วิทยาศาสตร์และศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พระเสกสรร, 25 ตุลาคม 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. อิริ

    อิริ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2009
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +68
    เรียนถาม..ท่านผู้รู้ จากที่อ่านมาทั้งหมดมาถึงตรงนี้แล้ว..ความรู้ที่มีนี้เป็น..มิติที่ 5 คือการรับรู้..แต่ยังไม่ออกจาก..ภาชนะ..จากโลก..ข้อจำกัดจึงมีอยู่ในการพิจารณา..
     
  2. อิริ

    อิริ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2009
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +68
    เรียนถามครับ..ปฏิจจสมุปบาท คือ.มหาสูตรที่ตอบทุกคำตอบในจักรวาลใดๆ?..อวิชาที่เป็นตัวละเอียดที่สุดคือ.ความอยากใช่หรือเป่ลาครับ?..
     
  3. พระเสกสรร

    พระเสกสรร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +55
    ธรรมชาติเราเข้าใจได้ ...เราสัมผัสได้... เรารุ้ได้
    ...... ธรรมะคือสรรพสิ่ง สรรพสิ่ง คือ ธรรมชาติทั้งปวง
    ....เรารุ้เหตุ รุ้ปัจจัย รู้ผล และ เรารุ้ทันมัน... เมื่อเรารุ้แล้ว เรารู้สึกสลดใจ
    เราเศร้าใจ ที่เรากำลังบริโภคสิ่งที่ไม่มีอยุ่จริง
    อย่าทำให้ธรรมะ..เป็นสิ่งที่เข้าใจยาก เรารุ้ด้วยใจ....
    "ผู้ใดเห็นธรรม(ธรรมชาติ) ผู้นั่นเห็นเรา" พระตถาคตตรัสอย่างนั้น!
    _______________________________________________
    "สิ่งที่ปรารถนาจงสำเร็จ"
    เจริญธรรม

    Buddhism is not about teaching or learning . But it's all about your experiencing...
    The Dhamma is the natural and spiritual...

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2009
  4. อิริ

    อิริ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2009
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +68
    อนุโมทนาครับ..ข้าพเจ้า..ขอขอบคุณมาก..ที่ส่งข้าพเจ้าถึงทางออก..
     
  5. บุญหืด

    บุญหืด Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +50
    มนัสการครับ

    มนัสการครับท่านสิ่งที่ผมชี้แจงเป็นความเข้าใจส่วนตัวครับส่วนอะไรที่ทำให้ท่านขัดเคืองใจในการตอบกระทู้ครั้งนี้หรือครั้งไหนผมขออภัยท่านมา ณ ที่นี้ด้วยครับ.ตามความเข้าใจของผมการทำบุญทำทานรักษาศิลเป็นบุญที่ได้จริงๆสำหรับคนทำครับ.เพราะในช่วงระหว่างทำจิตเราจะเบาผ่อนคลายเราอาจจะตักบาตรหรือบริจาคทานอยู่ก็ได้จิตขณะนั้นกำลังเอื้อเฟื้อเพื่อแผ่อยู่ครับ.ส่วนการพูดตามหรือท่องกำกับก็เหมือนเป็นการพูดดีหรือสัมมาวาจาชอบอยู่ด้วยครับส่รุปแล้วณ ขณะที่ทำอยู่นั้น คือ คิดดี ทำดี พูดดีครับ.ส่วนการจะให้ไปถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้นผมเข้าใจอย่างนี้ครับ. กายมนุษย์เมื่อดับขันธ์ลงธาตุ 4 ก็จะรอการแตกสลายไป ส่วนจิตที่คิดว่าจะได้บุญนั้น ณ ตอนนั้นไม่มี อายตนะ 5 หลงเหลือแล้ว ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย )เหลือแต่ใจคือจิตรับรู้กลิ่นหอมของอาหารหรือแตะต้องนำที่กรวดไปให้ไม่ได้เลยคงแต่เรื่องจิตที่สะสมกรรมอะไรไว้ในชาติภพก็จะถูกจัดสรรค์ไปเกิดตามขบวนการทางจิตเปรียบเหมือนชาตินี้เป็นคนใจคอโหดร้ายฆ่าสัตย์ตัดชีวิตกรรมก็จะจัดไปในสภาพที่ถูกฆ่าและกลับมาเกิดเป็นสัตย์ที่ตั้งหน้าตั้งตาจะฆ่าเพราะจิตที่มีโทสะบรรจุอยู่มากมายมหาศาสจนกว่าจะหมดกรรมกันไป.มนุษย์ประกอบด้วย รูป-นาม เมี่อกายดับแล้วเหลือแต่จิตที่ต้องไปเกิดทันทีไม่มีช่วงขั้นเวลาเพราะฉะนั้นจิตไม่มีอายนะทั้ง 5 รับไปไม่ได้ครับ เป็นเรื่องของคนที่ทำบุญใครทำใครได้ครับ. .ในส่วนเรื่องของเทวดาในเวอร์ชั่นล่างๆนั้นตามหนังสือพระธรรมแล้วมีครับแต่ก็เหมือนกันครับไม่มี อายตนะ 5 รับไม่ได้เหมือนกัน สัตว์ผู้มีกรรมในภพภูมิมีเรากับเดรัชฉานเท่านั้นแหละครับที่มี ทวาร 6 ครบ.แต่ใครทำแล้วสบายใจทำเถอะครับ ผมมีความเข้าใจอย่างที่กล่าวมานี้ครับผิดพลาดประการใดต้องขอขมา ณ ที่นี้ด้วยครับหวังว่าคงจะได้แสดงความคิดเห็นกันอีก. ลาแล้วครับ
     
  6. อิริ

    อิริ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2009
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +68
    ธรรมชาติเราเข้าใจได้ ...เราสัมผัสได้... เรารุ้ได้
    ...... ธรรมะคือสรรพสิ่ง สรรพสิ่ง คือ ธรรมชาติทั้งปวง
    ....เรารุ้เหตุ รุ้ปัจจัย รู้ผล และ เรารุ้ทันมัน... เมื่อเรารุ้แล้ว เรารู้สึกสลดใจ
    เราเศร้าใจ ที่เรากำลังบริโภคสิ่งที่ไม่มีอยุ่จริง
    อย่าทำให้ธรรมะ..เป็นสิ่งที่เข้าใจยาก เรารุ้ด้วยใจ....
    "ผู้ใดเห็นธรรม(ธรรมชาติ) ผู้นั่นเห็นเรา" พระตถาคตตรัสอย่างนั้น!
    ความเห็นที่เป็นสัมมาทิฏฐิ..ย่อมทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น..
    ขอบคุณ..อีกครั้ง..
     
  7. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    โมทนาแล้วคุณกดไม่เห็นด้วยพระท่านทำไม???

