การตัดหัวถวายของเหล่าอนาคตวงศ์ ซึ่งถือว่าเป็นการฆ่าตนเอง บาปหรือไม่?

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย TONY2, 9 มกราคม 2006.

  1. พระศุภกิจ ปภัสสโร

    พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,166
    พระมหาสัตว์ทั้ง 10 พระองค์

    [​IMG]

    คลิ๊กชม
     
  2. suvicht

    suvicht เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +312
    จิตสุดท้ายเป็นตัวกำหนด--*
     
  3. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    สาธุ กราบอนุโมทนากับพี่โอ๊ต ด้วยนะครับ
    ตอบน่ารักจังอิอิๆๆๆๆๆ
     
  4. บัวเกี๋ยง

    บัวเกี๋ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2008
    โพสต์:
    549
    ค่าพลัง:
    +431
    สีพระพุทธเจ้าถูกหรือเปล่าครับ
     
  5. บังรอน

    บังรอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,368
    ค่าพลัง:
    +1,788
    บุญ บาป
    เป็นเรื่อง จิ๊บ จิ๊บ
    บารมีคือคำตอบสุดท้าย
     
  6. Armarmy

    Armarmy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +1,659
    เจตนา....อย่างเดียวเลย ไม่รู้จะ อธิบายให้มันมากมายอะไรอีก เพราะ มันขัดกับความคิด ปกติวิสัยของ คน มากๆ
     
  7. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    มันเป็นกำลังใจของท่านที่มากมายมหาศาลเกินจะบรรยายให้คนธรรมดารู้ได้ เข้าใจได้
    เป็นกำลังใจที่ประกอบด้วยปัญญาอย่างยิ่งยวด เกินจะบรรยายให้คนธรรมดารู้ได้ เข้าใจได้
    ต้องไปถึงจุดนั้นก่อนถึงจะรู้ เหมือนกับคนไม่เคยกินเหล้า ก็ไม่รู้หรอกว่าเมาเป็นอย่างไร ไม่เคยอมบอระเพ็ดก็ไม่รู้หรอกว่าขมขนาดไหน
     
  8. Aunyasit

    Aunyasit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +13,053
    ตามพุทธประเพณี การตัดศรีษะถวายเป็นพุทธบูชา สามารถทำได้ แต่ต้องกระทำต่อหน้าพระพุทธองค์เท่านั้น ส่วนใหญ่เมื่อกระทำแล้วก็จะได้รับพุทธทำนาย

    หากกระทำนอกเหนือจากที่อยู่ต่อหน้าพระพุทธองค์แล้วจะไม่เกิดอานิสงส์ที่เป็นกุศล ครับ
     
  9. ekkapon.ch

    ekkapon.ch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +257
    มันอยู่ที่กำลังใจในการสละออก อะไรๆก็สละมาแล้วข้าวของเงินทองต่างก็สละมาแล้ว เมื่อถึงที่สุดสิ่งสุดท้ายที่ยังไม่ได้ทำ แล้วยากจะทำแม้การสละชีวิตก็ไม่เสียดายสักนิด
     
  10. JIT_ISSARA

    JIT_ISSARA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    790
    ค่าพลัง:
    +1,163
    พระโพธิสัตว์ ตัดศรีษะ ถามว่าเป็นบุญหรือบาป ข้าพเจ้าขอให้ความคิดเห็นดังนี้
    พระโพธิสัตว์นั้นตอนนั้นท่านวางจิตอย่างไร

    ถ้าจิตท่านคิดว่าเป็นอานิสงค์ ถือว่าเป็นบุญ กายตาย แต่จิตท่านยังแจ่มใส่ เพราะจิตดังเดิมแท้ไม่มีตาย ทำให้ท่านได้ไปอยู่สวรรค์ แต่ยังไม่ถือว่าเป็นบุญใหญ่
    ถ้าจิตท่านมีความคิดว่า กาย ใจนั้นไม่เทียง แปรปรวนไม่ควรยึดมั่นถือมั่น แม้กายนี้ก้อไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา จิตน้อมถวายกายนี้ เพื่อบูชา บุญย่อมไม่มี

    บุญ บาปมีสำหรับผู้ที่ยังมีความคิดแบ่งแยกอยู่ ยังติดอยู่กับโลกธรรม 8 อยู่
    สำหรับพระอรหันต์ หรือผู้ละวางตัวตนได้แล้ว บุญ บาป ไม่มี เพราะไม่มีผู้กระทำ ทุกอย่างเป็นกริยาหมด ไม่มีกรรม หรือผู้กระทำ จึงไม่มีผู้รับผลของบุญและบาปนั้น

    ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องของท่านที่ตัดหัว ตอนนี้ถ้าถามผมเรื่องตัองตัดศรีษะตัวเองบูชาไหม ผมบอกว่าไม่ใช่ทางในปัจจับัน ในอดีตเราอาจจะผ่านมาแล้วก้อได้ ทางที่ถูกต้องคือการปฎิบัติธรรมมะ ให้เห็นธรรมที่ท่านเห็น พิจารณาหรือตระหนักรู้ในปัจจุบัน ว่าสิ่งไหนมีสาระ มีประโยชน์จึงทำ สิ่งไหนไม่มีประโยชน์ ไม่มีสาระ ควรงดเว้นไว้ เมื่อคิดดังนี้แล้ว บุญ บาปไม่มี ให้ดำเนินสูหนทางแห่งการปล่อยวางในทุกสิ่ง เข้าสู่จิตเดิมแท้จะดีกว่า

    ----- ขอฝากธรรมมะของหลวงพ่อพุธไว้--------------
    วิถีจิตสู่การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    แสดงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๘

    ณ สถานที่แห่งนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ภายหลังจากที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยามาทุกแบบทุกรูป และได้ไปศึกษาในสำนักอาจารย์ต่าง ๆ สำนักอาจารย์ใด ฤาษีตนใดที่มีชื่อเสียงโด่งดังและเก่งที่สุดในสมัยนั้น พระองค์ทรงไปศึกษาหมดทุกแห่ง จนจบหลักสูตรของคณาจารย์นั้น ๆ สมัยนั้นนิยมการบำเพ็ญสมาธิเพื่อให้ได้ฌาน ได้อภิญญา คือบำเพ็ญสมาธิแบบฌานสมาบัติมุ่งให้จิตสงบนิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน อยู่ภายในจิตเพียงอย่างเดียว แล้วจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติก็เพื่อสร้างชื่อเสียง เป็นอันว่าคณาจารย์หรือนัก ปฎิบัติในสมัยนั้นยังถูกโลกธรรมหรือเอาโลกธรรมเทิดไว้บนศีรษะเพราะยังติด อยู่ในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข การปฏิบัติก็มุ่งที่จะสร้างบารมีให้มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นที่นิยมนับถือของปวงชนในยุคสมัยนั้น จึงอยู่ในลักษณะการปฏิบัติเพื่อแสวงหาลาภ ผล แสวงหาบริวาร ไม่ได้มุ่งเพื่อความหลุดพ้นโดยตรง

