สังขารุเบกขาญาณ เป็นดังฤา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 17 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คนที่ ฝึกวิปัสสนา และศึกษาวิปัสสนาญาณมาบ้าง คงเคยได้ยินคำว่า สังขารุเบกขาญาณ อันเป็น ตัวที่จะทำให้จิตสังขารทั้งหลายดับไป ซึ่งมีผลคือ ปรากฎผลครั้งแรก เป็นโคตรภูญาณ
    ปรากฎผลครั้งต่อมาเป็น ผลญาณ ใน อริยมรรค อีก 4 ครั้ง

    สังขารุเบกขาญาณ นี้ ใครจะทำได้ จะต้องเชี่ยวชาญใน การมองจิต มองสัญญา มองสังขาร วิญญาณ เรียกว่า เมื่อเห็นละเอียดแล้ว จะเห็น นามธรรมตัวหนึ่ง ที่ค้างในใจเราอยู่ นามธรรมตัวนี้แหละ ที่ทำให้เกิด ทุกข์ทั้งปวง

    เช่นเมื่อเราประสพเรื่องที่ไม่พอใจมา ก็มีเรื่องราวนี้แหละ กรุ่นอยุ่ในหัว กรุ่นอยู่ในใจลึกๆ มีหลายๆ เรื่องที่เราระลึกถึงลึกๆ เป็นเรื่องเป็นราว ในใจ
    การที่มีเรื่องราวอยู่ในใจนี้แหละ ทำให้เกิดทุกข์ อันก่อให้เกิด ตัณหา อารมณ์ สัญญา ต่างๆ มากมาย

    การเข้าไปรู้เรื่องราวต่างๆ เอามาไว้ในใจ นั้น เรียกว่า สังขาร คือ ตั้งอยู่เป็นเรื่องเป็นราว การจะวางไปได้ ให้เราระลึกไปในตอนที่เราหลับ หรือ ระลึกในความรู้สึกจุดหนึ่งที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้ ก็จะเป็นอุบายธรรม ที่จะวางเรื่องราวต่างๆ ลงไปได้ อบรมจนเห็นว่า สังขารเหล่านี้ ไม่เกิดประโยชน์ และ สามารถวางได้ ไม่เป็นตัวตน แล้ว เราจะสามารถเพิกเฉย สังขารที่ตั้งอยู่ในใจเราได้ ซึ่งจะนำไปสู่ ความละเอียดมากๆ ขึ้นไป จนดับสังขารธรรมทั้งหมดได้
    จนละเอียดไปจนถึงพระนิพพาน แล้วจิตที่สัมผัสกับการวางนั้นจะรู้เองว่า สมมติ บัญญัติ ความเข้าใจ ความรู้ วิมุตติ นั้น แยกออกจากกันได้อย่างไร
     
  2. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    อนุโมทนา ครับ
    ขออนุญาติเสริมหน่อยนะครับ
    ทุกข์
    ชลามรณะ--->ชาติ---->ภพ---->อุปาทาน--->ตัณหา--->เวทนา--->ผัสสะ-->นามรูป--->วิญญาณ--->นามรูป(เกิด)--->ผัสสะ---->เวทนา--->ตัณหา--->อุปาทาน-->ภพ-->ชาติ--->ชลามรณะ
    สมุทัย เหตุให้เกิด
    ชลามรณะ--->ชาติ---->ภพ---->อุปาทาน--->ตัณหา---> เวทนา--->ผัสสะ-->นามรูป--->วิญญาณ--->นามรูป(เกิด)---> ผัสสะ---->เวทนา--->ตัณหา--->อุปาทาน-->ภพ-->ชาติ--->ชลา มรณะ
    ภพ---วัฎฎสังสาร 31 ภูมิ
    อุปปทาน--กามุปาทาน๑ทิฏฐปาทาน๑สีลัพพตุปาทาน๑อัตตวาทุปาทาน๑
    ตัณหา---รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมมารมณ์
    เวทนา----ตาหูจมูกลิ้นกายใจ
    ผัสสะ----ตาดูรูป หูยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นสัมผัสรส กายโผฏฐัพพะ ใจรับรู้ธรรมมารมณ์
    นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป

    นิโรธ
    เมื่อเข้าถึงเหตุ ธรรมทั้งหลายก็ดับศูนย์ไปด้วย
    มรรค มีองค์ 8
    รวมทั้งหมด คืออริยสัจธรรม 4
    หนทางแห่งความหลุดพ้น เข้าสู่มรรคผลนิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2009
  3. ผีเสื้อราตรี

    ผีเสื้อราตรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +283
    เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เกี่ยวข้องกับธรรมที่ อาจารย์ขันธ์กล่าวมาหรือไหม ช่วยแนะนำด้วย[​IMG]
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ก็ ตัวอุเบกขา นั่นแหละ คือ การวางลงไปได้ แต่ธรรมที่ผมกล่าวนั้น เป็นการวางเรื่องราวทั้งสิ้นไป ทั้งสัญญา อารมณ์ ที่ก่อตัวเป็นสังขารตั้งอยู่ในใจ แต่ อุเบกขา ในส่วนของพรหมวิหารสำหรับคนทั่วไปนั้นเป็นเพียงวางเฉยต่อเรื่องราวภายนอก แต่เรื่องราวที่ค้างอยู่ภายใน นั้น ต้องอาศัยวิปัสสนาญาณ เรียกว่า เท่าทันในการก่อตัวของ สังขารทุกประเภท
     
  5. รักคนอ่าน

    รักคนอ่าน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +94
    อุเบกขาธรรมดา คือการข่มใจไห้วางเฉย จิตไม่ได้เห็นว่าทำมัยจึงควรวางเฉย
    เป็นการบังคับใจไห้วางเฉย ไม่ได้วางเองโดยจิตเพราะจิตยังไม่เห็นแต่ถ้าพอเห็นบ้างก็ข่มใจน้อยลง เห็นแจ้งก็ไม่ต้องข่มใจ มันวางเอง
    เอ ไช่ไหมนะ ^ ^
     
  6. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    <TABLE style="MARGIN-TOP: 1mm; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'" width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width=822>
    อทุกขมสุข หรืออุเบกขาเวทนา และอวิชชนุสัย<SCRIPT language=JavaScript>animate('animate', '#ff8000');</SCRIPT>
    </TD><TD vAlign=bottom align=right width=193>
    [​IMG]คลิกขวาเมนู
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ เป็นทุกข์เพราะรู้ผิด.
    (จูฬเวทัลลสูตร)
    อทุกขมสุขเวทนา หรือ อุเบกขาเวทนา ถ้าพิจารณาจากชื่อหรือเข้าใจโดยผิวเผินแล้ว ดูน่าจักเป็นของดีที่น่าปฏิบัติหรือน่าให้เกิดให้เป็น ด้วยมักพาลกันไปเข้าใจผิดเป็นนัยๆไปว่า หมายถึง เฉยๆที่หมายถึงเป็นกลางดังอุเบกขาในโพชฌงค์องค์แห่งการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์หรือตรัสรู้หรืออุเบกขาในพรหมวิหารไปเสีย แต่ในความเป็นจริงแล้วมีความหมายที่ไม่เหมือนกัน และอุเบกขาเวทนานี้นี่เองเป็นเวทนาชนิดที่เป็นเหตุทําให้เกิดความทุกข์(ทุกข์อุปาทานอันเร่าร้อน)เกิดขึ้นตามมา ได้อย่างมากถี่บ่อยเป็นที่สุด และยังเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอวิชชานุสัย(คือสภาพที่นอนเนื่องในสันดาน เพราะความไม่รู้ตามความเป็นจริง) อุเบกขาเวทนาจึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษาทำความรู้จักทำความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะแม้ในเบื้องต้นแลดูไมู่เป็นทุกข์โทษภัย แต่กลับเป็นเหตุก่อให้เกิดความทุกข์อันเร่าร้อนเผาลนในที่สุดได้อย่างถี่บ่อยเป็นที่สุดโดยไม่รู้ตัว ก็ด้วยเพราะความไม่รู้หรืออวิชชานั่นเอง
    มีพุทธพจน์ที่ตรัสแสดงเวทนา ไว้ใน ฉฉักกสูตร ดังนี้
    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุ(ตา)และรูป (ย่อมต้อง)เกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ(การกระทบสัมผัสขององค์ชีวิต), เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อม(ต้อง)เกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา) เป็นสุขบ้าง(สุขเวทนา), เป็นทุกข์บ้าง(ทุกขเวทนา), มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง(อทุกขมสุขหรืออุเบกขาเวทนา)
    [ที่หมายความสำคัญยิ่งว่า เมื่อมีการผัสสะกันแล้ว ย่อมต้องเกิดเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ ขึ้นเป็นธรรมดาหรือตถตา]
    เขา(บุคคล)อันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มี ราคานุสัย นอนเนื่องอยู่
    อันทุกขเวทนาถูก ต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มี ปฏิฆานุสัย นอนเนื่องอยู่
    อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัด ความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มี อวิชชานุสัย นอนเนื่องอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทา, ละปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา, ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา, ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ."