    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center><THEAD><TR><TD background=images/gradients/bg_p.gif>[​IMG] สมาชิกที่กล่าว " ไม่เห็นด้วย " กับข้อความของ คุณ พระเสกสรร ที่เขียนไว้ทางด้านบน </TD></TR></THEAD><TBODY id=collapseobj_post_groan_2555319><TR><TD class=alt1><TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt1>OPhtUYh (วันนี้)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2009
  8. kylethai

    kylethai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +168
    ละเอียดดีจังครับ อืมศาสนาเดียวที่ไปได้กับวิทยาศาสตร์คือพุทธแท้ อนุโมทนาครับ
     
  9. พระเสกสรร

    พระเสกสรร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +55
    1. ปฏิจจสมุปบาท (dependent origination)
    ความหมายของปฏิจจสมุปบาท
    การศึกษาพระพุทธศาสนา ผู้ศึกษาไม่พยายามทำความเข้าใจในหลักปฏิจจสมุปบาท แล้วก็หาได้ชื่อว่าได้ศึกษาพระพุทธศาสนาไม่ พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศศักดาแห่งความเป็นผู้ตรัสรู้ก็ด้วยการรู้แจ้งซึ่งปฏิจจสมุปบาทนี้เอง พื้นดินก็เป็นที่ตั้งรองรับบรรดามนุษย์ พืช สัตว์ และสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ฉันใด ปฏิจจสมุปบาท ก็เป็นที่ตั้งรองรับอริยสัจจ์ 4 และหมวดธรรมทั้งหลายฉันนั้น สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาทผู้นั้นย่อมเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท”
    ก่อนที่ผู้ศึกษาจะได้ทราบความหมายอันลึกซึ้งและน่าอัศจรรย์ในภูมิปัญญาของผู้นำมาบอกเล่าโปรดทราบความหมายตามรูปศัพท์ก่อน เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
    คำว่า ปฏิจจสมุปบาท แยกศัพท์ออกเป็น ปฏิจจ = อาศัย + สมุปบาท = เกิดขึ้นพร้อมกันหรือถ้าจะแยกให้ละเอียดก็จะได้ = ปฏิ = เฉพาะ + อติ = ยิ่ง สํ = พร้อม +อุป = เข้าไป + บาท = เกิด เมื่อแปลโดยความหมายก็จะได้ความว่า การเกิดขึ้นเพราะอาศัยกันหรือมาปรับสำนวนภาษาใหม่ว่า “ธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น” หรือการเกิดขึ้นที่มีลักษณะเป็นวัฏฏจักรกล่าวคือไม่มีสิ่งที่เกิดขึ้นโดยมิต้องอาศัยสิ่งอื่น
    หากจะพิจารณาถึงความเป็นของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในจักรวาลหรือเอกภพนี้ไม่มีสิ่งใดเลยที่ไม่อาศัยกันและกันทุกสิ่งทุกอย่างย่อมอาศัยซึ่งกันและกันเป็นไปตามสภาพของตน
    ผู้รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทย่อมจะเข้าใจชีวิตตามความเป็นจริง ย่อมรู้สาเหตุแห่งการเกิดและการดับไปของชีวิตของสัตว์ทั้งปวง และย่อมเข้าใจเหตุผลแห่งการดำเนินไปของวัฏฏจักรแห่งชีวิตและสามารถดับอวิชชาตัณหาอุปาทาน ซึ่งเป็นตัวการให้เกิดทุกข์ในวัฏฏสงสารได้

    หัวข้อแห่งปฏิจจสมุปบาท
    ปฏิจจสมุปบาทมีองค์ธรรมที่ประกอบกันขึ้น 12 หัวข้อ ใน 12 หัวข้อนี้เป็นได้ทั้งสายเกิดและสายดับ
    ก. สายเกิด คือ การเกิดขึ้นที่อาศัยสิ่งอื่นเกิด กล่าวคือเมื่อสิ่งหนึ่งเกิดอีกสิ่งหนึ่ง ก็เกิดขึ้นตามมา เรียกว่า สมุทัยวาร
    ข. สายดับ คือ การดับเพราะสิ่งอื่นดับคือเมื่อสิ่งหนึ่งดับสิ่งหนึ่งก็ดับตามไป ด้วย เปรียบเหมือนสายพานเครื่องจักรขาดหรือเครื่องดับ ส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก็พลอยหยุดหมุนไปด้วย เรียกว่า นิโรธวาร

    ปฏิจจสมุปบาท เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัจจยาการ 12 หรือ อิทัปปัจจยตา (ความมีสิ่งนี้สิ่งนี้จึงมี)
    ก. สายเกิด
    1-2) อวิชชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
    3) สงฺขาราปจฺจยา วิญญาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ
    4) วิญญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป
    5) นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตน
    6) สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ
    7) ผสสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา
    8) เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา
    9) ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน
    10) อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ
    11) ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ
    12) ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ
    โสกปริเทวทุกขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์โทมนัส และความคับแค้นใจจึงเกิดขึ้น
    เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้จึงมีด้วยประการฉะนี้
    ข้อสังเกต การที่นับข้อ 1 และ 2 พร้อมกัน เพราะมี 2 องค์ธรรมด้วยกัน คือ อวิชชาและสังขารซึ่งเกิดขึ้นเพราะอาศัยอิงกันและกัน และเป็นสาเหตุให้สิ่งอื่นเกิดขึ้นตามมา
    คำว่า ปัจจัย หมายถึงสิ่งที่เป็นเครื่องอาศัยให้ชีวิตดำเนินไปได้ เช่น ปัจจัย 4 (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค) เป็นเครื่องอาศัยแห่งชีวิต กล่าวคือช่วยให้ชีวิตดำเนินไปได้
    การแสดงไปตามลำดับจากต้นไปหาปลาย โดยเริ่มต้นที่อวิชชาก่อนแล้วเรียงลำดับไปจนถึงชรามรณะ เรียกว่า อนุโลมเทศนา ส่วนการแสดงจากชรามรณะ ย้อนกลับไปหาอวิชชา เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา
    พระพุทธองค์เมื่อตรัสรู้ใหม่ ๆ ได้ประทับอยู่ภายใต้ต้นมหาโพธิ์นั้น ได้ทรงพิจาราณาปฏิจจสมุปบาทที่พระองค์ได้ทรงกำหนดรู้แล้วนั้นตามลำดับ (อนุโลม) และถอยหลัง (ปฏิโลม) ทั้งเกิดและข้างดับ (สายเกิดและสายดับ) ตลอดยาม 3 แห่งราตรี
    ข. สายดับ
    1-2) อวิชชายเตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรธา เพราะอวิชชาดับไม่เหลือสังขารจึงดับ
    3) สงขารนิโรธา วิญญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ
    4) วิญญาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ
    5) นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธ เพราะนามรูปดับสฬายตนจึงดับ
    6) สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ เพราะสฬายตนดับผัสสะจึงดับ
    7) ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ
    8) เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ
    9) ตณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ
    10) อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ
    11) ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ เพราะภพดับชาติจึงดับ
    12) ชาติ นิโรธา ชรามรณนิโรโธ เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ
    โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ
    เอวเมตสสส เกวลสสส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ
    ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจย่อมดับ กองทุกข์ทั้งมวลจึงดับด้วยประการฉะนี้

