ตะกรุดรกแมว ลพ.ไมอินทสิริ พระผง ลพ. พร้า เหรียญลพ แสวง พระผงลพ.แป๋ว

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,406
    ค่าพลัง:
    +21,326
    1708689872506.jpg
    เหรียญหลวงพ่อสิริจันโท ภปร ที่ระลึกสร้างศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนาราม ปี พ.ศ. 2535 เนื้อทองแดง ในหลวงเสด็จเททอง
    อีกหนึ่งพิธี ที่ยิ่งใหญ่ และเข้มขลัง...
    จัดสร้างโดย พล.ต.อ. วิสิษฐ เดชกุญชร เพื่อสมนาคุณผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบทุนก่อสร้าง “ศาลาพระราชศรัทธา” และ ก่อตั้ง “มูลนิธิศาลาพระราชศรัทธา” เพื่อให้แล้วเสร็จ
    และจะได้ทำการอบรมปฏิบัติธรรมถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในพระราชวโรกาส เฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2535
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จฯ ทรงเททองหล่อ “หลวงพ่อพระเสริม จำลอง ภ.ป.ร.” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ.2535
    คณะกรรมการฯ ได้ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกทั้ง “โลหะ” และ “ผงพุทธคุณ” แล้วจึงมอบให้ช่างนำไปจัดสร้างวัตถุมงคล ณ มณฑลพิธีวัดปทุมวนารามฯ ในวันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535
    โดยมีท่านเจ้าคุณ “สมเด็จพระมหามุนีวงศ์” วัดนรนาถสุนทริการาม เป็นองค์ประธาน และมีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 10 รูป มาร่วมเจริญพุทธมนต์
    วัตถุมงคลที่จัดสร้างมีรายละเอียดดังนี้
    1. พระพุทธรูปบูชาหลวงพ่อเสริม ภ.ป.ร. หน้าตัก 5 – 9 นิ้ว ไม่ทราบจำนวน
    2. พระกริ่งไพรีพินาศ ภ.ป.ร. เนื้อทองคำ หนัก 1 บาท สร้างตามจำนวนสั่งจอง
    3. พระกริ่งไพรีพินาศ ภ.ป.ร. เนื้อเงิน และ นวโลหะ เนื้อละ 3,000 องค์
    4. พระกริ่งนวปทุม ภ.ป.ร. เนื้อทองคำ หนัก 2 บาท สร้างตามจำนวนสั่งจอง
    5. พระกริ่งนวปทุม ภ.ป.ร. เนื้อเงิน และ นวโลหะ เนื้อละ 3,000 องค์
    6. ชัยวัฒน์นวปทุม ภ.ป.ร. เนื้อทองคำ หนัก 0.5 บาท สร้างตามจำนวนสั่งจอง
    7. ชัยวัฒน์นวปทุม ภ.ป.ร. เนื้อเงิน และ นวโลหะ เนื้อละ 3,000 องค์
    8. เหรียญรูปเหมือนพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ จำนวน 50,000 เหรียญ
    9. พระผงรูปเหมือนพระเสริมหลังตรา ภ.ป.ร. จำนวน 50,000 องค์
    ฯลฯ
    ส่วนพิธีมหาพุทธาภิเษกท่านเจ้าพระคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเบิกพระเนตรพระพุทธปฏิมา
    และพิธีชัยมังคลาภิเษกในวันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ณ มณฑลพิธีศาลาพระราชศรัทธาวัดปทุมวนาราม
    โดยอาราธนาพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วประเทศ 142 รูป มาร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก อาทิเช่น
    1. หลวงปู่วิริยังค์ วัดธรรมมงคล
    2. หลวงปู่หลอด วัดสิริกมลาวาศ
    3. พระอาจารย์มหาถาวร วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
    4. หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี
    5. หลวงปู่ดี วัดพระรูป สุพรรณบุรี
    6. หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ชลบุรี
    7. หลวงพ่อจำเนียร วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี
    8. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
    9. หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
    10. หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
    11. หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการม กาญจนบุรี
    12. หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
    13. หลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต หนองคาย
    14. หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดเลยหลง เลย
    15. หลวงปู่คำพอง วัดพัฒนาราม อุดรธานี
    16. หลวงปู่ท่อน วัดถ้ำอภัยคีรีวัน อุดรธานี
    17. หลวงปู่หลวง วัดป่าสำราญนิวาส ลำปาง
    18. หลวงพ่อวิชัย วัดถ้ำผาจม เชียงราย
    19. หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
    20. หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ ชลบุรี
    21. หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ ระยอง เป็นต้น
    ที่มา : หนังสือมหามงคลแห่งแผ่นดิน โดย คุณอลุย์นันท์ทัต กิจไชยพร และ หนังสือ สระปทุมฯ

    อีกข้อมูลเพิ่มเติมครับ


    เหรียญสิริจันโท วัดปทุมวนาราม 2534 ..... เหรียญหลวงพ่อสิริจันโท ภปร จัดสร้างพร้อมพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ นวปทุม ภปร.เพื่อเป็นที่ระลึกสร้างศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนาราม "ปี พ.ศ. 2535 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้สามารถติดอักษร ""ภปร""ที่องค์พระ และในหลวงท่านยังได้เสด็จเททองพระชุดนี้ด้วย นับว่าเป็นมงคลอย่างยิ่ง "
    พระชุดนี้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองในเวลา 17.00 น. ที่วัดปทุมวนาราม คณะกรรมการได้จัดให้มีพิธีมหาพุทธาภิเษก “หลวงพ่อพระเสริม ภปร.” พระประธานประจำศาลาพระราชศรัทธา แล้วยังประกอบด้วย “หลวงพ่อพระเสริม ภปร.” ขนาดบูชา 9 นิ้ว, 5 นิ้ว “พระกริ่ง นวปทุม ภปร., พระชัยวัฒน์ นวปทุม ภปร., พระกริ่งไพรีพินาศ ภปร., พระผงหลวงพ่อพระเสริม ภปร.” และ เหรียญรูปเหมือน “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ภปร.”
    พิธีชัยมังคลาภิเษก ในวันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ณ มณฑลพิธีศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนาราม เวลา 16.30 น. และ ในเวลา 17.09 น. “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ” เสด็จไปยังตู้เทียนชัย ทรงเจิม-จุดเทียนชัย จากนั้นเสด็จฯ ไปทรงเจิมเทียนพระพุทธมหามงคล ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้ที่พระเครื่องในราชวัตรฉัตรธง บัณฑิตอาราธนาพระปริตร พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ตามรายนามดังต่อไปนี้ - สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินตกาโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
    - สมเด็จพระพุทธชินวงศ์(สุวรรณ สุวัณณโชโต)วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
    - พระะญาณวโรดม (สันตังกุโร) วัดเทพศิรินทราวาส
    - พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาส ญาณวโร) วัดยานนาวา
    - พระธรรมธัชมุนี (ประจวบ กันตจาโร) วัดมกุฏกษัตริยาราม
    - พระธรรมบัณฑิต วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี
    - พระเทพปัญญาเมธี วัดไตรมิตรวิทยาราม
    - พระกิตติสารกวี วัดปทุมวนาราม
    - พระเทพมุนี วัดบพิตรพิมุข
    - พระญาณเวที วัดปทุมวนาราม
    จากนั้นสมเด็จพระญาณสังวร ทรงอธิษฐานจิต เจริญภาวนา และเสด็จกลับในเวลา 18.09 น.พระ เกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมจำนวน 142 รูป ร่วมอธิษฐานจิตต่อ เช่น หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล, หลวงปู่หลอด วัดสิริกมลาวาส , พระอาจารย์มหาถาวรจิตตถาวโร วัดปทุมวนาราม, หลวพ่อทองใบ วัดสายไหม ปทุมธานี, หลวงปู่บุดดาถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี, หลวงปู่ผล วัดดักดะนน จ.ชัยนาท, หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง อยุธยา, หลวงพ่อหวล วัดพุทไธศวรรย์ อยุธยา,หลวงปู่ดี วัดพระรูป สุพรรณบุรี, หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ชลบุรี หลวงพ่อทิม วัดพระขาว เป็นต้น
    พุทธคุณพระรุ่นนี้ ดีครบเครื่อง เพราะพระคณาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสก แต่ละองค์เก่งๆทั้งนั้น ส่วนใหญ่ท่านเหล่านั้นก็มรณภาพไปเกือบหมดแล้ว

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ให้บูชา
    300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20240223_190134.jpg IMG_20240223_185528.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2024
  2. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,021
    ค่าพลัง:
    +6,562
    ขอจองครับ
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,406
    ค่าพลัง:
    +21,326
    0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B9%8A%E0%B8%9A-89141-0.jpg
    บันทึกชีวประวัติพระเดชพระคุณ พระอธิการเกษม(อั๊บ) เขมจาโร
    อดีตเจ้าอาวาสวัดท้องไทร ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
    หลวงพ่อมีนามเดิมว่า เกษม ทิมมัจฉา เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๘สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๕ ขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน๙ ปีจอ ที่บ้านแหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม บิดาชื่อ อุ๋ย ทิมมัจฉา มารดาชื่อ ผิว ทิมมัจฉา เป็นบุตรชายคนโตในบรรดาพี่น้อง ๑๒ คน อาชีพเกษตรกร จบการศึกษาชั้นป.๒ ในวัยเด็กได้ไปพักกับพระน้าชายชื่อ พระเล็ก ที่วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ซึ่งขณะนั้นมี พระพุทธวิถีนายก(หลวงปู่บุญ ขันธโชติ) เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งหลวงปู่บุญเป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอันมากแม้แต่สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ ยังให้ความเคารพ หลวงปู่อั๊บได้เล่าว่า ตอนท่านเป็นเด็กยังได้เคยรับใช้ บีบนวดหลวงปู่บุญบ่อยๆครั้ง เพื่อนเด็กวัดรุ่นเดียวกันนั้นมีอยู่คนหนึ่งต่อมาภายหลังได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์และได้ทำคุณประโยชน์ให้กับการศึกษาทั้งทางโลกและศาสนาอย่างมากมาย คือพระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณปรมาจารย์ (ท่านเจ้าคุณ ปัญญา) เจ้าอาวาส วัดไร่ขิง นั่นเอง ส่วนพระเล็กพระน้าชายได้บวชที่ วัดใหม่สุคนธาราม อ.นครชัยศรี จ.นครปฐมและได้ย้ายไปจำพรรษาหลายวัด อย่างเช่น วัดห้วยตะโก วัดปลักแรด วัดหนองบัว วัดกลางบางแก้ว เป็นต้น ได้บวชเป็นพระนานอยู่ถึง ๑๘พรรษาจึงลาสิกขาออกมาใช้ชีวิตเป็นฆราวาสและมีครอบครัวอย่างชาวโลกทั่วไป นับได้ว่าเป็นผู้มีวิชา อาคมขลังคนหนึ่ง ในปีที่หลวงปู่บุญ ได้มรณภาพลงนั้นตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๗๘หลวงปู่อั๊บ มีอายุได้ ๑๓ ปี เมื่อหลวงปู่บุญได้มรณภาพลงแล้ว หลวงพ่อเกษม (อั๊บ) ได้กลับไปอยู่กับบิดา-มารดาที่บ้านท้องไทร ช่วยกิจการงานบ้าน ทำนา อย่างขยันขันแข็ง จนอายุครบที่จะทำการบรรพชา อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงได้ทำการ อุปสมบท ณ.พัทธสีมา วัดทุ่งน้อย ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

    โดยในสมุดใบสุทธิของหลวงปู่อั๊บ ได้บันทึกไว้ดังนี้..........
    พระอุปัชฌาย์ พระอธิการมา วัดทุ่งน้อย พระกรรมวาจารย์ พระอธิการฮะวัดโคกเขมา (อ่านโคกขะเหมา) พระอนุสานาจารย์ พระอธิการพลัด วัดท้องไทร
    อุปสมบท เมื่อ อายุ ๒๐ ปี เมื่อวันที่ ๒๘ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕เวลา๑๕.๑๘ น. ณ.วัดทุ่งน้อย ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม หลังจากอุปสมบทแล้วได้กลับมาอยู่ที่วัดท้องไทร อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เมื่อบวชได้ ๓พรรษา ได้เดินเท้าไปวัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี เพื่อไปหาพระเล็กพระน้าชายซึ่งขณะนั้นได้ไปพักจำพรรษาอยู่ที่นั่น วัดหนองบัว ขณะนั้นมี หลวงปู่เหรียญ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเป็นเจ้าอาวาสอยู่ หลวงปู่เหรียญท่านนี้ เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ยิ้มอดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อนซึ่งมีวิชาอาคมเก่งกล้าเป็นยิ่งนัก แม้แต่หลวง ปู่ศุขวัดมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ร่วมสมัยกันยังเกรงใจ ในวิชาของหลวงปู่ยิ้ม และยังเคยเดินทางมาพัก ที่วัดหนองบัว ส่วนพระสหธรรมิกอีกรูปหนึ่งที่สำคัญของหลวงปู่ยิ้ม คือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบาง แก้ว ในหนังสือประวัติ วัดหนองบัวบันทึกไว้ว่า ในวันที่เผาศพหลวงปู่ยิ้มนั้นไม่สามารถ เผาร่างสังขารของท่านได้ จนต้องนิมนต์หลวงปู่ขึ้นไปทำพิธี จึงสามารถเผาศพของท่านติดไฟได้ นับว่าอัศจรรย์เป็นยิ่งนัก หลวงปู่อั๊บท่านเล่าว่า อยากจะขอเรียนวิชากับหลวงปู่เหรียญแต่พระน้าชายไม่ยอมให้เรียน แต่ในขณะที่พักอยู่ที่วัดหนองบัวประมาณ ๒เดือน ได้มีชาวบ้านในแถวนั้นได้นำพระเนื้อดินเผาและพระเนื้อผงมาถวายท่าน ( เป็นพระที่สมัยหลวงปู่ยิ้ม แห่งวัดหนองบัวได้ทำการจัดสร้างไว้แล้วนำไปบรรจุไว้ตามในถ้ำในเขตวัดหนองบัว) อาทิเช่น พระพิมพ์ยืนประทานพร พิมพ์ขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว พิมพ์ปางมารวิชัย พิมพ์๓ ชั้นหูบายศรี พิมพ์สมเด็จ ๓ชั้นพิมพ์สมเด็จ๗ ชั้นและพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ เป็นต้น

    เมื่อหลวงปู่อั๊บท่านได้กลับมายังวัดท้องไทร ท่านได้นำพระเหล่านั้นกลับติดตัวมาด้วย บางส่วนท่านได้ทำการแจกให้แก่ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดไปพอประมาณ เมื่อมีผู้ที่นำไปบูชาแล้วได้เกิดอภินิหารมากมายแล้วกลับมาเล่าให้ท่านฟังท่านจึงได้นำชึ้นไปเก็บที่ห้องบนกุฏิท่านและไม่ได้นำออกมาอีกเลย หลังจากที่หลวงปู่ได้กลับมาอยู่ที่วัดท้องไทรแล้วนั้นท่านได้ไปฝากตัวขอเป็นศิษย์ กับ หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา เพื่อขอเล่าเรียนวิชาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อน้อย หลวงพ่อน้อย ท่านนี้มีความเก่งกล้าในวิชาอาคมเป็นอย่างยิ่งนัก ยิ่งวาจาของท่านแล้วเป็นปกาศิตยิ่งนัก หรือ วาจาศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง พูดสิ่งใดแล้วมักเป็นสิ่งนั้น แม้แต่หลวงพ่อเงิน แห่งวัดดอนยายหอมยังให้ความนับถือ ซึ่งหลวงพ่อน้อยท่านก็เมตตาถ่ายทอดวิชาอาคมต่างๆให้อย่างไม่ปิดปัง พร้อมทั้งยังมอบ ตำรายันต์พระเวทย์ให้กับหลวงปู่อั๊บมา 1 เล่ม (ของพ่อน้อย วัดธรรมศาลา ๑เล่ม หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก๑ เล่ม) เป็นตำรายันต์ลายมือหลวงพ่อน้อย มีบางส่วนที่เป็นลายมือของพระตุ๋ยซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อน้อยซึ่ง หลวงพ่อน้อยเรียกมาใช้บ่อยๆเพราะเขียนอักขระเลขยันต์ได้สวยงามดี (ต่อมาได้ลาสิกขาเป็นฆราวาส) นับได้ว่าหลวงพ่อน้อยท่าน เป็นครูอาจารย์ที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งของหลวงปู่อั๊บเลยที่เดียวและในช่วงเวลาที่หลวงปู่อั๊บว่างท่านได้เดินทางไปกราบ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้องและได้ขอเรียนวิชาจากหลวงพ่อแช่มมาด้วยอย่างเช่น การนำกระเบื้องแตกมาลงอักขระแล้ว นำไปไว้ในใจกลางที่ดินเพื่อที่จะขายเป็นต้น

    ส่วนอีกองค์หนึ่งคือหลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยางซึ่งเป็นสหธรรมมิคกันกับหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้องหลวงปู่อั๊บท่านได้กราบขอเป็นศิษย์เช่นกัน แต่หลวงพ่อจันทร์ท่านสั่งให้ไปหาที่วัดและให้นำหัวหมูไปด้วย๑ หัวแล้วท่านจะถ่ายทอดวิชาให้หมด


    แต่เมื่อหลวงปู่อั๊บได้กลับมาวัดท้องไทรแล้วได้ล้มป่วยลงด้วยไข้มาลาเรียหรือสมัยนั้นเรียกว่าไข้ป่า ท่านเล่าว่าป่วยคราวนั้นเกือบตายเป็นๆหายๆอยู่ประมาณ๓ เดือน เมื่อหายจากไข้จึงทำการเดินทางไปหาหลวงพ่อจันทร์อีกครั้ง แต่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งว่าหลวงพ่อจันทร์ท่านได้มรณภาพลงเสียแล้ว จึงไม่ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อจันทร์เอาไว้เลย เมื่อท่านบวชได้ ๘พรรษาหลวงปู่อั๊บได้เดินทางไปยัง จ.สุพรรณบุรี เพื่อไปฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว หลวงพ่อโบ้ยท่านมีความเชี่ยวชาญในสายวิปัสสนากรรมฐานเป็นยิ่งนัก มีความศักดิ์สิทธิ์ใน วิชาอาคมขลังเป็นเลิศ หลวงพ่ออั๊บได้ขอขึ้นกรรมฐานธุดงค์กับหลวงพ่อโบ้ย ซึ่งหลวงพ่อโบ้ย ท่านก็ได้สอนหลักการเดินธุดงค์การอยู่ในป่าให้อย่างละเอียด จึงนับได้ว่า หลวงพ่อโบ้ย คือ ครูกรรมฐานที่แท้จริงของหลวงปู่อั๊บ หลังจากหลวงปู่อั๊บได้กลับมาจากวัดมะนาวแล้วท่านได้ไปจำพรรษาที่ วัดโคกเขมา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดท้องไทรมากนัก ๑ พรรษา(พรรษา ๑๐) ในปีพ.ศ.๒๔๙๕(พรรษา ๑๑)ได้มีญาติโยมได้นิมนต์ท่านไปอยู่ที่ วัดใหม่ต้านทาน อ.บางซ้าย จ.อยุธยา เมื่อท่านได้มาอยู่ จ.อยุธยาแล้วท่านได้มีโอกาสไปฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อ.บางไทร จ.อยุธยา ซึ่งหลวงพ่อจงท่านนี้นั้นนับได้ว่าเป็นเกจิที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยสงครามโลกครั้งที่๒เป็นอย่างมาก จนมีผู้คนทั่วไปกล่าวขานคำคล้องจองกล่าวกันว่ จาด-จง-คง-อี๋

    จาด คือ หลวงพ่อจาด แห่งวัด บางกระเบา จ.ปราจีนบุรี

    จง คือ หลวงพ่อจง แห่งวัด หน้าต่างนอก จ.อยุธยา

    คง คือ หลวงพ่อคง แห่งวัด บางกระพร้อม จ.สมุทรสงคราม

    อี๋ คือ หลวงพ่ออี๋ แห่งวัด สัตหีบ จ.ชลบุรี

    หลวงปู่อั๊บท่านได้เรียนวิชาอาคมจากหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา ไว้มากพอสมควรและหลวงพ่อจง ท่านได้สอนวิปัสนากรรมฐานให้และวิชาอื่นๆอีกหลายๆอย่างด้วยกัน อย่างเช่น วิชาตะกรุดลอยน้ำ ซึ่งเป็นวิชาชั้นสูงและอักขระเลขยันต์ต่างๆ

    ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๕- พ.ศ.๒๕๐๕ นั้นท่านได้จำพรรษา ณ.วัดใหม่ต้านทาน อ.บางซ้าย จ.อยุธยา เป็นเวลา ๑๑ พรรษา หลังออกพรรษาเมื่อรับกฐินแล้ว ท่านได้ออกธุดงค์เพื่อหาความวิเวกทุกๆปี ในช่วงเวลา ๑๑ พรรษานี้ท่านได้เรียนวิชาอาคมต่างๆเพิ่มเติมและฝึกจิตจนมีความก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วจากการที่ท่านได้ธุดงค์อยู่ในป่า ถ้ำ เขา ทำให้ท่านมีพลังจิตแกร่งกล้าเป็นยิ่งนัก ท่านเล่าว่าได้เดินธุดงค์ไปทั่วประเทศมาหมดแล้ว ในช่วงที่ท่านได้เดินธุดงค์อยู่นั้นได้พบพระธุดงค์ด้วยกันถ้าพระรูปใดได้แสดงวิชาอะไรให้ได้ดูให้เห็นเป็นที่ประจักษ์จริงแก่สายตาแล้ว ท่านขอเรียนไว้หมดโดยท่านบอกว่าไม่สามารถที่จะจำชื่อได้หมด ในช่วงที่อยู่อยุธยานี้ได้ไปขอเรียนวิชาอย่างหนึ่งที่พิสดารยิ่งคือวิชาการทำตะกรุดกัน อสรพิษ จาก หมอถ่าย หมอถ่ายนี้เป็นฆราวาสที่พักอาศัยอยู่ใกล้ๆกับวัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี หมอถ่ายนี้สามารถเอางูเห่าใส่ย่ามสะพายไปไหนมาไหนได้โดยงูไม่กัดและสามารถนำงูออกมาอาบน้ำในกาละมังได้โดยงูไม่กัด หลวงปู่อั๊บไปขอเรียนอยู่ถึง ๗ ปีหมอถ่ายจึงยอมสอนให้แต่ก็ได้ไม่หมดเพราะหลวงปู่อั๊บไม่มีฝิ่นไปบูชาครู นับว่าเป็นวิชาที่พิสดารคือถ้าผู้ใดได้คาดตะกรุดกันงูนี้อยู่กับตัว ถ้าไปเหยียบงูพิษเข้า งูไม่สามารถที่จะอ้าปากกัดได้และวิธีการทำก็ยุ่งยากมาก เคยเห็นท่านนั่งผูกตะกรุดกันงูต้องปิดปากเอาลิ้นดันเพดานปากไว้แล้วทำการภาวนาขณะถักตะกรุด ด้านหนึ่งมี ๙ เปลาะแล้วเอาตะกรุดร้อยเข้าแล้วจึงถักอีกด้านหนึ่ง ๗ เปลาะขณะทำการถักห้ามพูดคุยเด็ดขาด ถ้าเกิดไอหรือจามหรือเผลอพูดออกมาเป็นอันว่าตะกรุดดอกนั้นเสียทันทีต้องแก้ใหม่หมด ท่านบอกว่าเวลาถักตะกรุดกันงูทีไร ฉันอาหารไม่ค่อยได้ไปหลายวัน

    ในปีพ.ศ๒๕๐๖-๒๕๐๗ญาติโยมได้นิมนต์ท่านไปจำพรรษาที่วัดวังชะโด อ.บางซ้าย จ.อยุธยาเป็นเวลา ๒ ปีรวมแล้ว หลวงปู่อั๊บ มาจำพรรษาอยู่ที่จ.อยุธยาทั้งหมดเป็นเวลาถึง ๑๓ ปี

    ในปีพ.ศ๒๕๐๘ หลวงปู่อั๊บ มีอายุ ๔๓ ปีญาติโยมทางท้องไทรได้มานิมนต์ให้หลวงปู่กลับมาอยู่ที่วัดท้องไทร อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เพื่อไปโปรดญาติโยมที่บ้านเกิดบ้างท่านจึงได้กลับมาอยู่ที่วัดท้องไทรตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ปีที่ท่านได้กลับมาอยู่วัดท้องไทร นั้นอายุได้ ๔๓ ปีย่าง๔๔ ปี (ได้๒๔พรรษา)

    ในปีพ.ศ.๒๕๐๙หลวงปู่อั๊บได้ดำริจะสร้างศาลาการเปรียญขึ้นมาสักหลัง ลูกศิษย์จึงขออนุญาตทำการจัดสร้างเหรียญ ซึ่งเป็นรุ่นแรกของหลวงปู่อั๊บ ขึ้นมาเป็นเหรียญรูปไข่ครึ่งองค์เนื้อทองแดงจำนวนที่จัดสร้าง ๑๐,๐๐๐เหรียญ เพื่อมอบสมนาคุณให้แก่ญาติโยมที่บริจาคทรัพย์สร้างศาลาการเปรียญพร้อมกันนี้ท่านได้ทำการสร้างตะกรุดกันงูขึ้นมาด้วยเพื่อแจกพร้อมกับเหรียญรูปไข่ด้วย

    ญาติโยมที่ได้รับไปบูชานั้นได้พบเจอกับอภินิหารมากมายนับไม่ถ้วนเป็นการสร้างชื่อเสียงขจรขจายให้ผู้คนทั้งหลายได้รู้จักกับ หลวงพ่อปู่อั๊บ แห่งวัดท้องไทร จนโด่งดังไปทั่วมากยิ่งขึ้นและหลวงปู่อั๊บก็ยังได้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านท้องไทรตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


    เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ หลวงปู่อั๊บได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดท้องไทรและยังได้รับการแต่งตั้งเป็น พระกรรมวาจาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    ท่านได้นำวิชาต่างๆที่ได้ร่ำเรียนมาสงเคราะห์ผู้คนทั่วไปดังนี้....

