สำหรับเหรียญ พี่น้องเข้าใจคำว่า "เหรียญปัมพ์ขอบกระบอก"กันไหมครับ

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย นิลศิลป์, 12 พฤศจิกายน 2009.

  1. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,664
    เต็มที่กันเลยเด้อพี่น้อง ...ว่ามีความเข้าใจ และลักษณะขอบเหรียญปัมพ์ขอบกระบอกว่าเป็นเช่นไร สังเกตุกันอย่างไร หลายท่านอาจมีความรู้ไม่เหมือนกัน และคำคำนี้ผมจำได้ว่า คุณบอย ท่าพระจันทร์ เซียนดังชอบพูดบ่อยๆ มาก และคำคำนี้ ทำให้เขามี ชื่อเสียง อย่างเช่นทุกวันนี้ครับ

    ผมว่ามีอีกหลายท่านนะครับ ที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ และอยากรู้ไว้ประดับสมองนะครับ เชิญแสดงขุมความรู้ได้เลยครับ ผมเองจะได้ศึกษาร่วมด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2009
  2. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ท่าจะเอาขอบกระบอกทำแม่พิมพ์
     
  3. callmeletter

    callmeletter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2007
    โพสต์:
    487
    ค่าพลัง:
    +1,077
    ขออนุญาตินำบทความที่เจอมาลงครับ

    [​IMG]

    เหรียญ ปั๊ม มีการสร้างกันมาตั้งแต่ พศ. ๒๔๔๐ เช่นเหรียญพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศซึ่งค่านิยมสูงมากๆ จากที่พระเครื่องมีราคาสูงมานี่เองทำให้ผู้ทำปลอมมีการพัฒนาแบบชนิดที่เรียก ว่า ใกล้เคียงของแท้จริงๆ ยิ่งถ้าพูดถึงตำหนิด้วยแล้วของปลอมปัจจุบันทำได้เหมือนมาก จะต่างก็แต่ความคมชัดของรายละเอียดเช่น ตัวยันต์ ตัวหนังสือ เส้นแตกต่างๆ หรือรอยเจาะหูในเหรียญทีมีหู แต่จุดสำคัญที่สุดที่จะกล่าวถึงในวันนี้คือเรื่อง การพิจารณาขอบข้างของเหรียญครับ
    การดู ขอบข้างเหรียญเป็นวิธีดูตามหลักของเซียนพระยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นบทสรุปว่า พระองค์นั้นแท้หรือไม่ เพราะขอบข้างเหรียญจะไม่สามารถทำได้เหมือนจริง ผู้ที่จะศึกษาเรื่องเหรียญ ต้องเข้าใจธรรมชาติของเหรียญที่ทำ เพระเป็นขอบเหรียญจะเกิดจากขั้นตอนการสร้างนั่นเอง
    ขอบข้างเหรียญแบ่งเป็นลักษณะรอยขอบ เป็น 3 ลักษณะคือ
    1...เหรียญ แบบปั๊มข้างเลื่อย......ก็เหมือนกับการปั๊มพระในปัจจุบันแต่จะปั๊มในแผ่น โลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าเหรียญ เมื่อปั๊มเสร็จ ก็จะมาเลื่อยฉลุให้เหรียญได้ตามรูปทรงนั้นๆ ( พอดีกรอบ ) เหรียญลักษณะนี้ จะสร้างในยุค ปีพ.ศ. ๒๔๔๐-๒๔๘๕ ( ข้อมูลจากหนังสือคุณบอย ท่าพระจันทร์ ) เหรียญแบบข้างเลื่อยนี้เราจะเห็นรอยเลื่อยอยู่บริเวณขอบเหรียญ ซึ่งเราก็ต้องศึกษาการเลื่อยของเหรียญด้วยประกอบการพิจารณา หากเราทราบว่าเหรียญรุ่นไหนเป็นแบบข้างเลื่อยแล้ว เมื่อเจอเหรียญรุ่นนั้นเป็นแบบอื่น ก็ไม่จำเป็นต้องไปไล่ติหนิอีกให้เสียเวลา เพราะเป็นพระปลอมแน่นอน
    2...เหรียญ แบบปั๊มข้างกระบอก...(ตีปลอก ) เป็นเทคนิคสมัยก่อน ตัดโลหะให้เป็นรูปทรงตามเหรียญใกล้เเหรียญเป็นบล๊อคแล้วปั๊ม ขอบจึงเรียบ บางเหรียญก็จะมีขอบคม ๆ ปลิ้นมาด้านหลัง เหรียญชนิดนี้จะสร้างในยุค พ.ศ. ๒๔๔๐-๒๔๘๕ เช่นเหรียญมงคลบพิตรปี ๒๔๖๐ เหรียญยอดนิยมอย่างเหรียญขอเบ็ดหลวงปู่กลั่น วัดพระญาติฯ ก็มีตำหนิธรรมชาติจากการปั๊มตีปลอก

