เมื่อเข้าไปอยู่ในความว่างแล้วควรทำอย่างไรต่อครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อัฑฒเศรษฐ์, 2 มิถุนายน 2008.

  1. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    (ตอบ บทความกระทู้แรกนะครับ)
    ผมก็เคยมีอาการอย่างนี้มาก่อนครับ ก็อาศัยค้นคว้าเรื่องสมาธิด้วยตัวเองตลอดแต่ก่อนผมยังไม่รู้จากเว็บไซค์นี้ ผมใช้วิธีคือไม่สนใจกับสิ่งต่างๆที่พบเห็นไม่ว่าจะเป็นภาพนิมิตรต่างๆเช่นภาพคนหรือสิ่งของ หรือ สิ่งที่เรียกว่าโลกวิญญาณ
    หรือแสงสีต่างๆซึ่งก็แล้วแต่ละบุคคลจะพบเจอ แต่สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความว่าง
    เปล่าไม่มีเขาไม่มีเรา ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ สามารถไป ยังสถาณที่ใดก็ได้ แต่อย่าลืมเรื่องของเวลาเข้าออกของจิต ควรฝึกให้เข้าออกจนเคยชินนะครับ พอถึงเวลาจิตมันจะกลับเองโดยอัตโนมัติครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2008
  2. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    อันนี้ให้ระวังนะครับถือว่าเริ่มผิดทางแล้ว อย่าลืมว่าท่านยึดองค์ภาวนาบทใดอยู่ รีบแก้ไขด่วน (ผมเคยพบเจอบุคคลรอบข้างมาแล้วครับ)(||)
     
  3. อัฑฒเศรษฐ์

    อัฑฒเศรษฐ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +21
    แป่ว ๆ ๆ เจอเขาว่าบ้าไปซะแล้ว เหอะๆๆ แต่ชินกับคำว่าบ้ามาตั้งแต่พูดเรื่องกฏแห่งกรรมแล้วครับ อิอิ^-^ แล้วก็ขอบคุณสำหรับท่านที่ให้คำแนะนำนะครับ
     
  4. แอ๊บแบ้ว

    แอ๊บแบ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +2,544
    สติปัฏฐาน 4

