พรหมวิหาร ๔

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 29 มีนาคม 2010.

  1. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    เรื่อง พรหมวิหาร ๔<O:p

    <CENTER></CENTER>





    เมื่ออาทิตย์ที่ ๑๖ พ.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องพรหมวิหาร๔ ให้ มีความสำคัญ ดังนี้
    <O:p๑. จงมองหาความพอดีของร่างกายให้พบ และประการสำคัญ มองหาความพอดีของจิตให้พบเช่นกัน โดยอาศัยมัชฌิมาปฏิปทาเป็นทางสายกลาง อันไม่เบียดเบียนทั้งกายและจิตของตนเองเป็นหลัก
    <O:p๒. จงมีพรหมวิหาร ๔ เป็นพื้นฐานของศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นในจิตของตน เจริญพรหมวิหาร ๔ อยู่เนือง ๆ เพื่อเป็นกำลังเลี้ยงศีล สมาธิ ปัญญา ให้ทรงตัว ที่เจ้าอึดอัดขัดข้องกายและจิตอยู่นี้ เพราะพรหมวิหาร ๔ อ่อนเกินไป ขอให้ศึกษาทบทวนพรหมวิหาร ๔ ให้เป็นที่เข้าใจยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วย
    <O:p๓. บุคคลใดขาดพรหมวิหาร ๔ ในจิตและกายของตน บุคคลนั้นยากที่จักทำ ความเพียรให้บรรลุมรรคผลขั้นสูงสุด ได้ยาก<O:p></O:p>
    ๔. ขาดพรหมวิหาร ๔ ในจิตและกายของตน อารมณ์ก็จักมีแต่ความเร่าร้อน หาความสงบระงับมิได้ ให้หมั่นศึกษาพรหมวิหาร ๔ ดู และให้คิดพิจารณาทบทวนถึงเหตุผลของการมีและ ไม่มีพรหมวิหาร ๔ ด้วย อย่าศึกษาเพียงแค่อ่านและใช้สัญญารู้เพียงแค่ตัวหนังสือหยาบเกิน ไป ผลไม่เกิด
    <O:p๕. อ่านทบทวนแล้วพิจารณาได้ผลอย่างไร เข้าใจว่าอย่างไรในพรหมวิหาร ๔ นี้ ก็ให้ลงบันทึกไว้ด้วย ซักซ้อมจิตให้มีอารมณ์เกาะพรหมวิหาร ๔ เข้าไว้
    <O:p๖. พรหมวิหาร ๔ มีหลายระดับ จากกำลังอ่อน ๆ เอาเพียงแค่ศึกษาพื้น ๆ ก็พอ ถ้ารู้เพียงแค่นั้น ศีล สมาธิ ปัญญา จะเข้าถึงขั้นอธิจิตสิกขากับอธิปัญญาสิกขาได้ยาก
    <O:pธัมมวิจัย ขออนุญาตเขียนไว้เป็นตัวอย่าง ตามคำสั่งของสมเด็จองค์ปฐมที่ว่า ให้ทบทวน ให้หมั่นศึกษา ให้หมั่นพิจารณาได้ผลอย่างไรให้บันทึกไว้ด้วย จึงขอเขียนเป็นข้อ ๆ ดังนี้
    <O:p๑. พรหมวิหาร ๔ เป็นอารมณ์คิด พิจารณาทั้ง ๔ ข้อ การคิดพิจารณา เป็นต้นเหตุทำให้ปัญญาเกิด ใครไม่ทำตามท่านก็เป็นกรรมของผู้นั้น
    <O:p๒. พรหมวิหาร ๔ เป็นทั้งอาหารและกำลังของ ศีล สมาธิ ปัญญา ผู้ใดอยากรู้รายละเอียดให้อ่านหรือฟังเทปที่หลวงพ่อฤๅษีท่านสอนไว้ มีรายละเอียดอยู่มากมาย
