ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พบกันวันใหม่ครับ ต่อไปจะนำเสนอทศชาติในเรื่องที่ 3 ต่อจากพระมหาชนก คือเรื่องสุวรรณสามชาดก ซึ่งมี 3 ตอน แต่เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินเรื่อง เรามาลองดูเรื่องย่อกันก่อนครับ ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณ
    http://www.larnbuddhism.com เป็นอย่างมากที่สุดครับที่มีเรื่องดีๆ เกี่ยวกับศาสนาให้เราได้ศึกษากัน


    สุวรรณสามชาดก

    ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญเมตตาบารมี คือการแผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า มีเรื่องเล่าว่า สุวรรณสามเลี้ยงมารดาบิดาของตนซึ่งเสียจักษุในป่า และเนื่องจากเป็นผู้มีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น หมู่เนื้อก็เดินตามแวดล้อมไปในที่ต่าง ๆ วันหนึ่งถูกพระเจ้ากรุงพาราณสี ชื่อปิลยักษ์ยิงเอาด้วยธนูด้วยเข้าพระทัยผิด ภายหลังเมื่อทราบว่าเป็นมาณพผู้เลี้ยงมารดาบิดา ก็สลดพระทัย จึงไปจูงมารดาบิดาของสุวรรณสามมา. มารดาบิดาของสุวรรณสามก็ตั้งสัจจกิริยา อ้างคุณความดีของสุวรรณสามขอให้พิษของศรหมดไป สุวรรณสามก็ฟื้นคืนสติ และได้สอนพระราชา แสดงคติธรรมว่า ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม แม้เทวดาก็ย่อมรักษาผู้นั้น ย่อมมีคนสรรเสริญในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้วก็บันเทิงในสวรรค์ ต่อจากนั้นเมื่อพระราชาให้สั่งสอนต่อไปอีก ก็สอนให้ทรงปฏิบัติธรรมปฏิบัติชอบในบุคคลทั้งปวง.


    ต่อไปจะเป็นเนื้อเรื่องในตอนแรกครับ...



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 color="#000000"><TBODY><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=2 height=80><CENTER>พระสุวรรณสาม ๑ </CENTER><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=2 height=80>[​IMG]


    </TD></TR><SCRIPT language=JavaScript>if (document.all)document.body.style.cssText="border:10 outset #ddcf77"</SCRIPT></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center></B>
    สุวรรณสาม แม้เขาจะถูกทำร้ายอย่างแสนสาหัส
    แต่เขาก็ยังแผ่เมตาจิตไปยังพวกที่ทำร้าย
    โดยหาความโกรธเคืองไม่ได้นี่คือปฎิปทาของสุวรรณสาม


    ต่อมาไม่ช้าภรรยาของนายบ้านทั้งสองนั้นเกิดท้องขึ้นพร้อมๆกัน นายบ้านทั้งสองพากันดีอกดีใจมาก เพราะว่าตัวกำลังจะได้เห็นผลของคำสัญญาที่ตกลงกันไว้ เมื่อภรรยาท้องพอสมควรแก่เวลาแล้ว ก็คลอดบุตรออกมา ภรรยาของอีกบ้านหนึ่งคลอดออกมาเป็นหญิง ส่วนอีกบ้านคลอดออกมาเป็นชาย เขาพากันดีใจมากที่หมู่บ้านทั้งสองจะกลายมาเป็นหมู่บ้าน เดียวกัน แม้จะมีแม่น้ำมาแยกก็ตาม แต่เพราะทั้งสองบ้านนี้รวมเป็นบ้านเดียวกันได้ ฝ่ายหญิงให้ชื่อว่า "ปาริกา" ส่วนฝ่ายชายชื่อว่า " ทุรุก " แต่ทั้งสองฝ่ายหญิงและฝ่ายชายที่เกิดมานี้ ออกจะผิดเพศพ่อกับแม่ไปมากเพราะว่าหมู่บ้านนี้เขาทำการหากินด้วยการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต คือเข้าป่าล่าเนื้อเบื่อปลาต่าง เอามาเลี้ยงชีวิต แต่เด็กทั้งสองที่เกิดภายหลัง หามีจิตใจเป็นเช่นนั้นไม่ กลับมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา แม้เห็นใครทำร้ายชีวิตสัตว์ เขาทั้งสองจะพากันเศร้าสลดว่า เออ?.. คนเหล่านี้ทำกรรมทำชั่ว เมื่อตายไปแล้วก็จะตกนรกตั้งกัลป ไม่มีใครช่วยได้ เมื่อทั้งสองคนนี้ได้เติบโตบรรลุนิติภาวะสมควรแก่การแต่งงานได้แล้ว ครอบครัวทั้งสองฝ่ายก็ได้จัดแจงให้คนทั้งสองได้แต่งงานกัน เมื่อแต่งงานแล้วคนทั้งสองหาได้มีความสนิทเสน่หาในฐานะสามีภรรยากันไม่ เพราะเขาไม่เคยคิดในเรื่องสิ่งเหล่านี้ คิดแต่ว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะพ้นไปจากทุกข์หล่านี้ได้ แม้บิดามารดาจะให้เขาทั้งสองร่ำเรียนวิชาการที่จะสืบสกุล คือให้เป็นพรานต่อไป เขาก็ปฎิเสธ
    คือบิดาเคยพูดว่า “เจ้าหนู เจ้านะควรที่จะต้องเรียนวิชายิงธนู เพื่อที่จะเป็นอาชีพเลี้ยงตัวของเจ้า เพราะว่าในเรื่องของการยิงสัตว์ แล้วไม่มีใครเกินมือพ่อ หากพ่อ ออกไปคราวใด เจ้าก็คงจะเคยเห็นว่าจะต้องได้เนื้อสัตว์ มาเสมอ ๆ เจ้าควรจะต้องฝึกยิงไว้”
    แต่ทุรุกกุมารกลับตอบเสียว่า “คุณพ่อครับ การทำลายสัตว์ ชีวิตเอามาเลี้ยงชีวิตเรา กระผมทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นอย่าให้กระผมได้เรียนวิชาเอาไปฆ่าสัตว์ เลยครับ
    “หน่อยเจ้าหนู เจ้ามันอวดดี จะไม่เหมาะเสียสักหน่อยล่ะกระมัง เจ้าน่ะอยู่ในบ้านพรานแล้วเจ้าจะหากินทางไหน เจ้าไม่มีที่จะไปหากินทางนี้เจ้าจะต้องอดตาย เพราะเมื่อเจ้าได้แต่งงานแต่งการเช่นนี้แล้ว เจ้าจะตั้งหลักฐานได้อย่างไร ในเมื่อเจ้าหาทรัพย์ ไม่ได้เลยสักอย่างเดียว"
    “คุณพ่อครับ กระผมตั้งใจว่าจะสร้างตัวด้วยลำแข้งของกระผมเอง ด้วยการที่ไม่ต้องไปเบียดเบียนชีวิตของผู้อื่นเอามาเป็นชีวิตของตัวเอง"
    “ไอ้หนู ออกจะอวดดีเกินไปสักหน่อยล่ะกระมังเจ้าควรคิดให้ดีนะว่าพ่อเป็นนายพราน แล้วนี้เป็นหมู่บ้านพราน เมื่อเจ้าทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ เจ้าจะอยู่ยังไง คิดดูให้ดี"
    “พ่อครับ ผมน่ะไม่เคยรังเกียจหมู่บ้านพราน เพราะว่าในใหมู่บ้านนี้น่ะถ้าไม่ใช่ญาติกันก็เป็นมิตรสหายกัน เพราะฉะนั้นกระผมมิได้มีความรังเกียจเลย แต่จิตใจของกระผมน่ะ มันไม่อยากจะทำกรรมเหล่านั้นครับ"
    “เมื่อเจ้าไม่ทำ พ่อเห็นว่าเจ้าควรที่จะออกไปจากบ้านนี้เพื่อเเสวงหาทางตั้งตัวของเจ้าต่อไปทางอื่นดีกว่า"
    “ขอรับคุณพ่อ เมื่อคุณพ่อให้สติผมเช่นนี้ กระผมก็กราบลา และนับแต่นี้เป็นต้นไป กระผมจะขอบวชครับ"
    “เอา ตกลง" เมื่อได้รับคำอนุญาตจากพ่อแม่แล้วทั้งสองคนก็เดินทางออกไปสู่ป่าเพื่อบำเพ็ญพรต่อไป
    วันนั้นพระอินทร์ก็เผอิญเกิดร้อนใจ ก็เล็งแลทิพย์เนตรลงมาตรวจดูว่าจะมีเห็นอะไรบ้าง ก็เห็นท่านทั้งสองออกเดินทางมาบำเพ็ญพรต สมควรจะต้องช่วยเหลือ ถ้าไม่ช่วยเหลือท่านทั้งสองจะลำบาก จึงสั่งให้พระวิษณุกรรมไปเนรมิตบรรณศาลา เพื่อท่านทั้งสองได้อาศัย เมื่อพระวิศณุกรรมเนรมิตศาลาเสร็จ แล้วก็เขียนหนังสือบอกไว้ว่า หากผู้ใดมีความประสงค์ที่ี่จะบำเพ็ญภาวนาก็ขอให้ศาลานี้ให้เกิดประโยชน์เถิด
    เมื่อท่านทั้งสองได้เห็นบรรณศาลาเช่นนั้นก็ดีใจ เละเมื่อเข้าไปเห็นหนังสือที่เขียนไว้ จึงยึดเอาศาลานี้เป็นที่บำเพ็ญพรตของคนทั้งสอง แต่เรื่องของคนทั้งสองคนยังไม่หมด พระอินทร์ได้สอดส่องทิพย์เนตร




    <TBODY></TBODY>


    </TABLE>
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ธรรมะจากท่านพ่อลี "ลมกับจิต"

    พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
    ( ท่านพ่อลี ธมฺมธโร )
    ๗ สิงหาคม ๒๕๐๑ ณ วัดอโศการาม
    * บันทึกโดยแม่ชีอรุณ อภิวณฺณา

