ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ผ่อนคลาย...


    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="558"><tbody><tr><td align="center">[​IMG] </td> </tr> <tr> <td style="word-wrap: break-word;" align="center" height="40"> พระเล่ามา...เก็บไว้ไม่ได้แล้ว..?"</td> </tr> <tr> <td style="padding-right: 20px;" align="right" valign="top" height="30">กระต่ายใต้เงาจันทร์</td> </tr> <tr> <td align="center"> <table border="0" width="518"><tbody><tr><td style="word-wrap: break-word; width: 518px;" class="font-th-content">

    ถ้าตอนใส่บาตรแล้วที่ยืนสกปรกมาก จะต้องถอดรองเท้าใส่บาตรด้วยหรือไม่ ?
    “ พระไม่ฉัน รองเท้านะโยม”...ไม่ต้องเอารองเท้าใส่มานะ.....



    --------------------------------------------------------------------------------



    พระนอนไม่หลับ เลยไปหาหมอใหม่จบมาจากเมืองนอก
    หมอ: เป็นอะไรครับ
    พระ : จำวัดไม่ได้จ๊ะโยมหมอ

    หมอ: (ทำหน้างง) แล้วจะกลับวัดยังไง
    พระ: (ทำหน้างงด้วย) มามอไซรับจ้างก็ต้องกลับมอไซนะโยม

    หมอ: (ทำหน้าง๊งงง) แล้วมอไซรับจ้างจำวัดได้เหรอ
    พระ: (ทำหน้าง๊งงงด้วย) มอไซรับจ้างจำวัดไม่ได้หรอกโยม มีแต่พระที่จำวัดได้

    หมอ: (ทำหน้างงง๊งงง) อ้าวไหนบอกว่าจำวัดไม่ได้ไง
    พระ : !=-+#@ %^&*( +๐"ฯ, ?


    จำวัดเป็นภาษาพระแปลว่านอน.........................

    หมอ: อ๋อ อออออออออออออออออออออออออ

    ญาติโยมหลายท่านมักถามว่า "ท่านบวชเรียนมาตั้งแต่อายุยังน้อย อยู่ในเพศบรรพชิตมามากกว่าครึ่งชีวิต มีโอกาสสัมผัสชีวิตฆราวาสไม่มากนัก แล้วเอาข้อมูลวัตถุดิบหรือมุกมาจากไหน หนักหนา"

    อาตมาก็ตอบว่า หลักๆเลยก็คือ การอ่าน นอกจากนั้นก็หนัง ละครที่ญาติโยมดูกันนั่นแหละ พอตอบออกไปอย่างนี้ โยมก็สวนกลับทันที "ไม่ผิดข้อห้ามหรือท่าน"

    อาตมา ก็จะอธิบา ยไปว่า ดูเพื่อให้เท่าทันกิเลสจะได้สกัดมันถูก และที่สำคัญหากอาตมาไม่รู้หรือไม่ เข้าใจ ตลอดจนไม่เท่าทันเรื่องราวทางโลก และจะมาบรรยายธรรมให้ญาติโยมรู้สึกอินกัน ได้อย่างไร ซึ่งนอกจากการอ่าน การดูและการฟังแล้ว หลายวัตถุดิบที่นำมาสร้างเป็นมุกฮา ก็ได้มาจากการพูดคุยกับเหล่าโยมๆนี่แหละ

    อย่างวันหนึ่งระหว่างที่ อาตมากำลังฉันเพลอยู่ก็มีโยมท่านหนึ่งโทร.มา
    "พระอาจารย์เหรอคะ นี่อาตมาเองนะคะ"
    "หา อะไรนะ"
    "พระอาจารย์เหรอคะ นี่อาตมาเองค่ะ"
    "ถ้า โยมแทนตัวว่าอาตมา แล้วอาตมาจะแทนตัวอาตมาว่าอะไร"
    "อ๋อ ขอโทษค่ะ"
    หลัง จากนั้นก็คุยธุระกันจนจบ อาตมาก็กล่าวว่า "เจริญพร"
    "ค่ะ เจริญพรเช่นกัน"
    แน่ะ มีอวยพรให้พระด้วย

    ข้างต้นก็คือ สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆระหว่างพูดคุยกับเหล่าญาติโยม จนถือว่าเป็น เรื่องปกติสำหรับอาตมาไปแล้ว หรืออย่างก่อนหน้านี้มีโยมผู้หญิงคนหนึ่ง เดินถือสังฆทานมาอย่างมาดมั่น พอเข้ามาในกุฏิแล้ว เธอก็มุ่งตรงไปที่พระบวชใหม่รูปหนึ่งทันที
    "ถวายสังฆทานค่ะ"

    พระ บวชใหม่ด้วยความที่ยังจำบทสวดต่างๆ ไม่ค่อยคล่องนัก จึงหยิบหนังสือขึ้นมาดู
    "ไม่ต้องค่ะ" โยมผู้หญิงคนนั้นกล่าวอย่างหนักแน่นตามสไตล์สาวมั่น
    "ดิฉัน ท่องได้ค่ะ เพราะคุณยายพาเข้าวัดตั้งแต่เด็กๆ" เธอพนมมือขึ้น ก่อนกล่าวว่า

    "อิ มานิ มะยัง ภันเต สะปะริวารานิ คิกขุ สังโฆ" (ที่ถูกต้องจะต้องเป็น ภิกขุ สังโฆ)

    พระบวชใหม่มีสีหน้างุนงง ก่อนหันมาถามอาตมา "คิกขุสังโฆ นี่มันฟังทะแม่งๆ
    นะหลวงพี่"

    อาตมาเกรงว่าโยมผู้นั้นจะหน้าแตก ก็เลยตอบไปว่า "คิกขุ แปลว่า น่ารัก

    สังโฆ แปลว่า สงฆ์ คิกขุสังโฆ ก็คือ แด่พระสงฆ์ผู้น่ารัก" เท่านั้นแหละ
    พระใหม่รูปนั้น นั่งยืดทั้ง วันเลย

    แต่ก็มีบางกรณีที่การพูดผิดของคุณโยมทำให้อาตมา แทบจะสำลัก อย่างเมื่อเร็วๆนี้ มีโยมท่านหนึ่งโทรศัพท์มา "หลวงพี่ขา ขอเรียนเชิญนิมนต์ค่ะ"
    "ไปไหนล่ะโยม" "ไปมรณภาพที่บ้านน่ะค่ะ"

    โห นิมนต์พระไปตายถึงที่บ้านเลย อาตมาจึงบอกไปว่า ถ้านิมนต์ไปงานศพไปให้ได้ แต่ถ้าเชิญไปมรณภาพนี่ ช่วงนี้อาตมาไม่ว่าง จริงๆ ขอตัวเถอะนะโยม

    จากตัวอย่างข้างต้น คุณโยมอาจจะเห็นเป็น เรื่องขบขัน แต่มันก็สะท้อนให้เห็นความห่างเหินระหว่างคนกับวัดได้ในระดับ หนึ่ง ปัจจุบันนี้คนจะนึกถึงวัดในกรณีพิเศษ เท่านั้น เช่นงานบวช งานศพ

    ต่างกับสมัยก่อนที่วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ฆราวาสกับพระจึงสนทนากันไหลลื่น
    ไม่มีคำแปลกๆ หรือผิดที่ผิดทางออกมาให้พระสดุ้งแต่อย่างใด ซึ่งถ้าพูดถึงศัพท์
    แสง ที่แสลงใจแล้ว ตอนไปบิณฑบาตอาตมาจะเจอบ่อยมาก เช่นมีอยู่

    ครั้ง หนึ่งระหว่างที่กำลังเดินๆอยู่ ก็ได้ยินเสียงใสๆ แว่วขึ้นมา
    "แม่ๆ พระมาขอข้าว"
    "มาเยอะไหมลูก" "มา 2 อัน"
    โห เรียกอย่างกับชิ้นส่วนรถยนต์ นี่ถ้ามาเยอะๆไม่เรียกเป็นฝูงเลยเหรอ


    ดัง นั้นเวลาไปบรรยายธรรมให้นักเรียนฟังอาตมาจะนำเรื่องนี้ไปสอดแทรกเพื่อสอน เด็กๆด้วย

    "ถ้าพระกิน เรียก ฉัน"
    " พระนอน เรียก จำวัด" (บางคนเรียกขี้เกียจเป็นพระนอนไม่ได้)
    " พระป่วย เรียก อาพาธ"
    " พระตาย เรียก มรณภาพ" (ไม่ใช่เรียกป่อเต็กตึ๊งนะ)
    " แล้วพระอาบน้ำล่ะ เรียกอะไรเอ่ย" คราวนี้อาตมาถามให้เด็กๆ ตอบบ้าง

    "เรียกคนมาดู"
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    ขอขอบคุณ
    พระเล่ามา
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="558"><tbody><tr><td style="word-wrap: break-word;" align="center" height="40">.แด่พ่อ..</td> </tr> <tr> <td style="padding-right: 20px;" align="right" valign="top" height="30">กิ่งโศก</td> </tr> <tr> <td align="center"> <table border="0" width="518"><tbody><tr><td style="word-wrap: break-word; width: 518px;" class="font-th-content"> [​IMG]

    เสีย ดายยิ่งนั่ก ที่ไม่ได้ดู ได้เห็น ณ.ขณะนั้น
    เพียงได้รับการส่งทางอีเมล์ มาเล่าขานให้รับรู้ พอเปิดดู ได้เห็น ได้ฟัง..แม้จะเป็นเพียงคนๆเดียวที่พูด....
    ก้อนแข็งๆ เริ่มวิ่งมาจุกที่ต้นคอ
    น้ำตาประหนึ่งจะเอ่อคลอหน่วย จนดวงตาเกือบพร่า
    ขน ลุก วาบไปทั่วสรรพางค์
    แลความปีติ ดุจมีพลังกำลังโรจน์อย่างแล่น เข้าสู่หัวใจ ....รักพ่อ..ครับ ที่มา มาจาก..ข้างล่างนี้ครับ

    [​IMG]

    ใน งานประกาศผลรางวัล”นาฏราช” ครั้งที่ 1 ประจำปี 2552 ที่เหล่าคนดังไปร่วมงานกันคับคั่ง ช่วงเวลาแห่งความประทับใจของงานก็อยู่ ตอนที่ ‘พี่อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์’ นักร้อง-นักแสดง-ผู้กำกับยอดฝีมือ ขึ้นไปรับรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (จากเรื่องพระจันทร์สีรุ้ง) ‘พี่อ๊อฟ’ ได้กล่าวถ้อยคำที่ตรงความรู้สึกของคนไทยหลายๆ คน จนคนบันเทิงที่อยู่ในหอประชุมกองทัพเรือสถานที่จัดงานถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ ไม่อยู่ ต่างปรบมือเกรียวกราว และในที่สุดก็ลุกขึ้นยืนปรบมือด้วยความรู้สึก “รักพ่อ” ไม่ต่างกัน..

