เสียงธรรม เข้าใจธรรมดาของโลก / หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ในห้อง 'ธรรมเทศนาทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 4 กรกฎาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    หลวงพ่อปราโมทย์ เทศน์ ทางสายกลางอยู่ตรงที่ใจธรรมดานี่เอง ... ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙

    วิวัฏฏะ โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

    รวมเสียงธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤษภาคม 2023
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    แบ่งเวลาให้เป็น :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 24 มกราคม 2564

    [LIVE] 6 ก.พ. 2564 ไลฟ์สดหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

    Dhamma.com
    Feb 6, 2021

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤษภาคม 2023
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    8 กุมภาพันธ์ 2564 หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

    Dhamma.com
    Feb 10, 2021
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2023
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ธรรมะคือคุณากร ครั้งที่ ๒๘ วิถีแห่งจิต โดย พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

    Phuttha
    ธรรมบรรยายเรื่อง "วิถีแห่งจิต" โดย พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในกิจกรรม "ธรรมะคือคุณากร" ปีที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒๘ วันศุกร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุมชั้น ๘ อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ๒ (ตึกข่าว) ถนนพระราม ๔ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2021
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    นาทีทองในสังสารวัฏ

    "การที่เราได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นเป็นของยากมาก
    แถมเราเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
    เราได้โอกาสที่ดีที่สุดในชาตินี้ที่ได้เจอพระพุทธศาสนา
    ทั้งยังสนใจศึกษาปฏิบัติธรรม จะเห็นว่าคุ้มค่าที่สุด
    ถ้าไม่เห็นธรรมะ ชีวิตนี้ไม่มีคุณค่าเท่าใด
    ดังนั้นจึงต้องลงมือเดินทางเสียตั้งแต่วันนี้
    ให้ทันที่หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย
    ก่อนที่เส้นทางนี้หรือร่องรอย
    หรือรอยเท้าของท่านเหล่านี้จะหายไป
    หากปล่อยนาทีทองในสังสารวัฏนี้ไปแล้ว
    ไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไร
    จะมีการสอนเรื่องการเจริญสติเพื่อการหลุดพ้นขึ้นมาอีก"


    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    วัดสวนสันติธรรม
    ประมวลพระธรรมเทศนา เล่ม 1
    See Less
    Facebook :-
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ดูตัวเองดีกว่าคอยจับผิดคนอื่น :: หลวงพ่อปราโมทย์ 27 มี.ค. 2564
    วันๆ หนึ่งเรามองคนอื่นมากกว่ามองตัวเอง ฉะนั้นก็เห็นแต่คนอื่น มันไม่เห็นตัวเอง เห็นคนอื่นแล้วใจของเรามันมีกิเลส มันก็เห็นคนอื่นในมุมที่ตัวเองอยากเห็น ชอบขึ้นมาก็มองว่าเขาดี ไม่ชอบขึ้นมาก็เขาเลว มองอย่างที่ตัวเองอยากมอง ส่วนของจริงคือรูปธรรมนามธรรมนี้ มันอยู่กับเรามาแต่ไหนแต่ไร ทำไมต้องอาศัยพระพุทธเจ้ามาชี้ให้เราย้อนกลับมาดู “โอปนยิโก” ย้อนกลับเข้ามาดูตัวเอง เพราะว่าโดยธรรมชาติแล้ว หลวงปู่ดูลย์ท่านสอนบอก “โดยธรรมชาติ จิตย่อมส่งออกนอก” จิตส่งออกนอก คือสนใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส หรือในเรื่องราวที่คิดนึกต่างๆ สนใจแต่สิ่งพวกนี้ ไม่สนใจในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่สนใจรูปธรรม นามธรรมที่ประกอบกันเป็นตัวเอง ฉะนั้นเราก็ควรจะสนใจเสียบ้าง หัดมาสนใจตัวเอง ไม่ต้องสนใจคนอื่นมากนัก ไม่ต้องไปจับผิดคนอื่น มาจับผิดตัวเอง จับผิดคนอื่นง่าย ไอ้โน้นไม่ดี ไอ้นี้ไม่ดี กูดีอยู่คนเดียว ไม่เห็นมีใครมันวิจารณ์ตัวเองสักกี่คนเลย มีแต่มองออกนอก สนใจแต่ของนอก ลองย้อนกลับมาทำตัวเองให้มันดีเสียก่อน ย้อนกลับมาฝึกตัวเองให้มันดีเสียก่อน ค่อยวิจารณ์คนอื่นก็ได้ ไม่สายไปหรอก ย้อนมาดูตัวเอง -- หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    วัดสวนสันติธรรม 27 มีนาคม 2564
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2021
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    มูลนิธิสื่อธรรมหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    July 6 at 9:59 PM ·
    มีสติรักษาจิต

    "เรามีสติรักษาจิตของตัวเองไว้ให้ดี
    การรักษาจิตนั้น อาศัยสติรักษา ไม่ใช่เรารักษา
    สติทำหน้าที่อารักขา สติเป็นผู้รักษาจิต
    ถ้าเรามีสติรักษาจิตอยู่ อกุศลที่มีอยู่มันจะดับ
    อกุศลใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้ในขณะที่มีสติ
    การที่เรามีสติรักษาจิตนั้น จิตมันจะเป็นกุศลอัตโนมัติ
    พอเรามีสติเนืองๆ กุศลมันก็เจริญขึ้นมา
    งอกงามขึ้นมาเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา เป็นวิมุตติ

    หัดสังเกตจิตใจตนเองเนืองๆ
    หัดดู หัดรู้สึกจิตใจของตัวเองไป
    การดูจิตไม่ได้เอาตาไปดู
    จิตเป็นนามธรรมเรารู้ด้วยใจ
    นามธรรมทั้งหลายไปรู้ด้วยรูปไม่ได้
    ตามันเป็นรูปไปดูนามธรรมไม่เห็น เรารู้ด้วยใจของเรา
    จิตมันสุข จิตมันทุกข์เราก็รู้เอา
    จิตมันดี จิตมันชั่ว เราคอยรู้เอา"

    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    วัดสวนสันติธรรม
    22 พฤษภาคม 2564 (ไฟล์ 640522 ซีดีแผ่นที่ 90)

    :- https://www.facebook.com/LPPramoteMediaFund
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2021
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    กถาวัตถุ ๑๐
    มีคำถาม พวกเราลองตอบแทนหลวงพ่อดู
    ข้อที่หนึ่ง “มีธรรมะอันไหนที่เมื่อเราทำมากๆ แล้วจะทำให้เจริญทั้งทางโลกและทางธรรม”
    ข้อที่สอง “มีธรรมะอะไรที่ทำมากๆ แล้ว จะเสื่อมทั้งทางโลกและทางธรรม”
    ข้อที่สาม “มีธรรมะอะไรที่ทำมากๆ แล้ว ทางโลกจะเสื่อมแต่ทางธรรมเจริญ”
    แล้วข้อสุดท้าย “มีธรรมะอะไรที่ทำแล้ว ทางโลกเจริญแต่ธรรมะเสื่อม”
    ถ้าจะตอบนี่ยาวหลายชั่วโมง เอาย่อๆ ก็แล้วกัน

    mini-flower-green-150x150.jpg

    ข้อที่หนึ่ง ธรรมะที่ถ้าเรามี เราเสพ เราคุ้นเคยแล้ว เราเจริญทั้งทางโลกทางธรรม คือ การมีกัลยาณมิตร กับ การมีโยนิโสมนสิการ

    อยู่ในโลก ถ้ามีกัลยาณมิตร จะช่วยกันแนะนำอะไรดีๆ ให้ กระทั่งเรื่องทำมาหากิน การมีกัลยาณมิตร อยู่ใน ๑ ใน ๔ ของคาถาที่ทำให้รวย การมีโยนิโสมนสิการ มีความแยบคายในการใช้เหตุใช้ผล คิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล อันนี้สำหรับทางโลก

    สำหรับทางธรรม การมีกัลยาณมิตร แล้วก็โยนิโสมนสิการเพียงอันใดอันหนึ่ง เป็นต้นทางของอริยมรรค พระพุทธเจ้าบอกอย่างนี้เลย มีกัลยาณมิตรก็มีต้นทางของอริยมรรค มีโยนิโสมนสิการก็มีต้นทางของอริยมรรค แต่โยนิโสมนสิการของธรรมะกับโลกก็ไม่เหมือนกันทีเดียว