    <O:p๓. เมตตา ความรัก ท่านให้หลักไว้ ๓ ข้อ คือ การกระทำนั้น (กรรม) ต้องไม่เบียดเบียนตนเอง (จิต) เป็นข้อแรก กรรมนั้นต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น (ร่างกาย) และกรรมนั้นต้องไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น หากขัดกับข้อใดข้อหนึ่งใน ๓ ข้อนี้แล้ว การกระทำนั้นมิใช่เมตตาในพุทธศาสนา
    <O:p๔. ปัญญาทางพุทธ ท่านให้ใช้ถามและตอบจิตของตนเองด้วยเหตุด้วยผล โดยไม่ขัดต่อศีล สมาธิ ปัญญา อย่าไปถามคนอื่น บางคนยังไม่ทันใช้ความเพียรของตน หรือยังไม่ได้ปฏิบัติก็ถามผู้อื่นเสียก่อนแล้ว สงสัยเสียก่อนทำ ให้เลิกนิสัยนี้เสีย<O:p></O:p>
    ๕. ธรรมทุกอย่างในพุทธศาสนา ต้องได้ด้วยความเพียรที่จิตและกายของตนเท่านั้น จึงจะเป็นของแท้ ของจริง คือ เพียรมากพักน้อยก็ได้เร็ว เพียรน้อยพักมากก็ได้ช้า
    <O:p๖. พรหมวิหาร ๔ มี ๓ ระดับ เช่น ใครไม่มีเมตตา ก็ให้ทานทำทานไม่ได้ ถ้ามีเมตตาขั้นต่ำ สามารถทำทานได้ และทำแล้วยังมีอารมณ์เสียดายในทานอยู่ และยังหวังผลตอบแทนจากการทำทานของตน ยังไม่สนใจการรักษาศีล ถ้ามีเมตตาขั้นกลาง ทำทานแล้วจิตยังนึกอธิษฐานขอนั่นขอนี่อยู่ (หวังผลตอบแทน) ขอมากกิเลสก็ยังมาก ขอน้อยกิเลสก็บางลง พวกนี้ยอมรักษาศีล เริ่มเจริญภาวนาด้วย ถ้ามีเมตตาสูงไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น จิตไม่อธิษฐานขออะไรทั้งหมดใน ๓ โลก คือ มนุษย์โลก เทวโลก และพรหมโลก จิตทำเพื่อพระนิพพานจุดเดียว พวกนี้มี ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นปกติอยู่กับจิต
    <O:p๗. พรหมวิหาร ๔ นี้ละเอียดมาก จึงขอเขียนไว้แค่เป็นตัวอย่าง หากผู้ใดมีพรหมวิหาร ๔ เต็มและทรงตัว ผู้นั้นก็จบกิจในพระพุทธศาสนาเพราะเมื่อหมดอารมณ์เบียดเบียนตนเอง (จิต) ได้ถาวรแล้ว ก็ไม่มีทางที่จะไปเบียดเบียนผู้อื่นได้ จิตพ้นภัยตนเองแล้ว เพราะภัยที่ร้ายแรงที่สุดของการปฏิบัติธรรมก็คือ ภัยจากอารมณ์จิตของตนเองทำร้ายจิตตนเอง กรรมหมดตรงนี้ เพราะจิตดวงนี้ไม่สร้างกรรมอีก ไม่ต่อกรรมอีก
    <O:p๘. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง ก็คือพรหมวิหาร ๔ นี่เอง(ไม่ขอเขียน รายละเอียด)
    <O:p๙. แค่เมตตาความรักข้อแรกในพรหมวิหาร๔ หากผู้ใดเข้าใจและนำไปปฏิบัติจะเห็น จะรู้อารมณ์จิตของตนเองได้อย่างดีและจะอุทานว่า พรหมวิหาร ๔ นี้จริง ๆ แล้ว มันง่ายนิดเดียว
    <O:p๑๐. คนส่วนใหญ่มักจะเมตตาผิดตัวคือไปเมตตากายมากกว่าจิต และบางคนหลงคิดว่ากายคือตัวเขา เพราะเขาไม่รู้จักจิต มีรายละเอียดอยู่มากไม่ขอเขียน การกระทำของเขาจึงเพิ่มสักกายทิฏฐิแทนที่จะลดสักกายทิฏฐิ เพราะสักกาย ทิฏฐิ พระท่านแปลว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย
    <O:p๑๑. พรหมวิหาร ๔ ของชาวโลก กับพรหมวิหาร ๔ ของชาวธรรม จึงแตกต่างกันชนิดตรงกันข้าม
    <O:p๑๒. หากเอาพรหมวิหาร ๔ พิจารณาควบคู่กันไปกับบารมี ๑๐ แล้ว จะทำให้เกิดผลดีทั้งสองฝ่าย เพราะธรรม ๒ หมวดนี้ ต่างก็อาศัยกันและกัน ช่วยเสริมกำลังให้แก่กัน เพราะบารมี ๑๐ ก็มาจากศีล สมาธิ ปัญญา และพรหมวิหาร ๔ ก็เป็นอาหารของศีล สมาธิ ปัญญา หากเข้าใจดีแล้ว การพิจารณาคุณของพรหมวิหาร ๔ จึงมีมากสุดประมาณ ยากที่จะพิจารณาลงให้จบได้อย่างบริบูรณ์ เพราะว่าต้องอาศัย บารมีธรรม หรือบารมี ๑๐ ซึ่งก็มีตั้งแต่หยาบ กลาง และละเอียดเช่นกัน ในข้อนี้เป็นการแนะนำขององค์สมเด็จท่าน
    <O:p

    เมื่อพิจารณามาได้จนถึงจุดนี้ สมเด็จองค์ปัจจุบัน ท่านก็ทรงพระเมตตามาตรัสสอนว่า
    <O:p๑. ถ้าจะให้พรหมวิหาร ๔ เต็ม ต้องอาศัยบารมี ๑๐ เป็นพื้นฐาน
    <O:p๒. พยายามรักษาอารมณ์จิตให้เบา ๆ เข้าไว้ การเดินมรรคด้วยจิตจึงจักได้ผล
    ๓. การเอาจริงมิใช่การทำด้วยความเครียด การเอาจริง คือการรู้วาระ ของจิตถ้าจิตต้องการพัก เราก็พักในสมถะภาวนา ถ้าจิตต้องการคิด เราก็วิปัสสนาสลับไปสลับมาเรื่อย ๆ ตามอารมณ์ของจิต พยายาม ให้สบาย ๆ อย่าเคร่งเครียด จิตจะเป็นสุขอยู่ได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา
    <O:pพรหมวิหาร ๔ หรือพรหมวิหาร ๔ อิงบารมี ๑๐ กันแน่ สมเด็จองค์ปัจจุบันก็ทรงตรัสว่า
    <O:p๑. อิงด้วยกันและกัน เพราะในที่สุดธรรมะถ้ารู้แจ้งอย่างแท้จริงแล้ว ธรรมะนั้นก็จักไปในทางเดียวกัน ชื่อเรียกธรรมต่าง ๆ เวลานี้ ที่พวกเจ้ายังศึกษาอยู่ เรียกว่าสมมุติธรรม
    <O:p๒. เมื่อพวกเจ้าศึกษาจนเป็นอเสขะบุคคลแล้ว เมื่อนั้นก็ถึง วิมุติธรรม ธรรมล้วน ๆไม่มีชื่อ อย่าไปเถียงหรือขัดแย้งกันว่าอะไรมันผิด เหมือนกับบางท่านจับสมถะก่อนแล้วจับวิปัสสนา บางท่านจับวิปัสสนาก่อนแล้วจับสมถะ ไม่มีอะไรผิด
    <O:p๓. ที่ทบทวนเพียงแค่นี้ยังใช้ไม่ได้ หยาบเกินไป ต้องนำมาคิดพิจารณาใหม่อยู่เนือง ๆ มิฉะนั้นพรหมวิหาร ๔ บารมี ๑๐ จักเต็มได้ยาก
    <O:p๔. อย่าทิ้งอิทธิบาท ๔ เป็นอันขาด ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยความเพียร
    <O:pพล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม
    <O:p

    ที่มา...Frameset-4
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2010
  2. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    พรหมวิหาร ๔ คุมศีล โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    จากหนังสือ กรรมฐาน ๔๐
