรรมาธิการหลายชุดจากสภากรุงเทพมหานคร และมีหลายโปรเจกต์แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเท่าใดนัก

    อย่างไรก็ตาม พรเทพ กล่าวเพิ่มเติมว่า การป้องกันน้ำท่วมไม่เพียงการสร้างเขื่อนเท่านั้น แต่ก ทม.กำลังการวางผังเมืองใหม่ที่กำลังจะประกาศใช้ในปีหน้า ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ

    “ผังเมืองใหม่ที่อยู่ระหว่างจัดทำนี้ จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่ทั้งหมดว่า เราจะหนีน้ำท่วม ฝนตกได้อย่างไร จะมีแหล่งรับน้ำอย่างไร จะมีควบคุมการเจริญเติบโตอย่างไร ที่สำคัญผังเมืองใหม่จะช่วยเรื่องโลกร้อน เรื่องฝนตก เรื่องน้ำท่วมขัง ตรงไหนสูงต่ำ เราจะจำกัดความเจริญอย่างไรไม่ให้กั้นทางน้ำไหล คาดว่า เดือนพฤษภาคมปีหน้านี้จะประกาศใช้ได้”

    ด้าน “รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์” กรรมการภูมิศาสตร์โลก และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้กับ “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์” ว่า รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีสร้างคันกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำทะเลหนุน โดยสามารถเลือกสร้างได้ทั้งคันดินสีเขียวเพื่อปลูกต้นไม้ หรือสร้างคันเป็นถนนสำหรับรถวิ่งลักษณะเดียวกับประเทศเวียดนามที่ก่อสร้างไปแล้วเป็นระยะทาง 30 กิโลเมตร

    ถ้าจะให้รถวิ่งได้ ประเด็นคันดินต้องกั้นน้ำทะเล พอเราถมคันดินแล้วต้องมีป่าชายเลน การออกแบบก็แล้วแต่ หลายวัตถุประสงค์ คาดว่างบประมาณที่ใช้จะอยู่ที่หลักหมื่นล้านบาท ทั้งนี้ไม่ได้รวมค่าเวนคืน ค่าก่อสร้าง 80 กม. บางขุนเทียน สมุทรปราการ ถึงสมุทรสงคราม

    ส่วนทางออก สำหรับน้ำเหนือ ต้องหาพื้นที่ให้น้ำอยู่ เป็นที่พักน้ำ ในบริเวณแถวภาคกลาง ไม่สามารถสร้างเขื่อน ระดับน้ำทะเล อาจจะต้องหาพื้นที่สร้างเขื่อนดินเป็นต้น ประสบการณ์จากเนเธอร์แลนด์ นั้นจะเป็นในลักษณะป้องกันต้องทำคันดินยกสูงขึ้นมา 5 เมตร พื้นที่ไหนที่เหมาะก็ทำคันดินไม่ให้น้ำทะเลเข้ามา

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=500>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    Weekly - Manager Online -
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สร้างเขื่อนปิดปากอ่าวไทย

    ขณะที่ สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ให้มุมมองถึงการรับมือกับสภาวการณ์น้ำท่วมบริเวณที่ลุ่มตามชายฝั่งทะเลของประเทศไทย รวมทั้งพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลว่า การสร้างเขื่อนปิดปากอ่าวเป็นวิธีที่ดีที่สุด รูปแบบต้องเป็นเขื่อนคอนกรีตสูงประมาณ 5 เมตรยาวประมาณ 100-200 กิโลเมตร ตั้งแต่นนทบุรีไปถึงปากคลองประปา เพราะน้ำทะเลจะหนุนไปถึงคลองประปา

    ควรสร้างวิ่งเลียบแม่น้ำเจ้าพระยามาตลอดไปถึงสมุทรปราการ อ้อมไปถึงบางปะกง ส่วนอีกด้านหนึ่ง สร้างจากฝั่งธนบุรี อ้อมมาถึงพระประแดง ไปสมุทรสาคร สมุทรสงคราม หากทำเขื่อนคอนกรีต รถจะสามารถวิ่งบนเขื่อนได้ รวมทั้งตรงปากแม่น้ำทำทางให้เรือสามารถลอดผ่านได้ มีช่องทางระบายน้ำ ซึ่งจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1 แสนล้าน-2 แสนล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นเขื่อนรูปแบบใด

    การสร้างเขื่อนในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ อาทิ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ ที่สำคัญการสร้างเขื่อนในลักษณะเช่นนี้ จะมีที่เก็บน้ำในลักษณะของแก้มลิงตามแนวพระ ราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะเป็นที่เก็บน้ำ สำรองไว้ใช้ในงานเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอยู่ระหว่างชายฝั่งกับแนวเขื่อน

    “ในขณะนี้ที่ประเทศสิงคโปร์ยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก โดยคณะวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์สัตว์น้ำเขตร้อนชื้นของ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ จะใช้เวลาในช่วง 2 ปีข้างหน้าศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลก พร้อมตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังไปในปี 2503 เพื่อศึกษาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะนี้มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินการแล้ว”

    ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติกล่าวต่อว่า หากสร้างเขื่อนที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีความคดเคี้ยว จะทำให้ระยะทางของเขื่อนมีความยาวมากและมีการก่อสร้างที่ลำบาก เพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินเลน แต่การก่อสร้างเขื่อนบริเวณปากอ่าวไทยจะทำได้ง่าย กว่า เนื่องจากลักษณะของพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นดินทราย สามารถตอกเสาเข็มลงไปได้ ทำให้เขื่อนมีความแข็งแรงทนทาน

    เขื่อนนี้นอกจากจะเป็นการกั้นน้ำทะเลไม่ให้ไหลเข้ามาแล้ว ยังสามารถใช้เป็นเส้นทางสัญจรได้อีกด้วย โดยรถที่วิ่งมา จากด้านตะวันออกต้องการลง ภาคใต้จะไม่ต้องเข้ากรุงเทพฯ สามารถวิ่งข้ามเขื่อนเพื่อเดินทางลงใต้ได้เลย เป็นการย่นระยะเวลาในการเดินทางได้ประมาณ 100 กิโลเมตร

    การสร้างเขื่อนปิดปากอ่าวจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตั้งรับ สามารถจะป้องกันน้ำท่วมในหลาย ๆ จังหวัดได้ ตั้งแต่จังหวัดสมุทร ปราการ สมุทรสาคร สมุทร สงคราม ไปจนถึงบางปะกง ถ้ามีการสร้างกั้นเฉพาะกรุงเทพฯ ก็จะไปท่วม จ.สมุทรปราการไปจนถึงบางปะกง จากนั้นน้ำก็จะไหลย้อนกลับมาเกิดเป็นปัญหาเดิม ๆ เกิดขึ้นอีก

    “ถ้ามีการกั้นน้ำที่ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้สูงขึ้นจะไม่สามารถป้องกันได้อย่างถาวร เพราะน้ำจะไปท่วมฝั่งธนบุรี พระประแดงแทน แล้วไหลย้อนกลับมา รวมทั้งการสร้างเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้สูงขึ้นจะบดบังทัศนียภาพของโรงแรมและ บ้านเรือนของประชาชน ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นได้ และต้องเวนคืนที่ดินอีกด้วย”

    ชี้จมนาน 2 เดือน
    แถมคนกรุงขาดน้ำจืด

    หลายคนตั้งคำถามว่าทำไมไม่ย้ายเมือง เพราะการย้ายเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล และเวลานานมาก เนื่องจากในกรุงเทพฯ มีโบราณสถาน และสถานที่สำคัญอยู่เป็นจำนวนมาก การจะย้ายวัดพระแก้ว วัดโพธิ์ วัดสุทัศน์ สถานศึกษา มหาวิทยา ลัยจะย้ายไปตั้งไว้ที่ใด หากมีการทำกำแพงกั้นโบราณสถาน สถานที่ราชการ โรงเรียน โรง แรม โรงพยาบาล ก็ไม่สามารถดำเนินการได้โดยง่าย และภูมิทัศน์ไม่สวยงาม ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาน้ำท่วมแบบยั่งยืนที่นักวิชาการหลายคนเห็นตรงกันก็คือ “ต้องสร้างเขื่อน”

    ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวเตือนว่า หากไม่เร่งทำตอนนี้ ปล่อยรอให้ใกล้ ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุน เข้ามาสูงขึ้นเรื่อย ๆ จะสร้างไม่ทันและความเสียหายจะเกิดขึ้นได้ในพื้นที่กรุงเทพฯ ระบบ เศรษฐกิจจะหยุดชะงักหมด กรุงเทพฯจะค่อยๆ จมน้ำไปเรื่อย อีกทั้งน้ำจืดก็จะไม่มีกิน เพราะน้ำทะเลจะหนุนเข้าไปในคลองประปา ทำให้น้ำประปามีรสเค็มกลายเป็นน้ำกร่อย ผู้คนเป็นล้านจะไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้ เวลาน้ำเหนือลงมาปะทะกับน้ำทะเลที่ท่วมอยู่แล้วก็จะยิ่งไปกันใหญ่ ซึ่งอาจจะท่วมมากกว่า 2-3 เมตร ก็เป็นได้

    “อยากให้รัฐบาลพิจารณาเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบกับคนหลายสิบล้านคน อย่าวางใจ ชะล่าใจ ต้องรอให้เกิดวิกฤต ก่อนแล้วจึงคิดแก้ไข รัฐจะต้องมีนโยบายเป็นโครงการระดับชาติ มีการดำเนินการต่อเนื่องกันในหลายๆ รัฐบาล เพราะการสร้างเขื่อนต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 5-8 ปี”