    น้ำคำ ของ คุณพงพัฒน์ ....
    “ เป็นรางวัลที่ได้รับจากบทบาทที่เล่นเป็นพ่อ ก็ขออนุญาตพูดถึงพ่อสักนิดนึงครับ พ่อเป็นเสาหลักของบ้าน บ้านของผมหลังใหญ่นะครับ ใหญ่มาก เราอยู่กันหลายคน ผมเกิดมาบ้านหลังนี้ก็สวยงามมาก สวยงามและอบอุ่น แต่กว่าจะเป็นแบบนี้ได้บรรพบุรุษของพ่อเสียเหงื่อ เสียเลือดเอาชีวิตเข้าแลก กว่าจะเป็นบ้านหลังนี้ขึ้นมา จนมาถึงวันนี้พ่อคนนี้ก็ยังเหนื่อยที่จะดูแลบ้าน ดูแลความสุขของทุกๆ คนในบ้าน ถ้ามีใครสักคน โกรธใครมาก็ไม่รู้ ไม่ได้ดังใจอะไรมาก็ไม่รู้ แล้วก็พาลมาลงที่พ่อ เกลียดพ่อ ด่าพ่อ คิดจะไล่พ่อออกจากบ้าน ผมจะเดินไปบอกกับคนคนนั้นว่า ถ้าเกลียดพ่อ ไม่รักพ่อแล้ว จงออกไปจากที่นี่ซะ เพราะที่นี่คือบ้านของพ่อ เพราะที่นี่คือแผ่นดินของพ่อ ผมรักในหลวงครับ และผมเชื่อว่าทุกคนที่อยู่ในที่นี้รักในหลวงเหมือนกัน พวกเราสีเดียวกันครับ ศีรษะนี้มอบให้พระเจ้าแผ่นดิน!!”

    [​IMG]


    “ ศรีษะนี้มอบให้พระเจ้าแผ่นดิน “. กินใจกับคำพูด แบบนี้ และในสถานะการณ์แบบนี้
    .ภาพโพสขยาย ให้เห็นแม้แต่ ฉัตรชัย ยังต้องเช็ดน้ำตา...ประทับใจด้วยเห็นคนไทย ยังรักพ่อหลวง

    คำ ว่านาฎราช ดูช่างมีความขลัง แล ช่างเหมาะสมกับจังหวะการกล่าว ของศิลปินคนหนึ่งแท้ ..นาฎราช เดวะ

    [​IMG]

    ศิว นาฏราช (Nataraja) เป็นปางหนึ่งของพระศิวะ เป็นบรมครูของศิลปะการร่ายรำหรือนาฏยศาสตร์ของอินเดีย ความเชื่อว่าการเต้นรำของพระศิวะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของการสร้างโลกและ มนุษย์ ศิวนาฏราชจะปรากฏในท่าย่างสามขุม (ตรีวิกรม) ซึ่งเป็น 1 ใน 108 ท่าที่ออกแบบโดยพระศิวะ โดยมีสัญลักษณ์ที่พระกรขวาถือกลองคือการสร้างโลก พระกรซ้ายมีเปลวเพลิงล้อมเป็นกรอบคือการสิ้นสุดที่ไฟจะเผาผลาญโลก พระศิวะได้ทรงพนันกับพระอุมาว่าโลกที่สร้างใหม่แข็งแรงหรือไม่ โดยพระศิวะทรงยืนขาเดียวบนก้อนหินโดยที่ขาต้องไม่ตก ในขณะที่พญานาคแกว่งลำตัววิดน้ำในมหาสมุทรให้สะเทือน พระศิวะทรงชนะ พระองค์ทรงสร้างโลกใหม่ด้วยการเต้นรำบนก้อนหินนั้น ในระหว่างที่ทรงเต้นรำเกิดเปลวไฟและน้ำหลั่งไหลจากพระวรกายกลายเป็นสิ่งหล่อ เลี้ยงชีวิต
    ..ศรีษะแห่งเหล่านาฎราช จักมอบแด่...พ่อหลวง..



    [​IMG]

    ๏ ศิวนาฏราชเจ้า........จักรา
    ตรีวิกรมยาตรา......ย่อเต้น
    ชูกลองยก หัตถา.....ทอดว่าย
    ซ้ายอัคนีเค้น.....กรอบคุ้มโค้งกรง ๚ะ

    ๏ ศิลป์ ส่งชูเชิดสร้าง....เกียรติชน
    นำเทิดยอท่วมยล.....ย่างซ้อง
    สืบทอดสอด สานสน....ศิลปะ ไทยแฮ
    ผูกต่อข้อเติมคล้อง......ปลูกบ้านแปลงเมือง ฯ

    [​IMG]

    ๏ บรรพบุรุษป้อง.........เรือนชาน
    เลือดเซ่นสุมล่วงกาล.....เกิดห้อม
    เสา หลักปักสมาน.......ตรึงมั่น
    เย็นอยู่หมู่รวมพร้อม.....ร่มพื้นเหล่าเผือ ๚ะ


    ๏ เหงื่อพ่อโชกเปียกชื้น......ชุ่มริน
    หยาดร่วงโลมเปื้อน ดิน.......ดื่นด้าว
    พลังปลุกปลูกถวิล........วางทอด-
    เรืองรุ่งจรุง น้าว........เปิดบ้านบานสรวง ๚ะ

    ๏ ล่วงผ่านผลัดลุแล้ว ........ ถึงเรา
    ปัจจุสมัยเสา-.........โยกคล้อย
    เชือกรัดขาดต่อเนา......ตึง แน่
    ใยบั่นบิ่นหยักย้อย......ย่ำมล้างทำลาย ๚ะ

    ๏ ไฉนไล่”พ่อ”พ้น........หอสถาน
    สิ้นรักหักจึงราญ.......”พ่อ”แล้ว
    สุม พอกคิดความพาล......โกรธ”พ่อ”
    “พ่อ”ผิดใดลูกแก้ว.......กล่าวไร้ไมตรี ๚ะ

    ๏ ตรองเถิดตรึกทอดซึ้ง..........ทราบนัย
    ดินหยัดยืนชื่นใส..........สบรู้
    พ่อ ปกพ่อป้องภัย.......แผ่รุก รานเฮย
    ผงาดชาตินักสู้........โลกซร้อง สรรเสริญ ฯ

    + กิ่งโศก+
    ขอบขอบคุณ น้ำคำ ของคุณพงค์พัฒน์

    แนบ ฝากบทเพลง..ความฝันอันสูงสุด

    [​IMG]

    ขอขอบคุณ
    .:+: Thaipoem Forever :+:.
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="558"><tbody><tr><td style="word-wrap: break-word;" align="center" height="40"> ใครสอนให้...ไทยรบไทย?</td> </tr> <tr> <td style="padding-right: 20px;" align="right" valign="top" height="30">บ้านวรรณกรรมคนตัวเล็ก</td> </tr> <tr> <td align="center"> <table border="0" width="320"><tbody><tr><td style="word-wrap: break-word; width: 320px; left: 0pt; right: 0pt;" class="font-th-content"> [​IMG]

    ชาวสยามยามนี้คิดถี่ถ้วน
    จากเหตุป่วนเกินปรามห้ามไม่ อยู่
    กรุงเทพฯ แดนสวยใสไฟลุกฟู
    ใครบอกสู้เผาชัดวิสัชชนา?

    ใคร ชนะระรานเผาผลาญชาติ
    น่าอนาถยิ่งนักยากรักษา
    ถิ่นสยามยามนี้มีน้ำตา
    ด้วย ไฟห่าคร่าเมืองเคยเรืองรอง

    เหตุไฉนไทยจึงมาถึงคาด
    กลียุคระบาด ชาติพังทั้งขัดข้อง
    เศรษฐกิจบ้านเมืองพ่อประคอง
    แต่พวกของหน้าเหลี่ยม เผาเกรียมดำ

    เห็นหรือยังชั่งใจไว้สักนิด
    ว่าที่คิดก่อกันนั้นตก ต่ำ
    ร้องประชาธิปไตยให้จดจำ
    ก่อนกระทำการใดจงใคร่ครวญ

    จะต้อง มีกี่ครั้งกรุงพังยับ
    จะต้องนับกี่ทีที่ปั่นป่วน
    จะต้องเรียนประวัติ ศาสตร์มาทวนทวน
    จะสอบสวนกี่คราจะจำกัน

    พ่อสอนเรื่องสามัคคีรักสงบ
    มัน สอนรบหว่างไทยให้ห้ำหั่น
    "สู้เถิดนะพี่น้องสู้ประจัญ"
    แต่ตัวมัน สบาย หายโง่ยัง?

    สอนอวดอ้างบ้างจ้วงท้วงพ่อทับ
    พ่อต้องรับผิดขอบ เหตุความคลั่ง
    พ่อเคยสอนไทยฆ่าไทยเผาให้พัง
    หรือใครนั่งบงการผ่านออ นไลน์?

    คราวนี้คงกระจ่างสร่างเมาแล้ว
    เมื่อกรุงแก้วถูกเผาเคล้าไฟ ใหญ่
    ล้วนแต่แพ้ผองเราเผ่าพงษ์ไทย
    จงจำไว้ใครสอนกวาดต้อนมา?!?

    บ้าน วรรณกรรมคนตัวเล็ก
    ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]

    'พระพุทธศาสนามิได้สอนให้ถือ
    แต่สอนให้ ปฏิบัติ'
    [​IMG] เทสโกวาท พระราชนิโรธรังสี​


    วัดที่ตัวเรา
    ผู้ นับถือพุทธศาสนา ไม่มีโอกาสไปวัดไปวา
    เราอยู่ที่บ้านจงให้พากันมีวัดภาย ใน คือ ที่ตัวของเรา
    ที่บ้านของเราทุกๆ คน

    วัด คือ สถานที่ที่เราจะต้องบำเพ็ญคุณงามความดี

    พุทธศาสนาสอนกาย วาจา แลใจ
    พุทธศาสนาสอนกาย วาจา แลใจนี้อย่างเดียว
    ไม่ได้สอนสิ่งอื่น นอกจากสามอย่างนี้

    สามอย่างนี้เป็นหลัก จะสอนศีล สมาธิ ปัญญา
    ก็ ไม่พ้นจากหลักทั้งสามอย่างนี้

    ทำไมเราจึงละทุกข์ไม่ได้
    คำ สอนของพระพุทธองค์ตรัสว่า
    สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์
    แต่ทำไมเราจึงละ ทุกข์ไม่ได้
    ก็เพราะปัญญาของเราไม่พอ

    พุทธศาสนามีที่จบ
    เรา เชื่อมั่นว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า
    เป็นสัจธรรมของจริงแท้แน่นอน
    เป็น นิยยานิกธรรม
    นำผู้ปฏิบัติตามให้พ้นทุกข์ได้จริง
    อาตมาจึงว่าการศึกษา พุทธศาสนามีที่จบ

    [​IMG]

    พระพุทธรูป
    พระพุทธรูปนี้ คือ รูปของพระพุทธเจ้า
    หรือรูปนี้เป็นรูปของครูบาอาจารย์ของเรา
    เราเคารพ นับถือคุณงามความดีของท่าน
    แล้วเราทำดีอยู่ตลอดเวลา
    เห็นรูปนั้นนึก ถึงคุณของท่าน
    เพราะท่านทำดีอย่างนี้ๆ
    ท่านจึงได้เป็นอย่างนี้ๆ จึงได้เป็นรูปอย่างนี้
    แล้วเราก็ทำความดี ไม่กล้าทำความชั่ว
    เมื่อเรา ทำความชั่ว เรานึกถึงรูป นึกถึงคุณของท่านแล้วเราก็ละอายใจ
    ละความชั่ว อันนั้นเสีย
    การนับถือเช่นนั้น ไม่มีเสื่อมตลอดเวลาเลย
    เราจะทำความดี ตลอดเวลา
    แต่จะให้อยู่ยงคงกระพันนั้นไม่ใช่
    ให้เข้าใจโดยนัยที่อธิบาย มาให้ฟังนี้