    มุตโตทัย โอวาทของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    ๘. สติปัฏฐาน เป็น ชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน
    พระบรมศาสดาจารย์เจ้า ทรงตั้งชัยภูมิไว้ในธรรมข้อไหน? เมื่อพิจารณาปัญหานี้ได้ความขึ้นว่า พระองค์ทรงตั้งมหาสติปัฏฐานเป็นชัยภูมิ
    อุปมาในทางโลก การรบทัพชิงชัย มุ่งหมายชัยชนะจำต้องหา ชัยภูมิ ถ้าได้ชัยภูมิที่ดีแล้วย่อมสามารถป้องกันอาวุธของข้าศึกได้ดี ณ ที่นั้นสามารถรวบรวมกำลังใหญ่เข้าฆ่าฟันข้าศึกให้ปราชัยพ่ายแพ้ไปได้ ที่เช่นนั้นท่านจึงเรียกว่า ชัยภูมิ คือที่ที่ประกอบไปด้วยค่ายคูประตูและหอรบอันมั่นคงฉันใด
    อุปไมยในทางธรรมก็ฉันนั้น ที่เอามหาสติปัฏฐานเป็นชัยภูมิก็โดยผู้ที่จะเข้าสู่สงครามรบข้าศึก คือ กิเลส ต้องพิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นต้นก่อน เพราะคนเราที่จะเกิด กามราคะ เป็นต้น ขึ้น ก็เกิดที่กายและใจ เพราะตาแลไปเห็นกายทำให้ใจกำเริบ เหตุนั้นจึงได้ความว่า กายเป็นเครื่องก่อเหตุ จึงต้องพิจารณากายนี้ก่อน จะได้เป็นเครื่องดับนิวรณ์ทำให้ใจสงบได้ ณ ที่นี้พึง ทำให้มาก เจริญให้มาก คือพิจารณาไม่ต้องถอยเลยทีเดียว ในเมื่ออุคคหนิมิตปรากฏ จะปรากฏกายส่วนไหนก็ตาม ให้พึงถือเอากายส่วนที่ได้เห็นนั้นพิจารณาให้เป็นหลักไว้ไม่ต้องย้ายไปพิจารณาที่อื่น จะคิดว่าที่นี่เราเห็นแล้ว ที่อื่นยังไม่เห็น ก็ต้องไปพิจารณาที่อื่นซิ เช่นนี้หาควรไม่ ถึงแม้จะพิจารณาจนแยกกายออกมาเป็นส่วนๆ ทุกๆอาการอันเป็นธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ได้อย่างละเอียด ที่เรียกว่าปฏิภาคก็ตาม ก็ให้พิจารณากายที่เราเห็นทีแรกด้วยอุคคหนิมิตนั้นจนชำนาญ ที่จะชำนาญได้ก็ต้องพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีก ณ ที่เดียวนั้นเอง เหมือนสวดมนต์ฉะนั้น อันการสวดมนต์ เมื่อเราท่องสูตรนี้ได้แล้ว ทิ้งเสียไม่เล่าไม่สวดไว้อีก ก็จะลืมเสียไม่สำเร็จประโยชน์อะไรเลย เพราะไม่ทำให้ชำนาญด้วยความประมาทฉันใด การพิจารณากายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อได้อุคคหนิมิตในที่ใดแล้ว ไม่พิจารณาในที่นั้นให้มากปล่อยทิ้งเสียด้วยความประมาทก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรอย่างเดียวกัน
    การพิจารณากายนี้มีที่อ้างมาก ดั่งในการบวชทุกวันนี้ เบื้องต้นต้องบอกกรรมฐาน ๕ ก็คือ กายนี้เอง ก่อนอื่นหมดเพราะเป็นของสำคัญ ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์พระธรรมบทขุทฺทกนิกายว่า อาจารย์ผู้ไม่ฉลาด ไม่บอกซึ่งการพิจารณากาย อาจทำลายอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์ของกุลบุตรได้ เพราะฉะนั้นในทุกวันนี้จึงต้องบอกกรรมฐาน ๕ ก่อน
    อีกแห่งหนึ่งท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระขีณาสวเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าจะไม่กำหนดกาย ในส่วนแห่ง โกฏฐาส (คือการพิจารณาแยกออกเป็นส่วนๆ) ใดโกฏฐาสหนึ่งมิได้มีเลย จึงตรัสแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปผู้กล่าวถึงแผ่นดินว่า บ้านโน้นมีดินดำดินแดงเป็นต้นนั้นว่า นั่นชื่อว่า พหิทฺธา แผ่นดินภายนอกให้พวกท่านทั้งหลายมาพิจารณา อัชฌัตติกา แผ่นดินภายในกล่าวคืออัตตภาพร่างกายนี้ จงพิจารณาไตร่ตรองให้แยบคาย กระทำให้แจ้งแทงให้ตลอด เมื่อจบการวิสัชชนาปัญหานี้ ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปก็บรรลุพระอรหันตผล
    เหตุนั้นการพิจารณากายจึงเป็นของสำคัญ ผู้ที่จะพ้นทุกทั้งหมดล้วนแต่ต้องพิจารณากายนี้ทั้งสิ้น จะรวบรวมกำลังใหญ่ได้ต้องรวบรวมด้วยการพิจารณากาย แม้พระพุทธองค์เจ้าจะได้ตรัสรู้ทีแรกก็ทรงพิจารณาลม ลมจะไม่ใช่กายอย่างไร? เพราะฉะนั้นมหาสติปัฏฐาน มีกายานุปัสสนาเป็นต้น จึงชื่อว่า "ชัยภูมิ" เมื่อเราได้ชัยภูมิดีแล้ว กล่าวคือปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐานจนชำนาญแล้ว ก็จงพิจารณาความเป็นจริงตามสภาพแห่งธาตุทั้งหลายด้วยอุบายแห่งวิปัสสนา ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า
    ที่มา: http://www.luangpumun.org/muttothai_2.html
     