    รศ.ดร.เสรี กรรมการภูมิศาสตร์โลก และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวเสริมว่า ก่อนหน้านี้ธนาคารโลกเคยนำเสนอปัญหาดังกล่าวต่อรัฐบาลไทยแล้ว เพราะที่ประชุมคณะกรรมการภูมิศาสตร์โลกมองว่ามีความเสี่ยงสูง แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือ ความนิ่งเฉยของรัฐบาลไทย ทั้งนี้เราไม่สามารถรู้ได้ว่าน้ำจะท่วมเมื่อใด

    หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงคาดว่าระดับน้ำที่ท่วมจะสูงถึง 1-2.5 เมตร สูงต่ำตามระดับพื้นดิน โดยจะรุนแรงมากในพื้นที่ฝั่งตะวันตก ฝั่งธนบุรี เขตคลองเตยจนถึงบางแค สำหรับฝั่งพระนครจะท่วมถึงบริเวณสวนหลวง ร.9 เพราะฉะนั้นประชาชนชาวกรุงเทพฯ ควรเรียกร้องให้รัฐบาลและเขตการปกครองท้องถิ่นตระหนักถึงปัญหาตรงจุดนี้ เพื่อเร่งสร้างคันกั้นน้ำให้เร็วที่สุดเพราะการก่อสร้างต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี หากเราลงมือทำกันจริงๆ วันนี้ก็ยังแก้ปัญหาทันอยู่ เพียงแต่เรายังไม่เริ่มเท่านั้น

    “โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าหากไม่ทำอะไรเลยไม่ถึง 10 ปีกรุงเทพฯ จมน้ำแน่นอน และถ้าจมน้ำไม่ใช่แค่ 3-4 วันแต่จะเป็นเดือนถึงสองเดือนด้วยซ้ำ แต่ปีนี้คิดว่ากรุงเทพฯ ไม่ได้รับผลกระทบมาก เพราะเขื่อนดินที่อ่างทาง อยุทธา สิงหบุรี มันแตกหมดแล้ว น้ำเลยไหลเข้าทุ่ง คนกรุงเทพฯ เลยรับอานิสงส์ เพราะปริมาณน้ำจะผ่านไหลเข้าทุ่งไปหมด”

    ไทยไร้กรอบชัดเจน
    แก้ไขปัญหา “น้ำ”

    จากสถานการณ์น้ำท่วมที่ทวีความรุนแรงขึ้นและกระจายไปในหลายจังหวัดของประเทศนั้น แม้ที่ผ่านมาจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาและหาแนวทางป้องกันต่างๆ แต่ก็ยังไม่มีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจนและไม่มีใครกำหนดการทำงานที่ชัดเจน

    “ประเทศไทยขาดความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำตลอดมา” เป็นคำกล่าวของ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการอุทกภัย ซึ่งในความเป็นจริงนั้นแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต่างก็มีแผนแต่ไม่เคยนำมาเชื่อมโยงกันออกมาเป็นแผนรองรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาว

    ในภาพใหญ่ของการแก้ไขปัญหาในระยะยาว อภิรักษ์ กล่าวว่าแผนระยะยาวต้องพิจารณาใน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบทั้งประเทศ 2.การทำเรื่องของโครงการแก้มลิง เพื่อรับสถานการณ์ในช่วงน้ำมาก 3.การดูแลและติดตามเรื่องของปัญหาโลกร้อน เรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ ป่าต้นน้ำ และ 4.การเข้มงวดเรื่องของการวางผังเมือง

    ทั้งนี้ ในส่วนของกรุงเทพฯ กรมทรัพยากรธรณีและธรรมชาติ กรมชลประทาน และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องมาสำรวจหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ เกี่ยวกับน้ำที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบบนมาตรการที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปลูกป่าชายเลนเพิ่ม การสร้างแนวกั้นน้ำในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ รวมถึงเรื่องการจัดระเบียบใหม่ของผังเมือง เนื่องจากที่ผ่านมามีการละเมิดกฎข้อห้ามของผังเมืองในจุดพื้นที่รับน้ำ จนทำให้ปิดกั้นเส้นทางน้ำไหล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโซนด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ

    “ต่อไปนี้ทุกหน่วยงานต้องลงมาดูในภาพรวมทั้งหมดรวมกันเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาในระดับชาติไม่ใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น”

    สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันนี้ทางศูนย์ฯ ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นจะเป็นเสมือนจุดที่จะประสานการทำงานกับทุกๆ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นกรมชลประทาน กรมการป้องกันภัย ตัวแทนภาคเอกชนและภาคประชาชน โดยจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละภาคส่วนเข้ามาในจุดนี้ นอกจากนี้จะมีการปรับหมายเลข 1111 ให้ใช้สำหรับการโทร.แจ้งเหตุ ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับน้ำท่วม มีการเปิดเบอร์ SMS 4567891 และจะมีการเชื่อมโยงเครือข่ายออนไลน์เว็บไซต์ www.pm.co.th/flood กับเว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูล ข่าวนํ้าท่วม ดู ข่าวน้ำท่วม ล่าสุด ร่วมแรง ส่งใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่นี่ - ของเครือข่ายอาสาสมัครภาคประชาชน รวมถึงการประสานงานกับสื่อมวลชนทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ ในการให้ข้อมูลความเดือดร้อนของประชาชน

    สิ่งที่รัฐบาลต้องการมากที่สุดคือเรื่องข้อมูลที่แม่นยำถูกต้องรวดเร็ว เนื่องจากต้องการที่จะแจ้งเดือนภัยให้กับประชาชนได้ระวังตัวและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ได้ล่วงหน้า

    อภิรักษ์ ระบุถึงสถานการณ์ขณะนี้ทางศูนย์ได้แบ่งออกเป็น 3 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล และลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยมีจังหวัดที่ประสบอุทกภัยทั้งหมด 25 จังหวัด แบ่งเป็นภาคกลาง 10 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ภาคเหนือ 5 จังหวัด และภาคตะวันออก 3 จังหวัด มีจำนวนครัวเรือนที่ได้รับความเดือดร้อนแล้วมากกว่า 8 แสนครัวเรือน มีผู้ที่เดือดร้อนรวมมากกว่า 2,500,000 ราย

    ปัญหาใหญ่ในขณะนี้คือการเฝ้าจับตาสถานการณ์เพื่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง เนื่องจากหากไม่มีฝนตกหนักมาในช่วงนี้เพิ่ม และมีการควบคุมการปล่อยน้ำจากเขื่อนต่างๆ โดยกรมชลประทาน เชื่อว่าสถานการณ์น้ำท่วมในแต่ละพื้นที่จะดีขึ้น แต่ก็ยังมีจุดที่ต้องอาจมีความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ว่าจะเป็นอยุธยา ปทุมธานี ลพบุรี นนทบุรี รวมทั้งพื้นที่ของกรุงเทพฯ ที่จะมีวันที่จะต้องเฝ้าระวังมากที่สุดอีกหนึ่งวันคือวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 ที่จะถึงนี้ด้วย

    ในหลวงรับสั่งหน่วยงาน
    ต้องคิดแก้ปัญหาตรงกันก่อน

    จากปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้น ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) กล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับสั่งผ่าน ดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการสำนักพระราชวัง ว่าเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นครั้งนี้ เพราะฝนมากและตกผิดที่ผิดเวลา รวมทั้งตกลงมาพร้อมกันทั้งเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน และในทุกพื้นที่ที่เคยเป็นที่รับน้ำหรือแก้มลิงก็มีปริมาณน้ำฝนตกค้างในพื้นที่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ระบายน้ำทำได้ลำบากกว่าทุกปี

    นอกจากนี้การสั่งการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของรัฐบาลยังทำได้ไม่เต็มที่ในระดับนโยบาย การสั่งงานเป็นไปแบบกระจัดกระจายไม่มีการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ใดอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการสั่งการลงไปในระดับท้องถิ่นที่ยังมีปัญหาความต่อเนื่องของข้อมูลจากต้นสังกัด

    ดร.รอยล กล่าวว่านายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ควรจะตั้งทีมเฉพาะกิจระดับชาติที่มีทุกหน่วยงานมาบูรณาการเรื่องการตั้งรับและระบายน้ำออกจากพื้นที่หลักให้ทันท่วงทีมากขึ้น เพราะปริมาณน้ำจำนวนมากต้องมีเจ้าภาพหลักในการสั่งการตลอดเวลา

    ทักษิณเสนอแนวคิด
    แก้ปัญหาน้ำท่วม

    คณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยซึ่งหนักหน่วงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา โดยได้ส่งจดหมายเปิดผนึกซึ่งเขียนด้วยลายมือ พ.ต.ท.ทักษิณ ลงวันที่ 26 ต.ค. ถึง ส.ส.และว่า ที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทย เนื้อหาว่า หลังจากฝากนโยบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจไปให้ท่านเผยแพร่กับพี่น้องประชาชนไปแล้ว 3 ข้อ เข้าใจว่า ยังวิพากษ์วิจารณ์กันพอสมควร ผมขอยืนยันว่าผมให้ทีมิดและคำนวณดูแล้วทำได้อย่างแน่นอน มีงบประมาณข้อที่ผมยังไม่เปิดเผยเพราะกลัวการลอกเลียนแบบผิดๆ

    พ.ต.ท.ทักษิณ ยังระบุว่า “วันนี้ ผมอยู่บนเครื่องบินและทราบข่าวน้ำท่วมบ้านเราเสียหายและเดือดร้อนกันมากมายรวมทั้งมีผู้เสียชีวิตด้วย ทำให้ผมต้องใช้เวลาคิดเรื่องนโยบายป้องกันน้ำท่วมขึ้นมาแซงนโยบายเศรษฐกิจก่อน”