    ในการนั่งภาวนาให้ทำลมให้แคบที่สุด อย่าให้จิตไปยู่นอกตัว ถ้าเราเอาจิตไปอยู่กับคนอื่นสิ่งอื่น เราก็จะต้องได้รู้แต่เรื่องของคนอื่นสิ่งอื่น ส่วนเรื่องของตังเองก็เลยไม่ได้รู้ได้เห็นอะไรเลย
    เราอยู่ใกล้กับสิ่งใดจะต้องสนใจกับสิ่งนั้น เราอยู่ใกล้คนใด ก็จะต้องสนใจกับคนนั้นให้มากที่สุด คนใดนั่งใกล้เรา ต้องสนทนาปราศรัยกับเขา อย่านั่งเป็นใบ้ ทำความคุ้นเคยสนิทสนมกับเขาไว้ ถ้าเราไม่พูดคุยทำไมตรีกับเขาไว้บ้าง เขาก็จะต้องไม่ชอบเรา และกลายเป็นศัตรูของเราไป นี้ฉันใด เรื่องร่างกายของเรานี้ประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ธาตุเหล่านี้ ก็ย่อมเปรียบเหมือนกับญาติหรือมิตรสหายของเรา เพราะเรานั่งนอนยืนเดินไปทางไหน เขาก็ติดตามเราไปทุกแห่ง ฉะนั้นเราต้องสนใจทำความรู้จักคุ้นเคยกับเขาไว้มากกว่า คนอื่น เมื่อสนิทสนมกันแล้ว นานๆ ไปเขาก็จะรักเราและช่วยเหลือเราได้ทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อเรามีมิตรที่ดีและซื่อตรงเช่นนี้ เราก็ย่อมจะปลอดภัยและมีความสุข
    ถ้าเรารู้เรื่องธรรมดาของโลก และรู้จักความเป็นจริงของธรรมแล้ว เราก็จะไม่ต้องมีความยุ่งยากในการเป็นอยู่ เรื่องภายนอกนั้น ถึงเราจะศึกษา ให้มีความรู้สักเท่าไร ๆ ก็ไม่ทำให้เราพ้นจากทุกข์ได้ สู้การเรียนจิตใจของตนอยู่ภายในวงแคบๆนี้ ไม่ได้



    เรื่องของโลกยิ่งเรียนก็ยิ่งกว้าง เรื่องของธรรมยิ่งรู้ก็ยิ่งแคบ และรู้แคบเท่าไรก็ยิ่งดี ถ้ารู้กว้างออกไปมักฟุ้งซ่าน เป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบ ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับการเดินไปในหนทางที่แคบๆ ย่อมจะไม่มีใครเดินสวนทางเข้ามาชนกับเราได้ ส่วนคนเดินตามหลังนี้ช่างเขา เมื่อไม่มีใครสวนทางเข้ามาข้างหน้าแล้ว คนที่จะเดินบังหน้าเราก็ไม่มี เราก็จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหน้าออกไปได้ไกลที่สุด ฉันใด ผู้ทำจิตใจให้แคบเข้าละเอียดเข้าก็จะเกิดความวิเวกสงบ เกิดแสงและเกิดวิปัสสนาญาณ มองเห็นอดีต อนาคต และปัจจุบันได้ทุกอย่าง

    เหตุนั้น ท่านจึงว่าผู้มีวิปัสสนาญาณ เป็นผู้มีสายตาอันไกล คนที่ส่งจิตออกไปอยู่นอกตัว เปรียบเทียบกับคนที่เดินไปตามถนนกว้างๆ ถนนกว้างนั้น อย่าว่าแต่คนจะสวนทางเข้ามาได้เลย แม้แต่สุนัข และสัตว์ตัวโต ๆ มันก็เดินสวนเข้ามาได้ ฉะนั้น จึงไม่ปลอดภัย จิตผู้นั้นก็จะมีแต่ความฟุ้งซ่าน เต็มไปด้วยนิวรณธรรมหาความสงบมิได้

    การทำจิตให้แคบ เปรียบอีกอย่างหนึ่งก็เหมือนกับการขุดหลุม ถ้าเราขุดหลุมเล็กๆ ก็ย่อมจะขุดได้ลึกและเร็วกว่าหลุมกว้างๆ ความเหน็ดเหนื่อยก็มีน้อย กำลังก็ไม่สึกหรอ ย่อมได้ผลดีกว่ากัน หรือจะเปรียบอีกอย่างหนึ่งก็เหมือนกับแม่น้ำ ถ้ากว้างมากก็มักไหลช้า และไม่แรง ถ้าแคบก็จะไหลเร็วและแรงด้วย หรือน้ำฝนที่ตกลงในที่กว้างย่อมกระจายไปทั่วในที่ต่างๆ น้ำก็จะไม่ขังในพื้นที่เหล่านั้นได้ เท่าไร ถ้าตกลงมาเฉพาะในที่แห่งใดแห่งหนึ่งแต่เพียงแห่งเดียว แล้ว มิช้าก็อาจจะท่วมท้นหัวคันนาได้ ฉันใด อำนาจแห่งจิต ก็เช่นเดียวกัน ถ้ายิ่งแคบและละเอียดมากเท่าไรก็ยิ่งมีกำลังแรงและคุณภาพสูงยิ่งขึ้น

    ฉะนั้น ท่านจึงสอนให้เอาจิตมาจดจ่ออยู่กับลมหายใจอย่างเดียว ไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องราวอื่น ๆ ให้มีสติสัมปชัญญะอยู่ในลมหายใจอย่างเดียว ไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องราวอื่นๆ ให้มีสติสัมปชัญญะ อยู่ในลมเท่านั้น มันจะไม่ดี จะโง่ จะมืด จะหนาอย่างไรก็ช่างมัน มุ่งดูลมอย่างเดียวจนจิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ต่อไปความรู้ก็จะผุดขึ้นในตัวของมันเอง ไม่ต้องไปนั่งคิดถึงว่าอะไรมันจะเป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา ความรู้เขาจะบอกเรื่องราวเหล่านี้ แก่เราเองอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน ไม่ใช่ความรู้ตามสัญญาที่ได้ยินเขาบอกเล่า แต่เป็นความรู้ซึ่งเกิดจากวิปัสสนาปัญญา

    จิตและลมของเรานี้มีอยู่ถึง ๕ ชั้น

    ชั้นที่ ๑ ลมหยาบที่สุดก็ได้แก่ลมที่เราหายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" อยู่ขณะนี้

    ชั้นที่ ๒ ลมที่หายใจผ่านลำคอเข้าไปแล้วเชื่อมต่อกับธาตุ ต่างๆ ภายในเกิดความสบายหรือไม่สบาย

    ชั้นที่ ๓ ลมหยุดนิ่งอยู่กับที่หมด ไม่วิ่งไปมา ทุกๆส่วนในร่างกายที่เคยวิ่งขึ้นบนลงล่างก็หยุดวิ่ง ที่เคยไปข้างหน้า มาข้างหลังก็ไม่ไปไม่มา ที่เคยพัดในลำไส้ก็ไม่พัด ฯลฯ หยุดนิ่งสงบหมด

    ชั้นที่ ๔ ลมที่ทำให้เกิดความเย็นและเกิดแสง

    ชั้นที่ ๕ ลมละเอียดสุขุมมากจนเป็นปรมาณู แทรกแซงไปได้ ทั่วโลก มีอำนาจ ความเร็วและแรงมาก

    รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นี้ก็อยู่อย่างละ ๕ ชั้น เหมือนๆ กัน เช่น เสียงหยาบ ชั้นที่ ๑ ก็ได้แก่ เวลาพูดจบแล้วดับไป ชั้นที่ ๒ พูดไปแล้วยังดังอยู่ถึง ๒-๓ นาที จึงจะดับ ชั้นที่ ๓ อยู่ได้นานมากแล้วจึงหายไป
    ชั้นที่ ๔ พูดแล้วถึงพรหมโลก ยมโลก และชั้นที่ ๕ เป็นเสียงทิพย์ พูดแล้วได้ยินอยู่เสมอ พูด ๑๐๐ ครั้ง ก็มีอยู่ทั้ง ๑๐๐ ครั้ง เสียงไม่สูญไปจากโลก เพราะอำนาจแห่งความละเอียดจึงสามารถแทรกแซงได้อยู่ได้ทุกปรมาณูในอากาศ

    ฉะนั้น ท่านจึงว่า รูป รส กลิ่น เสียง ไม่สูญไปจากโลก เพราะโลกนี้เปรียบเหมือนกับจานเสียงที่อัดเสียงอะไรๆ ไว้ได้ทุกอย่าง รูป รส กลิ่น เสียง หรือกรรมดี กรรมชั่วอันใด ก็ดีที่เรากระทำไว้ในโลก มันย่อมจะย้อนกลับมาหาเราเมื่อตายทั้งหมด เหตุนั้น ท่านจึงว่า "บุญบาป" ไม่สูญหายไปไหน คงติดอยู่ในโลกนี้เสมอ จิตละเอียดที่สุด ซึ่งเปรียบเหมือน "ปรมาณู" นั้น มีอำนาจความแรงเหมือนกับดินระเบิดที่จมลงในพื้นแผ่นดิน แล้วก็สามารถระเบิดทำลายมนุษย์ให้ย่อยยับพินาศไปได้ ฉันใด จิตละเอียดที่จมลงในลมก็สามารถระเบิดคนสัตว์ให้พินาศย่อยยับเช่นเดียวกัน คือ เมื่อจิตละเอียดถึงที่สุดถึงขั้นนี้แล้ว ความรู้สึกในตัวตนของเราก็จะดับสิ้นไปไม่มีเหลือ จิตนั้นก็จะหมดความยึดถือในอัตภาพร่างกายตัวตนคนสัตว์ใดๆ ทั้งสิ้นจึงเหมือนกับ "ปรมาณู" ที่ทำลายสัตว์ ทั้งหลายฉันนั้น