  5. ปัจเจกพุทธะ

    ปัจเจกพุทธะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +121
    อายันตุ โภนโต อิธะ ทานะ สีละ เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจาธิฏฐานะเมตตุเปกขา ยุทธายะ โว คัณหะถะอาวุธานีติ.
    ดูก่อนพระบารมีทั้งหลาย ขอเชิญพระบารมีคือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐานะ เมตตา และอุเบกขา จงมาที่นี่โดยเร็วพลัน แล้วพากันถือเอาอาวุธ เพื่อยุทธ์กับพญามาร (กิเลส) เถิด.
    อนุโมทนาครับ.
    บริจาคเงินช่วยวัดพระบาทน้ำพุ
    โทร.1900-222-200 6บาท/นาที

     
  6. แอ๊บแบ้ว

    แอ๊บแบ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +2,544
    ให้ภาวนาไป อย่าหยุดอย่าหย่อน ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องไปนึกคาดหวัง

    พระธรรมโอวาท หลวงปู่ขาว อนาลโย
    ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนาของท่าน ที่ได้เทศน์โปรดพระเณรและญาติโยม ณ บ้านย่อชะเนง
    ....."ผู้ที่ภาวนาจิตสงบลงชั่วช้างพับหู งูแลบสิ้น ชั่วไก่ดินน้ำ นี่ อานิสงส์อักโข ให้ตั้งใจทำไป การที่จิตรวมลงไปบางครั้ง มี 3 ขั้นสมาธิ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ

    หากรวมลง ขณิกสมาธิ เราบริกรรมไป พุทโธ หรืออะไรก็ตาม จิตสงบไปสบายไปสักหน่อย มันก็ถอนขี้นมา ก็คิดไปอารมณ์เก่าของมันนี่

    ส่วนหากรวมลงไปเป็น อุปจารสมาธิ ก็นานหน่อยกว่าจะถอนขึ้นไปสู่อารมณ์อีกให้ภาวนาไป อย่าหยุดอย่าหย่อน ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องไปนึกคาดหวังอะไร อย่าให้มีความอยาก เพราะมันเป็นตัณหา ตัวขวางกั้นไม่ให้จิตรวม ไม่ต้องไปกำกับว่า อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ การอยากให้จิตรวมลง เหล่านี้แหละเ ป็นนิวรณ์ตัวร้าย

    ให้ปฏิบัติความเพียรไม่หยุดหย่อน เอาเนื้อและเลือด ตลอดจนชีวิตถวายบูชาพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ เราจะเอาชีวิตจิตใจ ถวายบูชาพระรัตนตรัย ตลอดจนวันตาย นี่ก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา แล้วจิตจะรวมลงอย่างไร เมื่อไร ก็จะเป็นไปเองเมื่อใจเป็นกลาง ปล่อยวาง สงบถูกส่วน"....
    ที่มา : http://www.burapajarn.co.cc/index.php?option=com_content&task=view&id=147&Itemid=26
     
  7. แอ๊บแบ้ว

    แอ๊บแบ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +2,544
    การพิจารณาต้องน้อมเข้ามาสู่ภายใน