    ความรู้เรื่องจิตใจเรียกว่า 'วิชชา'
    พระพุทธ ศาสนาสอนให้น้อมเข้ามาพิจารณาในตัวของเรานี้
    ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็อยู่ในตัวของเรา
    สอนออกไปนอกนั้น นั่นไม่ใช่พุทธศาสนา
    มันเป็นโลก

    เห็น อย่างไรเรียกว่าเห็นธรรม
    เห็นภายนอกด้วยตาว่าเราเป็นก้อนทุกข์
    ทั้ง เห็นภายในคือ เห็นชัดด้วยใจด้วย
    เห็นเป็นธรรมทั้งหมด
    เราต้องพิจารณา ให้ถึงสภาวะ
    ตามเป็นจริงของสังขาร
    ให้เห็นชัดอย่างนั้นว่า
    มันเป็น เพียงสักแต่ว่าธาตุ
    เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป
    มันไม่ใช่ตัวตนของเรา
    เรา มัวเมามันก็หลงนะซิ
    หลงสมมติว่าเป็นตัวเป็นตน

    จิตธรรมชาติเป็นของ ผ่องใส
    อาคันตุกะกิเลสมันพาให้เศร้าหมอง
    ที่มาหัดทำสมาธิภาวนานี้
    ก็ เพื่อขัดเกลาให้กิเลสหมดสิ้นไป
    เพื่อให้มันใสสะอาดคืนตามสภาพเดิม
    ให้ เห็นจิตเห็นใจของตน
    จิตเป็นอย่างไร ใจเป็นอย่างไร
    ความรู้เรื่องของ จิตของใจนี่แหละ
    เรียกว่า 'วิชชา' เกิดขึ้นแล้ว
    เป็นปัญญาเกิดขึ้น แล้ว

    [​IMG]

    พระพุทธศาสนามีที่สุด
    พระพุทธศาสนา นี้ สอนมีจุดที่รวมได้ มีที่สุด หมดสิ้นสงสัย หมดเรื่อง
    ไม่เหมือน วิชาชีพอื่น เขาสอนไม่มีที่สิ้นสุด
    จึงว่า พุทธศาสนาสอนถึงที่สุด
    แต่ บุคคลผู้ทำตามนั้น ทำไม่ถึงที่สุด
    จึงจำเป็นต้องทำสมาธิบ่อยๆ จนกว่ามันจะถึงที่สุด

    ศีล สมาธิ ปัญญา
    ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นของอันเดียว
    มีความดีเกี่ยวพันกันตลอดหมด

    ตรงไป ตรงมา แต่คนไม่ชอบ

    พระพุทธเจ้าท่านสอนนั้น
    ตรงไป ตรงมา แต่คนไม่ชอบ
    บัง ไว้ ปกปิดไว้ มันจึงไม่เห็นของจริง
    พระองค์สอนตรงไปตรงมาเลย
    ท่านบอกว่า ร่างกายเหมือนกับซากอสุภะ
    ท่านว่าอย่างนั้น
    เป็นของปฏิกูลโสโครก
    มี คนใดมาพูดว่าเราสกปรกนี่
    โกรธใหญ่ไม่ชอบใจเลย

    ฉลาดขึ้นมาบ้าง

    คน ใดเข้าใจว่าตนโง่ คนนั้นฉลาดขึ้นมาบ้าง

    แก่นสารพระพุทธศาสนา
    แท้ ที่จริงนั้น
    แก่นสารของพระพุทธศาสนา
    คือการปฏิบัติกาย วาจา ใจ ของตนให้บริสุทธิ์
    ตามคำสอนของพระพุทธองค์

    พระพุทธศาสนาสอนให้ เชื่อกรรม
    พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อกรรม
    เชื่อผลของกรรม
    ผู้ใด ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลของกรรมดี
    ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลของกรรมชั่ว
    คน อื่นจะรับแทนไม่ได้

    ทำดีด้วยตนเอง

    พระพุทธเจ้าทรงสอน
    แต่ ให้ทำดีด้วยตนเอง
    ย่อมได้ผลดีด้วยตนเอง (คือสิ่งที่เป็นมงคล)
    ไม่ได้ สอนให้คนอื่นทำให้
    หรือทำให้คนอื่น

    ปฏิบัติธรรมเพื่อรู้ถึง ความเป็นจริง
    ผู้มาศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
    หรือมา ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์
    ก็หวังเพื่อให้รู้ถึงของจริง ตามความเป็นจริง
    จะได้หายจากความหลงในสิ่งนั้นๆ

    [​IMG]

    พระพุทธองค์สอนของจริง
    ที่จริงคำ สอนของพระพุทธองค์
    ท่านสอนของจริง
    ให้เห็นตามเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่าง
    พระ พุทธเจ้าสอนให้เข้าใจตามเป็นจริงว่าสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น
    จะด้วย กรรมวิธีใดๆ ก็ตาม
    เกิดขึ้นแล้ว มันไม่เที่ยง
    แปรปรวนไป เป็นทุกข์
    เมื่อ ผู้มาพิจารณาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเห็นจริงดังนี้แล้ว
    ย่อมไม่ยึดมั่น ถือมั่น เบื่อหน่าย
    ปล่อยวางในสิ่งเหล่านั้นได้แล้ว
    ย่อมมองเข้ามา เห็นจิตของตนผ่องใส
    คราวนี้เห็นจิตของตนแล้ว
    เมื่อเห็นจิตแล้ว มองดูเฉพาะจิตนั้น
    ไม่มองดูทุกข์
    จิตนั้นก็เป็นอันหนึ่ง
    ทุกข์กลาย เป็นอันหนึ่งของมันต่างหาก
    จะไม่เกี่ยวข้องด้วยอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น

    กาย กับใจ
    พุทธศาสนาทั้งหมด ไม่ได้สอนที่อื่น
    นอกจาก 'กายกับใจ'

    ร่าง กายเป็นก้อนทุกข์
    พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนว่าร่างกายของคนเรานี้เป็น ก้อนทุกข์
    มีชาติ เป็นต้น และมีมรณะเป็นที่สุด
    เป็นของน่าเกลียด ควรเบื่อหน่าย ควรปล่อยวาง
    ไม่ควรยึดถือว่าเป็นของตน
    เพราะมันไม่เป็น ไปในอำนาจของตน

    อุปสรรคแก่การฝึกจิต
    พุทธศาสนาสอนให้ละ สิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง
    เพราะเป็นอุปสรรคแก่การฝึกจิตให้สงบ

    กาย ใจเป็นตู้พระธรรม
    หากจะเรียกกายใจของคนเรานี้
    ว่าเป็น 'ตู้พระธรรม' ก็ไม่ผิด
    พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัจธรรมของจริงนั้น
    ก็ทรง ชี้ให้แต่ละบุคคลเห็นธรรมซึ่งมีอยู่พร้อมแล้ว
    ในกายในใจของตนๆ นี้ทั้งนั้น

    มีปริยัติ ต้องมีปฏิบัติ

    พุทธศาสนาจะตั้งมั่น ถาวรอยู่ได้
    ก็ด้วยการปฏิบัติโดยส่วนมาก
    ปรยัติเรียนแล้วไำม่ปฏิบัต ิตาม หาเป็นประโยชน์อะไรไม่

    คุณค่าของการปฏิบัติ
    ศาสนา พุทธไม่เพียงสอนให้คนศึกษาหรือนับถือเพียงเท่านั้น
    แต่ว่าสอนให้จงตั้งใจ ปฏิบัติ
    ถ้าไม่มีการปฏิบัติ เพียงแต่ถือเฉยๆ
    ก็จะไม่ได้รับคุณค่าเท่า ที่ควร

    เทสโกวาท : บันทึกธรรมหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
     
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    คำ 3 คำ ของหลวงปู่ดู่

    ๓ คำ

    หลายครั้งที่ไปกราบครูอาจารย์ที่วัดสะแก หลังท่านฉันเช้าเรียบร้อย ท่านมักจะพูดถึงคำสามคำอยู่เสมอ

    "๓ คำ จำไปใช้นะ คำพูด คำข้าว คำภาวนา"

    ท่านสอนถึงคำพูด ว่าจะพูดจะจาอะไรให้นึกถึงวจีกรรม ๔

    ท่านสอนถึงคำข้าว ว่าถึงข้าวปลาอาหาร ก่อนที่เราจะฉัน(กิน)ข้าวนั้นให้ถวายข้าวพระพุทธเสมอ อีกอย่างหนึ่งคือคำข้าวนั้นให้พิจารณาว่าเป็นเพียงปัจจัยอาศัย ต่อให้อาหารดีเลิศเพียงใดก็แค่กินให้อิ่มท้องพอเปนเรี่ยวแรงให้ปฏิบัติธรรม ไปได้วันๆเท่านั้น

    ท่านสอนถึงคำภาวนา ว่าอย่าทิ้งคำภาวนานะ อย่าภาวนาเฉพาะตอนนั่งสมาธิ... เวลากินข้าว เดิน นั่ง นอน ก็ให้ภาวนา ถ้าลืมไปนึกขึ้นมาได้ก็ภาวนา การภาวนาอยู่ตลอดทั้งวันนั้นเป็นการเกลี่ยจิต
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    สวดมนต์กับการปฏิบัติ

    [​IMG]

    ได้มีโอกาสเห็นคนไปกราบหลวงปู่ดู่ที่กุฏิและสวดคาถาบูชาพระของหลวงปู่ กันหลายคน บ้างก็สวดแต่น้อย บ้างก็เน้นสวด ๑๐๘ จบกันทีเดียว ทำให้นึกถึงเรื่องหนึ่งขึ้นมาได้

    มีหลวงตาองค์หนึ่งในวัดสะแก ท่านสวดมนต์เยอะและค่อยข้างสวดช้า (ด้วยธาตุขันธ์ไม่อำนวย) หลังจากสวดมนต์เสร็จจึงเริ่มปฏิบัติธรรม จนกระทั่งคืนหนึ่งเวลาที่เหลือของวันจะหมดแล้ว ท่านยังสวดมนต์ได้ไม่ครบเลย จู่ๆ ก็มีเสียงหลวงปู่ดังขึ้นในจิตท่านว่า

    "พระพุทธเจ้าสำเร็จด้วยการสวดมนต์หรือทำสมาธิ"

    ตั้งแต่ นั้นมาท่านก็หมดสงสัยหมดกังวลในเรื่องการสวดมนต์ โดยหันมาเน้นมาให้น้ำหนักกับการทำสมาธิปฏิบัติธรรมให้มากยิ่งขึ้น

    เรื่อง นี้จึงเป็นเรื่องเตือนใจผู้เขียนอยู่เสมอว่าถ้ามีโอกาสไปกราบหลวงปู่ที่กุฏิ จะพยายามนั่งปฏิบัติบูชาถวายพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ ถวายหลวงปู่ทวดหลวงปู่ดู่เสียก่อน และเมื่อยังพอมีเวลาอีกจึงค่อยนั่งสวดมนต์ต่อไป
     
  7. benyapa

    benyapa ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,088
    ค่าพลัง:
    +5,431
    http://palungjit.org/threads/โอกาสค...อ่อน-เข้ามารักษาอาพาธ-ที่ศิริราช-แล้ว.240157/