    "วิตก" คือ การกำหนดลมหายใจ เปรียบเหมือนกับเราป้อนข้าวไปในปาก "วิจาร" คือขยาย แต่ง ปรับปรุงลมหายใจ เปรียบเหมือนกับเราเคี้ยวอาหาร ถ้าเราเคี้ยวให้ละเอียดๆ แล้วกลืนลงไป อาหารนั้นก็จะย่อยง่าย และเป็นประโยชน์ แก่ร่างกายได้มาก การย่อยนั้นเป็นหน้าที่ของธรรมชาติร่างกาย ส่วนการเคี้ยวเราต้องช่วยจึงเกิดผล ถ้าเรากลั่นกรองละเอียดได้เท่าไรก็ยิ่งได้ผลดีขึ้นเท่านั้น เพราะของสิ่งใดละเอียดสิ่งนั้นย่อมมีคุณภาพสูง

    การทำลมละเอียดนั้นจิตก็จะต้องละเอียดตาม และกายก็ละเอียดด้วย ฉะนั้น พระบางองค์ที่นั่งเจริญกรรมฐานอยู่จนลมละเอียดจิตละเอียด และกายของท่านจึงละเอียดเล็กลงๆ จนสามารถลอดซี่กรงหน้าต่างเข้าไปนั่งอยู่ในโบสถ์ หรือวิหารได้ทั้งๆ ที่ปิดประตูหน้าต่างอยู่ดังนี้ก็มี นี่ก็เป็นอำนาจของลมละเอียดอย่างหนึ่ง

    วัตถุใดที่มีความสามารถมากๆ ย่อมเป็นเหตุให้คุณภาพสูงขึ้นกว่าเดิม เช่น เกลือนี้ถ้าเรานำมากลั่นกรองมากๆ เข้า รสเค็มของเกลือนั้นจะกลายเป็นรสหวานไปได้ หรือน้ำตาลซึ่งเดิมรสหวานและเปรี้ยว ๆ นิดหน่อย แต่ถ้ากลั่นมากเข้าๆ ก็จะกลายเป็นรสขม ไปได้ เหตุนั้น ท่านจึงว่าไม่มีอะไรเป็นของเที่ยง แต่อะไรจะเที่ยงหรือไม่เที่ยงนี้ เราก็ไม่ต้องไปนึกถึงมัน เพราะเมื่อเราทำจิตใจแคบและละเอียดจนเกิดเป็นญาณความรู้ขึ้นในตนแล้ว อาการทั้งหลายจะบอกให้เรารู้เห็นเองในสิ่งเหล่านี้ เพียงตั้งใจทำจริงอย่างเดียว แล้วในที่สุดก็จะต้องเห็นผลแห่งความจริง

    "
    การไม่ทำจริง เป็นเหตุให้ไม่เกิดผล
    เมื่อไม่เกิดผลก็ย่อมเกิดสนิมขึ้นในใจ คือ ความเบื่อหน่าย
    ท้อถอย เกียจคร้าน แล้วในที่สุดก็เลิก ...
    ถ้าทำจริงแล้วย่อมจะเกิดผลเป็นกำลัง (พละ) ๕ ประการ
    คือ ศรัทธา...วิริยะ...สติ...สมาธิ...ปัญญา
    "


    มีบางคนเขาว่าคนที่มานั่งหลับตาทำสมาธิว่า "การมานั่งหลับตาอยู่นั้นจะได้ผลอะไร แต่คนที่เขามีความรู้มาก ๆ สูง ๆ ลืมตาอยู่ยังไม่เห็นผล นี่รู้ก็ไม่เท่าไร แล้วมานั่งหลับตานิ่งๆ อย่างนี้ จะได้ผลอะไร" เราก็ควรจะตอบได้ว่า "ผลอันแท้จริงนั้น ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้มาก หรือการศึกษาตำรับตำราบาลี เป็นมหาเปรียญอะไรดอก ผลความดีนั้นเกิดจากการกระทำจริง เมื่อใครทำจริงแล้วผลก็ต้องได้จริง" คนที่มานั่ง "พุทโธ ๆ" แต่จิตคอยเผลอบ้าง แลบไปข้างหน้าหลังบ้าง โงกง่วงบ้าง อย่างนี้เดี๋ยวก็ลืมลมหมด นั่ง ๑๐ ปี จนแห้งไปกับที่ ก็ไม่เกิดผล

    การไม่ทำจริง เป็นเหตุให้ไม่เกิดผล เมื่อไม่เกิดผลก็ย่อมเกิด สนิมขึ้นในใจ คือ ความเบื่อหน่าย ท้อถอย เกียจคร้าน แล้วในที่สุดก็เลิกวางทิ้งเลย พวกเราก็มักเป็นอย่างนี้กันโดยมาก การเจริญสมาธินี้ ถ้าทำจริงแล้วย่อมจะเกิดผลเป็นกำลัง (พละ) ๕ ประการ คือ ศรัทธา ความเชื่อ เมื่อเกิดความความเชื่อเห็นผล ในการกระทำของตนแล้ว วิริยะ ความขยันก็จะเกิดตามขึ้นมาเองโดยไม่ต้องมีใครบังคับ ต่อจากนี้ สติ ก็จะมีความรอบคอบในการกระทำ สมาธิ ก็ตั้งมั่นในสิ่งนั้น จึงเกิดปัญญา ความรู้พิจารณา ความถูกผิดทั้งหลายได้ นี้รวมเรียกว่า "พละ"

    ปัญญา ที่เกิดจากการเจริญสมาธินี้ มีความคมรอบตัวเหมือนกับจักรเลื่อยวงเดือน ที่ตั้งอยู่บนแท่น แกนของมันคือตัวจิต เลื่อยวงเดือนที่ตั้งอยู่บนแท่น แกนของมันคือตัวจิต เลื่อยวงเดือนนี้เมื่อมีอะไรส่งเข้ามาก็สามารถจะบั่นทอนตัดขาดได้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง จะส่งเข้ามาทางด้านไหน วงเลื่อยก็หมุนไปตัดได้ทุกด้าน ส่วนแกนในของมันคือดวงจิต ก็ตั้งเที่ยงอยู่บนแท่น ไม่หมุนไปตามตัวเลื่อย ใครอยากได้ไม้ซุง ไม้เสา ไม้ฝา ไม้พื้น หรือตงรอดอย่างใด ก็สามารถจักหั่นให้ได้ทุกชนิดตามความต้องการ

    ปัญญานี้หมุนไปทางกายกรรมก็เป็นการงานที่ชอบ ก็สามารถประกอบกิจการต่างๆ ให้สำเร็จประโยชน์ได้ทุกประการ หมุนไปทางวจีกรรมก็สามารถ กล่าวคำอันเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้ฟังได้ทุกอย่างพูดดีก็เป็นน้ำตาล น้ำอ้อย พูดไม่ดีก็เป็นน้ำร้อนลวกเผาใจเขา เมื่อประกอบด้วยปัญญา แล้วจะเทศนาหรือพูดให้คนฟัง ก็สามารถกลั่นกรองให้ถูกกับอัธยาศัยของคนได้ ทุกชั้น ทุกเพศ ทุกวัย หมุนไปทางมโนกรรม ก็สามารถพินิจพิจารณาในความดีความชั่ว และบุญบาปทั้งหลายได้ถูกต้อง เมื่อเป็นดังนี้ก็จะมีแต่คุณประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นหาเวรภัยมิได้

    วิตก วิจาร ในลมหายใจนี้ ท่านเปรียบอีกอย่างก็เหมือนกับช่างแก้รถยนต์ ตัวจิตคือนายช่าง เมื่อเราขับรถไปนั้น เราจะต้องมีสติคอยสังเกตและหมั่นตรวจดูเครื่องยนต์ของเราว่า มีสิ่งใดชำรุดขัดข้องบ้าง เช่น พวงมาลัย ล้อ แหนบ เหล่านี้เป็นต้น ถ้าสิ่งใดขัดข้องเสียหาย ก็ต้องรีบจัดการแก้ไข เปลี่ยน ปรับปรุงเสียทันที แล้วรถของเราก็จะแล่นไปได้ตลอดสุดที่หมายปลายทางโดยไม่มีอันตราย

    การทำสมาธิต้องคอยสังเกต สำรวจตรวจตราดูลมหายใจของตนที่ผ่านเข้าไปนั้นเสมอว่าสะดวกหรือขัดข้องอย่างใด แล้วก็ขยับขยาย ปรับปรุงให้เป็นที่สบาย สมาธิของเราก็จักเจริญขึ้นเป็นลำดับจนถึงที่สุดแห่งโลกุตระ ฉันนั้น

    การเจริญสมาธินี้ ควรเจริญใน "อารักขกรรมฐาน" ด้วยคือ

    ๑. พุทธานุสสติ ทำกายจิตให้เป็นศีลก่อน ทำใจให้พ้นจากนิวรณ์ แล้วตั้งใจหายใจจริง ๆ ด้วยการระลึก "พุทโธ ๆ"

    ๒. เมตตญฺจ เมตตาตนเองโดยนึกถึงตัวว่า เราเกิดมาไม่มีอะไรเลย ช่างน่าสงสารจริง ๆ หนอ ร่างกายก็ไม่ใช่ของตน ไม่ได้เอาอะไรมา แล้วก็ไม่ได้เอาอะไรไป ผ้าขี้ริ้วผืนเดียวก็ไม่ได้ติดตัวมา เราจะต้องหาอริยทรัพย์ คือ ทำบุญกุศลไว้ จะได้นำติดตัวไปได้ เราเกิดมาตอนแรกมันก็แข็งแรงสวยงามดี ต่อไปมันก็จะแก่ไป ๆ แล้วก็เจ็บแล้ว ในที่สุดเขาก็จะหามขึ้นเชิงตะกอน

    ๓. อสุภ ทำความคุ้นเคยกับธาตุขันธ์ในตัวไว้ พิจารณาให้เห็นความไม่สะอาดในกาย ตั้งแต่ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ มันจะต้องเปื่อยเน่าผุ พังไปตามสภาพของมัน

    ๔. มรณสฺสติ ลมหายใจเข้าไม่ออก หรือออกแล้วไม่กลับเข้า เราก็ต้องตาย ชีวิตความตายเป็นอยู่อย่างนี้ นี่แหละ จะทำดวงจิต ให้ถึงความสงบและสิ้นทุกข์ได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2008
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พละ ๕

    <!-- Main -->[SIZE=-1]<STYLE>body{background: black}></STYLE>
    <CENTER><EMBED src=http://www.leiyu668.com/flash/material/scenery/scenery_140.swf width=500 height=400 type=application/x-shockwave-flash wmode="transparent" border="0"></CENTER>

