ไม่เคยฝึกมโนมยิทธิ แต่สิ่งที่ตัวเองสื่อได้ คล้ายๆจะมาทางด้านนี้

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย Me, myself, 3 มีนาคม 2009.

  1. ขาโจ๋ข้าเอง

    ขาโจ๋ข้าเอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +4,856


    ขออนุญาติตอบแทนพี่สาวก่อนสักเล็กน้อย ก่อนที่พี่สาวจะเข้ามาเสริมความหมายที่รัดกุมมากขึ้นครั้นที่จะตอบตามกำลังของตัวเองก็กลัวคาดว่าถ้าผิดแนวบอกไม่ถูกผิดทางเดิน จะพาเพื่อนผ้องที่ไม่เข้าใจแขวไปผิดทาง

    เลยต้องใช้ลิงค์ในการอ้างอิง แต่ก็พยายามหาที่อ่านง่ายเข้าใจง่าย


    สติปัฏฐาน๔ อ่านได้ที่นี่ อธิบายได้ละเอียดแถมเพื่มเติมการพิจารณา
    http://www.nkgen.com/13.htm

    ถ้าจะฟังเสียงของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ก็ที่ลิงค์นี้ครับ
    http://audio.palungjit.org/forums/สติปัฏฐาน-๔/

    ถัดมาก็ อธิบาย มโนมยิทธิ ลิงค์นี้ครับ
    http://www.larnbuddhism.com/grammathan/mano/naenam.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2009
  2. ขาโจ๋ข้าเอง

    ขาโจ๋ข้าเอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +4,856


    เลยต้องใช้ลิงค์ในการอ้างอิง แต่ก็พยายามหาที่อ่านง่ายเข้าใจง่าย


    สติปัฏฐาน๔ อ่านได้ที่นี่ อธิบายได้ละเอียดแถมเพื่มเติมการพิจารณา
    ʵԻѯ
     
  3. ขาโจ๋ข้าเอง

    ขาโจ๋ข้าเอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +4,856


    เลยต้องใช้ลิงค์ในการอ้างอิง แต่ก็พยายามหาที่อ่านง่ายเข้าใจง่าย


    สติปัฏฐาน๔ อ่านได้ที่นี่ อธิบายได้ละเอียดแถมเพื่มเติมการพิจารณา
    ʵԻѯ
     
  4. ขาโจ๋ข้าเอง

    ขาโจ๋ข้าเอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +4,856
    ดูท่าแล้วเซอร์เวอร์ ค่อนข้างมีปัญหาช่วงนี้ ขออนุญาติก๊อปปี้มาละกันครับ ค่อนข้างยาวนิดนึง



    สติปัฏฐาน ๔ เป็นการปฏิบัติที่พระองค์ท่านตรัสว่าเป็นทางสายเอก(เอกายนมรรค) เมื่อปฏิบัติอย่างดีงามย่อมทำให้โพชฌงค์องค์แห่งการตรัสรู้บริบูรณ์ กล่าวคือย่อมทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ถึงที่สุด ดังที่ตรัสแสดงไว้อย่างแจ่มแจ้งในกุณฑลิยสูตร
    ในการศึกษาการปฏิบัติทั้งหลายไม่ว่าในทางโลกหรือทางธรรมก็ตามที ต่างล้วนต้องเรียนรู้ให้เข้าใจจุดประสงค์เสียก่อน กล่าวคือ ต้องมีปัญญาหรือวิชชาเป็นพื้นฐานบ้างเสียก่อน จึงเริ่มลงมือปฏิบัติ จึงถูกต้องดีงาม อันจักยังผลให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างถูกต้องแนวทาง

    ดังนั้นจึงควรมีความเข้าใจด้วยการศึกษาธรรมให้เข้าใจจุดประสงค์อย่างถูกต้องด้วย เพราะเป็นที่นิยมปฏิบัติกันโดยไม่ศึกษาให้ดีงามเสียก่อน เริ่มต้นปฏิบัติก็มักเพราะเป็นทุกข์กำลังรุมเร้า หรือด้วยความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ได้ยินได้ฟังมาอยู่เนืองๆ ก็เริ่มปฏิบัติอานาปานสติหรือสติปัฏฐาน ๔ โดยไม่มีความรู้ความเข้าใจเลย

    ดังนั้นแทนที่เป็นการฝึกสติ,ใช้สติชนิดสัมมาสติ กลับกลายเป็นการฝึกการใช้มิจฉาสติจึงได้มิจฉาสมาธิแบบผิดๆอันให้โทษ จีงเกิดขึ้นและเป็นไปตามพุทธพจน์ข้างต้น จึงอุปมาเหมือนการเรียนเคมี โดยไปปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเสียเลย

    ด้วยเข้าใจว่าไปเรียนไปศึกษาจากการปฏิบัติโดยตรงคงยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นเอง ด้วยเหตุดั่งนี้เอง จึงเกิดอุบัติเหตุการระเบิดขึ้นได้ด้วยความไม่รู้หรืออวิชชานั่นเอง จึงสมควรอย่างยิ่งที่ต้องมีการเรียนรู้ให้เข้าใจจุดประสงค์เป็นพื้นฐานบ้างเสียก่อน

    จะได้ดำเนินไปอย่างถูกต้องแนวทางสมดังพุทธประสงค์ คือสัมมาสติที่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์ อันเป็นสุขยิ่ง

    สติ ปัฏฐาน ๔ จึงเป็นการฝึกสติใช้สติ สมดังชื่อ ที่หมายความว่า การมีสติเป็นฐาน ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งสติ ซึ่งเมื่อเกิด สัมมาสติขึ้นแล้ว ย่อมยังให้เกิดจิตตั้งมั่นอันคือสัมมาสมาธิร่วมด้วยโดยธรรมหรือธรรมชาติ แล้วนำทั้งสัมมาสติและสัมมาสมาธินั้นไปดำเนินการพิจารณาในธรรมคือเจริญ วิปัสสนา

    ในธรรมทั้งหลายดังที่แสดงในธัมมานุปัสสนา หรือธรรมอื่นใดก็ได้ตามจริต สติ ปัญญา มิได้จำกัดแต่เพียงในธรรมานุปัสสนาเท่านั้น

    อานาปานสติ เป็นการฝึกสติใช้สติิ โดยการใช้ลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ ที่หมายถึงเครื่องกำหนด กล่าวคืออยู่ในอารมณ์คือลมหายใจเข้าและออกอย่างมีสติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาเป็นจุดประสงค์สำคัญ

    แต่กลับนิยมนำไปใช้เป็นอารมณ์ในการวิตกเพื่อให้จิตสงบเพื่อการทำฌานสมาธิเสียแต่ฝ่ายเดียวเป็นส่วนใหญ่หรือทุกครั้งไปเนื่องด้วยอวิชชาด้วยความไม่รู้ จึงไม่ได้สนใจการเจริญวิปัสสนาให้เกิดนิพพิทา,ให้เกิดปัญญาเลย

    โดยปล่อยให้เลื่อนไหลหรือสติขาดไปอยู่แต่ในความสงบสุขสบายอันเกิดแต่ภวังค์ของฌานหรือสมาธิระดับประณีตแต่ฝ่ายเดียวหรือเสมอๆ เพราะฌานสมาธินั้นยังให้เกิดความสุข ความสงบ ความสบายอันเกิดขึ้นจากภวังค์ และการระงับไปของกิเลสในนิวรณ์ ๕ เป็นระยะเวลาหนึ่ง

    ตลอดจนนิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นจากฌานสมาธิล้วนตื่นตาตื่นใจ อย่างเห็นได้ชัดและรวดเร็วเมื่อปฏิบัติได้ผลขึ้น จึงเกิดการติดเพลิน(นันทิ)โดยไม่รู้ตัว ในที่สุดความตั้งใจที่ฝึกสัมมาสติอันเป็นมรรคองค์ที่ ๗ จึงกลับกลายเป็นมิจฉาสติไปโดยไม่รู้ตัว จึงได้มิจฉาสมาธิร่วมไปโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย

    หรือนิยมเข้าใจกันทั่วๆไปโดยนัยๆว่า ปฏิบัติสมถสมาธิ หรือปฏิบัติอานาปานสติ หรือปฏิบัติสติติดตามอริยาบถ ก็เพียงพอเป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ อันดีงามแล้ว และก็ทำอยู่แต่อย่างนั้นอย่างเดียวนั่นเอง เช่นนั่งแต่สมาธิแต่ขาดการเจริญวิปัสสนา,

    ดังนั้นการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ จึงควรดำเนินประกอบด้วยการเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาหรือความเข้าใจตามความเป็นจริงอย่างถูกต้อง เพราะไม่เช่นนั้นก็ย่อมดำเนินและเป็นไปดังพุทธดำรัสที่ตรัสแสดงไว้ข้างต้น

    สติปัฏฐาน ๔ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ, หรือข้อปฏิบัติที่ใช้สติเป็นประธานหรือหลัก ในการกำหนดระลึกรู้หรือพิจารณาสิ่งทั้งหลาย ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ)นั้นๆ โดยไม่ถูกครอบงําด้วยความยินดียินร้าย(ตัณหา)ที่ทําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงตามอํานาจของกิเลสตัณหา

    หรือกล่าวได้ว่าสติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งสติ จุดประสงค์เพื่อฝึกสติ และใช้สตินั้นพิจารณาและรู้เท่าทันใน กาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อให้เกิดนิพพิทาความ คลายกำหนัดความยึดความอยากจากการไปรู้ตามความเป็นจริงของสิ่งนั้นๆ จึงคลาย ตัณหา

    จึงเป็นไปเพื่อนําออกและละเสียซึ่งตัณหาแลอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น ในกิเลสด้วยความพึงพอใจหรือสุขของตัวของตนเป็นสำคัญ ที่มีในสันดานของปุถุชนอันก่อให้เกิดความทุกข์โดยตรงด้วยเป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์,

    พระองค์ท่านแบ่ง สติปัฏฐาน ๔ ออกเป็น ๔ หมวดใหญ่ด้วยกัน คือ

    ๑. กายานุปัสสนา การมีสติในกายเป็นอารมณ์ คือมีสติกําหนดพิจารณากาย ให้เห็นกายในกาย คือเห็นตามความเป็นจริงของกาย เช่น "เป็นเพียงการประชุมกันของเหตุปัจจัยอันมีธาตุ ๔ ดิน นํ้า ลม ไฟ" (อ่านรายละเอียดในไตรลักษณ์)

    หรือการเกิดแต่เหตุที่เป็นของสกปรกปฏิกูลโสโครกประกอบหรือเป็นปัจจัยกันขึ้น(ทวัตติงสาการ) หรือการพิจารณาส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อให้เกิดนิพพิทา อันล้วนเป็นไปการระงับหรือดับตัณหาแลอุปาทานโดยตรงทั้งสิ้น

    ในขั้นแรกนั้น เป็นการฝึกให้มีสติเสียก่อน โดยฝึกดูลมหายใจที่หายใจเข้า ที่หายใจออก อย่างมีสติ, หรือการมีสติอยู่ในอิริยาบถของกาย แล้วใช้สตินั้นในการพิจารณากายในแบบต่างๆ ตลอดจนการเกิดดับต่างๆของกาย ฯลฯ.

