พระสงฆ์ทั่ว กทม.จัดงานสวดมนต์ให้ประเทศ ปลายเดือนนี้

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 19 เมษายน 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    <TABLE height=34 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-LEFT: 10px">พระสงฆ์ทั่ว กทม.จัดงานสวดมนต์ให้ประเทศ ปลายเดือนนี้

    [๑๙ เม.ย. 52 - 02:53]


    [​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    พระครูวรสังขกิจ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเศวตฉัตรวรวิหาร กล่าววานนี้ (18 เม.ย.) ว่า พระภิกษุของวัดในเขตกรุงเทพฯ ทั้ง 50 เขต รวมกว่า 300 วัด จะจัดงานสวดเจริญพระพุทธมนต์ ที่วัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษฎิ์ ย่านท่าพระจันทร์ ในวันที่ 21 เม.ย.นี้ เริ่มตั้งแต่เวลา 17.00 น.เป็นต้นไป เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคล ให้กับประเทศ




    ทั้งนี้ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเศวตฉัตรวรวิหารจึงขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกคน ร่วมเป็นเจ้าภาพ และร่วมสวดเจริญพระพุทธมนต์ ในงานดังกล่าว รวมถึงร่วมทำบุญให้กับ รพ.สงฆ์ เพื่อช่วยเหลือพระภิกษุที่อาพาธ

    -----------------
    ไทยรัฐออนไลน์
    http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=133562
    <O:p
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. natthaya

    natthaya สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +20
    อนุโมทนาค่ะ
    เพื่อประเทศชาติ จะได้ร่มเย็น และสงบ สามัคคี
     
  3. SOMDEJ

    SOMDEJ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    611
    ค่าพลัง:
    +353
    อนุโมทนาบุญพระคุณเจ้า
    ขอให้พี่น้องไทยรักกันอย่างญาติมิตร
    ขอเริ่มจากหมู่เราก่อนเลยนะ
     
  4. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471

    ความหมาย และอานิสงส์ที่ได้จาก
    การเจริญพระพุทธมนต์หรือสวดมงคลสูตรพระปริตร
    จัดว่าวิธีการฝึกหัดทำสมาธิได้อย่างดีประการหนึ่ง
    <O:p</O:p

    <O:p</O:p
    การเจริญพระพุทธมนต์ เป็นธรรมเนียมแบบปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา มีนัยเป็นอนุสติทบทวนหลักพระธรรมคำสั่งสอน คือพุทธวัจนะ เสมือนได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ผ่านการกำหนดให้มีการสวดมนต์ภาวนาไหว้พระทำวัตรเช้า และทำวัตรเย็น เฉพาะผู้ที่มีโอกาสน้อยไม่สามารถจะบำเพ็ญวัตรได้บริบูรณ์ในชั่วระยะวันหนึ่งคืนหนึ่ง จะเป็นเวลาใดก็แล้วแต่โอกาสเหมาะ จงพยายามสวดมนต์ให้ได้สักครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการฝึกหัดทำจิตของเราให้เป็นสมาธิเป็นประจำ เพื่อเป็นการสร้างกุศลอันประเสริฐให้ตนเอง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การเจริญพระพุทธมนต์นั้น ควรมีดอกไม้ธูปเทียนบูชา ถ้าหากไม่มีก็พึงเอามือสิบนิ้วและปากกับใจของเราเป็นเครื่องบูชา โน้มน้าวเอากระแสสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ๓ ประการ คือ
    <O:p</O:p
    ๑.กระแสของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์<O:p</O:p
    ๒. กระแสพระคุณของมารดา บิดา<O:p</O:p
    ๓.กระแสพระคุณของครูบาอาจารย์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๓ ประการนี้ ให้มาช่วยอุปถัมภ์เกิดสมาธิให้บังเกิด และพึงปฏิบัติให้ได้เป็นนิจ การทำสมาธินั้น คือ การตั้งจิตมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ที่เรียกว่า เอกัคตารมณ์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มีพระบรมพุทโธวาทว่า สะมาธิง ภิกขะเว ภาเวถะ สะมาหิโต ยะถาภูตัง ปะชานาติความว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงยังสมาธิให้เกิด ชนผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริงอำนาจจิตที่เป็นสมาธิ เป็นอำนาจจิตที่มีพลานุภาพมาก เพราะได้รับการฝึกฝนมาดีแล้ว ย่อมมีอำนาจที่จะทำให้สิ่งซึ่งเราจะมองไม่เห็นได้ด้วยตาปกติ ให้บังเกิดขึ้นได้
    <O:p
    โลกปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีความมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากกว่าในอดีตกาลก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ก็จัดอยู่ในแง่ของวัตถุนิยม จนกลายเป็นความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อทางวัตถุ ที่ให้ความหมายอันฉาบฉวยแก่ชีวิตมากกว่าจะเป็นสิ่งพัฒนาชีวิตมนุษย์อย่างแท้จริง และในกระแสวัตถุนิยมที่กำลังเชี่ยวกรากอยู่นี้ จิตใจส่วนลึกภายในของมนุษย์เราก็ใช่ว่าจะหยุดนิ่งมันยังคงดำเนินไปเพื่อแสดงหาคุณค่าความดีงามอันมีอยู่ในคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างไม่ลดละ
    <O:p</O:p
    บ่อยครั้งที่มนุษย์เราตระหนักว่า เมื่อมนุษย์เราเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาหรือประกอบพิธีกรรมเองก็ตาม แม้ว่าจะทำในระยะเวลาอันสั้น เช่น สวดมนต์ได้สองสามบท หรือรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย คุณมารดาบิดา คุณครูบาอาจารย์ก่อนนอนเป็นต้น จะทำให้เรามีความรู้สึกมั่นคงทางจิตใจ มีกำลังใจเข้มแข็งพร้อมที่จะต่อสู้กับอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างดี<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2009
  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    การเจริญพระพุทธมนต์ก็ดี การฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ก็ดี ก่อนอื่นเราควรทราบก่อนว่าสวดมนต์อะไร? ของใคร? เพื่ออะไร? เพราะว่าเมื่อเราทราบชัดแล้ว จะเป็นงานที่เราทำด้วยความรู้ ความเข้าใจ ไม่ใช่ทำโดยไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือทำตามเขาทำกัน เพราะการทำอะไร ได้ความรู้เป็นความสบายใจ รู้สึกเป็นสุขในขณะที่ทำ และทำแล้วก็เบิกบานแช่มชื่นใจ