     
  4. 16

    16 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +419
    อ่านเรื่อง พละ 5 นึกถึงการแต่งอินทรีย์ครับ

    ปัญญา คู่ ศรัทธา

    สมาธิ คู่ วิริยะ

    มีเพียง " สติ " ตัวเดียวที่ไม่มีคู่

    ;aa41
     
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097

    ในหนังสือเรื่อง "ลม" ของท่านพ่อลีนี้ มีคำสอนที่เป็นหลักธรรมสำหรับนักเล่นลมหรือนักอนาปาฯ อยู่หลายข้ออ่านแล้วมีประโยชน์มาก ผม download ออกมาจาก pdf.file ของหนังสือเล่มนี้ แล้วนำไปเข้าเล่มกระดูกงูสวยมากครับต้นทุนเข้าเล่มพร้อมปกสีพร้อมพลาสติกใสปิดหัวท้าย แค่ไม่เกิน 30.-บาท ถ้าอยากได้ file.pdf ซึ่งมีทั้งหมด 48 หน้า จะส่ง link ไปให้ครับช่วยบอกมาทาง pm.ด้วย เพราะไม่แน่ใจว่าผู้จัดทำจด ลิขสิทธิ์ไว้หรือเปล่า เลยไม่กล้าเผยแพร่ตรงๆ แบบทำให้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    หลวงวุฒิธรเนติรักษ์ ผู้รู้ตัวตาย

    หลวงวุฒิธรเนติรักษ์ ผู้รู้ตัวตาย

    <ABBR class=published title=2008-01-01T16:07:27+07:00>

    คุณตาหลวงวุฒิธรเนติรักษ์ (อำพัน ศรีผลิน) เป็นศิษย์ของท่านพ่อลี ตั้งแต่ท่านพ่อลีไปเทศน์ที่วัดบรมนิวาสเมื่อปีพ.ศ. 2497
    และต่อมาได้ติดตามถวายตัวไปเป็นศิษย์นอนค้างที่วัดเมื่อท่านพ่อลีสร้างวัดอโศการามเพื่อศึกษาวิปัสสนาโดยเฉพาะ
    ต่อมาเช้าวันหนึ่งประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 คุณตาหลวงวุฒิธรเนติรักษ์ ได้ทราบว่าตนเองหมดอายุเสียแล้ว
    และสามารถทราบถึงวันตายของตนเองอีกด้วยตามภาพถ่ายของบทความข้างล่างนี้ซึ่งถูกลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

    (โปรดคลิกที่รูปเพื่ออ่านหรือพิมพ์ภาพขยาย)
    <FORM class="mt-enclosure mt-enclosure-image" style="DISPLAY: inline" mt:asset-id="7"></FORM><FORM class="mt-enclosure mt-enclosure-image" style="DISPLAY: inline" mt:asset-id="10"></FORM>[​IMG]

    <FORM class="mt-enclosure mt-enclosure-image" style="DISPLAY: inline" mt:asset-id="65"></FORM><FORM class="mt-enclosure mt-enclosure-image" style="DISPLAY: inline" mt:asset-id="65">[​IMG]

    </FORM>



    ขอขอบคุณ และโมทนาบุญ
    http://www.yajai.com/cat-40/cat-42/

    สาธุ สาธุ สาธุ
    </ABBR>
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    มีเรื่องแจ้งให้ทราบนิดนึงครับ เมื่อวานนี้(30/7/51) ช่วงเช้า ผมได้รับโทรศัพท์จากคุณวรารัตน์หัวหน้าหอพยาบาลสงฆ์ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น เพื่อขอความช่วยเหลือจากทุนนิธิฯ ให้ซื้อผ้ามัสลิน สีกรัก ส่งไปที่หอสงฆ์เป็นกรณีเร่งด่วนให้หน่อย เนื่องจากในขณะนี้ มีพระเข้ามารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในเยอะ และเวลามาพักรักษาตัวที่หอสงฆ์ทาง รพ.ต้องให้ท่านถอดสบง จีวร ที่ท่านใส่มาเก็บไว้ และนำผ้าของ รพ.ที่เตรียมไว้ผัดเปลี่ยนให้ แต่เนื่องจากในขณะนี้ผ้าที่ใช้สำหรับตัดไม่ว่าจะเป็น สบง หรือผ้าอาบ หรือผ้าอื่นๆ ที่ รพ.เตรียมไว้มีจำนวนไม่เพียงพอที่จะใช้ และผ้าที่จะนำมาทำผ้าข้างต้นคือ ผ้ามัสลิน สีกรัก ที่ทางขอนแก่นที่มีเป็นพับหาซื้อยาก จึงขอให้ทุนนิธิฯ ช่วยหาซื้อในกรุงเทพฯ ให้ด้วย เช้านี้ ผมจึงได้เช็คราคาไปที่ร้านค้าผ้าแถวสำเพ็ง พบว่ามีผ้าดังกล่าวอยู่แล้วโดย ผ้า 1 พับ ประมาณ 120 หลา คิดราคาหลาละประมาณ 54.-บาท หรือพับละประมาณ 6,480.-บาท แต่เนื่องจากผมได้แจ้งว่าเช็คราคาเพื่อที่จะซื้อไปถวายกับสงฆ์อาพาธ ทางร้านจึงยินดีลดราคาให้เพื่อร่วมบุญกับเราด้วยเหลือหลาละ 48.- หรือพับละประมาณ 5,760.-บาท พร้อมจัดส่งให้ถึงหอสงฆ์ที่ จ.ขอนแก่นให้ด้วย ผมจึงนำเรื่องนี้หารือกับรองประธานที่ปรึกษาทุนนิธิฯ ที่จะแจ้งมายังผู้บริจาคเงินเข้าทุนนิธิฯ ทุกท่านเพื่อขออนุญาตที่จะนำเงินจากทุนนิธิฯ เบิกไปใช้เป็นการเร่งด่วนตามจำนวนข้างต้นก่อนโดยจะซื้อให้เพียง 1 พับ และหากใครจะบริจาคในนามส่วนตัวหรือในนามครอบครัวมาเพื่อซื้อเพิ่มจากนี้ ผมก็จะจัดการให้เช่นกัน ส่วนเรื่องโมทนาบุญหรืออานิสงส์นั้น ลองหาในกูเกิ้ลดูเถอะครับ เพราะผ้าที่จะถวายนี้ จะถูกนำไปตัดเป็นผ้าจีวร ผ้าอาบ ผ้ารองต่างๆ รวมถึงผ้าที่ใช้กับสงฆ์ที่อาพาธทั้งปวง อานิสงส์ที่ได้รับก็เหลือที่จะประมาณเหมือนกันครับ และนับว่าเป็นการทำบุญกับสงฆ์อาพาธทางหนึ่งแทนการซื้อวัสดุ หรือซื้อเลือดที่เราบริจาคกันเป็นประจำด้วย

    ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่ผมถามรองประธานฯ หรือพี่ใหญ่ คือเรื่องการตรวจพระของน้องในองค์ที่ตรวจแล้วไม่พบกระแสพลังคือพระพิมพ์ซุ้มไทรย้อย กับพระพิมพ์สมเด็จ เจ้าคุณกรมท่าฯ พิมพ์พรหมชินะปัญชระ ในวันที่ทำบุญผ่านมาและยังมีข้อข้องใจอยู่นั้น พี่ใหญ่ได้ให้ข้อคิดในเบื้องต้นหรับการตรวจพระโดยสันนิษฐานได้ 2 ประการคือ 1 เกิดพลังอ่อนจนตรวจไม่พบอันเนื่องมาจากสถานที่เก็บ หรืออยู่ในกรุที่ทำให้เทวดาที่รักษาองค์พระมิอาจดำรงค์สภาพที่พร้อมจะรักษาปกาศิตของผู้อธิษฐานจิตอยู่ได้จึงออกไป ซึ่งต้องแก้ไขด้วยการ สวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิและเชิญท่านใหม่ ท่านก็จะลงมาประทับยังองค์พระ เช่นเดิม หรือไม่ก็ในวันนั้นน้องตรวจพระมากจนล้า (วันนั้นน้องตรวจพระประมาณสัก 20 องค์ได้ ส่วน 2 องค์ข้างต้น เป็นพระที่ตรวจท้ายๆ หรือท้ายสุดก่อนเลิกกิจกรรมกันแล้ว) จิตอาจจะทำงานหนักเกินไป เนื่องจากน้องต้องใช้พลังปฐวีกสิณเพ่งลงไปที่องค์พระ เพื่อให้เกิดนิมิตร ซึ่งจะต้องเพ่งจิตให้เกิดเป็นเอกคตารมย์ดิ่งลงในฌาณสี่ก่อนทุกครั้งจนเพลีย จึงทำให้การตรวจนั้นไม่แน่นอน ซึ่งเป็นธรรมดาของการตรวจพระโดยใช้กระแสจิต ทั้ง อ.ประถม และ พี่ใหญ่ ก็เกิดขึ้นทั้งนั้น อ.ประถมยังเคยบอกผมว่า การตรวจพระนั้น ตรวจมากจะเพลีย พอเพลียแล้วเพี้ยน จะต้องพักเว้นวรรคบ้าง ถ้าฝืนตรวจต้องใช้เวลาพักอย่างน้อยสักวันหรือสองวัน จึงจะเข้าที่เหมือนเดิม ซึ่งหลังจากพี่ใหญ่ได้พิจารณาพระทั้ง 2 ข้างต้นแล้ว ก็พบว่ายังคงมีสภาวะแห่งความศักดิ์สิทธิและสามารถนำมาแขวนคุ้มตัวได้ และแถมยังเชิญพลังทิพย์จากท่านผู้อธิษฐานจิตเดิมาทำให้จนเข้มขลังกว่าเดิมด้วยซ้ำครับ หรือไม่ก็คือกรณีเลวร้ายสุดๆ คือการตรวจพระแล้วเจอพระเก๊ ก็จะไม่พบอะไรเลยจริงๆ ยังงี้ต้องเริ่มต้นเชิญใหม่ทั้งหมดซึ่งไม่เหลือวิสัยสำหรับฌาณลาภีบุคคลที่ชำนาญครับ