    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้แสดงธรรมโอวาทหลายเรื่อง
    เช่นเรื่อง ของเก่าปกปิดความจริง ที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า
    การพิจารณาต้องน้อมเข้ามาสู่ภายใน พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว มันก็วางเอง
    คูบาญาปู่มั่น ท่านว่า "เหตุก็ของเก่านี้แหละ แต่ไม่รู้ว่าของเก่า" ของเก่านี่แหละมันบังของจริงอยู่นี่ มันจึงไม่รู้ ถ้ารู้ว่าเป็นของเก่า มันก็ไม่ต้องไปคุย มีแต่ของเก่าทั้งนั้นตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ของเก่า เวลามาปฏิบัติภาวนา ก็พิจารณาอันนี้แหละ ให้มันรู้แจ้งเห็นจริง ให้มันรู้แจ้งออกมาจากภายใน มันจึงไปนิพพานได้ นิพพานมันหมักอยู่ในของสกปรกนี่ มันจึงไม่เห็น พลิกของสกปรกออกดูให้เห็นแจ้ง
    นักปราชญ์ท่านไม่ละความเพียร เอาอยู่อย่างนั้นแหละ เอาจนรู้จริงรู้แจ้ง ทีนี้มันไม่มาเล่นกับก้อนสกปรกนี้อีก พิจารณาไป พิจารณาเอาให้นิพพานใสอยู่ในภายในนี่ ให้มันอ้อ นี่เอง ถ้ามันไม่อ้อหนา เอาให้มันถึงอ้อ จึงใช้ได้
    ครั้นถึงอ้อแล้วสติก็ดี ถ้ามันยังไม่ถึงแล้ว เต็มที่สังขารตัวนี้ พิจารณาให้มันรู้แจ้งเห็นจริงในของสกปรกเหล่านี้แหละ ครั้นรู้แจ้งเข้า รู้แจ้งเข้า มันก็เป็นผู้รู้พระนิพพานเท่านั้น
    จำหลักให้แม่น ๆ มันไม่ไปที่ไหนหละ พระนิพพาน ครั้นเห็นนิพพานได้แล้ว มันจึงเบื่อโลก เวลาทำก็เอาอยู่นี่แหละ ใครจะว่าไปที่ไหนก็ตามเขา ละอันนี่แหละทำความเบื่อหน่ายกับอันนี้แหละ ทั้งก้อนนี่แหละ นักปฏิบัติต้องพิจารณาอยู่นี่แหละ ชี้เข้าไปที่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ให้พิจารณากาย พิจารณาใจ ให้เห็นให้เกิดความเบื่อหน่าย
    การต่อสู้กามกิเลส เป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กามกิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทุกทาง หากพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง ก็ถอนได้
    ที่มา: http://www.burapajarn.co.cc/index.php?option=com_content&task=view&id=146&Itemid=26
     
  8. แอ๊บแบ้ว

    แอ๊บแบ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +2,544
    หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล
    หลวงปู่มั่นได้แนะนำว่า รู้ไม่รู้ไม่สำคัญขอให้ทำจิตใจให้รู้จักจิตว่าสงบหรือไม่สงบ
    พระอาจารย์ทองรัตน์ได้ออกวิเวกเที่ยวธุดงค์ไปแล้วกลับมาถามพระอาจารย์มั่นอีก โดยถามว่าจิตสงบเป็นอย่างไร พระอาจารย์มั่น ถาม "เท่าที่ทองรัตน์ ปฏิบัติทุกวันนี้รู้สึกว่าเป็นแบบใด"
    พระอาจารย์ทองรัตน์ตอบว่า "มีเหตุหนักกายหนักใจ ใจฝืดเคืองนัก" พระอาจารย์มั่นแนะนำว่า "เรื่องที่หนักกายหนักใจนั่น ไม่ใช่เพราะการบำเพ็ญภาวนา
    แสดงว่ามีความเชื่อมั่นศรัทธาอยู่ในการปฏิบัติอยากทำ แต่ไม่รู้จักวิธี การปฏิบัติให้รักษาจิต รักษาระเบียบวินัย กิจวัตร ข้อวัตรวินัยต้องเข้มงวด ปฏิบัติถึงแล้วก็จะเกิดเมตตา
    มีเมตตาแล้วแสดงว่ามีศีลบริสุทธิ์ มีศีลบริสุทธิ์แล้วจิตก็สงบ จิตสงบแล้วจะเกิดสมาธิ"
    พระอาจารย์ทองรัตน์ได้อุบายธรรมปฏิบัติแล้วได้นมัสการลาออกหาวิเวกธุดงค์ จนกระทั่งรู้จักสมาธิแล้ว จึงมาหาท่านพระอาจารย์มั่น และได้เล่าให้ท่านฟังว่า
    ผมรู้จักแล้วสมาธิ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงถามว่าที่ว่ารู้จักนั้น รู้จักแบบไหน พระอาจารย์ทองรัตน์ตอบว่า รู้จักเมื่อเป็นสมาธิแล้วก็เบากาย เบาจิต หลวงปู่มั่น ได้แนะนำต่อว่า จิตสงบแล้วก็ให้พิจารณาขันธ์ 5
    ให้รู้จักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ที่มา:http://www.burapajarn.co.cc/index.php?option=com_content&task=view&id=154&Itemid=26
     