    <O:p</O:pพระพุทธมนต์แต่ละบทที่เราได้สวดนั้น แต่ละบทหรือแต่ละตัวอักษรล้วนเป็นวิทยาคุณของท่านผู้ทรงคุณควรแก่การคารวะ และพระพุทธมนต์ที่เรานิยมสวดกันนั้น ส่วนมากเป็นมนต์ของพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้า ที่นิยมเรียนกันว่า พระพุทธมนต์ เป็นคำสอนอันเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ดังนั้นในการเจริญพระพุทธมนต์ทุกครั้ง ก็เท่ากับว่าเราได้ทำการท่องบ่นคำสอนอันเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อให้จำได้ และนำไปคิดพิจารณา จะได้เกิดปัญญาในเรื่องนั้น ๆ ไม่ใช่เจริญพระพุทธมนต์เพื่อให้เกิดความขลัง หรือเพื่อเรื่องที่จะทำให้เราเป็นไปโดยความขลังเพียงอย่างเดียว และในการเจริญพระพุทธมนต์นั้น เวลาสวดควรสวดให้มีจังหวะอย่าเร็วเกินไป พยายามสวดให้มีวรรคตอนพอดี ๆ จะให้เกิดความสบายใจ ในขณะที่สวดก็คงจะคิดไม่ทันถึงความหมายของถ้อยคำที่เราสวด แต่ว่าเราสวดเพื่อให้จำได้ก่อน เมื่อจำได้แล้ว ก็เอาไปพิจารณาในตอนหลังถึงความหมายของบทสวดมนต์แต่ละบท ก็จะเกิดความเข้าใจขึ้นเอง

    <O:p</O:pอนึ่ง สำหรับพุทธศาสนิกชน การเจริญพระพุทธมนต์นี้เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถจะน้อมนำกำลังแห่งศรัทธาและปัญญามาสู่ชีวิต เพราะการสวดมนต์นอกจากจะเป็นการรำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยอันเป็นที่พึ่งที่นับถือสูงสุดในชีวิตแล้ว ยังเป็นการท่องบ่นพระธรรมคำสอน เพื่อจดจำนำไปพิจารณาประพฤติปฏิบัติให้เกิดปัญญาอีกด้วย และในการท่องบ่นมนต์นั้น เพราะอักขระทุกตัวมีความหมาย จึงสมควรต้อง

    <O:p</O:p
    ท่องให้ช้ำ (ท่องบ่อย ๆ จนสามารถจดจำและเข้าใจได้) <O:p</O:p
    ท่องให้ชัด (อักขระต้องชัดเจนถูกต้อง) <O:p</O:p
    ท่องให้ชิน (กระทำเป็นประจำจนเกิดเป็นความเคยชิน) <O:p</O:p
    <O:p

    ยิ่งการสวดมนต์โดยทราบความหมายและความเป็นมาด้วยแล้ว ย่อมทำให้ได้รับประโยชน์อย่างน้อยที่สุด ๒ ประการ คือ

    <O:p</O:p
    ๑. เป็นการสร้างพลังแห่งศรัทธาความเชื่อมั่น เลื่อมใสในพระคุณรัตนตรัย ซึ่งเราทราบจากความหมายหรือคำแปลโดยย่อว่า

    <O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และทรงเปิดเผยสัจธรรมแก่มวลมนุษย์