    ๑. วิชาการแพทย์แผนโบราณรักษาด้วยสมุนไพร

    ๒. วิชาการรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูก-เส้นเอ็น

    ๓. วิชาการแช่น้ำมนต์

    ๔. วิชาการถอนคุณไสย(ถอนของ)

    ๕. วิชาการสักเสกอักขระเลขยันต์

    วิชาการแช่น้ำมนต์ถอนของนี้ หลวงปู่อั๊บท่านได้ไปขอเรียนกับ ก๋งสุข ซึ่งเป็นคนจีนบ้านอยู่ที่ จ.อยุธยา ก๋งสุขนี้เมื่อสมัยตอนรุ่นๆได้ต้มน้ำร้อนถวาย หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเท่า เป็นลูกศิษย์ที่รับใช้หลวงปู่ศุขอยู่ถึง ๑๐ ปีหลวงปู่ศุขจึงถ่ายทอดให้มาและได้สั่งเอาไว้ด้วยว่า ถ้ามอบให้ใครแล้วมึงก็ต้องตายเสีย หลวงปู่อั๊บเพียรไปเรียนอยู่ประมาณ ๖ ปี ก๋งสุขจึงยอมมอบวิชาให้หลังจากถ่ายทอดวิชาการทำน้ำมนต์ถอนของให้กับหลวงปู่อั๊บ แล้วประมาณ ๑เดือน ก๋งสุขก็เสียชีวิตในวัย ๙๐ ปีเศษ

    วิธีการรักษา ของหลวงปู่อั๊บ แห่ง วัดท้องไทรนั้น

    ผู้ใดสงสัยจะถูก คุณไสย ลมเพลมพัด ท่านจะให้นำน้ำกรองสะอาดใส่ในกะละมังพอมิดหลังเท้าแล้วเอาน้ำมนต์ที่ท่านทำไว้ใส่ลงไปด้วย ล้างเท้าให้สะอาดแล้วจึงเอาเท้าแช่ลงไปในกะละมังนั้นเอาน้ำมนต์ดื่มเข้าไปด้วย ถ้าคนป่วยนั้นถูกคุณไสย ถูกของมาจริงก็จะถูกขับออกมาในกะละมังนั้นโดยแช่วันละ ๓ชั่วโมงติดต่อกัน ๓ วันจนครบ๙ ชั่งโมงแล้ว หลวงปู่อั๊บจะรดน้ำมนต์ให้อีกครั้งหนึ่ง

    บางคนเป็นหนักจนไม่ได้สติจนต้องหามกันมาก็มีก็มาหายด้วยน้ำมนต์ของหลวงปู่อั๊บ มากมายนับไม่ถ้วน บางคนอยากจะแช่ทั้งตัวก็มีอ่างปูนซีเมนต์ขนาด 4 เหลี่ยมใส่น้ำลงไปแล้วเอาน้ำมนต์ใส่ลงไปจึงลงไปนั่งแช่ทั้งตัว ค่ารักษาก็มีเพียง ธูป เทียน ดอกไม้และบุหรี่๑ ซองกับเงินค่าครูแค่ ๑๒ บาทเท่านั้น บางคนเป็นอัมพฤต อัมพาต มาแช่แล้วเอายาไปกินหายเดินได้มาก็มาก ท่านได้สงเคราะห์ผู้คนที่เป็นเช่นนี้มา หลายสิบปี ถ้าจะนับจำนวนผู้ป่วยที่ท่านทำการสงเคราะห์ก็ไม่อาจที่จะสรุปได้ว่ากี่หมื่นกี่พันราย

    ครูอาจารย์ที่หลวงปู่อั๊บได้ไปขอเล่าเรียนวิชามามีดังนี้.........

    ๑.พระเล็ก เป็นพระพี่ชายศึกษาเล่าเรียนวิชาการทำตะกรุดโพธิ์กลับพระเล็กได้ไปเล่าเรียนวิชานี้มาจากหลวงพ่อคำ วัดดอนทราย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี วิชานี้เป็นวิชาสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งหลวงพ่อไม่ค่อยได้ทำให้ใคร เนื่องจากพรรษาหนึ่งเพียง ๙ดอกเท่านั้นและต้องทำจาก แผ่นเงิน และ ทองคำเท่านั้น (ตอนที่ท่านไปเรียนวิชานี้มาจากราชบุรีนั้น หลวงพ่ออั๊บท่านขี่ม้าไปเรียน จนม้าที่หลวงพ่อขี่นั้นตายไปเป็นตัวๆ)

    ๒.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม ศึกษาเล่าเรียนวิชาอักขระเลขยันต์และพระเวทย์ต่างๆและยังได้ตำรายันต์มาจาก หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลามาอีก ๑ เล่ม

    ๓.หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม ศึกษาเล่าเรียนวิชาการลงเลขยันต์ที่แผ่นกระเบื้องแล้วนำไปไว้กลางที่ดินเพื่อให้ขายได้ เป็นต้น

    ๔.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา ศึกษาเล่าเรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐานและอักขระเลขยันต์ต่างๆ วิชาการทำตะกรุดลอยน้ำ ซึ่งเป็นเมตมหานิยมอย่างสูง(ตำราอีก ๑เล่ม)

    ๕.หลวงพ่อหอม วัดหนองเสือ จ.นครปฐม ศึกษาเล่าเรียนวิชาทำน้ำมันมนต์สมุนไพรประสานกระดูกละเส้นเอ็น ซึ่งหลวงพ่อหอมเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อจวน หลวงพ่อจวนเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี

    ๖.หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี ศึกษาเล่าเรียนวิชาขึ้นกรรมฐานธุดงค์

    ๗.ก๋งสุข ศึกษาเล่าเรียนวิชาทำน้ำมนต์ถอนของ

    ๘.โยมถ่าย ศึกษาเล่าเรียนวิชาการทำตะกรุดกันงู

    ยังมีครูบาอาจารย์อีกหลายๆท่านที่ไม่ได้เอ่ยชื่อไว้ (หลวงพ่อจำไม่ได้) จนนับไม่ถ้วนจนตำราที่ท่านได้ไปศึกษาเล่าเรียนมา หลวงปู่อั๊บท่านบอกเอาไว้ว่าต่อให้มีรถกระบะก็ใส่ตำราที่เรียนมานั้นก็ไม่หมดบางเล่มก็มีคนยืมเอาไปแล้วไม่ได้นำมาคืน หลวงพ่ออั๊บก็หลายเล่มและอีกส่วนหนึ่งก็อยู่ที่ วัดใหม่ต้านทาน จ.อยุธยา

    หมายเหตุ

    อนึ่งอ้างอิงข้อมูลมาจาก พระอาจารย์พระครูปลัด ขวัญชัย สุจิตฺโต (รักษาการเจ้าอาวาส ) นาย นริทร์ กำบัง ผู้จดบันทึก ศิษย์เอกวัดท้องไทร ผู้จัดทำ


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญดาว ฃแปดแฉกหลวงพ่ออั๊บวัดท้องไทรให้บูชา
    250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20240223_185219.jpg IMG_20240223_185251.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2024
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,406
    ค่าพลัง:
    +21,326
    หลวงพ่อสุพจน์ จันทูปโม พระเกจิอาจารย์ผู้เรืองเวทย์ ท่านมีพื้นเพเดิมเป็นคนจังหวัดสมุทรปราการ นามเดิมของท่านคือ สุพจน์ นามสกุล จาริบูลย์ โยมบิดาชื่อ นายมานิตย์ จาริบูลย์ โยมมารดาชื่อ นางจําเนียร จาริบูลย์ หลวงพอสุพจน์ท่าน เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2488 ซึ่งตรงกับวันอังคาร เดือนยี่ ปีระกา ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ท่านเป็นลูกชายคนเดียวของนายมานิตย์และนางจําเนียร ซึ่งมีลูกทั้งหมด 3 คน มีรายนามตามลำดับดังนี้

    1. นางศรีสุดา

    2. นายสุพจน์ จาริพิบูลย์ หรือ หลวงพ่อสุพจน์ จันทูปโม ในปัจจุบัน

    3. นางวิยะดา

    ในวัยเด็ก เด็กชายสุพจน์ก็อาศัยอยู่กับครอบครัวท่าน ณ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการจนต่อมาโยมบิดาของท่านซึ่งเป็นพนักงานรถไฟ ได้ย้ายมาทำงานที่มักกะสันและได้พักที่บ้านพักพนักงานรถไฟ ย่านมักกะสัน จึงได้ย้ายครอบครัวมาอยู่พร้อมหน้ากันที่นั่นเด็กชายสุพจน์จึงได้เข้าเรียนโรงเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนใกล้ๆบ้านพักรถไฟมักกะสัน อยู่โรงเรียนแห่งนี้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนกระทั่ง จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (มศ.3) ซึ่งเป็นระดับการศึกษาชั้นสูงสุดของท่าน ภายหลังจกเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว หลวงพ่อสุพจน์ ได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท เมื่อว ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2508 ณ พัทธสีมาวัดโปรดเกศเชษฐาราม ตําบลบางฝึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการโดยพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระศีลคุณาลังการ เมื่อครั้งยังเป็นพระครูวิธานธรรมวัตร เจ้าอาวาสวัดโปรดเกศเชษฐารามและเจาคณะตําบลบางผึง เป็นพระอุปัชฌาย์ให้ มี พระมาแช่ม วัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระมหาภักดี วัดโปดเกศเชษฐาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ตั้งมคธนาม หรือ ฉายาทาง พระภิกษุให้ว่า จันทูปโม (ผู้เปรียบด้วยพระจันทร์,ผู้เปรียบดุจพระจันทร์) ภายหลังจากบวชได้ 2 พรรษาและมีความรู้ทางปริยัติได้ นักธรรมชั้นโท พระภิกษุสุพจน์ ได้เริ่มแสวงหาพระอาจารย์ผู้รู้ทางพุทธศาสตร์ พระภิกษุสุพจน์ ไปกราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปูอินทร์เทวดา หลังจากออกพรรษาที่ 3 พระภิกษุสุพจน์ ได้ออกธุดงค์ไปจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อไปฝากตัวขอศึกษากับ หลวงปู่รอด วัดหนองกระทิง และได้ฝากตัว เป็นศิษย์พ่อเฒ่ามืด สุดยอดมหาอุด เมื่อหลวงพ่อสุพน์ มีพรรษาเกือบ 10 พรรษา ท่านคิดจะสร้างวัดมี ญาติโยมมานิมนต์ให้ไปสร้างวัดที่บ้านทุ่งธรรม หลวงพ่อสุจน์ เริ่มสร้างวัดจากสำนักสงฆ์ในปี พ.ศ. 2522 และพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ตั้งนามให้วัดแห่งนี้ว่าวัดศรีทรงธรรม ภายในวดก็มีเสนาสนะ ครบถ้วนตามความจําเป็น

    80068344_1699405300194645_4011564334239973376_n.jpg
    หลวงพ่อสุพจน์ วัดศรีทรงธรรม จ.นครสวรรค์ ท่านเป็นพระสมถะ ฎิบัติดี มีพลังจิตสูง ท่านชอบช่วยเหลือชาวบ้าน และอุปถัมภ์โรงเรียนในแถบนั้น ผมได้รู้จักท่านหลายปีแล้วจากการแนะนำของน้องท่านหนึ่งได้เจอกับท่านทางสมาธิและบอกให้ผมไปกราบท่านเพราะท่านเป็นพระอริยะบุคคลและยังบอกให้ผมทราบว่าอดีตชาติท่านก็ได้เคยเป็นพยายมอยู่ในขุมที่ 5 ด้วย และผมมีคลิปที่เขาทดลองยิ่งวัตถุมงคลของท่านอยู่หลายคลิปที่ยิงไม่ออกแต่มีอยู่คลิปหนึ่งที่น่าทึ่งมาก ลองชมดูครับ นอกจากนี้ผมยังมีรูปที่ได้มาหลายปีแล้วแต่ไม่ได้มีการเผยแพร่กันเป็นรูปเทียนที่ไฟยังติดอยู่ใต้น้ำ ในพิธีปลุกเสกที่จังหวัดกำแพงเพชร

    หลวงพ่อสุพจน์ท่านเมตตาทางวัดหลวงพ่อสดฯ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี มากครับ ท่านมาช่วยเสกพระด้านมหาอุดเป็นพิเศษครับ

    447841.jpg
    447842-576x1024.jpg
    447846.jpg
    ประวัติ หลวงพ่อสุพจน์ วัดศรีทรงธรรม อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ( โดยย่อ )

    นามเดิมของท่าน คือ สุพจน์ จาริพิบูลย์ โยมบิดา-มารดาชื่อ นายมานิตย์-นางจำเนียร จาริพิบูลย์ ท่าน เกิดเมื่อ วันที่ 25 มกราคม 2488 ที่อ. พระประแดง จ.สมุทรปราการ มีพี่น้อง จำนวน 3 คน ท่านเป็นคน ที่ 2

    ท่านได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท เมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2508 ณ.พัทธสีมา วัดโปรดเกศเชษฐาราม ต.บางผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ โดยมีท่าน เจ้าคุณพระศีลคุณาลังการ เมื่อครั้งยังเป็น พระครูนิทานธรรมวัตร เจ้าอาวาส วัดโปรดเกศเชษฐารามและ เจ้าคณะตำบลบางผึ้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาแช่ม วัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาภักดี วัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า จันทูปโม..

    พระอาจารย์ ที่หลวงพ่อสุพจน์ ได้ร่ำเรียน ทางธรรม และ พุทธาคม เท่าที่หลวงพ่อได้บอกเล่า ให้รับทราบมีดังนี้

    1. พระมหาแช่ม วัดโปรดเกศเชษฐาราม

    2. หลวงปู่อินทร์เทวดา วัดบางกะบัว

    3. หลวงพ่อรอด วัดหนองกระทิง

    4. พ่อเฒ่ามืด สุดยอดมหาอุด

    หลวงพ่อสุพจน์ วัดศรีทรงธรรม จ.นครสวรรค์ ก่อนบวชเป็นนักเลงไม่กลัวใคร ชอบไสยศาสตร์ พอบวชแล้วเดินธุดงค์เรียนวิชาทุกชนิดทั้งไสยขาวไสยดำ สมาธิ วิปัสสนากรรมฐานจนรอบรู้หมด

    วิชาไหนท่านเรียนแล้วไม่ขลังใช้ไม่ได้ผลไม่จำ เลือกชนิดหัวกะทิเห็นผลเท่านั้น สำเร็จวิชาคงกะพันตั้งแต่ 5 พรรษาแรก ต่อยอดด้วยวิชาชาตรี วิชาสักจนมาต่อวิชากับปู่รอดเสือ ปู่อินทร์เทวดา ปู่ทัต วังพระนอนและพ่อเฒ่ามืด(ผู้เฒ่าพิศดารใช้ชีวิตแปลกประหลาดผิดจากคนปกติ)

    จนสุดท้ายมาได้เทวดามาบอกให้จนเชี่ยวชาญแม่นยำเห็นผล จากนั้นเริ่มสร้างวัดศรีทรงธรรมด้วยตัวเองตั้งแต่ผสมปูนก่ออิฐทำทุกอย่าง ท่านอยู่แบบสมถะองค์เดียว(คิดดูเถิดถ้าไม่เก่งจริงไม่มีอะไรดี จะสร้างวัดอยู่องค์เดียวได้หรือและใครจะมาเป็นลูกศิษย์ แต่ไม่เลยหลวงพ่อสุพจน์มีศิษย์มากมาย เมื่อได้รู้จักท่านไม่ใช้ของท่านเป็นไม่มี)

    *ทุกวันคนไปลองยิงตะกรุดที่รับจากมือท่านที่วัดยิงไม่ออก ออกแต่ไม่ถูก ปืนแตกก็มาก*

    *ลูกสาวหนีไปเป็นปีมาให้ท่านเรียกกลับ ท่านบอก 7วันรู้เรื่อง ภายใน 7วันลูกสาวก็ทนไม่ได้กลับมาดังคำพูดหลวงพ่อจริง*

    *ดำน้ำทำตะกรุดใต้น้ำปล่อยตะกรุดลอยขึ้นมาเอง และเสกจนน้ำระเบิดมาแล้ว คนบึงปลาทูอายุเกิน 50 เห็นทุกคน*

    *ทุกวันนี้วัตถุมงคลของหลวงพ่อที่ท่านปลุกเสกแล้วกล้าให้ทดลองทุกชนิด เพราะมั่นใจในอาคม พลังจิตและคุณวิชาว่ามีสุดประมาณ*

    *เป็นอาจารย์สัก อาจารย์ดูหมอ ที่พึ่งของชาวบ้านมาตลอดชีวิต ได้เงินมาสร้างวัดหมด เงินส่วนตัวมีสลึงเดียว*

    *หนังสือศักดิ์สิทธิ์เคยมาลองยิงเหรียญและตะกรุดท่าน ยิงยังงัยก็ยิงไม่ออก สุดท้ายขอขมาด้วยการเอารูปท่านขึ้นปกหนังสือลงเรื่องของท่าน*

    *สมัยก่อนนั่งเขียนวิชามหาอุตม์กับหลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู อัดพลังมหาอุตม์กับหลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน ธรรมดาที่ไหน

    cr: https://s-amulet.com/th/products/431819-หลวงพ่อสุพจน์-วัดศรีทรงธรรม

    หลวงพ่อสุพจน์ จนฺทูปโม วัดศรีทรงธรรม จ. นครสวรรค์

    ชื่อหลวงพ่อ สุพจน์ ดังกระฉ่อนทั้งนครสวรรค์จนทั่วประเทศมานานแล้ว เพราะของท่านดังลองได้ หลวงพ่อเองยังท้าให้ลองด้วยซ้ำไป ขอให้ตั้งจิตให้ดีอธิฐานให้มั่น หลวงพ่อดูจะเป็นพระนักเลงในสายตาของชาวบ้าน แต่แท้จริงท่านเป็นพระจริงไม่กลัวใคร ใจใหญ่ยิ่งกว่ามหาสาคร หลวงพ่อเป็นศิษย์ครูเก่งที่โลกไม่ลืม เรียนวิชามหาอุดแคล้วคลาดมีอำนาจเสือสมิงจากหลวงปู่รอด ( เสือ ) วัดหนองกระทิง เรียนวิชามหาเสน่ห์มหานิยมลุ่มหลง สาวแก่ แม่หม้าย เดินตาม จากปู่อินทร์เทวดา เรียนวิชาปืนปัดปืนปิดพิชัยพิชิตชัยสงครามจากหลวงพ่อ เย่อ วัดอาษาสงคราม เรียนวิชามหาอุดมหากันกำบังปืนจากพ่อเฒ่ามืด ขุนเขาห้าลูกขนาดโยนผ้าขาวม้าให้ยิงยังยิงไม่ออก เรียนวิชากำบังจิตเสกหุ่นพยนต์ล่องหนหายตัวจากพ่อเฒ่าโชติ เมืองอู่ทอง

    สมัยหนุ่ม ๆ หลวงพ่อสุพจน์ร้อนวิชาอยู่ตามป่าเขา ตามถ้ำ แน่ไม่แน่ก็มาสร้างวัดศรีทรงธรรมอยู่รูปเดียว ชาวบ้านขึ้นซะด้วย มาอยู่นครสวรรค์ใหม่ ๆ เคยฝากตัวเรียนวิชาสายเจ้าถิ่นนครสวรรค์ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธ์ กับหลวงปู่ฮวด วัดหัวถนนใต้ วิชาบางอย่างในสายหลวงพ่อเดิม จากหลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู ถึงขนาดเคยลองวิชาเสกปลัดว่ายน้ำ ในอ่างน้ำมนต์แข่งกัน หลวงปู่พิมพาเสกขึ้นเร็วแต่ว่ายช้าไปเรื่อย ๆ ส่วนของหลวงพ่อสุพจน์เสกขึ้นห็นกับตาว่า ทุกวันนี้หลวงพ่อสุพจน์ไปไหนมาไหนเดินเท้าเปล่า ขึ้นเขาลงห้วยย่ำกลางทุ่ง หนามเศษหินเศษแก้วบาดท่านไม่ได้ด้วยความขลัง ขนาดมีงานวัดเด็กทำแก้วแตก ท่านเดินเท้าเปล่าผ่าดงเศษแก้วไปอุ้มเด็กได้

    หลวงพ่อเลี้ยงเด็กนักเรียน ทำบุญวันเกิดท่านสั่งครูและผู้ใหญ่บ้านให้ดูเด็กทางทิศเหนือจะมีเรื่องกัน ผู้ใหญ่บ้านและครูก็อยู่ทางทิศนี้เพียบเลย สุดท้ายมีเรื่องกันจริง ๆ แต่ระงับเหตุทันเพราะคอยระวังอยู่แล้ว น่าคิดว่าท่านรู้ล่วงหน้าได้อย่างไร

    • อีกาตัวหนึ่งบินมาเกาะหลังคาศาลาร้องเสียงดังมากหลวงพ่อบอกลุงหลอว่าขอข้าว 3 ปั้น ท่านรับข้าวมาเสกหว่านลงบนพื้นดิน นกกระจอก นกพิราบ รวมทั้งอีกา บินมากินกันใหญ่ สักพักอีกาบินมาเกาะโต๊ะไม้ที่ท่านนั่งอยู่ ท่านยื่นมือไปลูบหัวและจับอีกาตัวนี้มาเลี้ยง เรื่องนี้พิสูจน์ได้เพราะปัจจุบันอีกาตัวนี้ยังอยู่ในวัดศรีทรงธรรม วิชาของหลวงพ่อนี้ยอดมากเลย