    ต่อนี้ไปขอทุกท่านตั้งใจเจริญสมาธิจิต คำว่า สมาธิ แปลว่า การตั้งใจมั่น คำว่าตั้งใจมั่นว่ากันตามประสาปกติก็ตั้งใจธรรมดา คือ จับอารมณ์ไว้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสำคัญ
    การเจริญพระกรรมฐานมีความสำคัญคือที่ฌานสมาบัติ ทีนี้เรื่องของฌานสมาบัติ การที่จะก้าวเกินไปคิดว่าฌานสำคัญอย่างยิ่งมันก็ไม่ได้ ก่อนที่เราจะเข้ามาถึงฌานนั่นก็คือ
    ต้องระมัดระวังศีลให้มาก อย่าเป็นผู้บกพร่องในศีล ถ้าเราเป็นผู้บกพร่องในศีลก็ชื่อว่าเราจะหาสมาธิจิตในฌานสมาบัติไม่ได้เลย ยิ่งวิปัสสนาญาณด้วยแล้วยิ่งแล้วกันใหญ่เพราะ
    การใช้ปัญญาผู้ที่มีจิตเข้าถึงวิปัสสนาญาณเป็นผู้มีปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ตามความเป็นจริง นี่การที่รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง ยอมรับนับถือความเป็นจริงเขาไม่มีศีลขาด
    ไม่บกพร่องในศีล ซึ่งปัญญาไม่ได้ คนที่บกพร่องในศีลจะถือว่าเป็นผู้มีปัญญาไม่ได้ โดยคนที่บกพร่องในศีลจะหาว่าจิตทรงไว้ ถ้าเราระลึกนึกถึงอยู่ว่า ศีลสิกขาบท ๒๒๗ ข้อ มีอะไรบ้าง
    เรามีความระมัดระวังไม่ยอมละเมิดศีล ไม่ยอมให้ศีลบกพร่องตั้งใจควบคุมศีลไว้ด้วยดี อย่างนี้เขาเรียกว่าศีลานุสสติกรรมฐานจิตเองก็เป็นฌาน ฌานโดยอำนาจของศีล

    ถ้าศีลของเราบกพร่องก็แสดงว่าอารมณ์ใจของเราเลวเกินไป เมื่ออารมณ์เลวอารมณ์ชั่วแม้แต่ศีลซึ่งหยาบกว่าสมาธิเรายังทรงไม่ได้ เราจะเอาสมาธิมาจากไหน
    ฉะนั้นการเจริญพระกรรมฐานความสำคัญอันดับต้นก็คือศีล ต้องทรงไว้ การที่จะทรงศีลไว้จะทำอย่างไร ก็ต้องมีพรหมวิหาร ๔ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเมตตาความรัก กรุณาความสงสาร
    มุทิตาไม่อิจฉาริษยาใคร พลอยยินดีเมื่อบุคคลอื่นได้ดี อุเบกขามีอารมณ์วางเฉยตามกฎของกรรม อะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ไม่ทำใจให้เร่าร้อน เพราะอะไร เพราะเรามีศีลบริสุทธิ์
    มันจะเป็นยังไงก็ช่างมัน ศีลย่อมไม่ยังบุคคลให้เดือดร้อน ตายแล้วไม่ได้รับความลำบาก การที่จะมีศีลได้ก็ต้องมีพรหมวิหาร ๔ การเป็นคนไม่นั่งนิ่งดูดายใช้เป็นเครื่องสังเกต
    ใครเขาทำอะไรเราก็มีจิตเมตตา กรุณา มีความรัก มีความสงสาร สิ่งใดที่ไม่เกินวิสัยที่เราจะช่วยได้ เราก็ช่วย สิ่งใดที่ไม่เกินวิสัยที่เราจะแนะนำได้เราก็แนะนำ
    นี้ด้วยอำนาจพรหมวิหาร ๔ จะสังเกตว่าคนที่มีพรหมวิหาร ๔ ไม่มีอาการนิ่งดูดาย ไม่มองเห็นความทุกข์ของบุคคลอื่นเป็นกีฬาของเรา มีจิตใจใคร่อยู่เสมอที่จะเกื้อกูลบุคคลอื่นให้มีความสุข