    <O:p</O:p
    พระธรรม ทำให้เราเข้าใจโลกและชีวิตได้อย่างแท้จริง

    <O:p</O:p
    พระสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตามพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ และทรงจำสืบทอดต่อกันมามิให้สูญหาย
    <O:p</O:p
    การตระหนักในคุณของพระรัตนตรัยดังกล่าวจะทำให้ชีวิตเรามีพลังที่เกิดจากแรงศรัทธา ซึ่งทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สัทธาพละ อันสามารถขจัดความหดหู่ ท้อแท้และสิ้นหวังในชีวิต และช่วยเติมความกระตือรือร้นในการดำเนินชีวิต หรือเติมไฟในชีวิตให้คุกกรุ่นอยู่เสมอ ยังผลให้เรามีชีวิตชีวาและดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่ามากขึ้น
    <O:p</O:p
    <O:p
    ๒. เป็นการสร้างสรรค์พลังทางปัญญา ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าปัญญาพละเพราะการท่องบ่นสัจธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ในบทสวดมนต์ต่าง ๆ นั้น ทำให้เรารู้และจดจำธรรมะข้อนั้น ๆ นำไปพิจารณาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เห็นจริงตามความหมายของบทสวดมากขึ้นตามลำดับ กระบวนการดังกล่าวเป็นการพัฒนาปัญญาทางธรรมให้เกิดขึ้นในตน เมื่อมีปัญญาเช่นนี้แล้ว ย่อมสามารถขจัดอุปสรรค และปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น

    <O:p</O:p
    ประโยชน์ทั้งสองประการดังกล่าว นับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต อุปมาเหมือนร่างกายต้องการพลังงานจากอาหารมาหล่อเลี้ยงให้ดำรงอยู่ได้ ชีวิตภายในคือจิตใจก็ต้องการพลังจากศรัทธาและปัญญามาหล่อเลี้ยงให้เข้มแข็งเช่นกัน และด้วยเหตุผลดังกล่าวการสวดมนต์หรือการเจริญพระพุทธมนต์ และ การนำเอาความหมายของบทสวดมนต์มาพิจารณาเนือง ๆ นับเป็นสิ่งที่ขาดมิได้สำหรับชีวิต หากขาดไปแสดงว่าท่านให้ความหมายของดำเนินชีวิต โดยมองข้ามสิ่งสำคัญที่สุดไปอย่างน่าเสียดาย

    <O:p</O:p
    <O:p
    ความศรัทธา ในสิ่งที่ดีงาม จะเป็นแรงผลักดันให้มีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าและ ปัญญา จะเป็นสิ่งที่จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิตอย่างถูกต้อง การสวดมนต์โดยรู้ความหมายและความเป็นมา จึงนับว่าเป็นวิธีหนึ่งที่จะเชื่อมโยงคุณค่าทั้ง ๒ อย่างมารวมอยู่ในชีวิตเรา ขอให้พุทธศาสนิกชนตระหนักถึงข้อความที่ปรากฏในวิมุตตายนสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๒๖ หน้า ๒๒ ว่าบางคนหมั่นสวดมนต์หรือสารทยายข้อธรรมที่ได้เรียนมา และขณะที่สวดมนต์ด้วยจิตเป็นสมาธินั้น เขาน้อมข้อธรรมมาปฏิบัติ จนบรรลุถึงความพ้นทุกข์ได้ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการสวดมนต์โดยรู้ความหมายหรือคำแปลนั้น สามารถปิดฉากความทุกข์ทั้งปวงในวัฏฏสงสารลงได้ด้วย


    การสวดมนต์ เป็นประเพณีที่สืบเนื่องกันมาช้านาน ของชาวพุทธในหลายประเทศ บทสวดมนต์เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงสั่งสอน เรา/ท่านทั้งหลาย ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้พุทธบริษัทสวดมนต์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือการสวดพระปริตร โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่ออบรมจิตด้วยการรำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ พร้อมทั้งการเจริญเมตตาจิตให้แก่สรรพสัตว์ เพื่อคุ้มครองตนเอง เช่น ในอาฏานาฏิยสูตร มีพระพุทธดำรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเรียนมนต์เพื่อการคุ้มครอง คืออาฏานาฏิยปริตร พวกเธอจงศึกษามนต์เพื่อการคุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตร พวกเธอจงทรงจำมนต์เพื่อการคุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนต์คุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตร ประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมเป็นไปเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่อความอยู่เป็นสุขของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
    <O:p</O:p

    และพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในพระสูตรขันธปริตรว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายตถาคตอนุญาตการแผ่เมตตาจิตให้แก่พญางูทั้งสี่ตระกูล คือพญางูตระกูลวิรูปักษ์ พญางูตระกูลเอราบถ พญางูตระกูลฉัพยาบุตร พญางูตระกูลกัณหาโคดม เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อกระทำการป้องกันตน <O:p</O:p
    <O:p
    ตัวอย่างข้างต้นนั้นจัดได้ว่าเป็นพื้นฐานของการเจริญเมตตา เพื่อน้อมจิตเข้าสู่การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน อันเป็นแก่นสารที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาต่อไป ดังคำพังเพยที่ว่า การสวดมนต์เป็นยาทา การเจริญภาวนาเป็นยากิน<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2009
  6. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ฉะนั้น การสวดมนต์จึงถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นอุบายวิธีที่ทำใจให้สงบได้ ดังนั้นเราไหว้พระทำวัตรสวดมนต์ให้เป็นกิจวัตรที่ชาวพุทธทุกท่านควรสั่งสมให้เป็นอาจิณ เพื่อเพิ่มพูนภาวนาบารมี และขัดเกลากิเลสให้ลดน้อยลงเท่าที่จะกระทำได้ ผู้ที่สวดมนต์เป็นนิตย์นั้นย่อมมีใจเบิกบาน ใบหน้าผ่องใส อดกลั้นต่ออารมณ์ไม่ปรารถนาได้ดี มีสง่าราศีเป็นที่เคารพนับถือของปวงชน และย่องถึงพร้อมความเป็นผู้ที่มีจิตใจมั่นคงสงบสุขุมเยือกเย็น ในแต่ละบทสวดมนต์พระปริตรนั้นโบราณาจารย์ได้แสดงมีอานิสงส์ เป็นสัพพะมงคลมากมายหลายประการ ขอยกตัวอย่างบทสวดพระปริตรที่มีอานิสงส์ต่อผู้สวด และผู้ฟังไว้เป็นตัวอย่างดังนี้

