พรหมวิหารสี่ ความประมาท และโพธิสัตว์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย suwi, 29 มกราคม 2008.

  1. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    ไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่คะ
     
  2. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    ปัจจุบัน ครูบาอาจารย์หลายๆท่าน ล้วนแนะนำให้ดูการเกิด-ดับของจิต(ใช้ดูอาการของจิตแทน)
    หลายๆท่านได้ฝึกตามก็เห็นการเกิด-ดับจริง
    แต่ในทัศนะของข้าน้อย เห็นว่า ยังไม่เพียงพอ

    ผู้ปรารถาในพุทธภูมิ นอกจากจะฝึกจนรู้ จนเห็นการเกิด-ดับแล้ว
    ควรจะเข้าไปดู
    ขบวนการเกิด ว่าทำงานอย่างไร
    ขบวนการดับ ดับได้อย่างไร
    และท้ายสุด วางบทศึกษาจนรู้ถึงขบวนการที่จะเข้าไปควบคุม การเกิด การดับ
    นี่คือสิ่งที่เรียกว่า เป็น

    เมื่อทำได้ ขบวนการ รู้ เห็น เป็น จึงจะครบสมบูรณ์
     
  3. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    ขอบคุณค่ะ........เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ
     
  4. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    สมัยหนึ่ง นั่งดูจิตอยู่ ดูไปดูมาให้เกิดสงสัย
    รู้ได้อย่างไรหว่า ว่ากำลังดู(จิต)อยู่
    ถ้ามีการดู นั่นแสดงว่า มีผู้ดู และผู้ถูกดู

    เมื่อผู้ถูกดู เป็นจิต แล้วผู้ดูเล่า เป็นอะไร
    เฝ้าดูเฝ้าพิจารณาอยู่เป็นนาน อ้อ....
    จิตดูจิตนั่นเอง

    เฝ้าฝึก ผู้ดู และผู้ถูกดู จนเห็นชัด
    เอ..เริ่มสงสัยอีก เรารู้ได้อย่างไรเล่าหว่าว่ามี ผู้ดู และผู้ถูกดู
    นั่นแสดงว่าต้องมีผู้สังเกตการณ์อีกผู้หนึ่งนั่งเฝ้าสังเกตุจิต ผู้ดูและผู้ถูกดู อยู่

    นั่งฝึกจนรู้ชัด อ้อ มีผู้ถูกดู(ผู้แสดง) ผู้ดู และผู้สังเกตุการณ์ มีอยู่ถึงสามตัว


    ปัจจุบันพบว่าจิตสามารถแยกการทำงานในเวลาเดียวกันได้ ๗ตัว
    ผู้แสดง มีอยู่ ๑ตัว
    ผู้ดูมีอยู่๒ตัว(ผู้เฝ้าดู, ผู้เสวยอารมณ์)
    ผู้สังเกตุการณ์๓ตัว(ผู้เก็บข้อมูล ผู้ประมวลผล ผู้ตัดสิน)
    และผู้รับรู้ อีก๑ตัว(ผู้รวมความรู้ทั้งหมด วิญญานธาตุ)

    เคยสงสัยว่าแยกมากกว่านี้ได้หรือไม่
    ไม่มีคำตอบ(ปัจจุบันได้คำตอบแล้ว)

    เคยมีผู้ค้านไม่เห็นด้วยกับการฝึกแยกจิตดังกล่าว
    ด้วยครูบาอาจารย์ที่สอนกันมา สอนให้รวมจิตเป็นหนึ่ง(เอกัตตารมณ์)
    ข้อนี้ข้าฯไม่เถียง ด้วยท่านผู้เฒ่าที่ปูพื้นฐานให้ก็กล่าวเช่นนี้
    และยังชี้ให้เห็นว่า ให้รู้จักแยกกันทำ แล้วรวมงานให้เป็นหนึ่ง
    จะเข้าใจและรวมเป็นหนึ่งได้ง่ายกว่า

    ลักษณะเป็นเช่นการฝึกขับรถ(สมัยก่อน)
    มีทั้ง เหยียบคลัส เข้าเกียร จับพวงมาลัย เหยียบเบรค กดคันเร่ง
    ทุกอย่างต้องประสานกัน จึงจะไปได้ หากไม่สัมพันธ์กัน การขับรถจะสะดุด กระตุก ฯลฯ

    ทำไมถึงแยกเพียง๗
    นั่นเป็นเพราะปกติมนุษย์เรามีอยะตนะ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ (เสียง รูป กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์)รวมเป็น๖ และผู้รับรู้(วิญญานธาตุ)อีก๑ ซึ่งแยกกันทำงานอยู่
    ในชีวิตประจำวัน สิ่งหล่านี้ ทำงานประสานกันเป็นปกติ
    แต่พอให้ทำงานแบบใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน เช่นการขับรถ ความสัมพันธ์ในการทำงานหลายๆอย่างพร้อมๆกันก็สับสน
    จึงต้องฝึกกันใหม่
    มีการทำงานสอง-สามอย่างพร้อมกัน การขับรถจึงจะราบเรียบไม่สดุด