    ขออนุญาตเรียนให้ทุกท่านทราบ
    หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม
    จะเดินทางจากรพ. เอกอุดร ในเช้าวันที่ 16 พ.ค. 53 หลังฉันอาหารเสร็จ โดยรถของโรงพยาบาลเอกอุดร ถึง รพ. ศิริราช ตอนเย็น
    สำหรับผู้ที่จะไปกราบหลวงปู่แตงอ่อนที่ ร.พ ศิริราช ตึก 84 ปี ชั้น 10 ห้อง 1032
    ช่วงเช้า 7.00 น. - 9.00 น.
    ช่วงบ่าย 15.30 น. - 16.30 น.
    อนุโมทนาบุญทุกท่านด้วยครับ
    จึงเรียนมาทราบโดยทั่วกัน
    *******************************************

    รายละเอียดที่นี่
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <center> ชมภาพ ถ่ายเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ ฝีมือถ่ายภาพของนายทอมสัน ที่หาชมยาก จาก Wellcome Library ที่ London

    </center>
    ชมภาพถ่าย เมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ ฝีมือถ่ายภาพของนายทอมสัน
    ที่หาชมยาก จาก Wellcome Library ที่ London


    ในเอ็นทรี่ที่แล้ว "ชมพระบรมฉายาลักษณ์ รัชกาลที่ ๔ ที่หาชม
    ได้ยากยิ่ง จาก Wellcome Library, London" ได้กล่าวถึงประวัติของ
    นายจอห์น ทอมสัน (John Thomson) ให้ทราบแล้ว

    ผมจะขอคัดช่วงเฉพาะ นายทอมสันเดินทางสู่สยาม มาให้ทราบอีก
    ครั้งหนึ่ง ดังนี้


    [​IMG]
    [นายจอห์น ทอมสัน]

    >> เดินทางสู่สยาม

    ในปี ๒๔๐๘ นายทอมสัน ขณะนั้นอายุได้ ๒๘ ปี เขาได้ขายกิจการ
    ร้านถ่ายรูปที่ สิงคโปร์ เดินทางมาสยาม

    นายทอมสัน ได้เดินทางมาจากสิงคโปร์ โดยสารเรือกลไฟชื่อ
    "เจ้าพระยา" (เรือลำนี้มี พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ หรือเจ้าสัวยิ้ม เป็นเจ้าของ
    เดินเป็นประจำระหว่าง กรุงเทพฯ กับสิงคโปร์) มาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่
    ๒๘ กันยายน ๒๔๐๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ระหว่างที่อยู่ในกรุงเทพฯ ๓ เดือน เขาได้เข้าเฝ้าและถ่ายพระบรมรูป
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ่ายรูปพระราชพิธีโสกันต์ของ
    เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ และเดินทางโดยเรือไปเมืองเพชรบุรี และสถานที่อื่น ๆ
    อีกมากมาย

    นายทอมสัน อัดรูปภาพที่ถ่ายในกรุงเทพฯ ออกจำหน่ายมีลงโฆษณาใน หนังสือพิมพ์บางกอก รีคอร์เดอร์ ของหมอ ปรัดเล อยู่หลายครั้ง โดยซื้อ
    ได้ ที่บ้านกัปตันเอมส์ (Captain Samual Joseph Bird Ames) ชาวอังกฤษ
    ที่ เขาพักอยู่


    >> ระหว่างอยู่เมืองไทย ๓ เดือน

    ระหว่างที่นายทอมสัน อยู่ที่เมืองไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๘ กันยายน
    ๒๔๐๘ รวมระยะเวลา ๓ เดือนนั้น นอกจาก จะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าและ
    ถ่ายพระ บรมรูป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ถ่ายรูปพระราชพิธีโสกันต์
    ของเจ้า ฟ้าจุฬาลงกรณ์ แล้ว เขายังถ่ายภาพเมืองไทย ที่กรุงเทพฯ เพชรบุรี
    และ สถานที่อื่น ๆ อีกมากมาย


    (ข้อสังเกต - ผู้เขียนเห็นว่า นายทอมสันอยู่เมืองไทยนานกว่า ๓ เดือน
    ตามที่ Wellcome Library ระบุว่า ภาพถ่ายเหล่านี้ นายทอมสันถ่ายในปี
    1865 - 1866)


    *+*+*+*
    [ข้อมูลโดยได้รับความอนุเคราห์จาก คุณนุกูล (เจ้าของบล็อก
    คนช่างเล่า) �ҹ��÷��� และ
    �ҹ��÷��� ซึ่งได้กรุณาคัดบทความ
    เรื่อง "นายทอมสัน ผู้ถ่ายพระรูปพระจอมเกล้า" โดย นายแพทย์พิพัฒน์ ชูวรเวช
    จาก วารสารตราไปรษณียากร ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ มาให้
    จึง ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้]



    >> ภาพเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ ฝีมือถ่ายภาพของนายทอมสัน
    จาก Wellcome Library ที่ London


    #1 Gate of Buddhist temple, Bangkok, Siam. [1866]
    (คล้ายพระอุโบสถวัดพระแก้ว - ผู้เขียน)

    [​IMG]


    #2 State barge of the King of Siam, Bangkok. [1865-1866]

    [​IMG]


    #3 State barge of the King of Siam, Bangkok. [1865-1866]

    [​IMG]


    #4 Siamese boatman, Siam. [1865-1866]
    (ฝีพาย - ผู้เขียน)

    [​IMG]


    #5 Arrival of the King of Siam at the Temple of Sleeping Idol.
    [1865-1866] (ร. ๔ เสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารคไป
    วัดโพธิ์ - ผู้เขียน)

    [​IMG]


    #6 Crown Prince of Siam in front of Palace with his entourage,
    Bangkok, Siam.

    [​IMG]


    #7 The Crown Prince of Siam, Bangkok, Siam. [1865]

    [​IMG]


    #8 A Siamese Prince with his attendant, Siam. [1865-1866]

    [​IMG]


    #9 The Kings Buddhist temple, Siam. [1865-1866]

    [​IMG]


    #10 The late Kralahorm, Bangkok, Siam. [1865]

    [​IMG]


    #11 Siam [1865]

    [​IMG]


    #12 Buddhist priests eating, Bangkok, Siam. [1865-1866]

    [​IMG]


    #13 Mount Khrai-lat, Bangkok, Siam. [1865-1866]
    (ในพระบรมมหาราชวัง - ผู้เขียน)

    [​IMG]


    #14 View of Bangkok, Siam, looking over the River Menam.
    [1865-1866]

    [​IMG]


    #15 View of the Menam river with sailing ships anchored.
    ฺ Bangkok, Siam. [1865-1866]

    [​IMG]


    #16 View of Bangkok, Siam, looking over the River Menam.
    [1865-1866]

    [​IMG]


    #17 Pechaburi Bridge, Siam, over the river with boats along
    the embankment. [1865-1866]

    [​IMG]


    #18 View of Ayuthia, Siam. [1865-1866]

    [​IMG]


    #19 Ayuthia, Siam. [1865-1866]

    [​IMG]


    #20 Palmyra palms, Siam. [1865-1866]
    (น่าจะเป็นที่เพชรบุรี - ผู้เขียน)

    [​IMG]


    #21 View of Pechaburi plain, viewed from a hill. At the lower
    left a Buddhist temple. [1865-1866]

    [​IMG]


    #22 Buddhist Temple, Siam [1865]

    [​IMG]




    #23 Bangkok, Siam. [1866]

    [​IMG]


    #24 Siam [1865]

    [​IMG]


    #25 Elephant training ground, Ayuthia, Siam. [1865-1866]
    (เพนียดคล้องช้างที่อยุธยา - ผู้เขียน)

    [​IMG]


    #26 A war elephant of Siam. [1865-1866]
    (ช้างศึก เป็นช้างที่ได้รับการคัดเลือกความเหมาะสมแล้วและนำมาฝึก
    - ผู้เขียน)

    [​IMG]


    #27 Siam [1865]
    (น่าจะเป็นการแสดงโขน - ผู้เขียน)

    [​IMG]


    #28 Brother of the 1st King, Siam. [1866]

    [​IMG]


    #29 The cremation pyre of the 1st King of Siam, King Mongkut.
    [1865-1866] (ยังไม่แน่ใจว่า เป็นรัชกาลใด แต่ไม่ใช่
    รัชกาลที่ ๔ หรือข้อมูลอาจผิดพลาด - ผู้เขียน)

    [​IMG]


    #30 Bangkok, Siam. [1865]

    [​IMG]


    #31 A Siamese Buddhist bonze (Buddhist Priest) and pupils,
    Siam. [1865-1866]
    (น่าจะใช้ Monk แทน Priest มากกว่า - ผู้เขียน)

    [​IMG]


    #32 A Siamese Buddhist bonze (Buddhist Priest) and pupils,
    Siam. [1865-1866]

    [​IMG]


    #33 Two Siamese dancing girls, Siam. [1865-1866]

    [​IMG]


    ภาพเหล่านี้ มีอายุเกือบ ๑๕๐ ปีมาแล้ว เป็นภาพในยุคแรก ๆ
    ของการ ถ่ายภาพในเมืองไทยที่หาชมยาก และยังไม่ค่อยได้พบเห็นใน
    เมืองไทย ต้องขอขอบคุณ Wellcome Library, London ที่ได้ช่วยอนุรักษ์
    ไว้เป็น อย่างดียิ่ง และหวังว่าคนไทยจะได้ช่วยกันศึกษาค้นคว้าเผยแพร่
    ต่อไป


    *+*+*+*
    อ้างอิง : นายแพทย์พิพัฒน์ ชูวรเวช, "นายทอมสัน ผู้ถ่ายพระรูปพระจอม
    เกล้า" ในวารสารตราไปรษณียากร ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๑๑
    มิถุนายน ๒๕๔๗.

    ขอขอบคุณ Wellcome Library, London เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้



    oknation.net

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=eVUxF7lRs-4&feature=related"]YouTube- Old Bangkok ??????????? ?.4[/ame]


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2010
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระ พุทธเจ้าหลวงในทุกๆอริยบท ตั้งแต่ทรงพระเยาว์

    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    [​IMG]
    พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่
    ฉาย กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ฉายเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ พระชันษา ๑๖ พรรษา

    [​IMG]

    สมเด็จพระปิยะ มหาราช
    มหาราชผู้เป็นที่รักยิ่งของเราชาวไทย


    [​IMG]
    พระบรมรูปพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระรูปนี้สันนิษฐานว่าฉายใกล้กับงานโสกันต์
    ใน ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๐๘ พระชันษา ๑๓ พรรษา


    [​IMG]
    พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    สันนิษฐาน ว่าฉายเมื่อใกล้กับงานทรงรับพระสุพรรณบัฏ
    เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ พระชันษา ๙ พรรษา

    [​IMG]
    พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรง เครื่องต้นในงานโสกันต์ เมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๔๐๙
    พระชันษา ๑๓ พรรษา

    [​IMG]

    ทรงพระนามมากที่สุดก็ว่าได้
    เมื่อทรงกรมมี ๒ พระนาม เมื่อเสวยราชย์ก็มี ๒ พระนามาภิไธย

    พ่อใหญ่ เจ้าใหญ่
    สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
    สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ
    สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพินิตประชานาถ
    พระบาทสมเด็จพระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    สมเด็จ พระปิยะมหาราช

    [​IMG]
    พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระรูป นี้ ฉายเมื่อก่อนทรงผนวชสามเณรในปีขาล
    พ.ศ. ๒๔๐๙ พระชันษา ๑๔ ชันษา

    [​IMG]
    พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระรูป นี้สันนิษฐานว่าฉายตอนต้นปีเถาะ
    พ.ศ. ๒๔๑๐ พระชันษา ๑๕ พรรษา

    สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ

    [​IMG]
    พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระรูป นี้สันนิษฐานว่าฉายเมื่อปลายปีเถาะ
    พ.ศ. ๒๔๑๐ พระชันษา ๑๕ พรรษา

    [​IMG]
    จากหนังสือพระเจ้ากรุงสยาม ของ ส.พลายน้อย
    อธิบาย ว่า "เข้าใจว่าถ่ายเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๔๐๙ ถ่ายโดยจอห์น ทอมสัน

    [​IMG]
    พระราชพิธีโสกันต์ในรัชกาลที่ ๔

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์

    [​IMG]

    [​IMG]

    พิจารณาเองว่าเป็นช่วงพระชันษาที่ทรงพระสิริโฉม ที่สุด


    พระพุทธเจ้าหลวงในทุกๆอริยบท ตั้งแต่ทรงพระเยาว์
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    บ้านเมืองเรามีขนบธรรมเนียมประเพณีมาแต่โบราณ มีขัตติยะบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าเป็นที่กราบไหว้เคารพบูชามาช้านาน ชาติบ้านเมืองเป็นของศักดิ์สิทธิ์ หากแม้นมันผู้ใดทำบ้านเมืองให้แตกแยกฉิบหาย มันผู้นั้นและครอบครัววงศ์วานว่านเครือนับว่าขายชาติและเป็นเสี้ยนหนามต่อแผ่นดินโดยแท้ และนับไม่ได้ว่ามันเหล่านั้นเป็น "คนไทย" มิควรให้มันเหล่านั้นอยู่ในผืนแผ่นดินไทยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนต่อไป...