    แต่จะด้วยประการใดก็ตาม การปฏิบัติของท่านเหล่านั้นก็เป็นการสร้างบารมี เพราะความเข้าใจของคนในยุคนั้นความสำเร็จที่เขาพึงประสงค์อยู่ตรงที่ว่า ในเมื่อปฏิบัติเคร่งครัด บำเพ็ญตบะแก่กล้า พระพรหม พระศิวะ พระนารายณ์ หรือพระเจ้าที่เขานับถือจะประทานพรให้เขาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งสุดแท้แต่เขาจะตั้งปณิธานความปรารถนาไว้อย่างไร ก็เป็นอันว่าการปฏิบัติก็เพื่อมุ่งลาภ ผล ชื่อเสียง ให้เป็นที่ประทับใจของคนในยุคนั้นสมัยนั้น การปฏิบัติของท่านเหล่านั้นจึงได้ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสร้างกิเลส เขาเอาโลกธรรมเทิดไว้บนศีรษะ

    แต่เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราได้ทรงศึกษาในสำนักของคณาจารย์นั้น ๆ เข้าไปศึกษาในสำนักอาจารย์ใด อาจารย์นั้นก็หมดภูมิ คือหมดภูมิที่จะสอนพระองค์อีกต่อไป เช่นอย่างไปศึกษาในสำนักของอาฬารดาบส อุทกดาบส ก็สอนพระองค์ได้เพียงฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เท่านั้น เมื่อถึงฌานขั้นนี้แล้ว อาจารย์ทั้งสองก็บอกว่าหมดภูมิแล้ว ไม่มีอะไรจะสอนท่านอีกต่อไป ขอให้ท่านอยู่ในสำนักเพื่อช่วยสั่งสอนประชาชนอบรมศิษยานุศิษย์ต่อไปเถิด

    เมื่อพระองค์ได้พิจารณาดูโดยรอบคอบแล้ว คือพระองค์สังเกตอย่างนี้ ในขณะที่จิตของพระองค์อยู่ในสมาธิ ฌานขั้นที่ ๔ ร่างกายตัวตนหายไปหมด มีแต่จิตดวงเดียว นิ่ง สว่าง ลอยเด่นอยู่ในท่ามกลางแห่งความว่าง มีจิตอาศัยความสว่างเป็นอารมณ์ ความรู้สึกยินดีไม่มี ความรู้สึกยินร้ายไม่มี คณาจารย์เหล่านั้นจึงถือว่าเขาหมดกิเลสแล้ว แต่เมื่อพระพุทธองค์ได้ไปศึกษาจนจบหลักสูตรของอาจารย์ดังกล่าว ในขณะที่จิตอยู่ในสมาธิ มองหากิเลสตัวใดไม่มี เป็นจิตบริสุทธิ์สะอาดแท้จริง แต่ยังไม่เป็นอมตะ เพราะเมื่ออกจากสมาธิแล้ว เมื่อตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ได้สัมผัสกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ความยินดียินร้ายมันยังมีปรากฏอยู่ในจิต พระองค์จึงพิจารณาอย่างรอบคอบว่ามันยังไม่ถึงที่สุด ถ้าหากว่าเราหมดกิเลสอย่างแท้จริง อยู่ในสมาธิเป็นอย่างไร กิเลสไม่มี เมื่ออกจากสมาธิแล้ว กิเลสก็ต้องหมดไป สิ่งที่ส่อแสดงให้พระองค์รู้ว่าพระองค์ยังมีกิเลสอยู่ก็คือ พระองค์ยังมีความยินดียินร้ายพอใจ ไม่พอใจ แล้วก็ยังยึดมั่นอยู่ในสังขารร่างกายว่าเป็นเรา เป็นเขา เป็นของเรา ของเขา ดังนั้นพระองค์จึงตัดสินพระทัยอย่างแน่วแน่ว่ายังทรงไม่สำเร็จ
    ภายหลังจากที่พระองค์ทรงรับหญ้าคา ๘ กำ ของโสตถิยพราหมณ์ กุสะ แปลว่า หญ้าคา คา แปลว่าข้อง ติด มาตอนนี้พระองค์ทรงเอาหญ้าคา ๘ กำ มาขดเป็นบรรลังก์ประทับนั่ง มุ่งหน้าประพฤติปฏิบัติโดยไม่มุ่งผลประโยชน์อันใดในด้านวัตถุธรรม มุ่งแต่เพียงจะดำเนินไปสู่การตรัสรู้ คือความหมดกิเลส สู่ความเป็นพระอรหันต์เท่านั้น จึงได้ชื่อว่าเอาโลกธรรม ๘ มารองนั่ง แทนที่จะเอาเทิดไว้บนศีรษะดังก่อน คราวนี้เอาโลกธรรมมารองนั่ง

    พระองค์ประทับนั่งอย่างไร เราเคยเห็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิอย่างไร พระองค์ก็ประทับนั่งอย่างนั้น อันนี้ไม่ต้องอธิบาย ทีนี้เมื่อพระองค์ประทับนั่งขัดสมาธิเป็นที่เรียบร้อย พระองค์ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น คือกำหนดรู้ที่จิตของพระองค์เพียงถ่ายเดียว ไม่ได้สนใจกับสิ่งใด ๆ แต่ในช่วงขณะจิตนั้นเอง พอพระองค์มาวิตกว่าเราจะเริ่มกันที่จุดไหน อตีตารมณ์คืออารมณ์ในอดีตได้ผุดขึ้นมาในพระทัยของพระองค์ ทำให้พระองค์ทรงรำลึกถึงเมื่อสมัยยังเป็นพระกุมาร พระบิดาทำพิธีแรกนาขวัญ พระพี่เลี้ยงนางนมผูกพระอู่ให้บรรทมอยู่ใต้ต้นหว้า ในช่วงที่พี่เลี้ยงนางนมหรือคนทั้งหลายเขาเพลิดเพลินในการดูมหรสพ ดูพิธีแรกนาขวัญ พระองค์ถูกปล่อยให้บรรทมในพระอู่ใต้ต้นหว้าแต่เดียวดาย
    โอกาสที่ว่างจากการคลุกคลีจากผู้คนนั้นเอง พระองค์ผู้เป็นพระกุมารน้อย ๆ ทรงวิตกถึงลมหายใจ กำหนดรู้ลมหายใจเป็นอารมณ์ นับว่าพระองค์ได้สำเร็จปฐมฌานตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อพระองค์มารำลึกถึงที่ตรงนี้ พระองค์ก็ได้ความรู้ตัวขึ้นมาว่า จุดเริ่มของการปฏิบัติอยู่ตรงนี้ คือการกำหนดลมหายใจเป็นอารมณ์เพื่อกำหนดให้รู้ความเป็นจริงของร่างกาย แล้วพระองค์ก็มีพระสติกำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก

    วิธีการของพระองค์นั้น เพียงแต่มีพระสติกำหนดรู้อยู่เท่านั้น แต่เพราะอาศัยที่กายกับจิตของพระองค์ยังมีความสัมพันธ์กันอยู่ เมื่อจิตอยู่ว่าง ๆ สิ่งที่จะปรากฏเด่นชัดก็คือลมหายใจ เพราะอาศัยที่พระองค์เคยบรรลุปฐมฌานมาแล้ว จิตของพระองค์จึงจับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แต่พระองค์เพียงมีพระสติกำหนดรู้ลมหายใจ ไม่ได้บังคับลมหายใจ ไม่ได้บังคับจิตให้สงบ ปล่อยไปตามธรรมชาติ แต่พระองค์กำหนดเอาพระสติอย่างเดียวรู้ที่จิต บางครั้งลมหายใจก็ปรากฏว่าหยาบ คือหายใจแรงขึ้น พระองค์ก็ปล่อยไปตามธรรมชาติ ในบางครั้งลมหายใจค่อย ๆ ละเอียดขึ้น ๆ คล้าย ๆ กับจะหยุดหายใจ พระองค์กลัวว่ามันจะเลยเถิดเมื่อกระตุ้นเตือนจิตให้มีความหยาบขึ้น ลมหายใจก็เด่นชัดชัดขึ้น เมื่อกำหนดรู้ลมหายใจอย่างไม่ลดละแล้วพระองค์ไม่ได้นึกว่า ลมหายใจสั้น ลมหายใจยาว ลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียด เพียงแต่กำหนดรู้เฉยอยู่เท่านั้น ปล่อยให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติของจิต เมื่อหนัก ๆ เข้า จิตยึดลมหายใจอย่างเหนียวแน่น ในบางครั้งพระองค์จะมองเห็นลมหายใจวิ่งออกวิ่งเข้าเป็นท่อยาว สว่างเหมือนหลอดไฟนีออน หนัก ๆ เข้า พอจิตสงบละเอียดไปในระหว่างอุปจารสมาธิ จิตของพระองค์วิ่งเข้าไปสว่างนิ่งอยู่ในท่ามกลางของร่างกายไปรวมตัวอยู่ใน ท่ามกลางระหว่างทรวงอก ความสว่างไสวแผ่ซ่านออกมาทั่วร่างกาย พระองค์มีความรู้สึกประหนึ่งว่าความสว่างได้ครอบคลุมพระกายของพระองค์อยู่ ในช่วงนั้น พระองค์เกิดความรู้ความเห็น เห็นอาการ ๓๒ ที่เรายึดมาเป็นบทสวดมนต์ในปัจจุบันนี้

    อะยัง โข เม กาโย กายของเรานี้แล
    อุทธัง ปาทะตะลา เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา
    อะโธ เกสะมัตถะกา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป
    ตะจะปะริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ
    ปูโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ
    อัตถิ อิมัสมิง กาเย มีอยู่ในกายนี้
    เกสา คือผมทั้งหลาย โลมา คือขนทั้งหลาย
    นะขา คือเล็บทั้งหลาย ทันตา คือฟันทั้งหลาย
    ตะโจ คือหนัง มังสัง คือ เนื้อ
    นะหารู คือเอ็นทั้งหลาย อัฏฐิ คือกระดูกทั้งหลาย
    อัฏฐิมิญชัง เยื่อในกระดูก วักกัง ม้าม
    หะทะยัง หัวใจ ยะกะนัง ตับ
    กิโลมะกัง พังผืด ปิหะกัง ไต
    ปัปผาสัง ปอด อันตัง ไส้ใหญ่
    อันตะคุณัง ไส้น้อย อุทะริยัง อาหารใหม่
    กะรีสัง อาหารเก่า มัตถะเก มัตถะลุงคัง เยื่อในสมอง
    ปิตตัง น้ำดี เสมหัง น้ำเสลด
    ปุพโพ น้ำเหลือง โลหิตัง น้ำเลือด
    เสโท น้ำเหงื่อ เมโท น้ำมันข้น
    อัสสุ น้ำตา วะสา น้ำมันเหลว
    เขโฬ น้ำลาย สิงฆานิกา น้ำมูก
    ละสิกา น้ำไขข้อ มุตตัง น้ำมูตร
    เอวะมะยัง เม กาโย กายของเรามีอย่างนี้
    อุทธัง ปาทะตะลา เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา
    อะโธ เกสะมัตถะกา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป
    ตะจะปะริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ
    ปูโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ อย่างนี้แล

    ความรู้อันนี้พระพุทธองค์ได้รู้เห็นก่อนการตรัสรู้ แล้วกลายเป็นกายคตาสติสูตร ที่เราผู้ปฏิบัติยึดเป็นแนวทางแห่งการพิจารณาอสุภกรรมฐาน เมื่อจิตของพระพุทธองค์ไปสงบนิ่งสว่างอยู่ในท่ามกลางของร่างกาย ทำให้พระองค์รู้ความเป็นจริงของร่างกายทั่วหมดในขณะจิตเดียว คือพระองค์มองเห็นหัวใจกำลังเต้น ฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มองเห็นปอดกำลังสูดอากาศเข้าไปเลี้ยงร่างกาย มองเห็นตับกำลังแยกเก็บอาหารส่วนละเอียดไว้ไปเลี้ยงร่างกาย มองเห็นตับอ่อนกำลังทำหน้าที่ช่วยย่อยอาหารและนำเอากรดมาช่วยย่อยอาหาร ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ พระองค์รู้ทั่วถ้วนหมดทุกสิ่งทุกอย่างในขณะจิตเดียว แล้วพระจิตของพระองค์ก็วิตกอยู่กับสิ่งเหล่านี้ กำหนดรู้อยู่กับสิ่งเหล่านี้จนกระทั่งจิตละเอียดลงไป ๆ กายจางหายไป ยังเหลือแต่จิตนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในจักวาลนี้รู้สึกว่ามีแต่จิตของพระองค์ดวงเดียวเท่านั้นสว่างไสวอยู่