    ล้วนเพื่อให้เกิดนิพพิทา เพื่อให้จิตลดละความยินดียินร้ายในกายแห่งตนแลบุคคลอื่นเมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงของกายนั้นว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จิตจะได้คลายความยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจหรือหลงใหลในกายแม้ตัวตนของตนหรือบุคคลอื่น

    เป็นการตัดกำลังตัณหาแลอุปาทานโดยตรงทางหนึ่ง ซึ่งท่านแบ่งเป็น ๖ แบบ

    ๑.๑ อานาปานสติ ขอเน้นว่าจุดประสงค์อยู่ที่สติ โดยให้จิตคือสติกําหนดตามดูหรือรู้ตามลมหายใจเข้าออกแบบต่างๆ ตลอดจนสติสังเกตุเห็นอาการของลมหายใจ มีจุดประสงค์เพื่อฝึกให้มีสตและิเพื่อละความดำริพล่านคือฟุ้งซ่านเป็นสำคัญหรือเป็นธรรมเอก

    เหตุเพราะลมหายใจนั้นก็สามารถใช้เป็นอารมณ์หรือการวิตกในการทำฌานหรือสมาธิได้ด้วย ข้อนี้จึงมักสับสนกันอยู่เนืองๆ จนก่อโทษ จึงทำสติต้องเป็นสติ สมาธิก็เป็นสมาธิ กล่าวคือเมื่อทำสติต้องเป็นสติ จึงเป็นสัมมาสติ

    เมื่อตั้งใจทำสมาธิแล้วเป็นสมาธิก็เป็นสัมมาสมาธิ แต่บางครั้งคราวในการปฏิบัติอาจมีการเลื่อนไหลเพราะสติขาดเกิดขึ้นบ้าง เป็นครั้งเป็นคราว เป็นเรื่องปกติธรรมดาไม่ต้องกังวล

    เนื่องจากบางครั้งฝึกสติก็จริงอยู่ แต่เกิดอาการขาดสติหรือสติอ่อนลงเป็นครั้งคราวบ้างจึงเลื่อนไหลไปเป็นฌาน หรือสมาธิแทน อย่างนี้ไม่เป็นไร (ดังแสดงจุดประสงค์ไว้อย่างชัดเจนเรื่องอานาปานสติในกายคตาสติสูตร),

    การตั้งกายตรง ก็เพื่อช่วยดำรงสติไว้ไม่ให้เลื่อนไหลไปง่วงหาวนอนได้ง่ายๆขณะปฏิบัติ

    ๑.๒ อิริยาบถ คือกําหนดสติให้ระลึกรู้ในอิริยาบถอาการต่างๆของกาย เช่น เดิน นอน ยืน นั่งฯลฯ. คือมีสติรู้ในอิริยาบทต่างๆนั่นเอง มีจุดประสงค์เช่นเดียวกับอานาปานสติคือเพื่อละความดำริพล่านคือฟุ้งซ่านเป็นสำคัญหรือเป็นธรรมเอก

    ไม่ได้มีจุดประสงค์โดยตรงเพื่อใช้เป็นอารมณ์ในการทำสมาธิหรือฌาน (ดังแสดงจุดประสงค์ไว้อย่างชัดเจนเรื่องอิริยาบถในกายคตาสติสูตร)

    ดังนั้นอานาปานสติจึงใช้ปฏิบัติเมื่อวิเวก ส่วนอิริยบถใช้โดยทั่วไปได้เนืองๆในการดำรงชีวิตประจำวัน

    ๑.๓ สัมปชัญญะ ความรู้ตัวคือปัญญาในการให้มีสติต่อเนื่องในการกระทําหรือการเคลื่อนไหว เช่นเดิน ดื่ม กิน ถ่าย วิ่ง ตื่น หลับ ฯลฯ. กล่าวคือมีสติอย่างรู้ตัวทั่วพร้อม สติระลึกรู้อย่างต่อเนื่องสลับสับเปลี่ยนอิริยาบทกันได้

    ตามที่สติระลึกรู้ตามความเป็นจริง มีสติระลึกรู้ไม่เพ่งจนแน่วแน่เพื่อการเป็นสมาธิระดับสูงหรือประฌีตแต่อย่างใด ใช้แค่ขณิกสมาธิเป็น เบื้องต้นเท่านั้น เพราะต้องการฝึกสติเป็นหลัก ไม่ใช่สมาธิ

    สมาธิเป็นผลที่เกิดรองลงมาเท่านั้น ซึ่งอาจเลื่อนไหลไปสู่ฌานสมาธิในระดับประณีตได้โดยธรรมหรือธรรมชาติอีกด้วย แต่ต้องไม่ใช่เจตนาฝึกสติแล้วไหลเลื่อนเป็นฌานสมาธิเสียทุกครั้งไป ดังเช่น การใช้การจงกรมไปในการเจริญสมาธิเป็นสำคัญก็มี

    กล่าวคือการใช้ท่าการเดินนั้นเป็นอารมณ์เพื่อเน้นให้เกิดความสงบจากฌานสมาธิเสียเป็นสำคัญแต่อย่างเดียว ไม่ได้สนใจสติหรือปัญญาเลย แล้วไปเข้าใจเอาว่า ความสงบนั้นถูกต้องดีงามแล้ว

    มีจุดประสงค์เช่นเดียวกัน คือเพื่อละความดำริพล่านคือฟุ้งซ่านเป็นสำคัญหรือเป็นธรรมเอก (ดังแสดงจุดประสงค์ไว้อย่างชัดเจนเรื่องสัมปชัญญะในกายคตาสติสูตร) หรือการรู้ตัวทั่วพร้อมในกิจหรืองานที่กระทำนั่นเอง

    ๑.๔ ปฏิกูลมนสิการ เมื่อมีสติในสิ่งดังกล่าวข้างต้น จิตย่อมไม่ดำริพล่านออกไปปรุงแต่งฟุ้งซ่าน จึงใช้สติที่ฝึกมานั้นอันย่อมประกอบด้วยสมาธิจิตตั้งมั่นอยู่ในที เนื่องจากการละดำริพล่านลงไปเสีย

    จึงนำสติและจิตตั้งมั่นนั้นไปใช้พิจารณาส่วนต่างๆของร่างกายว่าล้วนเป็นสิ่งปฏิกูล ไม่สะอาด โสโครก ต้องเข้าใจว่ากายตน(เห็นกายในกายภายใน) และกายของบุคคลอื่น(เห็นกายในกายภายนอก)ต่างก็เป็นเฉกเช่นนี้ ล้วนเป็นไปเพื่อให้เกิดนิพพิทาเพื่อลดละความยึดมั่นพึงพอใจหลงไหลในกายตนและในกายบุคคลอื่นลง

    เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริงว่าล้วนแล้วแต่เป็นของปฏิกูลโสโครก เพื่อคลายความหลงใหลรักใคร่ยึดมั่นมันลงไป จึงคลายกำหนัด ดังมีกล่าวแสดงรายละเอียดไว้ในกายคตาสติสูตร หรือดังภาพที่แสดงในทวัตติงสาการ

    ๑.๕ ธาตุมนสิการ พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงของกายนี้ว่า เป็นเพียงก้อนหรือมวลหรือฆนะของธาตุทั้ง ๔ อันล้วนไม่งาม ไม่สะอาด มาประชุมกันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกายนี้ชั่วขณะระยะหนึ่ง ทั้งกายตนเองและบุคคลอื่นเช่นกัน

    ดังที่ได้กล่าวไว้ ๒ ลักษณะในการพิจารณาในไตรลักษณ์ และกายคตาสติสูตรโดยละเอียด

    ๑.๖ นวสีวถิกา คือพิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ เป็นระยะๆ ๙ แบบหรือระยะ จนผุพังเน่าเปื่อยไปในที่สุด และต้องเข้าใจว่ากายตนแลผู้อื่นต่างก็ล้วนต้องเป็นเฉกเช่นนี้ ไม่เป็นอื่นไปได้(ภาพอสุภะ)

    ในทางปฏิบัติของ เห็นกายในกาย คือมีสติระลึกรู้อยู่เนืองๆว่า สักแต่ว่ากายตามที่ได้พิจารณาเข้าใจ เพื่อให้บังเกิดนิพพิทาญาณ จึงดับตัณหา

    อนึ่งพึงระลึกรู้ด้วยว่า การมีสติอยู่กับกาย เป็นเพียงการระลึกรู้เท่าทันกาย ทั้งทางด้านปัญญาด้วยเช่นว่าไม่งามเป็นปฏิกูลเพื่อความนิพพิทา แต่ถ้าแน่วแน่แต่อย่างเดียวขาดสติการระลึกรู้ก็กลับกลายเป็นสมถสมาธิไปได้โดยไม่รู้ตัว (หมายความว่า มีความตั้งใจฝึกสติ แต่ไปทำสมาธิเสียโดยไม่รู้ตัว)

    .............................................................................................

    (มีต่อครับ)
     
  5. ขาโจ๋ข้าเอง

    ขาโจ๋ข้าเอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +4,856
    ๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน สติกําหนดพิจารณาเวทนาหรือการเสพรสอารมณ์ที่บังเกิดขึ้นเป็นธรรมดาจาการกระทบคือผัสสะ ให้เห็นเวทนาในเวทนา คือ เห็นตามความเป็นจริงของเวทนาว่า

    "เวทนาเป็นสักแต่ว่าเป็นการรับรู้ การเสพรสอารมณ์ที่มากระทบสัมผัสทั้งทางใจและกายคือในรูป,เสียง,กลิ่น ,รส,สัมผัส,ธรรมารมณ์ เป็นขบวนการธรรมชาติหรือสภาวธรรมแท้อันยิ่งใหญ่ที่มีในมนุษย์ทุกผู้นาม

    เป็นเพียงขบวนการรับรู้ในขั้นแรกๆที่เอาข้อมูลมาจากสัญญา(ความจํา)อดีตหรืออาสวะกิเลส ยังไม่ใช่ความทุกข์จริงๆ พิจารณาให้เห็นว่าเมื่อมีการผัสสะย่อมเกิดเวทนาอันมี สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอทุกขมสุข(ไม่สุขไม่ทุกข์)

    อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดาทุกครั้งไป ซึ่งเป็นเวทนาปกติหรือเป็นไปโดยธรรมหรือธรรมชาติ หลีกเลี่ยงหลบหนีไม่ให้เกิดไม่ให้เป็นไม่ได้ เป็นหลักธรรมชาติธรรมดาๆแต่สูงสุด

    จิตจะได้คลายความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาหรือการเสพรสอารมณ์ ที่บังเกิดนั้นๆ จึงไม่เกิดตัณหาขึ้น จึงเป็นเพียงสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาตามธรรมหรือธรรมชาติแต่ย่อมไม่เร่าร้อนเผาลนดังเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน(เวทนูปาทาน) ดังพุทธพจน์ที่แสดงไว้ให้เข้าใจและรู้เท่าทันในเวทนาดังนี้

    เมื่อเป็นสุขเวทนาก็ให้รู้ว่าเป็นสุขเวทนา เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี

    เมื่อเป็นทุกขเวทนาก็ให้รู้ว่าเป็นทุกขเวทนา เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี

    เมื่อเป็นอทุกขมสุขก็ให้รู้ว่าเป็นอทุกขมสุข เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี

    เมื่อเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอทุกขมสุข ชนิดมีอามิส(เครื่องล่อใจ-เจือกิเลส)ก็รู้ว่ามี เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี

    เมื่อเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอทุกขมสุข ชนิดไม่มีอามิส ก็รู้ว่ามี เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี

    เวทนาเป็นเพียงสักแต่ว่าเวทนาคือความรู้สึกที่เกิดขึ้นและจำต้องรับรู้ ที่แท้จริงก็แค่ความรู้สึกที่ต้องเกิดขึ้นจากการกระทบจึงไม่ควรไปยึดมั่น เกิดขึ้นและเป็นไปตามธรรมหรือสภาวธรรมหรือธรรมชาติจริงๆ ตามเหตุปัจจัยอันมาปรุงแต่ง หรือมาผัสสะ