    ความหมายของแต่ละหัวข้อธรรมในปฏิจจสมุปาบาท มีดังนี้
    1. อวิชชา (Ignorance) คือ ความไม่รู้ ได้แก่ ไม่รู้ในอวิชชา 8 คือ
    1) ความไม่รู้แจ้งในเรื่องความทุกข์
    2) ความไม่รู้แจ้งในเรื่องเหตุให้เกิดทุกข์
    3) ความไม่รู้แจ้งในเรื่องความดับทุกข์
    4) ความไม่รู้แจ้งในเรื่องหนทางให้ถึงความดับทุกข์
    5) ความไม่รู้แจ้งในเรื่องอดีตของชีวิต
    6) ความไม่รู้แจ้งในเรื่องอนาคตของชีวิต
    7) ความไม่รู้แจ้งในเรื่องปัจจุบันของชีวิต
    8) ความไม่รู้แจ้งในเรื่องปฏิจจสมุปบาท
    ความไม่รู้แจ้งดังกล่าวนี้ทั้งหมดหมายถึง ความไม่รู้แจ้งในเรื่องของชีวิต มิได้
    หมายถึงความไม่รู้แจ้งในเรื่องอื่น ๆ เช่น วิชาการแขนงต่าง ๆ ที่ชาวโลกนิยมศึกษาเล่าเรียนกัน
    2. สังขาร (Karma Formation) คือ สภาพปรุงแต่งได้แก่ สังขาร 3 และอภิสังขาร 3 คือ
    1) สังขาร 3 คือ
    1. กายสังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา คือ ความจงใจทางกาย
    2. วจีสังขาร คือ สภาพปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือ ความจงใจทางวาจา
    3. จิตตสังขาร หรือมโนสังขาร คือสภาพปรุงแต่งให้เกิดการกระทำทางใจ ได้แก่ มโนสัญเจตนา คือจงใจทางใจ
    2) อภิสังขาร 3 (เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม)
    1. ปุญญาภิสังขาร คือ สภาพปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี
    2. อปุญญาภิสังขาร คือ สภาพปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย
    3. อาเนญชาภิสังขาร คือ สภาพปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปปาวจร ซึ่งหมายถึง สภาพจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่ง จตุตถฌาน สังขารในปฏิจจสมุปบาทนี้มีลักษณะเป็นนามธรรม จัดเป็น จิตหรือเจตนา ซึ่งต่างไปจากสังขารที่กล่าวถึงทั่ว ๆ ไป
    คำว่า สภาพปรุงแต่ง หมายถึง การปรุงจิตหรือความคิดให้กิดขึ้นหรือคิดอย่างนั้นอย่างนี้ตามเหตุปัจจัย
    3) วิญญาณ (Conciousness) คือ ความรู้แจ้งอารมณ์ซึ่งได้แก่ วิญญาณ 6 คือ
    1. จักขุวิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา
    2. โสตวิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู
    3. ฆานวิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก
    4. ชิวหาวิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น
    5. กายวิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย
    6. มโนวิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ
    ความรู้แจ้งทั้ง 6 อย่างนี้เกิดขึ้นจากอายตนภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจกระทบกับอายตนภายนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์ ถ้าขาดเสียอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณหรือความรู้แจ้งอารมณ์ก็จะไม่เกิดขึ้น เช่น มีตา แต่ไม่มีรูปมากระทบหรือมีรูปแต่ไม่มีตา หรือตาบอด จักขุวิญญาณก็จะไม่เกิด
    อนึ่ง วิญญาณบางชนิด ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ และฆานวิญญาณ นอกจากจะเกิดเพราะการกระทบกันแล้วยังต้องอาศัยสื่ออีก ตา จะเห็นรูปต้องอาศัยแสงสว่างเป็นสื่อ หู จะได้ยินเสียงต้องอาศัยอากาศเป็นสื่อ จมูก จะได้กลิ่นต้องอาศัยอากาศหรือลมเป็นสื่อเช่นเดียวกัน
    4) นามรูป (Mind and Matter)
    1. นาม ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ และมนสิการ จัดเป็นจิต เรียกว่า นามขันธ์
    2. รูป ได้แก่ รูปขันธ์ ซึ่งประกอบด้วย มหาภูตรูป 4 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลมไฟ และอุปาทายรูป 24 อย่าง
    5) สฬายตน (Six sense - bases) ได้แก่ อายตนภายใน 6 อย่างคือ
    1. จักขุ ตา
    2. โสตะ หู
    3. ฆานะ จมูก
    4. ชิวหา ลิ้น
    5. กายะ กาย
    6. มโน ใจ
    คำว่า สฬายตน มาจากคำสมาส 2 คำ คือ ฉ+ อายตนะ ฉ แปลว่า หก อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หมายถึง ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้หรือแดนต่อภายใน 6 แห่ง (เมื่อ 2 คำ ต่อกันเข้า ฉ เปลี่ยนเป็น สฬ ตามกฎในภาษาบาลี) หน้าที่ของอายตนภายในทั้ง 6 อย่างก็คือ รับความรู้จากโลกภายนอก แล้วรายงานต่อไปยังใจซึ่งเป็นศูนย์กลาง และขณะเดียวกันใจก็สามารถรับรู้โดยตรงได้โดยไม่ต้องผ่านอายตนะ (ประตู) อื่น ๆ ได้ด้วย
    6) ผัสสะ (Contact) คือ ความกระทบหรือประจวบกันระหว่างอายตนภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ) อายตนภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์) และวิญญาณ เมื่อ 3 ประการมาพบกันก็จะเกิดผัสสะ 6 ขึ้นคือ
    1. จักขุสัมผัสสะ ความกระทบทางตา
    2. โสตสัมผัสสะ ความกระทบทางหู
    3. ฆานสัมผัสสะ ความกระทบทางจมูก
    4. ชิวหาสัมผัสสะ ความกระทบทางลิ้น
    5. กายสัมผัสสะ ความกระทบทางกาย
    6. มโนสัมผัสสะ ความกระทบทางใจ
    7) เวทนา (Feeling) คือความเสวยอารมณ์ได้แก่ เวทนา 6 อย่าง
    1. จักขุสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางตา
    2. โสตสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางหู
    3. ฆานสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางจมูก
    4. ชิวหาสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางลิ้น
    5. กายสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางกาย
    6. มโนสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางใจ
    จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย และมโน เป็นฐานให้เกิดเวทนา กล่าวคือ เมื่อเวทนาที่เกิดจากการสัมผัสทางตาเป็นต้นเกิดขึ้น สุขเวทนา (รู้สึกชอบ) ทุกขเวทนา (รู้สึกชัง) และอทุกขมสุขเวทนา หรือ อุเบกขา (รู้สึกเฉย) ก็จะตามมา ฉะนั้น เวทนาทั้งหมดนี้เมื่อรวมกันแล้วก็จะเวทนา 18
    8) ตัณหา (Craving) คือ ความทะยานอยาก ได้แก่ ตัณหา 6 คือ
    1. รูปตัณหา ความอยากในรูป
    2. สัททตัณหา ความอยากในเสียง
    3. คันธตัณหา ความอยากในกลิ่น
    4. รสตัณหา ความอยากในรส
    5. โผฏฐัพพตัณหา ความอยากในสิ่งสัมผัส
    6. ธัมมาตัณหา ความอยากในธัมมารมณ์
    นอกจากตัณหา 6 อย่างนี้แล้ว ยังมีตัณหาอีก 3 อย่าง ซึ่งถือว่าเป็นตัณหาหลักคือ
    1. กามตัณหา ความอยากในกามคือสิ่งที่สนองความต้องการประสาททั้ง 5
    2. ภวตัณหา ความอยากในภพคือความเป็นอยู่ในภพหนึ่ง ภพใด หรือต้องการที่ จะอยู่สภาพใดสภาพหนึ่งตลอดไป
    3. วิภวตัณหา ความอยากพ้นไปจากภพใดภพหนึ่งหรือจากสภาพใดสภาพหนึ่งที่ตนไม่พอใจหรืออยากให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนไม่ชอบดับสูญไป
    9) อุปาทาน (Clinging) คือความยึดมั่น ได้แก่ 4 คือ
    1. กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่น่าพอใจ
    2. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในลัทธิหรือคำสอนต่าง ๆ ว่าของตนเท่านั้นถูกต้องหรือคำสอนของศาสดาของตนเท่านั้นที่ถูกต้อง
    3. สีลพัตตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรตอันเป็นหลักแห่งความประพฤติและข้อปฏิบัติที่นับถือสืบต่อกันมาโดยปฏิบัติและยึดถืออย่างงมงาย และถือ เป็นเรื่องขลังว่าศักดิ์สิทธิ์โดยมิได้นึกถึงเหตุผล
    4. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทว่าตนหรือความมีตัวตน (อัตตา) เช่น ถือเรา ถือเขาดังคำของท่านพุทธทาสภิกขุใช้คำว่า ตัวกู -- ของกู โดยมิได้เข้า ใจตามหลักอนัตตา
    10) ภพ (Becomiag) คือภาวะแห่งชีวิต ได้แก่ ภพ 3 คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ
    1) กามภพ คือภพของสัตว์ผู้เสวยกามคุณ
    1. อบาย 4
    2. มนุษยโลก
    3. กามาวจรสวรรค์ทั้ง 6
    2) รูปภพ คือภพของสัตว์ผู้เข้าถึงรูปฌาน ได้แก่ พรหมทั้ง 16 ชั้น
    3) อรูปภพ คือภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน ได้แก่ อรูปพรหม 4
    11) ชาติ (Birth) คือความเกิด ได้แก่ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลายคือการได้ซึ่งอายตนกล่าวโดยสรุปก็คือการเกิดขึ้นแห่งชีวิตที่เป็นรูปธรรม และนามธรรมอย่างครบถ้วน
    12) ชรามรณะ (Decay and Death) คือความแก่และความตาย ได้แก่
    1. ชรา ความเชื่อมแห่งอายุหรือความหง่อมแห่งอินทรีย์
    2. มรณะ ความสลายไปแห่งขันธ์หรือความขาดแห่งอินทรีย์