    ๑. บท เมตตะปริตรกะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง ฯลฯ เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิ มานะสัม ภาวะเย อะปะริมานังฯลฯ นะ หิ ชาตุคคัพภะเสยยะ ปุนะเรติ. เป็นบทที่ว่าด้วย การเจริญเมตตา และอานุภาพแห่งเมตตา เมตตามีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ทำให้บุคคลข้ามพ้นมิจฉาทิฐิ และเป็นหนทางนำไปสู่ความเป็นพระอริยบุคคลผู้หมดสิ้นกิเลสตัญหาในที่สุด โบราณาจารย์จึงสอนว่า ก่อนนอนให้สวดทำให้ผู้สวดและปฏิบัติตามนอนหลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย ภูติ ผี เทพพิทักษ์รักษา ไม่มีภยันตราย จิตเกิดสมาธิง่าย ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต และเกิดเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน บทกรณียเมตตสูตรนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พุทธาวุธคืออาวุธที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่พระสาวก พระพุทธองค์ท่านให้สวดเมื่อจำเป็นต้องเดินทางผ่านเทวสถาน ศาลเจ้าหรือเจ้าป่าเจ้าเขา ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นที่ทราบกันว่าเมื่อสวดบทนี้แล้ว เหล่าเทวดา เจ้าป่าเจ้าเขา จะไม่ทำอันตรายใด ๆ ด้วยเหตุดังกล่าว พระสงฆ์จึงสวดกรณียเมตตสูตรทุก ๆ ครั้ง ที่มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นสิ่งรักษาคุ้มครองพุทธศาสนิกชน และตักเตือนให้ปฏิบัติต่อกันด้วยเมตตา เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและผู้อื่นสืบไป.<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๒. บท ขันธะปริตรวิรูปักเขหิ เม เมตตัง ฯลฯ นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง เป็นบทที่ว่าด้วย มนต์สำหรับป้องกันตัวกล่าวถึงวิธีปฏิบัติดีต่อสัตว์ร้ายนานาชนิด โดยการประสานมิตรไมตรีให้เกิดขึ้นระหว่างคนกับสัตว์ และน้อมเอาคุณพระรัตนตรัยไว้ในใจแล้วแผ่เมตตาไปให้ ไม่สนับสนุนการเบียดเบียนกันทุกวิถีทางโดยนัยนี้ อานุภาพของเมตตาจึงมีอานิสงส์ป้องกันภัยอันตรายจากอสรพิษร้าย และสัตว์ร้ายอื่น ๆ เพราะอานุภาพของเมตตาจะปกป้องผู้ที่มีเมตตาเองโดยอัตโนมัต.

    ๓. บท โมระปริตรสวดเวลาเช้าอุเทตะยัน จักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ฯลฯ อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา. สวดก่อนนอน อะเปตะยัง จักขุมา เอกะราชา ฯลฯ อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยิ.’“ เรียกว่าพรหมมนต์ เป็นบทที่ว่าด้วย มนต์ของพญานกยูงทอง กล่าวถึงความเคารพนอบน้อมต่อพระอาทิตย์ที่ทอแสงมายังโลก มีส่วนก่อให้เกิดสรรพสิ่งขึ้น นอบน้อมต่อท่านผู้หยั่งรู้สรรพสิ่ง คือพระพุทธเจ้า และพระโพธิญาณ ตลอดถึงนอมน้อมต่อความหลุดพ้นอันเป็นธรรมสูงสุดด้วย ผู้มีความนอบน้อมต่อสิ่งสูงสุดดังกล่าว จะแคล้วคลาดปลอดภัยเสมอ จึงมีอานิสงส์ป้องกันภัยอันตรายจากผู้คิดร้าย แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง แม้ศัตรูมุ่งร้ายก็ไม่สามารถทำร้ายได้ จึงนิยมสวดเป็นประจำในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ทุกแห่ง ทั้งนี้เพื่อความสรรพสวัสดี เป็นสรรพสิริมงคล.<O:p</O:p

