::: วรวุฒิคุณอนุสรณ์ ประวัติและวัตถุมงคลหลวงปู่ครูบาอิน อินโท ครูบาฟ้าหลั่ง :::

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย wannabexcite, 19 มกราคม 2009.

  1. นวโกฏิ

    นวโกฏิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,061
    ส่วนใหญ่จะแขวนแต่เหรียญนี้ เพื่อเสริมดวงครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SA080.jpg
      SA080.jpg
      ขนาดไฟล์:
      185.4 KB
      เปิดดู:
      269
    • SA081.jpg
      SA081.jpg
      ขนาดไฟล์:
      178.5 KB
      เปิดดู:
      148
  2. chanayut

    chanayut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    384
    ค่าพลัง:
    +1,672
    สวัสดีครับ เหรียญสวยมากครับผม มีคาถากำกับการใช้ไหมครับ ขอบคุณครับ
     
  3. นวโกฏิ

    นวโกฏิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,061

    เวลาอาราธนา ก็ใช้บทธรรมดา แล้วนึกถึงหลวงปู่ครูบาอินเท่านั้น ส่วนจะมีคาถาเฉพาะหรือไม่นั้นตัวผมเองก็ไม่ทราบเช่นกันครับ
     
  4. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805
    สวัสดีครับ...

    สวัสดีคุณนวโกฏิ และ คุณ chanayut ด้วยครับ...
    เห็นเหรียญรุ่นนี้แล้ว (โดยเฉพาะด้านหลังเหรียญ) เลยไปค้นบทความเก่าๆ มาฝากครับ
    บทความนี้เขียนโดยคุณ เนาว์ นรญาณ ตีพิมพ์ใน พุทธคุณ เมื่อปี 2545 ครับ...
    คงจะช่วยทำให้รู้จัก ยอด "มหายันต์ไจยะเบงชร" ได้ดียิ่งขึ้นครับ
    .....................................



    [​IMG]

    ตะลึง..!!! พระมหายันต์ “ยอดไจยะเบงชร”
    (ยันต์มหาชินบัญชรหลวง)
    ที่สุดแห่งปริวรรตกรรมทางพุทธาคมตระกูลชินบัญชรแห่งสยามประเทศ

    ในพริบตาแรกที่หลายๆ คนได้แลเห็นพระยันต์อันดูเข้มขลัง ณ เบื้องหลังแห่ง “แบบร่าง” เหรียญครูบาอิน อินโท หรือ เหรียญพระมหาธาตุเจดีย์ “๑๒” ราศี รุ่นแรกแห่งประวัติศาสตร์ ซึ่งได้รับการออกแบบอย่างประณีตวิจิตรบรรจงลงตัว อีกทั้งยังถึงพร้อมไปด้วยสุนทรียะ และความหมายอย่างครบถ้วน สมบูรณ์แบบชนิดเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จนมิอาจสามารถที่จะ DESIGN ให้ดีวิเศษยิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว ซึ่งใกล้ที่จะออกมา “เขย่า” จิตศรัทธาของมวลหมู่พุทธศาสนิกชนผู้ยึดมั่นในพระพุทธคุณแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดา อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระมหาธาตุเจดีย์ประจำราศีเกิด ๑๒ องค์ ทั่วทั้งแผ่นดินในอีกไม่ช้านานนับแต่นี้แล้วนั้น ก็เชื่อมมั่นได้อย่างไม่ยากว่า “คำตอบสุดท้าย” ที่จะมีจะสะท้อนกลับออกมาก็คงไม่พ้นประโยคสั้นๆ ที่ว่า

    “ผมไม่รู้ครับ...!!!”
    “หนูไม่ทราบค่ะ...!!!”
    และ
    “นี่ยันต์อะไรหรือฮะ ...ทั้งสวยทั้งแปลกดีจัง...??!”
    ไม่เคยพบ ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนเลยจริงๆ
    ก็ OK นะครับ...

    ก็อย่าว่าแต่นักนิยมพระเครื่อง หรือพุทธาคมใน “ส่วนกลาง” จะยากที่สุดที่จะล่วงรู้เลย ต่อให้ “คนเมือง” ซึ่งอ่าน “ตั๋วเมือง” เหนือดังที่ให้จารึกในพระมหายันต์นี้ออก ก็ใช่ว่าจะ “เดา” ให้ถูกถ้วนได้ง่ายๆ เช่นเดียวกัน

    เพราะการลงอักขระแต่ละตัวมิใช่ว่าจะลงแบบซื่อๆ ให้ใครก็อ่านได้ เดาได้ เสียเมื่อไหร่...
    แต่ “กระโดด” แบบ “ม้าย่อง” สลับฟันปลาแบบตาม้าหมากรุกที่สลับซับซ้อนซ่อนเงื่อน และเต็มไปด้วย “ลูกเล่น” อันแพรวพราว แต่สมบูรณ์ยิ่งด้วยความหมายทั้งโดยเนื้อหาสาระ และมหิทธินุภาพอันเกรียงไกร ลึกล้ำพิสดารยิ่งกว่า “สามัญ” อย่างยากที่ใครๆ จะพึงประเมินประมาณได้
    ไม่ต้องสงสัย และไม่ต้องเดา ต้องทายให้ปวดหัวเสียเวลา

    เพราะผมกำลังจะเฉลยให้ท่านผู้อ่านที่เคารพรักทุกๆ ท่านได้ทราบ ณ บัดเดี๋ยวนี้แล้ว...

    มิผิดหวังคำว่า เพราะพระยันต์ที่ทุกๆ ท่านได้เห็นแจ้งประจักษ์แก่สายตา ณ บัญชรแห่ง “มงคล...พุทธคุณ” ขณะปัจจุบันนี้ โดยแท้แล้วก็คือพระมหายันต์ “ยอดไจยะเบงชร” หรือพระยันต์ “มหาชินบัญชรหลวง” ปริวรรตกรรมทางพุทธาคมของอดีตพระมหาบุรพาจารย์ล้านนาอันเก่าแก่ และลึกล้ำเข้มขลังอย่างยิ่ง ที่น้อยยิ่งกว่าน้อยคนนักจักได้เคยพบ เคยเห็น แม้เพียง “เงา” อย่างแท้จริง

    นับเป็นบุญวาสนาอย่างเหลือล้นแก่ทุกๆ คนที่ได้ “ผ่อ” ได้ “หัน” พระมหายันต์แห่งสุดยอดพระปริตคาถาไจยะชินบัญชรอันเลิศล้ำ ประเสริฐสุดดุจนี้แล้ว

    นี้ย่อมถือได้ว่าเป็นมรดกแห่งภูมิปัญญาไทย (ล้านนา) ที่ทรงคุณค่าอย่างที่สุด ซึ่งย่อมเป็นการสมควรอย่างยิ่ง ที่จะได้กระทำการอนุรักษ์และเผยแพร่ให้เป็นที่ล่วงรู้ และรับทราบยังมวลหมู่มหาชนทั้งภายในและภายนอกประเทศสืบไป ตราบชั่วจิรกาล

    และนี่ก็ย่อมนับเป็น “หลักฐาน” ของการ “ตกผลึก” ทางปัญญาและความคิดในข่าย “แวดวงกรงล้อม” แห่ง “ไจยะเบงชร” คาถาของพระอัจฉริยาจารย์ล้านนา ตลอดระยะเวลา ตกทอดสืบเนื่องมายาวนานกว่า ๔ ศตวรรษ อย่างไม่มีใครเสมอเหมือนให้เทียมสองได้เลยจริงๆ

    “ยังจำไม่เคยลืมเลือน” เมื่อครั้งสมัยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อแพ เขมังกโร วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี สุดยอดพระเกจิอาจารย์ผู้เรื่องนาม ผู้เป็น “สายตรง” ในท่านเจ้าพระครูสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ยังดำรงสังขารอยู่ ผู้เขียนด้วยความ “สนใจ” และกำลัง “ศึกษา” ในคาถาชินบัญชรอยู่ไม่น้อย ก็ได้กราบเรียนถามหลวงพ่อแพท่านไปตอนหนึ่งเมื่อหลายปีก่อนว่า

    “หลวงพ่อขอรับ ยันต์พระคาถาชินบัญชรนี้มีไหมครับผม...???”
    หลวงพ่อวัดพิกุลทองนิ่งสงบไปวูบหนึ่งก่อนที่จะมีคำตอบสั้นๆ ว่า
    “...มี...แต่ยาวนะ...!!?!”