    จึงเกิดๆดับๆ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่มีตัวไม่มีตนแท้จริง จึงไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราอย่างแท้จริงอีกด้วย เห็นเวทนาทั้งในเวทนาตนเอง(เห็นเวทนาในเวทนาภายใน จึงไม่ใช่อาการของจิตส่งในแต่อย่างใดด้วยเข้าใจผิด) และผู้อื่น(เห็นเวทนาในเวทนาภายนอก จึงไม่ใช่อาการจิตส่งออกนอกไปฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งแต่อย่างใด)

    ในทางปฏิบัติของ เห็นเวทนาในเวทนา คือมีสติรู้อยู่เนืองๆว่าเวทนาสักแต่ว่าเวทนา อันย่อมต้องเกิดความรู้สึกจากการรับรู้ในอารมณ์ที่ผัสสะกันเป็นธรรมดาโดยธรรมชาติหรือตถตา จึงไม่ไม่ยึดมั่นหมายมั่นในเวทนาเหล่าใดเหล่านั้น ด้วยการอุเบกขาไม่เอนเอียงไปนึกคิดปรุงแต่ง

    คือฟุ้งซ่านอันยังให้เกิดเวทนาขึ้นอีก อันจักเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหา อันทําให้เกิดทุกข์ อันเป็นไปตามปฏิจจสมุปบาทธรรม กล่าวคือไม่ต่อล้อต่อเถียงกับจิต อันเป็นการเปิดโอกาสให้จิต หลอกล่อไปปรุงแต่งต่างๆนาๆให้เกิดเวทนาๆต่างๆนาๆ อันอาจเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์อุปาทานโดยไม่รู้ตัวด้วยความไม่รู้คืออวิชชา

    (พระอภิธรรม แสดงความหมายของเวทนาภายใน ที่มิได้หมายถึงอาการจิตส่งใน และแสดงเวทนาภายนอก)




    ๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน คือการเห็นจิตในจิต หรือสติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาจิต (จิตตสังขารหรือมโนสังขารเช่นความคิด,ความนึก คือธรรมารมณ์ต่างๆ) รวมทั้งอาการของจิตหรือกริยาของจิต(เจตสิก)เช่น ราคะ, โทสะ,โมหะ, ฟุ้งซ่าน ฯ.

    ที่เกิดเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ คือ มีสติรู้จิตตสังขารตามสภาพเป็นจริงที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ(เห็นจิตในจิต)เช่น จิตมีราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตมี, จิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะก็รู้ว่าปราศจากราคะ โทสะ โมหะ, จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่าหดหู่

    หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน ทั้งของตนเองและของบุคคลอื่น อันเพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ และเห็นการเกิดๆดับๆว่าเป็นไปตามธรรมคือสภาวธรรมหรือธรรมชาติ ล้วนไม่เที่ยงของจิตตสังขารดังกล่าว เห็นจิตในจิต หรือ จิตเห็นจิต

    ถ้าเข้าใจขันธ์ ๕ จักเข้าใจได้ว่าหมายถึงการมีสติเห็นจิตตสังขารที่บังเกิดขึ้น(จิตสังขารหรือมโนสังขารหรือความคิดในขันธ์๕นั่นเอง ล้วนเป็นสิ่งเดียวกัน) อันมีตามที่ท่านตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรดังนี้ คือมี

    จิตมีราคะ เป็นเจตสิก คืออาการของจิตที่ประกอบด้วยราคะ กล่าวคือกลุ่มของความคิดฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่ง ที่ประกอบด้วยความกำหนัดความปรารถนาในกามทั้ง๕ นั่นเอง

    จิตมีโทสะ เป็นเจตสิก คืออาการของจิตที่ประกอบด้วยโทสะ กล่าวคือกลุ่มของความคิดนึกหรือฟุ้งซ่านที่ประกอบด้วยความโกรธความขุ่นเคือง นั่นเอง

    จิตมีโมหะ เป็นเจตสิก คืออาการของจิตที่ประกอบด้วยโมหะความหลง หรือกลุ่มของความคิดนึกหรือฟุ้งซ่านที่ประกอบด้วยความไม่รู้จริง นั่นเอง

    จิตหดหู่ ก็เป็นเจตสิกในข้อที่ ๒๕ ในเจตสิก ๕๒ เป็นกลุ่มอาการของความคิดนึกหรือฟุ้งซ่านปรุงแต่งที่ทำให้เกิดความหดหู่ใจ ใจหดห่อ แห้งเหี่ยวใจ

    จิตฟุ้งซ่าน เป็นอาการของจิตอย่างหนึ่ง ที่เรียกอุทธัจจะในข้อที่ ๑๗ ในเจตสิก ๕๒ เป็นอาการของจิตที่ฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งไปในสิ่งหรือเรื่องต่างๆ

    จิตเป็นฌานหรือมหรคต จิตเป็นฌาณ, จิตอยู่ในกำลังฌาน, จิตประกอบด้วยกำลังของฌานอยู่

    จิตเป็นสมาธิ จิตมีความตั้งใจมั่นในสิ่งใดอยู่

    จิตมีสิ่งอื่นยิ่งกว่า หมายถึงอาการของจิตเป็นเอกหรือเป็นใหญ่อยู่ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่ เช่นจิตเป็นเอกอยู่กับการคำบริกรรมพุทโธ หรือจิตเป็นเอกอยู่ในกิจหรืองานใดๆ, หรือจิตเป็นเอกในธรรมที่เป็นเครื่องอยู่เครื่องพิจารณา, หรือจิตหมกมุ่นจดใจจ่อในสิ่งใดอยู่

    จิตวิมุตติหรือจิตหลุดพ้น หมายถึงอาการที่จิตหลุดพ้นจากกิเลสหรือเจตสิกต่างๆดังที่กล่าว

    กล่าวคือ ล้วนมีสติระลึกรู้เท่าทัน กล่าวคือมีสติระลึกรู้ "จิตหรืออาการของจิตคือเจตสิกที่บังเกิดขึ้น ณ ขณะจิตนั้นๆ"

    อนึ่งอาการของจิตทั้งหลายหรือเจตสิก ดังเช่น ราคะ โทสะ โมหะ จิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ. นั้นมันไม่มีอาการเป็นรูปธรรมแท้จริง แต่มันอาศัยแฝงอยู่กับสังขารขันธ์คือการกระทำต่างๆนั่นเอง

    ดังเช่น ความคิด(มโนสังขาร)ที่ประกอบด้วยราคะ, การทำร้ายผู้อื่นทางกาย(กายสังขาร)ที่ประกอบด้วยโทสะ, การคิดด่าทอ,ต่อว่า(วจีสังขาร)ที่ประกอบด้วยโมหะคืออาการหลงไปปรุงจนเกิดทุกข์ที่ประกอบด้วยความไม่รู้ตามความเป็นจริง

    เช่นคิดหรือธรรมารมณ์กระทบใจแล้วจะให้รู้สึกเฉยๆ, การเกี้ยวพาราสีทั้งด้วยคำพูดทั้งกริยาท่าทางที่ประกอบด้วยราคะ, จิตคิดฟุ้งซ่านหรือคิดวนเวียนไม่หยุดหย่อนในเรื่องไร้แก่นสาร เช่นคิดไปในอดีต อนาคต ก็คือความคิดที่ประกอบด้วยจิตฟุ้งซ่านนั่นเอง

    ใช้วิธีมีสติรู้เท่าทันเวทนาและจิต เป็นหลักปฏิบัติประจําเมื่อปฏิบัติจนชํานาญแล้ว และเห็นเวทนาในเวทนา(เวทนานุปัสสนา)เข้าใจถึงใจ และเข้าใจปฏิจจสมุปบาทดีแล้ว จิตจักรู้สภาพจิตสังขารหรืออาการของจิต(เจตสิก)ที่เกิดขึ้น คือ เห็น ตัณหา ราคะ โมหะ โทสะ ชัดเจนขึ้น

    เมื่อจิตเห็นจิต หรือเห็นจิตในจิต เช่นนี้เรื่อยๆ จิตจะเห็นความคิดอารมณ์ที่ เกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอดเวลาว่าเป็นสภาวธรรมอันไม่เที่ยง ไม่มีแก่นแกนหรือแก่นสาร และก่อให้เกิดทุกข์อย่างชัดแจ้ง อันทําให้รู้เห็นตามความเป็นจริงในสภาวธรรม

    จิตจักได้คลายความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาและจิตที่ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้จึงเป็นทุกข์ และอนัตตา อันก่อให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ เห็นความคิด(จิตหรือจิตตสังขารนั่นเอง) และการเสวยอารมณ์ต่างๆ(เวทนา) ว่าเป็นไปตามไตรลักษณ์

    ดังนั้นเมื่อไปอยากด้วยตัณหาจึงย่อมเกิดการยึดด้วยอุปาทานเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง ดังนั้นเมื่อไปอยากหรือไปยึดไว้ด้วยเหตุผลกลใดก็ดี เมื่อมีการแปรปรวนด้วยอนิจจังหรือดับไปด้วยทุกขังเพราะสภาวธรรมจึงไม่เป็นไปตามปรารถนาจึงเป็นทุกข์อุปาทานอันเร่าร้อนเผาลนขึ้นนั่นเอง

    ในทางปฏิบัติของการ เห็นจิตในจิต คือสติเห็นจิตสังขาร(เช่นความคิด)ที่เกิดขึ้นว่า สักแต่ว่าจิตสังขารตามที่พิจารณาอยู่เนืองๆ แล้วอุเบกขาไม่เอนเอียงไปแทรกแซงด้วยถ้อยคิดปรุงแต่ง หรือกริยาจิตใดๆ ดังการคิดเรื่อยเปื่อยหรือฟุ้งซ่านจึงย่อมยังให้เกิดเวทนาอื่นๆที่อาจเป็นปัจจัยจึงมีตัณหาเกิดขึ้น จึงทําให้เกิดทุกข์อุปาทานอันเร่าร้อน

    (จิตตานุปัสสนานิเทส แสดงความหมายของจิตภายใน ที่มิได้หมายถึงจิตส่งใน และจิตภายนอก)


    ...............................................................................................
    (มีต่ออีกครับ T_T)
     
  6. ขาโจ๋ข้าเอง

    ขาโจ๋ข้าเอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +4,856
    ๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน สติกําหนดพิจารณาธรรม(สิ่งต่างๆ)ที่บังเกิดแก่ใจเป็นอารมณ์ทั้งที่เป็นกุศลหรืออกุศล ก็เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติและเครื่องระลึกรู้เพื่อให้เกิดปัญญาเป็นสำคัญหรือเป็นวัตถุประสงค์ ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแนะในมหาสติปัฏฐานสูตรให้พิจารณา เป็นอาทิ เช่น

    ๔.๑ นิวรณ์ ๕ เช่น ข้อพยาบาทให้พิจารณาว่า

    มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า มีอยู่ ณ ภายในจิต

    ไม่มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต

    ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

    ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

    ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

    เป็นเช่นนี้ทุกข้อใน กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา

    ๔.๒ อุปาทานขันธ์๕

    ๔.๓ อายตนะภายใน และนอก

    ๔.๔ โพชฌงค์ ๗

    ๔.๕ อริยสัจ ๔ และมรรคองค์ ๘

    การพิจารณาธรรมต่างๆเหล่านี้ในจิต เป็นธัมมวิจยะ(การพิจารณาธรรม)เพื่อเป็นเครื่องรู้, ระลึกเตือนสติเป็นแนวทาง ให้เกิดปัญญาไม่ไปยึดมั่นถือมั่นเช่นกัน เพราะธรรมทั้งหลายเหล่านี้จัดเป็นสังขารในไตรลักษณ์ คือเกิดแต่เหตุปัจจัยเช่นกัน