  9. แอ๊บแบ้ว

    แอ๊บแบ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +2,544
    ฯลฯ ใน http://www.burapajarn.co.cc/index.php?option=com_frontpage&Itemid=1 มีข้อปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ได้พบมาก่อนและพ่อแม่ครูบาอาจารย์มั่นได้แนะนำวิธีการไว้ ....และอาจจะมีข้อปฏิบัติที่ท่านกำลังขัดข้องอยู่...ท่านจะได้รู้แนวทางที่เหมาะสมสำหรับตน...และระหว่างท่านอ่าน ท่านจะได้เพิ่มพูนสะสมปัญญาในข้อปฏิบัติไว้เป็นทุนในการปฏิบัติ ต่อไปจะได้มีความคล่องแคล่วในอุบายแก้ปัญหาในการปฏิบัติให้กับตน....ดั่งคำว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน....สาธุ....ขอให้ท่านมีความเจริญในการปฏิบัติต่อไป....เอวังฯ
     
  10. อัฑฒเศรษฐ์

    อัฑฒเศรษฐ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +21
    เป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ คุณแอ๊บแบ้ว ขอบพระคุณอย่างสูง และโมทนากับทุกคำแนะนำและชี้แนะครับ
     
  11. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    เคยนมัสการเรียนถามหลวงพ่อสุข วัดป่าพรหมวิหาร ตำบลหนองโสน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ศิษย์ หลวงปู่เครื่อง วัดกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีษะเกษ ว่าเมื่อเข้าถึงตรงนี้แล้ว ทำอย่างไรต่อ ท่านตอบว่า " ให้ดูที่จิต " คิดว่าคงเข้าใจนะครับ ค่อย ๆ หาจิตของตัวเองให้พบ แล้วดูมันต่อไป เจริญในธรรม จงมีแด่ท่าน สาธุ. ในกายมีมณีอยู่ดวงหนึ่ง ซึ่งจะต้องค้นหามาให้ได้ อันความรู้หรือรู้สิ่งใด ๆ ล้วนแต่ได้จากความรู้ตัวสูเอง.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2008
  12. สุมหัว

    สุมหัว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2008
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +3
    ความสงบ และความว่างใน สมาธิ แม้จะทำให้รู้สึกดี แต่เมื่อเราออกจากสมาธิ ความรู้สึกนั้นก็หายไป

    เคยคิดบ้างไหมว่าทำยังไงความรู้สืกเช่นนั้น จะอยู่ตลอดโดยที่เราไม่ต้องทำอะไรอีก
     
  13. kim_pornpat

    kim_pornpat สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +3
    ตอนจะออกสมาธิทำยังไงบ้างค่ะ เพราะว่าเป็นเหมือนกัน ถ้าอยู่ๆ ลืมตาเลย จะรู้สึกมึนหัว ตึ้บๆค่ะ แต่อาการอย่างอื่นไม่มีนะคะ เวลานั่งก็ไม่มีอะไรแปลกพิเศษ คือมืดสนิท เพราะหลับตา (กำหนดแค่ลมหายใจเข้าออก) กับขนลุกแค่นั้นล่ะค่ะ ยังไงก็ขอคำแนะนำด้วยนะคะ
     