    ก็พระคาถาชินบัญชร “อักษรขอม” ล้อมรูปพระสมเด็จ หรือรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่มักคุ้นเจนตาเจนใจกันอยู่ทั่วไปนั่นแหละขอรับกระผม

    คงจะไม่ต้อง “อธิบาย” หรือ “ขยายความ” ให้มากไปกว่านี้อีกแล้ว
    “ดีประเสริฐ” เหมือนๆ กันหมดสิ้นนั่นแหละ

    แต่ ...ความ “พิเศษ” และ “พิสดาร” ในส่วนแห่ง “รายละเอียด” และ ข้อปลีกย่อย” ก็ย่อมต้อง “ว่า” กันไปตาม OPTION และ PROGRAM ที่ได้มีการตั้งการกำหนดกันมาแต่ “ดั้งเดิม” นั่นแล

    แต่สำหรับพระมหายันต์ “ยอดไจยะเบงชร” หรือ พระยันต์ “มหาชินบัญชรหลวง” อันยิ่งยงนี้จะมีอิทธานุภาพอันเลิศล้ำ และ “อลังการ” กว่าธรรมดาสักปานใดนั้น อีกในไม่นานเกินรอก็คงจะได้ “รู้ดี” อยู่ทั่วกัน

    ส่วนตัวของผู้เขียนซึ่งได้เคยทราบ “วิธี” และ “ความหมาย” ในการลงพระยันต์ยอดไจยะเบงชรจากท่าน พระอาจารย์สิทธิพงษ์ สิทธิปัญโญ พระหนุ่มผู้มีความรู้ในไจยะเบงชรอย่างดียิ่งแห่ง วัดร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ครั้งหนึ่งก็อดทึ่งและนึกชมเชยอยู่ในใจมิได้ว่า “ปญาล้านนา” นี้ “ไม่ธรรมดา” เลยจริงๆ

    ทั้ง “ลึกล้ำ” “เฉียบแหลม” และ “ครอบคลุม” ไปในทุกส่วน ทุกประการ อย่างไม่มีการ “ปิดช่อง” ให้อุปัทวันตราย และความที่ไม่เป็นสวัสดิมงคลใดๆ สอดแทรกเข้ามาได้ ไม่ว่าจะเป็นใน “ช่วง” ใด “เวลา” ใดก็ตาม

    มีการลง “ปิด” ลง “กัน” ด้วย “กลยุทธพิเศษ” ล้อมรอบไว้ที่ “ใจกลาง” หมดทั้งสิ้น น่าศรัทธาเลื่อมใสที่สุด

    แต่ “สรรพานุภาพ” อื่นๆ แห่ง “ไจยะเบงชรคาถา” ก็ล้วนได้ “ประจุ” ด้วย “หัวใจ” อยู่อย่างครบถ้วน และสมบูรณ์แบบ ไม่บกพร่องด้วยเช่นกัน

    เอาไว้ได้โอกาสหากมีเวลาและหน้ากระดาษเพียงพอ ผมก็ขอประธานอนุญาต “เจาะลึก” ถึงพระมหายันต์ที่สำคัญยิ่งนี้ให้แจ้งกระจ่าง เพื่อที่จะได้บังเกิดเป็นคุณูปการต่อกิจการแห่งบวรพระพุทธศาสนา และมหาชนทุกสรรพชีวิตสืบไป มิให้รู้จักสิ้นสูญสืบไปในภายภาคหน้า
    และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบรรดานักนิยม “พุทธาคม” ยิ่งไม่ควรที่จะพลาดเป็นอันขาดทีเดียว

    แต่ส่วนนักนิยมพระเครื่องทั้งหลาย ก็ขอกราบเรียนย้ำว่า โปรดเตรียมจับจอง เหรียญครูบาอิน อินโท รุ่นครบ ๑๐๐ ปี ๑ ศตวรรษ หรือ เหรียญพระมหาธาตุเจดีย์ ๑๒ ราศี มหามงคลประจำปีเกิดครบถ้วนทั้ง ๑๒ นักษัตร รุ่นแรกที่สุดในประวัติศาสตร์นี้ให้จงดี...

    เฉพาะพิเศษสูงสุด ก็อยู่ตรงที่เหรียญเหรียญครูบาอิน และเหรียญพระมหาธาตุเจดีย์ ๑๒ ราศี เนื้อทองจังโก๋ (พิเศษ) ที่นอกจากจะผสมชนวน แผ่นจารอักขระยอดไจยะเบงชร (มหาชินบัญชรหลวง), ฟ้าฟีก (หัวใจไจยะเบงชร) อย่างมากมายเป็นหลักใหญ่แล้ว ก็ยังได้มีการลงพระมหายันต์ล้านนาโบราณ พร้อมด้วยพระสูตร พระพุทธปริตรพิเศษ ที่หาดูชมได้ยากอย่างยิ่ง อันเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง อีกเป็นจำนวนมหาศาล ชนิดที่หลายๆ ท่านอาจจะต้องตกตะลึงในความ “แปลกเก่า” (ตรงข้ามกับ “แปลกใหม่”) โดยตลอดชั่วชีวิตนับแต่ได้เกิดมาเป็นคนนั้น ก็เพิ่งจะได้เคยรู้ เคยเห็น เป็นบุญตัว บุญใจ ก็คราวนี้จริงๆ

    “เผย” ให้ทราบเป็นการอารัมภบทเบื้องต้นก่อนบางส่วนก็ได้ อาทิเช่น พระยันต์ “วายุลัมพระอันทาระติ” ของ “เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น” ที่ติดไว้ที่อกไก่พระวิหารหลวงวัดเชียงมั่น (วัดแรกที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ อายุ ๗๐๐ ปี) สำหรับกันลม ฝน ฟ้า และไฟ ครบถ้วน พระยันต์สวดเบิก ไขสายตาพระเจ้าพระยันต์ “จังโกคำไหม้บาป” ซึ่งเป็นคำไหว้ประจำองค์ของท่าน พระครูบาเจ้าศรีวิไชย พระยันต์ “สรีกัญไชย” ซึ่งเป็นพระคาถากานสิทธิ์ของท่านพระครูบาเจ้าศรีวิไชย เมื่อครั้งไปเข้านิโรธที่เชียงดาว จ.เชียงใหม่ พระยันต์ดอกไม้เมืองสวรรค์, พระยันต์คนหมื่น, พระยันต์มงคล ๓ ห้อง, พระยันต์วะล้อม, พระยันต์พยายม ของ ครูบาขาวปี (อายุยืน), พระยันต์พระเจ้าอธิษฐานแท่นแก้ว, พระยันต์แจงธาตุ, พระยันต์ผูกใจ, พระยันต์พุทธอุทาน, พระยันต์ปฏิจจสมัปบาท, พระยันต์ชนะมาร, พระยันต์จินดามณี, พระยันต์รักษาคน, พระยันต์เภสัชชัง, พระยันต์อาวุธ ๕ ประการ, พระยันต์ธรณีสาร,พระยันต์อาการ ๓๒ (พระยันต์บังคับตายตัวในการสถาปนาพระพุทธปฏิมากรทางภาคเหนือ), พระยันต์อิ่มบุญ, พระยันต์ขอฝน, พระยันต์หว่านทราย... ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