    พันวฤทธิ์

    31/7/51
     
  8. jiant

    jiant สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2006
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +11
    พระพิมพ์ซุ้มไทรย้อย ครั้งหนึ่งผมเคยนำไปให้อาจารย์ ประถม ตรวจครั้งหนึ่งแล้ว อาจารย์ประถมบอกว่าใช้ได้ แต่วันนั้นน้องเขาตรวจพระพิมพ์ซุ้มไทรย้อยก่อน แล้วบอกว่าไม่เห็นอะไร ผมก็เลยเอาปู่ฤาษีให้ตรวจ น้องเขาบอกว่าเห็นปู่ฤาษีลอยมาเต็มหน้าน้องเลยครับ

     
  9. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    พระที่มีอายุมาแล้วหลายร้อยปี พิมพ์เดียวกัน กรุเดียวกัน พลังแต่ละองค์ต่างกันไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะผ่านกาลเวลาและปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่อาจเป็นมลทินทำให้มีพลังลดลงหรือหายไปได้ ขนาดพระที่เพิ่งเสกกองรวมกันเสร็จใหม่ๆ นำมาเช็คพลังแต่ละองค์ยังไม่เท่ากันเลย และปัจจจัยสำคัญคือ ตัวผู้เช็คเองมีพลังจิตที่คงที่ระดับใด การเช็คพระเป็นทั้งการใช้พลังจิต และ เป็นการเพิ่มพลังจิต ให้กับผู้เช็คเอง แล้วแต่จะพิจารณาแบบใด

    พระองค์เดียวกัน ยังมีพลังแต่ละวันต่างๆกันไป ไม่เหมือนกันทุกเวลาครับ อย่างเช่นพระ ปิยะบารมี ซึ่งเป็นพระที่ทางทุนนิธิฯได้สร้างขึ้น เพื่อแจกกับท่านที่ร่วมทำบุญกับทุนนิธิฯอย่างต่อเนื่อง หรือ ท่านที่ช่วยงานอย่างแข็งขัน โดยจะแจกในโอกาสครบหนึ่งปีการก่อตั้งทุนนิธิฯ ผมเคยถามพี่ใหญ่ว่าพิจารณาพระนี้แล้วมีภาพปราฏกเป็นอย่างไร พี่บอกว่า บางวันเห็นเป็นฉัพรรณรังสีของพระพุทธเจ้าหมุ่นวนว่องไวนัก บางวันเห็นเป็นพระพุทธเจ้าดีดน้ำมนต์ประธานพร แต่บางวันกลับเห็นเป็นรัศมีขาวใสว่างไปเฉยๆ
    เห็นไหมครับว่าพระองค์เดียวกัน วาระ ต่างๆ กัน ยังมีนิมิตรไม่เหมือนกัน ขอแย้มแค่นี้ก่อนเดี๋ยวพี่ใหญ่ดุเอาครับ
     
  10. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    ผมขอร่วมทำบุญผ้ามัสลิน สีกรัก 100 บาทครับ
    เพิ่มเติมจากที่ทำบุญกับทุนนิธิผ่านพี่chaipatปกติด้วยนะครับ
    แล้วต้องโอนไปที่ไหนครับ
    โมทนาบุยด้วยนะครับ
    น้องเอ

     
  11. channarong_wo

    channarong_wo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +1,510
    ผมได้ร่วมทำบุญด้วยการโอนเข้าบัญชี 500 บาท เงินที่ส่งไปนี้เพื่อการสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ และ/หรือ ที่ทางมูลนิธิเห็นสมควรครับ
    ขออนุโมทนาบุญกับสิ่งดีๆที่ทางมูลนิธิได้จัดทำขึ้นครับ
    ชาญ
     
  12. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    ผม พ่อ แม่ และครอบครัว ขอร่วมทำบุญซื้อผ้าถวายพระสงฆ์อาพาธที่ ร.พ ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น จำนวน 1000 บาทครับ

    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
  13. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099

    สำหรับผมขอคู่กับ สัมมาทิฏฏิครับ

    สาธุครับ
     
  14. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    พระท่านดีจริงๆ ครับ

    ลองอธิฐานพิสูจน์ด้วยตัวเองครับ แล้วจะทราบครับ

    ผมประสบมาตัวเองแล้วครับ


    และครั้งหน้าให้พี่ใหญ่ดูให้ครับ สงสัยมั่นใจน้องนะครับ วันนั้นดูมากๆ ก็มีผลครับ

    และถ้าใคร่รู้มีทางเดียว ก็ทำสมาธิครับ

    เพราะน้องเขาเห็นได้ เราก็ทำได้ครับ


    ผมก็ขอทำบุญด้วยครับ

    สาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2008
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    โอนเข้าบัญชีกองกลางทุนนิธิฯ เลยครับ เพราะเรามีแล้ว 1 พับ จากเงินของทุนนิธิฯ แต่ถ้ามีเพิ่มเข้ามาก็จะสามารถเพิ่มเข้าไปได้เป็นพับที่ 2 ครับ ทั้งนี้จะสรุปยอดสั่งผ้าในวันจันทร์ที่ 4/8 นี้ โดยส่วนที่เหลือผมจะรับผิดชอบบริจาคเองทั้งหมดครับ


    พันวฤทธิ์

    1/8/51
     
  16. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ลองเอามาให้อ่านกันครับ;aa50
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    รับทราบครับจะทำการโอนเพื่อร่วมทำบุญแล้วจะเข้ามาแจ้งครับ
    โมทนาบุญกับพี่พันวฤทธิ์และทุกๆท่านด้วยครับ
    น้องเอ
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๓๔ : ทรงรับมธุปายาส
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๓๔ : ทรงรับมธุปายาส

    ทรงรับมธุปายาส

    นับตั้งแต่พระมหาบุรุษเสด็จออกบวชเป็นต้นมาจนถึงวันนี้ เป็นเวลาย่างเข้าปีที่ ๖ ตอนนี้พระมหาบุรุษเริ่มเสวยอาหารจนพระกายมีกำลังเป็นปกติแล้ว และวันนี้เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพระพุทธเจ้านิพพาน ๔๕ ปี

    [​IMG]

    ขณะนั้นมีบุตรีกฎุุมพีใหญ่แห่งหมู่บ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลา ชื่อนางสุชาดาเป็นธิดาของคหบดีผู้หนึ่งในหมู่บ้าน ปรารถนาจะทำการบวงสรวงเทวดา จึงหุงข้าวมธุปายาส (ข้าวสุกหุงด้วยน้ำนมโคล้วน ล้วน เป็นอาหารจำพวกมังสวิรัติ ไม่ปนเนื้อ ไม่เจือปลา ใช้สำหรับบวงสรวงเทพเจ้าโดยเฉพาะ) จัดใส่ถาดทองคำนำไปที่ต้นมหาโพธิ์

    [​IMG]

    ปฐมสมโพธิเล่าว่า นางสุชาดา เคยบนเทพเจ้าไว้ที่ต้นไทรเพื่อให้ได้สามีผู้มีชาติสกุลเสมอกัน และได้ลูกที่มีบุญ เมื่อนางได้สมปรารถนาแล้ว จึงหุงข้าวมธุปายาสเพื่อแก้บน ก่อนถึงวันหุง นางสุชาดาสั่งคนงานให้ไล่ต้อนฝูงโคนมจำนวนหนึ่งพันตัวเข้าไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ ให้แม่โคกินชะเอมเครือ กินอิ่มแล้วไล่ต้อนออกมา แล้วแบ่งแม่โคนมออกเป็นสองฝูง ฝูงละ ๕๐๐ ตัว แล้วรีดเอานมจากแม่โคนมฝูงหนึ่ง มาให้แม่โคนมอีกฝูงหนึ่งกิน แบ่งและคัดแม่โคนมอย่างนี้เรื่อยๆไป จนเหลือแม่โคนม ๘ ตัว เสร็จแล้วจึงรีดน้ำนมจากแม่โคนมทั้ง ๘ มาหุงข้าวมธุปายาส เมื่อหุงเสร็จแล้ว นางสุชาดาสั่งให้นางทาสีหญิงรับใช้ไปทำความสะอาดปัดกวาดบริเวณต้นโพธิ์ นางทาสีไปแล้วกลับมารายงานให้นางสุชาดาทราบว่า เวลานี้รุกขเทพเจ้าที่จะรับเครื่องสังเวยได้สำแดงกายให้ปรากฏ นั่งรออยู่ที่โคนต้นโพธิ์แล้ว นางสุชาดาดีใจเป็นกำลัง จึงยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูนหัวเดินมาที่ต้นโพธิ์พร้อมกับนางทาสี ก็ได้เห็นจริงอย่างนางทาสีเล่า

    [​IMG]

    ณ ที่ใต้ต้นมหาโพธิ์นั้น นางสุชาดาเห็นพระโพธิสัตว์ ประทับอยู่ สำคัญว่าเป็นเทวดา จึงน้อมนำ ข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย พระมหาบุรุษทรงรับแล้วทอดพระเนตรดูนาง แล้วจึงทรงรับข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดด้วยพระหัตถ์ นางทราบพระอาการกิริยาว่า พระมหาบุรุษไม่มีบาตร หรือภาชนะอย่างอื่นรับอาหาร นางจึงกล่าวคำมอบถวายข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดนั้น แล้วเดินกลับบ้านด้วยความยินดี ด้วยความสำคัญหมายว่า พระมหาบุรุษนั้นเป็นรุกขเทพเจ้า
    [/SIZE]
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ความสุข ๕ ชั้น : พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต)
    <!-- Main -->[SIZE=-1]<TABLE borderColor=white border=5>
    <TBODY><TR>
    <TH><SIZE=7>

    <CENTER>[​IMG]
    </CENTER>
    <CENTER>ความสุข ๕ ชั้น
    พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต)
    </CENTER>


    <CENTER>ฝึกตนยิ่งขึ้นไป ดำเนินชีวิตให้ถูก ความสุขยิ่งเพิ่มพูน </CENTER>

    เมื่อทำตัวเป็นพระพรหมได้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้วก็มาทำชีวิตให้เข้าถึงความสุข ในทีนี้ขอพูดคร่าว ๆ
    ถึงความสุข ๕ ชั้นขอพูดอย่างย่อ ในเวลาที่เหลืออันจำกัดดังนี้