    ในตอนนี้จิตของพระองค์เป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตเป็น อัตตาทีปะ มีตนเป็นเกาะ เป็น อัตตสรณา มีตนเป็นที่ระลึก คือ ระลึกอยู่ที่ตน รู้อยู่ที่จิต อัตตาหิ อัตตโน นาโถ จิตมีตนเป็นตนของตน เมื่อจิตของพระองค์ไปดำรงอยู่ในสมาธิขั้นจตุตถฌานนานพอสมควร ต่อไปนี้จะได้ลำดับองค์ฌาน
    ปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิตก หมายถึง จิตไปรู้อยู่กับสิ่ง ๆ หนึ่ง หรือบางทีไปรู้เฉพาะในจิตเพียงอย่างเดียวแล้วก็มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง คือจิตรู้อยู่ที่จิต อันนี้เป็นปฐมฌาน
    ทุติยฌาน จิตไม่ได้ยึดสิ่งรู้ แต่รู้อยู่ที่ตัวเอง แต่ก็ยังรู้สึกว่ามีปีติ มีสุข แล้วก็มีเอกัคคตา
    เมื่อจิตสงบละเอียดลงไป ปล่อยวางปีติ ยังเหลือแต่ความสุขก็อยู่ในฌานที่ ๓ ตอนนี้จะรู้สึกว่ากายละเอียด ค่อย ๆ จางไป แต่ยังปรากฏอยู่ จิตจะเสวยสุขในปีติอย่างล้นพ้น ซึ่งจะหาความสุขใดเปรียบเทียบไม่ได้
    แล้วในที่สุดกายก็หายไป ความสุขก็พลอยหายไปด้วย ยังเหลือแต่จิตนิ่งสว่างไสวอยู่อย่างนั้น จิตเป็นหนึ่งคือ เอกัคคตา แล้วก็เป็นกลางโดยเที่ยงธรรม ซึ่งเรียกว่า อุเบกขา ขอย้ำอีกที่หนึ่งว่า
    ฌานที่ ๑ ประกอบไปด้วยองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ฌานที่ ๒ ประกอบไปด้วยองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
    ฌานที่ ๓ ประกอบไปด้วยองค์ ๒ คือ สุข กับเอกัคคตา
    ฌานที่ ๔ ประกอบไปด้วยองค์ ๒ คือ เอกัคคตา กับอุเบกขา
    เป็นอันว่าในช่วงนั้นจิตของพระองค์ดำรงอยู่ในจตุตถฌาน เมื่อเข้าถึงจตุตถฌานแล้ว แทนที่จะก้าวหน้าไปอากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตะนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แต่พอขยับจะเคลื่อนจากฌานที่ ๔ วกเข้าไปสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ คือเข้านิโรธสมาบัติ จิตอยู่ในนิโรธสมาบัติ ดับความสว่าง จิตรู้อยู่ในจิตอย่างละเอียด สัญญาเวทนาดับไปหมด แต่ก็ยังมีเหลือรู้อยู่เพียงนิดเดียวเท่านั้น สัญญาเวทยิตนิโรธเป็นฐานสร้างพลังจิต คือพลังสมาธิ พลังสติปัญญา เพื่อเตรียมก้าวขึ้นไปสู่ภูมิธรรมขั้นโลกุตตระ
    เมื่อจิตของพระองค์ดำรงอยู่ในสัญญาเวทยิตนิโรธ สร้างพลังเพียงพอแล้ว จิตเบ่งบานออกมาทีหนึ่งสามารถแผ่รัศมีสว่างไสวครอบคลุมจักวาลทั้งหมด ไม่มีสิ่งใดจะปิดบังจิตดวงนี้ พระจันทร์ พระอาทิตย์ แม้จะส่องแสงลงมาสู่โลก ก็ส่องไปได้เฉพาะที่ไม่มีสิ่งกำบัง แต่จิตของพระพุทธองค์นั้นส่องสว่างไปทั่วหมดทุกหนทุกแห่ง ไม่มีสิ่งกำบัง ไม่มีอะไรที่จะปิดบังดวงจิตดวงนี้ได้ มองทะลุจนกระทั่งบาดาลถึงพิภพพญานาค มองทะลุจนกระทั่งผืนแผ่นดิน พระองค์สามารถกำหนดความหนาของแผ่นดินได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ในช่วงนั้นทำให้พระองค์ตรัสรู้เป็นโลกวิทู ผู้รู้แจ้งโลก
    โลก ตามความหมายในทางธรรมะ มีอยู่ ๓ โลก
    ยมโลก ได้แก่โลกเบื้องต่ำ คือต่ำกว่าภูมิมนุษย์และภูมิสัตว์เดรัจฉาน
    ลงไป ได้แก่ภพของภูตผีปีศาจ เปรต อสุรกาย สัตว์นรก อันนั้น
    เรียกว่า ยมโลก
    มนุสสโลก ได้แก่ แดนเป็นที่อยู่ของมนุษย์และสัตว์ผู้มีกายมีใจ
    เทวโลก ได้แก่ แดนเป็นที่อยู่ของเทวดา ตั้งแต่เทวดาชั้นจาตุ ฯ สูงสุด
    จนกระทั่งพรหมโลกชั้นอกนิษฐาพรหม
    พระองค์รู้พร้อมในขณะจิตเดียว ทั้งยมโลก มนุสสโลก เทวโลก แล้วเกิดความรู้ต่อไปอีก ทำไมสัตว์ทั้งหลายจึงมีประเภทต่าง ๆ กัน อันนี้พระองค์ยังไม่ได้คิดเช่นนั้น เป็นแต่มองเห็นความแตกต่างของสัตว์และมนุษย์ เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ ภูตผีปีศาจ เปรต อสุรกายทั้งหลายเท่านั้น แล้วก็รู้กฎของกรรมเป็นสิ่งจำแนกสัตว์ให้มีประเภทต่าง ๆ รู้กิเลสคืออวิชชาที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์ทั้งหลายต้องทำกรรม แต่ในขณะที่รู้นั้น พระองค์รู้นิ่งอยู่เฉย ๆ ทรงรู้จนกระทั่งเหตุ รู้ทั้งปัจจัย รู้ความเป็นไปของมวลหมู่สัตว์ทั้งหลายในจักวาลนี้ แต่จิตดวงนี้คิดไม่เป็น พูดไม่เป็น สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น รู้เห็นแล้วก็สามารถบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้พร้อมหมดทั้งเรื่องของปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ บันทึกไว้พร้อมไม่มีขาดตกบกพร่อง ตามนิสัยของพระสัพพัญญู
    อันนี้เป็นการตรัสรู้ของพระองค์ พระองค์ตรัสรู้ในขณะที่จิตไม่มีร่างกายตัวตน ซึ่งแม้ไม่มีร่างกายตัวตน จิตสามารถรู้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ แต่ว่าพูดไม่เป็น คิดไม่เป็น ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น จิตของเรานี่จะคิดได้ต่อเมื่อยังสัมพันธ์อยู่กับร่างกาย เมื่อแยกจากร่างกายออกไปแล้วไม่มีเครื่องมือจึงคิดไม่เป็น ความคิดมันเกิดจากประสาทสมอง จิตไม่มีร่างกายตัวตน ไม่มีรูป ไม่มีร่าง จึงไม่มีมันสมองที่จะใช้ความคิด เพราะฉนั้นรู้เห็นอะไรก็ได้แต่นิ่ง แต่สามารถบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ไว้พร้อมหมดไม่มีขาดตกบกพร่อง
    เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นโลกวิทูละเอียดถี่ถ้วนดีแล้ว จิตของพระองค์ถอนจากสมาธิขั้นนี้มา พอมารู้สึกว่ามีกาย ตอนนี้ได้เครื่องมือแล้ว จิตของพระองค์จึงมาพิจารณาทบทวนถึงสิ่งที่รู้เห็นนั้นซ้ำอีกทีหนึ่ง เรียกว่าเจริญวิปัสสนา ทรงพิจารณาเรื่องปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติหนหลังได้ ตั้งแต่ชาติหนึ่ง ชาติสอง ชาติร้อย ชาติพัน ชาติหมื่น ชาติแสน ชาติล้าน....ไม่มีที่สิ้นสุด ว่าพระองค์เคยเกิดเป็นอะไรมาบ้างกว่าจะได้มาถึงการตรัสรู้นี่
    นอกจากพระองค์จะรู้เรื่องของพระองค์เองแล้ว ยังสามารถรู้เรื่องของคนอื่นสัตว์อื่นได้ด้วยว่ามวลสัตว์ทั้งหลายในจักวาล นี้ได้เกิดมาแล้วกี่ภพกี่ชาติ เคยเป็นอะไรมาบ้าง อันนี้เป็นความรู้เรื่องปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จิตของพระองค์คิดพิจารณาเรื่องปุพเพนิวาสานุสสติญาณในปฐมยาม และในมัชฌิมยามพระองค์ได้พิจารณาเรื่องการจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย จุติก็คือตาย เกิดก็คือเกิดนั่นแหละ ทำไมสัตว์ทั้งหลายจึงมีประเภทต่าง ๆ กัน อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย เพราะกรรมเป็นเหตุเป็นปัจจัย จึงเป็นสุภาษิตขึ้นมาว่า กมฺมํ สตฺเต วิภชฺชติ กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้มีประเภทต่าง ๆ กัน เกิดขึ้นตั้งแต่ในสมัยนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อพระองค์มาสอนธรรมแก่มวลสัตว์ทั้งหลาย พระองค์จึงสอนให้พิจารณากรรมเป็นส่วนใหญ่ว่า เรามีกรรมเป็นของ ๆ ตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กฎของกรรมนี่เกิดจากการทำ การพูด โดยอาศัยความคิดเป็นผู้ตั้งเจตนาว่าจะทำจะพูดจะคิด ในเมื่อทำอะไรลงไปโดยเจตนา สิ่งนั้นสำเร็จเป็นกรรม เรื่องนี้พระองค์พิจารณาจบลงในมัชฌิมยาม
    แล้วก็ทรงคำนึงต่อไปอีกว่า อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้สัตว์ทั้งหลายต้องทำกรรม ก็มาได้ความเป็นภาษาสมมติบัญญัติว่าอวิชชาความไม่รู้จริง ความรู้ไม่จริงนี่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายทำกรรมตามที่ตนเข้าใจว่ามันถูก ต้อง แต่สิ่งที่สัตว์เข้าใจและมีความเห็นว่าถูกต้องนั้น บางอย่างมันก็ถูกต้องตามใจของตนเอง แต่ขัดกับกฎธรรมชาติ บางอย่างมันก็ถูกต้องตามใจของตนเอง และถูกกับกฎธรรมชาติ ดังนั้นสัตว์ทั้งหลายผู้รู้ไม่จริง จึงทำกรรมดีทำกรรมชั่วคละเคล้ากันไป หมายถึงทำกรรมที่เป็นบาป ทำกรรมที่เป็นบุญ ทำกรรมที่เป็นชั่ว ทำกรรมที่ดี ภาษาบาลีว่า กุศลกรรมคือกรรมดี อกุศลกรรมคือกรรมชั่ว ทำไปตามความเข้าใจของตนเอง ในเมื่อทำแล้วก็ย่อมได้รับผลของกรรม ได้รับผลของกรรมแล้วก็ต้องเกิดอีก เกิดมาอีกก็ต้องอาศัยกิเลสคืออวิชชาตัวเดียวนั่นแหละ ทำกรรมแล้วทำกรรมเล่า เกิดแล้วเกิดเล่าไม่รู้จักจบจักสิ้น เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสาร เรื่องนี้พระองค์พิจารณาจบลงในปัจฉิมยาม