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=kwStlSbmQ8g"]YouTube - เพลงพระราชนิพนธ์ แผ่นดินของเรา[/ame]



     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ ณ วัดพระเชตวัน มีอุบาสก 5 คนเป็นเพื่อนกัน มานั่งฟังธรรม
    ทั้ง 5 คนต่างมีกิริยาอาการต่างๆ กัน

    คนหนึ่งนั่งหลับ
    คนหนึ่งนั่งเอานิ้วเขียนพื้นดิน เล่น
    คนหนึ่งนั่งเขย่าต้นไม้
    คนหนึ่งนั่งแหงนดูท้องฟ้า
    มีเพียงคน เดียวที่นังฟังธรรมด้วยอาการสงบ


    พระอานนท์กราบทูลถามพระ พุทธเจ้าว่า "ทำไมอุบาสกเหล่านี้จึงแสดงกิริยาเช่นนั้น"
    พระพุทธเจ้าจึง ทรงเล่าอดีตชาติของอุบาสกแต่ละคนว่า

    อุบาสกที่นั่งหลับ
    เคยเกิด เป็นงูมาแล้วหลายร้อยชาติ เขาหลับมาหลายร้อยชาติแล้วก็ยังไม่อิ่ม
    แม้แต่ ฟังเทศน์พระพุทธเจ้า ธรรมะก็ไม่เข้าหู ยังหลับอยู่อย่างนั้น

    อุบาสก ที่นั่งเอานิ้วเขียนพื้นดิน
    เคยเกิดเป็นไส้เดือนมาหลายร้อยชาติ นั่งเอานิ้วเขียนบนพื้นดินเล่นอยู่อย่างนั้น
    ด้วยอำนาจความประพฤติที่ตัว เคยทำมา ก็ไม่ได้ยินธรรมะของพระพุทธเจ้าเช่นกัน

    อุบาสกที่นั่งเขย่า ต้นไม้อยู่นั้น
    เกิดเป็นลิงมาแล้วหลายร้อยชาติ ถึงบัดนี้ก็ยังเขย่าต้นไม้อยู่
    ไม่ได้ยินธรรมะของพระพุทธเจ้าเช่นกัน

    อุบาสก ที่นังแหงนดูท้องฟ้านั้น
    เคยเกิดเป็นพราหมณ์บอกฤกษ์ด้วยการดูดาวมาหลาย ร้อยชาติ
    ถึงบัดนี้ก็ยังคงนั่งดูท้องฟ้าอยู่ ไม่ได้ยินธรรมะของพระพุทธเจ้า

    อุบาสกที่นั่งฟังธรรมอย่างสงบด้วยความ เคารพ
    เคยเกิดเป็นพราหมณ์ศึกษาธรรมะและปรัชญา ค้นคว้าหาความจริงมาหลายร้อยชาติ
    มาบัดนี้ได้พบพระพุทธเจ้า ตั้งใจฟังธรรมด้วยดี จนได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบัน

    อ่านมาถึงตรง นี้ หลายคนอาจจะนึกสงสัยว่า ชาติก่อนเราเกิดเป็นอะไรหนอ

    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า การได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นเป็นเรื่องยาก ต้องมีบุญมาก
    อุปมาเหมือนเต่า ตาบอดตัวหนึ่งดำน้ำอยู่ในทะเล ทุกๆ 100 ปี เต่าตาบอด
    ตัวนั้นจะโผล่หัว ขึ้นมาจากทะเลครั้งหนึ่ง ในทะเลมีห่วงเล็กๆ ขนาดใหญ่กว่า
    หัวเต่าหน่อย หนึ่งลอยอยู่ 1 ห่วง โอกาสที่เต่าตาบอดตัวนั้นจะโผล่ขึ้นมา
    แล้วหัวสวม เข้ากับห่วงพอดียากเพียงใด โอกาสนั้นก็ยังมีมากกว่า การที่
    เหล่าสรรพ สัตว์จะได้มาเกิดเป็นมนุษย์

    ในฐานะมนุษย์ ไม่มากก็น้อยที่ใจของเราได้มีประสบการณ์ในภพชาติอื่นๆ
    ทั้งที่ต่ำกว่าและ สูงกว่าภพมนุษย์ เรามีปัญญาที่จะรู้ได้จากประสบการณ์
    ของเราแล้วว่าอะไร ดี อะไรไม่ดี

    การเกิดเป็นมนุษย์ถ้าดีก็ดีได้มากๆ แต่ก็น่ากลัวเหมือนกัน เพราะถ้าประมาท
    ก็ทำชั่วได้มาก ถ้าไม่ประมาท รักษาศีล 5 ทำความดี สร้างบารมี ตั้งใจ
    พัฒนาชีวิตจิตใจแล้วก็สามารถมี ประสบการณ์สูงขึ้น เป็นเทวดา พรหม
    ตลอดจนเข้าถึงอริยมรรค อริยผล บรรลุนิพพานได้ มนุษย์จึงเป็นชาติที่มีทางเลือก

    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
    เป็นการยากที่ได้เกิดเป็น มนุษย์
    เป็นการยากที่ชีวิตสัตว์จะได้อยู่สบาย
    เป็นการยากที่จะได้ฟัง ธรรมของสัตบุรุษ
    เป็นการยากที่พระพุทธเจ้าจะอุบัติมา

    เมื่อ รู้เช่นนี้แล้ว เราจึงควรเห็นคุณค่าของการเกิดเป็นมนุษย์ อย่าให้เสียโอกาส
    เสีย เวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ เอาใจใส่รักษาความเป็นมนุษย์ไว้ให้มั่นคง

    ดัง นั้นสำหรับการเกิดเป็นมนุษย์ในชาติหนึ่ง การเลือกทางดำเนินชีวิตของเรา
    จึง เป็นสิ่งสำคัญที่สุด

    จากหนังสือ เราเกิดมาทำไม โดย อ.มิตซูโอะ คเวสโก

     
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    คนทำบุญนอกพระพุทธศาสนา...มีอานิสงส์น้อยกว่าคนที่ทำบุญใน
    พระพุทธศาสนา


    [​IMG] [​IMG]
    คนทำบุญ นอกพระพุทธศาสนาตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดา มีอานิสงส์น้อยกว่าคนที่ทำบุญในพระพุทธศาสนา


    “..ในสมัยที่องค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่ ในขณะที่พระองค์เสด็จขึ้นไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดาที่พระแท่น บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก มีท่านพระอินทร์มาคอยต้อนรับอยู่ก่อน ต่อมามีเทวดาอีก ๒ องค์เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นมาก็มาก่อนเทวดาอื่น คือ ท่านอังกุรเทพบุตร มานั่งข้างพระบาทข้างซ้ายของพระพุทธเจ้า กับ ท่านอินทกเทพบุตร มานั่งข้างพระบาทข้างขวา เมื่อมีเทวดาองค์อื่นมาท่านอังกุรเทพบุตรก็ถอยจากจากที่นั่งเดิม แต่ท่านอินทกเทพบุตรนั่งอยู่ที่เดิม ต่อมาเทวดามาหมดชั้นดาวดึงส์ปรากฏว่าท่าน อินทกเทพบุตรนั่งหัวแถวตามเดิม ส่วนท่านอังกุรเทพบุตรถอยไปนั่งอยู่ท้ายสุดเป็นเทวดาหางแถว

    ผลของการบำเพ็ญกุศลนอกพระพุทธศาสนากับในพระพุทธ ศาสนา
    พระพุทธเจ้าทรงต้องการ ประกาศผลของการบำเพ็ญกุศลนอกพระพุทธศาสนา กับในพระพุทธศาสนาให้บรรดาประชาชนทั้งหลายที่คอยพระองค์อยู่หลายโกฏิในเมือง พาราณสี ได้ยินได้ฟังทั้งหมด จึงทรงบันดาลเสียงของพระองค์ และเสียงของเทวดาที่สนทนากันให้ดังถึงเมืองมนุษย์ สมเด็จพระบรมสุคตจึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า “อังกุระ เมื่อตถาคตมาถึงตอนแรก เธอนั่งข้างพระบาทข้างซ้ายของตถาคต ครั้นเทวดาองค์อื่นมาหมดดาวดึงส์ เธอเป็นเทวดาท้ายแถวนั่งไกลที่สุด อยากจะทราบว่าในสมัยที่เป็นมนุษย์เธอทำบุญอะไรไว้”


    ท่านอังกุรเทพบุตรจึงกราบ ทูลองค์สมเด็จพระจอมไตรว่า “ภันเต ภควา ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญพระพุทธเจ้าข้า ในสมัยที่เป็นมนุษย์ ข้าพระพุทธเจ้าเป็นมหาเศรษฐี เวลานั้นคนมีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี อีก ๒๐,๐๐๐ ปี ก่อนที่จะตาย ได้ตั้งโรงทาน ๘๐ แห่ง ๑ โยชน์ตั้ง ๑ แห่ง ให้ทานคนยากจน คนกำพร้า คนเดินทางทั้งกลางวันและกลางคืน สิ้นเวลา ๒๐,๐๐๐ ปี แต่อาศัยว่าเวลานั้นไม่มีพระพุทธศาสนา คนทั้งหมดไม่มีศีลไม่มีธรรม จึงได้อานิสงส์น้อย ตายจากความเป็นมนุษย์มาเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเทวดาที่มีบุญน้อยที่สุด มีวิมานทองคำเกลี้ยงเป็นที่อยู่ มีนางฟ้า ๑,๐๐๐ เป็นบริวาร”