    ๔. บท อาฏานาฏิยะปริตรวิปัสสิสสะ จะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต ฯลฯ จัตตาโรธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง เป็นบทที่ว่าด้วย พระนครที่มีพระพุทธคุ้มครอง ได้กล่าวถึงการนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ๑ พระสิขีพุทธเจ้า ๑ พระเวสสภูพุทธเจ้า ๑ พระกกุสันธะพุทธเจ้า ๑ พระโกนาคมนะพุทธเจ้า ๑ พระกัสสปะพุทธเจ้า ๑ พระอังคีรสะ หรือพระสักยบุตรพุทธเจ้า ๑ ด้วยวาจาและใจ ทั้งในเวลานอน เวลานั่ง เวลายืน เวลาเดิน กล่าวถึงพระพุทธคุณ และอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง ผู้ที่ได้กราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นจะประสบแต่ความสุข ความเจริญทุกเมื่อถ้าหมั่นเจริญอยู่เป็นนิจ พวกยักษ์ ภูติ ผี ปีศาจไม่รบกวนและจะช่วยคุ้มครอง และมีอานิสงส์ป้องกันภัยอันตรายจากอมนุษย์ ทำให้สุขภาพดี และมีความสุขความเจริญ อำนาจแห่งพระปริตรบทนี้สามารถป้องกันอุปัทวันตรายทั้งปวง พระพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์จักคุ้มครองรักษาให้พ้นภัย ให้พ้นโรค ให้พ้นความเดือดร้อน หมดเวรหมดความจัญไร.

    บทว่านัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ฯลฯ โหตุ เต ชะยะมังคะลังบทนี้เป็นบทที่กล่าวสรรเสริญถึงพระรัตนตรัยว่า เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกโดยไม่มีสรณะอื่นที่ยิ่งไปกว่าคเป็นบทที่สวดประกาศเพื่อปฏิญญาณตนว่าเป็น พุทธมามกะ คือผู้น้อมรับเอาพระรัตนตรัยมาเป็นที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต ผู้สวดพระคาถาบทนี้อยู่เป็นนิจ จักบังเกิดชัยมงคลแก่ชีวิตตลอดไป<O:p.

    บทว่า ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก ฯลฯ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เตบทนี้เป็นบทที่สวดประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ในโลกนี้มีรัตนะมากมายหลายอย่าง แต่ไม่มีรัตนะใดเลยที่จะเสมอเทียบเท่ากับรัตนตรัย คือพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ ผู้สวดบูชาและปฏิบัติตามย่อมเกิดความงอกงามไพบูลย์ยิ่ง
    <O:p</O:p
    บทว่า สักกัต๎วา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง ฯลฯ โรคา วูปะสะเมนตุ เตบทนี้เป็นคาถาป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ เป็นพระคาถาที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทานให้เทพบุตรอุณหิสวิชัยได้เล่าบ่นพระคาถานี้ จึงได้มีอายุอยู่ในสวรรค์ต่อไป ผู้ใดหมั่นสวดพระคาถานี้จะระงับโรคภัยไข้เจ็บทั้งอายุก็จะยืนยาว ใช้เสกยากินแก้โรคได้ และหากสวดเจริญอยู่เป็นนิจ นอกจากจะปราศจากโรคภัยไข้เจ็บรบกวนแล้ว ยังแคล้วคลาดจากภัยต่าง ๆ เช่น ราชภัย โจรภัยเป็นต้น
    <O:p
    ๕. บท โพชฌังคปริตรโพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา วีริยัง ปีติ ปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร ฯลฯ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา เป็นบทที่ว่าด้วย ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้กล่าวถึงธรรม ๗ ประการ คือ<O:p</O:p
    สติ ความระลึกได้ ๑<O:p</O:p
    ธัมมวิจัย ความสอดส่องธรรม ๑ <O:p</O:p
    วิริยะ ความเพียร ๑ <O:p</O:p
    ปีติ ความเอิบอิ่ม ๑ <O:p</O:p
    ปัสสัทธิ ความสงบใจ ๑ <O:p</O:p
    สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๑ <O:p</O:p
    อุเบกขาความวางเฉย ๑ <O:p</O:p
    <O:p
    หากบุคคลได้บำเพ็ญธรรมเหล่านี้ให้เกิดมีขึ้นในตนได้ จะทำให้ดับกิเลสรู้แจ้งเห็นจริงได้ หรือบรรลุนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดทางจริยธรรม โพชฌังคปริตรบทนี้ เรียกอีกอย่างว่า มนต์โอสถ ผู้ที่เจริญมนต์หรือได้ฟังมนต์บทนี้ เช่นพระมหากัสสปะ เมื่อได้ฟังจบแล้วก็หายจากอาพาธ พระมหาโมคคัลลานะอาพาธหนัก สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปตรัสเทศนาโพชฌังคปริตร เหมือนกับที่แสดงแก่พระมหากัสสปะ เมื่อจบเทศนาพระมหาโมคคัลลานะก็มีใจดีขึ้น และหายจากโรคในทันที่ และ ครั้นเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประชวนหนัก เสวยทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส รับสั่งให้พระมหาจุนทะแสดงโพชฌังคปริตร ๗ เมื่อเมื่อพระมหาจุนทะแสดงโพชฌังคปริตรจบ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงหายจากประชวนในทันที มีอานุภาพในทางขจัดความเจ็บไข้ และเป็นมนต์ต่ออายุ จึงใช้สำหรับสวดต่ออายุให้คนเจ็บป่วยหรือใกล้จะตาย ญาติพี่น้องจะนิมนต์พระมาสวดโพชฌังคปริตรให้ฟัง เรียกกันว่า สวดต่อนามอานิสงส์หายเจ็บป่วยจากโรคภัย มีสุขภาพดี มีอายุยืน และพ้นจากอุปสรรคทั้งปวง.<O:p</O:p
     