    ในเมื่อพระองค์ได้พิจารณา ๓ เรื่อง ตามลำดับยามทั้ง ๓ จบลงแล้ว จิตของพระองค์ยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ตรัสรู้นี้ เป็นความจริงแท้ไม่แปรผัน ในช่วงขณะจิตนั้น อรหัตตมัคคญาณจึงบังเกิดขึ้น ตัดกิเลสอาสวะขาดสะบั้นไปในปัจฉิมยาม จึงได้พระนามว่า อรหัง สัมมาสัมพุทโธ ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ด้วยประการฉะนี้ อันนี้คือลักษณะการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
     
  11. Sirichut

    Sirichut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +308
    เป็นการบำเพ็ญบารมีในการสละขั้นสูงสุดครับ

    ในทางส่วนตัวนั้นผมคิดว่า การปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์นั้นต้องกระทำการเสีัยสละไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งครับเช่น เสียสละออกรบ เสียลสะปกครองโลกมนุษย์ เสียสละชีพไม่ว่าด้านใดก็ด้านหนึ่งครับ

    โอกาสที่ต้องทำนั้นมีมากเพราะ บารมีที่ทำมาส่งผลเหนี่ยวรั้งให้เกิดการสละโดยปริยายครับ อาจเป็นสภาวะที่จิตใจมีสมาธิและปัญญา ไม่ถือว่าเป็นการอัตตวินิบากกรรมครับ