    ข้อควรทราบเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท
    บรรดาองค์ธรรม 12 แห่งปฏิจจสมุปบาทนี้ เมื่อนำไปจัดเป็นกาล กลุ่ม สนธิ และวัฏฏะ ก็จะได้ดังนี้
    1. กาล 3 คือ
    1. อดีตกาล ได้แก่ อวิชชา สังขาร
    2. ปัจจุบันกาล ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตน ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
    3. อนาคตกาล ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ (+ โสกะ ปริเทว ทุกข์ โทมนัส อุปายาส)
    2. กลุ่ม 4 คือ
    1. อดีตเหตุ ได้แก่ อวิชชา สังขาร
    2. ปัจจุบันผล ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตน ผัสสะ เวทนา
    3. ปัจจุบันเหตุ ได้แก่ ตัณหา อุปาทาน ภพ
    4. อนาคตผล ได้แก่ ชาติ ชรามรณะ (+ โสกะ ฯลฯ)
    3. สนธิ 3 คือ
    1. ระหว่างอดีตเหตุและปัจจุบันผล
    2. ระหว่างปัจจุบันผลกับปัจจุบันเหตุ
    3. ระหว่างปัจจุบันเหตุกับอนาคตผล
    4. วัฏฏะ 3 คือ
    1. กิเลส ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
    2. กรรม ได้แก่ สังขาร ภพ
    3. วิบาก ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตน ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ


    ....................................

    กรรม และ กฎแห่งกรรม (Karma and The law of karma)
    1. ลักษณะของกรรม
    กรรมคืออะไร โดยทั่วไปคนทั้งหลายเข้าใจความของคำว่า “กรรม” ว่าเป็นเรื่องเคราะห์ร้าย เช่น เกิดความตกทุกข์ได้ยาก หรือประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ในชีวิต คนที่ได้รับความทุกข์ทรมานเรียกว่า คนมีกรรม
    ความหมายของกรรมตามนัยพุทธปรัชญานี้คือ การกระทำหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพฤติกรรม ได้แก่ การกระทำต่าง ๆ ของตน ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเป็นการกระทำดีหรือชั่วย่อมได้ชื่อว่า “กรรม” ทั้งนั้น แต่การกระทำที่จะจัดเป็นกรรมโดยสมบูรณ์จะต้องประกอบไปด้วยองค์ 3 คือ
    1. มีกิเลสเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการกระทำ
    2. มีเจตนาหรือความจงใจที่จะกระทำ
    3. มีการกระทำหรือการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น
    ดังนั้นการกระทำใด ๆ จะเรียกว่าเป็นกรรมจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการเหล่านี้หากขาดข้อใดข้อหนึ่งก็หาเป็นกรรมไม่ เช่น พระอรหันต์ทั้งหลาย แม้จะได้บำเพ็ญประโยชน์หรือมีการกระทำบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น ก็ไม่จัดว่าเป็นการกระทำกรรมเพราะท่านเหล่านั้นไม่มีกิเลสคือ โลภ โทสะ และโมหะ ครอบงำ กระตุ้นหรือผลักดันให้เกิดการกระทำ แต่ท่านลงไปตามหน้าที่โดยไม่ได้หวังความดีความชอบหรือผลตอบแทนใด ๆ
    การกระทำที่มีเจตนา คือมีความตั้งใจโดยสืบเนื่องเกี่ยวโยงมาจากข้อที่ 1 คือกิเลสเป็นตัวชักนำก่อให้เกิดเจตนาขึ้นเช่นนี้จัดว่าเป็นกรรมพระพุทธองค์ตรัสว่า “เจตนาหํ ภิกขเว กมฺมํ วทามิ” “ก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่าเจตนาเป็นกรรม”
    แม้จะมีกิเลสและมีเจตนา แต่หากยังไม่มีการเคลื่อนไหว ทางกาย ทางวาจา และทางใจ การกระทำนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นกรรมโดยสมบูรณ์ เมื่อองค์ประกอบทั้ง 3 ประการเกิดขึ้นพร้อมกัน เมื่อใดความเป็นกรรมที่สมบูรณ์ก็เกิดขึ้นทันที

    2. กฎแห่งกรรม
    การกระทำใด ๆ ก็ตามที่จัดว่าเป็น “กรรม” จะต้องถูกบันทึกไว้ในจิตของผู้กระทำนักปราชญ์อาจารย์ทั้งหลายในอดีตมักจะสั่งสอนลูกศิษย์เสมอว่าไม่ว่ากระทำดีหรือกระทำชั่วอย่างน้อยจะต้องมีคนเห็นหนึ่งคนคือตัวผู้กระทำนั้นเอง ในเรื่องกฎแห่งกรรมนี้มีพุทธภาษิตรับรองไว้ว่า

    ยทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ
    กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ

    แปลความหมายเป็นภาษาไทยว่า “บุคคลหว่านพืชเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้น บุคคลทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว”

    นับว่าเป็นข้ออุปมาอุปมัยที่เห็นได้ชัดเจน กล่าวอธิบายอย่างง่าย ๆ ก็คือ ถ้าเราหว่านพันธ์ผักกาดลงไปในดิน พืชที่เกิดขึ้นมาก็ต้องเป็นผักกาด มิใช่ผักคะน้าหือผักกวางตุ้ง เช่นเดียวกันถ้าทำกรรมดีผลที่ได้รับคือความดีหรือหากทำความชั่วก็ได้รับความชั่วคือ ความเดือดร้อนใจจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เพราะมันเป็นกฎธรรมชาติ
    คนส่วนมากมักเข้าใจความหมายผิดๆ เช่นว่าบางคนทำความดี ทำไมไม่ได้เงินทอง ร่ำรวยยศถาบรรดาศักดิ์ตรงกันข้ามบางคนทำไม่ดีคอรัปชั่นคดโกง ทำไมจึงได้ตำแหน่งหน้าที่ความดี ความชอบเป็นเศรษฐี อธิบดี รัฐมนตรี เป็นต้น นับว่าเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงตามหลักกรรมของพระพุทธศาสนา เพราะเขาเหล่านั้นพยามลากโยงเอากาลกระทำความดีเช่นเมตตากรุณาซื่อสัตย์สุจริตมาตีค่าเงินเงินเป็นเกียรติอันที่จริงความดีนั้นเขาได้รับทันทีอยู่แล้วตั้งแต่เวลาที่เขาได้ทำลงไปเช่นกับที่เราเขียนหนังสือพอจรดปลายปากกาลงไป เขียนไปเขียนไปตัวหนังสือและข้อความก็เกิดขึ้นถ้าหากไม่เกิดการขีดเขียนก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในกระดาษ
    แต่อย่างไรก็ดีถ้าหากจะพูดกันในแง่ลึกๆละเอียดลงไปใช่ว่ากรรมดีกรรมชั่วจะไม่เกิดเลยไม่ดังที่เห็นๆกันอยู่โดยทั่วไปคนที่ทำดีก็มีผลต่อตำแหน่งหน้าที่เกียรติยศชื่อเสียงทางสังคมได้เช่น เดียวกันส่วนคนชั่วก็ได้รับผลร้ายเช่น ถูกลงโทษทัณฑ์ ติดคุก เสียเงินทองและชื่อเสียงได้เช่นเดียวกันตลอดชีวิตของผู้เขียนเองก็ได้เฝ้าสังเกตพฤติกรรมของบุคคลต่าง ๆ ก็ เป็นข้อสรุปได้ ว่าผลแห่งกรรมนั้นมีอำนาจมากนอกจากจะให้ผลในปัจจุบันชาติแล้วยังมีผลต่อภพชาติต่อๆไปดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า