    โดยขอให้เป็นนโยบายพรรคเพื่อไทยดังนี้ 1.สร้างเขื่อนและประตูกันน้ำทะเลหนุนและประตูเพื่อระบายน้ำลงทะเลรอบกรุงเทพฯ สมุทรปราการ พร้อมเพิ่มพื้นที่เขียวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ โดยไม่ต้องกู้เงิน 2.สร้างแก้มลิงตามแนวพระราชดำริตามแนวบริเวณที่ลุ่มของแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศรวมทั้งแม่น้ำโขงเพื่อกักน้ำไว้เวลาน้ำมาก เรียกว่าเบรกน้ำและเก็บไว้ใช้ยามน้ำน้อย และไม่ต้องกู้เงิน 3.ขุดเชื่อมแม่น้ำสายหลักที่ไม่ไกลกันมากเห็นๆกันเหมือนที่เคยทำแล้วโดยเชื่อมแม่น้ำยมเข้ากับแม่น้ำน่านทำให้สามารถผันน้ำไปมาตามปริมาณน้ำได้ 4.สร้างป่าชุมชนขึ้น/หมู่บ้าน/ป่าชุมชนเพื่อเกิดพื้นที่ชุ่มน้ำมากขึ้น และ 5.พื้นป่าต้นน้ำ ปลูกหญ้าแฝกกันดิน (Soil Erosion) ตามแนวพระราชดำริ

    ยกน้ำท่วมปัญหาชาติ
    หน่วยงานเดียวรับไม่ไหว

    มุมมองของ อิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร ระบุว่าปัญหาน้ำท่วมที่รุนแรงวันนี้ต้องมีการวางแผนระยะยาวเพื่อรับมือ โดยต้องมองว่าเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศที่เกินความสามารถของหน่วยงานอย่างกรมชลประทานที่จะรับภาระได้ แต่ทุกหน่วยงานต้องกำหนดแนวทางที่จะต้องทำงานร่วมกัน และไม่ได้มองว่าเป็นปัญหาของเมืองใดเมืองหนึ่งที่ต้องแก้ไขปัญหา เพราะการแก้ไขเพียงหนึ่งหรือสองเมืองนั้น จะส่งผลกระทบต่อเมืองที่ติดกันทำให้เกิดปัญหาลูกโซ่ไม่จบสิ้น

    ขณะนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้กระทบไปในหลากหลายธุรกิจ ไม่ใช่เฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งผู้ซื้อบ้านต่อชะลอการตัดสินเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงนี้ค่อนข้างมาก ยิ่งผลกระทบต่างๆ ที่จะตามมาหลังจากน้ำท่วมนั้นเป็นสิ่งที่รัฐจะต้องเข้ามาดูแล ทั้งเรื่องของอาหารแพง เงินเฟ้อ ดอกเบี้ย เรื่องของการเกษตรและอื่นๆ

    อย่างไรก็ตามการที่รัฐจะเข้ามาดูแลเรื่องของผังเมืองมากขึ้นหลังจากน้ำลดนั้น อิสระ มองว่าผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ทำธุรกิจตามกฎระเบียบของราชการอยู่แล้วไม่มีปัญหา เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการจะรู้ว่าพื้นที่ไหนสามารถจัดสรรเป็นที่อยู่อาศัยได้ และไม่กระทบต่อเส้นทางน้ำไหลและไม่กระทบกับพื้นที่รับน้ำ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากโครงการที่อยู่อาศัยที่จัดสรรไม่ถูกกฎหมายมากกว่า

    หากรัฐจะลงมาดูแลเรื่องของผังเมืองในอนาคตอย่างเข้มข้น ต้องไม่โฟกัสเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯเท่านั้น แต่ต้องดูพื้นที่ปริมณฑลรอบกรุงเทพฯด้วย เนื่องจากวันนี้ต้องคำนึงว่าพื้นที่ปริมณฑลที่ถูกการขยายตัวของคนเมืองหลวงออกไปนั้นจะรับกับสถานการณ์อุทกภัยไหวหรือไม่

    ที่ผ่านมาการคุมเข้มเรื่องของผังเมืองกรุงเทพฯ ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และผู้บริโภค ในการหาที่อยู่อาศัยในเมืองสำหรับครอบครัว ทำให้ปัจจุบันครอบครัวขนาดเล็กที่มีความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยระดับล้านต้นๆ สามารถซื้อได้เฉพาะคอนโดมิเนียมเท่านั้น ไม่สามารถซื้อทาวน์เฮ้าส์ หรือบ้านเดี่ยวได้ เนื่องจากราคาเริ่มต้นตั้งแต่สามล้านบาทขึ้นไป

    “การแก้ไขปัญหาของภาครัฐจะต้องคำนึงถึงคนชั้นกลางด้วยว่าต่อไปในอนาคตชีวิตเขาจะอยู่ในเมืองได้อย่างไร”

    อิสระ กล่าวว่าในช่วงภาวะน้ำท่วมในปัจจุบันนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัย เนื่องจากผู้บริโภคจะได้เห็นพื้นที่ต่างๆ ที่มีทั้งน้ำท่วมและไม่ถูกน้ำท่วม ซึ่งจะทำให้สามารถตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยได้ถูกต้องยิ่งขึ้น และไม่ต้องกังวลกับสถานการณ์น้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นในแต่ละปี

    น้ำท่วมโลก วิกฤตการณ์แห่งปี
    ยุโรป เอเชีย สูญเสียมหาศาล!!!

    ปรากฏการณ์แห่งปีสำหรับโลกที่ไม่ปรากฏบ่อยนกทั้งปีเต็มไปด้วยสภาพ “ฝนตกหนักและน้ำท่วม” ครั้งรุนแรง ทั้งยุโรปและเอเชียปีนี้ หลายประเทศ เช่น โปรตุเกส โปแลนด์ ฮังการี เยอรมัน สโลวะเกีย เซอร์เบีย ยูเครน อเมริกา แคนาดา เม็กซิโก ลัตเวีย ออสเตรเลีย อียิปต์ เกาหลีเหนือ ปากีสถาน อินเดีย จีน และล่าสุดไทย รวม 18 ประเทศที่ในปีนี้ต่างเผชิญความเดือดร้อนและความสูญเสียชีวิต ทรัพย์สินอย่างมากมายมหาศาล จนกลายเป็นประเด็นวิกฤตของประเทศไปถ้วนหน้า

    รายงานอุตุนิยมวิทยาระบุว่า บางประเทศเช่น ในยุโรปทั้งออสเตรีย เยอรมัน ฮังการี โปแลนด์ ลัตเวีย ยูเครน สโลวะเกีย ต้องเผชิญกับสภาวะน้ำท่วม เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเป็นช่วงจังหวะเดียวกันกับที่ทวีปยุโรปกำลังเผชิญปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็เป็นสิ่งท้าทายอย่างยิ่งต่อความพยายามที่จะหลุดพ้นจากวิกฤตการณ์เหล่านี้

    นอกจากนี้ ออสเตรเลีย ซึ่งโดยปรกติจะมีฝนน้อย แต่ปรากฏว่าปีนี้รัฐวิกตอเรียมีฝนมากผิดปรกติ ทำให้เกิดน้ำท่วมจนก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ประเทศเม็กซิโก แคนาดา และสหรัฐอเมริกาก็เช่นกันที่ประสบกับฝนตกหนัก น้ำท่วม และดินถล่มในปีนี้

    น้ำท่วม ภัยร้ายแห่งปีของเอเชีย

    อีกทั้งน้ำท่วมปีนี้ได้ส่งผลกระทบพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง เอเชียบางประเทศ เช่นปากีสถาน มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิต ประชาชนหลายพันคนและพื้นที่บริเวณกว้างได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยที่ Swat Valley ประชาชนกว่า 9 แสนคนต้องย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย พืชผลทางการเกษตร เช่น ข้าว ข้าวสาลี อ้อย และยาสูบเสียหาย อีกทั้งร้านค้ารวมถึงถนนหนทางและสะพานถูกกระแสน้ำพัดพาเสียหายทั้งสิ้น ประชาชนต้องการอาหารและที่พักชั่วคราวอย่างเร่งด่วน ก่อนที่สภาพอากาศหนาวอันเลวร้ายจะมาเยือน

    สำหรับอินเดียซึ่งไม่เคยประสบกับปริมาณฝนที่สูงมากส่งผลกระทบต่อหลายรัฐในช่วงเวลาเดียวกันมาก่อน แต่ปีนี้ไม่ว่าจะเดินทางไปไหนก็จะพบเห็นแต่ความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วม พืชผลการเกษตรเสียหาย บ้านเรือนถูกน้ำพัดพา ในเมืองเดลี แม่น้ำยมนาซึ่งปรกติจะค่อนข้างแห้งขอด มีน้ำน้อย แต่ปรากฏว่าปีนี้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ประชาชนจำเป็นต้องย้ายถิ่นฐาน

    รวมถึงในอีกหลายรัฐของอินเดียก็ประสบกับปัญหาน้ำท่วมหนัก มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน ราษฎรถูกอพยพออกนอกพื้นที่เพื่อบูรณะฟื้นฟูจากความเสียหายที่เกิดขึ้น จากการที่หลายชีวิตต้องสูญเสีย บ้านเรือนถูกน้ำพัดพา ถนนหนทาง โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ไฟฟ้า โทรศัพท์ พืชผลและพื้นที่การเกษตรได้รับผลความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารและที่พักอาศัย อีกทั้งเริ่มมีการระบาดของโรค

    ส่วนเกาหลีเหนือ ฝนที่ตกหนักอย่างรุนแรงก่อให้เกิดดินถล่มปิดถนนหนทาง บ้านเรือน โรงเรียน และพืชผลการเกษตรต้องถูกฝังกลบอยู่ภายใต้กองโคลน นอกจากนี้จีนก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประสบกับสภาวะน้ำท่วมรุนแรงในรอบทศวรรษ สร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน พืชผลทางการเกษตร และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย

    ไทย วิกฤตการณ์รุนแรงในรอบสิบปี

    สำหรับประเทศไทยมีรายงานน้ำท่วมบางพื้นที่เป็นระยะๆ ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม โดยในเดือนสิงหาคม ทั่วทุกภาคของประเทศมีฝนตกหนาแน่นจนก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ ส่วนเดือนกันยายน บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นเป็นช่วงๆ และยังคงมีหลายพื้นที่ที่ยังคงประสบอุทกภัย โดยในปีนี้ ถือว่าเป็นครั้งรุนแรงที่สุดในรอบสิบปีที่ผ่านมา

    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย รายงานว่า ระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2553 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีพื้นที่ประสบอุทกภัย มีจังหวัดประสบภัยทั้งสิ้น 33 จังหวัด 251 อำเภอ 1,757 ตำบล 13,046 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 978,183 ครัวเรือน 2,769,868 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 3,185,932 ไร่ จังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ได้แก่ ระยอง จันทบุรี ตราด ตาก ชลบุรี และลำพูน จังหวัดที่สถานการณ์ยุติแล้ว ได้แก่ ระยอง จันทบุรี ตราด ตาก ชลบุรี

    ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดการณ์ว่า อุทกภัยครั้งนี้จะสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนและทางราชการราว 8,000-10,000 ล้านบาท ภาครัฐอาจต้องใช้งบประมาณชดเชย แก้ปัญหา และช่วยเหลือผู้ประสบภัย คาดว่ามูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 1-2 หมื่นล้านบาท มีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ราว 0.2% ของจีดีพี แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวได้ 7-7.5% โดยไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ในขณะที่ สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ประเมินว่า ปัญหาอุทกภัยและปัญหาเงินบาทแข็งค่ารวมกัน น่าจะส่งผลให้จีดีพีลดลงประมาณ 1% ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ลดเหลือ 6%

    ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายกว่า 2.4 ล้านไร่ เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน 1.5 แสนราย นาข้าวได้รับผลกระทบมากที่สุด คิดเป็น 1.7 ล้านไร่ ด้านปศุสัตว์และประมงได้รับผลกระทบ 1 แสนราย ซึ่งเมื่อนับรวมกับความเสียหายจากอุทกภัยตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา พบว่าพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายเกือบ 4 ล้านไร่ รวมเกษตรกรได้รับความเดือดร้อน 2.9 แสนราย

    ดังนั้น อาจกล่าวว่าปี 2010 เป็นปีแห่งอุทกภัยของศตวรรษนี้ก็ไม่เป็นการกล่าวเกินจริงนัก สำหรับสาเหตุที่ทำให้ฝนตกหนักและหลายพื้นที่ประสบกับสภาวะน้ำท่วมนั้น ปัจจัยหลักทางอุตุนิยมวิทยา ได้แก่ ร่องมรสุม หย่อมความกดอากาศต่ำ พายุ รวมถึงมรสุมที่พัดปกคลุมในแต่ละช่วงฤดูกาลแล้วนั้น

    สาเหตุสำคัญหนึ่งที่ก่อให้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมรุนแรงมากขึ้น มาจาก “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” หรือ Climate Change ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ IPCC ที่ระบุว่า หนึ่งปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 21 คือการเกิดเหตุการณ์รุนแรงด้านภูมิอากาศ เช่น ฝนตกหนัก น้ำท่วม และดินถล่มเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องป้องกันและเสริมสร้างความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิด
    ขึ้น

    13 เขต กทม.พื้นที่เสี่ยงจมน้ำ

    สำนักงานกรุงเทพมหานคร ได้ออกมาแจ้งเตือนว่า พื้นที่กรุงเทพฯ ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมมากที่สุด คือ รัชดาภิเษก ลาดพร้าว บางนา ศรีนครินทร์ ส่วนพื้นที่เสี่ยงหลังแม่น้ำเหนือไหลทะลักลงมากรุงเทพฯ คือ ชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ ทั้งหมด 13 เขต ดังนี้

    1.เขตบางซื่อ ได้แก่ ชุมชนพระราม 6 (ฝั่งติดแม่น้ำ) และชุมชนปากคลองบางเขนใหญ่

    2.เขตดุสิต ได้แก่ ชุมชนเขียวไข่กา ชุมชนราชผาทับทับทิมร่วมใจ (เชิงสะพานกรุงธน) ชุมชนซอยสีคาม (ซอยสามเสน 13) และชุมชนวัดเทวราชกุญชร (ถนนศรีอยุธยา)

    3.เขตพระนคร ได้แก่ ชุมชนท่าวัง ชุมชนท่าช้าง และชุมชนท่าเตียน

    4.เขตสัมพันธวงศ์ ได้แก่ ชุมชนวัดปทุมคงคา (ท่าน้ำสวัสดิ์) และชุมชนตลาดน้อย

    5.เขตบางคอแหลม ได้แก่ ชุมชนวัดบางโคล่นอก ชุมชนหน้าวัดอินทร์บรรจง ชุมชนซอยมาตานุสรณ์ และชุมชนหลังโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

    6.เขตยานนาวา ได้แก่ ชุมชนโรงสี (ถนนพระราม 3)

    7.เขตคลองเตย ได้แก่ ชุมชนสวนไทรริมคลอง พระโขนง

    8.เขตบางพลัด ได้แก่ ชุมชนวัดฉัตรแก้ว

    9.เขตบางกอกน้อย ได้แก่ ชุมชนสันติชนสงเคราะห์ ชุมชนปากคลองน้ำตาล-คลองพิณพาทย์ ชุมชนครอกวังหลัง และชุมชนดุสิต-นิมิตรใหม่

    10.เขตธนบุรี ได้แก่ ชุมชนปากคลองบางกอกใหญ่

    11.เขตคลองสาน ได้แก่ ชุมชนเจริญนครซอย 29/2

    12.เขตราษฎร์บูรณะ ได้แก่ ชุมชนดาวคะนอง

    13.เขตทวีวัฒนา ได้แก่ ชุมชนวัดปรุณาวาส

    ตำนานน้ำท่วม “บางกอก”

    กรุงเทพฯ เคยเผชิญกับน้ำท่วมใหญ่มาหลายครั้ง ผู้ใหญ่อาจจะนึกถึงเหตุการณ์เมื่อปี 2485 ที่น้ำท่วมนานกว่า 3 เดือนในสถานที่และถนนสายสำคัญๆ ในกรุงเทพฯ เช่น บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หรือถ้าเด็กลงมาหน่อย หากยังพอจะจำได้ กับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี 2526 และ 2538 และแม้กระทั่งเหตุการณ์หลังสุดเมื่อปี 2549

    พ.ศ.2485
    ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

    เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อครั้งที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกฯ โดยสถานการณ์ตอนนั้นน้ำท่วมหลายจังหวัดในภาคต่างๆ ท่วมหนักเป็นระยะเวลาร่วมกว่า 3 เดือนเต็ม (ก.ย.-พ.ย.)

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ปิง วัง ยม น่าน ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง และทางภาคอีสานและใต้ ซึ่งถือว่าเป็นปีหนึ่งที่มีน้ำท่วมรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ผู้คนรู้สึกเป็นทุกข์และเดือดร้อนกับน้ำท่วม (ก่อนที่จะมีการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่คือ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์) จึงทำให้ถนนราชดำเนินกลายเป็นทะเลสาบไปโดยปริยาย รวมถึงรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพราะสมัยก่อนนั้นยังไม่มีเขื่อน คือเมื่อฝนตกทางเหนือมากน้ำก็จะหลากลงมา ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาก็จะสูงขึ้นเป็นลำดับ

    ทั้งนี้ วัดจากระดับน้ำที่กองรังวัดที่ดิน กรมที่ดิน เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า น้ำเริ่มท่วมล้นฝั่งขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 12 ตุลาคม มีระดับน้ำสูงสุด 2.27 เมตร แล้วก็ลดลงโดยลำดับจนแห้งไปหมดราวกลางเดือนพฤศจิกายน...ก็ถูกน้ำท่วมเป็นธรรมดา เพราะกรุงเทพฯ มันเป็นที่ต่ำ เป็นแอ่งน้ำ เป็นก้นกระทะของประเทศ ดังนั้น กรุงเทพฯ จะถูกน้ำท่วมทุกปี จนทำให้คนในสมัยนั้นถึงกับกล่าวว่า “เดือนสิบเอ็ดน้ำนอง เดือนสิบสองน้ำทรง เดือนอ้าย เดือนยี่ น้ำก็รี่ไหลลง”

    พ.ศ.2526 รถชนกับเรือ

    น้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ.2526 คนที่อายุ 30 กลางๆ น่าจะมีโอกาสได้เล่นน้ำกันที่หน้าบ้าน โดยน้ำท่วมครั้งนี้ (หมายถึงปี 2526) เกิดขึ้นเพราะมีพายุพัดผ่านภาคเหนือ-ภาคกลาง ประกอบกับพายุหลายลูกพัดผ่านกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนตุลาคม (นานกว่า 4 เดือน) จึงส่งผลกระทบเกิดวิกฤตน้ำท่วมในปี 2526 โดยเฉพาะปัญหาจราจรที่รถกับเรือใช้เส้นทางเดียวกัน เพราะคดีรถกับเรือชนกันบนถนนมีเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง

    ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายเดินทางไปทำงานย่อมสูงขึ้น ธุรกิจต่างๆ เสียรายได้ น้ำท่วมทำให้สร้างสิ่งสกปรกมากมาย ส่วนเรื่องจิตใจนั้นกล่าวเหมือนกันว่าสุขภาพจิตเสื่อมเพราะต้องเสียเงินทองมากขึ้น ไหนจะซ่อมบ้าน ซ่อมรถ โดยเฉลี่ยเมื่อ 2 ปี ที่กล่าวนั้นครัวเรือนเสียเงินไปกับเรื่องน้ำเฉลี่ย 2,000 บาท สถานประกอบการเฉลี่ย 9,000 บาท เพราะเครื่องจักรกล วัสดุเสียหาย ปี 2526 ได้ใช้จ่ายในการแก้ปัญหาน้ำท่วมไป 5,000 ล้านบาท

    พ.ศ.2538
    หมู่บ้าน White House

    ปี พ.ศ.2538 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กรุงเทพฯ ประสบปัญหาน้ำท่วม ในช่วงที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ยังเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร น้ำเหนือหลากท่วมอยุธยา ปทุมธานี หมู่บ้าน White House ตอนเหนือของกรุงเทพฯ น้ำท่วมร่วม 2 เดือน

    ส่วนปี พ.ศ.2549 นั้นเกิดอุทกภัยทางภาคเหนือ ทำให้น้ำเหนือไหลเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดที่โดนหนักๆ เช่น พิษณุโลก นครสวรรค์ อ่างทอง แต่สำหรับกรุงเทพฯ นั้นน้ำท่วมเฉพาะบางส่วนที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งไม่รุนแรงเท่าปี พ.ศ.2538

    ปราโมทย์ ไม้กลัด มองต่างมุม
    กรุงเทพฯไม่จมน้ำแน่!