    แสดงให้เห็นว่า การบำเพ็ญกุศลแจกแก่คนที่ไร้ศีลไร้ธรรม ก็ยังเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้ ส่วนท่านอินทกเทพบุตร เมื่อเข้าไปถึงใหม่ๆ ก็นั่งข้างพระบาทข้างขวาของพระพุทธเจ้า เมื่อเทวดามาทั้งหมดชั้นดาวดึงส์ ท่านก็ไม่ถอยให้ใครนั่งอยู่หัวแถวตามเดิม ถ้ายกเว้นท่านพระอินทร์ก็ต้องถือว่าเป็นเทวดาผู้มีศักดิ์ศรีใหญ่ในดาวดึงส์ ไม่มีใครใหญ่กว่าและไม่มีใครมีบุญมากกว่า พระพุทธเจ้าใคร่จะประกาศอานิสงส์แห่งการทำบุญในพระพุทธศาสนาให้ทราบ

    จึงถามท่านอินทกเทพบุตรว่า “อินทกะ เมื่อตถาคตมาใหม่ๆ เธอก็นั่งตรงนี้ แต่ทว่าเมื่อเทวดามาหมดดาวดึงส์ เธอก็นั่งตรงนี้ตามเดิม เธอเป็นเทวดาที่มีมเหสักขา (คือมีฤทธิ์มาก มีบุญมาก) มากกว่าเทวดาองค์อื่น นอกจากท่านพระอินทร์แล้วไม่มีใครยิ่งไปกว่าเธออยากจะทราบว่าในสมัยที่เป็น มนุษย์ เธอทำบุญอะไรไว้ จึงมาเป็นเทวดาที่มีอานุภาพมากอย่างนี้”

    ท่านอินทกเทพบุตรได้กราบทูลองค์สมเด็จพระชินสีห์ว่า “ภันเต ภควา ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญพระพุทธเจ้าข้า ในสมัยที่ข้าพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ เป็นลูกคนจน ต่อมาบิดาตายก็ต้องเลี้ยงแม่ (คำว่าเลี้ยงแม่ เป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณ สนองความดีของแม่ที่ท่านเลี้ยงมา อันนี้มีอานิสงส์สำคัญมาก สูงมาก)

    ต่อมาพระสงฆ์ในสำนักขององค์สมเด็จพระบรมครูเดินเฉียดบ้านไปก่อนเพล จึงได้นิมนต์พระสงฆ์ทั้งหมดประมาณ ๔ รูปมาถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน ท่านบอกว่าในชีวิตของท่านจนมาก มีโอกาสบำเพ็ญกุศลถวายสังฆทานคราวนี้คราวเดียวกับเลี้ยงแม่ให้มีความสุขตาม ฐานะเพียงเท่านี้ข้าพระพุทธเจ้าตายจากความเป็นมนุษย์มาเกิดเป็นเทวดาบน สวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลกมีวิมานแก้ว ๗ ประการสวยสดงดงามมากเป็นที่อยู่มีความสุขมาก และมีนางฟ้า ๑ แสนเป็นบริวาร”

    เป็นอันว่า การบำเพ็ญกุศลในศาสนาขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมมีอานิสงส์สูงกว่า การบำเพ็ญกุศลแก่คนนอกพระพุทธศาสนามาก แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงรับรองว่าเทวดามีจริง นางฟ้ามีจริง สวรรค์มีจริง พรหมโลกมีจริง พระนิพพานมีจริง นรกมีจริง ตายแล้วมีสภาพไม่สูญจริง..”


    �ѧ���෾�ص�..�Ǵҹ͡�����ʹ�...����պح����..�����ҡ - Dek-D.com > Board
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระพุทธเจ้า


    [​IMG]
    พระพุทธเจ้า
    [​IMG]

    พระ สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระบรมศาสดาของพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือน กันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันคือพระโคตมพุทธเจ้า และกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและมีการสร้างพระพุทธเจ้า เพิ่มเติมขึ้นมาจนบางองค์มีลักษณะคล้ายเทพเจ้าของศาสนาฮินดู

    ตาม คัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่า พระพุทธเจ้า (พระโคตมพุทธเจ้า) พระองค์ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง ๘๐ ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ ๕๔๓ ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ ๔๘๓ ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล

    ความหมายของคำว่าพุทธะ

    ใน พระพุทธศาสนา พุทธะ (ภาษาบาลี พุทฺธ แปลว่า "ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน") หมายถึงบุคคลผู้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ แล้วอย่างถ่องแท้ ในชั้นอรรถกถา จำแนกพุทธะออกเป็น ๓ จำพวกด้วยกันได้แก่

    ๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางทีเรียกเพียง "พระพุทธเจ้า" คือบุคคลที่ตรัสรู้ด้วยตนเองและสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
    ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธนั้น พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ (พระโคตมพุทธเจ้า) เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ๒. พระปัจเจกพุทธะ,อีกอันหนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้า(อ่านว่า พระ-ปัด-เจก-กะ-พุด-ทะ-เจ้า) คือบุคคลที่ตรัสรู้ด้วยตนเอง แต่มิได้สอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
    ๓. อนุพุทธะ คือบุคคลที่ตรัสรู้เนื่องด้วยคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ผู้ที่ตรัสรู้ด้วยด้วยเหตุนี้เรียกว่า พระสาวก

    ในอรรถกถาบางแห่งจำแนกเป็น ๔ ดังนี้

    ๑. พระสัพพัญญูพุทธะ (พระสัมมาสัมพุทธเจ้า)
    ๒. ปัจเจกพุทธะ
    ๓. จตุสัจจพุทธะ (สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล)
    ๔. สุตพุทธะ (ผู้เป็นพหูสูตร)

    คำที่ใช้กล่าวเรียกพระพุทธเจ้า

    มี หลายคำดังจะกล่าวต่อไปนี้

    พระบรมโพธิสัตว์, พระโพธิสัตว์ หมายถึง ท่านผู้ที่กำลังบำเพ็ญ บารมี ๑๐ คือ
    ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตา อุเบกขา และ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
    อังคีรส หมายถึง ท่านผู้มีรัศมีแผ่ออกมาจากพระกาย
    สิทธัตถะ หมายถึง ท่านผู้ที่มีความเพียรพยายาม เมื่อต้องการสำเร็จ เป้าหมายที่ประสงค์จะทำ
    พระมหาบุรุษ เป็นคำที่ใช้เรียก พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ อีกความหมายหนึ่งคือ บุรุษผู้ยิ่งใหญ่
    ตถาคต เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระองค์เองมี ความหมาย ๘ อย่างคือ
    ๑. พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น
    ๒. พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น
    ๓. พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ
    ๔. พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น
    ๕. พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น
    ๖. พระผู้ตรัสอย่างนั้น
    ๗. พระผู้ทำอย่างนั้น
    ๘. พระผู้เป็นเจ้า

    ตถาคตโพธิสัทธา หมายถึง การเชื่อถือปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต
    ธรรมกาย หมายถึงท่าน ผู้มีธรรมในกาย
    ธรรมราชา หมายถึง ท่านผู้เป็นราชาแห่งธรรม
    ธรรมสวามิศร, ธรรมสามิสร หมายถึง ท่านผู้เป็นใหญ่โดยเป็นเจ้าของธรรม
    ธรรมสามี หมายถึง ท่านผู้เป็นเจ้าของธรรม
    ธรรมิศราธิบดี หมายถึง ท่านผู้เป็นอธิปดีในธรรม เป็นคำกวีหมายถึงพระพุทธเจ้า
    บรมศาสดา, พระบรมศาสดา หมายถึง ท่านผู้เป็น ศาสดาอันยอดยิ่ง พระผู้เป็นครูสูงสุด พระบรมครู
    พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้า หมายถึง ท่านผู้รู้ดี รู้ชอบ ด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ
    พระศาสดา หมายถึง ท่านผู้ทรงสอนชนทั้งปวง
    พระ สัมพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
    ภควา หมายถึง ท่านผู้เป็นผู้มีโชค หรือ ท่านผู้จำแนกแจกธรรม
    มหาสมณะ โลกนาถ, พระโลกนาถ หมายถึง พระผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลก
    สยัม ภู, พระสัมภู หมายถึง ท่านผู้ตรัสรู้ได้โดยตนเอง ไม่มีใครมาสั่งสอน
    สัพพัญญู, พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า หมายถึง ท่านผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง
    พระสุคต, พระสุคโต หมายถึง ท่านผู้เสด็จไปดีแล้ว

    พระพุทธเจ้าตามความเชื่อของฝ่ายเถรวาท
    พระ พุทธรูปปางประทับยืน พบที่ปากีสถาน ศิลปะคันธาระสมัยพุทธศตวรรษที่ ๕-๖

    ใน พระไตรปิฏกกล่าวว่า ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว ๒๕ พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่ ๒๕
    และพระพุทธเจ้าองค์ถัด ไปคือพระศรีอารยเมตไตรย ในทัสศนะเถรวาทถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ธรรมดา
    แต่ ที่เหนือกว่าคนทั่วไปคือพระองค์พบทางดับทุกข์ได้ด้วยพระองค์เอง และเผยแพร่หนทางนั้นต่อสรรพสัตว์
    ทรงเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ เมื่อทรงดับขันธปรินิพพาน คือดับไปโดยไม่เหลือเชื้อใดๆ
    ผู้จะเป็นพระ พุทธเจ้าต้องทำความดี (บารมี) มาในชาติก่อน ๆ นับชาติไม่ถ้วน (ก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระโพธิสัตว์)


    การเกิด ของพระพุทธเจ้า

    พระโพธิสัตว์ผู้ที่จะจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงมา เสด็จอุบัติเป็นพระพุทธเจ้านั้น ก่อนจะลงพระโพธิสัตว์จะทรงเลือก ๕ อย่าง คือ


    ๑. กาล (อายุขัยของมนุษย์)

    อายุขัยของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับกระแสสังขารและการทำความดี หากทำดีมากขึ้นอายุก็จะเพิ่มขึ้น หากทำดีน้อยอายุขัยก็จะลดลง อายุขัยของมนุษย์อยู่ระหว่าง ๑๐ ปีถึง ๑ อสงไขย (๑ ตามด้วยเลข ๐ ถึงหนึ่งร้อยสี่สิบตัว) แต่พระโพธิสัตว์ทรงเลือกอายุขัยมนุษย์ระหว่าง ๑๐๐-๑๐๐,๐๐๐ ปี ถ้าหากน้อยกว่า ๑๐๐ ปีมนุษย์จะมีจิตใจหยาบช้าเกินก็จะฟังธรรมให้แตกจนบรรลุพระนิพพานได้ ถ้าเกิน ๑๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์จะเริ่มประมาทความแก่ ความเจ็บ ความตายเพราะอายุยืนความตายมาถึงช้า จะไม่เห็นอริยสัจ ๔ หรือธรรมใดๆ


    ๒. ทวีป (ทวีปที่จะลงมาประสูติ)

    พระโพธิสัตว์เลือกชมพูทวีปเป็น ทวีปที่จะจุติทุกครั้ง เพราะมนุษย์ในชมพูทวีปมีทั้งความสุขและความทุกข์ มีความเห็นทุกข์ เห็นสุข ได้ดีกว่ามนุษย์ในทวีปอื่นๆ

    สาเหตุอีกอย่าง ที่เลือกลงมามนุษยภูมิเพราะมนุษย์เห็นสุขทุกข์ได้ง่ายที่สุด สัตว์ในอบายภูมิ ๔ มีแต่ความทุกข์ไม่เห็นสุขกระจ่าง เทวดาพรหมก็เห็นสุขมากกว่าทุกข์จนยากที่จะทำให้เป็นพระอรหันต์ได้ อีกทั้งมนุษย์ทำบุญได้ จึงทรงเลือกมนุษย์


    ๓. ประเทศ (ประเทศที่จะประสูติ)