    เมื่อเหตุปัจจัยของสังขารธรรมเหล่านี้แปรปรวนหรือดับ สังขารธรรมนี้ก็เช่นกัน อีกทั้งเมื่อเรารู้ระลึกธรรมทั้งหลายก็เกิดขึ้น เมื่อเราหยุดรู้ระลึกธรรมทั้งหลายก็ดับลงเช่นกัน เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ แม้จักเป็นจริงตามธรรมชาติเช่นนี้ตลอดกาล แต่เหตุปัจจัยได้แปรปรวนและดับเสียแล้วเช่นกัน

    ในทางปฏิบัติของ เห็นธรรมในธรรม คือเห็นธรรมหรือสิ่งทั้งหลายที่บังเกิดแก่จิต หรือมีสติเห็นธรรมว่า สักแต่ว่าธรรม เป็นเครื่องเตือนสติ และระลึกรู้เพื่อให้เกิดปัญญาญาณนั่นเอง คือมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทุกข์และการดับไปของทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง



    สติปัฏฐาน๔ นั้นมีจุดประสงค์อยู่ที่ฝึกสติ และ ใช้สติพิจารณาสรุปให้เข้าใจโดยถ่องแท้เพื่อให้เกิดสัมมาญาณ(ปัญญาญาณ)ว่า ธรรมทั้งหลายอันมี กาย เวทนา จิต ธรรม มีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้ อาศัยระลึกเตือนสติเตือนใจไม่ให้ไปยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจ(หมายถึงอุปาทาน )ใดๆในโลก

    อีกทั้งมีพุทธประสงค์ให้ปฏิบัติในชีวิตประจําวันขนาดกล่าวได้ว่าแทบทุกลม หายใจ กล่าวคือเมื่อจิตหรือสติวนเวียนพิจารณาอยู่ในธรรมแล้ว จิตย่อมหยุดส่งจิตออกนอกไปนึกคิดปรุงแต่งต่างๆอันก่อให้เกิดทุกข์ ขณะจิตนั้นเองจิตย่อมเกิดกําลังแห่งจิตขึ้นเนื่องจากสภาวะปลอดทุกข์ขึ้นทีละ เล็กทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว

    อันยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมนั้นทีละเล็กทีละน้อยสะสมขึ้นเช่นกัน จนในที่สุดจักเกิดสภาวะ อ๋อ มันเป็นเช่นนั้นเอง หรือธรรมสามัคคีนั่นเอง เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมนั้นอย่างแท้จริง

    สติปัฏฐาน๔ มีเจตนาต้องการให้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ ไม่ใช่แต่ กาย เวทนา จิต ธรรม เท่านั้น เพียงแต่ธรรม ๔ ข้อนี้เป็นหลักสําคัญในการดับหรือลดละตัณหาและความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจของตนหรืออุปาทาน อันก่อให้เกิด "อุปาทานขันธ์ ๕"อันเป็นทุกข์

    .........................................

    ʵԻѯ
     
  7. ขาโจ๋ข้าเอง

    ขาโจ๋ข้าเอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +4,856
    ผู้ที่ปฏิบัติโดยยึดหลัก"มหาสติปัฏฐาน๔" ควรสํารวจการปฏิบัติของเราด้วยว่าเราปฏิบัติเพื่อฝึกสติและใช้สติเพื่อลดละความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในตัวตน,ของตัวตนของตนหรืออุปาทานในกาย เวทนา จิต ธรรม ของเราเองถูกต้องดังพุทธประสงค์หรือไม่? หรือเรากําลังปฏิบัติโดยไม่ทราบจุดมุ่งหมายพระพุทธประสงค์ หรือกําลังปฏิบัติสมาธิอยู่?

    การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ อย่างถูกต้อง

    การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ในขั้นต้นนั้น ต้องใช้สมาธิเป็นบาทฐานในการปฏิบัติ เป็นการฝึกสมาธิและสติในขั้นแรกอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดสมาธิที่ หมายถึงความตั้งใจมั่น แล้วน้อมจิตที่สงบตั้งมั่นดีแล้วอันย่อมมีกำลังแล้วนั้นไปพิจารณาสังเกตุ ศึกษาให้เห็นธรรม(สิ่ง)

    ต่างๆตามความเป็นจริงให้ชัดเจนขึ้น เช่นเห็นกาย และดำเนินก้าวต่อไปโดยการสังเกตุให้เห็นให้รู้เข้าใจเวทนา และจิตสังขารต่างๆที่เกิดขึ้น ตลอดจนใช้พิจารณาธรรมต่างๆเพื่อให้เกิดภูมิรู้ภูมิญาณเข้าใจในสภาวะธรรมต่างๆอย่างปรมัตถ์ถูกต้อง

    เมื่อปฏิบัติดังกล่าวดีแล้วก็ต้องนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันจึงจักถูกต้องและบังเกิดผลสูงสุดขึ้นได้

    การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ในสมาธิในเบื้องต้นนั้น หาที่สงัด ตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่นนั้น วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้เกิดจิตเกิดความตั้งใจมั่นระดับเบื้องต้นก่อน คือ ไม่เลื่อนไหลไปสู่ฌานสมาธิระดับประณีตจนปฏิบัติไม่ได้ หรือลงภวังค์ หรือหลับไปอย่างง่ายๆ

    เพื่อจะได้ปฏิบัติให้เกิดสติและสัมมาสมาธิ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาทำความเข้าใจใน กาย เวทนา จิต และธรรมอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง(ปรมัตถ์) ก็เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติจริงๆอีกครั้งในขณะดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เฉพาะในการปฏิบัติในรูปแบบแผนเท่านั้น

    คือ ต้องนำไปฝึกฝนอบรมอีกครั้งหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันจนเป็นมหาสติ หรือเป็นดังเช่นสังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท)แต่มิได้เกิดแต่อวิชชา,

    กล่าวคือเมื่อปฏิบัติโดยถูกต้องและประจำสมํ่าเสมอ จิตจะเริ่มกระทำตามสังขารที่ได้สั่งสมอบรมไว้เองโดยอัติโนมัติในชีวิตประจำวัน นั่นแหละมหาสติหรือสังขารธรรมอันถูกต้อง เป็นจุดมุ่งหมายอันสูงสุดในการปฏิบัติสติปัฏฐาน๔

    การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

    ขณะดำเนินชีวิตประจำวันนั้น จะมีสิ่งต่างๆมากระทบผัสสะตลอดเวลา เมื่อธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)ใดมากระทบและรู้เท่าทัน ก็ให้ปฏิบัติธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)นั้น ขยายความ เพราะธรรมหรือสิ่งที่มาผัสสะนั้นมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป

    ตลอดจนจริตของนักปฏิบัติเอง จึงมีความชำนาญชํ่าชองในการเห็นการรู้ในธรรมทั้ง ๔ ที่ย่อมแตกต่างกันออกไปตามจริตและสังขารที่ได้สั่งสมไว้นั่นเอง และธรรมทั้ง ๔ นั้นเมื่อเห็นและรู้เท่าทัน ต่างก็ล้วนมีคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น

    ดังนั้นในการดำรงชีวิตประจำวันแล้วมีสติเห็นในธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)ใดก่อนก็ได้ เพราะย่อมเกิดคุณดังนี้

    รู้เท่าทันกาย เพื่อทำให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในกายอันเป็นที่รักยิ่งโดยไม่รู้ตัว เมื่อรู้ตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ ว่าล้วนสักแต่ธาตุ๔ หรือสิ่งปฏิกูล ล้วนต้องเน่าเสีย คงทนอยู่ไม่ได้ ฯลฯ.

    เห็นการเกิดดังนี้จนชํ่าชอง เช่น ส่องกระจกก็รู้เท่าทันว่าห่วงกาย เห็นเพศตรงข้ามที่ถูกใจ ฯลฯ. ก็รู้เท่าทัน ว่าสักแต่ว่ากายล้วนเป็นดั่งนี้เป็นต้น แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการดับในที่สุด

    รู้เท่าทันเวทนา เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในเวทนาความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่กระทบสัมผัส เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า สักแต่เกิดแต่เหตุปัจจัย มันต้องเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการเกิด การดับได้ด้วยตนเอง

    เช่น เห็นรูปที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ, ได้ยินเสียง(คำพูด)ที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ เห็นอาหารที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ ก็ย่อมต้องเกิดความรู้สึก(เวทนา)ต่อสิ่งนั้นๆเช่นนั้นเอง ฯลฯ. เมื่อรู้เท่าทันจนชำนาญ จิตเมื่อเห็นความจริงการเกิดการดับและเพราะเหตุปัจจัยเช่นนี้บ่อยๆสักว่าเวทนาเป็นดังนี้เอง ก็จักเกิดนิพพิทาในเวทนาต่างๆเหล่านั้นในที่สุด

    รู้เท่าทันจิต เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในจิตสังขาร(ความคิด ความนึกต่างๆ) เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า สักแต่เกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ เป็นสังขารต่างๆทางใจเกิดขึ้นเช่น โทสะ(โกรธ) โลภ หลง ดีใจ เสียใจ ต่างๆ

    เมื่อเห็นว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย มันต้องเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการเกิด การดับได้ด้วยตนเอง จิตเมื่อเห็นความจริงเช่นนี้บ่อยๆสักว่าจิตเกิดเพราะเหตุปัจจัยเช่นนี้เอง ก็จักเกิดนิพพิทาในจิตสังขารความคิดปรุงแต่งเหล่านั้นในที่สุด

    รู้เท่าทันธรรม เพื่อให้เกิดนิพพิทาและภูมิรู้ภูมิญาณความรู้ความเข้าใจอย่างปรมัตถ์ในสิ่งต่างๆนั่นเอง เมื่อเกิดกาย เวทนา หรือจิตตามข้างต้น แล้วเกิดเห็นธรรมะใดๆก็หยิบยกขึ้นมาพิจารณาหรือคิดนึกสังเกตุในสิ่งเหล่านั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างปรมัตถ์

    การคิดนึกดังนี้ไม่ใช่การคิดนึกปรุงแต่งที่ก่อให้เกิดทุกข์ แต่เป็นคิดนึกที่จำเป็นในการดับทุกข์อย่างยิ่ง เช่นเห็นทุกข์หรือรู้ว่าเป็นทุกข์ก็รู้ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัยใด(เห็นปฏิจจสมุปบาท), เห็นความไม่เที่ยง(เห็นพระไตรลักษณ์) ดังนี้เป็นต้น
     
  8. ขาโจ๋ข้าเอง

    ขาโจ๋ข้าเอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +4,856
    ตัวกู ยังไม่ใช่ของกู, แล้วสิ่งทั้งหลายทั้งปวงจักเป็นของกูได้อย่างไร!