    http://www.nkgen.com/27.htm ที่มา
    ท่านที่ปติบัติวิปัสนาน่าจาได้เคยเจอและท่านที่หลุดแล้วก้ขอโมทนา
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เห็นแจ้งแล้ว ชัดแล้วในเหตุต้น แล้วดับที่เหตุอันละเอียดก็ไม่เกิดผลที่หยาบ ดับในเหตุที่ละเอียดก็ดับง่ายและไว ถ้ามีสติตื่นแล้วรู้ว่าเพียงแค่หลงไปกับวิถีความรู้สึกและความนึกคิดที่ผิดทาง

    ยกตัวอย่างเช่น ความรู้สึกโมโห ดับในเหตุที่ละเอียดก็คือ การทำใจไปเรื่องอื่น ก็จะดับอกุศลที่เป็นสังขาร คือ หลงเข้าไปเป็นเรื่องเป็นราวในเรื่องที่เราโมโห การทำใจไปเรื่องอื่น ไม่ใช่ทำให้ฉลาดขึ้น แต่เป็นการดับต้นสายแห่งความโมโหนั้น แต่ถ้าจะเอาให้ฉลาดจริงก็ต้องตื่นขึ้น แล้วระลึกได้ว่า นี่จะนั่งโมโหอยู่ทำไม ทำไมไม่ไปทำมาหากิน
    การตื่นขึ้นนี้ จะต้องเกิดขึ้นกับใจตน จะต้องนึกได้เอง รู้สึกเองถึงความโง่ที่มานั่งทำอะไรไร้สาระ นี่แหละเรียกว่า ตื่น
    ซึ่งการตื่นนี้ จะตื่นเป็นขั้นๆ เป็นลำดับไป จนละเอียดที่สุด คือ ไม่หลงไปในกิเลสเลย
     
  8. ผีเสื้อราตรี

    ผีเสื้อราตรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +283
    ถ้าเช่นนั้นอุเบกขาที่วางใจกับเรื่องภายนอกเช่นเห็นคนตกทุกข์เสียใจ(อกหัก) เราช่วยให้คำแนะนำกับเขาแต่เค้าทำใจไม่ได้ก็คือทำดีที่สุดแล้วแต่ก็ไม่ไปทุกข์กับเขา
    ส่วนอุเบกขาภายในเช่นเราโกรธ แล้วเราดูที่ความโกรธแล้ววางใจกับความโกรธ (อุเบกขาความโกรธ) วางเฉยกับเค้าเป็นเช่นนั้นไหม เช่นนี้เรียกได้ไหมว่าดับทุกข์ที่เหตุ หรือเรารู้ว่าถ้าเจอผู้นี้ไม่ชอบพูดไม่ดีกับเราแล้วเราก็เลี่ยงไม่เจอ เราคงกำหนดปัจจัยภายนอกไม่ได้(คิดว่าเป็นเช่นนั้น) เรามาอุเบกขาภายในดีกว่าไหม ที่กล่าวมาจริงเท็จประการใด ช่วยให้ปัญญาที[​IMG]
     