    3....เหรียญ ปั๊มข้างตัด เป็นวิวัฒนาการสมัยใหม่ เกิดในยุคหลัง เนื่องจากการสร้างแบบเลื่อยขอบและปั๊มข้างกระบอกเป็นการทำที่ยุ่งยากเสีย เวลา เป็นการใช้เครื่องจักรทีทันสมัย แต่การทำเหรียญแบบนี้ยุคแรกๆ ขอบเหรียญจะมีลักษณะมนๆ ไม่ค่อยมีริ้วรอยมากนักแต่อย่างไรก็ดี หากจำรอยตัดได้ไม่ว่าจะด้านใดด้าน หนึ่ง ก็หมดสิทธิ์โดนของเก๊แน่นอนครับ เพราะสมัยนี้เก๊ตำหนิได้ครบแต่ยังเก๊ขอบไม่ได้

    รอย ข้างขอบเหรียญหรือรอยตัดเป็นตัวยุติปัญหาเก๊แท้ อย่างแม่นยำที่นักสะสมพระ เครื่องควรทราบและศึกษา เพราะเรื่องรอยข้างเป็นสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ ดั้งเช่นในเรื่อง ของกองพิสูตรหลักฐานอาชฌากรรมจากปากกระบอกปืน ยังทราบว่าหัวลูกปืนมาจากปากกระบอกปืนกระบอกใดหรือ แม้แต่ต่างประเทศในคดี สำคัญ ๆ ยังยึดถือเอารอยตัดของๆมีคม เป็นหลักฐานสำคัญในการชี้เป็นชี้ตายให้แก่คดีฆาตกรรมมาแล้ว เพราะรอยตัดของมีดแต่ละเล่มจะทิ้งร่อยรอยไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกันกับขอบปั๊มเหรียญจะทิ้งร่องรอยเฉพาะที่ไม่เหมือนกันเช่นกันครับ


    ด้วย เหตุนี้ รอยข้างขอบเหรียญ หรือรอยตัด รอยเลื่อย จึงเป็นสิ่งที่นักสะสมควรศึกษา และควรรู้ว่า รุ่นไหนมีการสร้างแบบใด เพราะถ้าเราทราบ การสร้างแบบใดแล้ว หากรอยข้างขอบตัดเหรียญผิดจากเหรียญที่ศึกษามา ก็ไม่จำเป็นต้องดูส่วนอื่นๆ แล้วครับ เพราะเหรียญนั้นเก๊หรือปลอมแน่นอน

    อย่าง ไรก็ดี ผมเห็นว่าเรื่อง รอยข้าขอบเหรียญ เป็นสิ่งที่น่าจะเป็นประโยขน์กับเพื่อนๆ ชาวดีดี จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง และเพื่อเป้นการศึกษา ในส่วนตัวผมก็เริ่มศึกษาเหมือนกัน ยังไม่เก่งอะไร ก็แค่เก็บเล็กผสมน้อย ตามที่มีอยู่ในสมองอันน้อยนิดนี้ โดยต้องขอขอบคุณ หนังสือ คุณบอย ท่าพระจันทร์ด้วย ที่ทำให้ได้ข้อมูลดีๆมาเผยแพร่ให้กับ นักสะสมพระเครื่องรุ่นใหม่ๆ ได้ศึกษาครับ
    สวัสดี..........คร๊าบบบบบ