    ตัวกู ยังสักแต่ว่าก้อนหรือมวล(ฆนะ)ของเหตุ คือธาตุทั้ง ๔ มาเป็นปัจจัยประชุมกันขึ้นระยะหนึ่ง

    ชีวิตกู ยังสักแต่ว่าก้อนหรือมวลของเหตุ อันคือขันธ์ทั้ง ๕ มาเป็นปัจจัยประชุมกัน

    จึงล้วนขึ้นหรืออิงอยู่กับเหตุนั้นๆ จึงล้วนไม่ขึ้นอยู่กับกูโดยตรง จึงไม่ใช่กูหรือของกูอย่างแท้จริง

    ถ้าตัวกู เป็นของกูจริงแล้วไซร้ จักต้องควบคุมบังคับได้ด้วยตนเอง

    ไม่ต้องอยู่ภายใต้อํานาจของเหตุปัจจัยดังกล่าว หรือสภาวธรรมหรือธรรมชาติ
     
  9. ขาโจ๋ข้าเอง

    ขาโจ๋ข้าเอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +4,856
    http://www.larnbuddhism.com/grammathan/mano/naenam.html



    คำแนะนำการฝึกมโนมยิทธิ

    โดย หลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร

    ต่อไปนี้จะขอแนะนำเนื่องในการเจริญมโนมยิทธิ คำว่า มโนมยิทธิ นี่เป็นกรรมฐานอย่างหนึ่งในกรรมฐาน ๔๐ เพราะกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้มี ๔๐ แบบ แล้วก็ ๔๐ แบบ ถ้าแบ่งเป็นหมวดก็ ๔ หมวด คือ
    หมวดที่ ๑ สุขวิปัสสโก
    หมวดที่ ๒ เตวิชโช
    หมวดที่ ๓ ฉฬภิญโญ
    หมวดที่ ๔ ปฏิสัมภิทัปปัตโต

    หมวดที่ ๑ ที่เรียกว่า สุขวิปัสสโก ท่านแปลว่า บรรลุมรรคผลได้อย่างแบบง่าย ๆ แต่ความจริงแล้วไม่ง่าย ยากมากแบบสุขวิปัสสโกนี่เวลาเจริญสมาธิตามที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททำอยู่ ตามปกติ เป็นการทำจิตให้เป็นสมาธิเข้าถึงฌานสมาบัติ แล้วก็ตัดกิเลส ไม่สามารถจะเห็นผี เห็นนรก เห็นเทวดา เห็นสวรรค์ได้ คือไม่มีทิพจักขุญาณ

    สำหรับ เตวิชโช นั้น มีความสามารถพิเศษอยู่ ๒ อย่าง คือว่ามีทิพจักขุญาณด้วย สามารถระลึกชาติด้วย และก็

    ฉฬภิญโญ (อภิญญาหก) แสดงฤทธิ์ได้ มีหูเป็นทิพย์ มีตาเป็นทิพย์

    ปฏิสัมภิทัปปัตโต มีความสามารถคลุมวิชชาสามและอภิญญาหก มีความฉลาดกว่า

    หมวดที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ไม่เหมือนกัน แต่วิธีปฏิบัติคล้ายคลึงกัน เอาในกรรมฐานทั้ง ๔๐ มาแยกปฏิบัติเป็นหมวดหมู่

    ทีนี้สำหรับการปฏิบัติ ถ้าจะถามว่าอย่างไหนเข้าถึงมรรคผลง่ายกว่ากัน ก็ต้องเป็นไปตามอัธยาศํยของบรรดาท่านพุทธบริษัท

    สำหรับ สุขวิปัสสโก พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้สำหรับผู้ที่ต้องการเรียบ ๆ ไม่ต้องการฤทธิ์เดช ทำแบบสบาย ๆ จิตใจไม่ชอบจุกจิก

    สำหรับ เตวิชโช นั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้สำหรับคนที่อยากรู้อยากเห็น ถ้ามีสิ่งปิดบังลี้ลับอยู่ ทนไม่ไหว ต้องหาให้พบ ค้นให้เห็น


    สำหรับ ฉฬภิญโญ นั้น สำหรับคนที่ต้องการมีฤทธิ์เดชพระพุทธเจ้าก็ทรงสอนไว้

    สำหรับ ปฏิสัมภิทาญาณ หรือปฏิสัมภิทัปปัตโต ท่านมีทั้งฤทธิ์ด้วย มีทั้งความเป็นทิพย์ของจิตด้วยมีความฉลาดด้วย สอนไว้เพื่อคนที่ต้องการรอบรู้ทุกอย่าง

    ฉะนั้นการที่พระพุทธเจ้าทรงสอน จึงเป็นไปตามอัธยาศัยของคน

    สำหรับวันนี้จะนำเอาคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าส่วนหนึ่งที่เรียกว่า มโนมยิทธิ มาแนะนำแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท

    มโนมยิทธิ นี่คล้ายคลึงกับ เตวิชโช แต่ว่ามีกำลังสูงกว่า เป็นกรรมฐานเพื่อนเตรียมตัวที่จะปฏิบัติเพื่อ อภิญญาหก ต่อไปข้างหน้า

    สำหรับ เตวิชโช ก็ได้แก่ วิชชาสาม ก็มีทิพจักขุญาณ ซึ่งต่างกับ มโนมยิทธิ คือว่าท่านที่ได้ทิพจักขุญาณแล้วนั่งอยู่ตรงนี้ สามารถจะเห็นเทวดาหรือพรหมได้ สามารถจะคุยได้ แต่ไปหาไม่

    ได้ สามารถจะเห็นสัตว์นรก เห็นเปรต เห็นอสุรกายได้ แต่ว่าไม่สามารถจะไปหากันได้ เห็นอย่างเดียว

    สำหรับมโนมยิทธิ ใช้กำลังของจิตเคลื่อนออกจากกายไปสวรรค์ก็ได้ ไปพรหมโลกก็ได้ ไปนิพพานก็ได้ ซึ่งมีกำลังสูงกว่า ทั้งนี้เพราะว่าถือเป็นส่วนหนึ่งของอภิญญาสมาบัติ


    สำหรับประโยชน์ที่จะฝึกพระกรรมฐาน นอกจากที่บรรดาท่านพุทธบริษัทจะเข้าใจว่าการเจริญกรรมฐานนี้ต้องการสวรรค์ ต้องการพรหมโลก ต้องการนิพพานอย่างเดียว ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น มีประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม

    ถ้าทุกท่านได้มโนมยิทธิแล้วก็ไปฝึกฝนให้คล่อง เมื่อฝึกฝนคล่องแล้ว นอกจากจะยกจิตขึ้นไปสู่ภพต่าง ๆ ก็ยังมีคุณสมบัติ ๘ ประการ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2009
  10. ขาโจ๋ข้าเอง

    ขาโจ๋ข้าเอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +4,856
    ถ้าทุกท่านได้มโนมยิทธิแล้วก็ไปฝึกฝนให้คล่อง เมื่อฝึกฝนคล่องแล้ว นอกจากจะยกจิตขึ้นไปสู่ภพต่าง ๆ ก็ยังมีคุณสมบัติ ๘ ประการ คือ

    ทิพจักขุญาณ สามารถจะเห็นสิ่งของที่อยู่ในที่ลี้ลับได้ เห็นผีได้ เห็นเทวดาได้ เห็นนรก เห็นสวรรค์ได้ ของที่เราเก็บไว้ในที่ลี้ลับหาไม่พบเราก็สามารถเอาจิตเข้าไปกำหนดรู้ได้ หรือว่าใครจะแอบแฝงอยู่ที่ไหนเราก็ทราบได้ ถ้าเราต้องการจะรู้ รวมความว่าไม่มีอะไรเป็นความลับสำหรับพวกที่มีทิพจักขุญาณ

    และถ้าหากว่าจะใช้ทิพจักขุญาณนี้ประกอบอาชีพ ถ้าทิพจักขุญาณมีความเข้มข้นขึ้น เข้าถึงฌาน ๔ และก็ได้ อดีตังสญาณ อนาคตังสญาณ มันจะได้ไปเอง ถ้าเราจะประกอบอาชีพเราก็สามารถจะรู้ได ้ว่า อาชีพที่เราประกอบข้างหน้ามันขาดทุนหรือกำไรจะทำอะไรก็ได้

    ถ้าเป็นนักเรียนนักศึกษา ถ้ามีกำลังจิตเข้มข้นจริง ๆ สามารถจะเดาข้อสอบ (ไม่ต้องเดาละดูเลย ดูข้อสอบเลย ก่อนที่ครูจะเขียนน่ะ) อนาคตังสญาณ จะสามารถรู้ข้อสอบที่ครูจะออกมาได้ ถ้าหากว่าจิตยังคล่องไม่ถึง มีความเข้มข้นไม่ถึงเวลาจะสอบถ้าตอบไม่ได้ตัดสินใจใช้กำลังสมาธิช่วยสัก ๒ นาที คิดว่าถ้าจะตอบยังไงถึงจะถูก ขอให้ตัดสินใจไปตามนั้น มันตัดสินใจเองแล้วก็ถูกต้อง

    อย่างนี้นักเรียนนักศึกษาในกรุงเทพฯ ใช้มาหลายพันคนแล้ว เวลาเข้ามาหาวิทยาลัยเธอตอบไม่ได้เธอก็เดาอย่างนี้ แต่ไม่ใช่เดานะ เดาเฉย ๆ ไม่ได้นะ ต้องใช้กำลังใจที่เขาเรียกว่าทำจิตเข้าไปถึงนิพพานก่อนและก็นั่งอยู่ที่นั่น ขอพระพุทธเจ้าว่าจะตอบอย่างไร ตัดสินใจไปตามนั้น

    อย่าถามท่านไม่ได้นะ ถามท่านไม่บอกแต่ว่าจะรู็ด้วยกำลังของจิตที่เป็นทิพย์

    แบบนี้เขาใช้กันเยอะแล้ว ถ้าจะถามว่าได้หรือ นี่มันสายไปแล้ว เขาทำได้มากแล้ว อันนี้เป็นประโยชน์ในทางโลก ใช้ได้มากกว่านี้

    เมื่อกี้พูดถึงทิพจักขุญาณ และก็ญาณที่ ๒ ที่จะได้จากมโนมยิทธิก็คือ จุตูปปาตญาณ

    จุตูปปาตญาณ
    ที่เขาบอกว่าจะรู้เห็นคนหรือสัตว์ หรือ ว่าได้ยินชื่อคนหรือสัตว์ เราสามารถรู้ได้ทันทีว่าคนพวกนี้ก่อนเกิดมาจากไหน ถ้ารู้็ว่าใครเขาตายเขาแจ้งว่าคนนั้นตาย สัตว์ตัวนี้ตายเราก็จะทราบได้ว่าผู้ตายผู้นี้เวลานี้ไปอยู่ที่ไหน อันนี้เขาเรียกว่า จุตูปปาตญาณ

    แล้วก็ต่อมาเป็น ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ การระลึกชาติ สามารถจะทบทวนชาติต่าง ๆ ที่เราเกิดมาได้ทั้งหมดว่า เราเคยเกิดมาแล้วกี่ชาติ แต่กี่ชาตินี่นับไม่ไหวนะ ว่าเคยเกิดมาแล้วกี่แสนชาติดีกว่า เคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง เราสามารถจะรู้

    แล้วก็ต่อไป เจโตปริยญาณ เจโตปริยญาณ เขาแปลว่าสามารถรู้อารมณ์จิตของบุคคลอื่น หมายความว่าคนที่นั่งอยู่ที่นี่ก็ดี ถ้ายังไม่มาก็ดี เราจะรู้ว่าเขาคิดอะไร เราสามารถจะรู้ได้ทันที

    และต่อไป อตีตังสญาณ สามารถรู้เหตุการณ์ในอดีตของคนและสัตว์และสถานที่ได้ ว่าก่อนนั้นเขาทำอะไรมาหรือมีสภาพเป็นอย่างไร

    อนาคตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในอนาคต

    ปัจจุปันนังสญาณ ญาณนี้สำคัญมาก รู้กฏของกรรมที่ทำให้คนมีความสุขหรือความทุกข์ เราก็ดี บุคคลอื่นก็ดี ซึ่งกำลังมีความสุขอยู่เพราะผลความดีอะไรให้ผล ที่มีความทุกข์อยู่เพราะความชั่วอะไรให้ผลทำมาแล้วในอดีต