    ขั้นที่ ๑ คือ ความสุขจากการเสพวัตถุ หรือสิ่งบำรุงบำเรอภายนอกที่นำมาปรนเปรอ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของเรา
    ข้อนี้เป็นความสุขสามัญที่ทุกคนในโลกปรารถนากันมาก

    ความสุขประเภทนี้ขึ้นต่อสิ่งภายนอก เพราะว่าเป็นวัตถุ หรืออามิสภายนอก เมื่อเป็นสิ่งภายนอก อยู่นอกตัว
    ก็ต้องหา ต้องเอา เพราะฉะนั้นสภาพจิตของคนที่หาความสุขประเภทนี้จึงเต็มไปด้วยความคิดที่จะได้จะเอา แล้วก็ต้องหา
    และดิ้นรนทะยานไป เมื่อได้มาก ก็มีความสุขมาก แล้วก็เพลิดเพลินไปกับความสุขเหล่านั้น พอได้มาก ๆ เข้า
    ต่อมาก็นึกว่าตัวเองเก่งมาก ๆ ไป ๆ มา ๆ โดยไม่รู้ตัวก็มีภาวะอย่างหนึ่งเกิดขึ้น คือ ชีวิตและความสุขของตัวเองต้องไปขึ้นกับวัตถุเหล่านั้น
    อยู่ลำพังง่าย ๆ อย่างเก่า ไม่สุขเสียแล้ว ตอนที่เกิดมาใหม่ ๆ นี้ ไม่ต้องมีอะไรมากก็พอจะมีความสุขได้ ต่อมามีวัตถุมาก เสพมาก
    ทีนี้ขาดวัตถุเหล่านั้นไม่ได้เสียแล้ว กลายเป็นว่าสูญเสียอิสรภาพ ชีวิตและความสุขต้องไปขึ้นกับวัตถุภายนอก แต่เข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเก่ง
    อันนี้เป็นข้อสำคัญที่คนเราหลงลืมไป ทางธรรมจึงเตือนไว้เสมอว่าเรา อย่าสูญเสียอิสรภาพนี้ไป พร้อมทั้งอย่าสูญเสียความสามารถที่จะเป็นสุข

    สิ่งที่คนเราจะพัฒนากันมากก็คือ การพัฒนาความสามารถที่จะหาสิ่งเสพมาบำเรอความสุข แม้แต่การศึกษา
    ทำไปทำมาก็ไม่รู้ตัวว่ากลายเป็นการพัฒนาความสามารถที่จะหาสิ่งเสพบำเรอความสุข แต่อีกด้านหนึ่งของชีวิตที่ลืมไป
    คือการพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุข ถ้าเราไม่พัฒนาความสามารถที่จะมีความสุข หรือแม้แต่ไม่รักษามันไว้
    เราก็สูญเสียความสามารถที่จะมีความสุข

    อาการของคนที่สูญเสียความสามารถที่จะมีความสุข ก็คือยิ่งอยู่ในโลกนานไปก็ยิ่งกลายเป็นคนที่สุขยากขึ้น
    คนจำนวนมากสมัยนี้มีลักษณะอย่างนี้ คืออยู่ในโลกนานไป เติบโตขึ้น กลายเป็นคนที่สุขได้ยากขึ้น
    ต่างจากคนที่รักษาดุลยภาพของชีวิตไว้ได้ โดยพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุขควบคู่ไปด้วย
    จะเป็นคนที่มีมีลักษณะตรงข้าม คือยิ่งอยู่ในโลกนานไป ก็ยิ่งเป็นคนที่สุขได้ง่ายขึ้น

    ถ้าเป็นคนที่สุขได้ง่ายขึ้น ก็ดี ๒ ชั้น คือ เราพัฒนาสองด้านไปพร้อมกัน ทั้งพัฒนาความสามารถ
    ที่จะหาสิ่งเสพบำเรอความสุขด้วย และพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุขด้วย ผลก็คือ
    เราหาสิ่งมาบำเรอความสุขได้เก่ง ได้มากด้วย และพร้อมกันนั้นเราก็เป็นคนทีสุขได้ง่ายด้วย เราก็เลยสุขซ้อนทวีคูณ

    ส่วนคนที่สูญเสียความสามารถที่จะมีความสุข แม้จะหาสิ่งเสพบำเรอความสุขได้มาก แต่ความสุขก็ที่เดิมเรื่อยไป
    เพราะข้างนอกได้มา ๑ แต่ข้างในก็ลดลงไป ๑ เลยเหลือ 0 ที่เดิม กระบวนการวิ่งหาความสุขจึงดำเนินไปไม่รู้จักจบสิ้น
    เพราะความสุขวิ่งหนีเราไปเรื่อย ๆ

    เพราะฉะนั้น จะต้องพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุขไว้ด้วยคู่กัน เป็นคนที่สุขได้ง่ายก็เป็นอันว่าสบาย
    อย่างน้อยก็ฝึกตัวเองไว้ อย่าให้ความสุขต้องขึ้นกับวัตถุมากเกินไป

    ศีล ๕ เป็นตัวอย่างของวิธีฝึกไม่ให้เราสูญเสียอิสรภาพ โดยไม่เอาความสุขไปขึ้นต่อวัตถุ
    มากเกินไป แปดวันก็รักษาศีล ๘ ครั้งหนึ่ง ลองหัดดูซิว่าให้ความสุขของเราไม่ต้องขึ้นกับการบำรุงบำเรอทางกายด้วยวัตถุ
    เริ่มด้วยข้อวิกาลโภชนาฯ ไม่ต้องบำเรอลิ้นด้วยอาหารอร่อยอยู่เรื่อย ไม่คอยตามใจลิ้น กินแค่เที่ยง เพียงที่ที่ร่างกายต้องการ
    เพื่อให้มีสุขภาพดี แข็งแรง ตลอดจนข้อ อุจจาสยนะฯ ไม่บำเรอตัวด้วยการนอน ไม่ต้องนอนบนฟูก ลองนอนง่าย ๆ บนพื้น
    บนเสื่อธรรมดา ลองไม่ดูการบันเทิงซิ ทุก ๘ วัน เอาครั้งเดียว จะเป็นการรักษาอิสรภาพของชีวิตไว้ และฝึกให้เรามีชีวิตอยู่ดี
    ได้โดยไม่ต้องขึ้นกับวัตถุมากเกินไป

    พอฝึกได้แล้วต่อมาเราจะพูดถึงวัตถุหรือสิ่งบำรุงความสุขเหล่านั้นว่า "มีก็ดี ไม่มีก็ได้" ต่างจากคนที่ไม่พัฒนาความสามารถ
    ที่จะมีความสุข ซึ่งจะเอาความสุขไปขึ้นต่อวัตถุ ถ้าไม่มีวัตถุเหล่านั้นเสพแล้วอยู่ไม่ได้ รุรนทุราย ต้องพูดถึงวัตถุหรือสิ่งเสพเหล่านั้นว่า
    "ต้องมีจึงจะอยู่ได้ ไม่มีอยู่ไม่ได้" คนที่เป็นอย่างนี้จะแย่ ชีวิตนี้สูญเสียอิสรภาพ คนยิ่งอายุมากขึ้นสถานการณ์ก็ไม่แน่นอน
    ถึงเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย ร่างกายเสพความสุขจากสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ เช่น ลิ้นไม่รับรู้รส กินอาหารก็ไม่อร่อย ถ้าไม่ฝึกไว้ ความสุขของตัว
    ไปอยู่ที่วัตถุเหล่านั้นเสียหมดแล้ว และตัวก็เสพมันไม่ได้ จิตใจก็ไม่มีความสามารถที่จะมีความสุขด้วยตนเอง ก็จะลำบากมาก ทุกข์มาก
    เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนให้ฝึกไว้ รักษาศีล ๘ นี้แปดวันครั้งหนึ่ง จะได้ไม่สูญเสียอิสรภาพนี้ไป

    เพราะฉะนั้นเอาคำว่า "มีก็ดี ไม่มีก็ได้" นี้ไว้ ถามตัวเอง เป็นการตรวจสอบอยู่เสมอว่า เราถึงขั้นนี้หรือยัง
    หรือต้องมีจึงจะอยู่ได้ ถ้ายังพูดได้ว่า มีก็ดีไม่มีก็ได้ ก็เบาใจได้ว่า เรายังมีอิสรภาพอยู่ ต่อไปถ้าเราฝึกเก่งขึ้นไปอีก
    อาจจะมาถึงขั้นที่พูดได้ในบางเรื่องว่า "มีก็ได้ ไม่มีก็ดี" ถ้าได้อย่างนี้ก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก

    คนที่พูดได้อย่างนี้ จะมีความรู้สึกว่าของพวกนี้เกะกะ เราอยู่ของเราง่าย ๆ ดีแล้ว มีก็ได้ไม่มีก็ดี ไม่มีเราก็สบาย
    ชีวิตเป็นอิสระโปร่งเบาความสุขเริ่มไม่ขึ้นต่อวัตถุอามิสสิ่งเสพภายนอก ความสุขเริ่มไม่ต้องหา

    -ความสุขที่ต้องหา แสดงว่าเราขาด คือยังไม่มีความสุขนั้นเราหาได้ที เสพทีก็มีสุขที แต่ระหว่างนั้นต้องอยู่ด้วยการอ
    อยู่ด้วยความหวัง บางทีก็ถึงกับทุรนทุราย กระวนกระวาย เพราะฉะนั้น จะต้องทำตัวให้มีความสุขด้วยตนเองสำรองไว้ให้ได้
    ด้วยวิธีฝึกรักษาอิสรภาพของชีวิต และรักษาความสามารถที่จะมีความสุขไว้