    กัลยาณมิตรทางโลกกับทางธรรมก็ไม่เหมือนกัน กัลยาณมิตรทางโลกจะชวนเราลงทุน ซื้อหุ้นบริษัทอะไรดีที่กำลังดี ที่ใกล้เจ๊งไม่เอา เขาแนะนำได้ โยนิโสมนสิการในทางธรรม ไม่ได้คิดเอาเอง ต้องดูว่าสิ่งที่เราทำตรงกับที่พระพุทธเจ้าให้ทำไหม สิ่งที่เรางดเว้น ตรงกับที่พระพุทธเจ้าให้งดเว้นไหม ถ้าเราไปทำสิ่งที่พระพุทธเจ้าให้เว้น ไม่ทำในสิ่งที่ท่านให้ทำ เรียกว่าไม่มีโยนิโสมนสิการ ใช้ไม่ได้

    mini-flower-rg-150x141.jpg

    ข้อที่สอง ธรรมที่เรามีมากๆ แล้วจะเสื่อมทั้งทางโลกทางธรรม คืออบายมุข อันนี้ไม่ต้องอธิบายมากเลย เสื่อมทั้งทางโลกทางธรรม อยู่กับอบายมุข มี ๖ ตัว

    ๑. ดื่มน้ำเมา

    ๒. เที่ยวกลางคืน กลางคืนควรจะเอาเวลาไว้พักผ่อนหรือไว้ภาวนา ผ่าไปเที่ยวอยู่ตามผับตามบาร์ กินเหล้าเมายาอะไรอย่างนี้ มันเจริญไม่ได้หรอกทั้งทางโลกทางธรรม

    ๓. ดูการละเล่นทั้งหลายทั้งปวง หรือจะดูซีรีส์ทั้งวันทั้งคืน ดูบอลโต้รุ่งอะไรอย่างนี้ ก็เสื่อมแน่นอน เช้าขึ้นมาก็ตาแดงมาทำงาน แทบจะทำไม่ไหว แอบมานั่งหลับในที่ทำงาน ดูบอลดึกหรือดูซีรีส์ คือดูการละเล่น

    ๔. เล่นการพนันนี่ไม่ต้องอธิบาย

    ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร อย่างเป็นพระ ไปคบพระชั่ว ไปคบเทวทัต ก็เสื่อม

    ๖. เกียจคร้านในการงาน อย่างโยมขี้เกียจทำงาน ถึงเวลาทำงาน บางคนก็บอกว่าไม่อยากทำงาน อยากภาวนา ให้เมียเลี้ยง ให้พ่อให้แม่เลี้ยง หลวงพ่อเคยเจอคนหนึ่ง อายุตั้ง ๓๐ แล้ว ให้พ่อให้แม่เลี้ยง แล้วเลี้ยงแบบเลี้ยงพระเลย ต้องเอาอาหารมาประเคน ต้องรับ อะไรอย่างนี้ ไม่เจริญเลย เสื่อม เกียจคร้าน สิ่งที่ควรทำ หน้าที่ที่ควรทำไม่ทำ ละเลย อย่างเป็นพระ เกียจคร้านก็มี มีหน้าที่บิณฑบาต ก็ไม่อยากจะบิณฑบาต มีหน้าที่กวาดวัด ก็จะไม่กวาด อ้างโน่นอ้างนี่ ฝนตก แดดออก ร้อนไป หนาวไป เหนื่อยไป หิวไป ง่วงไป สารพัดเลย อิ่มเกินไปก็ทำงานไม่ได้ พวกนี้พวกขี้เกียจ เป็นทางเสื่อม

    ดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน ดูการละเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร เกียจคร้านในการงาน ถ้าทำแล้วเสื่อมทั้งทางโลกทางธรรม

    mini-red-sprout-150x120.png

    ข้อที่สาม ธรรมะที่ทำแล้วทางโลกอาจจะเสื่อมถอยไป แต่ทางธรรมเจริญ ลองไปดูในเรื่องกถาวัตถุ ๑๐ ข้อ เริ่มจากมักน้อย สันโดษ ฝักใฝ่ในความสงบ ไม่คลุกคลี ไม่มั่วสุม ปรารภความเพียร คือพิจารณาตัวเองแล้ว อกุศลอะไรยังไม่ละ ก็ละเสีย กุศลอะไรยังไม่เจริญ ก็เจริญเสีย

    ๕ ตัวแรกนี้ มักน้อย หมายถึง ปรารถนาน้อย รู้จักพอเพียง สันโดษ หมายถึง พอใจในสิ่งซึ่งเราทำมาเต็มที่แล้ว ทุ่มเทลงไปแล้ว เราได้แค่นี้ พอใจ ฝักใฝ่ในความสงบ ถ้าวันๆ คิดแต่เรื่องฟุ้งซ่าน ฝักใฝ่ไปทางฟุ้งซ่าน ไม่มีทางเจริญ ไม่คลุกคลี ถ้าคลุกคลี เจริญไม่ได้ แต่อยู่ในโลก ไม่คลุกคลีไม่ได้ อยู่ในโลก มักน้อยมากๆ เลย ทำงานแบบนิดเดียวพอกินแล้ว พรุ่งนี้มีกิน ไม่มีกินก็ช่างมัน อย่างนี้อยู่ไม่ได้

    ในทางโลก บางคนไปทำ ๕ ตัวแรกนี้ งานทางโลกเสื่อมลงไป แต่ในทางธรรมจะเจริญ

    พอมีมักน้อย สันโดษ ใฝ่หาความสงบ ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียรแล้ว ก็ลงมือทำ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่คือสิ่งที่จะต้องทำ ๕ ตัวแรกเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้เราทำ ๓ ตัวนี้ได้ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ถัดจากศีล สมาธิ ปัญญาอีก ๒ ตัว วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นผลจากการที่เรามีศีล สมาธิ ปัญญา เรียกว่า กถาวัตถุ ๑๐ เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าบอกให้ศึกษา ให้เรียน ให้ฟัง ให้สอนกัน ในเรื่องกถาวัตถุ ๑๐ ท่านยกย่อง จนมีพระองค์หนึ่งนะ พระปุณณมันตานีบุตร ได้รับยกย่องว่าสอนแต่เรื่องกถาวัตถุ ทำกถาวัตถุด้วย สอนกถาวัตถุด้วย เป็นหนึ่งเลย เรื่องนี้

    ถ้าเราทำในสิ่งเหล่านี้ บางทีทางโลกหย่อนไป เพราะใจมันจะไม่เอาโลก ใจมันหนีโลก กิจกรรมทางโลกอาจจะเสียไป แต่ถ้ามองในมุมที่ลึกซึ้งกว่านั้นอีก ถ้าเรามีองค์ธรรม ๑๐ ข้อนี้ เราเสื่อมจากโลกจริงๆ มันจะขึ้นไปอยู่เหนือโลก ขึ้นสู่โลกุตระ เพราะอย่างนั้นโลกนี้เสื่อมจริงๆ เสื่อมจากกิจการทางโลก จะขึ้นสู่โลกุตระ

    ถ้าเราทำกถาวัตถุ ๑๐ นี้ ทางโลก โลกอย่างนี้ อาจจะไม่ค่อยดี อย่างเจ้านายก็จะดูว่าพวกชอบเข้าวัด ไม่ค่อยไว้ใจ กลัวมันจะขี้เกียจ กลัวมันอย่างโน้นอย่างนี้ หรือกลัวมันบ้า คนส่วนใหญ่บางทีมันก็คิดว่าไปฝึกกรรมฐานแล้วจะบ้า

    ถ้ามีกถาวัตถุ ๑๐ ข้อ มักน้อย สันโดษ ไฝ่หาความสงบ ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร อะไรที่เลวไม่ทำ อะไรที่ดีก็ทำ สำรวจเอา สิ่งที่จะต้องทำก็คือศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าทำเต็มที่แล้ว จะได้วิมุตติ ก็คืออริยมรรค อริยผล วิมุตติญาณทัสสนะ ถ้าตามปริยัติ ก็คือปัจจเวกขณญาณ ต่อจากมรรคญาณ ผลญาณ จะเป็นการทวนเข้ามาสำรวจ ว่ากิเลสอะไรล้างแล้ว กิเลสอะไรยังไม่ล้าง กิเลสที่ล้าง ตัวไหนล้างเด็ดขาด ตัวไหนล้างชั่วคราว มันจะสำรวจ ถ้าเป็นขั้นสุดท้าย มันจะทำพระนิพพานให้แจ้ง ถ้ามีกถาวัตถุ จะเสื่อมจากโลก จะขึ้นสู่โลกุตระ จะทิ้งโลก

    mini-green-leaf-120x150.png

    ข้อสุดท้าย ธรรมะที่ทำแล้ว ทำบ่อยๆ คุ้นเคย ทางโลกเจริญ ทางธรรมเสื่อม ก็กลับข้างกับกถาวัตถุ ทำสิ่งที่ตรงข้ามไป มักมาก โลภมาก หาความวุ่นวาย อยู่อย่างนี้ สนุก แต่ธรรมะเสียหมด