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ถูกต้องแล้ว แต่ อุเบกขาภายในนั้น จะมีละเอียดเป็นส่วนๆ ไป จนถึง สังขารอุเบกขา คือ อะไรก็ตามที่เป็นนามธรรม ที่เป็นเรื่องในหัว ในใจ ในตัว ถูกวางเฉยไป ไม่ได้เอาใจไปสะทกสะท้านกับสิ่งเหล่านั้น พอวางสังขารไป วางสังขารมา ไม่ว่าจะหยาบละเอียด ที่โง่ๆ อยู่ ก็ตื่นขึ้นมา เป็น โคตรภูญาณ

    มันสำคัญ อีกอย่าง ไม่ใช่ตรงที่เรารู้ แรกๆ ก็ต้องรู้ แต่หลังๆ แล้วต้องเป็นไปโดยอัตโนมัติ คือ วางได้เอง
     
  10. dhammashare

    dhammashare เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    432
    ค่าพลัง:
    +189
    อะไรเกิดขึ้น จะเป็นยังไง ก็ ช่างหัวมัน
     
  11. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424


    ท่านขันธ์ครับ นามธรรมตัวที่ท่านเอ่ยถึงนี้ในมุมมองของผม ผมเรียกว่าเป็น ธรรมารมณ์ คืออารมณ์ที่มากระทบใจให้รับรู้ แล้วแต่ว่าเราจะหลงยึดผัสสะ หรืออาการของขันธ์ ๕ ตัวนี้หรือไม่ ถ้าหลงก็ปรุงต่อก่ออารมณ์ขึ้นมา ผู้ฝึกตนจนมีสติต่อเนื่องเป็นอัตโนมัติแล้ว อายตนะใจนี้จะเปิดออกให้รับรู้ธรรมารมณ์ได้ไม่มีขึดจำกัดเลย ไม่งั้นพระท่านคงไม่กล่าวไว้ว่ามี อายตนะ ๖ คงว่าแค่ ๕ ก็พอแล้ว ที่จริงการรอบรู้ในกองสังขารนั้นจะต้องรอบรู้ให้รอบด้านทั้ง ๖ อายตนะ โดยเฉพาะที่ใจ ถือว่าสำคัญมาก วัน ๆ หนึ่งกระแสธรรมารมณ์ที่เข้ามากระทบมากมายเหลือคณานัป ทั้งจากคนใกล้คนไกล ภพภูมิต่าง ๆ การสัมผัสสัมพันธ์นั้นไม่ต่างจากการที่กายสัมผัสเลย อยู่ที่สติของเราจะรู้ทันได้แค่ไหน หลงน้อยหลงมากอยู่ตรงนี้ ผู้ที่จะรู้ชัดตรงนี้ได้ ต้องเป็นผู้เข้าถึงความปกติแห่งจิตได้อย่างแท้จริง สัมผัสความเป็นกลางแห่งจิตได้อย่างแท้จริงแล้วเท่านั้น จึงจะรับรู้ว่า มีธรรมชาติที่เป็นปกติจิต หรือกำลังรับธรรมารมณ์อยู่นั้นเอง และธรรมชาติที่เป็นปกติจิตก็คือตัวศีลนั้นเอง คนต้องรักษาศีลที่ใจนี้ให้คงเส้นคงวามากพอ จึงจะแยกออกว่า อะไรคือจิตปรุงกิเลส อะไรคือกิเลสเข้ามาปรุงแต่งจิต ขันธ์ ๕ เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตจิตใจของเราอย่างไร...

    ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ได้อย่างแท้จริง เราก็จะรู้จักจุดปล่อยจุดวาง มองเห็นจุดเริ่มต้น มองเห็นหนทางก้าวเดินต่อไป หมดความสงสัย คลายความหลงเป็น แล้วจะเดินปัญญาละกิเลส ปลงไตรลักษณ์ยังไงก็ค่อยว่ากันไป หากเราไม่เห็นจุดนี้ก่อน พิจารณาอะไรมันก็ลงไปเป็นอัตตาหมด เพราะหาจุดหลง หาจุดคลายความหลง จุดปล่อยจุดวางไม่เจอจริง ๆ นะซี..ว่ามั้ยครับ



    สาธุ ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2009
  12. บุคคลไปทั่ว

    บุคคลไปทั่ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2009
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +106
    ---------------------------------------------------------------------

    ผมว่าสิ่งที่ท่านขันธ์ กล่าว ( ตัวแดง ) ยังไม่เรียกว่าตื่น แต่มันยังเป็นตัณหาอยู่ คือ วิภวตัณหา หมายถึงยังไม่พอใจในภพตรงนั้น การระลึกมีอยู่แต่ยังพลักออกในการที่จะมานั่งโมโหตรงนั้น และจะแสวงหาภพใหม่ ( ภวตัณหา ) โดยการไปทำมาหากิน ซึ่งยังเป็นลักษณะของสังขารแทรกแซงสังขารอยู่ โดยอาศัยตัณหา 3 ที่นอนเนื่องอยู่ในจิตเป็นแรงขับอยู่

    การตื่น ที่แท้จริงคือเห็นสภาวะการแทรกแซงของตัวสังขารขันธ์ ่( ปั้นภพ )โดยตัวสังขารขันธ์เอง ซึ่งมีทั้งการขัดแย้ง ส่งเสริม สอดคล้อง สัมพันธ์ ทำลาย ในตัวมันเองของแรงขับทั้งสามนั้นก็คือ ตัณหา 3กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ่นั่นเอง ซึ่งก็ใช้การตื่นนี้เพื่อเห็นสภาพตามที่มันเป็น..ส่งให้ปํญญาตรวจสอบต่อไป

    การตื่น มีระดับเดียว แต่ความถี่ในการตื่นมีหลายระดับ
    -----------------------------------------------------------------------
    ขอแชร์การตกผลึกของอวิชชาครับ.... ขอให้เกษมในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2009
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    จะตื่นระดับไหนก็ช่างเถิด ขอให้ตื่นจากการหลง ณ ตรงจุดนั้นให้ได้
    เรียกว่า ตื่น ทีนี้ จะให้มันเป็นที่สุด ก็เรียกว่า พระอรหันต์ คือตื่นทุกอย่าง ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจว่า คำว่า ตื่น ไม่ได้จะต้องให้ตื่นทั้งหมด

    ส่วนตัวตัณหา เป็นคนละเรื่องกับกรณีนี้ ตัณหาคือ การทะยานอยาก แต่ การตื่นเป็นการดับอวิชชา เช่นว่า ระลึกได้ว่า ไม่ควรทำแบบนั้น ไม่ควรทำแบบนี้ ก็ดับอวิชชาในส่วนนั้นได้

    ตัณหา คือ แรงร้อน แรงผลัก แรงดึง ไม่ใช่แรงหยุด แต่ที่ผมกล่าวเป็นแรงหยุด คือ หยุดตามตัวหลง
     
  14. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    คนส่วนมากมักหลงปฏิปทาพยายามเอาธรรมระดับสูงมาปฏิบัติเลย นี่แหละเรียกว่า หลงเด็ดแต่ยอดตำลึง

    ครูบาอาจารย์ท่านย้ำนักย้ำหนาให้หาจุดปล่อยจุดวาง จุดคลายความหลงให้เจอให้ได้เสียก่อน ค่อยเดินปัญญาวิปัสสนาจริง ๆ ไม่งั้นก็จะหลงปัญญาที่ได้นั่นแหละ คลายออกไม่เป็น กลายเป็นคลายปัญญาออกแบบผลักไสแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวเหมือนกัน ต้องระมัดระวังให้ดีนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2009
  15. mj2009

    mj2009 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2009
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +85
    เฉียบมากครับ
     