     
  12. พระยาเดโชชัยมือศึก

    พระยาเดโชชัยมือศึก สินธพอมรินทร์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2005
    โพสต์:
    2,742
    ค่าพลัง:
    +12,024
    แม้นแต่ชีวิตก็ให้ได้ ก็คือสิ่งที่มีค่าที่สุดที่พึ่งมีในยุคก่อนก็คือชีวิตนี่แหล่ะ แต่ยุคก่อน เป็นยุคที่เป็นยุคอภิญญา สามารถที่จะตัดศีรษะได้ ถ้าไม่มีอะไรจะสามารถถวายให้ได้ ก็ขอถวายศีรษะตนเอง การฆ่าตัวตายจริงๆถ้ามีจิตใจขั้นอภิญญาจริงๆ จิตจะเกาะอยู่กับความศรัทธา ไม่เหมือนกับบุคคลธรรมดาที่เวลาฆ่าตัวตาย เพราะตอนที่จะปลิดชีพตัวเอง จิตใจช่วงนั้นย่อมมีอาการวิตก อาจจะกลัว หรือไม่สามารถควบคุมจิตใจตนเองได้ ก็ลงอบาย เรื่องของจิต จิตขณะที่ตนใกล้ตายคิดถึงอะไรไปเกิดเป็นอะไร ตามที่เราเข้าใจกัน ขณะตายมีความโกธรเป็นสัตว์นรก
    แต่ยุคก่อนพอถวายศีรษะ ผู้ถวายที่มีฤทธิ์ ท่านย่อม มีจิตใจที่ผ่องใส ก็ไปจุติในภพภูมิที่ดีต่อไป เพราะทานบารมีที่ได้กระทำก่อนตาย
     
  13. canopus

    canopus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2009
    โพสต์:
    86
    ค่าพลัง:
    +531
    การใช้ชีวิตถวายเป็นพุทธบูชาของเหล่าพระโพธิสัตว์นั้น ต่างจากพวกฆ่าตัวตายทั่วไปมากมายนะครับ อย่าเอามาเปรียบเทียบกันเลยดีกว่า พวกที่ฆ่าตัวตายให้เห็นกันทั่ว ๆ ไปนั่น ส่วนใหญ่มันก็ฆ่าตัวตายเพราะความโศกเศร้าเสียใจผิดหวังหรือด้วยเหตุอะไรก็แล้วแต่ ถือเป็นการตายด้วยความหลงผิด ความไม่รู้ อวิชชาเช้าครอบงำ จิตใจจึงเศร้าหมองเป็นอกุศลในขณะที่ตายจึงลงสู่ทุคติภูมิอย่างเดียว

    ผิดกับพระโพธิสัตว์ที่ใช้ชีวิตเป็นพุทธบูชา นั่นท่านตายไปด้วยธรรมปิติเป็นการสร้างบารมีใหญ่ จิตท่านในขณะนั้นเป็นมหากุศล ซึ่งผู้ที่จะทำได้แบบนี้กำลังใจย่อมสูงส่งมากเลยทีเดียว ต้องเป็นผู้ที่บำเพ็ญบารมีมามากแล้วพอสมควร จึงผิดกันมากกับพวกฆ่าตัวตายด้วยเหตุอื่น

    เรื่องของคนทีี่่ใช้ชีวิตของตัวเองถวายเป็นพุทธบูชานั้น แม้ปัจจุบันในยุครัตนโกสินทร์นี้ก็ยังมีปรากฎให้เห็นอยู่ อย่างนายเรืองและนายนก ที่ใช้่ร่างกายของตัวเองจุดไฟต่างประทีปเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ไงก็ลองศึกษาข้อมูลดูนะครับ...


    เรื่องของนายเรืองและนายนก เผาตัวเองถวายเป็นพุทธบูชาเพื่อพระโพธิญาณ

    เมื่อกล่าวถึงวัดอรุณราชวรารามแล้ว ทุก ๆ คนล้วนแต่รู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากวัดแห่งนี้เป็นวัดที่สำคัญ และสวยงามมากแห่งหนึ่งในกรุงเทพ ฯ หลายคนคงนึกถึงวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีพระปรางค์สูงใหญ่สง่างาม หลายคนคงนึกถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เบียดเสียดกันข้ามเรือมาชมความ งามของวัดแห่งนี้

    แต่ในบทความนี้ผมมิได้มุ่งกล่าวถึงประวัติ หรือปูชนียสถานอันยิ่งใหญ่และสวยงามของวัดอรุณราชวรารามแต่อย่างใด เนื่องจากเรื่องราวที่ผมจะกล่าวถึงนี้เป็นเรื่องราวที่ถูกเลือมเลือนไปจาก ความทรงจำของใครหลาย ๆ คน

    นั่นก็คือ เรื่องราวของ "นายนก และนายเรือง" ผู้เผาตัวตายเพื่อมุ่งบรรลุพระโพธิญาณ

    หากใครได้เดินทางไปยังวัดอรุณราชวราราม หากลองเดินสำรวจทุกซอกทุกมุมของวัดแล้ว จะพบศาลาของนายนกและนายเรือง อยู่ด้านหน้าพระอุโบสถติดกับรูปปั้นยักษ์ 2 ตน

    เรื่องราวของทั้งนายเรืองและนายนกปรากฏในหลักศิลาจารึกกรุงรัตน โกสินทร์ หลักที่ 133 ซึ่งมีใจความกล่าวถึงนายเรืองว่า นายเรืองได้เผาตัวตายเมื่อปี พ.ศ. 2333 เนื่องจากเป็นผู้มีความศรัทธาในพุธศาสนาอย่างแก่กล้า กินน้อยมักน้อย ใช้ชีวิตอย่างสันโดษ ขยันทำบุญสุนทาน โดยก่อนหน้าที่นายเรืองจะเผาตัวตาย นายเรืองและเพื่อนได้ใช้ดอกบัวอ่อนเสี่ยงทายว่าใครจะสำเร็จพระโพธิญาณก่อน กัน หากรุ่งเช้าดอกบัวของใครบานแสดงว่าคนนั้นเป็นผู้สำเร็จพระโพธิญาณ พอรุ่งเช้าปรากฏว่าดอกบัวของนายเรืองบาน แต่ดอกบัวของเพื่อนนั้นไม่บาน นับแต่นั้นมานายเรืองจึงถือศีลและสวดมนต์อย่างเคร่งครัด และพันผ้าราดน้ำมันจุดไฟเผาแขนทั้ง 2 ข้างต่างธูปเทียนบูชาพระทุกวัน จนในที่สุดนายเรืองจึงได้เผาตัวตาย ซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 1 ดังข้อความที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า

    --"ก่อน ที่นายเรืองจะเผาตัวตายประมาณ ๙ - ๑๐ วัน นายเรืองกับเพื่อนอีก ๒ คนคือ ขุนศรีกัณฐัศว์ แห่งกรมม้า และนายทองรัก ได้พากันไปอธิษฐานที่พระะอุโบสถวัดครุฑ โดยมีดอกบัวตูมไปคนละดอก ต่างอธิษฐานว่าใครจะสำเร็จพระโพธิญาณแล้ว ขอให้ดอกบัวผู้นั้นจงเบ่งบาน

