"วัดศรีเกิด"ขาดงบสร้างกุฏิสงฆ์-ห้องน้ำ วอนเมตตาสาธุชน-บริจาคสมทบ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 26 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    "วัดศรีเกิด"ขาดงบสร้างกุฏิสงฆ์-ห้องน้ำ วอนเมตตาสาธุชน-บริจาคสมทบ




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    พระครูสุนทรขันติรัต



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระครูสุนทรขันติรัต รองเจ้าคณะอำเภอสันป่าตอง เจ้าอาวาสวัดศรีเกิด ถ.ราชดำเนิน ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า วัดศรีเกิด ตั้งอยู่ติดกับสถานีตำรวจอำเภอเมืองเชียงใหม่ และอยู่ตรงข้ามวัดทุงยูและอยู่ใกล้ๆ กับวัดพระสิงห์ เป็นวัดที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเชียงใหม่ โดยประวัติวัดศรีเกิด ตั้งอยู่กำแพงชั้นใน เป็นวัดโบราณแห่งหนึ่งในนครพิงค์ก่อนพญามังรายจะมาสร้างเวียงใหม่แห่งนี้ ที่สำคัญวัดศรีเกิดด้านในวิหารก็จะมีพระเจ้าแค่งคม ซึ่งประวัติกล่าวไว้ว่า ในปี พ.ศ.2027 พระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิพิลกราชาธิราช (พระเจ้าติโลกราช)
    กษัตริย์นครเชียงใหม่ล้านนา รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์มังราย ทรงมอบภาระให้สีหโคตเสนาบดีและมหาอำมาตย์หล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ โดยมีทองสัมฤทธิ์หนักประมาณสามสิบสามแสน (3,300,000) ประมาณ 3,960 ก.ก. ขนาดหน้าตักกว้าง 94 นิ้ว (2.39 เมตร) สูง 112 นิ้ว (2.85 เมตร)

    โดยมีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปแบบลวปุระ (ศิลปะแบบลพบุรี) หล่อที่วัดป่าตาลมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของนครเชียงใหม่ ครั้นหล่อเสร็จแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประมาณ 500 องค์ พร้อมกับพระพุทธรูปแก้วทองและเงิน จากหอพระธาตุส่วนพระองค์มาบรรจุไว้ในเศียรพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาเที่ยวชมจำนวนมาก

    นับเป็นวัดท่องเที่ยวอีกวัดหนึ่ง มีรายละเอียดของวัดให้ศึกษา วัดศรีเกิด สภาพโดยทั่วไปร่มรื่น ซึ่งขณะนี้ทางวัดได้ดำเนินการก่อสร้างกุฏิเพื่อรับรองนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติรวมทั้งพระสงฆ์ที่จะเดินทางมาทำบุญที่วัดจะได้มีสถานที่ประกอบพิธีต่างๆ โดยชั้นล่าง สามารถใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาต่างๆ ได้ ส่วนชั้นที่ 2 เป็นอาคารสถานที่พักผ่อนค้างคืนของพระภิกษุสามเณรที่เดินทางมาเยี่ยมเยียนวัดศรีเกิด

    พระครูสุนทรขันติรัต กล่าวต่อว่า กุฏิดังกล่าวตั้งเงินงบประมาณไว้ทั้งหมดประมาณ 2 ล้านบาท ก่อสร้างมาแล้วกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ยังขาดเงินงบประมาณที่จะต้องนำมาดำเนินการก่อสร้างต่ออีกประมาณ 3 แสนบาท งานก่อสร้างที่ค้างคือ การก่อสร้างห้องน้ำทั้งหมด และแท็งก์เก็บกักน้ำ, กันสาดและรางรินน้ำฝน และสีทาตึกทั้งหมด


    จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตกุศลทั้งชาวไทยและต่างชาติสมทบทุนในการทำบุญเพื่อสร้างกุฏิได้ที่วัด สามารถเดินทางมาติดต่อที่วัดโดยตรง หรือติดได้โทร.08-9852-2668 และ 0-5327-7147 โอนเงินเข้าบัญชีสมทบทุนได้ที่ธนาคารกรุงไทย สาขาพระสิงห์ บัญเลขที่ 540-1-05831-4 ชื่อบัญชี วัดศรีเกิด ทำบุญได้ตามจิตศรัทรา หากดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จจะทำบุญกุฏิได้ในเร็วๆ นี้