    “กมฺมํ สตฺเต วิภชฺชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย” “กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต”

    หมายความว่าการกระทำเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าคนจะเกิดดีมีสุขหรือตกทุกข์ได้ยากก็เพราะอำนาจของกรรม กรรมเป็นผู้กำหนด
    มักมีผู้ตั้งปัญหาถามเสมอว่า เขาทำดีทำบุญให้ทาน ซื่อสัตย์สุจริต ขยัน หมั่นเพียร แต่ทำไมต้องตกทุกข์ได้ยาก ตกระกรำลำบาก อธิบายเปรียบเทียบเหมือนกับการปลูกต้นไม้ ต้นไม้บางชนิดกว่าจะได้ดอกได้ผลก็ต้องอาศัยเวลา และข้อที่น่าสังเกตก็คือมีตัวแปลมากมายที่อาจก่อให้เกิดผลช้าหรือไม่ได้ผล ตัวอย่าง เช่น ในการทำความดีจะต้องมีเหตุผลอันสมควรขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่ บุคคล และความเหมาะสมอย่างอื่น ๆ อีก

    3. เครื่องมือในการกระทำกรรม
    ในการทำกรรมใด ๆ ก็ตาม กรรมเกิดขึ้นได้ใน 3 ทางเท่านั้นคือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ การกระทำทางกายเรียกว่า “กายกรรม” การกระทำทางวาจาเรียกว่า “วจีกรรม” และการคิดเรียกว่า “มโนกรรม” ดังนั้น กาย วาจา ใจ จึงเรียกว่า เครื่องมือในการกระทำกรรมทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่วคือ
    1) กายกรรม แบ่งออกได้เป็นกายสุจริต และกายทุจริต
    2) วจีกรรม แบ่งออกเป็นวจีสุจริต และวจีทุจริต
    3) มโนกรรม แบ่งออกเป็น มโนสุจริต และมโนทุจริต
    กล่าวโดยสรุปได้แก่ กุศลกรรมบถ 10 และอกุศลกรรมบถ 10 ประการนั่นเอง
    ข้อที่น่าสังเกตประการหนึ่งก็คือ กรรมดีคนดีทำได้ง่าย ส่วนกรรมชั่วคนชั่วทำได้ง่าย ตรงกันข้าม กรรมชั่วคนดีทำได้ยาก กรรมดีคนชั่วทำได้ยาก เพราะเป็นการฟืนความรู้สึกและความเคยชิน

    4. ประเภทของกรรม
    กรรมมี 12 ประเภท โดยแบ่งตามกาลเวลาที่ให้ผลตามหน้าที่และตามลำดับความหนักเบาในบรรดากรรมทั้ง 12 อย่างนี้ เมื่อกล่าวตามประเภทก็จะได้เพียง 3 ประเภทใหญ่ ๆ เท่านั้น คือ
    ก. กรรมให้ผลตามกาลเวลา ได้แก่
    1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพนี้หรือกรรมให้ผลในปัจจุบันไม่ต้องไปถึงชาติหน้านับว่าเป็นกรรมที่มีผลร้ายแรงมากให้ผลทันตาเห็นผู้ทำย่อมเสวยผลกรรมในชาตินี้แต่ถ้าหากผู้ทำตายไปก่อน กรรมนี้ย่อมไม่ให้ผลและกลายเป็นอโหสิกรรมไป
    2. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมที่จะให้ผลในภพหน้า เมื่อผู้ทำกรรมเกิดในภพชาติใหม่ก็จะให้ผลทันที แต่ถ้าให้ผลแล้วก็เป็นอโหสิกรรมไปคือจะไม่ให้ผลต่อ ๆ ไปอีก
    3. อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพสืบ ๆ ไป กรรมนี้จัดเป็นกรรมเบามีผลไม่ร้ายแรงแต่ยังมีวิบากคอยให้ผลอยู่เมื่อได้โอกาสเมื่อใดก็ให้ผลเมื่อนั้น จนกว่าจะเลิกให้ผล
    4. อโหสิกรรม กรรมให้ผลสำเร็จแล้วและก็เป็นอันสุดสิ้นกันไปเมื่อกรรม 3 อย่างนั้นให้ผลก็ถือว่าแล้วกันไป

    ข. กรรมให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่
    1) ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิดคือทำสัตว์ให้เคลื่อนจากภพหนึ่งแล้วมาปฏิสนธิในภพอื่น ซึ่งเป็นไปตามอำนาจของกรรมดีกรรมชั่วที่จะให้ไปเกิดในสุคติหรือทุกขคติ เปรียบเหมือนมารดายังบุตรให้เกิด กล่าวคือถ้าไม่มีกรรมประเภทนี้สัตว์ก็ไม่ต้องเกิด
    2) อุปัตถัมภกรรม กรรมค้ำจุนหรือกรรมสนับสนุนเมื่อชนกกรรมให้เกิดแล้วกรรมนี้ก็สนับสนุนทั้งให้ดีและให้เลว คือถ้าเกิดในที่ดีหรือในตระกูลสูง ความดีอย่างอื่น ๆ เช่น โภชนาการ การได้รับการศึกษา และสุขภาพอนามัยที่ดีก็จะตามมา
    3) อุปปีฬกรรม กรรมคอยบีบคั้นคือกรรมที่คอยเข้าขัดขวางไม่ให้ดีและไม่เลวจนเกินไป กล่าวคือกรรมดีช่วยให้เกิดดี กรรมนี้ก็จะคอยขัดขวางให้ทรุดลง ถ้าชนกกรรมเป็นอกุศลแต่งปฏิสนธิข้างเลว กรรมนี้ก็จะคอยกีดกันให้ทุเลาขึ้น
    4)อุปฆาตกรรมกรรมตัดรอนสามารถตัดรอนชนกกรรมอุปถัมภกรรมและอุปปีฬกรรมให้เด็ดขาดแล้วเข้าให้ผลเปรียบเหมือนผลไม้ยังไม่ถึงคราวที่จะหล่นแต่เพราะถูกไม้ค้อน ก้อนดิน หรือ ถูกปลิด ก็จะต้องหล่นออกจากขั้วลงมา

    ค. กรรมให้ผลตามความหนักเบา ได้แก่
    1) ครุกรรม กรรมหนักเป็นทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล ฝ่ายกุศลได้แก่ สมาบัติ 8 ฝ่ายอกุศลได้แก่ อนันตริยกรรม 5 กรรมนี้ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่น ๆ เพราะเป็นกรรมรุนแรง
    2) พหุลกรรม กรรมอาจิณคือกรรมที่ทำบ่อย ๆ แม้จะเป็นกรรมเล็กน้อย แต่เมื่อสะสมไว้มาก ๆ ก็ย่อมมีพลัง เมื่อครุกรรมไม่มีกรรมนี้ย่อมให้ผล
    3) อาสันนกรรม กรรมเมื่อจวนเจียน คือกรรมให้ผลในเวลาใกล้จะตายกรรมนี้จะอ่อนกำลังก็ย่อมให้ผลได้เปรียบเหมือนโคที่แออัดอยู่ในคอก โคตัวอยู่ใกล้ประตูคอก แม้จะแก่มีกำลังน้อยก็ย่อมออกก่อนได้ ฉันใดฉันนั้น ดังนั้น เมื่อเวลาคนใกล้จะตายหรือสิ้นใจใหม่ ๆ จึงนิมนต์พระมาสวดจนเป็นประเพณี
    4) กตัตตากรรม กรรมสักแต่ว่าทำ ได้แก่ กรรมที่เกิดจากความไม่จงใจหรือเป็นการกระทำด้วยเจตนาเป็นอย่างอื่น เช่น นายแพทย์ฉีดยาให้คนไข้หาย แต่คนไข้ตายหรือบางครั้งพ่อแม่แก้ปัญหาเด็กร้องไห้บอกว่าจะให้ผีมาเอาไป แต่ด้วยใจจริงแล้วพ่อแม่ทั้งหลายหามีเจตนาอย่างนั้นไม่
    กรรมทั้ง 3 หมวดนี้ เมื่อรวมกันแล้วก็จะเป็นกรรม 12