    • วัยรุ่นในบึงปลาทู เอาแผ่นทองแดงมาให้หลวงพ่อลงตะกรุด ท่านจะรีบไปธุระในเมือง ท่านรับและลงให้ม้วนให้แล้ววางไว้บนรูปปั้นหลวงปู่ทวด บอกว่า พรุ่งนี้มึงมาเอา แล้วท่านก็นั่งรถออกไป วัยรุ่นใจร้อน 2 คนเดินไปหยิบตะกรุดที่ตักหลวงปู่ทวดเอาไปลองยิงกันหลังวัดปืนแตกเลย พ่อแม่ต้องมากราบขอขมาหลวงพ่อ เรื่องของหลวงพ่อสุพจน์ยังมีอีกมากมายเล่าไม่จบ
    ที่มา.www.assajanprakreang.com

    เจอมาครับเลยมาช่วยเพิ่มเติม

    “ท่านเป็นพระหนุ่มรูปเดียวที่เคยนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลร่วมกับพระเถระรุ่นเก่า อาทิ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย, หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ, หลวงพ่อลำไย วัดทุ่งลาดหญ้า เป็นต้น”

    หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู เคยชมว่า “ถ้าแก่กว่านี้อีกหน่อยสมาธิกล้า ใครก็สู้ท่านไม่ได้ พระเก่งวิชาสัก รุ่นเก่าจะเสกของขึ้นมีตัวจริง” หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน บอกตอนเสกพระกับอาจารย์สุพจน์ว่า “มหาอุดหยุดปืนอาจารย์พจน์ลงนะ ส่วนผมเอาเมตตามหาลาภเอง”

    ผมบูชาแล้วครับ
    ตะกรุดหลวงพ่อสุพจน์ขึ้นชื่อ 1 ใน 4 ตะกรุดขลัง ตะกรุดโทน”
    ที่ท่านสืบจากพ่อเฒ่ามือเขาเก้าลูก โยนผ้าให้ยิงก็ยิงไม่ออก ปีนี้ ท่านทำตะกรุดมหาอุดเหนือ
    ชั้นชื่อ คงมหากาฬ ลงจารตำรับ “คง” ที่ขึ้นชื่อ ที่อุดปืน หยุดอาวุธ ลงยันต์มหาอุดที่แผ่นตะกั่ว
    น้ำนม ม้วนพิเศษ ด้วย นารายณ์ด้นธรณี (เรื่องทุกเรื่องแก้ไขได้ ดุจพลิกฝ่ามือ) ถักเชือกลาย
    เอกลักษณ์ของสำนักหลวงพ่อ เวลาเสกท่านลงมหาอุด ตำรับ “คง” (ก่อนและใช้สายสิญจน์
    ชักยันต์เป็นยันต์มหากาฬ คลุมตะกรุด ยันต์มหากาฬนี้ เป็นยันต์มหาวิเศษที่ รวมด้านบู้ ทั้งหมด
    เหนือดวง ชนะอุปสรรค์ทั้งหมด ชนะเคราะห์ชนะภัยทั้ง หมด ทำยากอย่างนี้ อำนาจของตะกรุด
    ดลบันดาลให้ผู้ครอบครองเป็นใหญ่เหนือคนทั่วไป คงทนเขี้ยวงาอาวุธหยุดโรคร้ายเภทภัยนานา
    เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง ทั้งยังเป็นมหาสะท้อน คือใครคิดร้ายกับเราใครจะทำร้ายเราภัยที่จะเกิด
    จะสะท้อนไปสู่ผู้นั้นเอง ระงับภัยทั้งทางบกทางน้ำ ทางอากาศ หลบหลีกภัยได้ แล้วยังกันอาถรรพ์
    จำพวกที่ เรามองไม่เห็น

    ผมไปกราบท่านมาร่วม 10 ครั้งได้เพราะห่างจากวัดท่านแค่10กิโล ถ้าท่านใดจะไปกราบท่านแนะนำไปตอนเช้าครับ ก่อนเที่ยงเพราะท่านจะไปกิจธุระตอนบ่าย ถ้าโชคดีไปบ่ายก้อาจเจอท่านครับ ส่วนตัวผมไปตอนเช้าครับเพราะเจอแน่นอน ไปทีนึงท่านก็สอนหลักธรรมข้อคิดดีดี ครับนอกจากตระกรุด เหรียญก็ไม่แพ้กันครับ

    cr: http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=12137.0

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญพุทธคงปี๓๙หลวงพ่อสุพจน์ ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    (ปิดรายการ)
    IMG_20240223_185104.jpg IMG_20240223_185139.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2024
  5. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,021
    ค่าพลัง:
    +6,562
    -ขอจองครับ
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,406
    ค่าพลัง:
    +21,326
    1708698524182.jpg
    หลวงปู่เปลื้อง วัดลาดยาว อายุ 108 ปี เกจิ 5 แผ่นดิน มรณภาพแล้ว ด้วยโรคชรา เมื่อเวลา 19.30 น. 4 พ.ค. 53 นำร่างออกจากรพ.สวรรค์ประชารักษ์ 5 พ.ค. เวลา 09.00 น. เพื่อนำไปที่วัดลาดยาว...
    เมื่อเวลา 19.30 น. 4 พ.ค. ที่ห้องพักสงฆ์อาพาธ ชั้น 7 ตึก 2 รพ.สวรรค์ประชารักษ์ พระครูนิวิฐธรรมสาร หรือหลวงปู่เปลื้อง จัตตสัลโล เจ้าอาวาสวัดลาดยาว อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ ถึงแก่มรณภาพ ด้วยโรคชรา สืบเนื่องจากการที่หลวงปู่เปลื้องอายุกาลพรรษามากแล้ว วันนี้หลวงปู่อยู่ที่วัดลาดยาว แล้วเกิดอาการรู้สึกเหนื่อยอ่อน เพลีย หายใจไม่ค่อยทัน น.ส.สุพัฒตรา จันทร์อยู่ อายุ 40 ปี หลานสาวของหลวงปู่ ซึ่งคอยดูแลปรนนิบัติรับใช้อยู่ จึงนำตัวหลวงปู่ส่งรพ.สวรรค์ประชารักษ์ เมื่อเวลา 16.00 น.
    เมื่อมาถึงรพ. ทางแพทย์ผู้ตรวจคือ นพ.ณัฏฐ์ น้อมพรรโณภาส จึงนำตัวเข้าพัก และตรวจดูอาการที่เตียง 6 ห้องพักสงฆ์อาพาธ ชั้น 7 อาคาร 2 พร้อมทั้งให้ออกซิเจนและน้ำเกลือ เพื่อช่วยให้สดชื่นขึ้น พร้อมทั้งสั่งให้นอนพักเพื่อรอดูอาการ ระหว่างนอนพัก หลวงปู่ยังมีอาการปกติ สามารถพูดคุยทักทายกับบรรดาลูกศิษย์ที่มาเยี่ยม จนกระทั่งเวลา 19.30 น. หลวงปู่มีอาการสะอึกแล้วก็สิ้นลมหายใจไปเฉยๆ ท่ามกลางการตกตะลึงของลูกศิษย์ ซึ่งทางคณะแพทย์ได้รีบมาตรวจสอบอาการและช่วยปั๊มหัวใจ แต่ไม่เป็นผล หลวงปู่สิ้นลมด้วยอาการสงบ ท่ามกลางความเสียใจของคณะศิษย์
    นอกจากนี้ ได้เกิดเหตุประหลาด ระหว่างที่คณะศิษย์และคณะแพทย์ช่วยกันดูแลร่างของหลวงปู่ เกิดกระแสไฟฟ้าในรพ.มีอาการติดๆ ดับๆ ถึง 4 ครั้ง เมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่รพ.ก็ทราบว่า ทางรพ.ไม่เคยมีเหตุไฟฟ้าติดๆ ดับๆ แบบนี้มาก่อน

    สำหรับประวัติย่อหลวงปู่เปลื้อง จัตตสัลโลหรือพระครุนิวิฐธรรมสาร เจ้าอาวาสวัดลาดยาว พระเกจิที่มีชื่อเสียงและอายุกาลพรรษาสูงที่สุดรูปหนึ่งของนครสวรรค์ เดิมชื่อเปลื้อง แย้มสุข เป็นชาวชัยนาท เกิดเมื่อวันอังคารที่ 20 พ.ค.2445 ที่บ้านท่าฉนวน ต.ท่าฉนวน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท อุปสมบทเมื่อพ.ศ. 2466 โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระธรรมปัญญาบดี (สวัสดิ์ กิตติสาโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทัตโต) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงปู่เปลื้อง เป็นพระเกจิอาจารย์ 5 แผ่นดิน ชาวลาดยาวมักเรียกว่าหลวงปู่ใหญ่ 5 แผ่นดิน ได้ศึกษาวิทยาคมจากพระเถระที่มีชื่อเสียงหลายรูปด้วยกัน เช่น สมเด็จพระวันรัต(เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ)วัดเทพสิรินทร์ หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน นครสวรรค์ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์
    หลวงปู่เปลื้อง เป็นพระเถระที่มีจริยาวัตรงดงาม มีเมตตาแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่เลือกวรรณะ ท่านมักได้รับนิมนต์ให้ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษก หรือนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลทั่วประเทศ ซึ่งวัตถุมงคลของท่านจะเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไปทั้งใกล้ไกล ซึ่งวัตถุมงคลส่วนใหญ่ของท่านมักจะเสกและสร้างขึ้นเพื่อสาธารณะประโยชน์ โดยมีคณะศิษย์มาขออนุญาตจัดสร้างและแจกจ่ายกันไปในหมู่ผู้ที่มีความเคารพ ศรัทธาในตัวหลวงปู่ วัตถุมงคลส่วนหนึ่งก็จะให้หลวงปู่ไว้แจกแก่ประชาชนทั่วไปที่เดินทางมากราบ ไหว้ท่าน บางรุ่นก็จะสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน ล่าสุดมีการสร้างเหรียญรูปหลวงปู่ขึ้นเพื่อหาทุนสร้างวิหาร กุฏิสงฆ์ และปิดทองพระประธานในวิหาร ชื่อรุ่นว่า รุ่นก้าวหน้า อายุยืน นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระเศรษฐีนวโกฎิ พระผง-พระดินจอมปลวก รูปหล่อ เครื่องรางรูปเสือ ซึ่งวัตถุมงคลของหลวงปู่จะมีประสบการณ์ทางด้าน เมตตา ค้าขาย คลาดแคล้ว และวัตถุมงคลส่วนใหญ่จะหมดลงในระยะเวลาไม่นาน
    สำหรับกำหนดการจัดพิธีศพหลวงปู่นั้น ยังอยู่ในระหว่างการปรึกษาหารือกันในหมู่คณะศิษย์และคณะสงฆ์จังหวัด นครสวรรค์ โดยกำหนดจะนำร่างของหลวงปู่ออกจากรพ.สวรรค์ประชารักษ์ ในวันที่ 5 พ.ค. เวลา 09.00 น.เพื่อนำไปที่วัดลาดยาว เพื่อให้ประชาชนทั่วไป และคณะศิษย์ได้กราบไหว้เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะมีกำหนดการที่แน่นอนต่อไป


    ประวัติหลวงปู่เปลื้อง วัดลาดยาว นครสวรรค์
    หลวงปู่เปลื้อง พระมหาเถระยุคเก่า ลึกที่สุด ขลังเข้มข้น ก่อนกึ่งพุทธกาล สอบเปรียญ ๔ ประโยคตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ บวชกับ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) อธิบดีสงฆ์ วัดมหาธาตุฯ เป็นศิษย์ สมเด็จครูองค์ที่ ๑ สมเด็จ ฯท่านฝากไปเรียนกับ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ สมเด็จครูองค์ที่ ๒ และยังไปเรียนกับ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทร์ฯ (ผู้เป็นอาจารย์ของท่านเจ้าคุณนรรัตน์)ถือเป็น สมเด็จครูองค์ที่ ๓ ตอนเป็นเณรไปกราบหลวงปู่ ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านลง นะฤาชา และพุทธม้วนโลกให้ กลางกระหม่อมหลวงปู่ ทุกวันนี้กระหม่อมหลวงปู่ เปลี่ยนเป็นสีขาว อย่างอัศจรรย์ ไปเรียนกรรมฐานกับ ยอดพระ ศิษย์ของพระเดชพระคุณ สมเด็จพระพุทธาจารย์ (โต พรหมรังสี) นั้นคือ หลวงปู่ภู วัดอินทร์ฯ ท่านให้พรให้มีอายุยืนยาว เหมือนหลวงปู่ สมเด็จพระวันรัต (เฮง) รักหลวงปู่เปลื้องมาก ส่งให้มาคลุม มณฑล สี่แคว(เมือง นครสวรรค์) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พระครูเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ตอนอายุเพียง ๓๑ ปีเท่านั้น ได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อ พวง วัดหนองกระโดง พระเกจิ ระบือนามยิ่งใหญ่แห่งนครสวรรค์ ต่อวิชากับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ หลวงปู่ ถือศีล ถือ ธรรมเข้มข้น ว่าคาถาปลุกเสกทั้งดีทั้งแรง คงความขลังลองกันนับไม่ถ้วนไม่เคยได้กิน ปากท่านศักดิ์สิทธิ์นัก ท่านไม่เคยดุด่าว่ากล่าวใคร ท่านบอกว่าดี ต้องดี บอกว่ารวยต้องรวย ทุกวันนี้ หลวงปู่ได้ฉายาว่า หลวงปู่ใหญ่ ใครก็เกรงบารมี เป็นที่เคารพรักของสาธุชนรุ่นหลานเหลน ไม่หลงไม่ลืม ให้พรบอก นำกล่าวถวายทานได้ เป็นอุปัชฌาย์บวชให้ศิษย์นับ หมื่นหมื่นคน บวชพ่อ ยันลูก ยันหลาน พระเกจิอาจารย์ยุคนี้ ใครก็ข่มหลวงปู่ไม่ได้ ท่านรู้ลึก กระแสจิตรดี งานพุทธาภิเษก เกจิอายุ 80 กว่า ยังต้องก้มกราบหลวงปู่ก่อนมิเช่นนั้นจับสายสิญจน์ไม่ได้ร้อนจนต้องรีบปล่อย ครูบาหนุ่มภาคเหนือ บอกให้ลูกศิษย์ไปกราบซะพระองค์นี้ เป็นทองคำทั้งองค์ หลวงพ่อท่านหนึ่งศิษย์หลวงปู่มั่น บอกให้ไปเอาผ้าเช็ดน้ำหมากของหลวงปู่มาติดตัว เท่านี้ ก็เท่ากับพกยอดพระแล้ว ต่อให้ใส่พระทั่วตัวไม่มีที่ว่างก็ไม่เท่าผ้าเช็ดน้ำหมากของหลวงปู่ พระหนุ่มภาคใต้จับรูปของหลวงปู่ที่ห่อรวมกับพระอื่นๆ ยังต้องวางชี้รูปนั้นแล้วบอกว่า “องค์นี้เป็นพระแต่เหนือพระ” ตลอดระยะเวลาที่หลวงปู่ครองผ้าเหลืองทั้งเป็นพระและเป็นเณร เกือบ ร้อยปี หนึ่งศตวรรษ หลวงปู่ยังงดงาม ในขั้นต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ทรงความเป็นมหาเถระที่ สว่างกระจ่าง ท่ามกลางใจ ได้ไหว้ได้กราบได้ใครได้ครอบครองพระของหลวงปู่ถือว่าเป็นบุญสูงยิ่งแล้ว ยากจะหาบุญใดยิ่งกว่าในยามนี้

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่พวงหลังหลวงปู่เปลื้องวัดลาดยาวให้บูชา 170 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20240223_210805.jpg IMG_20240223_210834.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2024
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,406
    ค่าพลัง:
    +21,326
    FB_IMG_1708698934351.jpg

    หลวงปู่ลี ตาณํกโร
    เจ้าอาวาสวัดหัวตลุกวนาราม (วัดป่าหัวตลุก) ตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
    ประวัติ
    หลวงปู่ลี ตาณํกโร
    เจ้าอาวาสวัดหัวตลุกวนาราม (วัดป่าหัวตลุก)
    ตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
    ปฐมวัย
    หลวงปู่ลี ตาณํกโร มีนามเดิมว่า ลี นามสกุล ถุวัตถี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2479 ตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 2 ปีฉลู ณ บ้านเลขที่ 24 หมู่ที่2 บ้านนาฝายเหนือ ตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โยมบิดาชื่อ นายเคน ถุวัตถี โยมมารดาชื่อ นางอ่อนจันทร์ ถุวัตถี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด 8 คน เป็นชาย 5 คน และหญิง 3 คน ดังนี้
    1. นางอบมา บูรพันธ์ (ถุวัตถี) ถึงแก่กรรม
    2. นายบุญตา ถุวัตถี ถึงแก่กรรม
    3. นางคำภา ม่องคำหมื่น(ถุวัตถี) ถึงแก่กรรม
    4. นายบุญเส็ง ถุวัตถี ถึงแก่กรรม
    5. นายอังคาร ถุวัตถี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อ-สกุลเป็น นายวิธาน สุชีวคุปต์และเป็นข้าราชการบำนาญมหาวิทยาลัยรามคำแหง)
    6. หลวงปู่พุฒ ฐานิสฺสโร มรณภาพ
    7. หลวงปู่ลี ตาณํกโร สำนักสงฆ์ป่าหัวตลุก
    8. นางบุญนาง ทองสงคราม อาชีพทำนา ปัจจุบันอาศัยที่บ้านนาฝายเหนือ

    เด็กชายลีต้องกำพร้าบิดาในขณะที่อายุได้เพียง 3 ขวบ ซึ่งยังเล็กมาก จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของโยมมารดาและพี่ๆ ซึ่งท่านทั้งหลายเหล่านั้นได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลครอบครัว และอบรมสั่งสอนเด็กชายลีมาโดยตลอด จนเมื่ออายุครบเกณฑ์ที่จะต้องเข้าโรงเรียน
    เด็กชายลีเริ่มต้นเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล 19 วัดบ้านนาฝายเหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีนายสมาน พินิจมนตรีเป็นครูใหญ่ในขณะนั้น จนเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงได้ออกจากโรงเรียนแล้วมาช่วยครอบครัวทำนา
    เด็กชายลีเป็นเด็กที่ชอบเล่นสนุก ชอบพูดจาหยอกเย้าเพื่อนฝูง แต่ไม่เคยรังแกเพื่อนหรือทำร้ายใคร แต่กลับเป็นเด็กที่ไม่ชอบพูดจาโอ้อวด ไม่ชอบมีเรื่องชกต่อยและเป็นเด็กที่รู้จักกลัวในบาปบุญคุณโทษ โดยเฉพาะเรื่องการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ที่ได้รับอิทธิพลมาจากการฟังนิทานสอดแทรกคำสอนจากหลวงปู่จันดี ซึ่งเป็นตาของเด็กชายลี ทำให้เด็กชายลีซึมซับธรรมะมาโดยไม่รู้ตัว หล่อหลอมให้เด็กชายลีมีจิตใจที่ใฝ่ในทางธรรมและยังได้คอยชี้แนะเพื่อนๆไม่ให้ทำบาปอีกด้วย
    เหมือนโชคชะตากำหนดให้เด็กชายลีต้องมีชีวิตต่อไปเพื่อสืบสานพระพุทธศาสนา ทำให้แคล้วคลาดจากเหตุการณ์ที่เกือบคร่าชีวิตไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็กที่อยู่ในวัยอยากรู้อยากเห็น
    วันหยุดเรียนวันหนึ่ง เพื่อนๆได้ชักชวนเด็กชายลีไปยังทุ่งนาเพื่อเที่ยวเล่นตามประสาเด็ก และอาจจะได้กบหรือเขียดไปประกอบอาหารเป็นของแถม ขณะที่กำลังเดินอยู่บนคันนานั้น สายตาของเด็กชายลีก็เหลือบไปเห็นรูบนพื้นดิน ด้วยความสงสัยว่าจะมีกบหรือเขียดอยู่ในรู จึงเอามือขวาล้วงเข้าไป แต่แล้วก็เกิดเหตุไม่คาดคิด เมื่อสัตว์ที่อยู่ในรูนั้นไม่ใช่กบหรือเขียด หากเป็นงูเห่าที่ฉกกัดนิ้วกลางของเด็กชายลีทันที
    ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงพยาบาล ครอบครัวจึงต้องให้หมอยาพื้นบ้านมาทำการรักษา แต่พิษงูเห่าแผ่ซ่านทำให้เด็กชายลีเจ็บปวดจนทนแทบไม่ไหว แต่เหมือนปาฏิหาริย์ เด็กชายลีมีอาการทุเลาดีขึ้นและหายเป็นปกติในที่สุด เหลือเพียงนิ้วกลางที่หงิกงอไม่สามารถเหยียดตรงได้เหมือนนิ้วอื่นเป็นร่องรอยมาจนถึงปัจจุบันนี้เท่านั้น การรอดชีวิตดังกล่าวจึงเหมือนเป็นการสะสมบารมีธรรมมาเพื่อบวชเรียนในพระพุทธศาสนา ดังคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ตรัสไว้ว่า “สัตว์ผู้มีภพในที่สุด จะไม่เป็นอันตรายใดๆทั้งสิ้น ถ้ายังไม่บรรลุมรรคผลนิพพานเสียก่อน”เข้าสู่ร่มกาสวพัสตร์
    ออกจากบ้านมุ่งหน้ามาสู่วัด
    เพราะวัดดัดอารมณ์ที่งมโง่
    ยอมเป็นวัวเขาหลุดดุจคนโซ
    หมดพยศ หมดโก้ หมดเกียรติงาม
    ออกจากบ้านเข้าป่าสงบเงียบ
    เพื่อฝึกจิตให้เรียบดังมุ่งหมาย
    ออกจากบ้านไปหาที่ไม่มีตาย
    จิตกับกายก็ต้องพรากจากกันเอย

    เมื่อเติบใหญ่และเจริญวัยจนอายุสมควร เด็กชายลีจึงได้ตัดสินใจบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุประมาณ 19 ปีเพื่อศึกษาธรรมะและพระปริยัติธรรม ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาฝายเหนือ ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน โดยมีพระอาจารย์บุญมา กลฺลญาโณ น.ธ.เอก เป็นเจ้าอาวาสและเป็นครูผู้สอนพระปริยัติธรรม
    สามเณรลีได้ศึกษาหลักสูตรนักธรรมตรี ต่อเนื่องถึงนักธรรมโทแต่ตัดสินใจไม่ศึกษาต่อในชั้นนักธรรมเอก เนื่องจากต้องการที่จะศึกษาวิปัสสนากรรมฐานมากกว่าการเรียนปริยัติธรรมและภาษาบาลีที่กำลังตื่นตัวกันมากในสำนักเรียนวัดโพธิ์ชัย ดังนั้นในปี พ.ศ. 2502 สามเณรลีในขณะนั้นจึงได้ออกเดินทางจากวัดโพธิ์ชัยไปอยู่ที่ป่าช้าบ้านหนองโนเพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมตามแนวทางของตัวเอง

    การปฏิบัติธรรม
    พระราชาในกลดน้อย
    กลดหนึ่งคันนี้หรือคือปรางค์มาศ
    แม้เสื่อขาดเปรียบที่นอนอันอ่อนนุ่ม
    มีมุ้งห้อยย้อยยานต่างม่านคลุม
    มีบาตรอุ้มเปรียบเช่นเป็นโรงครัว