    นี้เป็นเครื่องสังเกตใจเรานะ ใจบุคคลอื่นเขาเป็นอย่างไรก็ช่างเขา พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงเป็นผู้เตือนตนด้วยตนเอง ที่เราจะใช้มหาสติปัฏฐานสูตร
    เราก็ใช้จิตเป็นตัวยืน เรายืนตรงไหนล่ะ เวลานี้เราก็มายืนอยู่ที่ตรงพรหมวิหาร ๔ วันทั้งวัน เราเคยอยากจะไปฆ่าใครเขาไหม อยากจะไปประทุษร้ายเขาไหม
    อยากจะลักทรัพย์ลักขโมยของเขาไหม อย่างนี้เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งฆราวาสก็ควบคุมก็ควบคุมด้วยศีลห้าหรือศีล ๘ สามเณรควบคุมในศีล ๑๐ พระควบคุมในศีล ๒๒๗
    แต่ความจริงศีล ๒๒๗ นี้ ยังไม่ครบถ้วน สำหรับพระ อภิสมาจารย์มีมากกว่านั้น จะต้องระมัดระวังจริยาให้มาก นี่ถ้าเราไม่แน่ใจว่าเราจะมีศีลบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์
    ก็เอานวโกวาทไปนั่งอ่านไว้เสมอ จะได้รู้ว่าอะไรมันเป็นศีลสำหรับพระ อย่าให้บกพร่องในศีล ความบกพร่องในศีลไม่มีเราก็ทราบได้ว่า เราต้องเป็นผู้ทรงพรหมวิหาร ๔
    การที่จะทรงพรหมวิหาร ๔ ครบถ้วนหรือไม่ก็ต้องอาศัยพิจารณาจิตของตัวเอง ในจิตตานุปัสสนา ท่านว่าอย่างไรก็ช่าง ท่านว่าเราเอาใจจับทรงไว้ซึ่งพรหมวิหาร ๔
    และศีลให้บริสุทธิ์ วันทั้งวัน คืนทั้งคืน ใคร่ครวญอยู่เสมอ ถึงศีลของเรา ในเมื่อเราใคร่ครวญแบบนั้นแล้วศีลมันก็ไม่ไปไหน อย่าใช้คำว่าไม่เป็นไร เอะอะอะไรนิดอะไรหน่อย
    นักปริยัติเขาสอนกันอย่างนั้น อาบัติทุกกฏไม่เป็นไร อาบัติปาจิตตีย์ไม่เป็นไร ตัวมันเล็ก อาบัตินิสสัคคีย์ดีไม่เป็นไร หนักๆเข้าก็อาบัติสังฆาทิเสสไม่เป็นไร ผลที่สุดอาบัติปาราชิกก็ไม่เป็นไร
    นี่ถ้ามันเสียน้อยได้มันก็เสียใหญ่ได้ เพราะใจมันด้านใจมันกำเริบ ถ้าเสียแบบนั้นเราก็ไปอบายภูมิ เสียทีที่เกิดมาเป็นคน เวลานี้เรามีสภาวะดีกว่าสัตว์ในนรก ดีกว่าเปรตดีกว่าอสูรกาย
    ดีกว่าสัตว์เดรัจฉาน เพราะเราเกิดมาเป็นมนุษย์มีความอยู่เป็นสุขเลือกอาหารการบริโภคได้ เลือกผ้านุ่งห่มผ้าได้ เลือกสถานที่อยู่ได้ที่นี่มันหนาวจัดก็ไปแอบที่โน่น มันหนาวหนักๆ
    เข้ามันทนไม่ไหวก็เอาผ้าใบไปขึงก็ยังทำได้ สัตว์ทำไม่ได้ นรกในอบายภูมิทั้งหมดทำไม่ได้ ถ้าเราบกพร่องในศีลก็ไปที่ไหนล่ะ เราก็ต้องกลับไปเกิดในนรก เป็นอันว่าถอยหลังเข้าคลอง
    ไม่ได้เรื่อง เพราะกว่าจะมาเป็นมนุษย์ได้ก็แสนยาก ฉะนั้นการเกิดมาเป็นมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราพบพระพุทธศาสนาแล้วก็มาบวชเป็นพระด้วย การบวชนี่ได้กำไรมาก