    การพิจารณาธรรมก็เช่นกัน
    เช่นทางสายกลาง ต้องพิจรณาธรรมขาวและธรรมดำพร้อมกัน
    และท้ายสุดต้องพิจารณา ธรรมขาว ธรรมดำ และธรรมที่เป็นกลางๆ พร้อมกัน เป็นต้น

    ซึงจะต้องใช้จิต แยกกันทำงานในเวลาเดียวกัน
    และนำมาประมวลผลประสานสอดคล้องกันเป็นหนึ่งเดียว (เอกัตตารมณ์)

    ทั้งหมดนี้คือความรู้ที่จะใช้ ทีจะช้ในการพิจารณา ขันฑ์ห้า
     
  5. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    มีหลายๆท่านใน Web นี้ ได้รับเอกสารการฝึกสมาธิและพลังแบบ เกสา โลมาฯ จาก Suwi
    มีหลายท่านอ่านจบก็ผ่านไป
    หลายท่าน ลองฝึกดู แล้วก็ผ่านไป
    หลายท่านฝึกอย่างจริงจัง
    ถ้าท่านสังเกตุดูการฝึก เกสา โลมาฯ แบบของ suwi
    มันไม่ใช่การฝึกสมาธิแบบทั่วๆไป
    แต่เป็นการฝึก พลัง(ปราณยาม) ประกอบสมาธิ และนำเข้าสู่วิปัสสนา ในเวลาเดียวกัน

    ท่านที่ฝึกอย่างจริงจัง ให้หัดพิจารณาธรรมดู เมื่อเข้าใจสภาวะธรรมแล้ว
    สภาวะธรรมที่ได้จะไปสนับสนุนการฝึกและเพิ่งพลัง(ปราณ)ให้สูงขึ้นเองอย่างอัตโนมัติ ซึ่งต่างกับการฝึกพลังในสายอื่นๆ
    เมื่อเราเข้าใจ ในภาวะธรรมบางประการ(ไม่ต้องทั้งหมด) ท่านจะสามารถ รักษาโรคภัยใข้เจ็บให้ตัวเองได้
    บางท่านอาจจะช่วยเหลือผู้อื่นได้ด้วย

    ในกระทู้ที่เขียนไว้นี้ ได้ซ่อนสภาวะธรรมที่สนับสนุนการฝึกปราณยามไว้
    พิจารณาดูให้ดี
    และจงใช้ให้เป็นประโยชน์ แก่ตนเองและผู้อื่น ด้วบพรหมวิหารธรรม
     
  6. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    กลับเข้าสู่ การพิจารณา พรหมวิหารสี่ อีกครั้ง
    เรื่องของ อุเบกขาธรรมยังไม่จบง่ายๆ
    ยังขาดฝอยในรายละเอียดอยู๋อีก
    ซึ่งต้องใช้ความรู้ในเรื่อง ขันธ์ห้า มาประกอบจึงจะเข้าใจ

    เดี๋ยวจะมาเล่าต่อ
     
  7. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ deejaimark [​IMG]

    วันนี้ได้มีโอกาสทำบุญ คือ ช่วยลูกแมวที่ตกลงไปในถังน้ำ....
    ได้ยินแต่เสียงลูกแมวร้อง มองไม่เห็นตัว เพราะถังน้ำอยู่บ้านตรงข้าม และบ้านนั้นก็ไม่มีคนอยู่ ปืนรั้วขึ้นไปดู เห็นแต่เเม่แมว ยืนเฝ้าถังน้ำอยู่
    ว่าจะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นแล้วเชียว แต่นึกได้ว่า เป็นการวางอุเบกขาที่ผิด ก็เลยไ้ด้มีโอกาสช่วยชีวิตสัตว์หนึ่งตัวค่ะ.......
    ขอบคุณท่านที่ตั้งกระทู้นี้ ที่ทำให้มีโอกาสได้ พิจารณาธรรมค่ะ


    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ suwi [​IMG]

    สมมุติว่างานนี้คุณเข้าไปช่วยไม่ได้ด้วยติดรั้วที่กันไว้
    หาทางสุดๆแล้วก็เข้าไปไม่ได้
    แต่ใจเราต้องการช่วย(เมตตา)
    แต่เราไม่อาจลงมือช่วยได้ด้วยติดรั้วกันอยู่ หมดปัญญาที่จะเข้าไปลงมือช่วย(แสดงกรุณาไม่ได้)
    (ช่วยไม่ได้ ช่วยไม่สำเร็จ) สิ่งที่เกิดขึ้นในใจท่านคืออะไร