    5. สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
    พุทธศาสนาไม่ยอมรับอำนาจลึกลับ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็นว่าเป็นผู้ดลบันดาลให้มนุษย์มีสุขและมีทุกข์ แต่ยอมรับในเรื่องกฎแห่งกรรม กล่าวคือมนุษย์จะได้สุขได้ทุกข์เกิดจากการกระทำของเขาเอง พุทธศาสนาสอนให้ยึดตนเองเป็นหลักแทนที่จะวิ่งหาอำนาจนอกตัว ดังพุทธภาษิตว่า

    “อตฺตหิ อตฺตโน นาโถ” - ซึ่งแปลว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน

    การกระทำใด ๆ ก็ตาม เป็นผลชีวิตในอนาคตของคน ๆ นั้น นับว่าเป็นเหตุผลที่ยอมรับกัน คนจะดีจะชั่วขึ้นอยู่กับกรรม เพราะคนเราเป็นไปตามอำนาจของกรรมดังบทสวดที่ว่า

    กมฺมสฺสโกมฺหิ กมฺมทายาโท กมฺมโยนิ กมฺมพนฺธุ
    กมฺมํปฏิสรโณ ยํ กมฺมํ กริสฺสามิ กลฺยาณํ วา
    ปาปกํ วา ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสามิ

    แปลว่า เรามีกรรมเป็นของตนเอง จะต้องได้รับผลของกรรมที่ตนได้กระทำไว้ กรรม จะเป็นผู้นำให้เกิด กรรมจะเป็นเพื่อนพ้อง และกรรมจะเป็นที่พึ่งอาศัยของเราผู้กระทำ หากเราได้กระทำ กรรมอันใดไว้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือชั่ว จะต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้นอย่างแน่นอน

    6. สาเหตุให้เกิดการกระทำกรรม
    ตามปกติสามัญชนทั่วไปย่อมทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอาจจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ถ้าทำกรรมดีกรรมดีก็จะนำไปสู่สุคติ มีความสุขกายสบายใจ ถ้าทำกรรมชั่วกรรมชั่วก็จะนำไปสู่ทุคติคือมีความลำบากเดือดร้อนใจ
    ต่อไปนี้เป็นข้อความที่แสดงให้รู้ว่ากรรมที่กระทำลงไปแล้ว จะให้ผลเมื่อไรและบาปกรรมอาจจะล้างได้หรือไม่ ดังข้อความในพระสูตรนี้ว่า

    “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย โลภ โทสะ โมหะ
    ...อกุศลมูล 3 อย่างเหล่านี้ เป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นของกรรมทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมที่กระทำด้วยโลภ เกิดจากโลภมีโลภเป็นเหตุเป็นปัจจัย กรรมที่กระทำด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุเป็นปัจจัย
    กรรมที่กระทำด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุเป็นปัจจัย อัตภาพของบุคคลนั้นเกิดในที่ใดกรรมย่อมให้ผลในที่นั้น เมื่อกรรมที่ให้ผล เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมในที่นั้น ซึ่งอาจจะเป็นในชาติที่เกิดนั้น หรือในชาติถัดไปหรือในชาติต่อ ๆ ไปอีก
    การกระทำที่ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ ไม่ถือว่าเป็นการกระทำกรรมถือเป็นเพียงกิริยาอาการเท่านั้น ตัวอย่าง เช่น ท่านพระจักขุบาลตาบอดมองไม่เห็นเดินจงกรมเหยียบแมลงเม่าตายเป็นจำนวนมาก ภิกษุทั้งหลายเห็นเหตุการณ์เช่นนั้นจึงนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้ตรัสกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านจักขุบาลมิได้กระทำกรรมเพราะไม่มีเจตนาที่จะเหยียบสัตว์ให้ตาย
    ในจูฬกัมมวิภังคสูตร พระพุทธองค์ทรงตอบคำถามของสุภมาณพ เกี่ยวกับผลร้ายผลดีต่าง ๆ 7 คู่ ว่า เนื่องมาจากกรรมคือการกระทำของสัตว์คือ
    1. มีอายุน้อยเพราะฆ่าสัตว์ มีอายุยืนเพราะไม่ฆ่าสัตว์
    2. มีโรคมากเพราะเบียดเบียนสัตว์ มีโรคน้อยเพราะไม่เบียดเบียนสัตว์
    3. มีผิวพรรณทรามเพราะขี้โกรธ มีผิวพรรณดีเพราะไม่ขี้โกรธ
    4. มีศักดาน้อยเพราะไม่ให้ทาน มีโภคทรัพย์มากเพราะให้ทาน
    5. เกิดในตระกูลต่ำ เพราะกระด้างถือตัวไม่อ่อนน้อมและเกิดในตระกูลสูงเพราะไม่ถือตัว
    6. มีปัญญาทรามเพราะไม่เข้าไปหาสมณพราหมณ์ เพื่อไต่ถามเรื่องกุศล อกุศล เป็นต้น
    7.มีปัญญาดีเพราะเข้าไปหาสมณพราหมณ์ ไต่ถามเรื่องกุศล อกุศล เป็นต้น
    หากพิจารณาโดยผิวเผินจะเห็นว่าอาจไม่เป็นความจริง เพราะบางคนประกอบอาชีพฆ่าสัตว์มีอายุยืนยาวก็มีมากคน แต่อำนาจของกรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและสลับซับซ้อน กรรมทำในชาติก่อนอาจส่งผลให้ในชาตินี้หรือชาติต่อ ๆ ไป ดังได้กล่าวมาแล้ว

    7. การให้ผลของกรรม
    การให้ผลของกรรมนั้นอาจพิจารณาได้ 3 ระดับ คือ
    1. ระดับคุณภาพของจิต
    2. ระดับบุคลิกภาพและอุปนิสัย
    3. ระดับภาพนอกหรือผลทางสังคม
    1. ระดับคุณภาพของจิต
    คนที่สั่งสมคุณงามความดีไว้คุณภาพของจิตจะมีความโน้มเอียงไปในทางที่ดีงามเสมอ มีความซื่อสัตย์สุจริต เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีน้ำใจไมตรีต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ ส่วนผู้ที่สั่งสมความชั่วไว้คุณภาพของจิตจะแข็งกระด้างมีความอิจฉาริษยาชอบนินทาว่าร้ายคนอื่นลักษณะของจิตมีสภาพมัวหมองต่ำทรามและไม่เป็นที่ชื่นชมยินดีของคนอื่น

    2. ระดับบุคลิกภาพและอุปนิสัย
    เมื่อคุณภาพของจิตสูง พฤติกรรมที่แสดงออกมาจะมีลักษณะนิ่มนวล มีเสน่ห์น่า คบหาสมาคมไม่เป็นคนก้าวร้าว มีความสุขุมเยือกเย็น คนที่ได้เข้าใกล้คบหาจะรู้สึกสบายอกสบายใจ ไม่ระแวงสงสัยกราบไว้ด้วยความสนิทใจ