    การเบนเข็มชีวิตในร่มกาสวพัสตร์สู่พระนักปฏิบัติไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไร้เหตุผล สืบเนื่องจากวันหนึ่งหลังจากที่เสร็จสิ้นจากการเรียนการสอบนักธรรม สามเณรลีได้กลับไปเยี่ยมครอบครัว และได้รับรู้ข่าวร้ายที่สะเทือนจิตใจเป็นอย่างมาก นั่นคือ พี่สาวได้เสียชีวิตจากการคลอดลูก
    ความสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักโดยมิได้คาดฝัน ทำให้สามเณรลีคิดถึงสัจธรรมของชีวิตข้อหนึ่งว่า “สิ่งใดมีเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมต้องดับไปเป็นธรรมดา” หลังจากนั้นสามเณรลีได้เดินทางด้วยเท้าเปล่ากลับวัดโพธิ์ชัยด้วยระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร เป็นการเริ่มต้นสละภาระของชีวิต และได้ออกเดินทางสู่ป่าช้าบ้านหนองโนในปี พ.ศ. 2502
    ก่อนที่จะออกเดินทางนั้น สามเณรลีได้พูดกับโยมมารดาและญาติพี่น้องอย่างเด็ดเดี่ยวว่า “เบิ่งดูหน้าข้อยให้คักๆเด้อ ครั้นข้อยบ่ได้เห็นธรรม สิบ่มาให้พวกเจ้าเห็นหน้าอีก” คำพูดนี้เป็นเหมือนการให้สัจจะปฏิญาณเพื่อที่จะเริ่มต้นศึกษาและปฏิธรรมอย่างจริงจังของหลวงปู่ลี
    หลวงปู่ลีได้เดินทางมาอยู่ที่ป่าช้าบ้านหนองโน ห่างจากบ้านนาฝายเหนือประมาณ 3 กิโลเมตรและได้ถวายตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อทองสุข สิริจนฺโท วัดป่าบ้านหนองโน อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น
    หลวงพ่อทองสุขเป็นพระปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่ป่าช้าฉันเอกามื้อเดียว นั่งสมาธิ เดินจงกรมภาวนาเป็นหลัก เป็นที่รู้จักและเคารพนับถือของชาวบ้านโดยทั่วไป เพราะท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ อำเภอเมือง จังหวัดเลย ซึ่งเป็นศิษย์สายบูรพาจารย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    ภายหลังหลวงปู่ลีได้ขาดการติดต่อกับญาติพี่น้อง และไม่มีใครทราบว่าท่านได้บวชเป็นพระภิกษุตั้งแต่เมื่อใด แต่ญาติพี่น้องก็มิได้เป็นห่วงเนื่องจากเห็นว่าท่านได้เดินบนเส้นทางที่ถูกต้องและงดงามดีแล้ว รับรู้แต่เพียงว่าหลวงปู่ลีได้เดินธุดงค์ไปจำพรรษาตามสถานที่ต่างๆ เช่น วัดป่าบ้านไร่ย็อก อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี และอีกหลายแห่งในจังหวัดนครพนม ท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่ออกเดินทางจาริกแสวงบุญไปเรื่อยๆ ไม่อยู่อาศัยประจำที่ อันแสดงถึงความไม่ยึดติด ดังที่ท่านได้เคยเล่าให้บรรดาศิษยานุศิษย์ฟังดังนี้
    ปีพ.ศ. 2503 หลวงปู่ลีซึ่งมีอายุได้ 21 ปีได้ออกเดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ จนได้มีโอกาสกราบศึกษาธรรมะจากหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีอายุประมาณ 59 ปีในขณะนั้น
    ปี พ.ศ. 2504 เมื่อหลวงปู่ลีเดินธุดงค์จนถึงอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ มีโยมถวายปัจจัย แต่หลวงปู่ลีไม่รับ เนื่องด้วยหลวงปู่มีปฏิปทาไม่จับเงินทอง โยมจึงถวายเป็นตั๋วรถไฟ หลวงปู่ลีจึงขึ้นรถไฟเดินทางไปถึงเพียงจังหวัดอุตรดิตถ์เท่านั้น หลังจากนั้นก็เดินธุดงค์ต่อไปจนถึงจังหวัดเชียงใหม่ และจำพรรษาที่ถ้ำปากเปียง ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับถ้ำผาปล่อง ในอำเภอเชียงดาว โดยในหนังสือบูรพาจารย์ได้บันทึกถึงความสำคัญของถ้ำปากเปียงเอาไว้ว่า
    “เมื่อท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้พักบำเพ็ญธรรมที่ถ้ำเชียงดาวพอควรแล้ว ท่านได้จาริกผ่านมาบริเวณวัดถ้ำปากเปียง ต่อมาท่านได้ปรารภกับหลวงปู่แหวนว่า ถ้ำปากเปียงเป็นถ้ำที่เป็นมงคล มีพระอรหันต์มาดับขันธ์ที่นี้”
    หลวงปู่ลีได้จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำปากเปียงอยู่แต่เพียงรูปเดียว ท่ามกลางสภาพที่เป็นป่าเขา เงียบสงัดและเหมาะสมแก่การภาวนายิ่งนัก และท่านได้ถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง ซึ่งเป็นพระป่ากรรมฐานสายบูรพาจารย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่แว่น ธนปาโล (วัดถ้ำพระสบาย อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง) ขณะที่หลวงปู่ลีมีอายุได้ 24 ปี หลวงปู่สิมมีอายุได้ประมาณ 59 ปี และหลวงปู่แว่นมีอายุได้ประมาณ 50 ปีเศษ
    หลวงปู่ลีมีโอกาสได้ศึกษาพระธรรมและรับใช้หลวงปู่สิมอย่างอดทน ไม่เห็นแก่ความยากลำบากของการเดินทางสู่ถ้ำผาปล่องที่ต้องปีนป่ายเชิงเขา เมื่อฝนตกทำให้พื้นลื่น ก็ทำให้ไถลลงมา สองข้างทางก็เป็นป่าเขารกชัฏ ไม่ได้มีไฟฟ้าส่องสว่างหรือเป็นทางคอนกรีตสะดวกสบายอย่างเช่นทุกวันนี้
    หลวงปู่ลีจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำปากเปียงและศึกษาพระธรรมจากหลวงปู่สิมและหลวงปู่แว่นได้ 1 ปี โดยหลวงปู่สิมได้กล่าวแก่หลวงปู่ลีอันมีนัยยะเป็นปริศนาธรรมเอาไว้ในคราวที่หลวงปู่ลีสรงน้ำถวายหลวงปู่สิมว่า “คุณลี ภาวนาดีๆ ปฏิบัติตัวให้เหมือนพระพุทธรูป”
    ปี พ.ศ. 2505 ปฏิบัติธรรมที่อำเภอหนองบัวโคก จังหวัดชัยภูมิ
    ปี พ.ศ. 2506 ปฏิบัติธรรมที่อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
    ปี พ.ศ. 2507 ปฏิบัติธรรมที่เขาช่องลม จังหวัดลพบุรี
    ระยะเวลาหลังจากนี้ไม่มีใครทราบว่าหลวงปู่ลีได้ออกเดินธุดงค์ไปยังสถานที่ใดบ้าง เนื่องจากปกติแล้วหลวงปู่ลีไม่ค่อยได้อธิบายประวัติส่วนตัวมากนัก ด้วยอุปนิสัยที่ไม่ชอบพูดจาโอ้อวดนั่นเอง
    ปี พ.ศ. 2511-2512 หลวงปู่ลีได้เดินทางไปหาพระพี่ชาย (พ่อใหญ่วิธาน) ซึ่งได้บวชเป็นพระสงฆ์อยู่ในขณะนั้นที่วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องขอญัตติเป็นธรรมยุติกนิกาย ซึ่งพระพี่ชายได้แนะนำไปว่าให้ไปญัตติเป็นธรรมยุติกนิกายที่วัดสุรพิมพาราม ตำบลตูมใต้ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เนื่องจากมีญาติผู้ใหญ่ฝ่ายโยมแม่ซึ่งได้แก่คุณน้าอาจารย์โฮม เป็นผู้อุปถัมภ์วัดอยู่ รวมทั้งมีพระอุปัชฌาอาจารย์ที่เคร่งครัด เคารพพระธรรมวินัย ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่ ดังนั้นในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2512 เมื่อหลวงปู่ลีมีอายุได้ 32 ปีเศษ จึงได้ขอญัตติจตุตถกรรมใหม่เป็นพระสงฆ์ในธรรมยุตินิกายที่วัดสุรพิมพาราม โดยมีพระครูสารเมธากร (ลูกศิษย์ท่านเจ้าคุณประสาทสารคุณ วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมุห์ชนเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูคุณสารวิจิตรเป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รับฉายาว่า “ตาณํกโร” ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ต่อสู้เอาชนะซึ่งกิเลส นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พ่อใหญ่วิธานได้ให้ข้อมูลอีกว่า ภายหลังจากที่ท่านได้ลาสิกขามาใช้ชีวิตเป็นฆราวาสในทางโลก มีครอบครัว ประกอบอาชีพเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงแล้ว ได้มีโอกาสไปกราบหลวงปู่ลี แล้วก็ได้รับคำตักเตือนให้สติจากหลวงปู่ลีว่า “พี่กำลังหลงระเริงไปตามวิถีโลก” คำเตือนนี้พ่อใหญ่วิธานได้จดจำไม่รู้ลืมมาจนถึงทุกวันนี้
    ปี พ.ศ. 2516 ปฏิบัติธรรมที่จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย ซึ่งในขณะนั้นถือเป็นพื้นที่สีแดง ในช่วงเวลาที่รัฐบาลกำลังปราบปรามผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์
    ปี พ.ศ. 2520- พ.ศ. 2524 ปฏิบัติธรรมถวายตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย และได้ปฏิบัติธรรมตามสถานที่ต่างๆในละแวกใกล้เคียงวัดหินหมากเป้ง เช่น ถ้ำฮ้าน ถ้ำพระบท วัดลุมพินี เป็นต้น โดยเมื่อถึงวันลงอุโบสถ ท่านก็จะมาลงอุโบสถที่วัดหินหมากเป้ง โดยมีเพียงแคร่ไม้ กระท่อมพอกันแดด กันฝน ไม่มีไฟฟ้าให้แสงสว่าง ใช้น้ำฝน หากอยู่ในป่าช้าก็ใช้น้ำที่ขังตามหลุมบ่อในป่าช้านั้นเอง แตกต่างจากกุฏิที่พักอาศัยในทุกวันนี้ที่เหมือนพระเศรษฐี ดังที่หลวงปู่ลีมักกล่าวแล้วหัวเราะอย่างอารมณ์ดีเสมอ
    ปี พ.ศ. 2523 ปฏิบัติธรรมพักอาศัยที่ป่าช้าแห่งหนึ่ง ได้ฝันไปว่ามีไฟไหม้พระพุทธรูป เมื่อรุ่งเช้าญาติโยมที่มาทำบุญได้นำหนังสือพิมพ์มาถวาย จึงได้ทราบข่าวเรื่องพระสงฆ์สุปฏิปันโนสายบูรพาจารย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้แก่หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ หลวงปู่วัน อุตฺตโม หลวงปู่สิงห์ทอง ธมฺมวโร พระเถระและพระนวกะรวม 7 รูป ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกมรณภาพทั้งหมด ที่ตำบลคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งหลวงปู่ลีเคยได้มีโอกาสกราบหลวงปู่จวนมาแล้ว
    บางครั้งในระหว่างการธุดงค์จากภาคเหนือสู่ภาคอีสานนั้น หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกล จนค่ำมืดแล้วไม่พบหมู่บ้าน ท่านจึงปักกลดพักแรมข้างทางซึ่งเป็นป่าทึบ พอรุ่งเช้าได้ยินเสียงไก่ขันจึงรู้ว่ามีหมู่บ้านอยู่ใกล้ๆ จึงได้ออกบิณฑบาต และถามถึงสถานที่แห่งนั้น จึงได้รู้ว่าท่านได้ปักกลดที่สี่แยกหนองบัวโคก อำเภอจตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งต่อมาโยมก็ได้นิมนต์ให้หลวงปู่ลีจำพรรษาอยู่ที่นี่ด้วยความศรัทธา และหลวงปู่ก็รับนิมนต์ อันแสดงถึงคุณลักษณะของการเดินธุดงค์ที่ไม่ยึดติดในสถานที่ใดๆของหลวงปู่ลีนั่นเอง
    ปี พ.ศ. 2524 ร.ต.อ. กัมปนาท ทองคำพันธ์ สภ.อ.ลานสัก จังหวัดอุทัยธานี (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) ได้จัดซื้อที่ดินมา 1 แปลงเพื่อจัดสร้างวัด โดยได้ปรึกษากับพระเถระผู้ใหญ่เกี่ยวกับการที่จะกราบนิมนต์พระสงฆ์ที่มีวัตรปฏิบัติดีงามมาจำพรรษา ในที่สุดก็ได้รับคำแนะนำให้นิมนต์หลวงปู่ลี ตาณํกโร และหลวงปู่ถวิล สุจิณฺโณ(วัดป่าศรีอุดมรัตนาราม ตำบลทมนางาม อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี) มาจำพรรษา โดย ร.ต.อ. กัมปนาท ทองคำพันธ์ได้เดินทางไปนิมนต์ด้วยตนเอง แต่หลวงปู่ทั้งสองรับนิมนต์มาจำพรรษาได้ไม่นานนัก ก็แยกย้ายกันเดินธุดงค์ต่อไป โดยหลวงปู่ลีได้เดินธุดงค์มาปักกลดพักอาศัยที่ป่าหัวตลุก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ในช่วงเวลาก่อนเข้าพรรษา 16 วัน
    สภาพป่าหัวตลุกในขณะนั้นเป็นพื้นที่แน่นขนัดไปด้วยป่ามะพร้าว แต่หลวงปู่ลีก็ตั้งจิตมั่นที่จะปักกลดปฏิบัติเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่นี่ ณ บริเวณต้นมะม่วงใหญ่ (ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบันในบริเวณด้านหลังกุฏิของหลวงปู่ลี) ซึ่งป็นที่ดินในกรรมสิทธิ์ของนายเล็ก ชื่นสุขุม ต่อมาเมื่อญาติโยมชาวบ้านทราบข่าวว่ามีพระธุดงค์มาปักกลด จึงได้ร่วมกันปลูกสร้างกระท่อมมุงหลังคาแฝกให้หลวงปู่ลี
    ในช่วงแรกที่หลวงปู่ลีมาปักกลดที่ป่าหัวตลุก ได้มีพระผู้ปกครองเขตตำบลลาดยาว เดินทางมาตรวจสอบโดยสอบถามชาวบ้านว่าหลวงปู่ลีได้เรี่ยไรเงินทองจากชาวบ้านหรือไม่ มีการกระทำผิดกฏของสงฆ์ประการใดบ้างหรือไม่ เพราะในขณะนั้นสภาพสังคมเต็มไปด้วยผู้ไม่ประสงค์ดีต่อประเทศชาติแอบแฝงมาในรูปแบบต่างๆ เป็นความจำเป็นที่พระผู้ปกครองจะต้องตรวจสอบอย่างเข้มงวด แต่คำตอบที่ได้รับจากชาวบ้านคือ หลวงปู่ลีดำรงตนเป็นพระสงฆ์ที่มีวัตรงดงามและน่าศรัทธา โดยหลวงปู่ลีได้เคยจดบันทึกถึงเหตุการณ์ในขณะนั้นเอาไว้ว่า
    “การมาสร้างวัดครั้งแรกก็มีปัญหามากมาย บางคนเขาก็ว่าอาตมาเป็นคอมมิวนิสต์ก็มี พวกญาติโยมเขาก็พูดไปตามกิเลสของเขานั้นเอง ญาติโยมเขาเห็นเราเป็นของแปลก เป็นคนแปลก เขาว่าพระอะไรไปอยู่ป่า พระต้องอยู่วัด ตอนแรกๆสถานที่อาตมาอยู่นี้เป็นป่า ญาติโยมปลูกกระท่อมให้อยู่ พอหลายปีไปญาติโยมเขาก็ค่อยรู้ไปเอง ครั้งแรกญาติโยมเขายังไม่รู้ ถ้าเขารู้เขาก็มีความภูมิใจที่เขาได้อุปัฏฐากเรา เขาว่าหลวงพ่อมาอยู่ทางนี้เป็นโชคดีของผม เป็นโชคดีของฉัน คนเราจะรู้ว่าคนร้ายคนดี ต้องอยู่ไปนานๆจึงรู้ ครั้งแรกก็ย่อมไม่รู้ คนเห็นกันครั้งแรกจะว่าดีเลยใช้ไม่ได้”
    ต่อมาหลวงปู่ลีได้ตั้งสำนักสงฆ์ป่าหัวตลุกขึ้นบนเนื้อที่เพียงประมาณ 2 ไร่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงปัจจุบัน ญาติโยม ศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันทำบุญจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมจนมีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 38 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา และอยู่ในระหว่างขั้นตอนขอจัดตั้งเป็นวัดจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
    ตอกย้ำความเป็นพระนักปฏิบัติที่มากด้วยบารมีและมุ่งมั่นเพื่อความหลุดพ้นจากวัฏสงสาร
    พระอาจารย์อุทัย ฌานุตฺตโม (พระอาจารย์ติ๊ก) วัดป่าบ้านห้วยลาด อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ได้เมตตาเล่าประวัติการปฏิบัติธรรมร่วมกับหลวงปู่ลี ตาณํกโร เมื่อครั้งเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่โดยผ่านจังหวัดนครสวรรค์ ให้กับคณะศิษย์ได้ฟังเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ณ ภัตตาคารเล่งหงส์ว่า
    ประมาณปีพ.ศ.2520 หลวงปู่ลีได้ปฏิบัติธรรมถวายตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชีงใหม่ จังหวัดหนองคาย โดยได้ศึกษาปฏิบัติก่อนหน้าพระอาจารย์อุทัย ในช่วงที่อยู่ในวัดหินหมากเป้งนั้น มีหลายครั้งที่หลวงปู่ลีออกเดินจาริกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ เช่น วัดลุมพินี วังน้ำมอก วัดป่าราชนิโรธเทสรังสี ถ้ำฮ้าน ถ้ำพระบท ฯลฯ จนเมื่อหลวงปู่เทสก์จะรื้อศาลาไม้เพื่อก่อสร้างเป็นศาลาคอนกรีต หลวงปู่ลีก็ได้ไปกราบลาขออนุญาตหลวงปู่เทสก์ออกธุดงค์ไปยังป่าเขาต่างๆ หลวงปู่เทสก์ก็ได้อนุญาต ตั้งแต่นั้นมาพระอาจารย์อุทัยก็ไม่ได้เจอกับหลวงปู่ลีอีกเลย รู้แต่เพียงว่าหลวงปู่ลีเคยปฏิบัติธรรมถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพลอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร อำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย เป็นต้น
    พระอาจารย์อุทัยยังได้เล่าอีกว่า ปกติหลวงปู่ลีเป็นพระสงฆ์ที่พูดน้อย ไม่ค่อยชอบเล่าเรื่องอะไร เยือกเย็น ไม่ชอบมีปากเสียงกับใคร ไปเร็ว มาเร็ว ไม่ยึดติด ชอบวิเวก มุ่งมั่นปฏิบัติละกิเลส ไม่สะสม มุ่งเน้นการพิจารณากายและจิต เพื่อความหลุดพ้นจากวัฏสงสาร เมื่อครั้งที่ร่วมปฏิบัติธรมกับหลวงปู่ลี เคยฉันข้าวลิงด้วยกัน กล่าวคือมีข้าวนิดเดียวเท่านั้น แล้วต้องนำน้ำเปล่าเทลงไปให้ผสมกับข้าวในบาตรให้ข้าวพองจะได้มีปริมาณมากขึ้น จะได้อิ่มท้องไม่เกิดทุกขเวทนาขณะปฏิบัติธรรม จากที่เคยอยู่ร่วมกันก็ต่างคนต่างอยู่ กุฏิใครกุฏิมัน ไม่มีการพูดคุยสุงสิงนินทาใคร ต่างมุ่งปฏิบัติรีบเร่งความเพียรแต่เพียงอย่างเดียว จากกันไปนานเกือบ 30 ปี มาพบกับหลวงปู่ลีอีกครั้งเมื่อคราวก่อนสร้างศาลาใหญ่ วัดป่าบ้านห้วยลาด อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย เมื่อปีพ.ศ 2549 นี้เอง
    หลวงปู่เถื่อน กนฺตสีโล วัดพระธาตุหินเทิน อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ได้เมตตาให้สัมภาษณ์แก่นายประทิน พรมชาติ เจ้าของอู่ศุภชัยรุ่งเรืองการช่าง อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ และนายวิสุทธิ สินเพ็ง รองปลัดเทศบาลนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 9 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 เวลา 10.00 น. ณ วัดพระธาตุหินเทิน ซึ่งได้เรียบเรียงจากการถอดเทปคำสัมภาษณ์ได้ดังนี้ว่า ท่านเคยนิมิตเห็นหลวงปู่ลีขณะกำลังปฏิบัติธรรม
    “ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นปีแรกที่อาตมามาอยู่ที่นี่ ก็ไม่ได้เจอท่านหรอก เพราะตัวเองประสบการณ์ก็ยังมีน้อยก็เลยมาปฏิบัติ ก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นในเวลาประมาณ 3 ทุ่ม ตอนอาตมาเดินจงกรม (ณ ป่าที่วัดพระธาตุหินเทิน) เห็นเป็นลำแสงพุ่งขึ้นมาจากในป่า มองเห็นด้วยตาเปล่า อาตมาก็ว่าเอ๊ะ! มีอะไรมาทำให้เกิดขึ้นนะ
    ปี พ.ศ. 2547 ก็เลยมานิมิตขึ้นมาอีกว่าไปเจอพระรูปร่างสูงขาว เห็นท่านเดินจงกรมอยู่รอบเขา อาตมาก็ไม่ได้ใส่ใจ ท่านก็เดินไปเดินมา พอเห็นเป็นพระท่านก็หายตัวไปในก้อนหินที่ในป่า ในนิมิตนะ คืออาตมาก็ไม่ได้พูดอะไร เหมือนหลวงปู่ลีท่านแสดงอยู่ หรือมาสอนอะไรก็ไม่รู้นะ ท่านก็เดินไปเดินมาแล้วหายเข้าไปนั่งสมาธิในก้อนหิน ท่านก็ไม่พูดอะไร ท่านก็นั่งดู เราก็ดูท่าน ท่านก็เลยนอน ในนิมิตท่านเป็นอัมพาตนะ ท่านเป็นอัมพาตนี้ท่านก็ดูสดใสดี อาตมาก็คิดว่าท่านเป็นอัมพาตยังไงเดินจงกรม หายไปหายมาได้ อาตมาก็เลยเกิดศรัทธาก็เลยเข้าไปกราบแล้วนมัสการพูดคุยกับท่าน
    หลวงปู่เถื่อน “หลวงพ่อเป็นอีหยัง”
    หลวงปู่ลี “ผมพิการ เป็นมานานแล้ว”
    หลวงปู่เถื่อน “หลวงพ่อไม่มีคนดูแลแล้วหลวงพ่ออยู่ยังไง”
    หลวงปู่ลี “ผมก็อยู่ยังงี้ของผมก็อยู่อย่างสบายๆผมไม่ได้ยึดมั่นในสังขารผมก็ สบายดี”
    หลวงปู่เถื่อน “เวลากินอาหาร ฉันอาหารล่ะ ใครเอามาให้”
    หลวงปู่ลี “ก็ฉันเท่าที่มี บางทีก็ไม่ฉัน ผมก็อยู่อย่างงี้ของผม” (แล้วท่านก็พูดในเรื่อง ธรรมะว่าสังขารร่างกายเป็นอย่างนั้นอย่างนี้)
    หลวงปู่เถื่อน “หลวงพ่อปฏิบัติธรรมไปถึงไหนแล้วล่ะ”
    หลวงปู่ลี “ผมสามารถรู้นะ”
    หลวงปู่เถื่อน “รู้อะไรล่ะหลวงพ่อ”
    หลวงปู่ลี “รู้ว่าคนจะไปสวรรค์น่ะ”
    หลวงปู่เถื่อน “อ้าว รู้ได้อย่างไร”
    หลวงปู่ลี “คนที่จะไปสวรรค์น่ะต้องผ่านผม”
    หลวงปู่เถื่อน “งั้นผมจะรู้ได้ไงว่าที่ไปสวรรค์ต้องมาผ่านหลวงพ่อ”
    หลวงปู่ลี “มีอยู่ 2 คนในหมู่บ้านที่ท่านไปอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จะได้ไปสวรรค์” (แล้วท่านก็ได้บอกชื่อคนที่จะได้ไปสวรรค์)
    หลวงปู่เถื่อน “หลวงพ่อรู้ได้ยังไง”
    หลวงปู่ลี “เขามาหาผม”
    ..........................................................................
    อาตมาได้ถามในนิมิตต่อว่าหลวงพ่ออยู่ที่ไหน ท่านบอกว่าเป็นคนขอนแก่น ท่านมีรูปร่างสูงขาว เห็นท่านก็ยังไม่รู้หรอกว่าเป็นหลวงพ่อลี ก็เกิดนิมิตอันนี้แหละ ว่าเอ้อ! นิมิตเราต้องมีพระมาหาเรา ไม่รู้ว่าเป็นดวงจิตหลวงพ่อมาหาอาตมาบ่อยมาก มาครั้งแรกบอกว่ามาเที่ยวดูเห็นเธอ อาตมาก็ถามว่าหลวงพ่ออยู่วัดไหน ท่านก็ตอบว่าวัดหัวตลุกนั่นแหละ หลวงพ่อมาดูเธอนั้นแหละ มาดูวัดทุ่งหินเทิน....
    หลวงพ่อลีมาให้ธรรมะ เมื่ออาตมาได้เห็นท่านองค์จริงๆก็เห็นว่าร่างที่เห็นกับในนิมิตเหมือนกันกับท่าน จึงถามท่านว่าหลวงพ่ออยู่ขอนแก่นหรือ ท่านก็บอกว่าหลวงพ่ออยู่ขอนแก่น ได้เห็นมหัศจรรย์ก็เห็นหลวงพ่อลีนี่แหละมาปรากฏให้เห็นในนิมิตก่อน
    อาตมาได้มีโอกาสไปกราบหลวงพ่อลีเมื่อปี พ.ศ.2547 ตอนนั้นยังอยู่กุฏิเก่า โดยโยมพาไป ไปเจอท่านท่านก็ไม่ค่อยพูด ไปนั่งรออยู่ 1-2 ชั่วโมงกว่าท่านจะออกมาจากกุฏิ อาตมาก็กราบท่าน ก็เป็นองค์เดียวกับในนิมิตเลย แล้วก็บอกว่าจะมาปฏิบัติธรรมะกับหลวงพ่อ และเล่านิมิตให้หลวงพ่อฟังอย่างที่เล่ามานี่แหละ ถ้าอาตมาไม่นิมิตก็ไม่รู้ ตั้งแต่มาก็ไม่ได้นิมิตถึงใครเลย ได้กราบหลวงพ่อลีคนเดียวนี่แหละ หลวงพ่อก็ไม่ได้ว่าอะไรนะ บอกว่าไม่มีใครมาพูดอย่างอาตมา แล้วบอกว่าอาตมาพูดถูกแล้ว ไม่ได้สอนอะไรมาก