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ความรุ่มร้อน ความกระวนกระวาน ความไม่สบายใจ ฯลฯ
    ย่อมเกิดขึ้นแน่นอน
    สิ่งเหล่านี้เป็นเวทนาที่จิตเสวยอยู่ (เป็นผลจากขบวนการสร้างสังขารของขันฑ์ห้า)
    สิ่งเหล่านนี้ล้วนก่อทุกข์ ให้แก่จิต-ตัวเรา ที่เสวยอารมณ์เวทนานั้น
    ถ้าไม่กระทำอะไรสักอย่าง อารมณ์(เวทนา)ที่ก่อตัวขึ้นก็จะทวีขึ้น(เกิด-ดับ อยู่ในเรื่องเดิมและทวีกำลังขึ้น เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ)
    ความเสียใจ ร้องไห้ ฟูมฟาย ย่อมตามมา
    แต่หากมีสติ หักห้ามใจได้ หยุดขบวนการสร้างสังขาร ของขันฑ์ห้าได้
    ขบวนการเกิด-ดับ(ของขันฑ์ห้า)จะถูกหยุดลงเพียงเท่านัน

    ถ้าสติมั่นคงและตามทันเร็ว ขบวนการเกิดสังขารธรรมของขันฑ์ห้า(ความเศร้าเสียใจ ฯลฯ) เกิด-ดับเพียงไม่กี่รอบ ก็หยุดจะลง
    ถ้าสติเร็วมาก เพียงขบวนการของขันฑ์ห้าเริ่มการก่อตัว ก็ถูกสติยับยั้งแล้ว
    (รูป เกิด เวทนาเริ่มก่อตัว ก็ถูกยับยั้งแล้ว ขบวนการของขันฑ์ห้ายังเกิดไม่ครบรอบ)

    ขบวนการ(หยุดฯ)เหล่านี้ เราเรียกว่าการปล่อยวาง หรืออุเบกขา


    ในสมันหนึ่ง

    เมื่อหัดให้จิตดูจิต จนรู้วิธีแยกจิต และรวมจิตแล้ว
    และนำความรู้ที่ได้ เข้าร่วมพิจารณาการสร้างสังขารธรรมของ ขันธ์ห้า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาน
    และเริ่มรุ้ เริ่มเห็น การแปรเปลี่ยนของสังขารธรรม (ที่ขบวนการของขันธ์ห้าสร้างขึ้น)
    คีเวอร์ด ของการสร้าง(สังขาร)ที่สำคัญ อยู่ที่สัญญา ที่ดึงขึ้นมารวมกับเวทนา
    ถ้าจิตเร็วพอ(เร่งความเร็วจิต) เปลี่ยสัญญาที่ควรเป็นให้เปลี่ยนไป (หรือหยุดสัญญา)
    สังขารธรรมที่ได้ย่อมเปลี่ยนตามสัญญา
    ดังเช่นคนบ้า ที่มีสติ แต่ไร้สัมปชัญะ เรื่องที่ควรร้องไห้เธอกลับหัวเราะ
    นั่นเป็นเพราะสัญญาที่เธอดึงขึ้นมาใช้ไม่สัมพันธ์กับเวทนาที่เกิดขึ้น

    ความรู้นี้เอง เมื่อเรานำไปใช้ประกอบในการสร้างสังขารธรรมทั้งปวง
    บางครังปฏิกริยาที่เราแสดงออก(สังขารธรรมที่สร้างขึ้น) ก็ไม่ต่างกับคนบ้า สักเท่าใด
    และใช้ความรู้นี้ วางอุเบกขา ในสภาพธรรมต่างๆได้โดยง่ายๆ
     
  8. เด็กใหม่คับ

    เด็กใหม่คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +152
    ล้ำลึก ...... สุดยอดเลยครับ
     
  9. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    ในอีกสมัยหนึ่ง
    ระหว่างการพิจารณา ขันธ์ห้าอยู่
    รับรู้ถึงขบวนการสร้างและทำลาย สังขารธรรมที่เกิดจากขันธ์ห้า
    และรับรู้ถึงขบวนการปล่อยวางในรูปแบบต่างๆ

    ใจประหวัดไปถึงเรื่องของพรมหมวิหารสี่ ในเรื่องของบุรุษที่๒ ที่ว่า

    เจตนาของบุรุษ๒ ช่วงแรกคือ "เมตตา"
    หยิบไม้ขึ้นมาแล้วกวัดแกว่ง นั่นคือ "กรุณา"
    ความโล่งว่างที่รับรู้คือการทรงอารมภ์ "อุเบกขา"
    ยิ้มนิดหนึ่งนั่นคือ "มุทิตา"

    สงสัยในเรื่ออุเบกขาธรรมที่ บุรุษ๒ ได้แสดงออก
    พิจารณาโดยสวมความรู้สึกของบุรุษ๒ และวิธีปล่อยวางในสังขารธรรมที่เพิ่งพิจารณาผ่านเมื่อครู่

    โดยอนุโลมและปฏิโลม
    เห็นความแตกต่างกันสุดกู่

    ที่บุรุษ๒ แสดงออก
    เหมือนกับการสลายหรือทำลาย สังขารธรรมที่เริ่มเกิดขึ้น (ยังไม่เป็นต้วตนดี-เหมือนโดนทำแท้ง) จนสิ้นเชื้อ ในสถานที่แห่งหนึ่ง