    และที่พิเศษสุดๆ ก็คือว่าเนื่องจากในศกหน้าที่กำลังจะเวียนมาถึงในอีกไม่กี่เดือนนั้น ก็จะเข้าสู่ปีมะเมีย (ม้า) ซึ่งอดีตพระโบราณจารย์ย่อมกล่าวรับรองว่า “องค์พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง” เมืองตะเกิง (ย่างกุ้ง) ประเทศพม่า ซึ่งเป็นพระธาตุเจดีย์ที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งบวรพระพุทธศาสนา ด้วยอาจสามารถสืบปฐมกำเนิดแรกเริ่มย้อนไปถึงในสมัยพุทธกาล แห่งพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อคราวทรงประทานพระเกศาธาตุ “๘” เส้น แก่ “ตปุสสะ” และ “ภัทลิกะ” ที่ได้ถวายข้าวสัตตูก้อน สัตตูผงแด่พระพุทธองค์ อีกทั้งยังเป็นที่บรรจุพุทธบริขารแห่งอดีตพระพุทธเจ้าอีก ๓ พระองค์นับแต่ต้นกับไว้อย่างพร้อมมูล เป็นพระเจดีย์หระจำราศีปีมะเมีย ด้วยเหตุนี้นอกจากเหรียญพระมหาเจดีย์ ๑๒ ราศีดังกล่าว จะได้อัญเชิญพระรูปจำลองแห่งองค์พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งมีความยิ่งใหญ่ที่สุด เก่าแก่ที่สุด สำคัญที่สุด ด้วยเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ามากถึง ๔ พระองค์ รวมทั้งพระศรีอาริยเมตไตรยพุทธเจ้าในกาลอนาคต ที่ตามตำนานระบุว่า จะทรงเสด็จมาประทานพระ “อุณหิส” ณ มหาเจดีย์ธาตุแห่งนี้ให้ครบถ้วน “พระเจ้า ๕ พระองค์” เป็นองค์ประธานตาม “ศักดิ์” “สิทธิ์” และ “กาลเทศะ” อย่าง “เที่ยงธรรม” ปราศจาก “อคติ” ใดๆ มาตัดรอนแล้ว “เนื้อหา” ชั้นในที่นับได้ว่าพิเศษและสำคัญอย่างยวดยิ่งอีกประการก็คือ ไดมีการลงพระยันต์ “นาคกิเลปา” และพระยันต์ “สะตะปะวะ” ซึ่งท่านพระมหาฤๅษี “ภู ภู อ่อง” พระมหาราชครูในพระราชสำนักแห่งพระเจ้าหงสาวดีเชงพยูเช็งบุเรงนอง ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์อย่างใหญ่หลวงยิ่งซึ่งสำเร็จวิชา ๔ ประการคือ ยา, ยันต์, ปรอท, และ ประคำ ได้ “ลง” ไว้ ณ ปลายยอดพระเจดีย์มหาธาตุชเวดากองเพื่อป้องกันสรรพภยันตรายทั้งหลาย ทั้งปวง หล่อหลอมลงในเนื้อหาทั้งสิ้นนี้ด้วย!!!!

    ไม่ทราบว่า ใครเคยเห็นพระมหายันต์ “ยอดเจดีย์ชเวดากอง” กันบ้างหรือไม่ ?????
    “ช็อด” และ “ตะลึง” กันอีกรอบดีไหมครับผม...?!?

    บอกแล้วว่า “วิชา” ทางเมืองเหนือนั้นมากมายมหาศาล และลึกลับพิเศษเกินกว่าที่ใครๆ จะคาดคิดให้ถูกถ้วนได้ ยิ่งนักแล้ว

    “หลาย” พระคาถา “หลาย” พระมหายันต์ ที่โด่งดังในภาคกลางในยุคปัจจุบันมี “ที่มา” หรือ COPY มาจากทางเหนือแท้ๆ นั้น มีอยู่อย่างไร ?? ใครรู้บ้างครับผม ???

    นี่ถ้ามีการ “เปิด” ขึ้นมาจริงๆ แล้วก็คงจะ “สะเทือนฟ้า สะเทือนแผ่นดิน” ไม่แพ้กรณีของ “ไจยะเบงชร” (ชินบัญชรล้านนา) ซึ่งบัดนี้เป็นที่ประจักษ์ทั่วไปแล้วว่าปฐมกำเนิดที่มีแห่งสุดยอดพระปริตยอดนิยมอันดับหนึ่งแห่งสยามประเทศดังว่า ก็ไม่พ้นไปจาก “เมืองเหนือ” เราดีๆ นี่เองแลฯ

    นี่คือ “เรื่องจริง” ที่ไม่เอียง “นิมิตลวง” หรือ “เอนเอียง” ออกนอกลู่นอกทางแห่ง “สัจจะ” ไปด้วยอำนาจแห่งอคติ ความลำเอียง ชอบชัง บุญคุณ ความแค้น ฯลฯ อันเป็นฝักฝ่ายแห่ง “โลกียะ” แบบโลกๆ แต่ประการใดทั้งสิ้น

    หากคิดจะ “โปรดสัตว์” กันให้ถูกแท้อย่างพระมหาโพธิสัตว์กันจริงๆ แล้ว ก็แบ่งชนเหลือชาติ ถือชั้น เหยียดวรรณะ ไปไยเล่า ??

    ไม่ว่าจะเป็นพม่า เป็นไทย เป็นแขก เป็นฝรั่ง เป็นเหนือ หรือเป็นใต้ อะไรก็ช่าง ล้วนแต่ปรารถนา “สุข” และหลีกหนี “ทุกข์” อันเป็นเดียวกันทั้งนั้น

    ควรแก่การเมตตา สงเคราะห์ อนุเคราะห์ เสมอเหมือนการทั้งหมด ไม่มีข้อแม้ที่จะยกเว้นแม้แต่ประการใดเลย.

    พูดแล้วเป็น “นัย” สั้นๆ เพียงเท่านี้ ผมก็เชื่อมั่นว่า ท่านผู้อ่านที่เคารพของผม ผู้เปี่ยมพร้อมถึงแล้วด้วย “สติ” “ปัญญา” และ “ใจ” ที่ “สูง” ทุกๆ ท่าน คงจะ “ทราบ” และ “ซึ้ง” ถึงจิตถึงใจเป็นอย่างดี

    มาร่วมสร้าง “บารมี” เพื่อความสุข ความเจริญ ทั้งแก่ส่วนตนและส่วนรวมกันดีกว่า
    จะทำ “โดยตรง” แบบปราศจาก “อามิส” ล้วนๆ หรือ “โดยอ้อม” คือ ผ่านการทำบุญบูชาวัตถุมงคลต่างๆ ก็สุดแท้แต่ใจจะสมัคร

    เหรียญรูปเหมือนครูบาอิน อินโท รุ่น ๑๐๐ ปี ๑ ศตวรรษ หลังพระยันต์ยอดไจยะเบงชร นั้นมีการเปิดสั่งให้สั่งจองบูชาแล้ว คาดว่าน่าที่จะออกสู่วงการได้ประมาณต้นเดือนมีนาคมศกหน้า

    ส่วน เหรียญพระมหาธาตุเจดีย์ ๑๒ ราศี ยอดไจยะเบงชร รุ่นแรกแห่งประวัติศาสตร์ คงจะได้เปิดให้สั่งจองกันในไม่ช้าเกินรออีกเช่นเดียวกัน คาดว่าหน้าจะออกทันในการ “เถลิงศก” ใหม่จากปีมะเส็ง เป็นปีมะเมีย เป็นแน่แท้ ภายหลังจากที่ได้นำไปเข้าพิธีชัยมังคลาภิเษก และการปลุกเสกเดี่ยวโดยพระคณาจารย์ล้านนา “ไจยะเบงชร” และ “๑๒ นักษัตร” เพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษสุดก่อน

    รับรองได้แต่เพียงว่า งานนี้ “สุดยอดของยอดสุด” อย่างไม่รู้ว่าจะหาใดมาเทียบรัศมีได้เป็นแน่นอน


    ...............................
     