    3. ระดับภายนอกหรือผลทางสังคม
    คนที่มีคุณภาพจิตดีและบุคลิกภาพดีย่อมจะเป็นแรงผลักดันให้ได้ ลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นที่ยอมของสังคม ได้ตำแหน่งหน้าที่และเจริญก้าวหน้าในอาชีพของตน ตรงกันข้าม คนที่คุณภาพจิตต่ำก็จะได้รับความทุกข์ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ และการนินทาว่าร้ายต่าง ๆ จริงอยู่บางรายแม้ว่า เขาจะมีลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เพราะกรรมตามยังไม่ทัน แต่ภายในจิตใจของเขานั้นก็ไม่แช่มชื่นเบิกบานมีแต่ความทุกข์ ทรมาน ทำนองน่าชื่นอกตรม


    อริยสัจจ์ 4 (The Four Noble Truths)

    ความหมายของศัพท์
    คำว่า อริยสัจจ์ ประกอบด้วย อริย + สัจจะ อริย แปลว่า ประเสริฐ สัจจะ แปลว่า ความจริง เมื่อรวมความเข้ากันแล้วมีความหมายว่า “ ความจริงอันประเสริฐ” ได้แก่ ความจริงอันเป็นของพระอริยะเจ้า หรือ ความจริงที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ผู้ศึกษาพึงทราบความเบื้องต้นก่อนว่า ความจริงหรือสัจจะนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ

    1) สมมติสัจจะ ความจริงโดยการสมมติ
    2) ปรมัตถสัจจะ ความจริงที่แท้จริง

    อะไรคือความจริงโดยการสมมติ หากเราจะพิจารณาถึงสิ่งที่ชาวโลกที่เรียกขานกัน ไม่ว่าเป็นวัตถุ บุคคล สถานที่และสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา สิ่งดังกล่าวเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสมมติกัน ใช้เรียกกันเพื่อสื่อความหมายให้ตรงกัน จะได้ไม่เกิดความสับสนขึ้น และสิ่งดังกล่าวเหล่านี้เมื่อมองให้ลึกลงไปจะไม่มีอะไรเป็นความจริง ล้วนแต่เป็นสิ่งสมมติตั้งขึ้นชั่วครู่ชั่วคราว ก็จะแตกสลายสูญหายไปตามกาลเวลาและมิได้มีสาระแก่นแท้จริงเลย จึงเรียกว่า สมมติสัจจะ คือเป็นความจริงโดยการกำหนดสมมติ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า “สมมติสัจจะ”
    อะไรคือความจริงที่แท้จริง ได้แก่ ความจริงที่เป็นปรมัตถสัจจะ หรือความจริงสูงสุดเป็นความจริงที่แท้จริง ซึ่งมิได้เกิดจากการสมมติใด ๆ กล่าวคือไม่ว่าใครจะรู้เห็นหรือไม่ มันก็มีของมัน และก็เป็นอยู่อย่างนั้น เมื่อมีผู้รู้ความจริงนั้นเข้าก็นำมาประกาศบอกเล่าแก่บุคคล อื่น ๆ ต่อ ๆ กันไป อริยสัจจ์ 4 จัดเป็นปรมัตถสัจจะ เพราะเป็นความจริงที่แท้จริงและก็มีอยู่จริง ๆ ไม่มีกฎเกณฑ์ใด ๆ จะลบล้างได้ และเป็นความจริงที่ประจักษ์แก่ทุกคนไม่มีการยกเว้น

    หัวข้อแห่งอริยสัจจ์ 4

    อริยสัจจ์ คือ ความจริงอันประเสริฐซึ่งเป็นของพระอริยเจ้านี้มี 4 ประการด้วยกันคือ
    1.ทุกขสัจจ์ (Suffurring)
    ความจริงคือความทุกข์ ได้แก่ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ซึ่งเรียกว่า ทุกขเวทนา กล่าวโดยประเภทมี 10 ประเภทคือ
    1) นิพัทธทุกข์ คือทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ได้แก่ ความไม่สบายกายความไม่สบายใจอันเกิดจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น อากาศหนาว อากาศร้อน และสิ่งรบกวนอื่น ๆ เช่น ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ การนั่ง ๆ นอนนาน ๆ และยืนนาน ๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ ล้วนทำให้เกิดทุกข์ทั้งสิ้น
    2) พยาธิทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดจากความป่วยไข้ ความไม่ปกติทางร่างกายอันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง
    3) สภาวทุกข์ คือทุกข์อันเกิดจากสภาพการณ์ต่าง ๆ เช่น การเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ชีวิตทุกชีวิตต้องเผชิญหน้ากับปัญหาเหล่านี้
    4) สันตาปทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดจากความเร่าร้อนภายใน คือกิเลสตัณหาและราคะเผาไหม้จิตใจครุกกรุ่นอยู่ภายใน ต้องดิ้นรนขวนขวาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการและผละออกไป ซึ่งสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาตามอำนาจของกิเลส
    5) ปกิณณกทุกข์ คือ ทุกข์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จรมา เช่น ความโศกเศร้าเสียใจอันเกิดจากความคิดถึงและเสียดายในสิ่งของที่หวงแหน
    6)อาชีวทุกข์คือทุกข์เกิดจากการทำมาหากินต้องต่อสู้อดทนขยันและเสี่ยงต่อภยันตรายต่างๆต้องตื้นเช้านอนดึกเพื่อหาอาหารและทรัพย์สินมาเลี้ยงตนเองและ
    ครอบครัว
    7) วิบากทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดจากผลแห่งกรรมชั่ว ที่ตนได้ประกอบมา เช่น ถูกลงโทษทัณฑ์ หรือ เสียสิทธิ์ เสียชื่อเสียง และเสียสุขภาพจิต เป็นต้น
    8) สหคตทุกข์ คือทุกข์ไปตามหรือทุกข์ติดตามได้แก่ทุกขลาภ (ทุกข์เกิดจากการได้มา) เช่น ได้รับตำแหน่งหน้าที่เกียรติยศ ทรัพย์สิน เงินทอง และอื่น ๆ ต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อรักษามันไว้ให้อยู่กับตนนานเท่านาน และหมั่นประคับประคองเอาใจใส่อยู่เสมอ จึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ยากลำบากตามมา
    9) วิวาทมูลทุกข์ คือ ทุกข์เกิดจากการถกเถียงโต้แย้ง และเป็นศัตรูกัน เกิดการจองเวรล้างผลาญ ทุกข์ประเภทนี้เกิดขึ้นเสมอในสังคมใหญ่ ๆ แม้บางคนจะถือสันติสงบ กาย วาจา แต่อีกฝ่ายก็จะหาเรื่องใส่ร้ายป้ายสีและซุบซิบนินทาตามกิเลสของมนุษย์
    10) ทุกขขันธ์ คือทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมีขันธ์ 5 คือ ชีวิต ต้องประคับประครองประคบประหงมเอาใจใส่ต่อขันธ์ นั่นก็คือทุกข์จากการบริหารขันธ์ 5 นั่นเอง เช่น ต้องล้างหน้า แปรงฟัน ทาแป้ง แต่งตัว เมื่อมีความเจ็บป่วยก็ต้องพยาบาลรักษาให้หายเป็นต้น
    อนึ่ง ทุกข์ในอริยสัจจ์กับทุกข์ในขันธ์ 5 มีความหมายกว้างแคบกว่ากัน ทุกข์ในขันธ์ 5 หมายถึง สภาวะที่ทนอยู่ไม่ได้จำจะต้องเปลี่ยนแปลงไป ส่วนทุกข์ในอริยสัจจ์ หมายถึง ทุกขเวทนา คือ ความเจ็บปวด ซึ่งเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตเท่านั้น