    ส่วนการปล่อยวาง ที่พิจารณาอยู่
    เหมือนกับว่า เป็นการหยุดงาน หรือทิ้งงานไม่ทำต่อ และปล่อยให้สังขารธรรมที่เริ่มเกิดขึ้นค้างเติ่งอยู่เช่นนั้น
    และค่อยๆสลายไปในที่สุด(แต่ยังทิ้งร่องรอยไว้(สัญญา))

    ใจเริ่มตั้งคำถาม และขอคำอธิบายเพิ่มความกระจ่าง ในสิ่งที่รู้สึก ที่ได้รับรู้ ลงในจุดสวางใสที่ปลายจมูก และนิ่งรอรู้อยู่

    มีเสียงเล็กๆตอบกลับมาว่า
    ที่รู้ก็ถูกแล้วนี่ จะถามอะไรอีก
    อุเบกขาที่พิจารณาอยู่ กับอุเบกขาที่บุรุษ๒ แสดงออกไม่เหมือนกัน
    ไอ้โลงๆว่าง ที่บุรุษ๒ ทรงอยู่มันคืออะไรแน่
    ความว่างใง เขาเรียกว่า อากาศธาตุเป็นที่รองรับการเกิดขึ้น และการสลายไป ของทุกสรรพสิ่ง
    เอ การปล่อยวาง ละ
    เองดูให้ดี การปล่อยวาง ก็เกิดขึ้น และสลายไป บนอากาศธาตุเช่นกัน
    เอ... มันต่างกันเยอะนะ
    ใช่.. เป็นเพราะบุรุษ๒ทรงความโลงว่างเป็นอารมณ์ (ทรงฌานห้า(เกือบตลอดเวลา))
    ส่วนการปล่อยวางไม่ใช่

    เอ้อ...ข้าให้เองทรงความรู้สึกโลงว่างแบบที่บุรุษ๒ทำ ทำได้แค่ใหนแล้วละ
    แฮะ ๆๆ....


    จบพรหมวิหารธรรมจ๊ะ
    ต่อไปจะอธิบาย เบื้องหลังการพิจารณาธรรมนะจะ
     
  10. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    ต้องตามอ่านแล้วอ่านอีก อ่านซ้ำไปซ้ำมาหลายรอบ เข้ามาอ่านทุกว้น และบ่อยๆ เพื่อมาทำความเข้าใจคะ ........ดีมากๆ เลยค่ะ ถ้าพิจารณาตาม จะเข้าใจสภาวะ ของพรหมวิหารสี่ชัดเจนขึ้นมากกว่าเดิมมาก จากที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อนเลย
     
  11. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543

    ตามที่ถามมา
    ถ้าติดตามอ่านถึงตรงนี้แล้ว คงหมดความสงสัยว่า
    การวางพรหมวิหารสี่ในความว่างทำอย่างไร

    ความจริงแล้ว สังขารธรรมทั้งปวง มีอากาศธาตุเป็นที่รองรับการเกิด-ดับ อยู่โดยธรรม(ชาติ)
    เราไม่ต้องนำสังขารธรรมเข้าไปวางในความว่างเลย เพราะมันเป็นเช่นนั้นเองอยู่แล้ว

    สิ่งที่จะต้องทำ มีเพียงเข้าไปรู้จักความว่าง เท่านั้น ว่าเป็นอย่างไร
    วิธีการก็คือการเข้าให้ถึงฌานห้า(อรูปฌาน๑) เท่านัน

    ลองหาอ่านดู ของหลวงพ่อฤๅษีฯ จะเข้าใจง่าย
    ผู้ที่ได้กสิณ ก็คือผู้สามารถสร้างสังขารธรรม(ของกสิณ)ขึ้นมาได้
    สังขารธรรมย่อมวางอยู่บนความว่างเป็นปกติ
    เพิกสังขารธรรมนั่นเสีย ความว่างจะค่อยๆปรากฏขึ้น ให้รู้ ให้เห็น และท้ายสุด ให้เป็น

    สังขารธรรมที่กล่าวถึงไม่จำเป็นว่าต้องเป็นกสิณ(กองใดกองหนึ่ง)
    อาจเป็นสังขารธรรมใดก็ได้ที่เราฝึกได้และมองเห็นชัด
     
  12. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    ขอกลับมาอธิบายเรื่องของความว่าง(อากาศธาตุ)อีกนิด
    เหล็กกำลังร้อนอยู่ หากผ่านเลยไป แล้วกลับมาอธิบายใหม่ คงต้องเสียเวลาเผาเหล็กอีกนาน (ปูเรื่องราวเพื่อนำเข้าสู่สิ่งที่ต้องการ)