    ------------
    ที่มา: http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09TMHdNaTB5Tmc9PQ==
     
  2. Kotchaporn_p

    Kotchaporn_p Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +50
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%" background=themes/wat9cm/images/wat9cm_storypage_03.gif></TD><TD width="7%"></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD>ขอร่วมทำบุญและอนุโมทนาบุญด้วย ขออนุญาตเพิ่มเติมข้อมูลนะคะ</TD></TR><TR><TD width=5 background=themes/wat9cm/images/wat9cm_storypage_07.gif> </TD><TD bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%" background=themes/wat9cm/images/wat9cm_storypage_03.gif></TD><TD width="7%">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=5 background=themes/wat9cm/images/wat9cm_storypage_07.gif> </TD><TD bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="7%" align=right border=0><TBODY><TR><TD height=60>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    วัดศรีเกิด ตั้งอยู่ที่ ถ.ราชดำเนิน ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ติดกับสถานีตำรวจและอยู่ตรงข้ามวัดทุงยูและอยู่ใกล้ๆกับวัดพระสิงห์ เป็นวัดที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่


    [​IMG] [​IMG]
    ประวัติวัดศรีเกิด
    ตั้งอยู่กำแพงชั้นใน เป็นวัดโบราณแห่งหนึ่งในนครพิงค์ก่อนพญามังรายจะมาสร้างเวียงใหม่แห่งนี้ ตามปรากฏในคัมภีร์พื้นเมืองนครเชียงใหม่ว่า พญามังรายให้ข้าบริวารแผ้วถางป่างในบริเวณที่จะสร้างเวียง พบรูปกุมภัณฑ์เก่าแก่อยู่ในป่า (เชียงใหม่เป็นเมืองร้างมาแต่เดิม) ข้าบริวารบางหมู่จะทำลาย บางหมูก็นำเรื่องไปทูลพญามังราย แต่พญามังรายทรงห้ามไว้ แล้วจึงใช้อำมาตย์ท่านหนึ่ง นำเครื่องบรรณาการไปถวายพญาลั้วะ ที่บนดอยอุชุปัพพัตตะ เพื่อถามวิธีบูชาผีกุมภัณฑ์ พญาลั้วะก็บอกวิธีปฏิบัติ หลังจากนั้นพญามังรายก็ทำตาม สำหรับบริเวณที่ตั้งของวัดศรีเกิดแห่งนี้เป็นวัดมาก่อนหรือไม่นั้น ยังไม่พบหลักฐาน
    หลังจากที่พญามังรายสร้างเวียงเสร็จแล้ว ก็ได้รับยกย่องเท่ากับว่าเป็นเมืองหลวง บรรดาเมืองต่างๆก็เกรงเดชานุภาพ พากันนำเครื่องราชบรรณาการมาขอสวามิภักดิ์อันได้แก่ เมืองหงสาวดี เมืองอังวะ เมืองเชียงตุง เมืองเชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน เชียงของ เขลางค์ฯ ซึ่งทั้งหมดนี้เรียกว่า แคว้นลานนาไทย พญามังรายประทับอยู่เมืองนครพิงค์จนสวรรคต เมื่อปีกุน พ.ศ.1855 รวมพระชนมายุได้ 72 ปี จากนั้นก็มีเชื้อพระวงค์สืบสมบัติสันติวงศ์ตำรงต่อๆ กันมาดังนี้
    พระเจ้าคราม พระเจ้าแสนภู พ่อขุนน้ำท่วม พระเจ้าคำฟู พระเจ้าผายู พระเจ้ากือนา พระเจ้าแสนเมืองมา พระเจ้าสามฝั่งแกน พระยาติโลกราช พระยอดเชียงรายเสวยราชตั้งแต่ พ.ศ.2031 ปีมะแม ถึง พ.ศ.2039 พระเจ้าปนัดดาติโลกราช (พระเมืองแก้ว) เสวยราชตั้งแต่ พ.ศ.2040 - 2069 ปีมะโรง ในระหว่างนี้มีนักกวีแต่นิราศ หริภุญชัย ปรากฏชื่อวัดศรีเกิด ในบทที่ 12 ว่า