    ถ้าบวชไม่ดีก็ขาดทุนมาก เราก็ตั้งหน้าตั้งตาไว้ เสมอว่าเราจะไม่ยอมถอยหลังไปไหน ถอยหลัง ถอยหลังกลับไปเป็นเปรตเป็นอสูรกายเป็นสัตว์เดรัจฉาน เราเป็นมนุษย์แล้วอย่างเลวที่สุด
    เราตายแล้วเราก็ควรจะเป็นเทวดา ถ้าเป็นเทวดาแล้วหมดสภาวะเทวดา อย่างเลวที่สุดเราก็ควรจะเป็นพรหม เมื่อเป็นพรหมแล้วหมดสภาวะเป็นพรหม ทีนี้ไม่มีทางเลวแล้ว
    ไม่มีทางจะลดไปไหนอีก นอกจากพระนิพพาน หรือมิฉะนั้นเราเกิดมาเป็นคนพบพระพุทธศาสนา ตายจากความเป็นคนไปเป็นพรหม หรือไม่เอา ตายจากความเป็นคนไปพระนิพพานเลย
    โอกาสมีสำหรับเราทุกอย่าง เมื่อโอกาสประเภทนี้จะมีได้อันดับแรกจะต้องเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ก่อน การทรงศีลบริสุทธิ์ นึกถึงศีลเป็นปกติ นึกไว้เสมอจนอารมณ์ขึ้น
    เรื่องของศีลไม่ต้องระมัดระวัง คำว่าไม่ต้องระมัดระวังไม่ได้หมายความว่าจะขาดก็ช่างมัน คือมันคุมเสียจนเป็นปกติ ไม่มีอะไรจะเป็นที่น่าหนักใจ ไม่มีอะไรที่จะต้องกังวล
    เพราะว่าเราไม่ละเมิดในศีลแน่นอน อารมณ์ใจเป็นอัตโนมัติ สิ่งใดที่จะพลาดจากศีลใจไม่ยอมทำ อย่างนี้เรียกว่าเข้าถึงจิตตานุปัสสนา มหาสติปัฏฐานสูตรในบทว่า
    อัตตนา โจทยัตตานัง เราเตือนตนด้วยตนเอง การทรงศีลบริสุทธิ์จิตมั่นอยู่ในศีลท่านเรียกว่าฌาน จิตจะไปอย่างไรก็ช่าง ใครจะไปเหนือไปใต้อย่างไรก็ช่าง
    เราควบคุมศีลไว้เป็นปกติมีศีลเป็นอารมณ์ ระมัดระวังศีลเป็นปกติ จนกระทั่งเป็นอัตโนมัติของจิต จิตไม่เคลื่อนไหวไม่เคลื่อนไปจากศีลมีอารมณ์สบาย อย่างนี้เป็นอารมณ์ฌาน
    คำว่าฌานก็หมายความว่าจิตทรงอยู่ ญานัง เรียกว่า การเพ่ง แต่คำว่าเพ่งในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าจ้องอยู่เป๋งไม่ใช่อย่างนั้น คือมีอารมณ์ทรงคุมศีลอยู่เป็นปกติ อันนี้แหละเป็นฌาน
    เพ่งก็หมายความว่าตั้งจิตไว้เฉพาะในอารมณ์ของศีลศีลานุสสตินี้พูดตามปกติมันก็ฌานสูงไม่ได้ ใช้เป็นเครื่องพิจารณา ได้เป็นแต่เพียงอุปจารสมาธิ
    ถ้าเราจะทำให้เป็นฌานสมาบัติเบื้องสูง ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป เวลายามว่างตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า
    เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก แล้วภาวนาว่า ศีลัง เฉย ๆ แบบนี้ คือเอาเสียงจับที่คำว่าศีลเป็นเครื่องผูกใจ จับลมหายใจเข้าออก ศีลานุสสติ หรือศีลังอะไรก็ได้นะ
    ให้ใช้คำว่าศีลก็แล้วกัน จิตไปจับลมหายใจเข้าออกรู้หายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า อย่างนี้เป็นต้น จนกระทั่งจิตของเราเข้าสู่ระดับของฌาน คือไม่รำคาญเสียงภายนอก