    ถ้าหากว่ารู้ญาณนี้ได้ความหนักใจความกลุ้มใจไม่มี

    รวมความว่า มโนมยิทธิ นอกจากจะยกจิตไปสู่ภพต่าง ๆ แล้ว ยังมีคุณสมบัติอีก ๘ ประการ และก็พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อุทุมพริกสูตร เฉพาะอย่างยิ่งท่านกล่าวถึง วิชชาสาม ท่านบอกว่า

    ท่านผู้ใดสามารถกระทำจิตไปสู่ภพต่าง ๆ คือว่าไปสวรรค์ก็ได ้ไปนรกก็ได ้ไปพรหมก็ได้ ไปนรกเปรตอสุรกายได้ ชื่อว่าถึงแก่นของพระศาสนา

    เมื่อบุคคลปฏิบัติกิจเข้าถึงแก่นของพระศาสนาแบบนี้ ถ้าปฏิบัติด้านวิปัสนาญาณ ท่านบอกว่า

    ถ้ามีบารมีแก่กล้า จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ วัน
    ถ้ามีบารมีอย่างกลาง จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ เดือน
    ถ้ามีบารมีอย่างอ่อน จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ ปี
     
  11. ขาโจ๋ข้าเอง

    ขาโจ๋ข้าเอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +4,856
    คำว่า บารมี ก็หมายถึง กำลังใจ กำลังใจที่เราจะเอาจริงหรือไม่เอาจริง ถ้าเราใช้กำลังส่วนนี้ไปช่วยวิปัสสนาญาณ หรือนำวิปัสสนาญาณมาใช้ ก็จะเป็น พระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์

    และก็เป็นที่น่าเสียดายที่มีกำลังพอแต่ไปใช้กำลังอย่างอื่นอยู่ ถ้ามุ่งต้องการความเป็นพระอริยเจ้าจริง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าต้องการพระโสดาบันละก็ อย่างช้าก็ไม่เกิน ๑ เดือน ช้ามากเกินไป แต่ว่าคนขี้เกียจก็เร็วมากเกินไป ใช่ไหม ถ้าขี้เกียจ ๑ เดือนนี่ เร็วมากเกินไป ถ้าขยัน ๑ เดือน ช้าเกินไป เร็วมากเกินไป

    พระพุทธเจ้าไม่ได้หมายถึงว่าเป็นพระโสดาบัน ท่านพูดถึงอรหันต์เลย ถ้ามีความเข้มข้นในการปฏิบัติที่เรียกว่ามีบารมีแก่กล้า จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ วัน
    ถ้ามีกำลังใจอย่างกลางที่เรียกว่า อุปบารมี คือกำลังใจอย่างกลาง จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ เดือน


    ถ้าขี้เกียจมากหน่อย แต่ว่าทำไม่เลิก ทำบ้างไม่ทำบ้าง วันหนึ่งก็ไม่เว้นละ ทำมากทำน้อย นอนน้อยทำมาก สลับกันไปอย่างนี้ไม่เกิน ๗ ปี

    แต่ว่าก็มีเยอะเหมือนกัน ที่ได้ไปแล้วไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์ ใช้เฉพาะกิจส่วนนี้ก็ยังดีกว่า เพราะหายสงสัย

    ที่พระพุทธเจ้าสอนวิชานี้ไว้เป็นวิชาขั้นต้นของ อภิญญา ก็เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงเทศน์บอกว่า
    คนเราตายไปแล้วมีสภาพไม่สูญ ถ้าสร้างผลของความชั่ว ผลของความชั่วจะให้ผล คือไปนรก จากนรกก็ต้องมาเป็นเปรต จากเปรตแล้วก็มาอสุรกาย จากอสุรกายมาเป็นสัตว์เดียรัจฉาน

    สัตว์เดียรัจฉานนี่เป็นนานหน่อย ต้องเสวยบารมีมากฆ่าสัตว์กี่ตัว สัตว์ประเภทใดบ้าง ต้องเกิดเป็นสัตว์ประเภทนั้นเท่าชีวิตที่เราฆ่า ฆ่ายุงไปเท่าไร เอาแค่ยุงอย่างเดียวก็พอมั๊ง

    หลังจากเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานแล้วก็มาเกิดเป็นมนุษย์ กรรมชั่วที่เราทำไว้จะให้ผลเพียงเศษ เช่น

    ทำปาณาติบาต ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือทรมานสัตว์ เป็นปัจจัยให้คนมีอายุสั้น เพราะทำเขาไว้มาก หรือว่าป่วยไข้ไม่สบาย มีร่างกายทุกพพลภาพ สุดแท้แต่กฎของกรรม

    กรรมของอทินนาทาน ลักขโมยยื้อแย่งทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่น เป็นเหตุให้ทรัพย์เสียหายจากไฟไหม้บ้าง ลมพัดบ้าง น้ำท่วมบ้าง ถูกโจรลักขโมยบ้าง

    กรรมของกาเมสุมิจฉาจารที่เราละเมิด เป็นเหตุให้คนในปกครองว่ายากสอนยาก คนที่มีลูกดื้อ ๆ จำให้ดีนะ เคยทำกรรมนี้มาแล้วจะให้พระช่วยได้อย่างไร และ

    กรรมของมุสาวาท เราพูดจริงแต่ไม่มีใครเขาอยากฟัง

    เศษกรรมของการดื่่มสุราเมรัย ทำให้เป็นโรคเส้นประสาท หรือโรคบ้า

    ทีนี้ถ้าอาการทั้ง ๕ อย่างนี้เกิดขึ้น อย่าไปโทษใคร ถ้าเราได้ ยถากรรมมุตาญาณ เราจะทราบ ว่ากรรมประเภทนี้ทำให้เราลำบากเราทำไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่ และก่อนที่จะได้รับเศษของกรรมเราได้รับโทษของกรรมใหญ่ที่ไหนบ้าง

    ลงนรกมากี่ขุม ท่องเที่ยวนรกแสนสบาย มีความสุขมีที่อยู่ที่อาศัย พญายมเอาอกเอาใจ ไม่ต้องการให้พ้นจากนรกนี่ดีมีวาสนาบารมีสูง

    ออกจานรกขุมใหญ่ ออกจากนรกบริวาร ผ่านยมโลกียนรกอีก ๑๐ ขุม ออกจากยมโลกียนรกอีก ๑๐ ขุม ผ่านเปรตอีก ๑๒ ลำดับ จากเปรตมาผ่านอสุรกาย จากอสุรกายมาเป็นสัตว์เดียรัจฉาน กว่าจะเกิดมาเป็นคนที่มีความสมบูรณ์มาก พระพุทธเจ้าตรัสแล้วหลายสิบองค์

    อันนี้เป็นกฎของความชั่วที่เราพึงจะรู้ได้ด้วยกำลัง มโนมยิทธิ ที่ญาติโยมพุทธบริษัทปฏิบัติกัน

    ด้านของความดีที่เราจะพึงทราบจาก ปุพเพนิวาสานุสติญาณ เราจะทราบว่าเราเคยเป็นเทวดามาแล้วกี่ครั้ง เคยเกิดเป็นคนมาแล้วเท่าไหร แล้วเคยเกิดมาเป็นมนุษย์มาแล้วเท่าไหร่ ความเป็นมนุษย์ชาติไหนมีความสุขมาก ชาติไหนมีความทุกข์มาก ชาติไหนมีฐานะอย่างไร อย่างนี้เราทราบได้

    ทีนี้ถ้าอยากจะทราบว่าบุญที่เราทำมาตั้งแต่ต้นจนถึงวันนี้ บุญประเภทนี้จะให้ผลเราขนาดไหน สมมุติว่าถ้าเราตายขณะนี้เราจะเป็นเทวดาหรือจะไปเป็นพรหมหรือจะไปนิพพาน เราพิสูจน์ได้เลย บุญทำวันนี้พิสูจน์วันนี้ได้ว่าบุญวันนี้จะส่งผลไปถึงไหน

    ถ้าจะถามว่าถ้าปุบปับตายจะมีวิมานอยู่ไหม ถ้าเคยทำบุญก่อสร้างเกี่ยวกับการสร้างวัดสร้างศาลา สร้างสาธารณประโยชน์ แม้แต่เขาสร้างโบสถ์ ๑ หลัง เราทำบุญไป ๑ บาท และทำด้วยความเต็มใจ วิมานก็ปรากฏแล้ว คือว่าทำในทันทีวิมานจะปรากฏทันที

    ที่กล้าพูดอย่างนี้ เพราะว่าทุกท่านหรือหลาย ๆ ท่านกำลังเจริญมโนมยิทธิ และก็หลายท่านที่ได้แล้วสามารถพิสูจน์ได้ทันที ก็มาตัดสินใจทำบุญไว้ตั้งแต่เมื่อไหรก็ตามเถอะไม่สนใจ วันนี้หรือก่อนวันนี้ทำบุญเนื่องในการก่อสร้างสาธารณประโยชน์ วิมานจะปรากฏก่อน เราสามารถจะไปดูวิมานได้ทันทีว่าวิมานเราอยู่ที่ไหน

    ทีนี้วิมานนี่อยู่ตามกำลังของบารมีหรือตามกำลังของบุญที่ทำ ถ้ากำลังบุญของท่านถึงขั้น กามาวจรสวรรค์ วิมาน ก็จะตั้่้งอยู่ที่สวรรค์ กำลังบุญของท่านถึงขั้นของพรหม วิมานจะตั้งอยู่ที่พรหม กำลังบุญความดีของท่านถึงขั้นนิพพาน วิมานก็อยู่ที่นิพพาน คอยอยู่แล้ว ตายเมื่อไรถึงเมื่อนั้น อันนี้พูดถึงผลที่จะพึงได้
     
  12. cookieberry

    cookieberry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2009
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +4,607
    สวัสดีค้าบ พ่อเเม่พี่น้องทั้งหลาย

    ฝนมีเรื่องมาโม้ให้ฟังล่ะ รวมมิตรเลยละกันเพราะก็ไม่เคยจำว่าได้รับคำสอนมาตอนไหนบ้างเนื่องจากไม่เคยบันทึก เเต่ที่ยังจำได้เพราะสมเด็จท่านจะสอนย้ำซ้ำๆเรื่องเดิมตลอดเวลา

    เมื่อวานพี่ลมโทรมาจากวัดพระอาจารย์ พี่เค้าว่าพระอาจารย์เทศน์สอนเรื่องของศีลกับสมาธิว่าเป็นของคู่กัน พระอาจารย์ท่านว่าถ้าศีลไม่บริสุทธิ์การนั่งสมาธิก็จะไม่มั่นคง ศีลเเละสมาธิเป็นเหตุเเละผลของกันเเละกัน เมื่อการด่างพร้อยของศีลนั้นเกิดขึ้นสมาธิก็ไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ ลึกๆฝนก็คิดในใจพระอาจารย์ฝากมาถึงฝนรึเปล่าหนอเพราะฝนก็นั่งสมาธิไม่นิ่งเหมือนกัน

    ฝนก็นั่งคิดๆ นู่นๆนี่ๆ จนถึงเวลาที่ฝนต้องขึ้นไปเฝ้าท่านพอดีโดยไม่ต้องเอ่ยถามท่านก็รู้ว่าฝนคิดอะไรอยู่ในใจ

    สมเด็จ - ทาน ศีล สมาธิ เป็นของคู่กันจะขาดตัวได้ตัวหนึ่งไม่ได้ ทำทานเยอะเเต่ศีลไม่มี อย่างนี้ก็หลุดพ้นไปไม่ได้ มีศีลเเต่ไม่ให้ทานก็ไม่ครบเพราะ การให้ทานคือการลดความตระหนี่ถี่เหนียวในตัวเอง ส่วนศีลเเละสมาธิต้องเป็นของคู่กัน เพราะถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ จิตไม่บริสุทธิ์จะทำให้การนั่งสมาธิสงบนิ่งเกิดผลได้อย่างไรกันละลูก