  14. อัตตา

    อัตตา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +10
    เอายาแก้ไปใช้นะ แก้ได้ทุกอาการกับผู้ที่หลงอาการ สมถะยานิกมือใหม่,มือเก่า
    ที่เกิดอาการมายาแห่งจิตในแบบต่างๆ แก้ได้ร้อยแปดพันอาการเลยนะ
     
  15. อัตตา

    อัตตา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +10
    เอายาแก้ไปใช้นะ แก้ได้ทุกอาการกับผู้ที่หลงอาการ สมถะยานิกมือใหม่,มือเก่า
    ที่เกิดอาการมายาแห่งจิตในแบบต่างๆ แก้ได้ร้อยแปดพันอาการเลยนะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    กุศลผลบุญใด ๆ ก็ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำมาแล้ว ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศให้<O:p</O:p


     
  17. แอ๊บแบ้ว

    แอ๊บแบ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +2,544

    ข้อควรระวัง
    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    วัดหนองป่าพง อำเภอ วารินชำราบ
    จังหวัด อุบลราชธานี

    ตัดตอนจาก การบรรยายที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ
    .. ๒๕๒๐สิ่งที่ควรระวัง
    การทำสมาธินี้ อาจให้โทษแก่ผู้ปฏิบัติได้ ถ้าผู้ปฏิบัติไม่ใช้ ปัญญา และก็ย่อมให้คุณแก่ผู้ปฏิบัติได้มาก ถ้าผู้ปฏิบัติเป็นผู้มี ปัญญา สมาธิก็จะส่งจิตไปสู่วิปัสสนา
    สิ่งที่เป็นโทษแก่ผู้ปฏิบัตินั้น ก็คือการที่ผู้ปฏิบัติหลงติดอยู่ใน อัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นความสงบลึก และมีกำลังอยู่นานที่สุด เมื่อจิต สงบก็เป็นสุข เมื่อเป็นสุขแล้วก็เกิดอุปาทาน ยึดสุขนั้นเป็นอารมณ์ ไม่ อยากจะพิจารณาอย่างอื่น อยากมีสุขอยู่อย่างนั้น เมื่อเรานั่งสมาธิอยู่ นานๆ จิตมันจะถลำเข้าไปง่าย พอเริ่มกำหนดมันก็สงบ แล้วก็ไม่ อยากทำอะไร ไม่อยากออกไปไหน ไม่อยากพิจารณาอะไร อาศัย ความสุขนั้นเป็นอยู่ อันนี้เป็นอันตรายแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติอย่างหนึ่ง จิตต้องอาศัยอุปจารสมาธิ คือกำหนดเข้าไปสู่ความสงบแล้ว พอสมควร ก็ถอนออกมารู้อาการภายนอก ดูอาการภายนอกให้เกิด ปัญญา
    อันนี้ดูยากสักหน่อยหนึ่ง เพราะมันคล้ายๆจะเป็นสังขาร ความปรุงแต่ง เมื่อมีความคิดเกิดขึ้นมา เราอาจจะเห็นว่าอันนี้มันไม่ สงบ ความเป็นจริงความรู้สึกนึกคิดในเวลานั้น มันรู้สึกอยู่ในความ สงบ พิจารณาอยู่ในความสงบ แล้วก็ไม่รำคาญ บางทีก็ยกสังขารขึ้น มาพิจารณา ที่ยกขึ้นมาพิจารณานั้น ไม่ใช่ว่าคิดเอา หรือเดาเอา มัน เป็นเรื่องของจิตที่เป็นขึ้นมาเองของมัน อันนี้เรียกว่า ความรู้อยู่ใน ความสงบ ความสงบอยู่ในความรู้ ถ้าเป็นสังขารความปรุงแต่ง จิต มันไม่สงบ มันก็รำคาญ แต่อันนี้ไม่ใช่เรื่องปรุงแต่ง มันเป็นความรู้สึก ของจิตที่เกิดขึ้นจากความสงบ เรียกว่าการพิจารณา นี่ปัญญาเกิด ตรงนี้