    ในขณะที่นักวิชาการหลายคนปักใจเชื่อว่า กรุงเทพฯ จะต้องจมอยู่ใต้น้ำอย่างแน่นอน แต่อีกด้านก็ยังมีนักวิชาการหลายท่านที่มีความเห็นตรงกันข้าม และพวกเขาก็ยังเชื่อว่า ระบบการป้องกันของ กทม.ที่มีอยู่จะสามารถรับมือกับภาวะน้ำไหลบ่าได้อีกหลายปี โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพิ่มเติม

    ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร อดีตอธิบดีกรมชลประทาน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และอดีตรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็เป็นหนึ่งในนักวิชาการอีกคนหนึ่งที่เชื่อว่า อย่างไรกรุงเทพฯ ก็ไม่มีวันจมน้ำอย่างแน่นอน

    “เรื่องจมน้ำเป็นเรื่องอนาคต มีการพูดจาในเชิงนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ต้องมองดูสาเหตุว่าจมน้ำเพราะอะไร ถ้าจมเพราะระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ถ้าเป็นจริงๆ ก็จมน้ำ แต่เป็นไปได้ไหม” ปราโมทย์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองประธานกรรมการ มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์”

    เขาย้ำว่า อย่างไรกรุงเทพฯ ก็ไม่มีวันจมน้ำ โดยอ้างถึงสถิติการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตลอดระยะเวลา 20-30 ปีที่ผ่านมา ไม่มีสัญญาณใดๆ ที่บ่งบอกถึงความผิดปรกติ หรือวิกฤต

    “จริงครับน้ำทะเลและแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงหลังสูงขึ้น แต่อยู่ในวิสัยที่เราตื่นตัวปรับตัวป้องกันได้ เพราะฉะนั้นกรุงเทพฯ ไม่จมน้ำ”

    ปราโมทย์ ชี้ว่า ปัจจุบันระบบป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพฯ ที่สร้างไว้ตั้งแต่ปี 2527-28 ที่ตัวเขามีส่วนร่วมเข้าไปวางระบบนั้น มีความมั่นคงแข็งแรง และรัดกุมมาก

    อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ บอกว่า ระบบป้องกันที่สร้าง เริ่มจาก ถนนทุกสายริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใกล้ที่สุดยกสูงขึ้น ถนนสามเสน ถนนเส้นในเขตนนทบุรี พิบูลลสงคราม ไล่ตั้งแต่ปากคลองรังสิต เรื่อยมาผ่านกรุงเทพฯ ลงไปถึงประจวบฯ ไปถึงสมุทรปราการ เขตเศรษฐกิจอย่างเยาวราช ราชวงศ์ สำเพ็ง ยกถนนไม่ได้ ก็ต้องใช้กระสอบทราย

    “เราสามารถคำนวณได้ว่าสถิติแม่น้ำเจ้าพระยาสูงแค่ไหน จะยกถนนแค่ไหน ทุกปีเกิดเท่าไร ทุกปีเก็บสถิติหมด ก็สามารถยกสูงขึ้นไปได้อีก”

    ส่วนคลองต่างๆ ที่สัมผัสเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา มีการควบคุมกำกับไม่ให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้าไปข้างในโดยอิสระ มีอาคารบังคับน้ำ มีบานประตูปิด-เปิด สร้างปิดปากคลองทุกคลองที่เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มตั้งแต่คลองรังสิต เราเรียกว่าเขตเศรษฐกิจต้องป้องกัน ทุกคลอง ทั้งเล็กใหญ่ อาทิ คลองเทเวศ, สามเสน, บางซื่อ, บางเขน

    ส่วนข้างในที่ปากคลองสร้างสถานีสูบน้ำ เพื่อควบคุมน้ำในพื้นที่ ฝนตกสามารถสูบออกได้ โดยสร้างเชื่อมโยงไปถึงสมุทรปราการ ขณะที่ในฝั่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านเหนือท้ายคลองรังสิต จะมีถนนคันคลองสายใหญ่เสมือนคันกั้นน้ำ ถนนสายไหมริมคลอง 6 วา ไล่ไปเรื่อยริมคลองลำลูกกา น้ำจะไม่เข้า เพราะว่ามีระบบป้องกัน และพัฒนามาเรื่อย ไปบรรจบกับคลอง 3วา ทางด้านตะวันออก และมีแนวคันลงทางด้านทิศใต้เข้าสู่เขตมีนบุรี ถนนร่มเกล้า ถนนกิ่งแก้ว ลงมาแนวดิ่งไปสู่ชายทะเล จะตัดกับคลองแสนแสบ คลองประเวศบุรีรมย์ ตัดกับคลองสำโรง ไปสู่ชายทะเล

    ทั้งหมดนี้จะเชื่อมกับถนนสุขุมวิท ที่ยกระดับขึ้นมาสูงแถวบางปู บางปิ้ง ไล่มาเรื่อยถึงปากแม่น้ำบางปะกง เชื่อมไปตลอดเพื่อให้พ้นระดับน้ำทะเลที่จะขึ้นสูงสุด

    “วิธีสร้างของเราก็คือจะดูสถิติในอดีตว่าน้ำทะเลขึ้นสูงสุดแค่ไหน แล้วมาเสริมให้สูงขึ้น เวลานี้ไปดูน้ำในอ่าวไทยมีระดับสูง แต่มองในพื้นดินมีระดับต่ำกว่า อาจจะพูดได้ว่า 6 เดือนในรอบปีจะเป็นอย่างนี้มานานแล้ว แม้ว่าข้างในเป็นท้องกระทะหมด แต่ภายนอกมีระบบคันกั้นน้ำ น้ำทะเลจะเข้ามาข้างในไม่ได้ รับรองได้ว่าระบบต่างๆ มันเวิร์กมาตั้งแต่ปี 30 ทั้งหมดนี้ทำขึ้นมาโดยศึกษาจากประสบการณ์ภัยธรรมชาติที่มันเกิดกับกรุงเทพฯ ซ้ำซาก”

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภัยธรรมชาติในปัจจุบัน มีความรุนแรงและรวดเร็วกว่าเมื่อก่อน แต่โดยส่วนตัวปราโมทย์ก็ยังเชื่อว่า ยังสามารถรับมือได้ แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็สามารถปรับเพิ่มเสริมขึ้นมาได้

    “จะรุนแรงขนาดไหน ก็เป็นแค่เพียงการพูดกันของนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า น้ำทะเลไม่เพิ่ม สมมติว่า เพิ่มขึ้นมาอีก 50-80 เซนติเมตร ในฐานะที่ผมเป็นช่างด้านนี้ รับได้สบาย หรือทำเพิ่มเติมนิดหน่อย ก็ยังอยู่ในแนวกั้นน้ำที่มีอยู่ เพราะเราเฝ้าดูตลอดเวลา”

    ปราโมทย์ กล่าวต่อว่า เวลานี้ต้องเฝ้าดูอนาคตจะเป็นอย่างไร เพราะไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใด เนื่องจากการเพิ่มของระดับน้ำทะเลจะเป็นไปทีละน้อย สัญญาณยังไม่ได้บ่งบอกชัดเจนอย่างที่นักวิทยาศาสตร์พูดกัน ไม่ว่าจะเป็นโลกร้อน น้ำแข็งละลาย แต่ว่าน้ำแข็งละลาย มวลน้ำที่อยู่ ในขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ กว่าจะเข้ามาสู่มหาสมุทรแปซิฟิกย่านที่เราอยู่ ก็คงจะถูกดูดซับลงไปบนพื้นผิวน้ำจนหมดแล้ว

    “ตามความเห็นของผม ผสมกับประสบการณ์งานจริงก็จะประมวล และจับตาดูได้ทันอย่างแน่นอน แม้แต่ภาวะสตอร์มเซิร์จก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะพายุไต้ฝุ่นจะวิ่งปะทะแนวภาคใต้ อย่างมากก็จะลงไปที่ประจวบฯ แล้วลงไปภาคใต้ ทิศทางมันเป็นอย่างนั้น จะไปบอกว่ามันจะเลี้ยวเข้ากรุงเทพฯ มันไม่ใช่ ผิดธรรมชาติ”

    นอกจากกรณีน้ำขึ้นล-งที่เกิดขึ้น ปราโมทย์ ก็มองว่าเป็นวัฏจักรประจำปี ไม่ผิดแปลกไปจากเหตุการณ์ปรกติ เพราะตามธรรมชาติแล้วจะมีน้ำขึ้นสูงสุดในช่วงวันเพ็ญ 15 ค่ำ ทุกปีจะเป็นอย่างนี้ คือ เพิ่มขึ้นแล้วก็ลงไป แค่ 10-20 เซนติเมตร ประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อครั้งเท่านั้น แล้วก็ลง