    ขั้นที่ ๒ พอเจริญคุณธรรม เช่น มีเมตตากรุณา มีศรัทธา เราก็มีความสุขเพิ่มขึ้นอีกประเภทหนึ่ง แต่ก่อนนี้ชีวิตเคยต้องได้วัตถุมาเสพต้องได้
    ต้องเอา เมื่อได้จึงจะมีความสุข ถ้าคือเสียก็ไม่มีความสุข แต่คราวนี้ คุณธรรมทำให้ใจเราเปลี่ยนไป เหมือนพ่อแม่ที่มีความสุขเมื่อให้แก่ลูก
    เพราะรักลูก ความรักคือเมตตา ทำให้อยากให้ลูกมีความสุขพอให้แก่ลูกแล้วเห็นลูกมีความสุข ตัวเองก็มีความสุข เมื่อพัฒนาเมตตากรุณา
    ขยายออกไปถึงใคร ให้แก่คนนั้น ก็ทำให้ตัวเองมีความสุขศรัทธาในพระศาสนาในการทำความดี และในการบำเพ็ญประโยชน์เป็นต้น
    ก็เช่นเดียวกัน เมื่อให้ด้วยศรัทธา ก็มีความสุขจากการให้นั้น ดังนั้นคุณธรรมที่พัฒนาขึ้นมาในใจ เช่น เมตตากรุณา ศรัทธา
    จึงทำให้เรามีความสุขจากการให้ การให้กลายเป็นความสุข

    ขั้นที่ ๓ ความสุขเกิดจากการดำเนินชีวิตถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ ไม่หลงอยู่ในโลกของสมมติ
    ที่ผ่านมานั้นเราอยู่ในโลกของสมมติมาก และบางทีเราก็หลงไปกับความสุขในโลกของสมมตินั้น แล้วก็ถูกสมมติ
    ล่อหลอกเอา อยู่ด้วยความหวังสุขจากสมมติที่ไม่จริงจังยั่งยืน และพาให้ตัวแปลกแยกจากความจริงของธรรมชาติ
    และขาดความสุขที่พึงได้จากความเป็นจริงในธรรมชาติเหมือนคนทำสวนที่มีวหวังความสุขจากเงินเดือน
    เลยมองข้ามผลที่แท้จริงตามธรรมชาติจากการทำงานของตัว คือความเจริญงอกงามของต้นไม้
    ทำให้ทำงานด้วยความฝืนใจเป็นทุกข์ ความสุขอยู่ที่การได้เงินเดือนอย่างเดียว ได้แต่รอความสุขที่อยู่ข้างหน้า
    แต่พอใจมาอยู่กับความเป็นจริงของธรรมชาติ อยากเห็นผลที่แท้จริงตามธรรมชาติของการทำงาน ของตน
    คือ อยากเห็นต้นไม้เจริญงอกงาม หายหลงสมมติ ก็มีความสุขในทำสวน และได้ความสุข จากการชื่นชมความเจริญงอกงาม
    ของต้นไม้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น คนที่ปรับชีวิตได้ เข้าถึงความจริงของธรรมชาติ จึงสามารถหาความสุขจากการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง
    ตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ได้เสมอ พอปัญญามาบรรจบให้วางใจถูก ชีวิตและความสุขก็ถึงความสมบูรณ์

    ขั้นที่ ๔ ความสุขจากความสามารถปรุงแต่ง คนเรานี้มีความสามารถในการปรุงแต่ง ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของมนุษย์
    ปรุงแต่งทุกข์ก็ได้ ปรุงแต่งสุขก็ได้ โดยเฉพาะที่เห็นเด่นชัดก็คือปรุงแต่งความคิดมาสร้างสิ่งประดิษฐ์ จนมีเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย

    ที่สำคัญก็คือในใจของเราเอง เรามักจะใช้ความสามารถในทางที่เป็นผลร้ายแก่ตนเอง แทนที่จะปรุงแต่งความสุข เรามักจะปรุงแต่งทุกข์
    คือเก็บเอาอารมณ์ที่ไม่ดี ที่ขัดใจ ขัดหู ขัดตา เอามาครุ่นคิดให้ไม่สบายใจ ขุ่นมัว เศร้าหมอง โดยเฉพาะคนที่สูงอายุนี่ ต้องระวังมาก
    ใจคอยจะเก็บอารมณ์ที่กระทบกระเทือน ไม่สบาย แล้วก็มาปรุงแต่ง ให้เกิดความกลุ้มใจ ว้าเหว่ เหงา เรียกใช้ความสามารถไม่เป็น

    พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรารู้จักใช้ความสามารถในการปรุงแต่งแทนที่จะปรุงทุกข์ ก็ปรุงสุข เก็บเอาแต่อารมณ์ที่ดี
    มาปรุงแต่งใจให้สบาย แม้แต่หายใจ ที่ยังให้ปรุงแต่งความสุขไปด้วย ลองฝึกดูก็ได้เวลาหายใจเข้า ก็ทำใจให้เบิกบาน
    เวลาหายใจออก ก็ทำใจให้โปร่งเบาทานสอนไว้ว่าสภาพจิต 5 อย่างอย่างนี้ ควรปรุงแต่งให้มีในใจอยู่เสมอ คือ

    ๑. ปราโมทย์ ความร่าเริงเบิกปานใจ
    ๒. ปีติ ความอิ่มใจ
    ๓. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น ผ่อนคลายกายใจ ไม่เครียด
    ๔. ความสุข ความโปร่งโล่งใจ คล่องใจ สะดวกใจ ไม่มีอะไรมาบีบคั้น หรือติดขัดคับข้อง และ
    ๕. สมาธิ ภาวะที่จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการ ได้ตามาต้องการ ไม่มีอะไรมารล[กวน จิตอยู่ตัวของมัน


    ขอย้ำว่า ๕ ตัวนี่สร้างไว้ประจำใจให้ได้ เป็นสภาพจิตที่ดีมาก ผู้เจริญในธรรมจะมีคุณสมบัติของจิตใจ ๕ ประการนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    ตโต ปาโมชฺชพหุโล ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ

    แปลว่า ภิกษุปฏิบัติถูกต้องแล้ว มากด้วยปราโมทย์ มีจิตใจร่าเริงเบิกบานอยู่เสมอ จักทำทุกข์ให้หมดสิ้นไป ท่านพูดไว้ถึงอย่างนี้


    ฉะนั้น ท่านผู้เกษียณอายุนั้น ถึงเวลาแล้ว ควรจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ถือเป็นโอกาสดี มาปรุงแต่งใจ
    แต่ก่อนนี้ปรุงแต่งแต่ทุกข์ทำให้ใจเครียด ขุ่นมัว เศร้าหมอง ตอนนี้ปรุงแต่งใจให้มีธรรม 5 อย่างนี้ คือ ปราโมทย์
    มีความร่าเริงเบิกบานใจ ปีติ ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ ความผ่อนคลาย สงบเย็นกายใจ สุข โล่งโปร่งใจ สมาธิ
    สงบใจตั้งมั่น ไม่มีอะไรมารบกวน อยู่ตัว สบายเลย ทำใจให้ได้อย่างนี้อยู่เสมอ ท่องไว้เลย 5 ตัวนี้ คือ ปราโมทย์
    ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ พระพุทธเจ้าประทานไว้แล้ว ทำไมเราไม่เอามาใช้ นี่แหละความสามารถในการปรุงแต่งจิต
    เอามาใช้ สบายแน่ และก็เจริญงอกงามในธรรมด้วย

    โดยเฉพาะ ที่นผู้สูงอายุนั้นก็เป็นธรรมดาว่าจะต้องมีเวลาพักและเวลาว่างที่ว่างจากกิจกรรม มากกว่าคนหนุ่มสาว
    และคนวัยทำงานที่เขายังมีกำลังร่างกายแข็งแรงดี ว่างจากงานเขาก็ไปเล่นไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้มาก แต่ท่านที่สูงอายุ
    นอกจากออกกำลังบริหารร่างกายบ้างแล้ว ก็ต้องการเวลาพักผ่อนมากหน่อย จึงมีเวลาว่าง ซึ่งไม่ควรปล่อยให้กายว่างแต่ใจวุ่น

    เพราะฉะนั้น ในเวลาที่ว่าง ไม่มีอะไรทำ และก็ยังไม่พักผ่อนนอนหลับ หรือนอนแล้วก่อนจะหลับ ก็พักผ่อนจิตใจให้สบาย
    ขอเสนอวิธีปฏิบัติง่าย ๆ ไว้อย่างหนึ่งว่า ในเวลาที่ว่างอย่างนั้น ให้สูดลมหายใจเข้าและหายใจออกอย่างสบาย ๆ สม่ำเสมอ ให้ใจ
    อยู่กับลมหายใจที่เข้าและออกนั้น พร้อมกันนั้นก็พูดในใจไปด้วย ตามจังหวะลมหายใจเข้าและออกว่า

    จิตใจเบิกบานหายใจเข้า
    จิตใจโล่งเบาหายใจออก


    ในเวลาที่พูดในใจอย่างไร ก็ทำใจให้เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ด้วย หรืออาจจะเปลี่ยนเป็นสำนวนใหม่ก็ได้ว่า

    หายใจเข้า สูดเอาความสดชื่น
    หายใจออก ฟอกใจให้สดใส


    ถูกกับตัวแบบไหน ก็เลือกเอาแบบนั้น หายใจพร้อมกับทำใจไปด้วยอย่างนี้ตามแต่จะมีเวลาหรือพอใจ
    ก็จะได้การพักผ่อนที่เสริมพลังทั้งร่างกายและจิตใจ ชีวิตจะมีความหมาย มีคุณค่า และมีความสุขอยู่เรื่อยไป

    ขั้นที่ ๕ สุดท้าย ความสุขเหนือการปรุงแต่ง คราวนี้ไม่ต้องปรุงแต่ง คืออยู่ด้วยปัญญา ที่รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต
    การเข้าถึงความจริงด้วยปัญญาเห็นแจ้ง ทำให้วางจิตวางใจลงตัวสนิทสบาย กับทุกสิ่งทุกอย่าง อยู่อย่างผู้เจนจบชีวิต