    ทุงยู สิริเกิดใกล้ ผาเกียร
    สามสีอาวาสเจียร จิ่มไหว้
    กุศลที่ทำเพียบ พบราช เดียวเอย
    มิใช่จงห้องได้ แต่พื้นนรา สาดล

    ตามที่ศาสตรจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร อธิบายว่าโครงนิราศหริภุญชัยแต่งขึ้นประมาณ พ.ศ.2025 - 2060 เป็นเอกสารแสดงว่า วัดศรีเกิดมีอายุนานหลายร้อยปี แต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าใครเป็นผู้สร้าง ในวัน เดือน ปีไหนและเมื่อไร
    [​IMG] [​IMG]
    ในส่วนด้านในวิหารก็จะมีพระเจ้าแค่งคม ซึงประวัติกล่าวไว้ว่า ในปี พ.ศ.2027 ปีเถาะ วันพุธ ขึ้น 3 ค่ำเดือน 8 พระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิพิลกราชาธิราช (พระเจ้าติโลกราช) กษัตริย์นครเชียงใหม่ล้านนา รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์มังราย ทรงมอบภาระให้สีหโคตเสนาบดีและมหาอำมาตหล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ โดยมีทองสัมฤทธิ์หนักประมาณสามสิบสามแสน (3,300,000) ประมาณ 3,960 กก.ขนาดหน้าตักกว้าง 94 นิ้ว (2.39 เมตร) สูง 112 นิ้ว (2.85 เมตร) โดยมีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปแบบลวปุระ (ศิลปะแบบลพบุรี) หล่อที่วัดป่าตาลมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของนครเชียงใหม่ ครั้นหล่อเสร็จแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประมาณ 500 องค์ พร้อมกับพระพุทธรูปแก้วทองและเงิน จากหอพระธาตุส่วนพระองค์มาบรรจุไว้ในเศียรพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้
    [​IMG] [​IMG]
    วัดป่าตาลมหาวิหารมีพระเถระชื่อธรรมทินนะเป็นเจ้าอาวาส เป็นเจ้าคณะและเป็นพระอุปัชญาย์ด้วย พระเจ้าธรรมจักรพรรดิพิกมลราชาธิราช ครองราชสมบัติได้ 45 ปี ก็สวรรคต ในปีมะแม รวมสิริอายะได้ 78 ปี
    พระเจ้าแค่งคมประดิษฐานอยู่ที่วัดป่าตาลมหาวิหารนานได้ 315 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ.2027 - 2342) ต่อมา พ.ศ.2342 ปีมะแม เดือน 3 ออก ขึ้น 7 ค่ำ วันพฤหัสบดี สมเด็จปวัตตสีหลวงมหาโพธิรุกขาพิชชาราม (ครูบานันทา) เจ้าอาวาสวัดศรีเกิด ร่วมกับสมเด็จเชษฐาบรมพิตราธิราช (หนานกาวิละ) ผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้นำน้ำมุทธาภิเษกว่า มหาสุริยวังกษัตราธิราชเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์ พระวงศานุวงศ์ ไพร่ฟ้าพลเมือง ได้อาราธนา (นิมนต์) พระเจ้าแค่งคม จากวัดร้างป่าตาลวรวิหาร นอกแจ่งกู่เมืองมาประดิษฐานไว้ในวิหาร วัดศรีเกิด ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน
    ความคมทั้ง 5 ที่ปรากฏในองค์ของพระเจ้าแค่งคม คือ พระโมลี พระนาสิก พระหนุกา พระณงและพรหัตถ์ มีผู้ให้ความหมายว่า หมายถึง เวสารัชชกรณธรรม คือธรรมที่ทำให้ความกล้าหาญ 5 อย่างคือ
    1.สัทธา คือ ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ โดยใช้สติปัญญาด้วยเหตุแห่งความเชื่อ ไม่เชื่อแบบงมงาย