    “ไม่ใช่ขึ้นแล้วก็แช่อยู่อย่างนั้น เราจะไปสมมติให้แช่ได้อย่างไร เพราะความเป็นจริงไม่ใช่อย่างนั้น”

    อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ย้ำว่า การทำนายของกรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ ดูจากดวงจันทร์ เป็นการพยากรณ์ล่วงหน้า ของจริงเป็นอย่างไรต้องติดตาม ซึ่งก็สอดคล้องกัน เพราะที่ผ่านมาก็ไม่ผิดปรกติถึงขนาดมากเกินเหตุ เนื่องจากระบบที่เราวางป้องกัน เผื่อการขึ้น-ลงของน้ำทะเลไว้ด้วย โดยเฉพาะตัวที่จะทำให้น้ำเอ่อล้นกรุงเทพฯ แต่ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำเหนือที่แปรผันไปแต่ละปี

    “ปีที่ผ่านมามีวิกฤตอย่างไร เราเก็บสถิติไว้หมด วิกฤตที่สุดคือปี 38 ไม่ต้องพูดถึงปี 2485 ที่อยู่ในความทรงจำ แต่ปีนี้ผมบอกว่าสู้ได้ ถ้าไม่ได้ กทม.ต้องถูกตำหนิ เพราะยังไงปีนี้ก็ไม่ถึงอยู่แล้ว ส่วนอนาคตจะเกิดขึ้นหรือไม่ เหมือนปี 38 หรือ 49 ไหมก็มีโอกาส แต่ไม่รู้จะเป็นปีไหน”

    Weekly - Manager Online -
    .


    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สวัสดีตอนเช้าครับ

    วันนี้น้องท่านนึง จะมาอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุฯ ,พระธาตุพระอรหันต์ เพื่อที่จะอัญเชิญไปถวายวัดที่จังหวัดราชบุรีในวันอาทิตย์นี้(เช่นกัน)

    จะถวายในนามกองทุนหาพระถวายวัดครับ

    วันอาทิตย์นี้ กรวดน้ำชุดใหญ่ได้ถึง 3 เรื่องครับ


    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมแจ้งให้ทุกๆท่านทราบทาง Email แล้วครับ

    โมทนาสาธุครับ
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>อ่านอย่างไรให้ไว...(และได้เรื่อง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>28 ตุลาคม 2553 08:47 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ในชีวิตประจำวันเราต้องอ่านหนังสือทุกวัน ตามป้ายโฆษณา โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อ่านหนังสือสอบ หรือแม้ใครเจอปัญหากับการอ่านสอบไม่ทันตามกำหนด กลัวว่าจะอ่านไม่ทันก็เลยอยากแนะวิธีอ่านหนังสือให้เร็วและได้เรื่องแถมยังประหยัดเวลามาฝากกัน

    รองศาสตราจารย์ ดร.พรชุลี อาชวอำรุง ผู้อำนวยการวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้คำแนะนำถึงวิธีการอ่านหนังสือรวดเร็วและได้ผลดี เพื่อเป็นการฝึกทักษะและสมรรถนะการเรียนของนิสิต นักศึกษาแต่ละคน โดยสอนให้อ่านเร็วอย่างรู้เรื่อง จับประเด็นเด่นชัดจด Lecture ได้ครบถ้วน ใช้ห้องสมุดเป็น ค้นคว้าเอกสารจัดทำรายงาน และนำเสนอต้อชั้นเรียนได้อย่างสมบูรณ์


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=500>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>“ก่อนเริ่มศึกษาฝึกฝนทักษะการอ่านเร็ว จำเป็นต้องกำหนดอัตราการอ่ารและความเข้าใจเสียก่อน ดังนั้นจึงขอแนะนำให้เลือกเอกสารประมาณ 2-3 หน้า จากหนังสือที่ต้องอ่านประจำ เช่น ตำราเรียนที่ใช้ในเทอมนี้ เป็นต้น ควรเลือกอย่างน้อย 3 ชุด และอ่านตามอัตราความเร็วปกติ ตั้งใจอ่านให้เกิดความเข้าใจ และจับประเด็นในรายละเอียดได้ด้วยควรใช้นาฬิกาจับเวลาและให้บันทึกเวลา

    เริ่มเวลา : …................. นาที.....................วินาที
    จบเวลา : …................. นาที ….................วินาที

    วิธีการกำหนดอัตราความเร็วในการอ่าน มีขั้นตอนดังนี้

    1.นับคำในเอกสารที่อ่านโดยนับเฉพาะคำหลัก คือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำขยาย(คุณศัพท์และคำวิเศษ) เท่านั้น ไม่นับคำเชื่อม ซึ่งได้แก่ บุรพบท และสันธาน และจดจำนวนที่นับได้เอาไว้ สมมติว่านับได้ 1,306 คำ

    2.นำจำนวนวินาทีที่ใช้ในการอ่านในผลลัพธ์ จากข้อ 3 ไปหารจำนวนคำจากข้อ 4 ให้ใช้ทศนิยมจุดเดียว จะได้คำตอบ เช่น 2.7 หรือ 3.4 ซึ่งเป็นอัตราคำต่อวินาที

    3.ท้ายที่สุด ให้นำอัตราความเร็วต่อวินาทีไปคูณด้วย 60 ก็ได้อัตราคำต่อวินาที และบันทึกไว้
    การอ่านครั้งที่ 1 : อัตราความเร็วต่อวินาที =................WPM (WPM=Word Per Minute) อันที่จริงถ้าจะให้สมบูรณ์แบบ ควรตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและคิดคะแนน เพื่อให้ทราบว่า ความเข้าใจเกิดขึ้นในระดับกี่เปอร์เซ็นต์

    รองศาสตราจารย์ ดร.พรชุลี บอกต่ออีกว่า ใครมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนาอัตราความเร็วและความเข้าใจในการอ่าน จะประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน “เราทุกคนมีสามารถในการอ่าน ตามที่ธรรมชาติสร้างให้ไว้แล้วในระบบการทำงานของสมอง ผลการวิจัยทางจิตวิทยา พบว่า คนปกติใช้ศักยภาพของตนเพียง 10 % เท่านั้นเอง ลองคิดดูสิว่า ถ้าท่านใช้ศักยภาพการอ่านเพิ่มขึ้นสัก 40-50% และในปัจจุบันอ่านได้ 100 คำต่อวินาที จะได้ความรู้จากการอ่านหนังสือมากขึ้นเพียงใด ถ้าฝึกฝนการอ่านเร็วเป็นประจำเวลาที่ใช้จะเต็มประสิทธิภาพ มีความหมาย มีคุณค่า ได้ผลตามความประสงค์และเป็นประสบการณ์ที่สนุกสนานด้วย”

    นอกจากนี้ Life on campus ยังมีเทคนิคการทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระจากหนังสือที่อ่านนั้นมาฝากด้วยเช่นกัน เริ่มต้นจากการจัดลำดับความสำคัญในเรื่องที่เราจะอ่านเสียก่อน โดยเฉพาเมื่อหนังสือเล่มโต ที่มีเนื้อหาหลายเรื่อง จะต้องแบ่งเป็นสำคัญมาก สำคัญปานกลางและสำนักน้อย จากนั้นให้อ่านอย่างมีสมาธิ ลดสิ่งรบกวนให้เหลือน้อยที่สุด แม้แต่เสียงเพลงก็ตาม ที่สำคัญต้องให้ความสำคัญกับในการอ่านรอบแรก

    จากนั้นใช้วิธี สแกน หรือ Skim & Skip เพื่อหาใจความหลักของเรื่องที่จะอ่าน โดยวิธีง่ายๆ คือ ดูจากสารบรรณเนื้อหา และดูจากคำขึ้นต้นและลงท้ายประโยค ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจในภาพรวมขึ้นก่อน และที่สำคัญเราจะรู้ว่าส่วนไหนกันนะที่จำเป็นต้องอ่านรายละเอียดให้ตั้งคำถาม โดยเป็นการตั้งคำถามของเราเอง จากหัวเรื่อง หัวรองของเรื่อง หรือคำโปรย (คำขึ้นต้นประโยค) ของแต่ละเรื่อง แล้วสะแกนหาคำตอบจากคำหรือประโยคในเนื้อเรื่อง เพื่อให้ช่วยให้อ่านได้อึด และถนอมสายตา สมควรจะนั่งอ่าน และหาที่วางหนังสือเอียง 45 องศา
    แสงไฟฟ้าเพียงพอและเป็นสีไฟฟ้าที่ถนอมสายตา เช่น สีเหลืองนวล ไม่ควรนอนอ่านเด็ดขาด ยกเว้นนิยาย การ์ตูน โน้ตย่อทันทีที่อ่านจบในส่วนสำคัญของเรื่อง เพราะจะช่วยให้ไม่เสียเวลามานั่งค้นหาอีกรอบหรือเวลาต้องทบทวน ยามใกล้สอบหรือจะต้องนำไปใช้ประโยชน์ ควรจัดหนังสือให้เป็นระเบียบ และเป็นแบ่งเป็นหมวดหมู่

    เลิกการแต่งแต้มทาสี (Highlighting) ซะที ไม่ว่าจะเหลือง ส้ม หรือชมพู เพราะมันแสดงว่า เรากำลังฝืนทนทำภารกิจนี้ให้ผ่านไป เหมือนกับว่า รับปากไปก่อนแล้วจะมาอ่านทีหลัง ยังไงยังงั้นเลยเชียว ซึ่งในที่สุดก็จะได้หนังสือเลอะๆมาหนึ่งเล่มเพื่ออ่านใหม่รอบสอง และไม่ได้อะไรอยู่ดี

    ทำ Pre-post test ด้วยตัวเองกับเนื้อหาทุกครั้ง หลังจากที่ตัดสินใจนั่งลงอ่าน เพื่อทดสอบความเข้าใจของเรา การตั้งคำถามและหาคำตอบด้วยตัวเอง เป็นอะไรที่วิเศษที่สุด ปิดท้ายด้วยการฝึกฝนวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพสมองด้วยเทคนิควิธีการตรวจวัดความเร็วในการอ่าน ถือว่าเป็นวิธีที่สำคัญ เพราะเป็นเพิ่มศักยภาพสมองที่ดีเยี่ยม แบบเดียวกับการอ่านเป็นภาพให้เป็น มิใช่อ่านทีละตัวอักษรไว้จะได้ขยายรายละเอียดในส่วนนี้ต่อไป

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9530000151754

    .