    สมเด็จ - ตัวลูกเองพ่อว่าเจ้าเริ่มเรียนใหม่หมดก็ดีเหมือนกัน เริ่มอ่านเรียนเขียน ก. เอ๋ย กอไก่ ข.ไข่ ในเล้า ใหม่หมดเลย ไปอย่างช้าๆเเต่มั่นคงปูพื้นฐานให้เเน่น เมื่อเรารู้ว่า ก ไก่ เขียนยังไง ต่อไปเมื่อประสมกับสระก็จะได้เป็นคำ จากคำก็เริ่มเรียนเขียนเป็นประโยค เรียนธรรมะก็เหมือนกัน อย่ารีบเร่งไปอย่างช้าๆ ปูพื้นฐานให้เเน่นเเล้วเราจะก้าวหน้าเอง

    สมเด็จ - ทางลัดของพระนิพพานนั้นมีอยู่จริง เอาจิตเกาะเเน่นกับพระนิพพานไว้ ไม่จำเป็นต้องได้มโนมยิทธิก็ได้ เเค่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าไว้เป็นอารมณ์ตลอด อย่ายึดติดกับร่างกาย
    อย่างเจ้าเมื่อถึงเวลาที่เจ้าจะตาย เจ้าจงอย่าอาลัยอาวรณ์ในร่างกายของตัวเอง ให้ทิ้งร่างกายของลูกซะเเละมาหาพ่อที่วิหารนี้ อย่าเถลไถลไปที่ไหน มาเจอกันตรงนี้เเล้วพอถึงเวลาตายดวงจิตของเจ้าก็มาอยู่ที่พระนิพพานเอง

    สมเด็จ - เเต่ทว่าจิตยึดติดกับพระพุทธเจ้าเเค่นี้ยังไม่พอ ยังต้องปฏิบัติมองให้เห็นว่าการเกิดมีชีวิตอยู่นั้นเป็นทุกข์ มองทุกอย่างให้เห็นว่าเป็นทุกข์ พยายามฝึกละกิเลสที่มีในตัวทีละเล็กทีละน้อย เป็นการสร้างบารมีให้เพิ่มขึ้นด้วย เมื่อละกิเลสได้เพิ่มขึ้นการเห็นโทษของการเกิดก็จะมากขึ้น กำลังใจที่จะปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ก็จะมากขึ้น ทำให้บารมีขึ้นมาเต็มได้ สามารถเข้าสู่ดินเเดนที่เรียกว่าพระนิพพานได้อย่างเต็มภาคภูมิ

    สมเด็จ - การฝึกจิตเป็นเรื่องสำคัญนะลูก อย่าส่งจิตออกไปข้างนอก ยกเว้นคุยกับพ่อเเละพระอาจารย์ เราควรฝึกสติให้รู้เท่าทันจิตไว้เสมอ การรู้เท่าทันจิตจะมีผลโดยตรงกับการฝึกนั่งสมาธิ เพราะเราจะสามารถตัดนิวรณ์ที่เข้ามารบกวนจิตได้ในทันที เมื่อมีสติเท่าทันจิตการที่เราจะล่วงเกินศีลนั้นไม่มี เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์หนึ่งๆขึ้นสติจะเตือนให้เรารู้เท่าทัน ไม่กระทำการใดๆที่มีผลทำให้ศีลเราด่างพร้อย

    สมเด็จ - การฝึกสติให้รู้เท่าทันจิตวิธีง่ายๆคือ การฝึกตรวจดูลมหายใจเพราะลมหายใจเป็นสิ่งที่ละเอียด เราจะไม่รู้ว่าทางเดินของลมหายใจเป็นยังไงจนกว่าเราสำรวมจิตให้อยู่ภายในกายไม่ส่ายออกไปข้างนอกโดยใช้สติเป็นตัวควบคุม เริ่มเเรกมันอาจจะยากเเต่ค่อยๆฝึกฝนไป การฝึกตรงนี้จะมีผลโดยตรงต่อความก้าวหน้าในด้านของสมถเเละวิปัสสนากรรมฐาน

    ฝน - เเต่ว่าวันๆคนเราก็มีเรื่องต้องคิด เช่น คิดเรื่องการทำมาหากิน จะไม่ให้จิตคิดอะไรเลยนั้นเป็นไปไม่ได้

    สมเด็จ - คิดได้ลูก ถ้าการคิดไม่ละเมิดศีล กรรมบท 10 เเละมรรค 8 เจ้าติดค้างพ่อเรื่องศึกษามรรค 8 ตั้งเเต่พ่อสอนลูกเรื่องอริยสัจ 4 ไว้นานเเล้วนะลูก รีบไปศึกษาเดี๋ยวนี้เลย

    ฝน - เจ้าค่ะ จะไปเดี๋ยวนี้เลย ไม่งั้นก็ทวงหนูตลอดอ่ะ
    ---------------------------------------------------

    ขอเกริ่นจากเมื่อนานมาเเล้ว สมเด็จท่านสอนฝนเรื่อง อริยสัจ 4

    ฝน: ฝนอยากฟังอริยสัจ 4 ค่ะที่พระอาจารย์ท่านเคยเทศน์สอนฝนเเต่ฝนจำไม่ได้

    สมเด็จ: เเล้วลูกรู้อะไรเกี่ยวกับอริยสัจ ๔ บ้าง

    ฝน: ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการซึ่งเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าท่านใช้โปรดปัจจัควคีทั้ง ๕ เเละเป็นธรรมเเรกที่พระอาจารย์ท่านสอนฝนด้วยค่ะ

    สมเด็จ: อริยสัจ ๔ คือธรรมอันประเสริฐ ๔ ประการคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อริยสัจ ๔ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

    ฝน: ท่านไม่เห็นเทศน์เหมือนพระอาจารย์เลยค่ะ

    สมเด็จ: ถ้าหนูจะให้เทศน์เหมือนกัน หนูต้องไปฟังพระอาจารย์ท่านเทศน์ที่วัดเเล้วล่ะ ตอนนี้ฟังพ่อไปก่อน

    สมเด็จ: ตัวที่สำคัญที่สุดของอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ ถ้าเรารู้ เข้าใจคำว่า ทุกข์ อย่างถ่องเเท้เเล้วล่ะก็ เราจะเข้าใจความเป็นไปของวัฏฏะสงสาร คือ การเกิด เเก่ เจ็บ ตาย ทุกข์ คืออะไร ทุกข์นั้นเริ่มต้นตั้งเเต่เกิด เหมือนกับที่พระอาจารย์ท่านเคยสอนเจ้าที่วัดว่า เด็กพอเกิดลืมตาดูโลกขึ้นมา เค้ากำมือมาด้วย นั้นก็คือเค้าพาความทุกข์มากับตัวเค้าเองด้วย โตขึ้นมาก็จะเห็นความทุกข์นั้นมากขึ้น วันพรุ่งนี้จะกินจะอยู่ยังไง พรุ่งนี้จะมีเงินใช้ไหม อย่างเจ้าก็ เมื่อไหร่หนูจะได้งานทำ ถ้าหนูไม่มีงานทำหนูจะอยู่ยังไง พอไม่สบายขึ้นมาก็เป็นทุกข์อีกเเล้ว ปวดทรมานร่างกาย กายเป็นทุกข์ยังไม่พอใจก็เป็นทุกข์อีกเพราะต้องหาเงินมารักษาร่างกาย ความเเก่ก็เป็นทุกข์ ทุกข์ที่ไม่สามารถทำอะไรได้ดังใจ ว่องไว คล่องเเคล่วเหมือนกับวัยสาว หงุดหงิด อารมณ์เสียก็เป็นทุกข์อีก ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เป็นความทุกข์

    สมเด็จ: ต่อไปก็ สมุทัย ตัวนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ สาเหตุเพราะเราไม่มีปัญญาที่จะวิเคราะห์ความจริงเเห่งทุกข์ ทำให้เรายังคงติดอยู่ในทุกข์ ถ้าเราวิเคราะห์ทุกข์ลงไปให้เห็นว่า ทุกข์นั้นเป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง เเละอนัตตา เราก็จะไม่เกาะติดตัวที่ทำให้เกิดทุกข์ เช่นว่า อย่างเรื่องของหนูก็จะเป็น ถ้าเดือนหน้าหนูไม่ได้งานนะ หนูจะไม่มีกิน ไม่มีอยู่ หนูจะหนีกลับเมืองไทยเเล้วจริงๆด้วย ถ้ามาวิเคราะห์เรื่องของเจ้าให้ดีๆเเล้วจะพบว่า เหตุการณ์ของวันพรุ่งนี้ เดือนหน้านี้มันยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย เรื่องทั้งหมดเป็นเพราะเจ้าตีโพยตีพายไปเอง ไม่ได้ทำจิตให้เป็นปัจจุบันเเละไม่ได้พยายามมองเห็นทุกข์ตามความเป็นจริง ถ้าเกิดวันพรุ่งนี้มีคนโทรมาหาเจ้าให้ไปทำงานได้ ที่เจ้าคิดมาคิดไปนั่นเท่ากับไม่ได้อะไรเลย เป็นการปล่อยจิตให้ฟุ้งซ่าน ดังนั้นวิธีการเเก้สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นั้นคือ มองให้ออกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เเละ ดับไปในที่สุด

    สมเด็จ: นิโรธ คือการดับทุกข์ จะดับทุกข์ยังไง ก็ดับทุกข์ให้เห็นว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรที่เที่ยง ที่ยั่งยืน ที่คงทนเเละถาวร ควรค่าพอที่เราจะยึดติดเเละเกาะกุมไว้ พยายามมองให้เห็นเป็นภาพของไตรลักษณ์ เมื่อเกิดทุกข์ขึ้นมาเราควรเรียนรู้ที่จะวิจารณ์ทุกข์ให้เป็นอย่างที่ผู้ที่เค้ามีปัญญาวิเคราะห์กัน อย่าวิตกกังวลอะไรในเรื่องที่มาไม่ถึง เพราะสิ่งที่มันยังมาไม่ถึงจะเร่งวันเร่งคืนให้มันมาถึงเร็วขึ้นก็ไม่ได้ ทุกอย่างได้ถูกกำหนดไว้ด้วยเวรกรรมเเล้ว ไม่ต้องไม่เร่งกรรมหรือผลของกรรมดีเเละกรรมชั่วให้มันเร็วขึ้น เพราะนอกจากจะไม่ได้มีอะไรให้ดีขึ้นเเล้ว ยังทำให้จิตของเราฟุ้งซ่านอีกด้วย เจ้านี้เเหล่ะไม่ใช่ใครอื่นที่ไหนตัวดีเลย เจ้าลูกคนนี้ วันๆเอาเเต่โวยวายนู่นๆนี่ หัดทำใจให้สงบนิ่งๆ ค่อยๆคิด ค่อยๆวิจารณ์

    สมเด็จ: มรรค มรรคคือหนทางไปในทางดับทุกข์ที่เรียกว่ามรรคมีองค์เเปด มีอะไรบ้างรู้ไหม

    ฝน: ไม่รู้ค่ะ

    สมเด็จ: ไปอ่านมาเเล้วพ่อจะสอนให้ทีหลัง ต้องอ่านเองบ้างไม่ใช่อะไรก็ถามๆ พระอาจารย์เจ้าว่าให้เจ้าไปเรียนรู้ด้วยตัวเองมาก่อน สงสัยเเล้วค่อยถาม ถ้าอย่างนั้นเจ้าไม่คิดจะขวยขวายหาความรู้ อยากรู้อะไรก็ขึ้นมาถามนั้นไม่ถูกต้อง