    2.ศีล คือ การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ทำตนให้เป็นคนที่มีระเบียบวินัย
    3.พาหุสัจจะ คือ การพยายามศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเสมอและต้องรู้จริง
    4.วิริยะรัมภะ คือการมีความเพียร ความพยายามมุ่งมั่น ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคต่างๆ
    5. ปัญญา คือ การรอบรู้สิ่งที่ควรรู้ และวิทยาการอันเป็นประโยชน์แก่ตนเองอันจะพึงขวนขวาย โดยใช้สติปัญญาศึกษาให้รอบรู้อย่างแท้จริง
    ทั้งหมดนี้ หลวงพ่ออาจารย์พุทธทาส อธิบายว่า หัวข้อธรรมทั้ง 5 ข้อนี้ ปัญญาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
    [​IMG] [​IMG]
    ซึ่งภายในบริเวณวัด มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ต้องใช้ท่อเหล็กค้ำยันกิ่ง ก้าน สาขาของต้นโพธิ์ครับ ต้นโพธิ์ต้นนี้ก็มีประวัติบอกเล่าว่า เมื่อพญามังรายอยู่เวียงกุมกาม (ในเขตอำเภอสารภี) ยังมีพระมหาเถระเจ้าคณะหนึ่ง นำพระบรมธาตุพระพุทธเจ้ามาตั้งลังกาสิงหล ถวายแด่พญามังราย มีพุทธสารรีระธาตุสิบสององค์ พญามังรายบรรจุไว้ในพระเจดีย์กาดโถมองค์หนึ่ง อีกองค์หนึ่งบรรจุไว้ในพระเมาลี พระพุทธรูปองค์ใหญ่แล้วพญามังรายถวายทองคำห้าร้อย ฝากเจ้ามหาเถรไปบูชาพระศรีมหาโพธิ์ในเมืองลังกา เสร็จการทั้งปวงแล้ว พระมหาเถรเจ้าทั้ง 4 องค์ ก็กลับเมืองลังกา และนำเอาทองคำอันพญามังรายฝากไปนั้น บูชาพระศรีมหาโพธิ์ แล้วสัตยาธิษฐานว่า ผู้ข้าทั้งหลายจักเอาศาสนาพุทธเจ้าไปตั้งในเมืองล้านนา ผีว่าจักรุ่งเรื่องดังความปราถนา ขอให้ต้นศรีมหาโพธิ์ตกลงเหนือจีวรของข้า แต่ครั้นสิ้นคำอธิษฐานแล้ว พระเถระทั้ง 4 ก็ได้เมล็ดมหาโพธิ์ 4 ผล พระมหาเถระเจ้าจึงนำมาสู่ล้านนาไทยและถวายแด่พญามังราย พญามังรายได้นำไปปลูกไว้ยังพันนาทะกานต้นหนึ่ง อีกต้นหนึ่งถวายพระชนนีนาถผู้ชื่อว่า นางเทพคำขยาย นำไปปลูกไว้แทนไม้มะเดื่อที่อารามกาดโถม อีกต้นหนึ่งนำไปปลูกที่เมืองฝาง อีกต้นหนึ่งนำไปปลูกที่ต้นน่าง น่าจะเป็นวัดรั้วนางในปัจจุบันนี้
    ในสมัยของพระยาสมฝั่งแกน มีพระมหาญาณคัมภีระ ชาวเชียงใหม่ พร้อมทั้งเดินทางไปศึกษาประเทศลังกาเมื่อศึกษาจบแล้ว ได้นำพระไตรปิกฏกับไม้ศรีมหาโพธิ์กลับมา สมัยพระยาติโลกราชเสวยราชเมืองเชียงใหม่ ได้นำไม้ศรีมหาโพธิ์นั้นปลูกที่วัดป่าแดงหลวงและวัดโพธาราม (วัดเจ็ดยอดในปัจจุบัน)
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่วัดศรีเกิดนั้น เชื่อกันว่าเป็นไม้ศรีมหาโพธิ์ ที่พระมหาเถระเจ้าคณะนั้นนำมาจากประเทศลังกา ยังไม่พบหลักฐานว่าได้นำมาปลูกในวัดศรีเกิดเมื่อใด
    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]
    เป็นวัดที่น่าไปเที่ยวอีกวัดหนึ่งครับ มีรายละเอียดของวัดให้ศึกษาด้วย ก็มีหลายๆวัดอยู่ใกล้ๆกับวัดศรีเกิด สภาพโดยทั่วๆไปก็ร่มรื่นครับ มีศิลปะของพระประธานในวิหารที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา :http://www.wat9chiangmai.com/modules.php?name=News&file=article&sid=17
     

แชร์หน้านี้

Loading...