    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>พาไปท่องยุคสมัยสุดไฮเทคที่ "นิทรรศน์รัตนโกสินทร์"</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>28 ตุลาคม 2553 17:01 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ คุณค่าแห่งยุคสมัย สัมผัสได้ใน 1 วัน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ บนถนนสายประวัติศาสตร์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ลัดเลาะประตูย่ำค่ำ ชมสาวชาววังกำลังซ้อมรำ ประดิษฐ์ดอกไม้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ชมความยิ่งใหญ่สง่างามในห้องเกียรติยศแผ่นดินสยาม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ย้อนยุคไปชมมหรสพสมโภชในมุมมอง 360 องศาในห้องเรืองนามมหรสพศิลป์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>เรียนรู้ภาษาท่าโขนกับ 4 ตัวละครหลัก</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ดื่มด่ำย่านชุมชนที่ย่อไว้ในห้องเดียว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>มุมชิลล์ ๆ นั่งฟังเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชพิธี </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ถ่ายรูปก่อนเป็นตัวละครแอนิเมชันเที่ยวกรุงในห้องเยี่ยมยลถิ่นกรุง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ไปดู "แอนิเมชั่นตัวฉัน" ที่ปรากฎขำ ๆ ในสถานที่ท่องเที่ยวรอบกรุง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>จุดชมทิวทัศน์อันกว้างไกลโดยรอบ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ห้องเงียบสำหรับครอบครัวนักอ่านบนชั้นลอย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>หากครอบครัวไหนเคยขับรถ หรือนั่งรถผ่านบริเวณถนนราชดำเนินกลาง นอกจากลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ที่งดงามแล้ว ใกล้ ๆ กันนี้ยังมีอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ตึกสีเหลืองนวล 4 ชั้นตั้งอยู่ ซึ่งนับเป็นแหล่งเรียนรู้บนถนนประวัติศาสตร์ที่ทีมงาน Life and Family มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชม พร้อมกับเก็บภาพ และข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากไว้เป็นตัวเลือกในวันหยุดสุดสัปดาห์ที่จะถึงนี้กัน

    สำหรับการเที่ยวชมในครั้งนี้ ทีมงานมีเพื่อนพาชมที่น่ารัก และใจดีอย่าง จรัส มะโนหาญ หรือ พี่ไกด์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และการตลาด ขอรับอาสาในฐานะเจ้าบ้านคอยดูแล และพาทีมงานเยี่ยมชมทุกซอกทุกมุมของตัวอาคารกันอย่างจุใจ

    โดยชุดความรู้ที่ทีมงานได้รับเกี่ยวกับอาคารแห่งนี้ เป็นแหล่งรวบรวมเรื่องราวในแง่มุมต่างๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์ที่จัดแสดงผลงานอันทรงคุณค่าไม่เคยปรากฏที่ใดมาก่อน เพราะมีเทคนิคการนำเสนอรูปแบบใหม่ ด้วยการใช้เทคนิค สื่อผสมเสมือนจริง ซึ่งเป็นการนำมาประยุกต์เพื่อใช้นำเสนอในพิพิธภัณฑ์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมด้วยเทคโนโลยีมุมมองแบบ 360 องศา ที่จะสร้างบรรยายกาศรอบตัวของผู้เข้าชมให้เสมือนอยู่ในเหตุการณ์จริงเมื่อ 200 ปีก่อน ตลอดจนเน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ และการเรียนรู้ด้วยตนเอง

    7 ห้องแห่งคุณค่า สัมผัสได้ในหนึ่งวัน

    สำหรับพื้นที่จัดแสดงภายในของนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ พี่ไกด์ บอกว่า มีการนำเสนอเรื่องราวด้านต่าง ๆ แห่งยุครัตนโกสินทร์ ผ่านห้องจัดแสดง 7 ห้อง ซึ่งตั้งชื่อไว้อย่างคล้องจองกันคือ 1. รัตนโกสินทร์เรืองโรจน์ 2. เกียรติยศแผ่นดินสยาม 3. เรืองนามมหรสพศิลป์ 4. ลือระบิลพระราชพิธี 5. สง่าศรีสถาปัตยกรรม 6. ดื่มด่ำย่านชุมชน และ 7. เยี่ยมยลถิ่นกรุง และในปี 2554 จะจัดแสดงครบสมบูรณ์เพิ่มอีก 2 ห้องรวมเป็น 9 ห้อง

    เรามาเริ่มเปิดม่านนิทรรศกันที่ห้องแรกบนชั้น 2 กับ ห้องรัตนโกสินทร์เรืองโรจน์ ภายในห้องแห่งนี้ ทุกครอบครัวจะได้เจาะเวลาไปสู่เมื่อครั้งแรกเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยภาพยนตร์สื่อผสม 4 มิติ นำเสนอประวัติความเป็นมาของการกำเนิดกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ยิ่งใหญ่ทัดเทียมกรุงศรีอยุธยา ด้วยพระอัจฉริยภาพในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรี

    ขึ้นลิฟต์ต่อมายังชั้น 3 จะพบกับ ห้องเกียรติยศแผ่นดินสยาม ที่เด็ก ๆ จะได้ตื่นตาไปกับหุ่นจำลองพระบรมมหาราชวังที่สมบูรณ์แบบที่สุดในประเทศไทย ตลอดจนตำนานพระแก้วมรกต ในครั้งแรกที่จัดแสดงพระแก้วมรกตจำลองในเครื่องทรงครบทั้ง 3 ฤดูในคราวเดียว จากนั้นพากันลัดเลาะประตูย่ำค่ำ ซึ่งอดีตเคยเป็นประตูที่สาวชาววังใช้ผ่านเข้าออก นับเป็นโอกาสเดียวที่ผู้ชายจะมีสิทธิ์ชมสาวชาววังกำลังซ้อมรำ ประดิษฐ์ดอกไม้ รวมไปถึงกลิ่นหอมที่สัมผัสได้จริง

    ถัดออกมาเป็น ห้องเรืองนามมหรสพศิลป์ เป็นห้องที่นำเสนอเรื่องราวความเป็นมา และรูปแบบของมหรสพสำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตลอดจนวิวัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงของมหรสพ โดยเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ผ่านสื่อแสดงหลายรูปแบบ เช่น สื่ออินเตอร์แอคทีฟ เรียนรู้ภาษาท่าทางของโขน ชมแอนิเมชันรามเกียรติเวอร์ชันพิเศษ และวิดิทัศน์การแสดงอื่นๆที่หาชมยาก เช่น หุ่นหลวง ต้นตำรับภูมิปัญญาไทย อีกทั้งยังมีการทดลองเชิดหุ่นกระบอกด้วยตัวเอง นอกจากนี้ เด็ก ๆ ยังจะได้ร่วมสัมผัสกับการจำลองบรรยากาศมหรสพ ผ่านเทคนิคการนำเสนอแบบรอบทิศทางแบบ 360 องศาอีกด้วย

    หลังเดินชมเที่ยวงานมหรสพแล้ว ก้าวเท้าไปต่อกันที่ ห้องลือระบิลพระราชพิธี ซึ่งเป็นห้องที่คุณพ่อคุณแม่ และคุณลูกจะได้ร่วมซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยพสกนิกร โปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อชุบชูขวัญกำลังใจให้กับเกษตรกรไทยผู้เป็นกระดูกสันหลักของชาติ ภายในห้องเดียวกันนี้ ยังมีนำเสนอที่มา รวมทั้งเกร็ดความรู้เกี่ยวกับพระราชพิธีสำคัญ ๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์ ไม่ว่าจะเป็นพระราชพิธีอันเนื่องในพระมหากษัตริย์ พระราชพิธีเพื่อประชาชน

    เดินต่อมาเข้าสู่วิถีวัง วัด บ้าน ใน ห้องสง่าศรีสถาปัตยกรรม ที่นำเสนอรูปแบบสถาปัตยกรรมในยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสยามประเทศ ผ่าน วัง วัด บ้าน แห่งยุคสมัยรัตนโกสินทร์ โดยฟังหนุ่มสาวชาววัง เล่าเรื่องการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมของวังต่างสมัย เรียนรู้ ตำแหน่งที่ตั้งภายในวัด ผ่านมัลติทัช (จอสัมผัส) เกม และสนุกกับการเดินทางโดยเรือ รถม้า และรถยนต์ เพื่อชมบ้านเรือนในแต่ละยุคสมัย

    จากนั้นร่วม ดื่มด่ำย่านชุมชน ซึ่งเป็นห้องที่นำเสนอความเป็นมา และเอกลักษณ์ของชุมชนบนเกาะรัตนโกสินทร์ เพียงแค่ก้าวเท้าไปยังจุดที่ตั้งของชุมชน จะปรากฏลวดลายสวยงาม นำผู้ชมไปทำความรู้จักชุมชนนั้น พร้อมชื่นชมผลงานการรังสรรค์จากชุมชนต่างๆ ซึ่งบางชิ้นหาชมได้ยากในปัจจุบัน