  7. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 90%; mso-cellspacing: 0cm; mso-yfti-tbllook: 1184; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0cm; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent">
    ๖. บท ชะยะปริตร มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ฯลฯ ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ เป็นบทที่ว่าด้วย มนต์ทำให้เกิดชัยชนะมีอานิสงส์ทำให้ประสบชัยชนะ และมีความสุขสวัสดี มีสรรพมงคล.<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๗. บท รัตนะปริตร ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิฯลฯ ยัง กิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา ฯลฯ ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ.<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เป็นบทที่ว่าด้วย คุณค่าและอานุภาพแห่งรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ กล่าวถึงพระสูตรที่ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสเรียกหาพระอานนท์แล้วตรัสว่า อานนท์ เธอจงเรียนเอารตนสูตรนี้แล้วไปสวดในกำแพงเมือง ฝ่ายพระอานนท์เถระ เมื่อได้เรียนรตนสูตรจากสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วถือเอาบาตรน้ำมนต์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยืนอยู่ที่ประตูพระนครเมืองไพสาลีแล้วรำลึกถึงพระพุทธคุณ ต่อจากนั้นก็เที่ยวประพรมน้ำมนต์ไปทั่วพระนคร เมื่อคราวประสบวิกฤตการณ์ภัยพิบัติ ๓ ประการ คือ

    ภัยเกิดจากโรคระบาด ๑
    ภัยเกิดจากอมนุษย์ ๑
    ภัยเกิดจากความฝืดเคืองเรื่องอาหาร ๑

    พระอานนท์เถรเจ้าที่ได้เรียนรตนสูตรจากสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตั้งใจสวดเมื่อสวดจบ และประพรมน้ำมนต์ไปทั่วพระนคร น้ำมนต์ที่พระอานนท์สาดไปนั้น ทำให้ภัยทั้ง ๓ ประการในเมืองไพสาลีอันตรธานไปอย่างรวดเร็ว พวกมนุษย์ที่กำลังเจ็บไข้ ในทันใดนั้นโรคก็หายไปสิ้น <O:p</O:p
    <O:p
    รตนสูตร นี้มีเนื้อหาที่พรรณนาถึงคุณของพระรัตนตรัยทั้งหมด คือ
    <O:p</O:p
    พุทธรัตนะ อันเป็นรัตนะประเสริฐที่สุด เพราะไม่มีผู้เปรียบเทียบพระองค์ได้ในเรื่องคุณธรรมคือ ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะยากยิ่งนักที่จะบังเกิดในโลก ความเป็นพุทธะนั้นต้องต้องใช้เวลาบำเพ็ญบารมีตลอดอสงไขยกัป <O:p</O:p
    ธรรมรัตนะ เป็นรัตนะประเสริฐสุด เพราะพระธรรมเป็นที่สิ้นกิเลสปราศจากราคะ <O:p</O:p
    สังฆรัตนะ เป็นรัตนะประเสริฐสุด เพราะพระสงฆ์เป็นผู้รู้แจ้งธรรมตามพระพุทธเจ้า และเป็นบุญเขตที่ให้ทักษิณาทานมีผลมากแก่บุคคลผู้ถวาย <O:p</O:p


    พระรัตนตรัยซึ่งเป็นที่พึ่งทางใจอันเกษม และเน้นคุณธรรมที่สามารถน้อมมารำลึกถึงและปฏิบัติตามได้ คือลดละกิเลสตัญหาให้จงคลายหายไปโดยลำดับ โดยนำเอาพระคุณที่อยู่ในพระรัตนตรัยมาเป็นแนวทาง และเป้าหมายในการปฏิบัติ เช่น สมาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้าและการดำเนินชีวิตของพระสงฆ์ที่สงบเรียบง่าย ไม่มีบาปให้ปกปิด บทรตนสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า ชีวิตที่มีคุณค่าตามหลักพระพุทธศาสนานั้นต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยมีสาระอยู่ที่ดับความเห็นแก่ตัวลงโดยลำดับจนหมดสิ้น ได้มาเปล่าโดยไม่ต้องซื้อหา ดังข้อความในรตนสูตรว่า ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา นิพพานได้มาเปล่าไม่ต้องซื้อ บทรัตนสูตรนี้ มีคำสวดขึ้นต้นว่า ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตา...เป็นต้น พระสูตรนี้ เป็นสูตรที่แสดงอานุภาพของพระรัตนตรัยโดยตรง เมื่อเทวดาและมนุษย์รู้คุณค่าของพระรัตนตรัย ยอมรับนับถือบูชาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกแล้ว ย่อมก่อให้เกิดพลังใจในการต่อสู้ฟันฝ่าเพื่อชัยชนะต่ออุปสรรค ปัญหา ตลอดภัยทั้งปวงได้ <O:p</O:p