    เอ้อ...ข้าให้เองทรงความรู้สึกโลงว่างแบบที่บุรุษ๒ทำ ทำได้แค่ใหนแล้วละ
    แฮะ ๆๆ....เหมือนที่เคยบอก ทำได้เดี๋ยวๆด๋าวๆ เอง ทรงอารมณ์ต่อเนื่องไม่ได้
    เอ...ทำไมจีงเป็นเช่นนี้หนอ นึกตั้งคำถามในใจ

    ยากตรงใหนวะ เองก็รู้หมดแล้วนี่
    หารู้หมดแล้วเหรอ
    เออ... พิจารณา แล้วสรุปผล (ให้จิตตัวที่ สี่ ห้า หก เจ็ด ทำงานซะบ้างซิ)
    เอ ..สรุปผลเหรอ
    นิ่งไปพักใหญ่ ประมวลสิ่งที่เห็น สิ่งที่รู้ทั้งหมดใหม่อีกครั้ง ประมวลความรู้สึก ในเวทนาที่ได้รับ
    เอ.. มันก็ไม่เห็นมีอะไรเลย
    สรุปผลที่ได้มาให่ฟังหน่อย
    ความว่าง(อากศธาตุ) รู้สึกว่าจะกลมรอบตัว แต่หาขอบไม่ได้
    เออ..ถูก
    สังขารธรรมทั้งปวง ล้วนเกิด- ดับ (สร้าง-ทำลาย) อยู่ในความว่างทั้งสิ้น
    เองดูให้ดี อยู่ตรงใหนของทรงกลม
    อื้อ..เหมือนกับว่าอยู่ตรงศูนย์กลางของทรงกลม
    ศูนย์กลางนะ
    ใช่ ศูนย์กลาง

    เองดูขบวนการสร้าง และทำลายของขันธ์ห้าที่ศุนย์กลางนะ ดึงให้ช้าๆนะ ทำได้แล้วนี่(รู้แล้ว เห็นแล้ว)
    รู้สึกยังไง เอาตอนสร้าง(เกิด)ก่อนนะ
    เอ..มันก็สร้าง เกิด-ดับ อยู่ที่ศูนย์กลางของทรงกลม
    รู้ได้ไงว่า ศูนย์กลาง เองเห็นเหรอ(มั่วนี่หว่า)
    เอ้อ.. ไม่เห็นจิงๆวุ้ย สังขารธรรมของสิ่งที่เราสร้างบังมิดหมด

    เองดูตอนทำลาย(ดับ)ซิ
    อ้อ...ตอนสังขารธรรมเริ่มจางหายไป ก็เริ่มสัมผัสกับทรงกลมของความว่าง
    สัมผ้ส ชัดขึ้นๆ และเห็นชัดเจน เมื่อสังขารธรรมดับสิ้น
    ช่ายแล้ว เก่งนิ
    (สรุป : ตราบใดที่ยังมีสังขารธรรมอยู่ ย่อมไม่เห็นความว่าง เมื่อสังขารธรรมดับสิ้น ความว่างจะค่อยๆปรากฏให้เห็น)

    แต่เอ ทำไมทรงอารมณ์ของความว่างไว้ไม่ได้นิ (ลึกๆ ความว่าง(อากาศธาตุ)ก็ยังเป็นสังขารธรรมละเอียดอย่างหนึ่ง)
    เองดูที่ขบวนการทำลาย(ดับ)ซิ เองรู้ เองเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร ช้าๆนะ

    เอ..ขบวนการทำลาย-ดับ ไม่ต้องทำอะไร หยุดนิ่งๆก็พอ
    เมื่อรูปเกิดขึ้นแล้ว หยุดไม่นำเวทนา ขึ้นมาผสม
    หากเวทนาเกิดขึ้นแล้ว เราก็หยุด ไม่นำสัญญาเข้าผสม
    เอ.. เหมือนกับที่ครูบาอาจารย์พูดไว้นิ เห็นก็สักว่าเห็น รู้ก็สักว่ารู้ เราหยุดไม่เอาเวทนา สัญญาเก่าขึ้นมาผสมโรง สังขารธรรมตัวใหม่ก็ไม่เกิด
    อาหารของสังขารตัวไหม่ก็ไม่มี ทุกอย่างก็หยุดหมด
    ก็ถูกแล้วนี่ หยุดไง
    แต่ยังทรงอารมณ์ไม่ได้นานนา

    ไอ้ไง่เอ้ย เองดูดีๆ ตอนที่เองหยุดนะ เองหยุดจริงเรอะ
    นิ่งไปอีกพักใหญ่
    เออเว้ย.. พอคิดว่าจะหยุด ใจมันก็สร้างสังขารธรรมของการหยุดขึ้น
    สังขารธรรมของการหยุดจะบดบัง ความว่างเสียสิ้น
    เอ.. แล้วต้องทำยังไง
    หยุดในหยุดไง

    แล้วเอ็งพิจารณามาตั้งนาน วิญญาน(ธาตุ)หายไปไหน หว่า
     
  13. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    แล้วเอ็งพิจารณามาตั้งนาน วิญญาน(ธาตุ)หายไปไหน หว่า
    เออ จริงซิ เอาวิญญานธาตุไปไว้ที่ใหน