  5. chanayut

    chanayut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    384
    ค่าพลัง:
    +1,672
    สวัสดีครับคุณwannabexcite
    สำหรับข้อมูลดีๆที่มีค่าและความหมายสำหรับผมและผู้สนใจ
    ผมจะเซฟเก็บไว้ครับ ผมเสาะหาเหรียญรุ่นนี้มาหลายปีกว่าจะได้พบ ผมเช่าเหรียญเนื้อทองแดงมาครับ ร้านที่ให้เช่ามีเนื้อทองจังโก้ด้วยอีก ๒ เหรียญผมอยากเช่าเก็บทั้งหมดแต่ปัจจัยไม่พอ
    อีกสัปดาห์แผงพระเร่ที่ผมเช่าก็ไม่มาอีกเลย ดีนะที่ผมตัดสินใจเช่าเก็บไว้ก่อน ๑ องค์ไม่เช่นนั้นคงเสียดายแย่เลย ตอนนี้ก็กะว่าจะเลี่ยมเป็นองค์กลางมีสามห่วงอย่างที่นิยมกัน รอปัจจัยพร้อมก่อนครับ ขอบคุณอีกครั้งสำหรับข้อมูลดีๆที่ค้นหามานาน
     
  6. นวโกฏิ

    นวโกฏิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,061
    ขอขอบคุณครับ คุณ wannabexcite สำหรับข้อมูลที่ดียิ่งสำหรับผม
    ผมยังมีอีก 2 เนื้อครับ ตะกั่ว กับ ทองจังโก้ (มีอย่างละเหรียญครับ จะได้ครบชุด )
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SA97.jpg
      SA97.jpg
      ขนาดไฟล์:
      231.6 KB
      เปิดดู:
      126
    • SA96.jpg
      SA96.jpg
      ขนาดไฟล์:
      222.8 KB
      เปิดดู:
      122
    • SA98.jpg
      SA98.jpg
      ขนาดไฟล์:
      206.7 KB
      เปิดดู:
      147
    • SA99.jpg
      SA99.jpg
      ขนาดไฟล์:
      201.8 KB
      เปิดดู:
      105
  7. นวโกฏิ

    นวโกฏิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,061
    อ้อ มีเหรียญรูปเหมือน 100 ปีด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SA102.jpg
      SA102.jpg
      ขนาดไฟล์:
      190.7 KB
      เปิดดู:
      110
    • SA103.jpg
      SA103.jpg
      ขนาดไฟล์:
      222.3 KB
      เปิดดู:
      137
  8. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805
    สวัสดีครับ

    เหรียญของคุณนวโกฏิสวยทุกเหรียญเลยครับ
    เปนห่วงเหรียญเนื้อตะกั่ว น่าจะเลี่ยมไว้นะครับ เดี๋ยวจะยุบไปมากกว่านี้

    เวลาเอาไปใช้... สำหรับเหรียญ ๑๒ ราศี
    ผมไม่เคยได้ยินหลวงปู่พูดนะครับว่า มีคาถาประกอบอะไรหรือเปล่า
    แต่สำหรับวัตถุมงคลของหลวงปู่ครูบาอินทั้งหมด...

    นอกเหนือจาก
    พุทธังอาราธนานัง... ธัมมัง... สังฆัง...
    พุทธังประสิทธิเม.... ธัมมัง... สังฆัง....
    ซึ่งเป็นบทอาราธนาพระเครื่องโดยทั่วไป
    ปกติผมจะใช้ "อะกะจะยัททะปะทะสะ" ซึ่งเป็นคาถาบทครูของหลวงปู่
    อธิษฐานบอกท่านอีกครั้งครับ...

    อันนี้คิดเองนะครับ หลวงปู่ท่านไม่ได้สั่งหรือบอกไว้
    ท่านเรียกคาถาบทนี้ว่า "แก้วลูกแพงค่า"..
    ใช้ได้พันช่อง... คือใช้ได้ครอบจักรวาล...
    ผมก็เลยอาราธนาเอามาใช้ครับ...

    หมายเหตุ: ตอนต้นๆ กระทู้ ผมเคยเขียน และเคยโพสข้อมูลเกี่ยวกับเหรียญรุ่นนี้ไว้
    ค่อนข้างยาวพอสมควร ถ้าสนใจลองเช็คดูนะครับ ผมไม่แน่ใจว่าอยู่หน้าไหน
    เพราะมีความสับสน... คนเอาไปเล่นเป็นพระของครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม
    ทั้งๆ ที่ท่านมรณะภาพไปก่อนสร้างเหรียญนี้ด้วยซ้ำ...
    เลยเอาข้อมูลมาเผยแพร่ให้เข้าใจถูกต้องกันครับ

    ธีระยุทธ
     
  9. fujiayu

    fujiayu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,001
    ผมกำลังหาเหรียญรูปเหมือน 100 ปีน่าจะเป็นเนื้อทองจังโก๋ ได้มาพร้อมกับพระกริ่ง
    หาอยู่หลายวันไม่เจอซะที ไม่รู้ว่าไปทำหล่นไว้ที่ไหน.........
     
  10. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805
    สวัสดีครับ คุณ fujiayu

    ไม่ได้ทักทายกันนาน สบายดีนะครับ
    ในบรรดาเหรียญรุ่นนี้ทั้งหมด ทุกเนื้อ... ผมชอบเนื้อทองจังโก๋ที่สุดครับ
    เพราะมีส่วนผสมของทองจั๋งโก๋ หุ้มพระธาตุหริภุญชัย
    ที่เชื่อกันว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นผู้จารรูปด้วยตัวท่านเอง
    ตกทอดผ่านมาทางหนานวิชัยยุทธ สืบมาจากครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง อีกทีหนึ่ง

    ผมก็เลยเก็บเนื้อนี้ไว้เยอะหน่อย... ราคาถูกกว่าเนื้ออื่นๆ ด้วย

    ส่วนเหรียญที่แพงที่สุดในตอนนั้น (เหรียญ ๑๒ ราศี) เป็นเหรียญเนื้อทองคำ
    สร้างเพียงแค่ ๒ เหรียญ อยู่ที่ใครผมไม่ทราบ ๑ เหรียญ
    (เดาว่าน่าจะเป็นคุณสุธันย์ สุนทรเสวี)
    อยู่ที่คุณเนาว์ นรญาณ ๑ เหรียญ
    แต่ เหรียญของคุณเนาว์ ได้นำลงบรรจุกรุ เมื่อครั้งสร้าง พระธาตุเจดีย์
    ที่วัดบ้านเด่น อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ (วัดครูบาเทือง นาถสีโล) ไปแล้ว

    จึงเหลือเพียงแค่ ๑ เหรียญ ที่รอวันเปิดตัวครับ

    ธีระยุทธ
     
  11. กริด99

    กริด99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    754
    ค่าพลัง:
    +558

    อยู่หน้า 10 คราบโผมมม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2010
  12. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805
    ขอบคุณคร้าบบบ คุณกฤษณ์...