    รุ่ง ขึ้นปรากฏว่าดอกบัวของนายเรืองบานเพียงผู้เดียว ของอีก ๒ คนไม่ยอมบาน ทำให้นายเรือง เชื่อมั่นว่าตนนั้นจะเป็นผู้ได้สำเร็จพระโพธิญาณ แน่ จึงได้ไปที่ศาลาการเปรียญวัดอรุณฯ สมาทานพระอุโบสถศีล ฟังเทศนาและเอาสำลีชุบน้ำมันวางพาดที่แขน และ จุดไฟเผาเป็นพุทธบูชาแทนดวงประทีปทุกวัน แม้จะร้อนอย่างไรนายเรืองก็ทนได้ เพราะในใจคิดแต่เรื่องพระโพธิญาณเท่านั้น

    ในวันเผาตัว เวลาทุ่มเศษ เมื่อนายเรืองได้ฟังเทศน์จบแล้ว ก็นุ่งผ้าชุบน้ำมันเดินออกมาที่หน้าศาลาการเปรียญ นั่งพนมมือในท่าที่เหมือนที่สลักเป็นหินไว้ เมื่อนั่งรักษาอารมณ์จนสงบดีแล้วจึงจุดไฟเผาตัวเอง ขณะที่ไฟลุกขึ้นท้วมตัวนั้น นายเรืองตะโกนประกาศร้องดังๆว่า " สำเร็จปรารถนาแล้ว....สำเร็จปรารถนาแล้ว...."

    ขณะนั้นมีคนยืนดูการ เผาตัวครั้งนี้ประมาณ ๕๐๐ - ๖๐๐ คนเพราะมีการประกาศให้รู้ล่วงหน้า คนที่ยืนดูต่างก็ร้องดังๆ ว่า "สาธุ!" ขึ้นพร้อมกัน แล้วก็เปลื้องผ้าห่มโยนเข้ากองไฟ แม้แต่คนนับถือศาสนาอื่นยังก้มหัวคำนับแล้วโยนหมวกเข้ากองไฟด้วย

    พอ ไฟโทรมลง คนที่ศรัทธาได้ช่วยกันยกศพของนายเรืองใส่โลงตั้งไว้ที่ศาลาการเปรียญ สวดอภิธรรม ๓ คืน แล้วจึงนำไปเผาที่ทุ่งนาวัดหงส์รัตนาราม ติดกับพระราชวังเดิม กล่าวกันว่าเมื่อตอนที่จุดไฟเผาศพนายเรือง ได้มี ปลาในท้องนากระโดดเข้ามาเผาตัวในกองไฟด้วย ๑๑ - ๑๒ ตัว

    อัฐินาย เรืองนั้นปรากฏว่ามีสีต่างๆ ทั้งเขียว ขาว เหลือง ขาบ ดูประหลาด จึงชวนกันเก็บใส่โกศดีบุกตั้งไว้บนศาลาการเปรียญวัดอรุณราชวราราม"---


    ส่วน เรื่องราวของนายนกนั้พบสรุปได้ว่า นายนกเป็นผู้ศรัทธาในพุทธศาสนา มักน้อย สันโดษ ใจบุญสุนทาน และเผาตัวตายเพื่อมุ่งบรรลุพระโพธิญาณเช่นเดียวกับนายเรือง ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 2 ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับเจ้าพระยาทิพรกรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เมื่อปี พ.ศ. 2359 ความว่า

    --"วัน นั้นฝนตกหนัก ตั้งแต่เวลาพลบค่ำจนสิบเอ็ดทุ่มจึงหยุด ครั้งเวลาเช้าชายหญิงจึงมา เห็นนายนกเผาตัวเองตาย ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ที่หน้าพระอุโบสถเก่าแก่ แต่ไฟนั้นดับแล้ว ก่อนหน้านั้นนายนกได้เคยบอกแก่ญาติมิตรชาวบ้านที่ชอบกันว่านายนกจะ ประพฤติสุจริตทำบุญรักษาศีลตั้งจิตปราถนานิพพานธรรม!!! ตั้งแต่นั้นมานายนกก็ปฏิบัติมักน้อย ลาบ้านเรือนญาติมิตรเสีย ออกไปสมาทานศีลเจริญภาวนารักษาจิตอยู่ในศาลาการเปรียญเก่าวัดอรุณราชวรา ราม(วัดแจ้ง) จะได้เป็นกังวลด้วยการบำรุงกายและกิจที่บริโภคนั้นหามิได้ เมื่อ ใครมีน้ำใจให้อาหารก็ได้บริโภคบ้าง บางทีก็ไม่ได้บริโภคอาหาร อดอาหารมือหนึ่งบ้าง บางวันก็ไม่ได้บริโภค ทรมานตนมาจนวันเผาตัวตาย เมื่อนายนกจะเผาตัวนั้นได้บอกกล่าวญาติมิตรผู้หนึ่งผู้ใดนั้นไม่มี คนทั้งปวงเมื่อเห็นศพนายนกก็พากันทำบุญสักการะบูชาศพนายนกเป็นอันมาก"--

    นอก จากนี้ ยังมีหลักศิลาจารึกกรุงรัตนโกสินทร์ หลักที่ 133 ได้กล่าวถึงเหตุการณ์นายเรืองและนายนกเผาตัวตายไว้เช่นกัน และมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์(ขำ บุนนาค) ความว่า

    --"นาย นกเผาตัวตายที่วัดอรุณ เป็นการเอาชีวิตบูชาพระรัตนตรัย การที่คนมีความเลื่อมใสในศาสนาแก่กล้า จนถึงสละชีวิตตน ด้วยเข้าใจว่าจะแลกเอามรรคผลในทางศาสนานั้น มีทุกลัทธิศาสนา แม้มีสิกขาบทห้ามในพระวินัย ก็ยังมีหนังสืออื่นที่โบราณาจารย์แต่งยกย่องการสละชีวิตให้เป็นทาน เพื่อแลกเอาประโยชน์พระโพธิญาณ จึงทำให้คนแต่ก่อนโดยมากมีความนิยมว่า การสละชีวิตเช่นนั้น เป็นความประพฤติชอบ ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เมื่อในรัชกาลที่ ๑ มีนายเรืองคน ๑ ได้เผาตัวเองเช่นนายนก ได้ทำรูปไว้ที่วัดอรุณทั้งนายเรืองแลนายนก แลมีศิลาจารึก ไว้ดังนี้"--