    สมาธิทั้งหลายเหล่านี้ แบ่งเป็นมิจฉาสมาธิอย่างหนึ่ง คือเป็น สมาธิในทางที่ผิด เป็นสัมมาสมาธิอย่างหนึ่ง คือเป็นสมาธิในทางที่ ถูกต้อง นี้ก็ให้สังเกตให้ดี
    มิจฉาสมาธิ คือความที่จิตเข้าสู่สมาธิ เงียบ
    ...หมด...ไม่รู้อะไร เลย ปราศจากความรู้ นั่งอยู่สองชั้วโมงก็ได้ กระทั่งวันก็ได้ แต่จิตไม่รู้ ว่ามันจะไปถึงไหน มันเป็นอย่างไร ไม่รู้เรื่อง นี่สมาธิอันนี้เป็นมิจฉา สมาธิ มันก็เหมือนมีดที่เราลับไห้คมดีแล้วแต่เก็บไว้เฉยๆ ไม่เอาไปใช้ มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร อย่างนั้น ความสงบอันนั้นเป็นความสงบที่ หลง คือว่าไม่ค่อยรู้เนื้อรู้ตัว เห็นว่าถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่ค้นคว้าอะไรอีก ต่อไป จึงเป็นอันตราย เป็นข้าศึกในขั้นนั้น อันนี้เป็นอันตราย ห้าม ปัญญาไม่ให้เกิด ปัญญาเกิดไม่ได้ เพราะขาดความรู้สึกรับผิดชอบ ส่วนสัมมาสมาธิที่ถูกต้อง ถึงแม้จะมีความสงบไปถึงแค่ไหน ก็มีความรู้อยู่ตลอดกาล ตลอดเวลา มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ บริบูรณ์ รู้ตลอดกาล นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่ไม่ให้หลงไป ในทางอื่นได้ นี่ก็ให้นักปฏิบัติเข้าใจไว้ให้ดี จะทิ้งความรู้นั้นไม่ได้ จะ ต้องรู้แต่ต้นจนปลายทีเดียว จึงจะเป็นสมาธิที่ถูกต้อง ขอให้สังเกตให้ มาก สมาธิชนิดนี้ไม่เป็นอันตราย
    เมื่อเราเจริญสมาธิที่ถูกต้องแล้ว อาจจะสงสัยว่ามันได้ผลที่ ตรงไหน มันจะเกิดปัญญาที่ตรงไหน เพราะท่านตรัสว่า สมาธิเป็น เหตุให้เกิดปัญญาวิปัสสนา สมาธิที่ถูกต้อง เมื่อเจริญแล้วมันจะมี กำลังให้เกิดปัญญาทุกขณะ ในเมื่อตาเห็นรูปก็ดี หูฟังเสียงก็ดี จมูก ดมกลิ่นก็ดี ลิ้นลิ้มรสก็ดี กายถูกต้องโผฏฐัพพะก็ดี ธรรมารมณ์เกิด กับจิตก็ดี อิริยาบถยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี จิตจะไม่เป็นไปตามอารมณ์ แต่จะเป็นไปด้วยความรู้ตามเป็นจริงของธรรมะ