    สบายดีคร้าบ...
    ว่างๆ โทรหาผมหน่อยนะครับ จะได้เมมเบอร์
    เบอร์เก่าหายจ้อยเลย... อิอิ

    ธีระยุทธ
     
  13. chanayut

    chanayut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    384
    ค่าพลัง:
    +1,672
    ขอบคุณทุกท่านครับสำหรับข้อมูลดีๆ ช่วงนี้คึกคักดูอบอุ่นดีครับ
     
  14. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805
    สวัสดีครับ

    ผมลองย้อนกลับไปดูหน้ากระทู้ (หน้า 9-10) ที่ผมเคยโพสไว้
    รู้สึกว่าผมได้อัพเดทข้อมูลตรงนั้นใหม่ เพิ่มเติมรายละเอียดเข้าไปมากพอสมควร
    จากนั้นนำไปโพสไว้ที่เวป พระลานนา แต่ไม่ได้โพสที่กระทู้นี้...

    วันนี้ขอนำมารีรันอีกทีครับ...


    ===========================

    ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ "เหรียญพระมหาธาตุเจดีย์ 12 ราศี"

    วงการพระเครื่องในปัจจุบันนี้ เมื่อพูดถึง "เหรียญพระมหาธาตุเจดีย์ 12 ราศี" หลังยันต์ยอดพระคาถาไจยะเบงชร รุ่นแรก ผู้คนส่วนใหญ่จะนับเป็น เหรียญของ "หลวงปู่ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธัมมปัญโญ" วัดร้องขุ้ม ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว "หลวงปู่ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธัมมปัญโญ ไม่ได้ปลุกเสกเหรียญรุ่นนี้"

    ก่อนอื่น...
    อะไรทำให้คนเข้าใจว่าเป็นเหรียญหลวงปู่ครูบาบุญปั๋น


    1. พระอาจารย์สิทธิพงษ์ สิทธิปัญโญ (ท่านปุ้ย) เป็นคนลงอักขระ... ในครั้งนั้น ที่ผู้สร้าง คือคุณเนาว์ นรญาณ เดินสายกราบครูบาอาจารย์สายเหนือ ซึ่งรวมไปถึงครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม จึงได้พบกับพระอาจารย์สิทธิพงษ์ สิทธิปัญโญ พระอุปัฏฐากหลวงปู่ครูบาบุญปั๋น และได้เคยพูดคุยกันถึงเรื่อง "ยันต์ชินบัญชร" หรือ "ไจยะเบงชร" ของล้านนา ว่ามีรูปแบบหน้าตาเป็นอย่างไร ท่านปุ้ยจึงได้เขียนให้คุณเนาว์ดู พร้อมทั้งอธิบายกลวิธีการลงอักขระแบบม้าเต้น ที่ทำให้ได้พระยันต์ที่มีรูปแบบแปลกตา เป็นเอกลักษณ์ จนคุณเนาว์ตั้งใจที่จะนำมาใช้เป็นพระคาถาด้านหลังเหรียญ เมื่อมีโอกาส... ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นยันต์หลังเหรียญ 100 ปีครูบาอิน วัดทุ่งปุย และ "เหรียญพระมหาธาตุเจดีย์ 12 ราศี" รุ่นแรกนี้

    2. ออกให้บูชาที่วัดร้องขุ้ม... หลังจากที่เหรียญนี้สร้างเสร็จ และผ่านพิธีพุทธาภิเษกจนเป็นที่พอใจของผู้สร้างแล้ว คุณเนาว์ นรญาณ ได้แบ่งเหรียญส่วนหนึ่งถวายวัดพระบาทห้วยต้ม และอีกส่วนหนึ่ง (ประมาณ 2,500 เหรียญ) ถวายไว้ที่วัดร้องขุ้ม เพื่อออกให้เช่าบูชาสมทบทุนสร้างวิหารรอบพระพุทธบาทสี่รอย ตามดำริของครูบาบุญปั๋น เมื่อครั้งที่ท่านได้ขึ้นไปกราบรอยพระพุทธบาท ที่วัดพระบาทสี่รอยเป็นครั้งสุดท้าย ในปีพ.ศ. 2544 และเหรียญทุกเหรียญที่มีรอยจาร จะเป็นการจารอักขระ หล่กหลายแบบ โดยพระอาจารย์สิทธิพงษ์เป็นผู้จารเหรียญทั้งหมด

    3. พระอาจารย์สิทธิพงษ์ ร่วมสร้างเหรียญบรมครู... ประมาณ 3 ปีหลังจากที่ครูบาบุญปั๋นมรณภาพแล้ว พระอาจารย์สิทธิพงษ์ได้รับเป็นที่ปรึกษาให้กับคณะนักศึกษาวิชาเอกดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในการจัดสร้างเหรียญบรมครู (ทางการดนตรี) ซึ่งเหรียญรุ่นนี้ ด้านหน้าเหรียญมีลักษณะการแกะพิมพ์ เป็นรูปซ้อนพระธาตุ พระพุทธรูป และรูปครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งคล้ายคลึงกับการลักษณะเหรียญพระธาตุเจดีย์ 12 ราศี ที่ซ้อนรูปพระธาตุกับพระพุทธรูป พระมหามัยมุนี... และด้วยลักษณะเหรียญที่คล้ายคลึงกันนี้ จึงทำให้มีผู้สรุปความเกี่ยวโยงกันจากเหรียญหนึ่งไปอีกเหรียญหนึ่ง (ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะพระอาจารย์สิทธิพงษ์เองก็มีส่วนช่วยในการออกแบบเหรียญทั้งสองรุ่น)

    4. หนังสือ "ธรรมปัญญานุสรณ์" หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่ครูบาเจ้าบุญปั๋น ในหน้าสีประมวลวัตถุมงคล มีภาพของเหรียญรุ่นนี้ พร้อมทั้งมีข้อความว่า "เหรียญพระเจดีย์ ๑๒ ราศี สร้าง พ.ศ.๒๕๓๕ ด้านหน้า (ด้านหลัง)" ย่อมทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดได้ว่าเป็นเหรียญของหลวงปู่ครูบาบุญปั๋น อีกทั้งการระบุปีสร้างเป็นปี พ.ศ. 2535 ซึ่งอาจจะเป็นความผิดพลาดในการพิมพ์ โดยควรจะเป็น พ.ศ.2545 ยิ่งทำให้ถูกมองว่าเหรียญนี้ "ทัน" ครูบาเจ้าบุญปั๋น


    ข้อเท็จจริงก็คือ

    1. เหรียญรุ่นนี้ ผู้เป็นต้นคิดสร้าง คือคุณเนาว์ นรญาณ ครั้งที่ยังเป็นนักเขียนให้กับนิตยสารพระเครื่องพุทธคุณ เป็นผู้ออกแบบ แล้วทำการติดต่อให้ช่างพิ (ช่างพิรินบูลย์) เป็นผู้แกะแบบ โดยเปิดให้จอง ถึงวันที่ "15 มิถุนายน 2545" ก่อนจะปั๊มเหรียญออกมา แล้วนำไปตระเวณขอบารมีครูบาอาจารย์หลายรูป อธิษฐานจิตปลุกเสก เริ่มต้นปลุกเสกครั้งแรกโดย หลวงปู่ชื้น พุทธสโร วัดญาณเสน พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 (วันที่ 6 ปลุกเสกเดี่ยวตามลำดับคือ ครูบาจันทร์ วัดสันเจดีย์ริมปิง, ครูบาอิน วัดทุ่งปุย, ครูบาคำ สำนักสุสานไตรลักษณ์, หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดป่าหมู่ใหม่... วันที่ 7 ปลุกเสกเดี่ยว โดย ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี, ครูบาตั๋น สำนักม่อนปู่อิน และ หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง... หลังจากนั้นนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกอีกหลายวาระ) จะเห็นได้ว่า เหรียญรุ่นนี้สร้างเจร็จ "หลังจาก" ที่หลวงปู่ครูบาเจ้าบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม ได้มรณะภาพแล้ว เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2545 (เวลา 18.09 น.) เหรียญนี้จึงไม่ทันท่านปลุกเสกแน่นอน