    ที่เราไปเที่ยววุ่นวายทุกวันนี้ เรารู้สึกมีความสุขไหม กระทั่งเฮฮา ปาร์ตี้ พากันไปทำบุญนู่นนี่
    บางทีก็สนุก ขึ้นรถทัวร์ไป เที่ยววัดโน้นวัดนี้ คลุกคลี รวมกลุ่มกัน ไม่เคยสนใจความสงบสุข ไม่สนใจศีล สมาธิ ปัญญา

    ทางโลกไปได้ เพราะโลกทุกวันนี้เป็นโลกของอธรรม พวกอธรรมมันเจริญรุ่งเรือง พวกธรรมะถดถอย ยุคนี้เป็นยุคที่อธรรมเจริญรุ่งเรืองแต่ธรรมะถดถอย มาตรฐานสังคมนี้ชั่ว ใครที่ดีเกินไป มันไม่ชอบหรอก ถ้าชั่วด้วยกัน ก็อยู่ด้วยกันได้ ช่วยกันกอบโกยผลประโยชน์ไปได้ ต่างคนต่างก็ช่วยกันโลภมาก รวมฝูงกันไป ในทางธรรมะ เสื่อมไปหมดเลย

    ยุคที่ธรรมะเจริญ อธรรมถดถอย ใครทำชั่วสักนิดเดียว สังคมลงโทษ ยุคนี้ทำชั่ว สังคมไม่ลงโทษเท่าไร เดี๋ยวนี้มีโซเชียล โซเชียลก็ยังเชื่อไม่ได้ มันเป็นอารมณ์ มันไม่ใช่หลักการไม่ใช่เหตุผล

    อย่างเรื่องป้าเอาขวานมาฟันรถ ทีแรกก็ด่าป้า พอคนบอกว่า นี่ขวางออกจากบ้านไม่ได้ คนตายจะทำอย่างไร ก็เห็นใจป้า กลับมาด่าคนจอด การตัดสินของโซเชียลเป็นอย่างนั้น ยังเชื่อถืออะไรไม่ได้หรอก มันเป็นเสียงข้างมากเรียกว่าประชาธิปไตย แต่ไม่ใช่ธรรมาธิปไตย ไม่ได้ตัดสินกันด้วยธรรมะ อะไรถูกอะไรผิด ไม่ได้ตัดสินอย่างนั้น

    ฉะนั้นในยุคที่สังคมเต็มไปด้วยความชั่วร้าย การทำความชั่วร้ายไม่ใช่ความผิดที่คนจะมองว่าผิด
    ถ้าทุกคนคอรัปชั่น ทุกพรรคคอรัปชั่น มันแทบจะไม่ใช่มีคำว่าถ้าด้วย แทบจะไม่มีคำว่าถ้าเลย ทุกคนเป็นอย่างนี้ เหมือนๆ กัน ไม่เป็นไร ทฤษฎีแมลงวันไม่ตอมแมลงวัน คนชั่วไม่ทำร้ายกัน ปล่อยไว้ คนดีขึ้นมาค้าน โดนเหยียบ ในสังคมที่แย่ การทำความชั่วนำความเจริญทางโลกมาให้
    แต่ยังไงก็เสื่อมทางธรรม เสื่อมแน่นอน

    mini-frangipani-150x120.png

    ถ้าจะพูดให้ละเอียดใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง พูดสั้นๆ พอ แล้วไปศึกษาเพิ่มเติมเอาเอง

    ไปภาวนาเข้า แล้วชีวิตจะได้ดีขึ้น แต่ต้องรู้จักคำว่าหน้าที่ เป็นฆราวาสก็มีหน้าที่ เป็นพระก็มีหน้าที่ ถ้าจะภาวนาแล้วทิ้งหน้าที่ มันก็เสื่อม

    อย่างหลวงพ่ออยู่ในโลก หลวงพ่อไม่เสื่อม ทั้งๆ ที่หลวงพ่อทำตามกถาวัตถุ ๑๐ ไม่เสื่อมทางโลก แล้วก็เจริญทางธรรมด้วย งานเราก็ทำได้ดี ทำได้เก่ง เพราะ เราฝึกจิตเราดี สมาธิเราดี บางทีเวลาหลวงพ่อทำงาน บางทีจะส่งรัฐมนตรี เจ้านายทั้งหลาย มาชุมนุมอยู่รอบโต๊ะเราเลย คุยกันจ๊อกแจ๊กๆ มารอเซ็น ถ้าสมาธิเราไม่ดี ตบะเราแตก เครียดตายเลย เกร็ง เราศีกษาเอกสารเยอะแยะ ศึกษาคนเยอะแยะ หาข้อสรุปออกมา อ่านรวดเดียว หนังสือตั้งหนึ่งนี่หลวงพ่อดูฟืบๆๆ ใช้เวลาไม่มาก เวลาอ่านหนังสือ อ่านตรงกลาง อ่านเฉพาะตรงกลาง ไม่ต้องอ่านหัวท้าย แล้วมันจะ relate ได้เอง ถ้าสมาธิพอ แล้วลงมือพิมพ์เลย คีย์เข้าคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว ปริ๊นท์ออกมา ก็เซ็นได้แล้ว พอเจ้านายเซ็นเสร็จ เขาก็ไป เราเนี่ย (หลวงพ่อทำเสียงถอนหายใจ) หมดเรี่ยวหมดแรง

    อยู่ในทางโลก ถ้าบริหารจัดการเป็นไม่เสื่อมหรอก มีศีลมีธรรม แรกๆ คนอาจจะหัวเราะ แต่นานไม่หัวเราะ ตอนเรา (เป็นข้าราชการ) ซีน้อยๆ ไปนั่งโต๊ะกับผู้ใหญ่ เขากินเหล้า เราไม่กิน ทำยังไงจะรักษาตัว รักษาศีลเราได้ ต้องใช้สติ ใช้ปัญญามากมาย แต่พอเขารู้ว่าเราไม่กิน พอเราโตขึ้นมา ใครมานั่งโต๊ะเราไม่กล้ากินเหล้า ไม่กล้า มันกลับกัน ขอให้ตั้งใจให้เด็ดเดี่ยว

    แต่รู้หน้าที่ ไม่ใช่ทิ้งหน้าที่ มีหน้าที่ทำมาหากิน ทำหน้าที่ที่เขาจ้างเรา มีหน้าที่ต่อเจ้านาย ต่อบริษัท มีหน้าที่ต่อลูกค้า มีหน้าที่ต่อครอบครัวเรา มีหน้าที่ต่อตัวเอง คือพัฒนาใจ ต้องรู้จักทำหน้าที่ให้ดี ถ้าทำงานอันหนึ่งแล้วหน้าที่ของเราเสีย นี่ไม่ถูก อย่างหลวงพ่อกว่าจะได้บวช อายุตั้ง ๔๘ ปี หลวงพ่อมีหน้าที่ หลวงพ่อต้องเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่อยู่ พ่อแม่บุญธรรม จริงๆ เป็นระดับปู่ย่า แต่เขาไม่มีลูก เขาขอหลวงพ่อไปเลี้ยงแต่เล็กๆ แม่แท้ๆ ของหลวงพ่อยังอยู่

    ทีนี้แม่บุญธรรมอายุ ๙๐ ปีตาย พ่อก็อายุประมาณเดียวกัน เราก็นึกทุกวันเลย ถ้าเขาตาย เราจะบวช แล้ววันหนึ่งก็นึกได้ มันเหมือนแช่งกลายๆ เลยไปชวนเขา “ไปอยู่วัดด้วยกันไหม” เขารู้ว่าเราอยากบวช เอาพ่อเข้ามาอยู่วัดด้วย มีความสุขมากเลย อยู่บ้านธรรมดามีเด็กมาช่วยทำงานที่บ้าน จ้างเขามา จะเหงา ไม่มีคนคุยด้วย มาอยู่วัด คนเรียงหน้ากระดานเข้าไปคุยด้วย ชอบมากเลย แกช่างคุย คุยๆๆ คุยเช้ายันเย็น พอตกเย็นจะเข้าบ้าน ลุกขึ้นมา ขามันไม่ได้ออกกำลังเลย พับลงไป สะโพกหัก เข้าโรงพยาบาล จะไปผ่า ก็ผ่าไม่ได้ เบาหวานขึ้น รอไปรอมา สำลักอาหาร ปอดอักเสบ ติดเชื้อ ตาย อยู่วัด (กับหลวงพ่อ) ได้เดือนเดียว แต่ว่าได้อยู่วัดแล้ว