    FB_IMG_1708698905843.jpg
    อาตมาได้นิมิตถึงหลวงพ่อลีก็ป็นสิ่งดี เพราะอาตมาก็ห่างจากครูบาอาจารย์มานาน สิ่งที่เห็นในนิมิตทำให้เห็นถึงสัจธรรม หลวงพ่อลีได้แสดงให้เห็นว่าเดินจงกรม นั่งสมาธิ เห็นตอนแรกก็ไม่ศรัทธา เพราะคิดว่าเป็นพระธรรมดา พอท่านแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติก็รู้สึกศรัทธาท่าน เชื่อมั่นว่าพระองค์นี้ต้องมีอะไรดีแน่ๆ จึงเข้าไปกราบแล้วถามท่านถึงร่างกายว่าเป็นอะไร ท่านตอบว่ามันเป็นสภาพของสังขาร เราไม่มีอำนาจเหนือมัน ท่านพูดในนิมิตอย่างนี้”

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญบารมี 72 ปีหลวงปู่ลีวัดป่าหัวตลุกปี๒๕๕๑ ให้บูชา
    170 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20240223_185352.jpg IMG_20240223_185423.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2024
  8. ktv

    ktv เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +1,142
    จองครับ
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,406
    ค่าพลัง:
    +21,326
    หลวงปู่ทวดวัดช้างให้ รุ่นโพธิสัตโต หลวงปู่หมุน ปลุกเสก วัดไต รมิตรวิทยาราม ปี 2542 พร้อมกล่องเดิม (พิมพ์กลาง) เนื้อขาว มว ลสารผงสมเด็จบางขุนพรหม
    ข้อมูลเพื่อการศึกษา
    หนึ่งในพระพิมพ์หลวงปู่ทวดที่ดีที่สุด พระสมเด็จหลวงปู่ทวด รุ่น “โพธิสัตโต” จัดสร้างอย่างพิถีพิถันด้วยมวลสารผงสมเด็จบางขุนพรหม ผงดินกากยายักษ์ ว่านมงคล เพชรหน้าทั่งตลอดจนมวลสารสำคัญๆ อีกเป็นจำนานมาก ในส่วนของพิธีกรรมได้จัดประกอบพิธีพุทธาภิเษก ,เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ,เข้าร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก และได้รับเมตตาบารมีจากพระภาวนาจารย์สายสมเด็จเจ้าหลวงปู่ทวดทางภาคใต้ อธิษฐานจิตเดี่ยว รวมทั้งสิ้น ๒๐ วาระ เป็นเวลาร่วม ๓ ปี (พ.ศ.๒๕๔๑-๒๕๔๓)
    มวลสารที่นำมาจัดสร้างและพระเกจิอาจารย์ พระคณาจารย์ ล้วนตั้งจิตตั้งใจนั่งปรกอธิษฐานจิตเป็นพิเศษ และไม่สามารถบอกได้ครบทั้งหมดว่าพระรุ่นนี้มีพระเกจิอาจารย์ พระคณาจารย์ กี่รูปนั่งปรกอธิษฐานจิตเพราะมากมายหลายวาระพิธีต้องสืบกันยาวและหากศึกษาลงไปถึงรายละเอียดพิธีท่านจะพบว่าพระรุ่น โพธิสัตโต นี้ไม่ธรรมดาเลย เพราะมีความบริบูรณ์แห่งพระรัตนตรัย สมกับชื่อรุ่นพระพิมพ์หลวงปู่ทวดรุ่นนี้ว่า "โพธิสัตโต" ด้วยผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถึง ๔ ครั้งและหนึ่งในนั้นคือพิธีมหาพุทธาภิเษก พระพุทธนราวันตบพิธ พระพิมพ์หลวงปู่ทวดรุ่น โพธิสัตโต ก็รวมอยู่ในการนั้นด้วย โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร(รัชกาลที่ ๑๐ องค์ปัจจุบัน) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธีมหาพุทธาภิเศก เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงมอบให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์และจุดเทียนชัย มีพระเถระและพระคณาจารย์ รวม ๗๒ รูปทั่วประเทศ
    ณ พิธีพุทธาภิเษก พระพิจิตร
    นอกจากนี้ยังมีอีก ๓ พิธีใหญ่ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ พิธีพุทธาภิเษก "พระพิจิตร" ในการนี้หลวงปู่หมุนได้เดินทางไปร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต และท่านยังได้กล่าวแก่ลูกศิษย์ที่เข้ามาสอบถามถึงความเข้มขลังของพระพิจิตรแต่องค์หลวงปู่กลับตอบไปว่า หลวงปู่ทวดนี้ "ดีนะ ดีนะ" ทั้งที่ท่านไม่ทราบมาก่อน คงเพราะท่านทราบด้วยวาระจิตแล้วว่านอกจากพระพิจิตรแล้วยังมีหลวงปู่ทวด รุ่น โพธิสัตโต อยู่ในพิธีนี้ด้วย
    ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพื่อประโยชน์ในการศึกษาความเป็นมาของพระรุ่นนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านผู้อ่านครับ
    รายละเอียดพิธี
    พิธีพุทธาภิเษก สมเด็จเจ้าพะโค๊ะ หลวงปู่ทวด "รุ่นโพธิสัตโต"
    ๑๔ พ.ย. ๒๕๔๑ ณ.วัดช้างไห้ จ.ปัตตานี พิธีพุทธาภิเษกรุ่นสร้างพระตำหนัก ร.๙ ปากพนัง
    ๒๑ พ.ย. ๒๕๔๑ ณ.วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(พระแก้วมรกต) กทม. พิธีพุทธาภิเษกรุ่นสร้างพระตำหนัก ร.๙ ปากพนัง
    ๒๗ พ.ย. ๒๕๔๑ ณ.วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(พระแก้วมรกต) กทม. พิธีบรมภิเษกพระบรมรูป ร.๙
    ๑๒ ธ.ค. ๒๕๔๑ ณ.ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง กทม. พิธีสร้างเหรียญหลักเมือง
    ๒๖ ธ.ค. ๒๕๔๑ ณ.วัดช้างไห้ จ.ปัตตานี พิธีรุ่นคชสารหมื่นปี
    ๓๐-๓๑ ธ.ค. ๒๕๔๑ ณ.วัดไตรมิตรวิทยาราม กทม. พิธีบูชาดาวพระเคราะห์รับปีใหม่
    ๑๐ ก.พ. ๒๕๔๒ ณ.วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (พระพุทธชินราช) จ.พิษณุโลก พิธีมูลนิธิดวงตา
    ๒๖ ก.พ. ๒๕๔๒ ณ.ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง กทม. พิธีบวงสรวงหลักเมือง
    ๒-๓ พ.ค. ๒๕๔๒ ณ.วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (พระพุทธชินราช) จ.พิษณุโลก พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก
    ๑๑ ต.ค. ๒๕๔๒ ณ.วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(พระแก้วมรกต) กทม. พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธนราวันตบพิตร
    ๑๔ ต.ค. ๒๕๔๒ (เช้า) ณ.วัดพะโค๊ะ จ.สงขลา
    ๑๔ ต.ค. ๒๕๔๒ (บ่าย) ณ.สำนักสงฆ์ต้นเลียบ จ.สงขลา
    ๑๔ ต.ค. ๒๕๔๒ (เย็น) ณ.วัดดีหลวง จ.สงขลา
    ๒๑ ต.ค. ๒๕๔๒ ณ.วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(พระแก้วมรกต) กทม.พิธีพุทธาภิเษกเหรียญในหลวง ๗๒ พรรษา
    ๒๓ ต.ค. ๒๕๔๒ ณ.วัดไตรมิตรวิทยาราม กทม. พิธีวันปิยมหาราช
    ๒๒ พ.ย. ๒๕๔๒ ณ.วัดท่าหลวง จ.พิจิตร พิธีพุทธาภิเษกรุ่นพระพิจิตร เพ็ญเดือน ๑๒
    ๒๖ พ.ย. ๒๕๔๒ ณ.วัดไตรมิตรวิทยาราม กทม. พิธีพุทธาภิเษกเหรียญลพ.ทองคำ ๗๒ ซุ้มประตูจีน
    ๓๑ ธ.ค. ๒๕๔๒ ณ.วัดไตรมิตรวิทยาราม กทม. พิธีบูชาดาวพระเคราะห์รับปีใหม่
    ๓๐ ม.ค. ๒๕๔๓ ณ.วัดบางคลาน จ.พิจิตร พิธีพุทธาภิเษกรุ่นพระพิจิตร
    ๖ ก.พ. ๒๕๔๓ ณ.วัดท่าหลวง จ.พิจิตร พิธีพุทธาภิเษกรุ่นพระพิจิตร

    13051784.jpg
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    ให้บูชา 900 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20240224_010020.jpg IMG_20240224_010144.jpg IMG_20240224_005934.jpg
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,406
    ค่าพลัง:
    +21,326
    FB_IMG_1708707049525.jpg
    ในการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พุทโธ ของวัดประดู่ฉิมพลี ในขณะที่หลวงปู่โต๊ะชราภาพมากแล้ว ท่านปรารภกับลูกศิษย์ว่า "หากหมดบุญฉันแล้วให้ไปหาหลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์ ท่านแทนฉันได้"
    หลวงพ่อทองอยู่ หรือ พระครูสุตาธิการี อดีตเจ้าอาวาส วัดใหม่หนองพระอง จ.สมุทรสาคร ท่านเป็นพระเถระ พระเกจิอาจารย์ยุคเก่า ที่แก่กล้าด้วยอาคม ท่านเกิดในตระกูล “สิงหเสนี” ซึ่งเป็นตระกูลทหารชาตินักรบ อุปสมบทเมื่ออายุประมาณ ๓๐ ปี ที่วัดใหม่หนองพะอง ครั้นพอพรรษาแรก จิตใจรู้สึกสงบ และทราบซึ้งในรสพระธรรม จึงได้อุปสมบทตลอดเรื่อยมา
    ในสมัยที่ท่านยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ท่านได้ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรกว่า ๓๐ ปี ไปในที่ทุรกันดารต่าง ๆ ที่ใดที่มีพระอาจารย์เก่งกล้าทางคาถาอาคม หรือ เก่งทางด้านปฏิบัติธรรม ก็จะไปฝากตัวเป็นศิษย์ เพื่อขอศึกษาวิชาความรู้ต่าง ๆ โดยหลวงพ่อทองอยู่นี้ ในสมัยที่ท่านยังหนุ่มอยู่ ท่านจะเดินธุดงค์ไปปฏิบัติธรรมที่ภาคเหนือเป็นประจำทุกปี ซึ่งหลวงพ่อท่านก็มีโอกาสได้กราบนมัสการท่าน พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ยอดนักบุญแห่งล้านนาไทยอย่างใกล้ชิดด้วย อีกทั้งยังเป็นศิษย์ในกรรมฐานของครูบาศรีวิชัย ซึ่งท่านครูบาศรีวิชัย ได้เคยชักชวน หลวงพ่อทองอยู่ ให้อยู่กับท่านด้วยกัน แต่หลวงพ่อทองอยู่ยังติดภาระที่ต้องดูแลทางวัดอยู่ จึงเดินทางกลับมา ซึ่งครูบาศรีวิชัย ท่านจะถวายปัจจัยสำหรับค่าเดินทางกลับให้อยู่เสมอมิได้ขาด
    มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อทองอยู่ ได้กราบเรียนถามพระครูบาเจ้าศรีวิชัย ว่า ปฏิบัติอย่างไรจึงมีเมตตามีบารมี และมีคนนับถือมากมายขนาดนี้ ซึ่งพระครูบาเจ้าศรีวิไชยก็ได้ตอบแก่หลวงพ่อทองอยู่อย่างเมตตา
    "พุทโธ ธัมโม สังโฆ นี้แหละ ที่เฮาภาวนาเสมอ มิได้ขาด” และ หลวงพ่อทองอยู่ ได้เคยกล่าวถึงท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า
    “ครูบาเจ้าศรีวิชัยนี้ ท่านมีญาณสูงมาก ด้วยเหตุนี้แหละ จึงมีผู้ตั้งอธิกรณ์ ฟ้องท่านว่าเป็นผีบุญ เพราะไปไหน ก็มีคนติดตามไปเป็นจำนวนมาก บางครั้งก็เดินไปเหนือยอดหญ้า ฝนตกจีวรก็ไม่เปียก ทั้ง ๆ ที่เดินฝ่าฝนไป แต่ สุดท้าย ผู้ที่กล่าวหาท่าน ก็ถูกบาปกรรมตามสนองอย่างน่าสยดสยองที่สุด”
    หลวงพ่อทองอยู่ ท่านได้ขอเรียนวิชาเพิ่มเติมจาก หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา ท่านเป็นยอดพระเกจิที่เก่งมาก ๆ ในสมัยก่อน หลวงปู่ทอง วัดราชโยธานี้ ท่านเป็นศิษย์รุ่นน้องของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งมีอาจารย์ร่วมสำนักเดียวกัน คือ หลวงปู่แสง วัดมณีชลขันธ์ จ.ลพบุรี (ศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันอีกท่าน คือ หลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์) ซึ่งในสมัยนั้นยังมีพระเกจิอาจารย์อีกหลายท่าน ที่มาขอเรียนวิชาเพิ่มเติมจากหลวงปู่ทอง เช่น หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา, หลวงปู่คง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม, หลวงปู่จาด วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ, หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขันธ์ นครศรีธรรมราช, หลวงปู่เหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่ออี๋ สัตหีบ ชลบุรี และ หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ
    จะ เห็นว่า ลูกศิษย์ของหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา ที่เอ่ยนามมานี้ ล้วนเก่งกล้าวิทยาคม วัตถุมงคลของท่านเป็นที่นิยมของสะสมพระเครื่องทั้งหลาย ดังนั้น หลวงพ่อทองอยู่ ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นน้อง หรือ รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา จึงไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน
    จะยกตัวอย่างพลังจิตของหลวงพ่อทองอยู่เรื่องหนึ่ง ในมูลเหตุที่ท่านได้รับฉายาจากศิษยานุศิษย์ทั้งหลายว่า หลวงพ่อทองอยู่ ดับดาวเดือน เพราะท่านเคยแสดงให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดดู โดยถามว่า เธอต้องการให้ดับดาวดวงไหน ให้ลองชี้มาแล้ว ท่านจะดับให้ดู ครั้นพอลูกศิษย์บอกว่าต้องการดูดวงไหนดับแล้ว ท่านจะบริกรรมคาถาสักครู่ แล้วชี้ไปที่ดาวดวงนั้น ซึ่งแสงดาวก็จะหายวับดับไปในทันที ราวกับปาฏิหารย์ แสดงว่า พลังจิตของท่านสูงส่งมากทีเดียว สามารถเพ่งกระแสจิต แล้วชี้ไปที่ดวงดาว จนแสงดาวที่กระพริบอยู่นั้น ดับวูบลงไปทันที
    ท่านเป็นสหธรรมิก กับ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ โดยเรียนวิชายันต์ตรีนิสิงเห มาจาก หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร มาด้วยกัน งานไหนมีปลุกเสกเครื่องรางของขลัง หรือ วัตถุมงคล ที่นั่นจะมี หลวงปู่โต๊ะกับ หลวงพ่อทองอยู่ ด้วยเสมอ
    วิชาที่สุดยอดของท่านอีกอย่างคือ ลงกระหม่อมด้วยน้ำมันจันทร์หอม ใครได้ลงครบสามครั้ง รับรองได้ว่า ไม่มีตายโหง และไม่อดไม่อยาก เป็นที่รักใคร่ของคนโดยทั่วไป ท่าน เจริญเมตตา จนมีฝูงปลาสวายมาอยู่หน้าวัดเต็มไปหมดเลย ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ ๑ ใน ๔ องค์ ที่หลวงปู่โต๊ะนิมนต์มาในงานครบรอบวันเกิดของท่านทุกปี อีกสามองค์ที่เหลือ องค์แรก คือ หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง กรุงทพฯ องค์ที่สอง หลวงพ่อฮะ วัดดอนไก่ดี สุพรรณบุรี องค์ที่สามเป็น พระจีน (ไม่ทราบชื่อ) สำหรับงานวันเกิดหลวงปู่โต๊ะนั้น จะนิมนต์หลวงปู่หลวงพ่อทั้ง ๔ องค์นี้เป็นประจำ มานั่งสี่มุม ส่วนหลวงปู่โต๊ะท่านจะนั่งที่หน้าพระประธานเป็นองค์ที่ห้า