    ทุกการสร้างสังขารธรรมล้วนเกิดวิญญานธาตุขึ้นทั้งสิ้น
    วิญญานธาตุล้วนสถิตอยู่กับสังขารธรรมที่เกิดขึ้นทุกอณูเนื้อ
    เพียงวางจิตลง กลางสังขารธรรม และตั้งรู้ลงกลางสังขารธรรมนั้น
    เท่ากับตั้งจิตลงบนวิญญานธาตุ ของสังขารธรรมนั้นๆ
    เราจะรู้ในทุกสิ่งที่เกี่ยวกับสังขารธรรมนั้น รวมถึงการสร้าง(เกิด)และการทำลาย(ดับ)

    ด้วยความรู้นี้ เมื่อความว่างปรากฏ ให้วางใจ(จิต)ลงบนความว่างเข้าซึมซับรู้ในรู้(วิญญานธาตุ)ของความว่างนั้น
    ด้วยวิธีนี้ เอ็งจะทรงความว่างเป็นอารมณ์ได้นานขึ้น ๆ เมื่อชำนาญ ก็จะอยู่ในอารมณ์ว่างได้ตลอดเวลา
     
  14. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    รบกวนขอเอกสารครับ


    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->อ. SUWI ครับขอ เอกสารการฝึกสมาธิและพลังแบบ เกสา โลมาฯ อ้างอิงจากกระทู้ข้างล่างด้วยครับ สนใจครับ [​IMG]

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ suwi [​IMG]
    มีหลายๆท่านใน Web นี้ ได้รับเอกสารการฝึกสมาธิและพลังแบบ เกสา โลมาฯ จาก Suwi
    มีหลายท่านอ่านจบก็ผ่านไป
    หลายท่าน ลองฝึกดู แล้วก็ผ่านไป
    หลายท่านฝึกอย่างจริงจัง
    ถ้าท่านสังเกตุดูการฝึก เกสา โลมาฯ แบบของ suwi
    มันไม่ใช่การฝึกสมาธิแบบทั่วๆไป
    แต่เป็นการฝึก พลัง(ปราณยาม) ประกอบสมาธิ และนำเข้าสู่วิปัสสนา ในเวลาเดียวกัน

    ท่านที่ฝึกอย่างจริงจัง ให้หัดพิจารณาธรรมดู เมื่อเข้าใจสภาวะธรรมแล้ว
    สภาวะธรรมที่ได้จะไปสนับสนุนการฝึกและเพิ่งพลัง(ปราณ)ให้สูงขึ้นเองอย่างอัตโนมัติ ซึ่งต่างกับการฝึกพลังในสายอื่นๆ
    เมื่อเราเข้าใจ ในภาวะธรรมบางประการ(ไม่ต้องทั้งหมด) ท่านจะสามารถ รักษาโรคภัยใข้เจ็บให้ตัวเองได้
    บางท่านอาจจะช่วยเหลือผู้อื่นได้ด้วย

    ในกระทู้ที่เขียนไว้นี้ ได้ซ่อนสภาวะธรรมที่สนับสนุนการฝึกปราณยามไว้
    พิจารณาดูให้ดี
    และจงใช้ให้เป็นประโยชน์ แก่ตนเองและผู้อื่น ด้วบพรหมวิหารธรรม


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    มึผู้สนใจขอเอกสารการฝึกหลายท่าน
    ขอเบอร E-mail อาจทางPM หรือผ่านกระทู้นี้ก็ได้
    ผมจะส่งเอกสารไปให้
     
  15. RuamJit

    RuamJit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +628
    ได้รับแล้วครับ ขอบคุณครับ [​IMG][​IMG]
     
  16. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543

    เมื่อสังขารธรรมถูกละ ความว่างจึงปรากฎ(อรูปฌานที่๑เริ่มต้น)

    เราเริ่มวางจิตลงบนวิญญานธาตุของความว่าง และเริ่มซึมซับความรู้ทั้งมวล
    ความรู้ที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกลงในจิต และเราจะใช้ความรู้ที่ถูกบันทึกนี้เป็นสัญญาตัวใหม่
    สัญญาแห่งความว่างได้ถูกบันทึกแล้ว และเราจะใช้สัญญานี้ในการสร้างสังขารธรรมตัวใหม่(สังขารธรรมละเอียด)

    วิญญานธาตุตัวใหม่บังเกิดขึ้นตามสังขารธรรมตัวใหม่ ซึ่งคือความว่างเหมือนเดิม
    จิตจะรับรู้ ความว่างเดิมๆที่เกิดขึ้น ไม่มีอะไรแปลกใหม่
    จิตจะเริ่มเพิก/ไม่ใส่ใจในความว่างนั้น วิญญานธาตุของความว่างจึงถูกละ (อรูปฌาน๒ เกิด)