    2. ผู้สร้าง คือคุณเนาว์ นรญาณ ได้สร้างเหรียญรุ่นนี้ขึ้นด้วยความเคารพศรัทธา ในพระคาถาชินบัญชร และรู้สึกประทับใจที่ "ล้านนา" มีกลวิธีการผูกพระคาถา (บทสุดท้าย) ไจยะเบงชร ได้อย่างแยบยล และไม่เคยปรากฎที่ไหนมาก่อน จึงได้นำมาเป็นยันต์หลังเหรียญ "หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท" รุ่นไจยะเบงชร และในวาระไล่เลี่ยกันนั้น จึงได้สร้างเหรียญพระมหาธาตุเจดีย์ 12 ราศีนี้ขึ้นมาอีกพิมพ์หนึ่ง โดยปรับปรุงด้านหลังเหรียญจากแบบเดิมที่ทำถวายหลวงปู่ครูบาอิน ด้วยเหตุนี้ หากจะพิจารณาถึงความเกี่ยวเนื่องแล้ว เหรียญพระมหาธาตุเจดีย์ 12 ราศีนี้ จึงน่ามีความเกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่ครูบาอิน มากกว่าที่จะถูกนับเป็นเหรียญของหลวงปู่ครูบาบุญปั๋น... และจากการพูดคุยกับคุณเนาว์ ผู้สร้างเหรียญ ก็ยืนยันว่า ตนเองเจตนาให้เหรียญนี้ เป็นการสร้างเพื่อบูชาคุณครูบาอินมากกว่า...

    3. จำนวนการสร้าง
    - เนื้อทองคำ 2 เหรียญ
    - เนื้อเงิน ประมาณ 10 เหรียญ
    - เนื้อนวโลหะ จำนวน 60 เหรียญ
    - เนื้อทองจังโก๋ จำนวน 5,000 เหรียญ
    - เนื้อตะกั่วเถื่อน จำนวน 1,000 เหรียญ
    - เนื้อทองแดง ผิวไฟ 900 เหรียญ
    (เนื่องจากเนื้อเงินเป็นการสร้างแจกเฉพาะกรรมการ ไม่มีให้บูชา จึงไม่ได้มีการบันทึกจำนวนไว้)


    4. เหรียญพระมหาธาตุเจดีย์ 12 ราศี รุ่นแรก สร้างโดยคุณเนาว์ นรญาณ รุ่น 2-3 สร้างโดยคุณสุธันย์ สุนทรเสวี มีลักษณะด้านหน้าและด้านหลังแตกต่างกันชัดเจน (รุ่น2-3 ไม่ทันทั้งครูบาบุญปั๋นและไม่ทันครูบาอิน)

    5. พระผงพระมหาธาตุเจดีย์ 12 ราศี มีการสร้างออกมานับสิบรุ่น ส่วนใหญ่จะใช้บล็อกด้านหน้าเดิม แล้วเปลี่ยนแปลงด้านหลัง ซึ่งทุกรุ่น "ไม่ทันครูบาบุญปั๋น" (และไม่ทันครูบาอิน) ปลุกเสก

    6. ในตู้โชว์วัตถุมงคลหลวงปู่ครูบาเจ้าบุญปั๋น บนกุฏิเก่าของหลวงปู่ มีข้อความระบุชัดเจนว่า เหรียญรุ่นนี้ไม่ทันหลวงปู่ครูบาบุญปั๋น แต่ถ้าหากผู้อ่านไม่ได้ไป "เห็น" ข้อความนี้ที่วัดร้องขุ้ม หรือไม่เคยมีใครบอกเล่าให้ฟัง ย่อมจะไม่ทราบข้อเท็จจริงนี้แน่นอน

    การนำเสนอข้อมูลข้างต้นนี้ ไม่ได้มีเจตนาเพื่อจะลดทอนคุณค่า หรือความนิยมของเหรียญพระมหาธาตุเจดีย์ 12 ราศีแต่อย่างใด ทั้งนี้ เหรียญรุ่นแรก และรุ่นต่อๆ มา รวมทั้งพระผง ล้วนมีประวัติการสร้างที่ชัดเจน มีเจตนาในการสร้างอันเป็นกุศล ผ่านการปลุกเสกจากครูบาอาจารย์ชั้นนำในยุคนั้น อีกทั้งมีรูปแบบที่สวยงาม แปลกตา สอดคล้องกับคติความเชื่อเรื่องพระธาตุเจดีย์ประจำปีเกิดของชาวล้านนา ผู้ที่สนใจควรที่จะมีไว้สักการะบูชา แต่ทว่า เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงควรบันทึกที่มาที่ไปและประวัติการปลุกเสก "ตามความเป็นจริง" ย่อมจะเป็นผลดีต่อผู้นิยมสะสมต่อไป

    หมายเหตุ: ที่มาของข้อมูล
    1. จากการสัมภาษณ์คุณเนาว์ นรญาณ ผู้สร้างเหรียญรุ่นแรก
    2. เอกสารประกอบเหรียญรุ่น 2-3 โดยคุณสุธันย์ สุนทรเสวี ผู้สร้าง
    3. จากนิตยสารพระเครื่อง ดังต่อไปนี้
    - พุทธคุณ ปีที่ 7 ฉบับที่ 84 เดือนธันวาคม 2544 (ข้อมูลแบบร่าง และยันต์ไจยะเบงชร)
    - พุทธคุณ ปีที่ 8 ฉบับที่ 93 เดือนกันยายน 2545 (ข้อมูลพระธาตุประจำปีเกิด การออกแบบเหรียญ)
    - พุทธคุณ ปีที่ 9 ฉบับที่ 105 เดือนกันยายน 2545 (ข้อมูลลำดับพิธีปลุกเสก)
    - พระเครื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 52 ปักษ์หลัง กันยายน 2545 (ข้อมูล 12 ราศี)
    - พระเครื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 53 ปักษ์หลัง ตุลาคม 2545 (ข้อมูลรูปแบบเหรียญและการปลุกเสก)
    - พระเครื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 54 ปักษ์หลัง พฤศจิกายน 2545 (ข้อมูลการสร้างและอธิษฐานจิต)
    4. หนังสือ "ธรรมปัญญานุสรณ์" หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธมฺมปญฺโญ วันที่ 16-22 มกราคม 2548
    5. ข้อมูลจากตู้โชว์วัตถุมงคล ในวัดร้องขุ้ม