    FB_IMG_1708707046845.jpg
    คำสั่งเสียของหลวงปู่โต๊ะ ก่อนมรณภาพ
    ในการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พุทโธ ของวัดประดู่ฉิมพลี ในขณะที่หลวงปู่โต๊ะชราภาพมากแล้ว ท่านปรารภกับลูกศิษย์ว่า "หากหมดบุญฉันแล้วให้ไปหาหลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์ ท่านแทนฉันได้" และท่านยังสั่งลูกศิษย์ใกล้ชิดไว้ว่า หากท่านอยู่ปลุกเสกรุ่นนี้ไม่ทัน ให้นำไปให้หลวงพ่อทองอยู่ปลุกเสกแทน พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พุทโธ รุ่นนี้ จึงเป็นสุดท้ายของหลวงปู่โต๊ะ ซึ่งทางวัดประดู่ฉิมพลี ได้ประกอบพิธีเททองหล่อภายในวัด เมื่อวันที่ ๑๕ ก.พ. ๒๕๒๔ โดยหลวงปู่เป็นประธานในพิธี และมีเกจิอาจารย์อีก ๙ ท่าน ร่วมนั่งปรกในขณะเททอง
    ในขณะที่พระกริ่งพระชัยวัฒน์ พุทโธ กำลังอยู่ในระหว่างตกแต่ง หลวงปู่โต๊ะก็ได้มรณภาพเสียก่อน ในวันที่ ๕ มี.ค ๒๕๒๔ (แสดงให้เห็นถึงอนาคตังสญาณของหลวงปู่โต๊ะ ที่รู้ล่วงหน้าว่าจะมรณภาพในปีนั้น) เมื่อตกแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อทองอยู่ ได้ปลุกเสกเดี่ยวให้ก่อน ๑ ครั้ง และ ต่อมา เมื่อทางวัดได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ พร้อมกับ รูปหล่อขนาดเท่าองค์จริงหลวงปู่โต๊ะ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเททองหล่อขึ้น ทางวัดได้นำ พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ "พุทโธ" เข้า ร่วมในพิธี โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธาน และ หลวงพ่อทองอยู่นั่งปรกปลุกเสกด้วย จำนวนสร้างพระกริ่ง ๑,๕๐๐ องค์ พระชัยวัฒน์ ๓,๐๐๐ องค์ ทั้ง ๒ พิมพ์ ตอกโค้ด "ต" สำหรับพระชัยวัฒน์นั้นใต้ฐานอุดด้วยเทียนชัย และเส้นเกศาของหลวงปู่โต๊ะไว้ด้วย
    สองเกจิร่วมสมัย ร่วมกันโปรดวิญญาณในคลองภาษีเจริญ
    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี ๒๕๐๐ กว่า ๆ เป็นเหตุการณ์ที่พระอริยะเจ้าสองรูป ได้โปรดวิญญาณ ที่ต้องทนทุกข์ทรมาน อยู่ในคลองภาษีเจริญ บริเวณประตูน้ำหน้าวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระอริยะเจ้าสองรูปนั้น องค์แรกท่าน คือ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี องค์ที่สอง คือ หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง เหตุการณ์นี้สืบเนื่องจาก บริเวณหน้าวัดปากน้ำภาษีเจริญในขณะนั้น มีคนตกน้ำตายเป็นประจำ ชาวบ้านต้องตกอยู่ในความกลัวตลอด มีลูกศิษย์ไปเล่าเรื่องให้หลวงปู่ทั้งสองท่านฟัง ท่านจึงได้เดินทางมาโปรดวิญญาณทั้งหลาย ที่ต้องทนทุกข์อยู่ในน้ำนั้น โดยมี หลวงพ่อทองอยู่ เดินโปรยข้าวตรอกดอกไม้ และ หลวงปู่โต๊ะนั่งสมาธิอยู่ที่ริมคลองบริเวณประตูน้ำ ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้น ผู้สูงอายุในขณะนี้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ต่างทราบเหตุการณ์นี้ดี
    วัตถุ มงคลที่สร้างในสมัยที่หลวงพ่อทองอยู่ ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อเทียบกับพระเกจิอาจารย์อื่น ๆ ที่ร่วมสมัยเดียวกัน อย่างเช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี , หลวงปู่สุด วัดกาหลง, หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง, หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ฯลฯ แล้ว ถือว่า น้อยมาก และมีเพียงไม่กี่แบบ เท่าที่ทราบมี เหรียญรุ่นแรก สร้างปี พ.ศ. ๒๕๐๙ จากนั้นก็มีเหรียญรุ่นต่าง ๆ อีกเพียงไม่กี่รุ่น, พระกริ่งสุตาธิการี, พระกริ่งตั๊กแตน ฯลฯ เนื่องจากท่านเป็นศิษย์สายวัดสุทัศน์ เคยอยู่วัดสุทัศน์มาก่อน พระกริ่งของท่านจึงได้รับความนิยมอย่างมาก ใช้แทนพระกริ่งวัดสุทัศน์ได้เลย นอกนั้นก็เป็นพวก พระปิดตา, ล็อกเก็ต, ภาพถ่าย, ท้าวเวสสุวัณ (ขนาดบูชา) ฯลฯ เป็นต้น
    พระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุด ท่านสร้างมาก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ คือ พระสมเด็จ มีพระสมเด็จเนื้อผงขาว และ พระสมเด็จเนื้อผงใบลาน (สีดำ) มีหลายพิมพ์ แต่ที่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และถือเป็นเอกลักษณ์ของท่านก็เห็นจะเป็น “สมเด็จหลังเสือเผ่น” ซึ่งสร้างมา ๒ – ๓ รุ่น หลายรูปแบบ (เสือเล็ก – เสือใหญ่) หลายพิมพ์ ปัจจุบันเป็นที่เสาะแสวงหาของนักนิยมสะสมพระเครื่องอย่างกว้างขวาง
    พระ สมเด็จเนื้อผงของท่าน ท่านสร้างจากผงวิเศษที่ท่านเก็บสะสมไว้ และทำไว้ด้วยตัวของท่านเอง ท่านมีความสามารถลบผงวิเศษทั้ง ๕ ประการ คือ ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห ตามตำรับเดียวกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้อย่างเข้มขลัง โดยผสมน้ำมันจันทร์หอม ลงไปในเนื้อพระดังกล่าวด้วย ทำให้พระสมเด็จของท่านนั้น มีพุทธคุณโดดเด่นไปด้วยเมตตามหานิยม อุดมลาภผล แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี
    เรียก ว่าสมเด็จทุกรุ่นของท่านนั้น มีมวลสารสุดยอดจริง ๆ มีทั้งผงสมเด็จเก่า ๆ ที่หลวงพ่อได้รวบรวมไว้ เช่น ผงแตกหักของพระวัดระฆัง, ผงแตกหักของพระกรุวัดบางขุนพรหม ซึ่งแต่ก่อนนั้นหาได้ไม่ยากนัก และที่สำคัญ คือ ผงของวัดพระยาบึงสุเรนทร์ (หลวงปู่ทองเป็นประธานการปลุกเสก) ซึ่งได้มาจากตระกูลของท่าน ดังนั้น ในแต่ละรุ่นจึงสร้างได้น้อย และมีไม่มากนัก เพราะท่านพิถีพิถันในการสร้างพระสมเด็จเป็นอย่างมาก ไม่ให้เสียชื่อสำนัก และครูบาอาจารย์ก็ว่าได้
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จเจ็ดชั้นหลังเสือ ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20240224_003955.jpg IMG_20240224_003924.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2024
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,406
    ค่าพลัง:
    +21,326
    paragraph__14_783.jpg
    พระผงรูปเหมือน หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี หลังเตารีด พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงlสีเหลือ พ.ศ.2541 วันเกิด ครบรอบ 70 ปี พิเศษองค์นี้มีเกศาหลวงพ่อครับ (เกศาไม่ได้มีทุกองค์ครับ) + จีวรครับ รุ่นนี้ถือได้ว่าเป็นพระรุ่นแรก และรุ่นเดียวที่มีทั้งเส้นเกศาและผ้าจีวรของหลวงพ่อครับ สภาพสวยเดิมๆครับ ช่วงนี้หาเก็บกันให้ขวักครับ (ครบสูตรแบบนี้...หายากครับ)
    ***มวลสารประกอบด้วย***
    ทองที่ลอกจาก "พระพุทธชโลธร" พระประธานในพระอุโบสถ วัดอัมพวัน ช่วงปี 24-25 ผงจาก พระชุดวัดพรหมบุรี 2496 ที่แตกหัก ซึ่งหลวงพ่อเป็นผู้มอบให้ ,ผงธูปจากกระถางธูป ในพระอุโบสถ ซึ่งหลวงพ่อท่านได้ทำ วัตรเช้า-เย็นทุกวัน , ดอกไม้ไหว้พระในวัดอัมพวัน ซึ่งใช้ประกอบพิธีในวันสำคัญต่างๆทางพุทธศาสนา , ตำราใบลานเก่าแก่ ที่พบเจอที่ช่อระกาทั้งด้านซ้ายและขวาขณะซ่อมแซม ศาลาสุธรรมภาวนา (ในวัดอัมพวัน) ประมาณ พ.ศ.2530 , เกศาของหลวงพ่อ ที่ได้สะสมรวบรวมไว้ (ซึ่งจะไม่ได้ใส่ลงไปทุกองค์) , จีวรเก่าของหลวงพ่อ ในปี พ.ศ. 2531 และได้นำมวลสารทั้งหมด เข้าร่วมปลุกเสกในพิธี รูปหล่อกริ่งกังวาล ณ วัดอัมพวัน มวลสารทั้งหมดได้นำมารวบรวมและเก็บรักษาไว้ในพระอุโบสถวัดอัมพวัน ตลอดเวลาโดยไม่มีทำการเคลื่อนย้ายใดๆ
    - ในปีพ.ศ. 2541 ช่วงกลางพรรษา หลวงพ่อได้เมตตาอธิษฐานปลุกเสกวัตถุมงคลทั้งหมดให้ในพระอุโบสถ วัดอัมพวัน
    - เพื่อนำมาแจกจ่ายญาติโยมและลูกศิษย์ เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด หลวงพ่อจรัญ อายุครบ 70 ปี นับเป็นพระเนื้อผงอีกรุ่นหนึ่งที่นิยม ด้วยเจตนารมณ์การสร้างที่ดีมาก แถมจัดทำอย่างชัดเจน ออกในปี 2541 รุ่นนี้ถือได้ว่าเป็นพระรุ่นแรก และรุ่นเดียวที่มีทั้งเส้นเกศาและผ้าจีวรของหลวงพ่อครับ น่าบูชาเป็นอย่างยิ่งครับ ท่านใดศรัทธา อยากได้พระดีของหลวงพ่อ อันมีส่วนผสมอันเป็นมงคลขนาดนี้ ไว้
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อจรัญติดจีวรผสมเกศาพิมพ์ใหญ่เกษาให้บูชา 600 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240224_004041.jpg IMG_20240224_004115.jpg
     
  12. thaicat2021

    thaicat2021 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2022
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +508
    จองครับ
    เหรียญดาว แปดแฉกหลวงพ่ออั๊บวัดท้องไทรให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,406
    ค่าพลัง:
    +21,326
    รับทราบครับ ขออนุญาตติดต่อทางข้อความครับ
     
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,406
    ค่าพลัง:
    +21,326
    FB_IMG_1708759982938.jpg
    ประวัติ หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้ จ.พระนครศรีอยุธยา

    ชีวประวัติ หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้

    รายละเอียด : หลวงพ่อเอื้อน อตตมโน มีนามเดิม เอื้อน นามสกุล พันธุมิตร เกิดเมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ที่บ้านเลขที่ ๑ หมู่ ๖ ตำบลวังแดง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ่อแม่ของท่านประกอบอาชีพในการทำนา และพ่อของท่านยังเป็นหมอแผนโบราณมีความเชี่ยวชาญรักษาโรค ปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ เล่าเรียนด้านมนต์คาถาศักดิ์สิทธิ์ ทั้งการดูฤกษ์พานาที ทำนายทายทักก็ถือว่าค่อนข้างมีคนให้ความเลื่อมใสอย่างมาก

    หลวงพ่อเอื้อนมี พี่น้องด้วยกัน ๗ คน ครอบครัวของท่านเป็นครอบครัวชาวนาเหมือนชาวบ้านในละแวกเดียวกัน ชีวิตในวัยเยาว์ ท่านก็ช่วยเหลือครอบครัวเท่าที่ช่วยได้ นิสัยตอนเด็กของท่านนั้นเปี่ยมไปด้วยเมตตา ไม่เคยเอาเปรียบใคร ๆ ช่วยเหลือคนอื่น ไม่ชอบการรังแกกลั่นแกล้ง

    ถึงท่านจะเป็นเด็กที่ มีรูปร่างค่อนข้างสูงใหญ่กว่าคนอื่น เมื่อเข้าเรียนหนังสือท่านยิ่งไม่ชอบการเอาเปรียบและกลั่นแกล้ง ใครจะมาแกล้งท่าน ท่านก็ไม่ยอมใครเหมือนกัน อยู่ไปนานวันเข้าก็ไม่มีใครมารังแก เพราะใจมันสู้ซะอย่าง

    พอจบชั้นประถมปีที่สี่แล้วก็ออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา ทั้งเลี้ยงวัว เกี่ยวหญ้า บางคราวก็ไปหาปลามาประกอบอาหาร เพราะในสมัยนั้นทำนาได้ปีละครั้ง หมดหน้าทำนาแล้วก็ไม่มีอะไร อยู่กับบ้านทำงาน ต่าง ๆ ไป ด้วยความเป็นคนที่ชอบความสงบ

    สมัยนั้นชอบมากที่สุดคือในช่วงคืนเดือนหงาย พระจันทร์สาดส่อง สว่างไสวเป็นสีเหลืองที่งดงามมาก ท่านบอกดูแล้วมีความสุข ด้วยการที่เราไปเที่ยวบ้านเหนือบ้านใต้ก็ต้องระวังตัว เจ้าถิ่นเขาคอยจะหาเรื่องทะเลาะวิวาท ยิ่งถ้าไปจีบสาวในหมู่บ้านนั้นด้วยยิ่งแล้วเลยต้องเจอดีแน่นอน ท่านเองจึงไม่ค่อยชอบไปเที่ยวที่ไหน

    ช่วงที่เริ่มเป็นหนุ่มนั้นก็ ถือว่าพอตัวเหมือนกัน คือไม่ยอมให้ใครมารังแก แต่ก็ไม่เคยไปรังแกใคร ไปบ้านไหนก็อ่อนน้อมถ่อมตน แล้วอีกอย่างหนึ่งก็เล่าเรียนวิชามาเหมือนกัน โยมพ่อได้ถ่ายทอดให้ ตอนนั้นที่ว่าแน่นั้นต้องเสกปูนคาดคอ ขอดชายผ้าติดตัว บางครั้งก็เสกใบพลูกิน เรียกว่าพอเสกอะไรแล้ว ต้องลองกันได้เลย ถึงจะมั่นใจว่าไปแล้วไม่มีคำว่าเลือดไหลให้แมลงวันกิน ชีวิตเริ่มเป็นหนุ่มมากขึ้น ท่านกลับต้องช่วยโยมพ่อ

    บาง ครั้งโยมพ่อจะสอนให้ทำกรรมฐาน ทำให้มีจิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ตอนแรก ๆ นั้นก็ทำไม่ค่อยได้ ใจคิดอะไรต่ออะไรไปเรื่อยเปื่อย แต่พอบอกว่าเรียนมนต์คาถาต่าง ๆ ทำให้มีความสนใจ ตอนหลังถึงเข้าใจว่านั่นคือสมาธิ แต่การฝึกฝนทำสมาธิให้สงบ เมื่อนั่งแล้วต้องเห็นอะไร เมื่อจิตมีความสงบ มีสติ ก็ทำให้เกิดปัญญา มีความคิดรอบคอบ จะทำอะไรก็ไม่ผิดพลาด ต้องใช้การพิจารณาก่อน

    ชีวิตตอนเป็นหนุ่มของท่าน ไม่มีเรื่องที่ต้องทำให้พ่อแม่ต้องทุกข์ร้อนใจ มีแต่คอยให้ความช่วยเหลือเพื่อน ๆ ช่วยงานทางบ้านทุกอย่าง หลวงพ่อท่านเล่าให้ฟังว่า ตอนใกล้บวชพระนั้น มีความเบื่อหน่ายมาก เบื่อชีวิตในการครองเรือน เพราะเห็นเพื่อน ๆ มีความเดือดร้อนหลายคน บางคนมีลูกเมียแล้วก็ต้องพลัดพรากกัน ป่วยไข้ทรมาน แม้คนในหมู่บ้านที่ป่วยตายนั้นก็หลายคน ยิ่งมาพบเห็นชาวบ้านตายตอนโรคห่าระบาด ท่านบอกตอนนั้นกลัวเหมือนกัน พอเย็นลงมันวังเวงที่สุด บ้านของท่านมีคนแวะเวียนมาไม่เคยขาด เขามาขอให้ช่วยเหลือปัดเป่าให้โรคร้ายนั้นหายไป พ่อของท่านก็ทำน้ำมนต์ใส่กระถางใบโต เสกนานเป็นชั่วโมง

    ท่านมาคิดได้ว่าชีวิตคนเรานี้ เมื่อเกิดแล้วก็ต้องป่วยไข้ หากไม่ป่วยไข้อาจถูกคนทำร้ายตาย บางคนยากจนแสนเข็ญหากินจนตาย ทำให้ปลงว่า ชีวิตนี้ต้องตายทุกคน บางรายนอนป่วยนานเป็นเดือนถึงตาย บางรายกว่าจะตายทรมานมาก อันนี้เกิดขึ้นด้วยผลแห่งกรรม

    ต่อมา เมื่ออายุ ๒๒ ปี จึงได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบึง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ได้มีโอกาสศึกษาวิชาวิปัสสนากรรมฐานตามแบบอย่างหลวงพ่อตาบ แห่งวัดมะขามเรียง อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี รวมทั้งศึกษาการเขียนยันต์ตะกรุดจากหลวงพ่อตาบ จน พ.ศ. ๒๕๑๔ จึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดวังแดงใต้ ได้พัฒนาวัดแห่งนี้จนมีความเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ

    ปัจจุบัน ชื่อเสียงท่านโด่งดังไปไกลถึงต่างประเทศ ทั้ง มาเลเซีย สิงคโปร์ เดินทางมากราบท่านถึงวัด ท่านสร้างวัตถุมงคลแต่ละชนิดออกมาน้อย แต่มีประสบการณ์สูง ทั้งด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย วัตถุมงคล พระเครื่องของท่านจึงเป็นที่ต้องการในหมู่ลูกศิษย์อย่างมาก



    เพิ่มเติมประวัติหลวงพ่อเอื้อน อตตมโน วัดวังแดงใต้ ต.วังแดง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา

    หนึ่งในพระเกจิอาจารย์แห่งลุ่มแม่น้ำป่าสัก ของขลังยอดเยี่ยมในด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ทั้งเมตตามหานิยม มีประสบการณ์ให้ประจักษ์มาแล้ว
    หลวงพ่อเอื้อน อตตมโน ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งในอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวบ้าน และจะได้พบเห็นในงาน
    ปลุกเสกพระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆที่ตามวัดนิมนต์ท่านไปร่วมปลุกเสกให้บังเกิดความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ ให้มีความขลังในด้านต่างๆ เรียกว่างานไหนไม่มี หลวงพ่อเอื้อนแล้ว ดูเหมือนว่าการปลุกเสกจะไม่สมบูรณ์เอาเลย ก่อนที่จะทราบเรื่องราวความเป็นมาของท่านและอภินิหารต่างๆ มารู้ความเป็นมาของวัด ความเป็นมาของวัดวังแดงใต้ วัดนี้เป็นวัดเล็กๆสร้างขึ้นในต้นรัชสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์ อยู่ริมแม่น้ำป่าสักด้านทิศเหนือ บ้านวังแดงเป็นหมู่บ้านที่จัดแต่ง
    ผลหมากรากไม้และเครื่องใช้ต่างๆส่งเข้าวัง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวังเก่ามากนัก ปัจจุบันคือบริเวณใกล้วัดร้อยไร่หรือโรงเรียนท่าช้างพิทยาซึ่งมีโครงสร้างฐานอิฐ
    เก่าแก่มากมาย จากการสันนิษฐานของนักโบราณคดีบอกว่า เป็นที่ตั้งของวังเล็กๆและสถานที่เก็บสิ่งของ ที่พักช้าง ที่พักม้า แต่ก่อนตรงวัดร้อยไร่นั้นทางเดิน ข้ามแม่น้ำจะเป็นก้อนหินก้อนโตๆมากมาย ต่อมาการขนส่งสินค้าต้องใช้ทางเรือ จึงมีการลอกล่องน้ำ แต่การสร้างวัดวังแดงใต้ อาจสร้างขึ้นที่หลังแน่นอน เพราะไม่มีหลักฐานว่าเป็นวัดที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ลำดับเจ้าอาวาสนั้นมีมาแล้วกี่รูปไม่แน่ชัด ปัจจบันหลวงพ่อเอื้อนท่านเป็นเจ้าอาวาส
    หลวงพ่อเอื้อน อตตมโน นามเดิมเอื้อน นามสกุลพันธุมิตร เกิด1กันยายน2483 ที่บ้านเลขที่1หมู่6 ตำบลวังแดง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    พ่อแม่ของท่านประกอบอาชีพในการทำนา และพ่อของท่านยังเป็นหมอแผนโบราณเชี่ยวชาญรักษาโรคปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บเล่าเรียนด้านมนต์คาถาศักดิ์สิทธิ์
    ทั้งการดูฤกษ์ผานาที ทำนายทายทักก็ถือว่าค่อนข้างมีคนให้ความเลื่อมใสอย่างมาก หลวงพ่อเอื้อนท่านมีพี่น้องด้วยกัน7คน เหลือเพียง5คน เสียชีวิตไป2คน
    ครอบครัวของท่านเป็นครอบครัวชาวนาเหมือนชาวบ้านในละแวกเดียวกัน

    ชีวิตในวันเยาว์ ท่านก็ช่วยเหลือครอบครัวเท่าที่ช่วยได้ นิสัยตอนเด็กของท่านนั้นเปี่ยมไปด้วยเมตตา ไม่เคยเอาเปรียบใครๆช่วยเหลือคนอื่น ไม่ชอบการ
    รังแกกลั่นแกล้ง ถึงท่านจะเป็นเด็กที่มีรูปร่างค่อนข้างสูงใหญ่กว่าคนอื่น เมื่อเข้าเรียนหนังสือท่านยิ่งไม่ชอบการเอาเปรียบและกลั่นแกล้ง ใครจะมาแกล้งท่าน
    ท่านก็ไม่ยอมใครเหมือนกัน อยู่ไปนานวันเข้าก็ไม่มีใครมารังแก เพราะใจมันสู้ซะอย่าง สมัยนั้นเรียนก็เรียนที่ศาลาวัด บางแห่งมีโรงเรียนบ้างแล้ว ท่านเรียน
    จบชั้นประถมปีที่สี่แล้วก็ออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา ทั้งเลี้ยงวัวเลี้ยงควายเกี่ยวหญ้า บางคราวก็ไปหาปลามาประกอบอาหาร เพราะในสมัยนั้นทำนาได้ปีละครั้ง
    หมดหน้าทำนาแล้วก็ไม่มีอะไร อยู่กับบ้านทำงานต่างๆไป ด้วยที่เป็นคนชอบความสงบ สมัยนั้นชอบมากที่สุดคือในช่วงคืนเดือนหงาย พระจันทร์สาดส่อง
    สว่างไสวเป็นสีเหลืองที่งดงามมาก ท่านบอกดูแล้วมีความสุข ด้วยการที่เราไปเที่ยวบ้านเหนือบ้านใต้ก็ต้องระวังตัว เจ้าถิ่นเขาคอยจะหาเรื่องทะเลาะวิวาท
    ยิ่งถ้าไปจีบสาวในหมู่บ้านนั้นด้วยยิ่งแล้วเลยต้องเจอดีแน่นอน ท่านเองจึงไม่ค่อยชอบไปเที่ยวที่ใหน
    ช่วงที่เริ่มเป็นหนุ่มนั้นก็ถือว่าพอตัวเหมือนกัน คือไม่ยอมให้ใครมารังแก แต่ก็ไม่เคยไปรังแกใคร ไปบ้านใหนก็อ่อนน้อมถ่อมตน แล้วอีกอย่างหนึ่งก็เล่าเรียน
    วิชามาเหมือนกัน โยมพ่อได้ถ่ายทอดให้ ตอนนั้นที่ว่าแน่นั้นต้องเสกปูนคาดคอ ขอดชายผ้าติดตัว บางครั้งก็เสกใบพูรับประทาน เรียกว่าพอเสกอะไรแล้ว ต้อง
    ลองกันได้เลย ถึงจะมั่นใจว่าไปแล้วไม่มีคำว่าเลือดไหลให้แมลงวันกินอิ่ม ชีวิตเริ่มเป็นหนุ่มมากขึ้น ท่านกลับต้องช่วยโยมพ่อ บางครั้งโยมพ่อจะสอนให้ทำ
    กรรมฐาน ทำให้มีจิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ตอนแรกๆนั้นก็ทำไม่ค่อยได้ ใจคิดอะไรต่ออะไรไปเรื่อยเปื่อย แต่พอบอกว่าเรียนมนต์คาถาต่างๆทำให้มีความสนใจ
    ตอนหลังถึงเข้าใจว่านั่นคือสมาธิ สมาธิที่มีความสนใจแต่การฝึกฝนทำสมาธิให้สงบต้องนั่งแล้วต้องเห็นอะไรต่างๆ ทั้งๆที่โยมพ่อก็บอกว่าให้ภาวนาว่า พุทโธ
    พุทโธ ยังไม่ได้สอนให้ทำขั้นสูง เมื่อจิตมีความสงบ มีสติ ทำให้เกิดปัญญา มีความคิดรอบคอบ จะทำอะไรก็ไม่ผิดพลาด ต้องใช้การพิจารณาก่อน ชีวิตตอน
    เป็นหนุ่มของท่าน ไม่มีเรื่องที่ต้องทำให้พ่อแม่ต้องทุกข์ร้อนใจ มีแต่คอยให้ความช่วยเหลือเพื่อนๆ ช่วยงานทางบ้านทุกอย่าง หลวงพ่อท่านเล่าให้ฟังว่า ตอน
    ใกล้บวชพระนั้น มีความเบื่อหน่ายมาก เบื่อชีวิตในการครองเรือน เพราะเห็นเพื่อนๆมีความเดือดร้อนหลายคน บางคนมีลูกเมียแล้วก็ต้องพลัดพรากกัน ป่วยไข้
    ทรมาน แม้คนในหมู่บ้านที่ป่วยตายนั้นก็หลายคน ยิ่งมาพบเห็นชาวบ้านเขาตายตอนโรคห่าระบาด ท่านบอกตอนนั้นกลัวเหมือนกัน พอเย็นลงมันวังเวงที่สุด
    บ้านของท่านที่มีคนแวะเวียนมาไม่เคยขาด เขามาขอให้ช่วยเหลือปัดเป่าให้โรคร้ายนั้นหายไป พ่อของท่านก็ทำน้ำมนต์ใส่กระถางใบโต เสกนานเป็นชั่วโมง
    ท่านมาคิดได้ว่าชีวิตคนเรานี้ เมื่อเกิดแล้วก็ต้องป่วยไข้ หากไม่ป่วยไข้อาจถูกคนทำร้ายตาย บางคนยากจนแสนเข็ญหากินจนตาย ชีวิตนี้ต้องตายทุกคน
    บางรายนอนป่วยนานเป็นเดือนถึงตาย บางรายกว่าจะตายทรมานมาก อันเกิดขึ้นด้วยผลแห่งกรรม