  16. บุคคลไปทั่ว

    บุคคลไปทั่ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2009
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +106
    -----------------------------------------------

    ก็ท่านขันธ์ส่งแบบจำลองสถานการณ์มาแบบนั้น ผมก็แจมลักษณะของตัณหาเข้าไปเพราะมันเป็นกำลังของขันธ์ ที่ท่านขันธ์กล่าวว่าการตื่นเป็นการดับอวิชชานั้นก็ถูกแต่ถูกในแง่ของการแทนวิถีเท่านั้น และการะลึกได้ว่า ไม่ควรทำแบบนั้น ไม่ควรทำแบบนี้ ปถุชนผู้ไม่ได้สดับธรรม ก็ทำอยู่เป็นประจำอยู่แล้วก็คือ การไม่พอใจในภพ อีกและวกเข้าตัณหาอีก ไม่คุยด้วยละ เดินทางเดียวกันไม่ย่ำรอยกันเนาะท่านขันธ์ ไปหายอดตำลึงกินไปพลาง ๆ ก่อนดีกว่า จะได้มีแรงขุดราก คงไม่มัวแต่มองหาราก จนยอดมันเลื้อยออกดอกออกลูกเจริญงอกงามไปอีกนะ ( หยิกเล่นน๊าท่านทีโบน ) ใครมีกระเทียมบ้าง..........

    ราตรีสวัสดิ์เจริญในธรรมครับ
     
  17. junsuwan

    junsuwan สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +0
    เอาข้อมูลมาเพิ่มเติมให้ครับ
    เผื่อว่าจะได้สะสมความรู้เพิ่มขึ้น
    ลิ้งก์
    http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001288.htm

    เครดิตคุณ Vicha ครับ
    โพสไว้ตั้งแต่ 10 ปีก่อน ลองดูวันที่ในเวปเอานะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2010
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    อ่าน ตามลิงค์ที่ให้มา นั่นเป็น สมาธิ เสียมากกว่า

    ขอพูดตรงๆ ว่า บางส่วน ไม่ตรงกับปฏิบัติ

    เพราะว่า เป็นทฤษฎี เสียมาก

    ลำดับแห่งวิปัสสนาญาณ ไม่ต้อง เรียง รู้เห็นอันไหน จะเป็นตามปกติ

    เดินไปธรรมดา นี่ เกิด วิปัสสนาญาณก้ได้ ไม่ต้องเรียง ไม่ต้องนั่งสมาธิ แต่ เอากำลังพละเป็นฐานให้จิต พิจารณา
     
  19. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ลักษณะอาการของสังขารุเปกขาญาณนี่
    จิตจะเป็นอุเบกขานะครับ จิตหดย่นเข้ามา
    และจะแยกตัวออกจากสังขารโลกอย่างชัดเจน
    คือไม่ระคนกัน เปรียบ น้ำกับนำมันนี่ล่ะครับ

    ที่ต้องชี้ให้ชัดเจนคือ ไม่ได้แยกตัวจากขันธ์ 5 นะครับ
    แต่แยกจากสังขารโลก ที่สัมผัสได้ทางอายตนะ ครับ

    เกิดได้ทั้งจาก วิปัสสนา และ สมถะครับ
    ลักษณะอาการเดียวกันครับ

    ทุกขัง....นะ
     
  20. บรมบรรพต

    บรมบรรพต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +245
    สังขารุเบกขาญาณ ต่างจาก อุเบกขาตรงที่ อุเบกขา มีอารมณ์เฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์ แต่สังขารุเบกขาญาณนั้นวางเฉยด้วยฌาน ๔ หยาบและปัญญา คือ วางเฉยในอทุกขอสุขเวทนาที่กำลังเกิดขึ้นอีกที แม้อารมณ์อื่นที่กำลังเกิดขึ้นก็เหมือนกัน คือ จิตกับกาย และอารมณ์มันแยกออกจากกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...