    หูได้ยินเสียง ไม่รำคาญเสียงภายนอก อย่างนี้เป็นปฐมฌาน นี่ต้องรู้จักดัดแปลงนะ ดัดแปลงให้เป็นอารมณ์ ความจริงศีลานุสสติกรรมฐานนี้เราพูดกันมาแล้ว
    ต่อนี้เราจะมาย้ำกันเรื่องฌานสมาบัติ ทุกองค์ต้องระมัดระวังกันด้วย ฌานสมาบัติให้มาก เพราะอะไร เพราะว่าถ้าเราขาดฌานสมาบัติอย่างเดียว ศีลมันก็ไม่บริสุทธิ์
    ถ้าใจมันโยกโคลงวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นไม่ได้เลย ที่เขาสอนกันบอกว่าไม่เจริญสมถะแต่เจริญวิปัสสนาเลยพัง คือพังเพราะสมถะไม่สำคัญ พระพุทธเจ้าก็ไม่สอน
    ที่เรียนลัดตามแบบ ก็แสดงว่าอวดตัวดีกว่าพระพุทธเจ้า รวมกับพระพุทธเจ้าไม่ได้ต้องไปรวมอยู่กับพระเทวทัต หมดเรื่องกัน ในอันดับแรกทุกท่านให้ระมัดระวังสมาบัติเป็นสำคัญ
    ทรงอารมณ์จิตให้บริสุทธิ์นี้กรรมฐานทั่วไป เราก็สอนกันมาแล้ว ทีนี้เตือนเก็บเล็กเก็บน้อยเท่านั้น ระมัดระวังในตอนต้น ระมัดระวังในพรหมวิหาร ๔ ให้ทรงไว้เป็นปกติ
    ถ้ามีพรหมวิหาร ๔ แล้วเราก็นอนตาหลับ เพราะอะไร ศีลไม่ขาด สมาธิก็ทรงตั้งมั่นไว้ดี ทีนี้ฌานเป็นปกติ จะไปหยิบที่วิปัสสนาญาณมันก็ง่าย อารมณ์ใจมีความสบาย
    อันนี้การที่จะเป็นคนถอยหลัง มันถอยได้ตรงไหนล่ะ จะไปเป็นสัตว์นรกรึ เขาก็ไม่เอาหรอก หรือจะเป็นเปรตเขาก็ไม่ต้องการ จะไปเป็นอสุรกายเขาก็ไล่ไม่ให้เป็น
    จะเป็นสัตว์เดรัจฉานเขาก็ไม่เอา ถ้าพรหมวิหารของเราเบาไปหน่อย ถ้าเกิดเป็นคนก็มีรูปร่างหน้าตาสวยสดงดงาม ทุกสิ่งทุกอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์หมดไม่มีอะไรบกพร่องได้เกิดเป็นคน
    แต่ความจริงการกลับมาเกิดมาเป็นคนอีกที ก็ว่ามันซวยเหมือนกัน เราตายแบบคนเกิดเป็นคนมันก็ไม่ไหว แสดงว่าเราไม่ก้าวหน้าเป็นคนยืนอยู่เฉย ๆ หยุดอยู่เฉย ๆ ก็มีอาการถอยหลังมา
    ก็ไม่เกิดประโยชน์อย่างนั้นเราก็ควรจะเป็นเทวดา เทวดาเป็นอย่างไง เทวดาทั้งว่าต้องมีหิริและโอตตัปปะ คุณธรรม ๒ ประการของเทวดา อันนี้เรามีพรหมวิหาร ๔ พรหมวิหาร ๔
    ก็ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ เพราะไม่ทำความชั่ว เมื่อพรหมวิหาร ๔ มีอยู่ ความชั่วก็ไม่เกิดเราระมัดระวังศีลบริสุทธิ์ แสดงว่าเราอายความชั่วคือการศีลขาด
    แล้วผลของความชั่วที่ให้ผล ถ้าเมื่อศีลขาดแล้วผลร้ายมันจะเกิดความเร่าร้อนของใจ นี้แสดงว่าเราก็มีหิริและโอตตัปปะครบถ้วนเราก็เป็นเทวดาได้ แต่ผมก็ยังว่าต่อไปอีก
    ถ้าเป็นเทวดาปุถุชน ผมก็ว่าใช้ไม่ได้ เพราะอะไร เพราะว่าการเป็นเทวดาปุถุชนนี้ เมื่อหมดสภาวะจากเทวดาก็กลับลงมาเป็นคนต้อกแต้กๆ มันก็เอาดีไม่ได้เหมือนกัน