    ธีระยุทธ
     
  15. fujiayu

    fujiayu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,001
    สรุปแล้วหาไม่เจอ......
    หลายวันก่อนไปดูบ้าน...ไม่ได้ดูมา 2 ปี เปิดประตูบ้านเข้าไป
    โฮ้โห ปลวกมันกินตู้ใส่หนังสือ กินเนื้อไม้เก้าอี้โซฟา กินพื้นไม้
    ปาเก้และบันได้ หนังสือหนาเป็นนิ้วหลายสิบเล่ม ไม่เหลือเลย......
    ก็เลยเรียกคนมาฉีดยา เราเองก็ฉีดไม่มาก แค่ทางเดินปลวก
    ขณะเก็บก็ต้องเหยีบมันบ้าง เชื่อไหม ผมเองกลับลื่นหกล้มในบ้านด้านหน้า
    เพราะทางเดินมีแต่ตะไคร้น้ำเขียวๆ ดีนะที่ตอนลื่นล้ม แขนขวายันไว้....
    ก็เลยมือเคล็ด ข้อศอกแตกเล็กน้อย ดูซิทำกูรูได้ สงสัยมันเอาเราคืนทันที
    คิดไปคิดมา ก็เลยรู้ธรรมชาติของมัน ไปสร้างบ้านให้มันอยู่เอง
    เหรียญที่หายไปก็ตอนที่ตู้ใส่หนังสือโดนปลวกมันกินหมดทั้งตู้ แล้วในขณะ
    ที่โกยรังปลวกใส่ถุงขยะไม่ได้ดูให้ดีก่อน.... มีแต่เหรียญนี้ที่หาย นอกนั้นอยู่ครบ
    แต่ที่แปลก รูป ร. 5 ใบเล็กมีแต่คราบปลวก ไม่โดนปลวก....
    ใครมีวิธีจัดการกับปลวกช่วยบอกด้วยครับ........
     
  16. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805
    สวัสดีครับคุณ fujiayu...

    อ่านที่คุณ fujiayu เขียนเล่ามาแล้ว ได้แต่เห็นใจ
    ไม่รู้จะให้คำแนะนำยังไง นอกจากย้ายของหนี แล้วก็ใช้บริการ rentokil... อิอิ

    คิดถึงเรื่องนี้ แล้วก็พาให้คิดถึงเรื่องที่บริษัท...
    บริษัทที่ผมทำงาน จะติดตั้งแอร์อยู่บริเวณระเบียง ใต้หน้าต่าง
    จึงมีระยะห่างระหว่างคอมเพรสเซอร์แอร์ กับผนังตึก
    แรกๆ ก็ไม่มีอะไร....
    แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีฝูง (ย้ำ... ฝูง) นกพิราบ มาทำรังอยู่ตรงช่องว่างนี้
    จากจุดเดียวก็ขยายไปเป็น 4-5 จุด จนกระทั่งตอนนี้ทุกจุด เป็นรังนกพิราบ
    ใจเราก็ไม่อยากไปทำร้ายมัน... แต่้ติดที่ขนนกพิราบเข้าไปติดคอมเพรสเซอร์
    ทำให้ต้องล้างเครื่องแทบเดือนเว้นเดือน บางเครื่องก็พาลเสียไปเลย
    ฝ่ายเจ้าของตึกที่เราไปเช่าเขาอยู่ก็จนใจ... ไม่รู้จะจัดการยังไง
    นอกจากเอามีดมาแซะรังมันทิ้ง ไข่มัน ลูกมัน ... ก็คงจะตายไป
    ยิ่งช่วงที่ผ่านมาเป็นหน้าฝน เห็นมันบินไปเกาะต้นมะม่วงตากฝนก็สงสาร

    ผมเคยลองไปปรึกษา บริษัทญี่ปุ่นที่อยู่ตึกข้างๆ
    เค้าก็ให้ยาอะไรไม่รู้เป็นแผ่นๆ ให้มาแขวนไว้บริเวณนั้น ไม่ให้มันมาทำรัง
    แรกๆ ก็เหมือนจะได้ผล... แต่ผ่านไปไม่ถึงอาทิตย์มันก็กลับมาสร้างรังอีก

    ผมไปปรึกษาที่วัดพระสิงห์ ว่าเค้ามีวิธียังไงไล่นกพิราบ
    ที่เมื่อก่อนมันมากิน มาถ่ายอยู่รอบๆ ลานวัด... ตอนนี้หายไปหมด
    แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้คำตอบ...

    ลองเอาลูกเหม็นไปวาง มันก็เขี่ยลูกเหม็นทิ้ง
    เปลี่ยนเป็นเอาใส่ถุงผ้า แขวนไว้ มันก็จิกถุุงทะลุ ลูกเหม็นร่วงหายไปหมด

    จนกระทั่งบัดนี้... ไม่รู้จะแก้ไขยังไง
    ได้แต่แกล้งๆ ทำลืมมันไปเสีย...

    มีคนเคยแนะนำให้เอายาเบื่อ คลุกเม็ดข้าวโพดโปรยให้มันกิน...
    แหม... ก็ยังทำไม่ลง... มันก็หนึ่งชีวิตที่พยายามยังชีพ ตามวิถีทางของมัน
    คงจะต้องเรียนรู้ ศึกษาหาวิธีที่จะอยู่ร่วมกัน ต่อไป...

    อย่างที่บอกข้างต้นครับ... เรื่องบางเรื่องหนักใจที่จะ "แก้ปัญหา" ด้วย "การฆ่า"
    ก็หาแนวทาง "สันติวิธี" เพื่ออยู่ด้วยกันอย่าง "ปรองดอง" ต่อไป

    หมายเหตุ: กำลังพูดเรื่องนกพิราบนะครับ ไม่ได้พูดเรื่องการเมือง

    ธีระยุทธ
     
  17. siwarit

    siwarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,159
    ค่าพลัง:
    +6,173
    พี่ chanayut เก็บของดีกับเขาเหมือนกันนะครับ ผมอยู่เมืองไทยแล้วนะครับ ไว้มีโอกาสจะไปแวะหาที่สุพรรณฯ นะครับ แต่ว่าสิ้นเดือนนี้มีพิธีปลุกเสกใหญ่ที่อู่ทอง ผมจำไม่ได้ว่าวัดอะไรพี่ เป็นพิธีใหญ่ปลุกเสกหลวงปู่ทวดครับ
     
  18. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805
    สวัสดีครับ คุณศิวฤทธิ์...
    ถ้าขึ้นมาเชียงใหม่ อย่าลืมแจ้งด้วยนะครับ...


    ขออนุญาต นอกเรื่องสักเล็กน้อยครับ
    พอดีที่เวปหลัก (www.krubain.com/forum/)
    มีผู้สอบถามเรื่องตะกรุดยันต์ไจยะเบงชร
    จึงขออนำภาพมาฝากให้ชมครับ...

    [​IMG]

    จัดสร้างขึ้นพร้อมกับวัตถุมงคลรุ่น "ไจยะเบงชร" ในวาระที่หลวงปู่เจริญอายุ ๑๐๐ ปี
    มีเนื้อทองจังโก๋ (ทองเหลืองผสมทองหุ้มพระธาตุ) และเนื้อเงินครับ

    [​IMG]

    ตรงกางจะเป็นยันต์ยอดหัวใจพระคาถาไจยะเบงชร (บทไจยะเบงชร บทสุดท้าย)
    ส่วนทั้งสี่มุม เป็น ยันต์ฟ้าฟีก ฟรือยันต์คาถาตาลหิ้น อ่านได้ว่า รตฺตนํ ปุระโต อาสิ... ติ

    [​IMG]

    เมื่อปลุกเสกแล้ว บางท่านก็นำมาม้วนแล้วถักเชือก
    บางคนก็นำปลงรักปิดทอง ซึ่งล้วนทำภายหลังจากพิธีปลุกเสกทั้งสิ้นครับ
    จำนวนการสร้าง เนื้อทองจังโก๋ ประมาณ ๕๐๐ ดอก (แผ่น) ตอก ๑ โค้ต
    เนื้อเงิน ประมาณ ๑๐๐ แผ่นครับ... โดยเนื้อเงินจะตอก ๓ โค้ต
    ซึ่งเป็นโค้ตชนิดเดียวกับที่ใช้ตอก เหรียญ และพระกริ่งไจยะเบงชรครับ