    จากนั้นพากันไปเที่ยวสนุกทั้งครอบครัวที่ ห้องเยี่ยมยลถิ่นกรุง ซึ่งรวบรวมสถานที่น่าสนใจบนเกาะรัตนโกสินทร์หลายรูปแบบ ทั้งสถานที่ในเชิงสถาปัตยกรรมอันสวยงามสวนสาธารณะยอดนิยม พิพิธภัณฑ์ที่ควรเยี่ยมชม แหล่งรวมอาหารการกิน และจับจ่ายสินค้า ตลอดจนย่านที่เป็นสีสันในยามค่ำคืน ซึ่งแต่ละสถานที่ต่างก็มีบรรยากาศอันชวนให้หลงใหลในแบบฉบับของตัวเอง โดยก่อนเข้าชมห้องนี้จะจำลองร้านฉายาราชดำเนินให้มาถ่ายรูปกัน ก่อนที่แต่ละคนจะพบตัวเองกลายเป็นตัวละครหลักในแอนนิเมชั่นท่องเที่ยวไปทั่วกรุง เรียกเสียงหัวเราะชอบใจของเด็ก ๆ ได้มาก

    ฟังได้จากเสียงของ หยก กับ ติ๊ด 2 สาววัย 8 ขวบ จากสถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ Give me 5 ที่บอกกับทีมงานว่า การมาทัศนศึกษาที่ห้องเยี่ยมยลถิ่นกรุงนี้ นอกจากได้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะรัตนโกสินทร์แล้ว ยังได้สนุกจนหัวเราะไม่หยุด เพราะขำตัวเอง และเพื่อน ๆ รวมไปถึงคุณครูที่ได้สวมบทบาทเป็นตัวละครแอนิเมชันพาเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะสวมบทเป็นพ่อค้า แม่ค้า นักท่องเที่ยว หรือตัวละครอื่น ๆ เรียกได้ว่า ได้ความรู้ และเสียงหัวเราะกลับบ้านไปเต็มอิ่ม

    อย่างไรก็ดี หลักจากเที่ยวชมทั้ง 7 ห้องแห่งคุณค่าที่สนุก และน่าทึ่งแล้ว หากไม่ได้ขึ้นไปยังจุดชมทิวทัศน์บนชั้น 4 ก็เท่ากับว่าพลาดอะไรบางอย่างไป เพราะจุดนี้ เป็นจุดที่สามารถชมทัศนียภาพของถนนราชดำเนิน และสถาปัตยกรรมอันงดงามรอบ ๆ ได้ในมุมมองกว้าง เช่น ภูเขาทอง ป้อมมหากาฬ ลานพลับพลามหาเจษฏาบดินทร์ วัดราชนัดดารามวรวิหาร และโลหะปราสาทในมุมที่สวยที่สุด ซึ่งเชื่อว่าไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนอย่างแน่นอน

    นอกจากนี้ ภายในตัวอาคารนิทรรศฯ ยังมีชั้นลอยที่อยู่บนชั้น 1 เป็นที่ตั้งของห้องสมุดนิทรรศนรัตนโกสินทร์ ศูนย์รวบรวมหนังสือหายาก หนังสือทรงคุณค่า ตลอดจนสื่อเรียนรู้เกี่ยวกับกรุงรัตนโกสินทร์ในทุกด้าน รวมไปถึงมุมอ่านหนังสือที่สงบ และได้บรรยากาศ เหมาะสมสำหรับครอบครัวนักค้น นักอ่านได้เป็นอย่างดี

    บ้านไหนที่สนใจ เข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ โดยจะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 11.00-20.00 น. ส่วนวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เปิดเวลา 10.00-20.00 น. ค่าเข้าชมยังอยู่ในช่วงของโปรโมชัน ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 30 บาท ส่วนนักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุสงฆ์ และสามเณร รวมไปถึงผู้พิการเข้าชมฟรี

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์และการตลาด อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เลขที่ 100 ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ 02-621-0044 โทรสาร 02-627-0043 หรือเข้าชมข้อมูลบริการและกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทาง www.nitasrattanakosin.com

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>



    .

    http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000151805

    .



    .
     
  15. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    , sittiporn.s, somlatri สวัสดียามดึกครับพี่ทั้ง2ท่าน
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เมื่อคืนนี้คุยกับน้องสมบัติ เรื่องการพิมพ์หนังสือสวดมนต์

    น้องสมบัติทิ้งปัญหาใหญ่ไว้ให้ก็คือ น้องสมบัติอยากได้เรื่องย่อๆของหนังสือที่ท่านอาจารย์ประถมเขียนไว้ 3 เล่ม นำมาย่อลงในหนังสือสวดมนต์ รวมทั้งประวัติของหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตระ)

    ในเรื่องนี้คงต้องไปคุยกับท่านอาจารย์ประถม ก่อนครับ

    หากท่านอนุญาต ผมต้องใช้ระยะเวลาในการเขียนขึ้นใหม่ สักระยะนึงครับ

    หากได้ข้อมูลเป็นประการใดผมจะแจ้งให้ทราบในกระทู้พระวังหน้า และทางEmail อีกครั้งนะครับ

    ขอบใจน้องสมบัติที่แนะนำกันมาในเรื่องนี้ครับ

    ขอบคุณครับ

    .
     
  17. แอ๊วผาผึ้ง

    แอ๊วผาผึ้ง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +9
    ผม(sithiphong) ได้สมัคร User ชื่อ แอ๊วผาผึ้ง

    เพื่อให้พี่แอ๊วได้ลงความเห็นต่างๆในเว็บพลังจิตครับ
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ส่วนเรื่องของปุ่มต่างๆในโพสของท่านอื่นๆ

    [​IMG]
    ใช้ในการโพสตอบ โดยอ้างอิงถึงโพสบุคคลอื่น

    [​IMG]
    ใช้ในการคอบ โพสบุคคลอื่น โดยอ้างอิงซ้อนของโพสบุคคลอื่น ซึ่งในกรณีการอ้างอิงซ้อน ให้กดปุ่มนี้ แล้วตามด้วยปุ่ม[​IMG] จะปรากฎข้อความที่บุคคลอื่นได้โพสไว้

    [​IMG]
    ปุ่มนี้ไม่เคยใช้ ไม่ทราบครับ

    [​IMG]
    เป็นปุ่มที่ไม่เห็นด้วยของโพสที่เราคิดว่าไม่เห็นด้วยกับความเห็นของเขา

    [​IMG]
    เป็นปุ่มที่กดเพื่ออนุโมทนาบุญกับบุคคลอื่นๆในโพสนั้นๆ


    ส่วนโพสของเราเอง สามารถแก้ไขหรือลบโพสนั้นๆได้ โดยกดปุ่ม [​IMG] ในโพสของเราครับ

    .
     
  20. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    ขอบพระคุณครับพี่ที่ให้พื้นที่และโอกาสในการแสดงความคิดเห็นนี้ เจตนาในใจผมคือ พิมพ์หนังสือสวดมนต์ทั้งทีต้องทำให้ใหญ่และกินวงกว้าง ประมาณว่ามีเล่มนี้แล้วพอ ทั้งนี้ก็เพื่อ ...

    1. เพื่อเชิดชูเกียรติประวัติพอสังเขป (เรื่องละหน้า)ของครูบาอาจารย์ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย เช่น
    - คณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร,คณะเผยแผ่พระพุทธศาสนา - ท่านคือใครทำไมต้องรู้จักท่าน และเคารพบูชาท่าน
    - หลวงปู่เจ้าประคุณสมเด็จฯโต - พระพิมพ์สมเด็จ-TOP
    - หลวงปู่กรมพระยาปวเรศ - พระกริ่งปวเรศ,บาตรน้ำมนต์
    - หลวงปู่เอี่ยม - พระพิมพ์ปิดตา,พระคาถาจตุโรฯ
    - หลวงปู่แก้ว - พระพิมพ์ปิดตา
    - คณะองค์อภิญญาใหญ่ทั้งคณะ - มีองค์ใดบ้าง ในยุค ร.4-ร.5
    - หลวงปู่เจ้าประคุณสมเด็จฯเจริญ - การไหว้ 5 ครั้ง
    - หลวงปู่กรมพระราชวังบวรฯ - ปฐมกำเนิดพระพิมพ์วังหน้า
    - ท่านเจ้าคุณกรมท่า - ปฐมกำเนิดพระพิมพ์กรมท่า
    - ช่างสิบหมู่แห่งวังหน้า,ช่างจากเมืองจีน - คณะผู้ทำงานสร้างพระพิมพ์จริงๆ
    - และที่ขาดไม่ได้คือท่านอาจารย์ปู่ประถม อาจสาครและพี่ใหญ่ - ที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ (ความลับแห่งสวรรค์) ข้างต้น ให้ประจักษ์แจ้งในวงแคบคือผู้ศรัทธาเท่านั้น
    - อื่นๆ
    2. เพื่อเผยแพร่เกล็ดเล็กเกล็ดน้อยจากครูบาอาจารย์ที่ได้สอนสั่งมา ให้คนทั่วไปที่ยังไม่ได้รู้ ให้ได้รู้พอสังเขป เช่น วิธีการอาราธนาพระพิมพ์ที่ถูกต้อง หรืออื่นจากหลังสือ ปู่เล่าให้ฟัง,ประวัติบรมครูฯ,การวิเคราะห์พระพิมพ์ฯ

    3. เพื่อเผยแพร่บทสวดมนต์สั้นๆ พระคาถาที่สำคัญๆ และใช้ได้ผลดีเป็นที่ประจักษ์

    4. เพื่อคัดสรรค์เนื้อหาสาระหนังสือที่ปู่เขียนมาจากข้อ 2. นำมาเป็นบทคัดย่อ ปรับปรุงให้ทันสมัยมากขึ้น

    5. ....
     

แชร์หน้านี้

Loading...