    ที่มา : ::DD-PRA.COM::กระดานข่าวพระเครื่อง
     
  4. ออตโต้

    ออตโต้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2009
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +2,428
    เข้ามาศึกษาครับ
     
  5. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    หาไม่เจอเรยขอบกระบอกอยู่ตรงหนาย มีแต่ข้างกระบอก
     
  6. มือใหม่เจ้า

    มือใหม่เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    574
    ค่าพลัง:
    +375
    [​IMG][​IMG]

    ขอใช้ภาพของพี่พงศ์เชียงใหม่ แบบนี้ครับพี่ตัดกระบอกขอบเรียบ

    การปั๊มข้างกระบอก ก็คือ การนำแผ่นโลหะมาเลื่อยให้ได้ตามรูปทรงของเหรียญที่จะทำการปั๊ม เพื่อเข้ากระบอก และการปั๊มเหรียญนั้นๆ ดังนั้น ด้านข้างของเหรียญปั๊มชนิดนี้จึงมีความเรียบเนียน เนื่องจากการกดปั๊มโดยมีตัวกระบอกเป็นตัวบังคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2009
  7. jazzart

    jazzart Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +39
    ขอบคุณครับผม
     
  8. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,664
    ขอบคุณมากครับ ที่ให้ความรู้กันครับ

    ต้องยอมรับว่า ตอนแรกก่อนหน้านี้ ไม่เข้าใจ คำว่า เหรียญปัมพ์ขอบกระบอก ขนาดชอบเหรียญนะนี่ ยังคุยกับเพื่อนเลยว่า ใช่ที่เขาบอกว่า เป็นเหรียญที่ยกสันขอบด้านหน้าขอบเหรียญขึ้นมา เป็นสันขอบกระบอกหรือเปล่า อาจเป็นเพราะว่า อดีตหาดูเหรียญเก่าๆ แบบขอบกระบอกยากมาก เพราะเหรียญยุคปัจจุบันมีแต่ขอบตัด และความรู้เหล่านี้ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร เพิ่งมาพูดกันมากในช่วงหลังนี้นะครับ ช่วงเซียนเหรียญเก่งๆในปัจจุบันหลายคนดังขึ้นมาพร้อมๆกัน จนมาได้เหรียญพระแก้ว รุ่นหลวงสนิท ปี 2469 มานะครับ ค่อยศึกษาได้ดีขึ้นหน่อย และอ่านจากหนังสือต่างๆ โดยเหรียญที่ได้มาเป็น เหรียญบล็อคขอบเรียบ องค์คล้ายเหรียญด้านล่างนี้ ตอนแรกผมยัง 2 จิต 2 ใจว่าใช่เปล่า เพราะขอบไม่มีรอยตัดเลย เรียบกริป ภายหลังทราบว่า ขอบเป็นแบบปัมพ์ขอบกระบอกนั่นเอง

    [​IMG]

    รูปจากเว็ป siamamulet โดยคุณ undaman เขาลงว่า

    เหรียญพระแก้วมรกต ยุคแรก หลวงนรเเสษฐสนิทสร้างปี 2469 ห่วงหูเชื่อม ทองแดง สภาพพอสวย หายาก รับประกันแท้เก๊คืนเต็มครับ นายเฉลียว สืบวิเศษ สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดหนองคาย ศาลากลางจังหวัดหนองคาย อำเภอเมืองหนองคาย

    ขอขอบคุณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2009
  9. 5000

    5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,491
    ค่าพลัง:
    +7,121
    น่าจะต่อด้วย ขอบเลื่อยและ ขอบปั๊ม จะได้ครบเซ็ทครับ
     
  10. บุญถาวร

    บุญถาวร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +5
    สมาชิกใหม่ครับ เป็นแหล่งให้น้องๆได้มีโอกาสศึกษาเพิ่มความรอบรู้ ขอบคุณมากครับ ขอเรียกอาจาร์ยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...