    เมื่อวิญญานธาตุของความว่างดับสนิท ว่างในว่างย่อมปรากฏ (อรูปฌาน๓)

    ตอนนี้เหลือเพียงสัญญาเดิม(สุดท้าย)ที่ยังคงอยู่
    การสร้างสังขารธรรม(อุเบกขา) จึงเกิด-ดับอยู่ในความว่างในว่าง
    เมื่อเฝ้าดูสังขารธรรมแห่งความว่างตัวใหม่นี้ ที่เกิด-ดับ ในความว่างในว่างโดยใช้สัญญาเดิมๆ (ไม่มีวิญญานธาตุใหม่มาปรุงแต่งเป็นสัญญาตัวใหม่)

    สัญญาตัวนี้ไม่มีความแปลกใหม่ ไม่น่าสนใจ
    การสร้างสังขารธรรมตัวใหม่จึงขาดการปรุงแต่งโดยสัญญา
    สัญญาจะมีหรือไม่มี ล้วยเหมือนกันทั้งสิ้น
    เมื่อความรู้นี้เริ่มปรากฏ เรากำลังเดินอยู่บนอรูปฌาน๔

    ว่างในว่างยิ่งปรากฏชัดขึ้น ชัดขึ้น
    ว่างในว่าง ที่ปรากฎให้เห็นนี้คืออะไรหนอ

    ว่างในว่างนี้กับซ้อนทับกันสนิทเป็นเนื้อเดียวกันกับอากาศธาตุ
    มีลักษณะเป็นทรงกลม เช่นเดียวกันกับอากาศธาตุ
    และมีศูนย์กลางร่วมกัน

    มีเสียงเล็กๆแว่วมา
    สุญตา
     
  17. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    ไม่น่าเชื่อเนาะ พิจารณาธรรม พรหมวิหารสี่ตัวเดียว จะนำมาสู่ดินแดนแห่งนี้ได้
    ถ้าทุกท่านคิดว่าเรามาถึงปากประตูเพื่อเข้าสู่ดินแดนพิเศษนี้แล้วละก็ ท่านคิดผิด

    ตอนนี้เรายังอยู่นอกคฤหาสน์ เรายังขาดความรู้ที่จะเดินผ่านขึ้นไปบนชานเรือน

    ระยะทางจากชานเรือนไปสู่ปากประตูยังอีกไกล(จะว่าไกลก็ไม่ไกลจะว่าใกล้ก็ไม่ใกล้)

    เราต้องกลับไปพิจารณาเรื่องของ ขันธ์ห้า และอายะตนะหก (ใน/นอก) อีกครั้ง
    เอาให้รู้ ให้เห็น และต้องให้เป็น
    มิฉะนั้นเราไม่อาจขึ้นไปเดินบนชานเรือนแห่งนี้ได้
     
  18. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    ธรรม ที่สุวิเขียนไว้แล้ว และที่จะเขียนเพิ่มเติมต่อไปจากนี้ ล้วนเป็นธรรมที่
    ต้องรู้ ต้องเห็น และ ต้องเป็น จึงจะเข้าสู่ดินแดนพิเศษได้

    รู้ มีลักษณะดุจดังได้อ่านหนังสือ ได้ฟังบรรยานในห้องเรียน
    หรือได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ จนรู้จดจำทุกสิ่งที่ได้บันทึกไว้ และแตกฉานในทุกแง่และทุกมุม

    เห็น เป็นดุจดัง ได้เรียนรู้แล้ว ได้เข้าห้องทดลอง เอาสิ่งที่รู้มาทดสอบ จนเห็นจริงว่าสิ่งที่ทฤษฎี(ปริยัติ)กล่าวไว้เป็นจริง
    การเห็นนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเห็นด้วยตาเนื้อ ตาใน หรือนึกรู้ นึกเห็น และแวปๆเห็น ล้วนเป็นการเห็นทั้งสิ้น

    เป็น สิ่งนี้ดุจดังได้เรียนรู้แล้ว ทดลองจนเห็นจริงแล้ว
    และต้องหล่อหลอมสิ่งที่รู้สิ่งที่เห็นเข้ามารวมเป็นส่วนหนึ่งของกายธาตุจิตวิญญานตนเอง
    เปรียบประดุจดัง วิศวกร ได้เรียนรู้ คนคว้าในชั้นเรียนแล้วจนรู้ภาคทฤษฎีทะลุปรุโปร่ง ได้เข้าห้องทดลองแล้วว่าที่เรียนรู้มานั้นเป็นจริง
    และได้เรียบเรียง รวบรวมความรู้ทั้งหมดให้ต่อเนื่องเป็นขบวนการ จนสามารถออกแบบได้ สร้างขึ้นมาใหม่ได้ ซ่อมสิ่งที่เสียให้กลับดีขึ้นได้
    ผู้ที่เรียนรู้ในวิชาการปัจจุบันก็เป็นเช่นนี้เช่นกัน บางคนเพียงแค่รู้ในตำราไม่สามารถรู้ได้ว่าสิ่งที่ตัวรู้ถูกต้องหรือไม่ด้วยไม่เคยรู้วิธีการทดลองมาก่อน
    บางคนก็ทั้งรู้ทั้งเห็น แต่ทำไม่เป็น
    บางท่านก็เป็นทั้ง รู้ ทั้งเห็น ทั้งเป็น พวกนี้ถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ

    ในทางธรรม เราต้องทั้งรู้ทั้งเห็น และที่สุดต้องเป็นจึงจะผ่านด่านต่างได้

    สิ่งที่สุวิบันทึกไว้นี้ล้วนเป็นสิ่งที่ รู้แล้ว เห็นแล้ว ทั้งสิ้น
    มีเพียงบางส่วนที่ทั้งรู้ทั้งเห็นทั้งเป็น
    บางส่วน ออกแบบได้ แต่สร้างไม่ได้ ซ่อมไม่ได้
    บางส่วน ออกแบบได้ ซ่อมได้ แต่สร้างไม่เป็น
    สรุปได้ว่าเป็นไม่สมบูณณ์
     
  19. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    แต่เดิม นานมาแล้ว สุวินิสัยไม่ดี ไม่เหมือนใคร เป็นคนมีโทะมาก แบบเกิดยากหายช้า
    ถือเป็นความสามารถพิเศษ สามารถทรงอารมณ์โทษะได้ข้ามวันข้ามคืน
    ด้วยความสามารถนี้ จึงทำให้สุวิได้พรวิเศษติดตัว (วิบากกรรม)
    มีความดันเลือดสูง เป็นผู้มีบูญมาก มีแนวโน้มสูง(มากๆ)ที่จะได้นั่งกินนอนกิน
    ไม่ต้องทำสิ่งใด ถึงเวลาก็จะมีคนมาป้อนข้าวป้อนน้ำ เวลาทำกิจส่วนตัวก็จะมีคนมาช่วยเหลือจับโน่นทำนี่ให้
    แหม่...น่าอิฉานิ

    แต่เดิมก็ชอบฝึกสมาธิมาตั้งแต่เริ่มย่างวัยรุ่น ศึกษาทดลองทุกแบบ ทุกสำนัก แต่ใช้การไม่ได้สักอย่าง
    โชคดี ได้พบท่านผู้เฒ่า ท่านว่าหากจะฝึกสมาธิต้องลดกิเลสตัวใดตัวหนึ่ง ที่มีอยู่ลงบ้างสักส่วนหนึ่ง สักครึ่งก็ดี (กิเลส=โทษะ โมหะ ราคะ โลภะ พยาบาท)
    เมื่อลดได้ การฝึกจะก้าวหน้าได้ เมื่อก้าวหน้าแล้วก็ให้นำกลับมาลดกิเลสลงอีกและเหลือไว้ส่วนหนึ่งสำหรับการดำรงค์ดำเนินชีวิต อย่าตัดหมดจะอยู่แบบฆารวาสไม่ได้
    สำหรับเอ็งควรพิจารณาลดโทษะเป็นพิเศษ มันจะเปลี่ยนแปลงอนาคตส่วนตัวเอ็งได้

    ด้วยเหตุนี้เมื่อเริ่มฝึกจึงเฝ้าดูโทษะของตวเองเป็นพิเศษ
     
  20. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    สมัยหนึ่ง นั่งภาวนาว่า โกรธหนอ โกรธหนอ....
    จิตระลึกถึงความโกรธ ที่เคยประสพมา เป็นขบวนการ
    ตั้งแต่เริ่มเกิด ทั้งภายนอก(สิ่งที่มากระทบ) ภายใน(เวทนาที่เกิด) จนเกิดอารมณ์โมโหสุดๆ จนระเบิดออกมา
    นั่งดูอยู่เช่นนั้น ย้อนไปย้อนมา ลองย้อนกลับไปเสวยเวทนา แห่งอารมณ์ ณ.เวลานั้น

    โอโห้...เลือดลมพลุ่งพล่าน ดันตรงโน้น กดตรงนี้ เนื้อสมองถูกดันจนโปง จนเจ็บ

    ให้นึกรู้ นึกสงสัยว่า เอ.. บุญใหญ่จะหล่นทับ ถ้าปล่อยไว้เช่นนี้ ไม่นาน บุญใหญ่คงหล่นทับแน่นๆ ได้นั่งกินนอนกิน มีคนมาบริการถึงที่แน่ๆ ไม่ต้องลุกไปใหน

    ใจนึกปฏิเสธ เราไม่ควรรับบุญใหญ่(วิบากกรรม)เช่นนี้
    มีวิธีใดบ้างหนอ ที่จะหลุดพ้นจากวิบากนี้
    เหตุได้ถูกตั้งขึ้นในจิตแล้ว นิ่งในนิ่ง ลงบนความสว่างใสที่ปลายจมูก

    โกรธหนอ โกรธหนอ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...