    หลวงพ่อมีหน้าที่ เราทำหน้าที่ของเราเต็มที่แล้ว มาบวช เราไม่นึกกังวลทีหลัง อย่างที่นี่ก็มีพระองค์หนึ่ง ท่านทำมาหากิน เอาเงินไว้ให้พ่อให้แม่ จัดสรรให้ ก็มีเวลาให้ตัวเอง อย่างนี้ทำหน้าที่ได้ครบถ้วนอยู่ ฉะนั้นไปฝึกตัวเอง

    กถาวัตถุ : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
    วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๑ ไฟล์ 610318 ซีดีแผ่นที่ ๗๕
    :- https://www.dhamma.com/katavadu10/
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    กรรมฐานในยุควุ่นวาย :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 22 ม.ค. 2565

    Dhamma.com
    37,984 viewsStreamed live on Jan 21, 2022
    กรรมฐานในยุควุ่นวาย :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 22 ม.ค. 2565

    ยุคนี้คือยุควุ่นวายไม่ใช่ยุควิเวก เมื่อมันวุ่นวายเราก็ต้องดูกรรมฐานที่มันทำได้ เราไม่ต้องไปฝันหรอกเรื่องจะเข้าฌานได้ เราต้องมาดูอะไรที่เราทำได้ อะไรที่เรามี แล้วกรรมฐานแบบไหนที่เราทำได้ ทุกวันนี้สิ่งที่พวกเรามี คือเราสามารถใช้เหตุผลได้เยอะ คนแต่ก่อนจะศรัทธาสูง พอมีศรัทธามากก็มีวิริยะมาก พอศรัทธามากขยันนั่งสมาธิ เดินจงกรม ยุคเราไม่ค่อยศรัทธาแล้ว ศรัทธาเราจำกัดแล้ว สิ่งที่พวกเรามีคือการคิด ใช้เหตุใช้ผลมาก ฉะนั้นธรรมะที่เราจะยอมรับได้ เราต้องรู้เหตุรู้ผล กรรมฐานที่เหมาะกับพวกฟุ้งซ่าน พวกคิดมาก คือสังเกตจิตใจของเราไป ต้องอดทนเอา ดูความเปลี่ยนแปลงของจิต ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของจิต ดูได้ทั้งวันยิ่งดี ตั้งแต่ตื่นนอนแล้วดูไปเรื่อยๆ เลย เฝ้ารู้เฝ้าดูจนเราเห็นความจริง ความจริงของร่างกาย ความจริงของจิตใจ
    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    วัดสวนสันติธรรม
    22 มกราคม 2565

     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ต้องมีวิหารธรรม :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 12 ก.พ. 2565

    Dhamma.com
    20,987 views Feb 14, 2022
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    การรู้ทุกข์ คือเรื่องสำคัญที่สุด :: หลวงพ่อปราโมทย์ ๒๘ ต.ค. ๒๕๖๑ (ไฟล์ 611028 ซีดี ๗๘)

    Dhamma.com
    อวิชชา คือความไม่รู้อริยสัจ ๔ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้สมุทัย ไม่รู้นิโรธ ไม่รู้มรรค

    ถ้าเมื่อไรรู้ทุกข์ เมื่อนั้นละสมุทัย
    เมื่อไรละสมุทัย เมื่อนั้นแจ้งนิโรธ
    เมื่อไรแจ้งนิโรธ เมื่อนั้นเกิดอริยมรรค
    เพราะอย่างนั้น สำคัญอยู่ที่ตัวรู้ทุกข์ รู้ทุกข์ก็คือ รู้กายอย่างที่กายเป็น รู้ใจอย่างที่ใจเป็น อันนี้เรียกว่ารู้ทุกข์ นี่คือศาสตร์ของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ทุกองค์ ผ่านมาทางนี้ ไม่มีพระอรหันต์องค์ใดเลยที่ไม่รู้อริยสัจ ตราบใดที่ไม่รู้อริยสัจฯ ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ พระโสดาบัน พระสกาทาคามี พระอนาคามีก็ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจ ฉะนั้น การที่เราจะรู้ทุกข์ คือรู้กายอย่างที่กายเป็น รู้ใจอย่างที่ใจเป็น นี่เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดสำหรับชาวพุทธเรา ที่ต้องการความพ้นทุกข์สิ้นเชิง ถ้าต้องการไปเกิดในสวรรค์ ไปทำทาน ถือศีลก็พอแล้ว ไม่มีพระพุทธเจ้า ก็สามารถไปสวรรค์ได้ ไปพรหมโลกได้ ฤาษีก็ไปพรหมโลก แต่ไปนิพพานไม่ได้ ที่ไปนิพพานไม่ได้ ก็เพราะไม่มีจิตที่เป็นผู้รู้ แล้วก็เอาจิตที่เป็นผู้รู้แล้ว ไปเรียนรู้ความจริงของกายของใจ การเรียนรู้ความจริงของรูปนาม ขันธ์ ๕ เรียกว่ารู้ทุกข์ ถ้าเมื่อไรรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง ก็ละสมุทัย แจ้งนิโรธ เกิดอริยมรรคขึ้น นี่คือเส้นทางที่พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านเดินมา
    -- หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    วัดสวนสันติธรรม ศรีราชา วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๑
    ไฟล์ 611028 ซีดีแผ่นที่ ๗๘
    ติดตามข่าวสาร อ่านพระธรรมคำสอน และดาวน์โหลดไฟล์เสียง เว็บไซต์ทางการ: https://dhamma.com https://fb.com/dhammateachings https://instagram.com/dhammadotcom Line : @dhammadotcom

     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    พ้นทุกข์ด้วยอริยสัจ 4 :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 13 ก.พ. 2565

    Dhamma.com
    46,263 views Streamed live on Feb 12, 2022
    พ้นทุกข์ด้วยอริยสัจ 4 :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 13 ก.พ. 2565
    เวลาเราภาวนา ถ้าเราไม่มีสติ เราก็ต้องพัฒนาสติ ไม่มีสัมมาสมาธิ เราก็ต้องพัฒนาสัมมาสมาธิ หรือเราไม่มีทฤษฎีชี้นำที่ถูกต้อง เรียกว่าไม่มีสัมมาทิฏฐิ ก็ต้องศึกษา ศึกษาจากพระไตรปิฎกจากอะไร ให้ได้สัมมาทิฏฐิในเบื้องต้น เป็นทฤษฎีชี้นำว่าเราจะพ้นทุกข์ได้อย่างไร ฉะนั้นไม่ว่าเราจะแก้ปัญหาทางโลก หรือเราจะแก้ปัญหาทุกข์ทางจิตใจของเรา หลักมันก็ตรงกันนั่นล่ะ เพราะสัจจะความจริงก็ต้องเป็นความจริงในทุกที่ทุกเวลา ไม่ใช่เป็นความจริงเฉพาะในวัด ไปแก้ปัญหาชีวิตจริงทำไม่ได้ อันนั้นด้อยเกินไป ศาสนาพุทธไม่ได้ด้อยอย่างนั้น ที่หลวงพ่อสอนพวกเราซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็สอนอยู่ในเรื่องของอริยสัจนั่นเอง สอนพวกเราให้รู้ทุกข์

    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 13 กุมภาพันธ์ 2565

     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    [รีรัน] 19 มี.ค. 2565 ไลฟ์สดหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

    Dhamma.com
    19,462 views Mar 20, 2022
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค
    หลวงพ่อปราโมทย์ : เรียนหลักของการปฏิบัติให้แม่นๆนะ เราต้องทำด้วยตัวเอง ชาวพุทธเราไม่มีของฟรีหรอก ไม่มี ทุกอย่างอยู่ในเรื่องของกฎของกรรม ใครทำคนนั้นก็ได้ ไม่ทำก็ไม่ได้ ทำแบบไหนก็ได้แบบนั้น ทำชั่วก็ได้รับผลของความชั่ว ทำดีก็ได้รับผลของความดี รักษาศีลก็ได้รับผลของศีล ทำทานก็ได้รับผลของทาน ทำสมถะได้ความสุขได้ความสงบ ได้ความดี ทำวิปัสสนาได้ปัญญาเห็นความจริง เพราะฉะนั้นต้องทำให้ตรง