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญเสมาหลวงพ่อเอื้อนวัดวังแดงใต้ปี 2549 ให้บูชา
    120 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
    IMG_20240224_142232.jpg IMG_20240224_142259.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2024
  15. Karoonsur

    Karoonsur Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +219
    จองครับ
     
  16. Karoonsur

    Karoonsur Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +219
    จองครับ
     
  17. Karoonsur

    Karoonsur Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +219
    จองครับ
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,406
    ค่าพลัง:
    +21,326
    พระญาณรังษี เป็นผู้สืบทอดสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวของ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร
    (สุก ไก่เถื่อน)
    จากพระครูสังวร สมาธิวัตร(หลวงปู่แป๊ะ) จนมีความเชี่ยวชาญและได้เป็นอาจารย์ อบรมวิปัสสนา
    กัมมัฏฐานแก่ศิษยานุศิษย์ จนท่านได้ฉายา หลวงพ่อตาทิพย์ เนื่องจากท่านสามารถนั่งสมาธิ หยั่งรู้ถึงเหตุการณ์
    ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้ ทำให้มีศรัทธาจากญาติโยมทั่วสารทิศ มาขอให้ ท่านช่วยตรวจดูความเป็นไปที่เกิดขึ้น
    ใน อดีต อนาคต ปัจจุบัน เพื่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมปฏิปทาของท่านเป็นที่น่าเลื่อมใส
    ศรัธทาแก่ญาติโยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากท่านมีความเมตตาอย่างสูง

    lungpoojuob-1-jpg-jpg.jpg

    พระญาณรังษี ( จวบ สุภัทโท ) ฉายา สุภัทโท อายุ 92 พรรษา วิทยาฐานะ นักธรรมชั้นเอก วัดราชสิทธาราม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ สมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ ดำรงตำแหน่ง รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ปัจจุบันท่านได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อเช้าวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2550 เมื่อเวลา04.04น. ที่โรงพยาบาลธนบุรี ด้วยโรคชราภาพ สิริรวม อายุ 94 ปี 73 พรรษา

    สถานะเดิม ชื่อ จวบ นามสกุล เกิดมงคล เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2456 ปีฉลู บิดาชื่อ ท่านขุนมัธยมกิจ เกิดมงคล(ขำ) มารดาชื่อ นางแย้ม เกิดมลคล อาศัยอยู่ หมู่ที่ 1 ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นพื้นที่ธุระกันดารในสมัยนั้น บิดาท่านประกอบอาชีพ รับราชการเป็นนายอำเภอหลายแห่ง ซึ่งท่านได้สร้างประโยชน์แก่ทางราชการเป็นอย่างมาก ได้ย้ายไปประจำในหลายจังหวัด ส่วน มารดาท่านประกอบอาชีพ ทำนา ซึ่งหลวงปู่ได้อาศัยป้าและญาติพี่น้องดูแลเลี้ยงดู จนเติบโต และได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษา โรงเรียนเดิม ใน อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ต่อมาท่านได้ย้ายตามบิดาไปหลายแห่ง

    บรรพชา เมื่อท่านมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2477 ณ วัดบ้านเสมาใหญ่ ต.ดอนตะเนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา โดยมีพระครูจันทร สรคุณ (หลวงปู่เสี่ยง) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นได้ อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ในวันเดียวกัน

    เหตุแห่งการบวชตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุดแห่งธรรม เหตุที่ท่านได้อุปสมบท เพื่อต้องการทดแทนพระคุณบิดา มารดา เมื่อย่างเข้าอายุ 20 ปี จึงได้อุปสมบทให้กับบิดาและมาราดา หลังจากนั้นในพรรษาแรกท่านได้ไปจำพรรษา ณ วัดบ้านทองหลางน้อย อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา และได้ศึกษาเล่าเรียนพระกัมมัฏฐาน จากนั้นได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่แจ้ง ซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น มีวาจาสิทธิ์และมีญาณหยั่งรู้ และได้เป็นสัทธรรมมิกกับพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเป็นเพื่อนทางธรรมกัน ในพรรษาแรกหลวงปู่แจ้งได้เรียกพระสงฆ์เข้าไปพบหลายองค์ ได้ให้เข้าแถว หลวงปู่แจ้งได้ชี้บอก "รูปนี้สึก รูปนี้สึก รูปนี้สึก องค์นี้สึก" พอชี้มาที่หลวงปู่จวบ หลวงปู่แจ้ง ท่านพูดว่า "องค์นี้ไม่ศึก" หลวงปู่จวบท่านคิดในใจว่าอยากลาสึก ท่านแปลกใจว่าทำไมหลวงปู่แจ้งถึงบอกว่า ไม่สึก ดังนั้นหลวงปู่จวบจึงได้กลับมาคิดใคร่ครวญถึงคำพูดของพระอาจารย์แจ้ง หลังนั้นจากอีก 3 วันต่อมา ท่านได้เรียกหลวงปู่จวบเข้าไปพบเพราะว่ามีศพผู้หญิงตายมาได้ 2 วัน ตั้งศพไว้ที่ศาลา หลวงปู่จวบได้เข้าไปที่ศาลา ในใจของท่านเกิดความกลัวเพราะไม่เคยเห็น อีกใจนึงก็เกรงใจท่านพระอาจารย์แจ้ง จึงขึ้นไปที่ศาลา เพื่อพิจารณาซากอสุภะ เมื่อเห็นแล้วได้พิจารณาจนเกิดความสังเวชขึ้นในใจและได้พิจารณาซากศพที่ศาลาเป็นเวลาหนึ่งคืน เพราะหลวงปู่แจ้งไม่ให้ท่านลงจากศาลา หลังจากออกพรรษา พระสงฆ์ในรุ่นราวคราวเดียวกันได้ทยอยลาสึก เป็นไปตามลำดับ ตามคำที่หลวงปู่แจ้งได้บอกอย่างไม่น่าเชื่อ จึงทำให้หลวงปู่เกิดความประหลาดใจ หลังจากนั้นหลวงปู่จวบจึงยังไม่ตัดสินใจที่จะลาสิกขาในพรรษานั้น จนท่านได้ศึกษาเล่าเรียนกับพระอาจารย์แจ้ง และประพฤติปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ให้การช่วยเหลือกิจการของสงฆ์ พร้อมอุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์แจ้งเป็นเวลา 6 พรรษา หลังจากนั้นท่านได้ขอลาหลวงปู่แจ้ง เพื่อไปธุดงค์และแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ท่านได้เริ่มออกเดินธุดงค์จาก จ.นครราชสีมา ผ่านป่าดงพญาเย็น ซึ่งเป็นปารกชัดและน่ากลัวเป็นยิ่งนัก หลวงปู่มีความองอาจ กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว มักน้อย สันโดด ได้ธุดงค์ผ่าน อ.ปากช่อง ใช้เวลาเดินธุดงค์เป็นเวลานาน ท่านมุ่งหน้ามาที่กรุงเทพมหานครฯ พอเดินทางมาถึง อ.ปากช่อง ท่านเข้าใจว่าได้มาถึง จ.อยุธยาแล้ว เพราะหนทางลำบากธุระกันดารมาก แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อต่อหนทางที่ลำบาก จากนั้นได้สอบถามเส้นทางจากชาวบ้าน เพื่อมุ่งหน้าออกเดินทางไปที่สำนัก วัดพลับ กทม. ซึ่งท่านได้ยินชื่อเสียงและคำบอกกล่าวจากพระอาจารย์แจ้ง ว่าเป็นสำนักที่ปฏิบัติเคร่งครัด น่าเลื่อมใสศรัทธา และมีอาจารย์ผู้สอนวิชาชั้นสูง (สำนักวัดพลับในสมัยนั้นเป็นดินลูกลัง มีต้นไม้ลังใหญ่คู่หนึ่ง และต้นไม้อีกจำนวนมาก ซึ่งไม่ได้เจริญอย่างปัจจุบันนี้) เมื่อท่านได้เดินทางมาถึง สำนักวัดพลับ ได้พักพำนักในบริเวณสำนักวัดพลับ และได้เข้าไปติดต่อขอพำนักและศึกษาเล่าเรียน ได้มาขอพำนักอาศัยกับพระเลขาที่มีหน้าที่ผู้ดูแลพระสงฆ์ เข้าออกภายในวัด พระเลขาเห็นว่าหลวงปู่เป็นพระต่างจังหวัดจึงไม่รับท่านเข้ามาพำนักอาศัย หลวงปู่จวบจึงเกิดความท้อใจ ท่านจึงได้ตั้งจิตอธิษฐาน "ข้าพเจ้าตั้งใจมาประพฤติปฏิบัติและศึกษาเล่าเรียนอย่างเคร่งครัด ณ สำนักวัดพลับแห่งนี้ ขอให้มีผู้ช่วยเหลือ ให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จตามความประสงค์" หลังจากต่อมานั้นอีก 3 วัน ได้เกิดเหตุการณ์ปาฏิหารย์ขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ หลวงปู่จวบได้พบกับเจ้าอาวาส พระอาจารย์สังวรานุวงศ์เถระ (พระอาจารย์ สอน) โดยความบังเอิญ เมื่อท่านพระอาจารย์สอนได้เห็นและได้พูดคุยกับหลวงปู่จวบ ท่านได้ให้ความเมตตากับหลวงปู่จวบ จึงได้เป็นผู้รับรอง กับพระเลขาที่ท่านได้หมอบหมายให้ดูแล ท่านได้ให้การรับรองหลวงปู่จวบพำนักอาศัย ณ สำนักวัดพลับแห่งนี้ และหลวงปู่ได้ศึกษาเล่าเรียนในสำนักวัดพลับ ระยะเวลาหนึ่งแล้ว หลังจากนั้นท่านพระอาจารย์สอน ได้ฝากหลวงปู่จวบให้เป็นศิษย์ของพระครูสมาธิวัตร (พระอาจารย์ แป้ะ) และได้ให้อาจารย์แป้ะ เป็นอาจารย์ผู้ฝึกสอน ทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน จากนั้นหลวงปู่จวบได้ศึกษานักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก ควบคู่กันไป กับการเรียนพระกัมมัฏฐาน หลวงปู่ได้ศึกษานักธรรมจาก สำนักวัดอรุณราชวราราม กทม. เมื่อหลวงปู่จวบศึกษานักธรรมชั้นเอกสำเร็จ หลังจากนั้นหลวงปู่ได้ตั้งใจปฏิบัติตน และฝึกสมถะกัมมัฏฐาน อย่างจริงจัง ตั้งแต่บัดนั้นมา

    ในปี พ.ศ.2485 เป็นต้นมาหลวงปู่จวบได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระครูสมาธิวัตร (อาจารย์ แป้ะ) ซึ่งเป็นอาจารย์วิปัสสนากัมฏฐาน ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น (พระครูสมาธิวัตร ท่านได้รับพระราชทาน พัดยศงา ที่ทำจากงาช้างสาร จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 9) เป็นพระสงฆ์ที่มีคุณธรรมน่าเลื่อมใสศรัทธาในสำนักวัดพลับ ท่านพระอาจารย์แป้ะ เป็นพระที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์และมีญาณหยั่งรู้ ในอดีต อนาคต ปัจจบัน และ สามารถรู้ความคิดของบุคคลได้ หลวงปู่จวบได้เล่าให้ฟังว่าในสมัยนั้นมีพระสงฆ์ได้มาศึกษาเล่าเรียนกับพระอาจารย์แป้ะเป็นจำนวนมาก ท่านพระอาจารย์แป้ะ ได้ตรวจดูจริตนิสัยของพระสงฆ์แต่ละรูปที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ ได้ให้พระกรรมฐาน ซึ่งแตกต่างกันตามจริตนิสัยของลูกศิษย์แต่ละรูป จึงให้หลวงปู่จวบปฏิบัติพระกรรมฐานแนวสมถะกัมมัฏฐาน โดยใช้คำภาวนาบริกรรมว่า "พุธโธ" หลังจากนั้นหลวงปู่ได้ ฝึกฝนจนชำนาญ จนเกิด ปิติ ทั้ง 5 เป็นลำดับขั้น (จะกล่าวอย่างละเอียดในวิธีปฏิบัติ) จนจิตได้เข้าถึงจตุรฌาณและได้วสีทั้ง 5 จนเป็นผู้ชำนาญในการเข้าออกฌาณ และพระอาจารย์แป้ะได้สอนวิธีการเพ่งกสิณ หลวงปู่ได้ ฝึกฝนกสิณทั้ง 10 กอง ในเหตุการณ์ครั้งนั้น หลวงปู่ได้เล่าว่า ท่านได้ทดสอบกสิณไฟ ที่ได้ฝึกฝนมา ในขณะนั้นมีพระสงฆ์รูปหนึ่งในสำนักที่ไม่ชอบจริตนิสัยกันได้พูดจาดูถูกตำหนิท่าน หลวงปู่จวบจึงได้ทดสอบกสิณไฟ กำหนดเพ่งไปที่ก้นของพระสงฆ์รูปนั้น ปรากฏว่าพระสงฆ์รูปนั้นเอะอะโวยวายร้องลั่นกุฏิที่พัก ว่า " ใครทำกู " หลวงปู่จวบแอบยิ้มชอบใจ ในวันต่อมาช่วงเช้า หลังฉันภัตตาหารเสร็จ พระอาจารย์แป้ะ ได้เรียกหลวงปู่จวบเข้าไปพบตักเตือน โดยท่านพระอาจารย์แป้ะ บอกว่า "ที่ได้เพ่งกสิณไฟเมื่อคืน อย่าได้ทำอีก มันเป็นบาป" จึงทำให้หลวงปู่จวบตกใจกลัวในพระอาจารย์ ว่ารู้ได้อย่างไร หลังจากนั้นหลวงปู่ได้เชื่อฟังและปฏิบัติตามจนสำเร็จวิชากสิญทั้ง 10 กอง ในระยะเวลาไม่นาน หลวงปู่ได้นั้งพระกรรมฐานที่กุฏิวิปัสสนากรรมฐานที่รายรอบพระอุโบสถ ซึ่งเป็นกุฏิสำหรับพระสงฆ์ใช้ปฏิบัติพระกรรมฐาน หลังละ 1 รูป ในแต่ละวันจะมีพระสงฆ์เข้าปฏิบัติในกุฏิทั้งหลายนี้ หลังฉันภัตตาหารเช้าและทำภาระกิจส่วนตัวเสร็จหลวงปู่จวบจะเข้าไปนั่งปฏิบัติพระกรรมฐานในกุฏิแห่งนี้เป็นประจำทุกวัน ในช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นในประเทศไทย ในเขตธนบุรี ในใจหนึ่งก็กลัวระเบิดจะทิ้งลง แต่เหตุการณ์ก็ผ่านไปได้ ทางราชการได้เกณฑ์ผู้คนให้หลบหนี และส่งสัญญาณเตือนภัย เมื่อสัญญาณเตือนแต่ละครั้งดังขึ้น ก็สร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน วิ่งหนีเพื่อเข้าหลุมหลบภัยที่ทางการจัดไว้ หลวงปู่ใช้กุฏินั่งกรรมฐานเป็นที่หลบภัย "ในใจก็บริกรรมภาวนา พุธโธ" ท่านขอให้บารมีคุณพระช่วยปกปักรักษาคุ้มครองอย่าได้มีภัยเกิดขึ้นในสำนักวัดพลับแห่งนี้ เมื่อเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นติดต่อกันหลายปี ทางการเห็นว่าไม่ปลอดภัยในบางช่วง ได้เตือนให้ประชายนในเขตใกล้เคียง ในเขต ธนบุรี ลี้ภัยไปในจังหวัดอื่น หลวงปู่จวบจึงได้ลี้ภัยไปใน จ.อยุธยา ก็เป็นโอกาศดีที่ท่านได้ไปรู้จัก และศึกษาพูดคุยสนทนาธรรม กับหลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข จึงได้ข้อธรรมชั้นสูง และหลวงปู่บุดดาได้รับรองหลวงปู่จวบว่าเป็นพระสงฆ์ที่มีคุณธรรมสูงอีกองค์หนึ่งในกรุงเทพมหานครฯ ต่อมาหลวงปู่ทั้ง 2 องค์ ได้เป็นสหธรรมมิกซึ่งกันและกัน โดยหลวงปู่บุดดา ได้มีอายุพรรษามากว่า หลวงปู่จวบถึง 12 พรรษา แต่ทั้ง 2 ท่านก็ได้นับถือกันเป็นเพื่อน (เมื่อไหร่ที่หลวงปู่จวบได้มีโอกาสเดินทางผ่าน จ.อยุธยา หลวงปู่จวบมักจะแวะเวียนไปเยี่ยมหลวงปู่บุดดา และสนทนาธรรม กันบ่อยครั้งในช่วงบั้นปลายชีวิต) หลังจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติลง หลวงปู่จวบได้กลับมาประพฤติปฏิบัติที่สำนักวัดพลับตามเดิม

    ต่อมาในปี พ.ศ.2500 พระอาจารย์สอน เจ้าอาวาส องค์ที่ 17 สำนักวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) ได้ถึงกาลมรณะภาพลงด้วยโรคชราภาพ ท่านพระอาจารย์สอน ได้มอบภาระให้หลวงปู่เป็นผู้ดูแล พระอาจารย์แป้ะ ก็ชราภาพมากแล้ว หลวงปู่จวบได้อุปัฏฐากดูแลพระอาจารย์แป้ะ จนถึงวาระสุดท้าย และพระอาจารย์แป้ะได้ถึงกาลมรณะภาพลง ในปี พ.ศ.2502 หลังจากนั้นสำนักวัดพลับได้ ว่างเว้นเจ้าอาวาส ในสมัยนั้นพระสังฆาธิการได้เรียกหลวงปู่จวบเข้าไปพบหลายครั้ง เพื่อจะหมอบหมายแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสำนักวัดพลับ แต่หลวงปู่ได้ให้การปฏิเสธพระสังฆาธิการทุกครั้ง หลวงปู่ได้เล่าให้ฟังว่า " ถ้าท่านให้ผมเป็นเจ้าอาวาส ผมจะหนีเข้าป่า " เพราะหลวงปู่ได้ให้เวลาต่อการประพฤติปฏิบัติเป็นอย่างมาก เกรงว่าถ้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่งมีภาระหน้าที่มาก จะทำให้ไม่มีเวลาต่อการประพฤติปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ท่านจึงไม่รับตำแหน่งเจ้าอาวาส เป็นเพียงผู้รักษาการเจ้าอาวาส หลังจากนั้นพระสังฆาธิการเห็นว่าสำนักวัดพลับ ว่างเว้นเจ้าอาวาสเป็นระยะเวลานานแล้ว จึงได้มีคำสั้งแต่งตั้งพระราชวิสุทธิญาณ (พระอาจารย์ อยู่) เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาส องค์ที่ 18 สำนักวัดพลับ และยังได้เมตตาหลวงปู่จวบ โดยแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส และเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น "พระครูวิจิตรวิหารวัตร"

    ปฏิปทา หลังจากปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา หลวงปู่จวบจะโปรดญาติโยม และให้การช่วยเหลือศรัทธาญาติโยมจากทุกสารทิศที่ได้เดินทางมา เพราะท่านเป็นหมอยาแพทย์แผนไทย

    ญาติโยมที่ป่วยไข้เป็นโรคต่างๆที่รักษาไม่หาย จะมาขอความช่วยเหลือจากหลวงปู่ และในบางครั้งมีญาติโยมที่ป่วยไข้อาการหนักมาพักรักษาตัว หลวงปู่ท่านไม่รังเกียจและให้การช่วยเหลือทันที โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ท่านยังคงทำวัตร สวดมนต์ เจริญจิตภาวนา เจริญพระกรรมฐาน เป็นประจำทุกวัน ในวันพระท่านจะลง อุโบสถเพื่อเทศน์โปรดญาติโยมเป็นประจำ และท่านยังเป็นอาจารย์ผู้มอบกัมมัฏฐานให้แก่ศิษยานุศิษย์ที่สนใจ มาประพฤติประฏิบัติ นำไปเป็นหลักเกณฑ์ตามแบบฉบับสำนักวัดพลับ (รายละเอียดขึ้นครูพระกรรมฐาน) จนเป็นที่เลื่องลือถึงความสามารถ ท่านได้ตรวจดูดวงชะตาในเหตุการณ์ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ที่ได้จากภาพนิมิตแต่ละเหตุการณ์มารวมกัน และทายผลจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้แก่ญาติโยม ที่ได้ญาณหยั่งรู้จากการฝึกฝนปฏิบัติพระกรรมฐาน โดยทายผลได้อย่างแม่นยำ จนลูกศิยษ์และประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ ให้ขนานนามท่านว่า "หลวงพ่อตาทิพย์ หลวงปู่ตาทิพย์ " หลวงปู่ได้ให้การช่วยเหลือ ศิษยานุศิษย์และประชาชนทั้งหลาย ให้ประกอบสัมมาอาชีพโดยสุจริต ทำให้ศิษยานุศิษย์และประชาชนมีความเจริญรุ่งเรื่อง ทางด้านตำแหน่งหน้าที่ การงาน ทางด้านอาชีพค้าขาย นักธุรกิจ นักการเมือง พ่อค้า ประชาชน และอีกหลายสาขาอาชีพ ท่านได้นำวิชาความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา เป็นประโยชน์ศิษยานุศิษย์และประชาชนทั้งหลาย ปฏิปทาของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ญาติโยมที่พบเห็น และได้อบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ของท่านให้เป็นผู้มีความเมตตาซึ่งกันและกัน ท่านได้ช่วยเหลือวัดว่าอารามเป็นจำนวนนวนมาก โดยเฉพาะวัดบ้านเกิดและใกล้เคียง ท่านเป็นพระสงฆ์ผู้เป็นแบบอย่างที่ดีงาม มีคุณธรรมสูง ให้การช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติโยม มักน้อย สันโดด หายากที่จะมีสิ่งใดมาเปรียบเทียบได้ ท่านได้สงเคราะห์ช่วยเหลือญาติโยมติดต่อกันเป็นเวลานาน ถึง 40 ปี จวบจนถึงกาลมรณะภาพ ด้วยโรคชรา ท่านมาคติธรรมที่น่าเลื่อมใสศรัทธาแก่ศิษยานุศิษย์ เป็นพระสงฆ์ผู้เปี่่ยมล้นด้วยความเมตตาแก่ชาวโลก ท่านพูดเสมอว่า " มีเมตตามากมาก ต้องมีขันติมากมาก " เป็นการบ่งบอกถึงยความอดทนและปฏิปทาที่น่าเลื่อมใสของท่าน ที่ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยเมื้อยล้า ท่านสละเวลาของท่านช่วยเหลือผู้คน ถึงแม้ว่าจะชราภาพลง หลวงปู่ก็ยังสงเคราะห์ญาติโยมตลอดเวลา

    วัตถุมงคลและวิชาความรู้ต่างๆ หลวงปู่จวบ ได้ศึกษาวิชาอักขระขอมและเลขยันต์ การปลุกเสกอักขระเลขยันต์ จากเกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน หลวงปู่ได้จัดทำวัตถุมงคล เช่น พระผงหมอดินยาใบโพธิ์ ตระกรุดกันภัย น้ำเต้ากันภัย น้ำเต้าเรียกเงินเรียกทอง ผ้ายันต์ เหรียญรูปหล่อ พระผงสมเด็จ พระผงพระร่วงเปิดโลก (พิมพ์แบบพระต่างๆ ที่หลวงปู่ได้อธิตฐานจิต ดูลายละเอียด) หมีดหมอ และน้ำพระพุทธมนต์ค้าขาย น้ำพระพุทธมนต์ปัดเป่ารักษาโรคภัย และยังได้ศึกษาศาสตร์วิชาแขนงต่างๆทางโหราศาสตร์ เช่น การตั้งชื่อ พิธีกรรมบวงสรวง สะเดาะเคราะห์ต่อชะตา พิธีกรรมรับดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 เจิมรถยนต์ เจิมบ้านเรือน เสริมบารมีลงนะหน้าทอง นะมหานิยม นะเรียกเงินเรียกทอง จตุโรบังเกิดทรัพย์ ยันต์ตรีนิสิงเห การยกเสาเอกบ้านเรือนและบริษัทห้างร้าน การวางศิลาฤกษ์ การอธิษฐานจิตให้ค้าขายดี อธิษฐานจิตวัตถุมงคเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และอีกมามาย ซึ่งเป็นเมตตามหานิยมค้าขาย ร่ำรวยเงินทอง และทำให้ลาภผลทวีเพิ่มพูล สมบูรณ์พูนผล ทั้งทางโลกและทางธรรม จึงเป็นประโยชน์แก่ศิษยานุศิษย์และประชาชน

    lungpoojuob-2-jpg-jpg.jpg

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงปู่สรวงและพระสมเด็จอรหังวัดพลับ ให้บูชาคู่กัน ๒ องค์ 400 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240224_210352.jpg IMG_20240224_210428.jpg IMG_20240224_210651.jpg IMG_20240224_210638.jpg IMG_20240224_210506.jpg
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,406
    ค่าพลัง:
    +21,326
    5dfec2e8d165f90d14938eb3_800x0xcover_e-y6wQoD.jpg