    พระโพธิสัตว์จะทรงเลือกประเทศที่มีความเจริญ รุ่งเรือง เศรษฐกิจดี มีประชากรหนาแน่น มีนักปราชญ์ เจ้าสำนัก เป็นที่รวมของการศึกษาและศิลปวิทยามากมาย มีผู้มีคุณธรรมมากมาย จะสามารถเผยแพร่ธรรมให้รุ่งเรือง มีคนรู้มากได้


    ๔. ตระกูล (ตระกูลที่จะประสูติ)

    พระโพธิสัตว์ทรงเลือกได้ระหว่าง ตระกูลกษัตริย์ กับ ตระกูลพราหมณ์ ว่าในช่วงเวลานั้นตระกูลใดเจริญมากกว่ากัน ได้รับการยอมรับมากกว่ากัน ใน ๔ อสงไขยแสนมหากัปล่าสุดนี้มีพระพุทธเจ้าจากตระกูลกษัตริย์มากกว่า แต่ในภัทรกัปป์นี้มีพระพุทธเจ้าจากตระกูลพราหมณ์มากกว่า (พระกกุสันธะ พระโกนาคมณ์ พระกัสสปะ และพระศรีอาริยเมตไตรยพุทธเจ้า) มีเพียงพระโคตมพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียวที่มาจากตระกูลกษัตริย์

    พระ โพธิสัตว์ผู้ได้มาจุติเป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ ทรงเลือกตระกูลศากยโคตมวงศ์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์นคร เพราะได้รับความนับถือมาก และบริสุทธิ์มา ๗ รุ่นแล้ว ถ้าไม่บริสุทธิ์แล้วลงมาจุติแล้วเป็นพระพุทธเจ้าก็ยากที่จะได้รับการนับถือ สาเหตุที่เลือกตระกูลกษัตริย์เพราะในช่วงเวลานั้นมีการแบ่งชนชั้นวรรณะกัน และวรรณะกษัตริย์เป็นวรรณะที่มีคนนับถือมากที่สุด จึงทรงเลือกวรรณะกษัตริย์


    ๕. มารดา (มารดาผู้ให้กำเนิดและกำหนดอายุของพระมารดาหลังประสูติ)

    พระ โพธิสัตว์จะทรงเลือกผู้หญิงจากตระกูลกษัตริย์หรือพราหมณ์ที่รักษาศีล รักษาธรรมได้ดีที่สุด บริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ ไม่ดื่มสุรา ไม่หลงในอบายมุข ไม่โลเลในบุรุษ และทรงกำหนดอายุของพระมารดาว่ามีประมาณเท่าใด เพราะพระครรภ์ที่ประทับแห่งพระโพธิสัตว์ผู้จะได้เสด็จอุบัติตรัสรู้เป็นพระ สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เปรียบประดุจพระคันธกุฎีแห่งพระบรมศาสดา ไม่สมควรแก่ผู้อื่น

    พระบรมโพธิสัตว์ทรงเลือกพระมารดาที่บริสุทธิ์ไม่ แปดเปื้อนมลทินโทษ มิฉะนั้นจะยากแก่การเผยแผ่ศาสนา เพราะจะถูกโจมตีว่ามารดาของพระศาสดาไม่บริสุทธิ์ พระนางสิริมหามายาได้อธิษฐานเป็นพระพุทธมารดามาแต่อดีตกาล เมื่อประสูติพระบรมโพธิสัตว์เจ้าได้ ๗ วันก็เสด็จทิวงคต ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรสถิตในดุสิตเทวโลก ตามประเพณี พระพุทธมารดาไม่ได้เป็นหญิงอย่างเก่า ที่เกิดเป็นหญิงเพราะอธิษฐานขอเป็นมารดาพระพุทธเจ้า

    ประเภทของพระ พุทธเจ้า

    ในพระไตรปิฎกจะแบ่งประเภทของพระพุทธเจ้าไว้ดังนี้ การแบ่งประเภทของพระพุทธเจ้าตามวิธีการสร้างบารมี

    ๑. ปัญญาธิก พุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี ๒๐ อสงไขยกับอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์ นับเวลาตั้งแต่ได้รับพยากรณ์ครั้งแรก ๔ อสงไขยกัป กับอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์
    ๒. ศรัทธาธิกพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี ๔๐ อสงไขยกับอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์ นับเวลาตั้งแต่ได้รับพยากรณ์ครั้งแรก ๘ อสงไขยกัป กับอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์
    ๓. วิริยะธิกพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ความเพียรเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี ๘๐ อสงไขยกับอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์ นับเวลาตั้งแต่ได้รับพยากรณ์ครั้งแรก ๑๖ อสงไขยกัป กับอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์

    พระพุทธเจ้าในอนาคต

    ใน คัมภีร์อนาคตวงศ์นั้น ได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอนาคตได้ระบุว่าจะมีทั้งสิ้น ๑๐ พระองค์ ดังนี้


    • พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือพระอชิตเถระ ตรัสรู้ที่ไม้กากะทิง พระชนม์ ๘ หมื่นพรรษา พระกายสูง ๘๐ ศอก
    • พระรามะสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคืออุตมรามราช ตรัสรู้ที่ไม้แก่นจันทน์แดง พระชนม์ ๙ หมื่นพรรษา พระกายสูง ๘๐ ศอก
    • พระ ธรรมราชาสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือพระเจ้าปเสนทิโกศล ตรัสรู้ที่ไม้กากะทิง พระชนม์ ๕ หมื่นพรรษา พระกายสูง ๑๖ ศอก
    • พระ ธรรมสามีสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคืออภิภูเทวราช ตรัสรู้ที่ไม้รังใหญ่ พระชนม์ ๑ แสนพรรษา พระกายสูง ๘๐ ศอก
    • พระนารทะสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคืออสุรินทราหู ตรัสรู้ที่ไม้แก่นจันทน์แดง พระชนม์ ๑ หมื่นพรรษา พระกายสูง ๒๐ ศอก
    • พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือจังกีพราหมณ์ ตรัสรู้ที่ไม้ดีปลีใหญ่หรือไม้เลียบ พระชนม์ ๕ พันพรรษา พระกายสูง ๖๐ ศอก
    • พระเทวเทพสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือสุภพราหมณ์ ตรัสรู้ที่ไม้จำปา พระชนม์ ๘ หมื่นพรรษา พระกายสูง ๘๐ ศอก
    • พระสีหสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือโตเทยยพราหมณ์ ตรัสรู้ที่ไม้แคฝอย พระชนม์ ๘๐ พรรษา พระกายสูง ๖๐ ศอก
    • พระติ สสสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือช้างนาฬาคีรี ตรัสรู้ที่ไม้ไทร พระชนม์ ๘ หมื่นพรรษา พระกายสูง ๘๐ ศอก
    • พระสุมังคลสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือช้างปาลิไลยกะ ตรัสรู้ที่ไม้กากะทิง พระชนม์ ๑ แสนพรรษา พระกายสูง ๖๐ ศอก

    พระพุทธเจ้าตามความเชื่อของฝ่ายมหายาน

    นิกาย มหายานยอมรับพระพุทธเจ้าตามคัมภีร์ฝ่ายเถรวาททั้งหมดและยังสร้างพระ พุทธเจ้าอีกมากมาย ทั้งที่เป็นมนุษย์และมีสถานะเหมือนเทพเจ้าในศาสนาฮินดู นิกายมหายานเชื่อว่าเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วไม่ดับสูญแต่ไปประทับ ณ พุทธเกษตรซึ่งเป็นดินแดนที่งดงามกว่าสวรรค์ พระพุทธเจ้าตามคติมหายานแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ

    ๑. อาทิพุทธะ ถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่อุบัติมาพร้อมกับโลกและประทับอยู่กับโลกเป็นนิรัน ดร์ มีบทบาทคล้ายพระพรหมในศาสนาฮินดูที่เป็นผู้สร้างโลกและจักรวาล
    ๒. พระมานุสสพุทธะ เป็นพระพุทธเจ้าที่อวตารมาจากอาทิพุทธะมาเกิดในโลกมนุษย์และบำเพ็ญเพียรใน ฐานะพระโพธิสัตว์จนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อปรินิพพานแล้วจะไปอยู่กับอาทิพุทธะ คล้ายกับคติของศาสนาฮินดูที่เมื่อทำความดีถึงขั้นสูงสุดจะกลับไปเป็นส่วน หนึ่งของมหาพรหม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจจุบัน ทางมหายานเรียกว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้า เป็นพระมานุสสพุทธะด้วยเช่นกัน
    ๓. พระธยานิพุทธะ เป็นพุทธะที่อวตารมาจากอาทิพุทธะเช่นกันแต่สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจ ฌาน (ธยาน) ของอาทิพุทธะไม่ได้ผ่านการบำเพ็ญเพียรในโลกมนุษย์ พุทธะเหล่านี้ประทับบนสวรรค์ ในสภาวะกายทิพย์ มีเฉพาะพระโพธิสัตว์ที่มองเห็นได้
    ๔. พระพุทธเจ้าอื่นๆ เช่น พระสัทธรรมวิทยาตถาคต พระไภษัชยคุรุทั้ง ๗ พระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคต พระประภูตรัตนะ

    จำนวนของพระ พุทธเจ้า

    ในคัมภีร์ของทางมหายานนั้นได้ระบุนามของพระพุทะเจ้าไว้ เป็นจำนวนมาก มีทั้งพระพุทธเจ้า ๓๕ พระองค์ พระพุทธเจ้า ๕๓ พระองค์ และที่มากที่สุดคือพระพุทธเจ้า ๓,๐๐๐ พระองค์ โดยแบ่งเป็น

    * พระพุทธเจ้าในกัปป์อดีตซึ่งระบุนามไว้ในคัมภีร์อดีตสมัยอลังการกัลป์สหัส พุทธนามสูตร ๑,๐๐๐ พระองค์ เริ่มจากพระปุณฑริกประภาพุทธเจ้าเป็นองค์แรกจนถึงพระเวศภูพุทธเจ้าเป็นองค์ สุดท้าย
    * พระพุทธเจ้าในกัปป์ปัจจุบันซึ่งระบุนามไว้ในคัมภีร์ปัจจุบันสมัยภัทร กัลป์สหัสพุทธนามสูตร ๑,๐๐๐ พระองค์ เริ่มจากพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นองค์แรกจนถึงพระรุจิพุทธเจ้าเป็นองค์สุดท้าย ซึ่งพระรุจิพุทธเจ้านี้ปัจจุบันคือพระเวทโพธิสัตว์
    * พระพุทธเจ้าในกัปป์อนาคตซึ่งระบุนามไว้ในคัมภีร์อนาคตสมัยนักษัตรกัลป์สหัส พุทธนามสูตร ๑,๐๐๐ พระองค์ เริ่มจากพระสูรยประภาพุทธเจ้าเป็นองค์แรกจนถึงพระสุเมรุลักษณ์พุทธเจ้าเป็น องค์สุดท้าย

    อ้างอิง

    1. ^ http://geocities.com/ss12345_th/poti/P101.html
    2. ^ ประชุมพงศาวดารฉบับราษฏร์ ภาค 3 อนาคตวงศ์. กทม. อมรินทร์วิชาการ. 2542 และ ดู : ���͹Ҥ�ǧ�� ��úѭ �ӹ�
    3. ^ ภิกษุจีนวิศวภัทร. พระพุทธเจ้าและพระธรรมสูตรฝ่ายมหายาน. กทม. หมื่นคุณธรรมสถาน.2549

    * ประสงค์ แสนบุราณ. พระพุทธศาสนามหายาน. กทม. โอเดียนสโตร์. 2548
    * พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".