    เวลาที่มรรคผลจะเกิดนะ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้พร้อมนะ ท่านบอกกุศลทำให้ถึงพร้อม ไม่ใช่เจริญปัญญาอย่างเดียวแล้วจะบรรลุได้นะ ศีลก็ต้องรักษา สมาธิก็ต้องทำ เพราะฉะนั้นถ้าศีล สมาธิ ปัญญา ไม่พร้อม ไม่มีอริยมรรคเกิดขึ้น ถ้าจะทำก็ต้องทำเหตุ กับผล ให้ตรงกัน อยากได้ผลอย่างนี้ ต้องทำเหตุอย่างนี้

    อยากจะได้ศีล ให้ใจเรามีศีลจริงๆ ต้องมีเจตนางดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายทางวาจา ถ้าไม่มีเจตนางดเว้นก็ไม่ได้เรียกว่ามีศีล

    ยกตัวอย่างเด็กเล็กๆ เกิดใหม่ๆนะ เป็นชู้กับใครไม่ได้ บอกไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ใช่หรอกนะ มันไม่ประพฤติเพราะไม่มีความสามารถจะประพฤติ หรือแก่งั่กเลยนะ เดินยังไม่ไหวเลย กระย่องกระแย่งนะ มีชู้ไม่ไหว อะไรอย่างนี้ ก็ไม่ได้จัดว่าเป็นศีล

    มีศีลหมายถึงว่ามีเจตนาที่จะงดเว้นจริงๆ ถึงมีโอกาสทำก็ไม่ทำ ผลของศีลก็มีอยู่ ท่านก็สอนนะ สีเลนะ สุคติง ยันติ (สีเลน สุคตึ ยนฺติ) ศีลนั้นมีความสุขอยู่เบื้องหน้านะ สีเลนะ โภคะสัมปทา (สีเลน โภค สมฺปทา) มีโภคะ ถือศีลแล้วรวยได้ คนไม่มีศีลไม่รวยง่ายนะ ยกตัวอย่างกินเหล้า ติดยาเสพติด คบคนไม่ดี อะไรพวกนี้นะ หาเจริญยาก ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ลำบาก สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ) ศีลนี้เป็นปัจจัยไปสู่นิพพาน เนี่ย อานิสงส์ของศีลก็มี

    เราต้องรักษาศีล ถึงทำผิดได้ก็ไม่ทำนะ ถูกยั่วยวนอย่างไรก็ไม่ทำผิด อย่างนี้เรียกว่ามีศีล ถ้าเรามีศีลเราจะงดงามนะ มีความงามในตัวเอง มีความน่าเชื่อถือ มีเครดิต คนไม่มีศีลไม่มีเครดิต พอไม่มีเครดิต พอไม่ได้รับความเชื่อถือนะ โอกาสจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงอะไรนี้ ยาก

    เพราะฉะนั้นเราต้องมีเจตนางดเว้น การทำผิดทำบาป ทางกายทางวาจานะ ต้องเจตนางดเว้น ตั้งใจไว้เลย ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้านะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีล กลางวันก่อนจะกินข้าวนะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีลอีก ถ้าตั้งใจอย่างนี้เข้าไปในร้านอาหารบางแห่งไม่ได้ละ จะต้องไปเลือกเอาตัวนี้ๆ อะไรอย่างนี้นะ อย่างนี้ทำไม่ได้ละ ก่อนจะนอนนะ ตั้งใจไว้อีก จะไม่ทำผิดศีล จำเป็นยังไงก่อนจะนอนก็ต้องตั้งใจ เผื่อไม่ได้ตื่น เผื่อนอนหลับไปแล้วไม่ตื่นอีกเลย ไฟครอกตาย หรือเป็นโรคหัวใจวายตาย อย่างน้อยตอนก่อนจะตายได้รักษาศีลไว้แล้ว มีศีลเป็นเครื่องคุ้มครองเรา

    ลองตั้งใจรักษาศีลวันละ ๓ ครั้งนะ ก่อนอาหาร แถมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนอน ถ้าตั้งใจอย่างนี้นะ ใจเราจะเคล้าเคลียในธรรมะง่ายขึ้น มันจะมีกำลังนะ ทำให้เราไปสู่มรรคผลนิพพานได้ง่าย

    ถ้าทุศีลสักอย่างหนึ่ง อย่ามาอวดเรื่องสมาธิเลย ถ้าไม่มีศีลนะ สมาธิที่เคยมีก็จะเสื่อม จะเสื่อมเห็นๆเลยมีตัวอย่างให้เห็น แต่จะเห็นหรือไม่เห็นนั้น ก็สุดแต่ แต่ละคนจะเห็น

    ยกตัวอย่างพระเทวฑัต มีสมาธินะ เหาะได้ แปลงตัวได้ ปลอมตัวเป็นเด็กได้ ทำเป็นเบบี๋มาหลอกอชาติศัตรู แต่ว่าไม่ถือศีลนะ ในที่สุดสมาธิเสื่อม เคยเหาะได้นะ ในที่สุดต้องให้คนหามมาเฝ้าพระพุทธเจ้า

    พวกพระก็รีบมาส่งข่าวให้พระพุทธเจ้ารู้ว่า พระเทวฑัตกำลังเดินทางมาแล้ว กำลังจะมาเฝ้า เพื่อว่าจะมาขอขมาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามาไม่ถึงหรอก เทวฑัตนี้มาไม่ถึง บาปมาก มาไม่ถึง พวกพระก็คอยไปสืบนะ โอ้.. ตอนนี้มาถึงประตูเมืองแล้วพระเจ้าข้า… มาไม่ถึงหรอก… ตอนนี้มาถึงประตูวัดแล้วพระเจ้าข้า… ไม่ถึงหรอก…

    พอมาถึงประตูวัด ใกล้ๆวัดแล้วเนี่ย แกก็พักนะ กินน้ำกินท่า คล้ายๆล้างหน้าล้างตา เดินทางมาไกล ถูกดินดูดลงไปตรงนั้น ไม่ถึงจริงๆ

    เนี่ยทำไมไม่เหาะมา เหาะมาไม่ไหวแล้ว เหาะมาไม่ได้ ทำอะไรเก่งๆได้เหนือมนุษย์ธรรมดา ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว เพราะขาดศีลอันหนึ่ง สมาธิจะเสื่อม เพราะฉะนั้นพวกเรามีศีลไว้นะ คนที่มีศีลเนี่ย สมาธิเกิดง่าย ยกตัวอย่างนะ ถ้าใจเราไม่คิดฆ่าใคร ไม่คิดเบียดเบียนใครนะ ใจเราสงบง่าย ถ้าใจเราผิดศีลนะ คิดจะฆ่าเขา คิดจะทำลายเขา ใจไม่สงบๆ สมาธิก็เสื่อมสิ

    คิดจะลักเขา ขโมยเขานะ ไปขโมยมาแล้วอะไรอย่างนี้ ก็วุ่นวายใจ กลัวเขาจับได้ จิตใจมันวุ่นวาย สมาธิก็เสื่อมสิ เป็นชู้เขา กลัวเขาฆ่า เคยเห็นในการ์ตูนมั้ย ชอบไปแอบในตู้เสื้อผ้า หรือไปปีนหน้าต่างหนี อะไรอย่างนี้นะ มีความสุขมั้ย ไม่มีความสุขนะ จิตใจไม่มีความสุข ก็ไม่มีความสงบจริงหรอกนะ ฟุ้งซ่าน

    คนโกหกเขาก็ต้องจำเยอะ ใช่มั้ย คนโกหกเนี่ยนะ คิดอะไรไม่ค่อยเป็นแล้ว เพราะเอาเมมโมรี่นะไปใช้ในการจำข้อมูลเก่าๆที่ไปโกหกคนไว้ ใจก็ฟุ้งซ่านนะ โกหกคน พูดเท็จ ไม่สงบนะ กินเหล้าเมายา จิตใจไม่สงบ

    เพราะฉะนั้นศีลจำเป็นมากนะ ถ้ามีศีลนะ สมาธิเกิดง่าย มีสมาธิเกิดง่ายปัญญาก็เกิดง่าย เพราะฉะนั้นศีลนี้แหละเป็นปัจจัยให้ไปนิพพานได้ เพราะมันเกื้อกูลให้มีสมาธิ มีสมาธิเกื้อกูลให้เกิดปัญญา

    วั้นนี้ต้องเทศน์ปิดท้ายด้วยเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะพวกที่มาเรียนเข้าคอร์สวันนี้จะจบแล้ว เดี๋ยวจบไปแล้วก็รู้แต่เจริญสติไม่ต้องรักษาศีล ไปไม่รอดนะ ต้องมีให้ครบ ไม่งั้นอริยมรรคจะไม่เกิด