    2. ทุกขสมุทัยสัจจ์ (The cause of suffuring)
    ได้แก่ ความจริงคือเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหาความทะยานอยากมี 3 อย่าง คือ
    ...........1) กามตัณหา (อยากได้) ภวตัณหา (อยากเห็นหรืออยากให้เป็น, อยากให้อยู่) และวิภวตัณหา (อยากไม่เป็น, อยากให้ผ่านพ้นไป)
    ...........2) กามตัณหา คือ ความอยากในรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัส อันน่าปรารถนา น่าชอบใจ ต้องดิ้นรนขวนขวายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ
    ...........3) ภวตัณหาคือความอยากเป็นอย่างนั้นอยากเป็นอย่างนี้ที่ตนยังไม่เป็นและเมื่อได้เป็นแล้วก็อยากให้สิ่งที่น่าใคร่น่าพอใจอยู่ในสภาพเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
    ...........4)วิภวตัณหาคือความอยากไม่เป็นหรืออยากไม่ให้เป็นอย่างที่มันเป็นอยู่อยากให้มันผ่านพ้นไปกล่าวโดยสรุปก็คือเกิดความเบื่อหน่ายในสภาพที่เป็นอยู่อยากให้มีการ
    เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตัณหานี้เองเป็นตัวก่อให้เกิดทุกข์ ยิ่งมีตัณหาความทะยานอยากมากเท่าไร ความทุกข์ก็ยิ่งเพิ่มปริมาณขึ้นเป็นเงาตามตัว

    3. ทุกขนิโรธสัจจ์ (The cessation of suffuring)
    ความจริง คือความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหาทั้ง 3 ดังกล่าว เมื่อตัณหาดับแล้วสภาพจิตก็จะเกิดความสะอาด (บริสุทธิ์) สว่าง (ปัญญา) และสงบ (สันติ) ขึ้นและเกิดความหลุดพ้นปลอดโปร่งและมีอิสระ นั่นก็คือจิตเข้าถึงนิพพาน คือสภาพที่จิตพ้นทุกข์อันเกิดจากอำนาจกิเลสการเดินทางแห่งชีวิตได้รรลุถึงเป้าหมายอันสูงสุดแล้ว

    มีศัพท์ที่มีความหมายอย่างเดียวกับคำว่านิโรธนี้เป็นจำนวนมาก เช่น
    วิราคะ (สิ้นความกำหนัด)
    วิมุตติ (หลุดพ้น)
    วิโมกข์ (หลุดพ้น)
    พุทธ (ตรัสรู้,รู้แจ้ง)
    อรหันต์ (สิ้นกิเลส,ห่างไกลกิเลส)
    นิพพาน (กิเลสสิ้น)
    อนัตตา (ไม่มีตัวตน) ฯลฯ

    4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (The way to the cessation of suffering)
    ทางนำไปสู่ความดับทุกข์ บางทีเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งว่าเป็นทางสายกลาง ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 หรือเรียกตามภาษาวิชาการว่า “อัฏฐังคิกมรรค”
    นอกจากทาง 8 สายนี้แล้วไม่มีหนทางใด ๆ ที่จะนำชีวิตสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้พระพุทธองค์ได้ทรงค้นพบแนวทางทางพ้นทุกข์ ซึ่งเกิดจากการเวียนว่ายตายเกิด แล้วทรงนำมาประกาศสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ตรัสรู้ตามทาง 8 สายดังกล่าวนี้ได้แก่ อริยมรรค 8 ประการ (The Noble Eighfold Path)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 กุมภาพันธ์ 2010
  10. พระเสกสรร

    พระเสกสรร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +55
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=WJ-kPx-IFE4&feature=related]YouTube - ว.วชิรเมธี รายการ club7_3[/ame]

    ท่าน ว.วชิรเมธี ได้แง่คิดและหลักการและเหตุผล
     
  11. sisal

    sisal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +298
    อนุโมทนาค่ะ..^^..
    ทั้งนี้ทั้งนั้น ใครจะเชื่ออย่างไรล้วนอยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละคนค่ะ
    แต่ส่วนตัวเลื่อมใสพุทธศาสนา^^
     
  12. ไม่กินผัก

    ไม่กินผัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2010
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +597
    มันเป็นเช่นนั้นเอง

    พระพุทธศาสนา น่าทึ่ง

    กราบอนุโมทนาสาธุเจ้าค่ะ


    [​IMG]
     
  13. พระเสกสรร

    พระเสกสรร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +55
    สสารคืออะไรวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เช่น อากาศ ก๊าซ ดิน น้ำ หรือหนังสือ เป็นสสารทั้งสิ้น ตัวเราเองก็เป็นสสาร สัตว์และพืชก็เป็นสสาร
    สสารจะมีคุณสมบัติ 2 ประการ คือ
    ต้องการที่อยู่ ถ้าเราเอาหินใส่ในกล่องกระดาษใบหนึ่งทีละก้อน ในที่สุดก้อนหินจะเต็มกล่อง ไม่สามารถใส่ก้อนหินได้อีก เพราะก้อนหินต้องการที่อยู่กล่องจึงเต็ม หรือถ้วยแก้วที่เรามองดูว่าว่างเปล่า แท้ที่จริงแล้วมีอากาศอยู่ภายใน แต่เรามองไม่เห็นมัน ลองเอากระดาษมาหนึ่งชิ้น ใส่ลงไปในก้นแก้วเปล่า แล้วคว่ำถ้วยแก้วนี้ลงไปในถังน้ำ หรืออ่างน้ำ กดให้แก้วจมอยู่ในน้ำสักครู่ จึงยกถ้วยแก้วขึ้นมาตรงๆ จะเห็นว่ากระดาษจะไม่เปียก เพราะน้ำเข้าไปในแก้วไม่ได้ แสดงว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ในแก้ว นั่นก็คือ อากาศ ดังนั้นอากาศก็ต้องการที่อยู่ น้ำจึงเข้าไปในแก้วไม่ได้
    มีน้ำหนัก สสารทุกอย่างต้องมีน้ำหนัก เช่น กระดาษเราอาจจะไม่รู้สึกว่ากระดาษมันหนัก แต่ถ้าลองยกหนังสือสัก 10 เล่ม จะรู้สึกได้ว่ากระดาษนั้นก็มีน้ำหนัก หรือนำลูกบอลที่ยังไม่ได้สูบลมมาวางไว้บนตาชั่ง แล้วดูว่าหนักเท่าไร หลังจากนั้นนำลูกบอลไปสูบ ให้อากาศเข้าไปจนเต็มลูกบอล แล้วนำไปวางบนตาชั่งอีกครั้ง จะเห็นว่าครั้งนี้ลูกบอลจะหนักกว่าครั้งแรก แสดงว่าอากาศที่เพิ่มเข้าไปในลูกบอลนั้นมีน้ำหนัก
    สสารมี 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลวและก๊าซ
    ของแข็ง (Solid) คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ชิดกัน มีช่องว่างระหว่างอนุภาคน้อย อนุภาค ของสสารจึงเคลื่อนไหวได้ยาก ดังนั้นสสารจึงมีรูปร่างคงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ยาก สสารที่มีสถานะเป็นของแข็ง เช่น
    [​IMG]
    ของเหลว (Liquid) คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง จึงอยู่กันอย่างหลวม ๆ อนุภาคของสสารจึงเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น ดังนั้นสสารจึงมีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ สสารที่มีสถานะเป็นของเหลว เช่น
    [​IMG]
    ก๊าซ (Gas) คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ห่างกัน จึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันน้อยมาก ทำ ให้อนุภาคเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นสสารจึงมีรูปร่างไม่แน่นอน เมื่อสสารอยู่ในภาชนะใดอนุภาคของสสารจะฟุ้งกระจายเต็มภาชนะสสารที่มีสถานะเป็นก๊าซ เช่น อากาศ ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น





    >>>from this link>>>
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...