    ฉะนั้นการปฏิบัตินี้ เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้นมาแล้วก็ไม่เลือก สถานที่ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอนก็ตาม จิตมันเกิดปัญญาแล้ว เมื่อมีสุขเกิดขึ้นมาก็รู้เท่า มีทุกข์เกิดขึ้นมาก็รู้เท่า สุขก็สักว่าสุข ทุกข์ก็ สักว่าทุกข์เท่านั้น แล้วก็ปล่อยทั้งสุขและทุกข์ ไม่ยึดมั่นถือมั่น เมื่อสมาธิถูกต้องแล้ว มันทำจิตให้เกิดปัญญา อย่างนี้เรียก ว่า วิปัสสนา มันก็เกิดความรู้เห็นตามเป็นจริง นี้เรียกว่า สัมมาปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง มีอิริยาบถ สม่ำเสมอกัน คำว่าอิริยาบถสม่ำเสมอกันนี้ ท่านไม่ได้หมายเอา อิริยาบถภายนอกที่ว่า ยืน เดิน นั่ง นอน แต่ท่านหมายเอาทางจิตที่มี สติสัมปชัญญะอยู่นั่นเอง แล้วก็รู้เห็นตามเป็นจริงทุกขณะ คือมันไม่ หลง
    ความสงบนี้มีสองประการคือ ความสงบอย่างหยาบหนึ่ง และความสงบอย่างละเอียดอีกอย่างหนึ่ง อย่างหยาบนั่นคือเกิดจาก สมาธิ ที่เมื่อสงบแล้วก็มีความสุข แล้วถือเอาความสุขเป็นความสงบ อีกอย่างหนึ่งคือความสงบที่เกิดจากปัญญา นี้ไม่ได้ถือเอาความสุข เป็นความสงบ แต่ถือเอาจิตที่รู้จักพิจารณาสุขทุกข์เป็นความสงบ เพราะว่าความสุขความทุกข์นี้ เป็นภพ เป็นชาติ เป็นอุปาทาน จะไม่ พ้นจากวัฏฏสงสาร เพราะติดสุข ติดทุกข์ ความสุขจึงไม่ใช่ความสงบ ความสงบจึงไม่ใช่ความสุข ฉะนั้นความสงบที่เกิดจากปัญญานั้น จึง ไม่ใช่ความสุข แต่เป็นความรู้เห็นตามความเป็นจริงของความสุข ความทุกข์ แล้วไม่มีอุปาทานมั่นหมายในสุขทุกข์ที่มันเกิดขึ้นมา ทำ จิตให้เหนือสุขเหนือทุกข์นั้น ท่านจึงเรียกว่าเป็นเป้าหมายของพุทธ ศาสนาอย่างแท้จริง
    หมายเหตุจากผู้จัดทำ (คุณเจริญชัย เจริญทั้งเมือง)
    เดิมเรื่อง ข้อควรระวัง นี้เป็นบทแทรกอยู่ตอนท้ายของเรื่อง มรรคสามัคคี แต่ในภายหลังได้มีการเรียบเรียงเรื่อง มรรคสามัคคี ขึ้น มาใหม่ และเนื่องจากเรื่องที่เรียบเรียงใหม่นั้นมีความจบสมบูรณ์ด้วย ตัวของมันเอง จึงได้ยกเรื่อง ข้อควรระวัง มาไว้ ณ ที่นี้ การบันทึกข้อมูลนี้ ผมได้ใช้ต้นฉบับจากสองแหล่งคือ ใช้ หนังสือ หลวงพ่อชา เล่มสอง ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ชมสมัย เป็นต้นฉบับหลัก และหนังสือ นอกเหตุเหนือผล ของสำนักพิมพ์ ธรรมสภา ในการตรวจสอบข้อความที่สงสัยว่าจะสะกดผิด มีการปรับปรุงตำแหน่งการเว้นวรรคและย่อหน้าให้เหมาะสม แต่ได้คงข้อความเดิมไว้ทั้งหมด ยกเว้นมีการแก้ไขเพียงจุดเดียว ซึ่ง เป็นจุดที่คาดว่าจะสะกดผิด จึงทำการเทียบต้นฉบับทั้งสองแล้วเห็น ว่าผิดจริง ดังนั้นได้แก้ไขโดยไม่ได้ลงหมายเหตุไว้
    คัดลอกจาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...