    ถ้าไปดูในองค์มรรคนะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ องค์มรรค ๓ ตัวนี่นะเรื่องศีลทั้งนั้นเลย สัมมาวาจาเนี่ยศีลข้อ ๔ สัมมากัมมันตะ(อยู่ใน)ศีลข้อ ๑,๒,๓ ต้องให้บอกมั้ย (ศีลข้อ)๑ ๒ ๓ คืออะไร ศีลข้อ ๑ ปาณาติบาต ทำร้ายสัตว์ ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ ข้อ ๒ ลักทรัพย์เค้า ฉ้อโกงเค้า ข้อ ๓ ประพฤติผิดในกาม สัมมาวาจาข้อ ๔ สัมมากัมมันตะข้อ ๑ ๒ ๓ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตของเรา ต้องเลี้ยงอย่างบริสุทธิ์นะ จนไม่เป็นไร ความจนไม่น่ารังเกียจ ความโกงน่ารังเกียจ เราอย่าปล่อยให้ค่านิยมเลวๆมันครอบงำเรา

    ทุกวันนี้เราถูกเสี้ยมสอนให้เลวหนักขึ้นๆ ให้เห็นความเลวเป็นเรื่องปกติ อย่างนักการเมืองบางคนมาสอนพวกเรานะ ว่าโกงไม่เป็นไร คอรัปชั่นไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน นี่สอนสิ่งที่เลวร้ายให้เรานะ เราต้องไม่เชื่อฟัง ชาว พุทธเราต้องสะอาดในการดำรงชีวิต ในการจะอยู่การจะทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างต้องสะอาดพอ ถ้ารู้สึกว่ายอมสกปรกได้ กิเลสมันล้างไม่ได้จริงหรอก ของหยาบๆยังล้างไม่ได้เลย การจะมีชีวิตอยู่ในโลกให้สะอาด ยังทำไม่ได้เลย จะทำใจให้สะอาดเนี่ยเป็นไปไม่ได้เลย

    งั้นเราต้องเลี้ยงชีวิตนะ จนไม่เป็นไรนะ อย่าไปอายกับความยากจน ให้อายกับความชั่วร้าย แล้วก็อย่าไปยกย่องคนชั่วร้ายที่ร่ำรวยด้วย มันช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวให้มากขึ้นๆนะ สังคมของเราทุกวันนี้ถึงร้อนเป็นฟืนเป็นไฟไปหมด ทุกหนทุกแห่งแล้ว เพราะว่าเราช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวๆนานาชนิดขึ้นมา เช่นใช้วิธีอะไรก็ได้เพื่อบรรลุผลสำเร็จ นี่เป็นค่านิยมที่เลวร้ายมากเลย ทุกวันนี้ดูสิบ้านเมืองจะเป็นยังไง มันเป็นอนาธิปไตยนะ อะไรก็ได้ขอให้สำเร็จเถอะ เนี่ยมันจะอยู่กันไม่ไหว

    เพราะงั้นเราต้องตั้งใจนะ รักษาศีลนะ รักษาศีล เลี้ยงชีวิตของเราให้บริสุทธิ์ นี่อยู่ในองค์มรรคทั้งสิ้นเลย

    ถัดไปเราฝึกเรื่องสมาธิ ในส่วนของเกี่ยวกับสมาธิเนี่ย มีองค์มรรคอยู่ ๓ ตัว ๓ ใช่มั้ย ๓ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวายามะเป็นยังไง สัมมาสติเป็นยังไง สัมมาสมาธิเป็นยังไง

    สัมมาวายามะคือความเพียรชอบ อะไรที่เรียกว่าความเพียรชอบ เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้เกิด เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด เพียรพัฒนากุศลที่เกิดแล้วนะให้มากยิ่งขึ้น นี่เรียกว่าสัมมาวายามะ

    หน้าที่เรามีนะ ไม่ใช่บอก ฉันจะรู้สึกตัวเฉยๆ รู้สึกตัวเฉยๆ แค่นั้นไม่พอนะ ต้องสำรวจตัวเองด้วย อกุศลอะไรยังไม่ละ กุศลอะไรยังไม่เจริญ สำรวจตัวเองไปเรื่อยๆ เพราะงั้นชีวิตเราจะมีทิศทาง ชีวิตเราจะมีเป้าหมาย ไม่ใช่อยู่ล่องๆลอยๆไปวันนึง หน้าที่เรานะสำรวจใจตัวเองไว้ ที่หลวงพ่อสอนให้ดูจิตๆนี่แหล่ะ จะมาทำสัมมาวายามะได้อย่างดีเลย งั้นเรารู้ทันจิตใจของเรานี่ อกุศลอะไรเกิดขึ้นให้รู้ทัน ถ้ารู้ทันแล้วมันจะละของมันเอง วิธีที่จะละอกุศลนะ ก็คือมีสติรู้ทันมัน อกุศลใดเกิดขึ้นในใจ เช่นราคะเกิดขึ้นรู้ทัน ราคะจะดับเอง โทสะเกิดขึ้นในใจมีสติรู้ทัน โทสะจะดับเอง

    เพราะงั้นที่บอกเพียรปิดกั้นอกุศล เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้มีขึ้นมา ไม่ให้ครอบงำใจขึ้นมาเนี่ย ทำด้วยการมีสติรู้ทันจิตนี่เอง ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตนะ อกุศลที่มีอยู่ก็จะดับ อกุศลใหม่จะเกิดไม่ได้เลย ในขณะที่มีสติ แต่ขณะขาดสติอกุศลเกิดได้อีก

    ทำยังไงกุศลจะเจริญ ทำยังไงกุศลที่ไม่มีจะมี ที่มีแล้วจะเจริญ

    มีสติไว้ สติเป็นต้นทางของกุศลนะ ถ้าขาดสติอย่างเดียวเนี่ย กุศลทั้งหลายจะไม่เกิดเลย องค์ธรรมฝ่ายกุศลจะไม่มีเลย ต้องมีสติเอาไว้ ถ้ามีสติรู้ทันจิตตัวเองเรื่อยๆ จิตมันมีกิเลสขึ้นมารู้ทันมันนะ มันละอายแก่ใจนะ มีหิริ มีโอตตัปปะขึ้นมา ละอายใจเกรงกลัวบาป เกรงกลัวผลของบาป ละอายใจที่จะทำบาป หิริคือความละอายใจที่จะทำชั่ว โอตตัปปะนะ(คือ)กลัวผลของการทำชั่ว

    เนี่ยถ้าเรามีสติคุ้มครองจิตอยู่ มีสติรู้ทันจิตอยู่ มันจะเกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมาเอง คนที่มีหิริโอตตัปปะนะจะมีศีลขึ้นมาโดยง่าย เพราะถ้ามันละอายใจที่จะทำชั่ว กลัวผลของบาปซะแล้ว มันจะทำผิดศีลไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันเป็นการทำชั่ว เป็นการทำบาป

    งั้นถ้าเรามีสตินะ มีหิริโอตตัปปะเกิดขึ้น ก็เกิดศีลขึ้นมา มีศีลแล้วก็เกิดสมาธิได้ง่าย ใจสงบง่าย มีสมาธิแล้วก็เกิดปัญญาง่าย พอใจสงบนะ ก็สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ง่าย มีปัญญาแล้ววิมุตติก็เกิดได้ง่าย มีโอกาสเกิดวิมุตติ คือใจปล่อยวางความยึดถือในรูปในนาม ในกายในใจ

    เพราะงั้นมันจะเป็นทอดๆไปนะ แล้วมีสติให้มากไว้ งั้นกุศลทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น ตัวอย่างของกุศลที่ว่ามา ก็คือหิริโอตตัปปะใช่มั้ย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ นี่เป็นส่วนของกุศลทั้งนั้นเลย มันจะค่อยๆพัฒนาขึ้นมา

    งั้นเรามีสติรักษาจิตไว้นะ นั่นแหล่ะคือการทำความเพียร เคยอ่านหนังสือนะ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า เมื่อไรมีสติ เมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อไรขาดสติ เมื่อนั้นขาดความเพียร นี่ท่านสอนถูกกับตำราเป๊ะเลยนะ ทั้งๆที่ท่านภาวนา แต่ความจริงท่านอ่านอภิธรรมนะ หลวงปู่มั่นนี่ท่านอ่านอภิธรรมด้วย ลองไปดูหนังสือที่ท่านอ่าน มีอภิธรรมอยู่ งั้นท่านสอนถูกทั้งปริยัติทั้งปฏิบัติ สอนเก่ง