    รตนสูตรนี้ ใน ส่วนของคำสอน เมื่อพระพุทธองค์รับคำทูลเชิญและเสด็จไปเมืองไพสาลี ถือว่าเป็นการให้กำลังใจประชาชนต่อสู่กับวิกฤตการณ์เลวร้าย นับเป็นการสอนให้ประชาชนปลูกศรัทธาเชื่อมั่นในสิ่งดีงามและมีศรัทธาในการปฏิบัติธรรม มุ่งมั่นนำเอาวิริยะอุตสาหะมาใช้ต่อสู่กับสถานการณ์ที่เลวร้าย และสอนให้ชาวเมือง ได้เสียสละความสุขเล็กน้อยของตน เพื่อความสุขอันไพบูลย์ หรือสละความสุขเล็กน้อยของตน เพื่อความสุขของส่วนรวม จนทำให้เมืองไพสาลีฟื้นกลับคืนสู่สภาพเดิม
    <O:p</O:p
    รตนสูตรนี้ ปัจจุบันเรียกกันว่า สูตรน้ำมนต์เพราะถ้าจะทำน้ำพุทธมนต์จะขาดบทนี้ไม่ได้ บางตำรากล่าวว่านิยมให้พระเถระหยอดหยดเทียนน้ำมนต์ในพระสูตรนี้ และเมื่อจะดับเทียนน้ำพุทธมนต์ก็ให้ดับในท้ายสูตรนี้ ดังนั้นในการเจริญพระพุทธมนต์ทุกครั้งจึงขาดบทนี้ไม่ได้ เพราะเป็นบทกล่าวถึงคุณพระรัตนตรัย และมีประวัติความเป็นมาที่แสดงให้เห็นว่า รตนสูตรนี้เป็นที่พึ่งแก่ประชาชนยามเมื่อมีสถานการณ์ที่เลวร้าย ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมจึงมีอานิสงส์ให้ได้รับความสวัสดี และพ้นจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง อนึ่งพระรตนสูตรนี้ถือว่าเป็นเครื่องปัดเป่าอุปัทวันตรายให้หมดสิ้นไป.
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๘. บท วัฏฏะกะปริตรอัตถิ โลเก สีละ คุโณ สัจจัง โสเจยยนุททะยา ฯลฯ สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมี.เป็นบทที่ว่าด้วย มนต์สำหรับป้องกันไฟของพญานกคุ้มคือ เมื่อพระมหาสัตว์ผู้บำเพ็ญโพธสมภาร ครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพญานกคุ้ม ๆ ได้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าในอดีต ระลึกถึงพระธรรมคุณ ตั้งจิตอธิษฐานขอให้ไฟป่ามอดดับ ซึ่งพระปริตรบทนี้พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสแสดงแก่พระสารีบุตรเถระว่า มีเดชามาก ตั้งอยู่ชั่วกัป วัฏฏกปริตรนี้ นิยมให้สวดในงานขึ้นบ้านใหม่ เปิดสถานที่ทำงานใหม่ เปิดโรงงาน เปิดฟาร์มใหม่ เปิดร้านใหม่ ถือว่ามีอานิสงส์ทำให้พ้นจากอัคคีภัย เป็นมงคลป้องกันอัคคีภัย นอกจากนี้ยังเป็นมนต์ที่มีผู้นิยมนำไปลงเป็นผ้ายันต์ จนเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะยันต์กันไฟ คือ ยันต์นกคุ้ม.
    <O:p</O:p
    ๙. บท มังคะละสุตตังเอวัม เม สุตัง ฯลฯ อะเสวะนา จะ พาลานัง ฯลฯ สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตัง เตสัง มังคะละมุตตะมัง. เป็นบทที่ว่าด้วย เหตุที่ให้เกิดสิริมงคลกล่าวถึงมงคลชีวิต ๓๘ ประการ ซึ่งทุกข้อถือว่าเป็นมงคลสูงสุดในชีวิต ทั้งนี้เพราะชีวิตมีหลายช่วงหลายจังหวะแตกต่างกันไป ทำให้ทราบแนวทางดำเนินชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา และทำให้ทุกก้าวย่างของชีวิตมั่นคง วิถีชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา เมื่อแยกโดยเป้าหมายแล้วมีสองระดับ คือระดับโลกิยะ และระดับโลกุตตระ มงคลชีวิต ๓๘ ประการ เป็นเหมือนแผนที่ชี้ทางไปสู่เป้าหมายของชีวิต ทั้งสองระดับโดยมีข้อปฏิบัติอย่างกลมกลื่น สอดคล้องและเกื้อกูลกันโดยลำดับ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มังคะละสูตร บทนี้ มหาชนในชมพูทวีปทั้งชายหญิง ครั้งหนึ่งคุยกันถึงเรื่องมงคลก็เกิดปัญหาขึ้นในที่ประชุมว่า อะไรเป็นมงคล? ใครรู้จักมงคล? ถกเถียงกันจนไม่สามารถตกลงกันได้ว่าแน่ว่า อะไรเป็นมงคล? เถียงกันไปเถียงกันมาไม่สิ้นสุด จนทำให้การคิดมงคลกระจายไปจนถึงชั้นพรหมอกนิฏฐภพ กระทั้งในหมื่นจักรวาลแต่ก็ยังไม่ได้ตัดสินเด็ดขาดว่า นี้เท่านั้นนะ เป็นมงคล จนเวลาล่วงเลยมาถึง ๑๒ ปี พวกเทวดาจึงพากันเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร กราบทูลถามถึงเรื่องมงคล พระองค์จึงตรัสมงคลสูตรนี้ว่าด้วยสิ่งที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ ๆ นี้เป็นมงคลสูงสุด ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในมงคลสูตรทั้งเทวดาและมหาชนเมื่อได้ฟังดังนั้นก็หายสงสัย
    <O:p</O:p
    ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ทุกครั้งจำเป็นต้องสวดบทมงคลสูตรนี้ เพื่อให้ประชาชนทราบแนวทางการดำเนินชีวิต ตามคำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นการย้ำเตือนให้ระลึกถึงการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องแก่ประชาชน กล่าวได้ว่า มงคลสูตรนอกจากจะให้ผลในแง่ของกำลังใจแล้ว ยังให้ผลที่เป็นมงคลยิ่งขึ้น หากนำหลักที่แปลไว้ในมงคลสูตรไปปฏิบัติในชีวิตจริงอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น มงคลสูตรจึงถือว่าเป็นสูตรหนึ่งที่ทำให้การเจริญพระพุทธมนต์มีคุณค่ามากขึ้น มีอานิสงส์ทำให้เกิดสิริมงคลกับชีวิต และปราศจากอันตราย.<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๑๐. บท ธะชัคคะปริตรเอวัม เม สุตังฯลฯ เอวัง พุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหัง นะ เหสสะติ. เป็นบทที่ว่าด้วย ยอดธงคืออานุภาพของพระรัตนตรัยที่สามารถระงับความสะดุ้งหวาดกลัวลงได้ และมีอานุภาพยิ่งกว่าที่พึ่งอื่นใดในโลก ผู้มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งจะสามารถปฏิบัติกิจต่าง ๆ ของตนให้สำเร็จลุล่วงได้โดยสวัสดี มีอานิสงส์ทำให้ผู้สวดระลึกถึงพระปริตร ทำให้สัพพะสัตว์รอดพ้นจากข่าย คืออันตรายทั้งปวง ที่เกิดจากพวกอมนุษย์ ยักษ์ โจร และสัพพะศัตรู พ้นจากอุปสรรคอันตราย และการตกจากที่สูง ผู้ที่เบียดเบียนจากตำแหน่งหน้าที่การงานพึ่งสวดเป็นประจำ