    ธีระยุทธ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2010
  19. chanayut

    chanayut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    384
    ค่าพลัง:
    +1,672
    สวัสดีครับคุณsiwarit ห่างหายไม่เจอในกระทู้ตั้งนานคงยุ่งๆกับงาน อย่าหักโหมนะครับ ยินดีต้อนรับครับผม พระดีๆที่สะสมก็มีอยู่เยอะถูกเพื่อนมาหักคอไปก็แยะ ยืมไปใช้หน่อยจ้อยไปเลย...555 ผมมีหลวงพี่ที่เคารพและเมตตาผมคอยแนะนำ และก็อาศัยอ่านหนังสือพระเยอะครับก็เก็บเรื่อยๆตามปัจจัยจะอำนวย ส่วนพิธีปลุกเสกใหญ่ที่อู่ทอง เดี๋ยวผมจะถามเพื่อนๆดูแล้วจะแจ้งให้ทราบนะครับ
     
  20. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805
    ขออนุญาตอัพเดทรายการวัตถุมงคลวัดใหม่หนองหอยนะครับ
    สำหรับท่านที่มีข้อสงสัยประการใด สอบถามรายละเอียดได้
    ที่เบอร์ผมนะครับ ธีระยุทธ 081-9520285

    ==============================

    รายการวัตถุมงคล
    พระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท)
    ณ วัดใหม่หนองหอย สมทบทุนสร้างพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท
    (หมายเหตุ: แก้ไขรายการ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓)

    เหรียญรุ่นลายเซนต์ “ขอให้รวย ขอให้อยู่ดีมีสุข เนื้อเงิน - เหรียญยืน/เหรียญรูปไข่ ๑,๕๐๐.-
    เหรียญรุ่นลายเซนต์ “ขอให้รวย ขอให้อยู่ดีมีสุข เนื้อทองแดงรมดำ - เหรียญยืน/เหรียญรูปไข่ ๑๙๙.-
    เหรียญรุ่นลายเซนต์ “ขอให้รวย ขอให้อยู่ดีมีสุข เนื้อทองแดงรมดำ - เหรียญยืน/เหรียญรูปไข่ พร้อมประคำ ๒๙๙.-
    เหรียญยืนสี่เหลี่ยม อายุ ๙๒ ปี รุ่นแรกวัดใหม่หนองหอย (๒๕๓๖) ๒๙๙.-
    เหรียญรุ่น สันติสุขกำเนิด (๒๕๓๖) เนื้อทองแดงผิวไฟ ๒๙๙.-
    เหรียญรุ่น สันติสุขกำเนิด (๒๕๓๖) เนื้อกาไหล่ทอง ๔๙๙.-
    เหรียญกลมเล็ก รุ่นฉลองอายุ ๑๐๐ ปี (๒๕๔๕) ๙๙.-
    เหรียญรุ่น ๑๐๑ ปี (๒๕๔๕) ๙๙.-
    ล็อกเกตใหญ่พร้อมห่วง รุ่นลายเซนต์ (สีเขียว/ สีฟ้า/ สีส้ม) ๓๕๐.-
    รูปถ่าย เคลือบกรอบวิทยาศาสตร์ รูปนั่ง/รูปยืน ๑๙๙.-

    พระสมเด็จ ๙๙ หลังยันต์นะ ตะกรุดเงิน ๖๙๙.-
    พระสมเด็จปรกโพธิ์ หลังรูปเหมือน ติดจีวร ๙๙.-/ โรยพลอยกินบ่อเสี้ยง ๑๕๙.-
    พระสมเด็จผาสุข หลังปั๊มยันต์แดง ๑๓๙.-
    พระสมเด็จไจยะเบงชร พิมพ์กรอบกระจก หลังยันต์ฟ้าฟีก ๒๙๙.-
    พระคงเนื้อดินเผา รุ่นแรก ๙๙.-

    ผ้ายันต์นางกวัก ยุคต้น ๑๙๙.-
    ผ้ายันต์พระพรหม ยุคต้น ๑๙๙.-
    ผ้ายันต์จั๊กกิ้มล้อมโลก ปี ๒๕๔๕ ฉลองอายุ ๑๐๐ ปี ๙๙.-
    ผ้ายันต์กุณพระเจ้า ปี ๒๕๔๕ ฉลองอายุ ๑๐๐ ปี ๙๙.-
    ผ้ายันต์ อภิมหายันต์ ๑๐๘ ขนาดโปสเตอร์ สีเหลือง/สีแดง ๑๙๙.-
    ผ้ายันต์ธงแขวนรถ ๙๙.-
    เสื้อยันต์มหาอุด รุ่นแรก ๓๙๙.-
    ดาบสะหลี๋กัญไชย มหาไจยะมงคล ๑๐๑ ปี (ดาบเดี่ยว) ๗,๕๐๐.-


    วัตถุมงคลที่จัดสร้างหลังจากที่หลวงปู่มรณภาพแล้ว

    พระผงอังคารธาตุ (มี ๖ สี ดำ-ขาว-เขียว-เหลือง-สีไม้-ก้นครก)
    พิมพ์เล็ก ๔๙.-/ พิมพ์ใหญ่ ๑๙๙.-/ ก้นครก ๒๙๙.-/ ชุดกรรมการ ๖ สี ๑,๔๙๙.-

    รูปหล่อครูบาอิน หน้าตัก ๙ นิ้ว ที่ระลึกพระราชทานเพลิงศพ เนื้อปูน ๑,๕๐๐ (ไม่จัดส่งทางไปรษณีย์)

    ล็อกเก็ตรุ่น "มหามงคล ๑๐๘" ชุดกรรมการ (สี่เหลี่ยมสององค์) ๙๙๙.-
    ล็อกเก็ตรุ่น "มหามงคล ๑๐๘" ล็อกเก็ตรูปไข่ใหญ่ ครึ่งองค์ ๒๙๙.-
    ล็อกเก็ตรุ่น "มหามงคล ๑๐๘" ล็อกเก็ตรูปไข่ใหญ่ เต็มองค์ ๒๙๙.-
    ล็อกเก็ตรุ่น "มหามงคล ๑๐๘" ล็อกเก็ตรูปไข่เล็ก ครึ่งองค์ ๑๙๙.
    ล็อกเก็ตรุ่น "มหามงคล ๑๐๘" ล็อกเก็ตรูปไข่เล็ก เต็มองค์ ๑๙๙.


    สนใจร่วมทำบุญ
    สามารถติดต่อบูชาด้วยตนเองได้ที่วัดใหม่หนองหอย หรือติดต่อ...
    พระครูสังวรยติกิจ (พระอาจารย์อินทร จิตตสังวโร) เจ้าอาวาสวัดใหม่หนองหอย
    หมู่ที่ ๖ ต.สันติสุข อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๖๐ โทร. ๐๘-๑๙๙๒-๐๔๐๗ โทรสาร. ๐-๕๓๓๖-๗๙๗๑

    หรือโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาทุ่งเสี้ยว (สันป่าตอง)
    ชื่อบัญชี กองบุญครูบาอิน อินโท เลขที่บัญชี ๖๖๑-๒-๒-๓๐๐๔๗


    รายละเอียดวัตถุมงคลแต่ละชนิด สามารถติดตามได้ในกระดาน -:- สนทนาเกี่ยวกับวัตถุมงคล -:-

    สุโข ปุญฺญสฺสํ อุจฺจโย
    การสะสมบุญนำมาซึ่งความสุข

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...