    -----------------------------------------------------

    ฝน - อ่านจบเเล้วค่ะ

    สมเด็จ - หนูอ่านเเล้วได้อะไรบ้างละลูก

    ฝน - ได้ตามที่อ่าน เค้าเขียนไว้ยังไงหนูก็อ่านตามนั้น

    สมเด็จ - พ่อถามว่าลูกเข้าใจตามนั้นไหม

    ฝน - เข้าใจตามที่เค้าเขียนไว้ค่ะ มากกว่านั้นหนูก็ไม่เข้าใจ

    สมเด็จ - กวนเนาะ

    ฝน - อ้าว

    สมเด็จ - พ่อสอนให้ฟังก็ได้ พ่อจะสอนเป็นหมวดๆไม่เรียงลำดับก่อนหลังนะ เพราะเวลาเราพิจารณา เราจะพิจารณาเป็นหมวดหมู่ไป มรรค 8 พูดง่ายๆเป็นการรวมตัวของหลักธรรมด้าน ศีล สมาธิ เเละปัญญา

    สมเด็จ - ตัวทางด้านปัญญามีอยู่ 2 ตัว คือ สัมมาทิฎฐิ ซึ่งคือการใช้ปัญญาให้เห็นตามความเป็นจริง ตัวที่สองคือ สัมมาสังกัปปะ ซึ่งก็คือการดำริชอบ เป็นการพิจารณาใคร่ครวญด้วยการใช้สติเเละปัญญาประกอบกันเข้า

    สมเด็จ - สรุปก็คือ ทางด้านของปัญญาต้องใช้สัมมาทิฏฐิเเละสัมมาสังกัปปะเป็นตัวร่วมกันจะขาดตัวใดตัวหนึ่งนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ยกตัวอย่างก็เช่น เรื่องของมโนมยิทธิที่พระอาจารย์ดุเจ้าเรื่องนี้ที่วัด ปัญหาของมโนมยิทธิก็อยู่ตรงนี้ บางคนไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้รอบคอบในสิ่งที่ตัวเองรู้มาหรือได้ยินมา ทำให้ความเข้าใจในสิ่งที่รับมานั้นคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง ดังนั้นคนเราเมื่อรู้อะไรในจงใช้ปัญญาของตัวเองพิจารณาใคร่ครวญในสิ่งที่เรารับรู้มาว่าถูกต้องตามความเป็นจริงที่เห็นกันอยู่ไหม ขัดเเย้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านไหม

    สมเด็จ - ต่อไปก็เป็นหมวดของสมาธิ ได้เเก่ สัมมาวายามะ หรือ ความเพียรชอบ สัมมาสติ คือ การรู้เท่าทันจิต สัมมาสมาธิ คือ การไม่ส่งจิตออกไปข้างนอก ฝึกจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในกาย ทั้ง 3 ตัวนี้ต้องอยู่ร่วมกันขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้อีกเหมือนกัน

    สมเด็จ - ยกตัวอย่างจากการฝึกนั่งพระกรรมฐาน จากคนที่ไม่รู้อะไรเลยอยากจะฝึกนั่งจุดเเรกที่ต้องมีเลยคือ สัมมาวายามะ คือ ความเพียร ถ้าคนเราขาดตัวนี้ซักตัวคิดจะทำอะไรก็ไม่สำเร็จ เช่นเจ้าเป็นต้น ขาดเยอะมากตัวนี้ วันๆเอาเเต่คิดนู่นคิดนี่เเต่ไม่ปฏิบัติอะไรให้เห็นผลเจออุปสรรคเข้าหน่อยก็ท้อเเล้ว อย่างนี้ถือว่าขาดสัมมาวายามะ

    สมเด็จ - สัมมาสติ คนเราจะทำงานการหรือเเม้เเต่จะคิดอะไรก็ต้องมีสติคอยกำกับไว้เสมอ การฝึกนั่งกรรมฐานต้องมีสติให้รู้เท่าทันจิตเพื่อป้องกันไม่ให้นิวรณ์เข้าเเทรกในขณะที่เราฝึกปฏิบัติ สัมมาสมาธิคือ การไม่ส่งจิตออกไปข้างนอกเพื่อให้เรารู้เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริงที่ถูกต้องตามกำลังของจิตเพื่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติ

    สมเด็จ - สรุปก็คือในการปฏิบัติพระกรรมฐาน เราใช้สัมมาวายามะเพื่อสร้างความเพียรชอบ ในการตั้งมั่นที่จะปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น การปฏิบัติจะก้าวหน้าได้ต้องอาศัยตัวนี้ ความหมายของมันในทางปฏิบัติก็เป็นตัวเดียวกับ วิริยะ ในอิทธิบาทสี่ สัมมาสติเเละสัมมาสมาธิต้องควบคู่กันไป ถ้าไม่มีสติเเละสมาธิ วันๆเอาเเต่ส่งจิตออกไปข้างนอกส่ายไปส่ายมาโอกาสที่เราจะได้รับรู้สิ่งที่ถูกต้องนั้นไม่มีเลย

    สมเด็จ - กลุ่มสุดท้ายคือ ศีล ได้เเก่สัมมาวาจา คือเจรจาชอบ พูดง่ายๆคือ พูดให้เข้าหูคน ควรหลีกเลี่ยงการพูดเพื่อให้เกิดความขัดเเย้ง ประเด็นเดียวกับกรรมบท 10 ในส่วนของวาจา อันได้เเก่ ไม่พูดโกหก ไม่พูดจาส่อเสียดให้คนทะเลาะกัน ไม่พูดจาหยาบคาย ไม่พูดจาเพ้อเจ้อ
    สมเด็จ - สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติชอบ ได้เเก่กลุ่มของกรรมบท 10 ของส่วนที่เรียกว่า กาย 3 อันได้เเก่ การไม่ฆ่าสัตว์ การไม่ลักทรัพย์ การไม่ประพฤติผิดในกาม

    สมเด็จ - สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตั้งใจในการประกอบอาชีพหาเลี้ยงตัวเองด้วยความสุจริตโดยไม่ประพฤติละเมิดศีล 5

    สมเด็จ - พ่อสอนไว้ ไม่ใช่สักเเต่ว่าฟังพ่อสอน ให้นำเอาไปคิดไปปฎิบัติด้วย อยากฝึกกรรมฐานให้สำเร็จใช้ความอยากตัวเดียวนำพาไปไม่ได้ อยากเเล้วต้องนำไปปฏิบัติด้วย ศีล กรรมบท 10 มรรค 8 ควรนำไปท่องจำให้ได้เพื่อใช้ในการปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้าเป็นไปเพื่อการละกิเลสเเละมุ่งสู่พระนิพพาน

    ฝน - ค่ะ

    ----------------------------------------------------

    ใช้ปัญญาพิจารณาด้วยนะคะ อย่าสักเเต่ว่าเชื่อฝน

    ถึงเเม้ข้าพเจ้าจะใช้สมาธิน้อยนิดในการเขียนเรื่องราวนี้ หากเเต่ยังมีความดีอยู่บ้างขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้กับ ร.ต.อ. ธรณิศ ศรีสุข ร.ต.ต. กฤตติกุล บุญลือ รวมทั้ง พระภิกษุสงฆ์ ทหาร ตชด อาสาสมัครเเละชาวบ้านที่เสียชีวิตทั้งหมดจากความไม่สงบที่เกิดขึ้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2009
  13. Me, myself

    Me, myself บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโมทนากับน้องฝนด้วยนะคะ สำหรับคำสอนของสมเด็จองค์ปฐมท่าน
     
  14. Me, myself

    Me, myself บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    เมื่อคืนฝันไปว่าได้เข้าเฝ้าพระศาสดา แล้วก็ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ท่านทรงสอนธรรมะให้ฟังเรื่องการให้ธรรมะเป็นทาน และพระองค์ก็ทรงให้กำลังใจในการทำดีต่อไป รู้สึกเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ดิฉันอย่างมากเลย ฝันดีจริงๆเลย ขอให้พระองค์จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนานด้วยเทอญ สาธุ
     
  15. nahathai

    nahathai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2009
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +2,393
    คุณฝนกลับมาแล้ว คุ้มค่ากับการรอคอยจริงๆ มาพร้อมกับของดีวิเศษสุดๆ กราบอนุโมทนาสาธุ กับคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม ที่คุณฝนนำมา
    กราบอนุโมทนากับบุญบารมี ของอาจารย์me/myself ที่ไม่ว่าจะหันไปทางทิศใด โดยเฉพาะทิศเบื้องบนทุกที่จะประทานพร ให้อาจารย์ทุกทิศ สาธุ ค่ะ ขอบุญรักษาอาจารย์ตลอดไป
     
  16. akp07

    akp07 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2008
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +1,548
    ขออนุโมทนากับคุณฝนด้วยครับ สำหรับคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม และอนุโมทนากับพี่สาว พี่อ้อย และกัลยานมิตรทุกท่านที่ได้ให้ธรรมทาน ทำให้มีความเข้าใจในธรรมะของพระุ่พุทธเจ้ามากยิ่งขึ้นครับ สาธุ
     
  17. Sailomsuksikee

    Sailomsuksikee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +573
    ขออนุโมทนากับคุณฝนที่นำคำสอนของสมเด็จอมค์ปฐมมาถ่ายทอดให้พวกเราได้นำไปปฏิบัติ
     
  18. konkangwad

    konkangwad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    483
    ค่าพลัง:
    +5,910
    อนุโมทนากับน้องฝนด้วยครับ กลับมาแล้วยังมีของดีมาฝากด้วยสาธุจ้า
     
  19. malee123

    malee123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2008
    โพสต์:
    484
    ค่าพลัง:
    +2,843
    ขอขอบพระคุณน้องสาวเป็นอย่างสูง สาธุค่ะกับธรรมทานอันสูงส่ง
    ถ้าน้องสาวความรู้เท่าหางอึงแล้วละก็ ความรู้ของพี่ก็เท่ากับฝุ่นละออง
    ในอากาศคือมองไม่เห็นด้วยซ้ำ

    พี่ยังไม่เคยพิจารณาอริยสัจ 4 เลย ครั้งนี้เป็นครั้งแรก พอจะอาศัยความจำ
    ได้บ้างเมื่อสมัยเรียนหนังสือค่ะ ต่อไปจะค่อย ๆ พิจารณาบ่อย ๆ เท่าที่
    สติปัญญาจะอำนวย เมื่อกี้ได้อ่านโพสหน้าสุดท้ายเป็นเรื่องอริยสัจ 4 ของ
    น้องฝน โชคดีจริง ๆ เลยค่ะ ทำให้เข้าใจมากขึ้น เหมือนธรรมะจัดสรร
    คือช่วงจังหวะเวลาสอดคล้องกันพอดี ขอบพระคุณน้อสาวและน้องฝนอีกครั้งค่ะ
     
  20. ปฏิสัมภิทัปปัตโต

    ปฏิสัมภิทัปปัตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    375
    ค่าพลัง:
    +1,326
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการสมเด็จองค์ปฐมด้วยเศียรเกล้า _/\_ _/\__/\_

    ไม่มีบุญพอที่จะกราบพระองค์ท่านด้วยตนเอง ขอกราบพระองค์ท่านผ่านทางพี่สาว น้องฝน น้องอ้อย นะคะ

    และขอขอบคุณทั้งพี่สาว น้องอ้อย น้องฝน ที่นำธรรมะของสมเด็จฯ และพระศาสดามาถ่ายทอดอยู่เสมอ ๆ ขอให้ทุกท่านมีความเจริญในธรรมอย่างต่อเนื่อง ความปรารถนาใด ๆ ของทุกท่านที่เป็นกุศลขอให้สำเร็จโดยง่ายทุกเมื่อ _/\_
     

แชร์หน้านี้

Loading...