    คือความดีที่ควรจะได้มันควรจะมากไปกว่านั้น เพราะอะไร เพราะศาสนาขององค์สมเด็จพระทรงธรรม์เวลานี้ก็ครบถ้วนบริบูรณ์ ถ้าอย่างเลวที่สุดได้ไปเป็นเทวดาก็ควรเป็นเทวดาพระอริยะเจ้า
    เพราะอะไรพระอริยะเจ้าก็มีศีลบริสุทธิ์ มีสรณคมน์ครบถ้วน คือมีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ฝ่าฝืนคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีศีลครบถ้วน
    มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ไม่มีอะไรเป็นของยากลำบาก ฉะนั้นถ้าเราเกิดมาเป็นคนพบพระพุทธศาสนา ตายแล้วเป็นเทวดาปุถุชนแล้วระยำเต็มที เป็นคนเอาดีไม่ได้ เป็นคนยืนทรงตัวอยู่
    เสียดายที่มาพบพระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระบรมครู ถ้าเราพูดกันเท่านี้ ต่อไปก็ตั้งใจทรงอารมณ์ให้แน่นอนกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกให้ทรงอยู่
    พยายามรักษาเวลาให้นานเท่าที่จะนานได้ แล้วใช้คำภาวนา หายใจเข้านึกว่าพุท หายใจออกนึกว่าโธ ใครจะภาวนาว่าอะไรยังไงไม่ว่า เพราะคำภาวนานี่เป็นของโยงจิตเท่านั้น
    แต่ว่าระมัดระวังให้รักษาภาวนากับคำภาวนาและการรู้ลมหายใจเข้าออกให้ทรงตัว ถ้าภาวนาไปๆ จิตใจชุ่มชื่น ภาวนาขาดหายไปเอง ใจสบายอันนี้ไม่ต้องรีบภาวนา เพราะเป็นฌานที่ ๒
    ต่อไปนี้ขอให้ทุกท่านตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินเสียงสัญญาณบอกหมดเวลา
    ที่มา...พรหมวิหาร ๔ คุมศีล โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน จากหนังสือ กรรมฐาน ๔๐
     
  3. somkiatdhana

    somkiatdhana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +619
    อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ กับธรรมะพรหมวิหาร 4 ครับ
    ------------------------------------------------------------+
    พุทธวจน ( คำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ) โดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตถิผโล วัดนาป่าพง ถ.ลำลูกกา คลอง 10 จ.ปทุมธานี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. tivaratree

    tivaratree Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +67
  5. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    สาธุ

    เสนอความเห็นนะครับ : ตั้งเป็นกระทู้ใหม่เป็นหัวข้อ พุทธวจน ต่างหากจะดีมากครับ เพราะเอกสารที่แนบเป็นประเด็นศึกษาใหม่และกว้างขวางมาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...