    งั้นเราจะมีสัมมาวายามะได้นะ อาศัยมีสติรู้ทันจิตนี่ แล้วอะไรคือสัมมาสติ มีสติรู้ทันจิตเป็นสัมมาสติทั้งหมดมั้ย ไม่ใช่ทั้งหมด พระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสติ ด้วยสติปัฏฐาน ๔ งั้นหน้าที่ของเราเจริญสติปัฏฐานนะ ไม่ใช่มีสติแล้วก็ลอยๆอยู่เฉยๆ

    การเจริญสติปัฏฐานนั้น มี ๒ ขั้นตอน เรียนทันมั้ยเนี่ย มันคล้ายๆ intensive course แล้ว วันสุดท้ายแล้ว เรียนยากหน่อยนะ สติปัฏฐานเนี่ยนะมี ๒ ขั้นตอนนะ ขั้นตอนที่ ๑ ทำไปเพื่อให้เกิดสติ ขั้นตอนที่ ๒ ทำไปเพื่อให้เกิดปัญญามี ๒ ส่วนนะ ไม่เหมือนกัน

    การทำให้เกิดสติใช้การตามรู้กาย ตามรู้เวทนา ตามรู้จิต ตามรู้สภาวะธรรม ใช้ตามรู้ทั้งหมดเลย เพราะงั้นท่านถึงใช้คำว่า “กายานุปัสสนา” “ปัสสนา”คือ การเห็น การรู้การเห็น จริงๆแปลว่าการเห็น “อนุ” แปลว่าตาม ตามเห็นเนืองๆซึ่งกาย ตามเห็นเนืองๆซึ่งเวทนา ตามเห็นเนืองๆซึ่งจิต ตามเห็นเนืองๆซึ่งธรรม เนี่ยพระพุทธเจ้าใช้คำว่าตามเห็นเนืองๆ แต่ตาม เห็นเนี่ย ต้องตามด้วยใจที่ตั้งมั่นนะ ใจที่ตั้งมั่น ไม่ใช่ใจที่ไหลไป ใจที่ตั้งมั่นจะไปได้ตอนฝึกสัมมาสมาธิ นี้ให้มีสัมมาสติ สัมมาสติคอยมีสติ

    เบื้องต้นมีสติตามรู้กาย หายใจออกคอยรู้สึก หายใจเข้าคอยรู้สึก ยืนเดินนั่งนอน คู้เหยียด เหลียวซ้ายแลขวา คอยรู้สึก รู้สึกบ่อยๆนะ ต่อไปเนี่ย ไม่เจตนาจะรู้ มันก็รู้เอง พอร่างกายเคลื่อนไหวนะ สติจะระลึกได้เอง เนี่ยเรียกว่าเราฝึกได้สติแล้ว สติเกิดโดยที่ไม่ต้องเจตนาให้เกิด หรือบางคนตามรู้เวทนา คำ ว่าตามรู้ไม่ใช่ตามไปที่อื่นนะ ตามรู้หมายถึงว่า ร่างกายเคลื่อนไหว แล้วรู้ว่าร่างกายเคลื่อนไหว เวทนาเกิดขึ้นในกาย ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในกาย เวทนาเกิดในใจ ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในใจ หมายถึงเวทนาเกิดก่อน แล้วรู้ว่ามันเกิด ร่างกายเคลื่อนไหวไปก่อน แล้วรู้ว่าเคลื่อนไหว

    เพราะฉะนั้นในการเดินจงกรมแบบนี้ ถูกหรือผิดหลัก? (หลวงพ่อทำให้ดู) เนี่ยแล้วค่อยๆเดินไป อันนี้เป็นการไปจ้องไว้ ไม่ใช่การตามรู้นะ ถ้าตามรู้ ไม่ทันจะระวังตัวเลย เป็นธรรมชาติธรรมดา เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติ หายใจ มันหายใจอยู่แล้วใช่มัั้ย ตอนนี้ทุกคนหายใจอยู่มั้ย มีใครไม่หายใจมาบ้าง ทุกคนหายใจอยู่แล้ว ก็แค่รู้ว่ากำลังหายใจอยู่ รู้ว่าร่างกายกำลังหายใจอยู่ แค่นี้เอง ไม่ใช่เอาแล้วต่อไปนี้จะรู้ลมหายใจแล้ว (หลวงพ่อทำให้ดู) นี่ไม่ใช่แล้วนะ นี่ไม่ใช่การตามรู้แล้

    ตามรู้เนี่ย มันมีอยู่แล้ว เรารู้ไม่ทันต่างหาก ก็รู้ให้ทันขึ้นมา หายใจอยู่แล้วใช่มั้ย ยืนเดินนั่งนอนอยู่แล้วใช่มั้ย ขณะนี้ใครไม่ยืนเดินนั่งนอน มีมั้ย ใครไม่อยู่ในอิริยาบทนี้ ไม่มี ตอนนี้กำลังนั่ง นี่มีเดินอยู่หนึ่ง นอกนั้นกำลังนั่ง มันมีอยู่แล้วนะ เราก็แค่รู้เข้าไปเท่านั้น อันนี้แหล่ะเรียกว่าตามรู้ เวทนามันก็มีอยู่แล้ว แต่ไม่เห็น ก็แค่ตามรู้เข้าไป คือรู้มันขึ้นมานะ

    กุศลอกุศลในจิตมีอยู่มั้ยขณะนี้ มีมั้ย ความสงบ ความฟุ้งซ่าน ความดีใจ ความเสียใจ ความสุข ความสุขความทุกข์นี่ส่วนเวทนา โลภโกรธหลง ไม่โลภไม่โกรธไม่หลง ขณะนี้มีใครโลภบ้าง ขณะนี้มีใครไม่โลภบ้าง เนี่ยเหมือนกันหมดเลย non response เห็นมั้ยมันมีอยู่แล้ว จิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลเนี่ย มีอยู่แล้วในขณะนี้นะ ตามรู้คืออะไร รู้เข้าไปเลยสิ มันเป็นยังไง ขณะนี้มันเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างงั้น อันนี้แหล่ะคือคำว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ ดูบ่อยๆ รู้บ่อยๆ มันมีอยู่แล้ว แต่เราไม่เคยเห็น ก็คอยดูมันนะ คอยรู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้นะ แต่การรู้เนี่ยจะต้องใจตั้งมั่น ถ้ารู้ตามจิตไหลไปนะ ปัญญาจะไม่เกิด เดี๋ยวจะไปเรียนเรื่องมรรคตัวสุดท้าย คือสมาธิ

    งั้นหน้าที่เรานะ ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก มันเคลื่อนไหวอยู่แล้ว เวทนาเกิดขึ้นในกาย คอยรู้สึก เวทนาในกายมีอยู่แล้ว เวทนาในจิตเกิดขึ้น คอยรู้สึก เวทนาในจิตก็มีอยู่แล้ว แค่คอยรู้สึกขึ้นมา กุศล-อกุศลเกิดขึ้นในจิต ก็แค่คอยรู้ มันมีอยู่แล้ว นี่เรียกว่าตามรู้ทั้งสิ้นเลย เพราะงั้นการตามรู้ไม่ใช่ ส่งจิตตามไปที่อื่นนะ รู้อยู่เฉพาะหน้า รู้อยู่กับปัจจุบัน แต่ว่าสภาวะมันมีอยู่แล้ว ก็รู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ นี่ทำให้เกิดสตินะ

    พอรู้บ่อยๆ จิตจะจำสภาวะได้แม่น อย่างเราหัดขยับตัวแล้วรู้สึก ขยับตัวแล้วรู้สึก วันนึงเราใจลอย พอใจลอยปุ๊บ เราเกิดขยับขึ้นมาโดยไม่ได้เจตนาจะรู้สึกนะ มันจะรู้สึกขึ้นเอง สติตัวจริงเกิดแล้ว เกิดโดยไม่เจตนานะ ไม่เจือด้วยโลภะ แล้วค่อยฝึกไปเรื่อยนะ บางคนดูเวทนา ดูบ่อยๆ ต่อไปพอนั่งๆอยู่ มดมากัดเจ็บปั๊บ สติเกิดเลย เห็นเวทนาเกิดขึ้นในกาย กายอยู่ส่วนนึง เวทนาอยู่ส่วนนึง จิตเป็นคนดู นี่เกิดสติขึ้นมา ใจตั้งมั่น รู้สึกขึ้นมา หรือเห็นกุศลอกุศลนะ หัดดูไปเรื่อย กุศลอกุศลใดๆเกิดขึ้นในใจ คอยหัดดูไปเรื่อย ที่หัดดูจิตๆ หัดดูไปอย่างนั้นแหล่ะ ในที่สุดก็ได้สติขึ้นมา รู้สึกขึ้นมา กิเลสเกิดแว้บ รู้สึกเลย อย่าว่าแต่ตอนตื่นเลย ตอนนอนหลับนะ กิเลสเกิดยังรู้สึกเลยอัตโนมัติขึ้นมา