    จาก การศึกษาของนักวิชาการในปัจจุบันถึงกรณีของนายเรืองและนายนกที่เผาตัวเพื่อ บรรลุมรรคผลนิพพาน ทำให้เห็นว่า คนไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (หรืออาจในทุก ๆ สังคมของโลก)มีความศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า และศึกษาปฏิบัติธรรม ทำบุญ หรือทำสิ่งใดก็ตามเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน ดังจะเห็นได้การกระทำดังเช่นนายเรืองและนายนกก็จะเป็นที่ยกย่องแก่คนทั่วไป ในแง่มุมที่เป็นผู้ยอมตายเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน แม้ว่ามีข้อห้ามการทำร้ายตนเองและการฆ่าตัวตายเพื่อบรรลุธรรมในพระวินัยอยู่ ก็ตาม ซึ่งบางคนก็สร้างวัด สร้างพระพุทธรูป และสร้างปูชนียสถานในพุทธศาสนาเพื่อมุ่งหวังบรรลุมรรคผลนิพพานกันอีกทาง หนึ่ง

    ที่มา

    -จารึกในประเทศไทย - http://www4.sac.or.th/jaruk/inscription_details.php?id_name=351&userinput=
    -นวพรรณ ภัทรมูล. "เล่าเรื่อง : นายเรืองและนายนกผู้เผาตัว" จาก http://www.sac.or.th/web2007/article/inscribe/50-05-01-ruang.pdf
    -เวปแดนนิพพาน http://www.dannipparn.net/web/board/show.php?Category=tourbun&No=152
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2010
  14. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    ที่ท่านกล่าวข้างบนนั้นคงไม่ใช่แล้วครับ

    พระโพธิสัตว์พรหมดาบส สละร่างกายให้แม่เสือกิน
    พระโพธิสัตว์กระต่าย สละร่างกายกระโดดเข้ากองไฟ ให้พราหมณ์บริโภคเนื้อ
    พระโพธิสัตว์ สละเนื้อในร่างกาย เพื่อทำเป็นทองคำเปลว เพื่อติดพระพุทธรูป
    พระโพธิสัตว์พระรามเจ้า เอาร่างกายของตัวเองจุดเป็นประทีบเพื่อบูชาเจย์ทอง(บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระกัสสปะพระพุทธเจ้า)
    พระโพธิสัตว์มังคละ เอาร่างกายตัวเองจุดเป็นประทีปบูชาเจดีย์ทอง (บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระโกณทัญญะพระพุทธเจ้า)

    และพระโพธิสัตว์พระองค์อื่น ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นอภิมหาอานิสงส์ที่เป็นกุศล เลยนะครับ ไม่เกี่ยวว่าจะอยู่ต่อหน้าพระพักตรของพระพุทธเจ้าหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าที่พระโพธิสัตว์ทำแบบนั้นแล้วท่านต้องการอะไร แต่ส่วนมาก ๑๐๐ % ที่ท่านทำแบบนี้ท่านต้องการเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

    ส่วนเรื่องพุทธพยากรณ์นั้น จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้า ถ้าจิตใจของพระโพธิสัตว์พระองค์นั้น ไม่มั่นคงต่อพระโพธิญาณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 ตุลาคม 2010
  15. patวิมุตติ

    patวิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +204
    ท่านกล่าวข้างบนนั้นคงไม่ใช่แล้วครับ

    พระโพธิสัตว์พรหมดาบส สละร่างกายให้แม่เสือกิน
    พระโพธิสัตว์กระดาษ สละร่างกายกระโดดเข้ากองไฟ ให้พราหมณ์บริโภคเนื้อ
    พระโพธิสัตว์ สละเนื้อในร่างกาย เพื่อทำเป็นทองคำเปลว เพื่อติดพระพุทธรูป
    พระโพธิสัตว์พระรามเจ้า เอาร่างกายของตัวเองจุดเป็นประทีบเพื่อบูชาเจย์ทอง(บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระกัสสปะพระพุทธเจ้า)
    พระโพธิสัตว์มังคละ เอาร่างกายตัวเองจุดเป็นประทีปบูชาเจดีย์ทอง (บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระโกณทัญญะพระพุทธเจ้า)

    และพระโพธิสัตว์พระองค์อื่น ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นอภิมหาอานิสงส์ที่เป็นกุศล เลยนะครับ ไม่เกี่ยวว่าจะอยู่ต่อหน้าพระพักตรของพระพุทธเจ้าหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าที่พระโพธิสัตว์ทำแบบนั้นแล้วท่านต้องการอะไร แต่ส่วนมาก ๑๐๐ % ที่ท่านทำแบบนี้ท่านต้องการเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

    ส่วนเรื่องพุทธพยากรณ์นั้น จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้า ถ้าจิตใจของพระโพธิสัตว์พระองค์นั้น ไม่มั่นคงต่อพระโพธิญาณ<!-- google_ad_section_end -->
    เห็นด้วยครับ
     
  16. GenerationXXX

    GenerationXXX เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +2,162
    เพิ่มเติมนอกเรื่องนิดหน่อย พุทธภูมิ หรือพระโพธิสัตว์ที่สละชีวิตเป็นทาน เวลาเทียบกำลังใจจริงๆ ไม่ได้ดูแค่การกระทำนะครับ เขาดูกันที่ปัญญาขณะนั้นว่าตั้งจิตอธิษฐานไว้อย่างไร ถ้าในเบื้องต้นที่บำเพ็ญบารมีก็มีมากมายครับที่สละชีวิตของตนเป็นทาน หรือแม้แต่ตัดหัวตัวเองเป็นทาน ก็มีเยอะแยะครับ แต่อยู่ที่ว่าในขณะที่ทำนั้นจิตทรงอยู่ในอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร ถ้าเต็มไปด้วยปีติเกินไป ปัญญาไม่ได้เอามาคิด มันมีผลสูงจริงแต่ก็ยังไม่สุดนะครับ ถ้าในระดับกลางและปลาย การกระทำก็คล้ายๆ กันก็จริง ถามว่ากำลังใจเต็มไหมแบบนั้น ก็ต้องตอบว่าเต็ม แต่ว่าเต็มแบบไหนอีกเรื่องนึง ตัวสุดท้ายที่จะทำให้ความปรารถนาสำเร็จผลคือปัญญาในการพิจารณาลงไปในรายละเอียดของการกระทำครับ จะสังเกตได้ง่ายๆ ว่าถ้าพระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์แล้วเวลาจะทำทาน ทำกุศลอะไรปัญญาจะละเอียดลึกลงไปมาก จนบางครั้งการแสดงออกมาอาจจะไม่ได้ดูว่าทำได้ยากเย็นอะไร แต่ภายในใจนี่กำลังใจและปัญญาเต็มเปี่ยม พูดกันแบบง่ายๆ มันก็เข้าใจได้แค่ระดับนึงนั่นแหละครับ ถ้าเอามาแยกแยะจริงๆ มันเยอะมาก เพราะมันเรื่องภายในใจใครจะรู้ดีไปกว่าตัวเอง
     
  17. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    พระเทวทัต ก็ยังเคยถวายกระดูกคางตนเอง ก่อนตายเพื่อบูชา พระผู้มีพระภาคเจ้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...