    FB_IMG_1708851919680.jpg

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อแพวัดพิกุลทองออกสัตหีบ ชลบุรี ปี ๒๕๑๒ ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20240225_161119.jpg IMG_20240225_161139.jpg
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,406
    ค่าพลัง:
    +21,326
    537979_502113269836583_1416408624_n (1).jpg

    หลวงพ่อประเทือง อติกฺกนฺโต พระครูวิทิตพัชราจาร วัดหนองย่างทอย
    (วัดเทพประทานพร) ต.หนองย่างทอย อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์
    ชาติภูมิ
    หลวงพ่อประเทือง อติกฺกนฺโต ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๑ (วันอาทิตย์ เดือนอ้าย ปีมะโรง) เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน ๕ คน ซึ่งเป็นชาย ๒ คน หญิง ๓ คน ของนายทำ นางมาก ยืนยง ณ บ้านคลองเม่า หมู่ที่ ๕ ตำบลโคนสะลุด อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
    เริ่มการศึกษา
    เมื่อเจริญวัยสมควรได้รับการศึกษาได้แล้ว บิดามารดานำไปเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดคลองเม่า ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งจบชั้นประถมปีที่ ๔ อันเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนในสมัยนั้น ครั้นจบการศึกษาแล้ว แม้จะมีความตั้งใจปรารถนาใคร่จะเล่าเรียนต่อก็ไม่มีโอกาสเนื่องจากฐานะทางครอบครัวยากจน ประกอบอาชีพกสิกรรม และไม่เอื้ออำนวยโดยประการทั้งปวงจึงอยู่ช่วยเหลือพ่อแม่ประกอบอาชีพเหมือนลูกหลานตามชนบททั่วไป ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการที่จะแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อบุพพการีที่ได้โอบอุ้มอบรมเลี้ยงดู สั่งสอนมาด้วยความรัก ความเมตตาเอื้ออาทร และอีกประการหนึ่งก็เห็นว่าท่านเป็นบุตรคนสุดท้องที่พ่อแม่หวังจะได้พึ่งในบั้นปลายแห่งชีวิตต่อไปด้วย
    อพยพครอบครัว
    ในขณะที่อายุได้ ๑๔ ปี พ.ศ.๒๔๘๕ จังหวัดลพบุรีได้ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ขึ้นโดยน้ำได้ท่วมหนักเป็นประวัติการณ์ถึงหลังคาบ้านไปทั่วทุกหมู่บ้าน ข้าวกล้านาล่ม เสียหายอย่างย่อยยับ แรงงานจากแรงคนที่ได้ลงแรงไป ก็มาสิ้นสลายไปกับสายน้ำอันหฤโหดอย่างหมดสิ้น ปลายทางที่ไม่มีจุดหมายปลายทาง หมดหนทางที่จะประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้แล้ว บิดามารดา จึงใคร่ครวญตัดสินใจอพยพครอบครัวทิ้งถิ่นฐานบ้านช่องอันเป็นถิ่นกำเนิด โดยย้ายไปอยู่ที่ตำบล เขาช่องแค จังหวัดนครสวรรค์เพื่อเริ่มต้นชีวิต ทางเลือกใหม่ที่ดีกว่า
    สู่ร่มกาสาวพัสตร์
    เมื่ออพยพครอบครัวมาอยู่นครสวรรค์ ได้ประกอบสัมมาชีพ ยกฐานะครอบครัวมีชีวิตเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่ง บิดามารดาได้ปรารถนาที่จะให้ท่านได้บรรพชาเป็นสามาเณร เพราะเล็งเห็นว่า การบวชเณรเป็นโอกาสที่จะได้ศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติธรรมวินัย ทั้งเป็นการผูกญาติสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นพระเพณีนิยมไปด้วย ซึ่งท่านเองเมื่อรู้เรื่องนี้แล้วก็ไม่ขัดข้องยินดีปฏิบัติตามความประสงค์ของบุพพการีทุกประการ
    บิดามารดา ได้นำไปบรรพชาที่วัดหนองแขม ต.ทุ่งทะเล อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ กับพระอาจารย์อ่อน เจ้าอาวาสวัดหนองแขม ผู้มีศักดิ์เป็นอาของท่าน ให้ช่วยดูแลอบรมสั่งสอน พระอาจารย์อ่อนรูปนี้เป็นพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียน ทั้งเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐานและแก่กล้าสรรพวิชาอาคมต่างๆอีกด้วย ครั้นบรรพชาแล้วในพรรษาแรกๆ ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ และวิชาอาคมกับหลวงอาพระอาจารย์อ่อน จนเป็นที่พอใจแล้ว หลวงอาคิดจะทดสอบหลานจึงคิดทดสอบความอดทนและวิชาที่สั่งสอนให้ แล้วออกอุบายที่จะพาไปเที่ยวโดยให้เตรียมข้าวของเท่าที่จำเป็นสำหรับในการเดินธุดงค์ออกธุดงค์กับพระอาจารย์อ่อน ในปีนั้น เมื่ออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์อ่อน ได้นำสามเณรประเทืองเดินธุดงค์ไปยังจุดหมายปลายทางเพื่อนมัสการพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี แม้ว่ายังเป็นสามเณรอายุน้อยนิด ก็มีความอดทน แบกกลด ถือกรรมฐานกับพระอาจารย์อ่อนไปด้วย การเดินป่าในสมัยนั้น ประสบการความยุ่งยากลำบากเหลือเข็ญ ยังไม่มีรถยนต์ เป็นพาหนะเหมือนสมัยนี้ อีกทั้งตามป่าเขาลำเนาไพรยังชุกชุมไปด้วยไข้ป่า สัตว์ร้ายนานาชนิด เดินขึ้นเขาลงห้วยหาบ้านผู้คนก็ยากเย็นเต็มที แม้ว่าในตอนออกเดินทางจากวัดไปด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นเข้มแข็ง แต่พอนานเข้าเอาเข้าจริงๆ แล้ว ได้สัมผัสกับความอดอยาก ลำบากในป่าเขา ก็เกิดอาการท้อแม้ใจขึ้นมาเหมือนกัน บางครั้งคิดอยากจะกลับวัดกลับบ้าน หลวงอาก็ปลอบโยนให้กำลังในอยู่เสมอๆ จะทำอย่างไรได้ เมื่อตัดสินในแล้วก็ต้องสู้ต่อไปให้ถึงที่สุด สำหรับการเดินธุดงค์นั้น พระอาจารย์อ่อนมีกฎอยู่ว่าห้ามถามห้ามพูดในสิ่งที่ไม่จำเป็นและให้เฉยๆ ไว้ เดินตามหลวงอาไปอย่างเดียว พอถึงเวลาปักกลด หลวงอาก็ปักให้ (กลดสมัยนั้น คล้ายกับมุ้ง ๔ สาย) พอปักกลดเสร็จก็แยกไปปักอีกที่หนึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ ๑๐วา ตกกลางคืนก็ร้องไห้แต่ไม่กล้าร้องเสียงดัง กลัวหลวงอาดุเอา ทำให้เกิดความกลัว คิดไปต่างๆ จิตใจก็ไม่สงบ ยิ่งได้ยินเสียงเสือร้อง ก็ร้องไห้ตามเสือไปด้วย คิดจะกลับวัดอย่างเดียว ที่ยิ่งไปกว่านั้น พอรุ่งเช้าอาหารบิณฑบาตก็ไม่มีฉัน เพราะอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้าน จนบางครั้งต้องอาศัยข้าวตากแห้งที่เตรียมมาขบฉัน พอประทังชีวิตไปวันๆ หนึ่งก็เคยมี ครั้นรุ่งเช้าหลวงอาชวนออกเดินบิณฑบาต ก็คิดไปว่าป่าทั้งป่าจะไปบิณฑบาตที่ไหนกัน มองไปข้างไหนก็เห็นแต่ป่าทั้งนั้นแต่ก็ไม่กล้าถาม โดยหลวงอาสั่งว่า ทำอะไรก็ให้ทำตาม พอเดินไปถึงต้นไม้ใหญ่ หลวงอาเปิดบาตรไว้สักครู่แล้วก็ปิดบาตร เดินมาที่อีกต้นหนึ่งก็ทำเหมือนเดิมอีก ก็ปฏิบัติตามเหมือนหลวงอาทุกอย่าง ถึงจะสงสัยก็ไม่กล้าถามอยู่ดี สามเณรประเทือง คิดอยู่ในใจว่า หลวงอาทำอะไรแปลกๆ หรือท่านจะรู้เห็นอะไรที่เราไม่รู้ก็เป็นได้ ครั้นกลับมาถึงที่พักก็เปิดบาตรดู ว่ามีอะไรอยู่บ้างเห็นแต่ความว่างเปล่าแต่ก็ยังไม่กล้าถามอยู่ดีว่าท่านทำเพื่ออะไร แล้วหลวงอาก็สั่งให้เอาน้ำล้างบาตรนั้นมาดื่มกิน พอดื่มแล้วเหมือนกับว่า รู้สึกอิ่มอย่างแปลกประหลาดคล้ายกับว่าได้ฉันข้าวอย่างนั้นแหล่ะ สามารถอยู่ได้ตลอดทั้งวันโดยไม่รู้สึกหิวกระหายแต่อย่างใดเลย เมื่อปฏิบัติอยู่ป่านานวันเข้า อาหารที่เตรียมมาก็หมดไปโดยปริยาย สิ่งที่น่าแปลกอยู่อย่างหนึ่ง อาหารของหลวงอาไม่รู้จักหมด ครั้นถามท่านก็โดนดุว่าไม่ใช่กิจที่จะต้องรู้ ยังมีสิ่งที่เราไม่รู้ต้องปฏิบัติอีกมาก ท่านเปรียบเหมือนใบไม้ในกำมือกับไม้ในป่าทั้งหมด จึงไม่กล้าที่จะถามท่านอีก จะถามได้ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมเท่านั้น พอพูดจบท่านก็หยิบเอามาจากย่ามให้ฉันเป็นดังนี้อยู่เสมอมิได้ขาด ได้แต่เก็บความสงสัยไว้ในใจอยู่ตลอดมา ว่าทำไมข้าวตากแห้งของหลวงอาไม่รู้จักหมดสักที ท่านเอามาจากไหน ท่านมีคาถาอาคมอะไรหรือ
    กลับมาเยี่ยมบ้าน
    หลายปีที่สามเณรประเทือง เดินธุดงค์ไปกับพระอาจารย์อ่อน ก็ได้ร่ำเรียนวิชาอาคมอย่างเต็มกำลังความสามารถ แต่ก็หลายครั้งเหมือนกัน ที่คิดอยากจะกลับบ้านไปเยี่ยมโยมพ่อโยมแม่และญาติๆก็ยังไม่มีโอกาสสักครั้ง วันหนึ่งได้รับอนุญาตจากหลวงอาว่าถึงเวลาอันควรแล้วอนุญาตให้กลับไปเยี่ยมบ้านได้แล้ว พอกลับมาถึงวัดหนองแขม ก็กราบลาพระอาจารย์อ่อนไปเยี่ยมบ้านทันที ได้พูดคุยสนทนาเล่าเรื่องราวต่างๆ ในการออกธุดงค์เดินป่าที่เป็นไปอย่างยากลำบาก เมื่อโยมทั้งสองได้ฟังแล้วก็เกิดสงสารห่วงใยอย่างจับใจ ขอร้องอ้อนวอนให้สามเณร ลูกชายลาสิกขากลับมาอยู่กับพ่อแม่ดีกว่า เพราะเกรงว่าจะได้รับอันตรายในระหว่างอยู่ป่า ในตอนแรกก็เห็นด้วยกับความคิดของโยมพ่อโยมแม่ จึงตัดสินใจที่จะลาสิกขาอย่างแน่นอน ครั้นกลับมาได้ถึงวัดได้กราบเรียนให้หลวงอาทราบเรื่องเอาเข้าจริงๆ แล้ว ได้รับโอวาทธรรมจากหลวงอาว่า การปฏิบัติธรรมกรรมฐานเท่านั้น ที่จะได้กุศลแรงกล้าที่สุด ไม่เพียงแต่บุคคลผู้ปฏิบัติเท่านั้น แม้ผู้เป็นบิดามารดาชื่อว่าผู้ได้เป็นญาติพระศาสนาก็พลอยได้บุญกุศลไปด้วย ได้ฟังโอวาทธรรมดังนั้น ท่านก็เห็นด้วยแล้วตัดสินใจที่จะไม่ยอมลาสิกขา ยังคงเดินธุดงค์ไปกับพระอาจารย์อ่อนต่อไปอีกหลายปี พระอาจารย์อ่อน เป็นพระที่นิยมศึกษาชอบแสวงหาความรู้และมีวิทยาคมแก่กล้า ทั้งชอบการปฏิบัติธรรมได้ถ่ายทอดสรรพวิชาอาคมให้สามเณรประเทืองทุกอย่างอย่างเช่น การหุงสีผึ้ง วิชานะหน้าทอง เป็นต้น
    ศึกษาวิชาอาคมกับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
    พระอาจารย์อ่อน นับว่าเป็นพระที่เชี่ยวชาญเวทวิทยาคมมากทีเดียว และที่สำคัญยังมีความคุ้นเคยกับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ ยอดพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ได้เดินทางไปสนทนาธรรมกับหลวงพ่อเดิมอยู่เป็นประจำ เมื่อกลับจากเดินธุดงค์แล้ว หลวงอาอ่อน ได้นำสามเณรประเทือง เดินทางไปวัดหนองโพธิ์ ฝากฝังไว้เป็นศิษย์คอยปรนนิบัติรับใช้ต้มน้ำร้อนน้ำชาอยู่ใกล้ชิดหลวงพ่อเดิมตลอดเวลา หลวงพ่อเดิมเรียกท่านว่า “เณรจ้อน” เพราะท่านตัวเล็กกว่าสามเณรในวัดรุ่นเดียวกันทั้งหมด ทั้งยังเมตตาแนะนำสั่งสอนวิชาอาคมต่างๆ ให้อยู่เสมอ ในขณะที่อยู่รับใช้หลวงพ่อเดิมอยู่นั้น สามเณรประเทืองได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมอะไรบ้าง เราท่านคงไม่อาจจะทราบได้ แต่เท่าที่สอบถามศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงพ่อประเทือง ได้ความว่าท่านไม่เคยพูดว่า หลวงพ่อเดิมถ่ายทอดวิชาอะไรให้ เพียงแต่กล่าวอยู่เสมอว่า วิชาอาคม ที่หลวงพ่อเดิมสั่งสอนนั้นว่าวิชาอะไรก็ตามตะเข้มขลังได้ต้องอาศัยพลังจิตเป็นกำลังสำคัญ หากเราฝึกจิตสมบูรณ์แล้วก็สามารถปลุกเสกอะไรให้เกิดพลังเข้มขลังได้ จากพื้นฐานวิทยาคมที่หลวงพ่อเดิมแนะนำสั่งสอนให้กับสามเณรประเทืองนั้นท่านก็ยึดถือปฏิบัติเป็นแบบครูบาอาจารย์ มาจนกระทั่งเป็นหลวงพ่อประเทือง ถึงทุกวันนี้
    อุปสมบทปฏิบัติธรรมในสำนักหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
    เมื่ออกพรรษาแล้ว สามเณรประเทืองก็ตัดสินใจลาสิกขาถือเพศฆราวาสวิสัย ไปประกอบสัมมาชีพทำไร่ มันแกว อยู่ที่บ้านหนองกระทะ ตำบลช่องแค จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งอายุได้ ๒๐ ปี ในพ.ศ.๒๔๙๑ ก็ปรารถนาจะเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมา วัดช่องแค นครสวรรค์ โดยมีท่านพระครูทอง วิสาโร เจ้าคณะอำเภอตาคลีในสมัยนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์มีพระอาจารย์แบ๊ง วัดช่องแค เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระใบฎีกาตี่ วัดเขาวงศ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ในช่วงที่อยู่จำพรรษาวัดช่องแค เป็นห้วงเวลาเดียวกัน กับหลวงพ่อพรหม ยอดพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงอีกรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาสครองวัดนั้นอยู่ นับว่าเป็นบุญโชคของท่านเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน สรรพวิทยาคมในสำนักหลวงพ่อพรหมแต่เป็นที่น่าเสียดาย ว่า ท่านได้ครองสมณเพศอยู่ได้เพียงพรรษาเดียว ก็จำต้องลาสิกขาเพราะถูกกฎหมายเกณฑ์ทหาร ไปเป็นทหารรับใช้ชาติอยู่ที่เขาน้อย จังหวัดลพบุรี อยู่ได้ ๒ ปีเศษ แล้วสมัครเป็นสารวัตรทหารอยู่ที่ลพบุรี ครั้นเบื่อหน่ายอาชีพราชการ ก็ลาออกมาทำงานชลประทานซีเมนต์อยู่ช่องแค นครสวรรค์ หลังจากใช้ชีวิตฆราวาสเพศวิสัยอยู่ ๘-๙ ปี ก็เบื่อหน่ายปรารถนาจะบวชอีกสักครั้งซึ่งในขณะนั้นมีอายุได้ ๒๙ ปี พ.ศ.๒๔๐๐ เป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษไปด้วยก็ตัดสินใจอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโนทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับสมณฉายาว่า อติกฺกนฺโต แล้วอยู่ปฏิบัติธรรมกับ หลวงพ่อเล็ก วัดโพธิ์ทอง (หลวงพ่อเล็กรูปนี้เป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมมาจากหลวงพ่อปาน วัดบางเ**้ย)
    ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรม
    เนื่องจากหลวงพ่อประเทืองท่านมีอุปนิสัยชอบความสงบวิเวกใฝ่ใจในการศึกษาเล่าเรียนมาแต่เดิม ครั้นได้กลับมาบวชใหม่อีกครั้ง ก็มีความตั้งใจที่วัดโพธิ์ทอง พอออกพรรษาแล้วได้เล็งเห็นว่าวัดไม่เป็นที่สงบเท่าที่ควร เพราะท่านไม่ชอบที่จะระคนด้วยหมู่คณะจึงปลีกตนออกปฏิบัติกราบลาพระอุปัชฌาย์ออกเดินธุดงค์ แสวงหาความรู้กับครูบาอาจารย์ เพื่อศึกษาสรรพวิชาเพิ่มเติม หลวงพ่อประเทือง ได้เดินธุดงค์ไปตามเขาทั่วภาคตะวันออกเฉียงจรดไปถึงถ้ำนาแก นครพนม ได้พบกับพระป่านักปฏิบัติหลายรูปทั้งได้ขอเล่าเรียนวิชาอาคมต่างๆ จนกระทั่งได้มีโอกาสพบกับอาจารย์บุญลือเป็นฆราวาสชาวเขมร ผู้เก่งกล้าในด้านไสยศาสตร์ ท่านก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาถอนคุณไสยต่างๆ จนเป็นที่พอใจแล้วเดินธุดงค์ต่อไปอีก หลังจากนั้นเดินธุดงค์กลับมานมัสการรอยพระพุทธบาท สระบุรี ซึ่งในช่วงนั้นเอง ได้เกิดโรคระบาด ผู้คนล้มตายเป็นว่าเล่น ชาวบ้านก็ปลื้มในที่ได้พบพระธุดงค์ ได้ขอร้องให้ท่านโปรดเมตตาช่วยอนุเคราะห์รักษาโรค ท่านก็ยินดีอยู่ช่วยรักษาให้โดยใช้สมุนไพรตามที่ได้ศึกษามาประกอบมาปรุงยาต้มให้ชาวบ้านกินกันจนหายเป็นปกติ ยังความปลื้มปิติเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของคนในหมู่บ้านกันทั่ว
    สืบสายพุทธาคม
    ความเป็นหนึ่งในเวทวิทยาคมของหลวงพ่อประเทือง อติกฺกนฺโต ในปัจจุบันย่อมเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ศิษยานุศิษย์และผู้นิยมวัตถุมงคล เพราะวัตถุมงคลหรือเครื่องรางวัลขลังของท่านนั้น ที่สร้างขึ้นโดยหลวงพ่อหรือคณะศิษย์สร้างถวายก็ตาม โดยท่านเป็นผู้ปลุกเสกล้วนมีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับเชื่อถือในความเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์
    ปาฏิหาริย์ล้ำเลิศมากมาย
    การกล่าวได้อย่างมั่นใจเช่นนี้ก็เพราะท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มากไปด้วยครูบาอาจารย์ แสวงหาความรู้เล่าเรียนศึกษาพุทธาคมอย่างไม่รู้จบ และเหตุที่ครูบาอาจารย์ของท่านก็ล้วนแต่เลื่องลือกิตติศัพท์เป็นที่เคารพของสาธุชนทั้งสิ้น ตลอดระยะเวลากว่า ๒๐ ปี ที่ออกเดินธุดงค์ ก็ได้ศึกษาสรรพวิชาอาคมจากครูบาอาจารย์ต่างๆ มามากมายเท่าที่ได้กราบนมัสการเรียนถามว่ามีพระเกจิอาจารย์รูปใด บ้างที่ท่านเคยเป็นศิษย์ได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาอาคมซึ่งท่านได้ลำดับครูบาอาจารย์ดังนี้
    ๑. พระอาจารย์อ่อน วัดหนองแขม นครสวรรค์ (มีศักดิ์เป็นอา ได้ศึกษาตั้งแต่เป็น สามเณร)
    ๒. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์ (เมื่อครั้ง ไปอยู่ปรนนิบัติรับใช้เป็นสามเณรที่วัดหนองโพธิ์)
    ๓. หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์ (ศึกษาอยู่ได้ 1 พรรษา ตอนบวชครั้งแรก)
    ๔. พระอาจารย์เล็ก วัดคลองเม่า ลพบุรี
    ๕. หลวงพ่อเล็ก วัดโพธิ์ทอง นครสวรรค์ (เมื่อครั้งอุปสมบทอยู่วัดโพธิ์ทอง ซึ่งหลวงพ่อเล็กรูปนี้ เป็นศิษย์ที่สืบทอดพุทธาคมมา จากหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย(วัดคล่องด่าน)
    ๖. อาจารย์บุญลือ (ไม่ทราบนามสกุล) เป็นชาวเขมร (เมื่อคราวออกธุดงค์)


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    *กล่องบรรจุไม่ตรงกับรุ่น สมัยนั้น คงใช้แทน กล่องเหรียญน่าจะเหลือ พระปิดตาไม่มีกล่อง

    ปิดตาหลวงพ่อประเทืองผสมเกศาเสาร์ 5
    ให้ให้บูชา
    250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ เกศาเด่นชัดหลายเส้นครับ

    IMG_20240225_162741.jpg IMG_20240225_162810.jpg IMG_20240225_162833.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2024

แชร์หน้านี้

Loading...