    แหล่งข้อมูลอื่น

    * พระพุทธเจ้า ในสายตานักปราชญ์โลก
    * ลานธรรม: พุทธประวัติ
    * ธรรมะไทย: พระพุทธเจ้า 25 พระองค์ ที่พระโคดมพุทธเจ้าทรงพบ
    * พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 2 พุทธวงศ์
    * อรรถกถา อัปปฏิวัทิตสูตร
    * เถราปทาน พุทธวรรค ปัจเจกพุทธาปทา�
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    วันนี้คณะกรรมการทุนนิธิฯ ได้ประชุมกันตามปกติ จึงขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมงานบุญที่ รพ.สงฆ์สักหน่อยครับ กิจกรรมที่ รพ.สงฆ์ ประจำเดือน นี้เป็น วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2553 คือวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ ครับ จึงขอแจ้งให้ผู้ที่สนใจได้ทราบทั่วกัน โดยผมและนายสติได้เบิกเงินจากบัญชีของทุนนิธิฯ มาเพื่อเตรียมบริจาคเรียบร้อยแล้ว ตามประมาณการดังนี้


    1 รพ.สงฆ์
    - ถวายค่าสังฆทานอาหาร 6,000.- (ประมาณการพระสงฆ์ไว้ 200 รูป)
    - ถวายค่าเวชภัณฑ์ส่วนกลาง 5,000.-
    - ถวายค่าโลหิต 5,000.-
    รวม 16,000.-

    2 รพ.ภูมิภาค
    - รพ.แม่สอด จ.ตาก 6,000.-
    - รพ.สมเด็จพระยุพราช (ปัว) 8,000.-
    จ.น่าน
    - รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย 5,000.-
    จ.เลย
    - รพ.มหาราช จ.เชียงใหม่ 5,000.-
    - รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น 8,000.-
    - รพ.50 พรรษาฯ จ.อุบล 5,000.-
    - รพ.สงขลา จ.สงขลา 8,000.-
    - รพ.ปัตตานี จ.ปัตตานี 5,000.-
    รวม 50,000.-

    รวมเป็นยอดเงินบริจาคตามข้อ 1.และ 2. เป็นเงินทั้งสิ้น
    66,000.- (หกหมื่นหกพันบาทถ้วน)

    เงินจำนวนดังกล่าวข้างต้นผมจะได้ทยอยโอนเงินและส่งเงินทางไปรษณีย์ไปยัง รพ.ต่างๆ ต่อไป และอย่าลืมในเดือนนี้ ครบรอบสองปีหกเดือนของทุนนิธิฯ ผมจึงมีของขวัญมอบให้ทุกท่านที่ไปร่วมงานฟรีๆ คือ ลูกแก้วและชายผ้าอาบน้ำฝนที่ผ่านการอธิษฐานจิตจากท่านหลวงปู่เคราใส่ถุงแดงมอบให้เป็นที่ระลึกและใช้คุ้มตัวทุกท่านได้ครับ และหากท่านใดยังไม่ได้รับซีดีสอนสมาธิของหลวงปู่เครา ผมก็ยังพอมีเหลืออยู่ มาขอรับได้เช่นกัน หลายท่านอาจจะยังไม่รู้จักหลวงปู่เคราว่าท่านมีพลัีงจิตเข้มแข็งปานใด มารับของที่มอบให้แล้วมารับคำตอบเองได้เช่นเดียวกันครับ สูตรเดิมในการแจกของที่ระลึกของผมก็คือของดีมีน้อย หมดแล้วคือหมดเลย ท่านสั่งมาใ้ห้แจกจ่ายกัน เหตุการณ์บ้านเมืองดูเหมือนศึกนี้สงบแล้ว แต่ศึกใหม่ก็กำลังเริ่มก่อตัวจากศึกเดิม บางทีปีใหม่อาจจะเที่ยวไม่สนุก เก็บลูกแก้วกับชายอังสะท่านไว้อุ่นใจไว้ก่อนดีกว่า แล้่วพบกันที่ รพ.สงฆ์ อาทิตย์นี้เวลา 7.30 น. ที่โรงอาหารด้านข้าง รพ.ครับ...

    พันวฤทธิ์
    23 พ.ค. 53

    [​IMG]

    โยคีดำ หรือหลวงปู่เครา



    [​IMG]

    ลูกแก้วที่จะแจกให้ฟรี (เป็นแบบกลีบมะเฟือง)
     
  15. benyapa

    benyapa ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,088
    ค่าพลัง:
    +5,431
    พี่เสืออยากได้สักชุดจังเลยค่ะ ง่า
     
  16. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    โมทนาครับ

    สาธุ สาธุ สาธุ
    Narongwate
     
  17. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    เมื่อวานนี้ได้โอนเงินร่วมทำบุญกับพี่ๆ และทุกๆท่าน ในกระทู้นี้ครับ
    จำนวนเงิน 200 บาทครับ
    มหาโมทนาด้วยครับ
    ขอบพระคุณที่ทำให้มีโอกาสร่วมงานบุญดีๆแบบนี้เรื่อยๆครับ
    สาธุๆๆ
     
  18. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    [​IMG]

    ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วันเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภการพูดเสียดแทงให้เจ็บใจของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในสมัยของพระเจ้าคันธาระครองเมืองตักกศิลา แคว้นคันธาระ พระโพธิสัตว์เกิดเป็นโคนามว่า นันทิวิสาล เป็นโคมีรูปร่างสวยงาม มีพละกำลังมาก มีพราหมณ์คนหนึ่งได้เลี้ยงและรักโคนั้นเหมือนลูกชาย โคนั้นคิดจะตอบแทนบุญคุณการเลี้ยงดูของพราหมณ์ในวันหนึ่ง ได้พูดกะพราหมณ์ว่า
    "พ่อ จงไปท้าพนันกับโควินทกเศรษฐีว่า โคของเราสามารถลากเกวียนหนึ่งร้อยเล่ม ที่ผูกติดกันให้เคลื่อนไหวได้ พนันด้วยเงินหนึ่งพันกหาปณะเถิด"

    พราหมณ์ได้ไปที่บ้านเศรษฐีและตกลงกันตามนั้น นัดเดิมพันกันในวันรุ่งขึ้น ในวันเดิมพัน พราหมณ์ได้เทียมโคนันทิวิสาลเข้าที่เกวียนเล่มแรก เพื่อลากเกวียนหนึ่งร้อยเล่มผูกติดกันซึ่งบรรทุกทราย กรวดและหินเต็มลำ แล้วขึ้นไปนั่งบนเกวียน เงื้อปฏักขึ้นพร้อมกับตวาดว่า
    "ไอ้โคโกง โคโง่ เจ้าจงลากเกวียนไปเดี๋ยวนี้"

    ฝ่ายโคนันทิวิสาลเมื่อได้ยินพราหมณ์พูดเช่นนั้น ก็คิดน้อยใจว่า
    "พราหมณ์เรียกเราผู้ไม่โกง ว่าโกง ผู้ไม่โง่ ว่าโง่"

    จึงยืนนิ่งไม่เคลื่อนไหว โควินทกเศรษฐีจึงเรียกให้พราหมณ์นำเงินหนึ่งพันกหาปณะมาให้แล้วกลับบ้านไปฝ่ายพราหมณ์ผู้แพ้พนันเงินหนึ่งพันกหาปณะ ปลดโคแล้วก็เข้าไปนอนเศร้าโศกเสียใจอยู่ในบ้าน ส่วนโคนันทิวิสาลเห็นพราหมณ์เศร้าโศกเสียใจเช่นนั้น จึงเข้าไปปลอบและกล่าวว่า
    "พ่อ ฉันอยู่ในเรือนของท่านตลอดมา เคยทำภาชนะอะไรแตกไหม เคยเหยียบใครๆ เคยถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะในที่อันไม่ควรหรือไม่ เพราะเหตุใด ท่านจึงเรียกเราว่า โคโกง โคโง่ ครั้งนี้เป็นความผิดของท่านเอง ไม่ใช่ความผิดของฉัน บัดนี้ ขอให้ท่านไปเดิมพันกับโควินทกเศรษฐีใหม่ด้วยเงินสองพันกหาปณะ ขออย่างเดียว ท่านอย่าได้เรียกฉันว่า โคโกง โคโง่ ท่านจะได้ทรัพย์ตามที่ท่านปรารถนา ฉันจะไม่ทำให้ท่านเศร้าเสียใจ"

    พราหมณ์ได้ทำตามที่โคนันทิวิสาลบอก ในวันเดิมพัน พราหมณ์จึงพูดหวานว่า
    "นันทิวิสาลลูกรัก เจ้าจงลากเกวียนทั้งร้อยเล่มนี้ไปเถิด"

    โคนันทวิสาลได้ลากเกวียนร้อยเล่มที่ผูกติดกัน ด้วยการออกแรงลากเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ทำให้เกวียนเล่มสุดท้ายไปตั้งอยู่ที่เกวียนเล่มแรกอยู่ ทำให้พราหมณ์ชนะพนัน ด้วยเงินสองพันกหาปณะพระพุทธองค์เมื่อนำอดีตนิทานมาสาธกแล้วตรัสว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า คำหยาบ ไม่เป็นที่ชอบใจของใครๆ แม้กระทั่งสัตว์เดียรัจฉาน"
    แล้วได้ตรัสพระคาถาว่า
    "บุคคลควรพูดแต่คำที่น่าพอใจเท่านั้น ไม่ควรพูดคำที่ไม่น่าพอใจในกาลใดๆ เมื่อพราหมณ์พูดคำที่น่าพอใจ โคนันทิวิสาลได้ลากสัมภาระอันหนักได้ ทั้งยังทำให้หราหมณ์ผู้นั้นได้ทรัพย์อีกด้วย ส่วนตนเองก็เป็นผู้ปลื้มใจ เพราะการช่วยเหลือนั้นด้วย"


    www.dhammathai.org


     
  19. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    พี่เสือ

    ในสายบุญผม 1 ท่าน ขอ 1 ชุดครับ

    วันนี้อีกท่านในสายบุญ เขาก็บอกว่า พ่อเขาไม่สบาย มิรู้ว่าจะไปเมื่อไหร่
    ทำบุญกันมาหลายรอบหลายเดือน ผมเองก็จนใจ อยากช่วย
    แต่มิสามารถเลย อั้นในใจ จริงๆ

    ได้แต่ นำบทเพลงสวดมนต์ธิเบต และสวดสรรเสริญพระแม่กวนอิม
    ใส่ลง CD ไปให้
    แต่ CD ทั้งบทสวดของไทย และบทเพลงสวดก็มี ยังทำไม่เสร็จ

    จึงขอแจ้งเพื่อทราบครับ
     
  20. zero7

    zero7 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +306
    ร่วมทำบุญด้วยครับ 300 บาท
    เมื่อวัน 25/5/53 เวลา 11.39 ครับ

    ขอผลนี้จงยังผลไปสู่บิดามารดา ครูอาจารย์ เทพยดา 16 ชั้นฟ้า เทพยดารักษาตัวข้า
    ท้าวมหาราชทั้ง 4 พระมหากษัตริย์ทุก ๆ พระองค์ เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ญาติของข๊าพเจ้าทั้งหลาย สรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยเทอญ
    สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...