    สภาพจิตนี้จะเปรียบเทียบได้เหมือนสารถีที่เจนจบการขับรถสารถีผู้ชำนาญในการขับรถนั้น
    จะขับม้าให้นำรถเข้าถนน และวิ่งด้วยความเร็วพอดี ตอนแรกต้องใช้ความพยายาม ใช้แซ่ ดึงบังเหียนอยู่พักหนึ่ง แต่พอรถม้านั้นวิ่งเข้าที่เข้าทางดี
    ความเร็วพอดี อยู่ตัวแล้ว สารถีผู้เจนจบ ผู้ชำนาญแล้วนั้น จะนั่งสงบสบายเลย แต่ตลอดเวลานั้นเขามีตลอดเวลานั้นเขาไม่มีความประหวั่น
    ไม่มีความหวาด จิตเรียบสนิท ไม่เหมือนคนที่ยังไม่ชำนาญ จะขับรถนี่ ใจคอไม่ดี หวาดหวั่น ใจคอยกังวลโน่นนี่ ไม่ลงตัว
    แต่พอรู้เข้าใจความจริงเจนจบดี ด้วยความรู้นี่แหละ จะปรับความรู้สึกให้ลงตัว เป็นสภาพจิตที่เรียบสงบสบายที่สุด

    คนที่อยู่ในโลกด้วยความรู้เข้าใจโลกและชีวิตตามเป็นจริง จิตเจนจบกับโลกและชีวิต วางจิตลงตัวพอดี
    ทุกอย่างเข้าที่อยู่ตัวสนิทอย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็นจิตอุเบกขา เป็นจิตที่สบาย ไม่มีอะไรกวนเลยเรียบสนิท
    เป็นตัวของตัวเอง ลงตัว เมื่อทุกสิ่งเข้าที่ของมันแล้ว คนที่จิตลงตัวเช่นนี้ จะมีความสุขอยู่ประจำตัวอยู่ตลอดเวลา
    เป็นสุขเต็มอิ่มอยู่ข้างใน ไม่ต้องหาจากข้างนอก และเป็นผู้มีชีวิตที่พร้อมที่จะทำเพื่อผู้อื่นได้เต็มที่
    เพราะไม่ต้องห่วงกังวลถึงความสุขของตนและไม่มีอะไรที่จะต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไป
    จะมองโลกด้วยปัญญาที่รู้ความจริง และด้วยใจที่กว้างขวางและรู้สึกเกื้อกูล

    คนที่พัฒนาความสุขมาถึงขึ้นสุดท้ายแล้วนี้ เป็นผู้พร้อมที่จะเสวยความสุขทุกอย่างใน ๔ ข้อแรก
    ไม่เหมือนคนที่ไม่พัฒนา ได้แต่หาความสุขประเภทแรกอย่างเดียว เมื่อหาไม่ได้ก็มีแต่ความทุกข์เต็มที่
    และในเวลาที่เสพความสุขนั้น จิตใจก็ไม่โปร่งไม่โล่ง มีความหวั่นใจหวาดระแวงขุ่นมัว มีอะไรรบกวนอยู่ในใจ
    สุขไม่เต็มที่ แต่พอพัฒนาความสุขขึ้นมา ยิ่งพัฒนาถึงขั้นสูงขึ้น ก็มีโอกาสได้รับความสุขเพิ่มขึ้นหลายทาง
    กลายเป็นว่า ความสุขมีให้เลือกได้มากมาย และจิตใจที่พัฒนาดีแล้ว ช่วยให้เสวยความสุขทุกอย่างได้เต็มที่
    โดยที่ในขณะนั้น ๆ ไม่มีอะไรรบกวนให้ขุ่นข้องหมองมัว

    เป็นอันว่าธรรมะ ช่วยให้เรารู้จักความสุขในการดำเนินชีวิตมากยิ่ง ๆขึ้นไป สู่ความเป็นผู้เต็มเปี่ยมสมบูรณ์
    จนกระทั่งความสุขเป็นคุณสมบัติของชีวิตอยู่ภายในตัวเองตลอดทุกเวลา ไม่ต้องหาไม่ต้องรออีกต่อไป ความสุข ๕ ขั้นนี้
    ความจริงแต่ละข้อต้องอธิบายกันมาก แต่วันนี้พูดไว้พอให้ได้หัวข้อก่อน คิดว่าคงจะเป็นประโยชน์พอสมควร

    ขออนุโมทนา ท่านผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ขอตั้งจิตส่งเสริมกำลังใจ ขอให้ทุกคนประสบจตุรพิธพรชัย
    มีปีติอิ่มใจอย่างน้อยว่า ชีวิตส่วนที่ผ่านมาได้ทำประโยชน์ ได้ทำสิ่งที่มีค่าไปแล้ว ถือว่าได้บรรลุจุดหมายของชีวิตไปแล้วส่วนหนึ่ง

    เพราะฉะนั้นจึงควรตั้งใจว่า เราจะเดินหน้าต่อไปอีกสู่จุดหมายชีวิตที่ควรจะได้ต่อไป เพราะยังมีสิ่งที่จะทำชีวิต
    ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปอีกไม่ใช่แค่นี้ ชีวิตนั้นยังเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เป็นประโยชน์ ที่จะทำให้เต็มเปี่ยมได้ยิ่งกว่านี้
    จึงขอให้ทุกท่านเข้าถึงความสมบูรณ์ของชีวิตนั้นสืบต่อไปและขอให้ทุกที่นมีความร่มเย็นเป็นสุข
    ในพระธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยทั่วกันตลอดกาลทุกเมื่อ


    อ้างอิง :
    คู่มือชีวิต/พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)


    ขอขอบคุณ

    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=icyiceberg&month=25-07-2008&group=2&gblog=64


    </TH></TR></TBODY></TABLE>[/SIZE]
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    แม่.....


    [​IMG]


    ขอฝากกลอนนี้แด่ลูก ที่อยู่ไกลแม่ทุกคนนะ
    ........................

    จะขอกล่าว พรรณนา พระคุณแม่
    เริ่มตั้งแต่ แม่อุ้มท้อง ประคองศรี
    แม่ทนทุกข์ สุดพร่ำ ช้ำชีวี
    ใจกายนี้ พลีให้ลูก เฝ้าผูกพันธ์

    แม่อุ้มท้อง ประคองลูก สุดที่รัก
    แม่ลำบาก ใจกาย ไม่สุขสันต์
    บางครั้งแม่ ต้องตื่น ขึ้นฉับพลัน
    เพราะลูกนั้น ด่าวดิ้น เหมือนสิ้นใจ

    แม่เดินเหิน ไปมา ท่าลำบาก
    เจ็บปวดมาก ผิวกาย ไม่ผ่องใส
    หน้าซีดเผือด เลือดฝาด แม่ขาดไป
    ในภายใน ปั่นป่วน ชวนให้ตรม

    บางครั้งแม่ เจ็บแสน แน่นหน้าอก
    แม่นอนกก ใจหาย ไม่สุขสม
    สรรพางค์ ร้อนผ่าว ร้าวระบม
    แม่ทุกข์ตรม รักษาครรภ์ นั้นเก้าเดือน

    วันที่ลูก ลืมตา มาดูโลก
    แม่ทุกข์โศก ซ้ำร้าย หาใดเหมือน
    แม่ด่าวดิ้น กรีดร้อง ก้องสะเทือน
    แม่เปรียบเหมือน ตกแหล่ง แห่งอบาย

    เสียงลูกร้อง นอนดิ้น แม่สิ้นทุกข์
    แม่มีสุข เพราะสม อารมณ์หมาย
    สองมือกอด ลูกติด แนบชิดกาย
    ถอนหายใจ ดูลูกน้อย พลอยยินดี

    ลูกเกิดมา แม่ก็พร้อม ถนอมเลี้ยง
    เหนื่อยไม่เกี่ยง เพียงให้ลูก ได้สุขี
    ริ้นจะไต่ ไรจะตอม พร้อมธุลี
    แม่ปราณี พัดวีให้ หาใครปาน

    ถึงเมื่อยาม ลูกร้อง ประคองกอด
    มือแม่กอด อิงแอบ แนบขนาน
    ยามลูกเศร้า เหงาใจ ไม่ชื่นบาน
    แม่สงสาร ปลอบจิต หายพิษภัย

    เลือดในกาย แม่นี้ พลีให้ลูก
    ถึงจะทุกข์ ลำบาก ยากแค่ไหน
    แม่ก็สู้ ไม่ย่อท้อ ต่อสิ่งใด
    เพื่อจะให้ ลูกรอด ตลอดมา

    บางครั้งลูก เจ็บป่วย ด้วยโรคร้าย
    ไม่เว้นวาย แม่ยังให้ การรักษา
    จนบางครั้ง แม่ต้องนั่ง หลั่งน้ำตา
    เพื่อลูกยา แม่อดหลับ ขับตานอน

    ถึงเมื่อยาม ลูกน้อย พลอยเติบใหญ่
    แม่ห่วงใย ส่งให้เรียน เพียรฝึกสอน
    เข้าโรงเรียน เขียนกอกา แม่อาวรณ์
    แม่ยังวอน อ้อนลูกน้อย ค่อยเรียนไป

    เหงื่อของแม่ แต่ละหยด หยาดเพื่อลูก
    จิตฝังผูก อนาคต ที่สดใส
    แม่มีคุณ หนุนส่อง ผ่องอำไพ
    แม่เสียใจ ในเมื่อลูก ถูกมลทิน

    .......................................................ลูกๆที่อ่านแล้ว หวังว่าคงจะทำให้คิดถึงแม่บ้างนะ ใครที่มีพ่อแม่ครบ ก็รีบๆทำตอบแทนท่านเร็วๆ เพราะวันหนึ่ง จะได้ไม่เสียใจว่า "ไม่มีเวลาทำตอบแทนท่าน"



    [​IMG]


    <TABLE align=center border=0><TBODY><TR><TD>พระพุทธศาสนาถือว่า มารดาและบิดาเป็นพระพรหม บุรพเทพ บุรพาจารย์ และอาหุไนยบุคคลของบุตรธิดา

    มารดาและบิดา เป็นพระพรหมของบุตรธิดา เพราะมีความประพฤติเช่นเดียวกับพระพรหม คือ มีพรหมวิหาร ๔ ในบุตรธิดา

    ๑. เมตตา คือ เมื่อบุตรธิดาอยู่ในท้อง มารดาบิดานั้นเกิดเมตตาต่อบุตรธิดาว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...