    พระสูตรธะชัคคะปริตร นี้ มีเนื้อหามาก ปัจจุบันเวลาเจริญพระพุทธมนต์ทำบุญบ้าน เป็นต้น ไม่นิยมสวดเต็มสูตร ตัดสวดเฉพาะบทพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ส่วนการสวดเต็มสูตร นิยมสวดเฉพาะในวัด ในเวลาเข้าพรรษา ซึ่งนิยมเวียนสวดพระสูตรที่มีเนื้อหามากสลับกันไปหลังทำวัตรเช้าเย็น ทั้งเพราะมีเวลามาก อนึ่ง พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารีเถระ) กล่าวไว้ว่า ตามประเพณีไทยที่มีการแสดงพระสวดเคยสวด ธชัคคปริตร ธชัคคสูตร ซึ่งแปลว่า สูตรยอดธงหรือชายธง ในสมัยเมื่อมีการสาบานธงหรือฉลองธงประจำกอง ที่ได้รับพระราชทานใหม่ มนต์บทนี้เมื่อสวดแล้วถือกันว่ากำจัดความกลัว ความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าให้หายไปได้อย่างดีนักแล.
    <O:p</O:p
    ๑๑. บท อังคุลิมาละปริตรยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต, นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา. เตนะ สัจเจน โสตถิ เต โหตุ, โสตถิ คัพภัสสะ.เป็นบทที่ว่าด้วยมนต์ของพระองคุลิมาลเถระ กล่าวถึงอานุภาพของพระปริตร ที่พระองคุลิมาลเถระตั้งสัจจาธิษฐานกล่าวแก่หญิงมีครรภ์คนหนึ่ง ทำให้เธอคลอดบุตรได้โดยง่ายและปลอดภัย มีอานิสงส์ทำให้คลอดบุตรง่าย และป้องกันอุปสรรคอันตราย บันดาลให้อันตรายทั้งปวงหายไปได้ นิยมสวดพร้อมกับบทโพชฌังคปริตร. <O:p</O:p
    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 1"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0cm; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent"></TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 2; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0cm; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent">
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มาข้อมูล http://www.oknation.net/blog/wisutthirangsee<O:p></O:p>
     
  8. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
  9. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 2 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>เฮียปอ ตำมะลัง*, บุษบากาญจ์+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สวัสดีครับ คุณบุษ ฯ


    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ . . . ขอบคุณครับ คุณบุญญสิกขา
     
  10. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    เริ่มเย็นวันนี้แล้วนะซิ ดูเวลาแล้วไปไม่ได้จริง ๆ ขอส่งใจไปร่วมสวดด้วยคน และอนุโมทนากับกัลยาณมิตรทุกท่านที่ได้ไปร่วมพิธีในครั้งนี้ค่ะ
     
  11. Pajaree Newlove

    Pajaree Newlove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +183
    ขออนุโมทนาค่ะ....โลกจะน่าอยู่ถ้าทุกท่านรักและเอื้อเฟื้อช่วยเหลือและหวังดีต่อกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...