    นี่เราฝึกไปจนสติมันอัตโนมัตินะ ถึงจะใช้ได้ ถ้าสติยังต้องจงใจให้คอยเกิดอยู่ ยังอ่อนอยู่ ต้องฝึกไปอีก หัดรู้สภาวะมากๆนะ สติจะเกิด

    สติปัฏฐานเนี่ย เบื้องต้นทำให้มีสติ เบื้องปลายจะมีปัญญา

    แต่ก่อนจะเกิดปัญญา ต้องมาเรียนสัมมาสมาธิก่อน สัมมาสมาธิพระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ ทำไมเอาแค่ฌาน ๔ แล้วอรูปฌานอีก ๔ หายไปไหน อรูปฌาน ๔ นั้นสงเคราะห์เข้าในฌานที่ ๔ เพราะมีองค์ธรรมเท่ากัน มีอุเบกขากับเอกัคคตา เป็นองค์ธรรมหลักคืออุเบกขากับเอกัคคตา งั้นสรุปก็คือฌาน ๘ นั่นเอง

    แต่ถ้าพูดอย่างปริยัติ ท่านอธิบายด้วยฌาน ๔ ทำไมต้องเป็นฌาน ถ้าไม่เข้าฌาน ไม่เป็นสัมมาสมาธิรึ ท่าน อธิบายฌาน ๔ สัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ เนี่ย เพราะท่านพูดถึงสัมมาสมาธิแท้ๆ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดขณะเดียว ในขณะที่เกิดอริยมรรค เกิดขณะจิตเดียวนั่นแหล่ะ

    เพราะงั้นที่บอกว่าองค์มรรคๆ ๘ ตัวนี่นะ ไม่ได้เกิดรายวัน แต่องค์มรรคแท้ๆเนี่ย เกิดในขณะที่เกิดอริยมรรค เพราะงั้นขณะที่พวกเรามีสติอยู่ทุกวันเนี่ย บางคนก็บอกเป็นสัมมาสติ อันนั้นเรียกเอาหน้าเท่านั้นเอง จริงๆไม่เป็น ที่บอกเรามีสัมมาสมาธิอยู่ มีใจตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว นี่เรียกโดยอนุโลม จริงๆยังไม่ใช่สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดตอนที่เกิดอริยมรรค

    แล้วขณะที่เกิดอริยมรรคนั้น จะต้องเกิดร่วมกับองค์ฌานอันใดอันหนึ่ง ต้องเกิดกับฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง อย่างน้อยปฐมฌานจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ จนถึงฌานที่ ๔ บางคนลึกซึ้งลงไปกว่านั้นอีก ในฌานที่ ๔ นั้นรูปหายไป เหลือแต่นามธรรมล้วนๆ เข้าไปอรูปฌาน

    งั้นท่านอธิบายตัวสัมมาสมาธิเนี่ย ท่านถึงไปอธิบายด้วยฌาน แต่ใน ขั้นการปฏิบัติเนี่ย ขั้นบุพภาคมรรค ขั้นเบื้องต้นของมรรค มรรคเบื้องต้น ยังไม่ใช่อริยมรรคเนี่ย ไม่จำเป็น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดอัปปนาสมาธิ ถ้าเราไม่มีอัปปนาสมาธิ ทำอัปปนาสมาธิไม่ได้ เราใช้ขณิกสมาธินี่แหล่ะ สมาธิเป็นขณะๆคอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน รู้บ่อยๆนะ มันจะได้สมาธิเป็นขณะๆ เพราะในขณะที่รู้ทันว่าฟุ้งซ่านจะไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ขณะนั้นแหล่ะมีสมาธิ นั่นได้เป็นขณะๆไป

    งั้นบางทีหลวงพ่อบอกพวกเรานะ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปนั่นคืออะไร คือจิตฟุ้งซ่านนั่นเอง เพราะงั้นจิตฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ทัน จิตฟุ้งซ่านไปรู้ทัน ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา ใจมันจะอยู่กับเนื้อกับตัว งั้นสัมมาสมาธิในขั้นของการปฏิบัติ กับในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย คนละอย่างกันนะ ในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย จิตเข้าอัปปนาสมาธิแล้วก็ไปตัดกิเลส ตัดสังโยชน์กันในองค์มรรค ในขณะที่ทรงฌาน ส่วนสัมมาสมาธิในขณะที่ใช้ชีวิตธรรมดาเนี่ย จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว

    ทำอัปปนาสมาธิได้มั้ย ทำได้ แต่ทำเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่ทำเพื่อให้เกิดอริยมรรค ทำเพื่อพักผ่อนเท่านั้นอัปปนาสมาธิ แต่บางคนชำนาญในการดูจิตจริงๆ เมื่อเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ยังดูจิตต่อได้อีก อันนี้พวกที่ชำนาญในการดูจิตด้วยชำนาญในฌานด้วย ซึ่งหายากนะ มีไม่กี่คนหรอก ส่วนใหญ่ทำไม่ได้

    เราใช้ขณิกสมาธิอยู่เป็นขณะๆนี้ ใจลอยไปแล้วรู้ ใจฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ ใจฟุ้งไปแล้วรู้ รู้อย่างนี้เรื่อยนะ ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา สมาธิชนิดนี้คือความตั้งมั่น คือพูดภาษาไทยง่ายๆนะ คือจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมเนื้อลืมตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ

    ถัดจากนั้นเรามาเดินสติปัฏฐานที่ให้เกิดปัญญา พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว สติระลึกรู้ลงในรูปธรรมนะ จะเห็นรูปธรรมไม่ใช่ตัวเรา สติระลึกรู้ลงในเวทนา จะเห็นว่าเวทนาไม่ใช่ตัวเรา ในขณะที่ใจเราตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นผู้รู้ผู้ดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูนี่แหละ เรียกว่ามีสมาธิล่ะ แล้วก็สติเกิดระลึกรู้ เห็นเวทนาทางใจ ก็จะเห็นว่าเวทนาทางใจไม่ใช่เรา สติระลึกรู้เห็นกุศลเห็นอกุศล จะเห็นว่ากุศลและอกุศลไม่ใช่เรา

    ทีนี้ตัวผู้รู้เนี่ย มันจะรู้สึกเหมือนกับทรงอยู่ แต่ถ้าทำแค่ขณิกสมาธิเนี่ย ตัวผู้รู้จะไม่อยู่นาน ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้หลงไปเลย ไม่รู้คิดเรื่องอะไร ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง ตัวผู้รู้เองก็เกิดดับ จิตนี้เองเกิดดับ ไม่เที่ยงด้วย ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์เท่าๆกับขันธ์อื่นๆนั่นเอง เนี่ยการเดินปัญญาทำอย่างนี้นะ รู้ลงไปในกาย มีสติระลึกรู้กายที่กำลังปรากฏอยู่ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว เนี่ยคือจิตที่มีสมาธิได้มาด้วยการทำฌาณก็ได้นะ ได้มาด้วยการรู้ทันจิตที่ไหลไปๆ แล้วรู้บ่อยๆ เนี่ย มันจะตั้งมั่นขึ้นเอง พวกเราใจไหลไปแล้วรู้ ไหลแล้วรู้เนี่ย ใจมันจะมาอยู่กับเนื้อกับตัว

    พอใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วมันจะรู้สึกขึ้นมานะว่า ร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว ใช้คำว่าร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา

    ดูกายเนี่ยจะดูลงปัจจุบันขณะนะ ดูลงขณะปัจจุบันนี้เลย เนี่ยๆ กำลังเคลื่อนอยู่เนี่ย เรารู้ได้มั้ย รู้ได้ เพราะจิตมันเป็นคนไปรู้กาย แต่ว่าการดูจิตเนี่ยจะไม่ดูลงปัจจุบันขณะ การดูจิตจะดูด้วยลักษณะที่เรียกว่า ดูปัจจุบันสันตติ ไม่เหมือนกันนะ ปัจจุบันขณะก็คือสิ่งที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตานี้เอง ปัจจุบันสันตติคือสิ่งที่เนื่องอยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันเป๊ะๆไม่ได้ เพราะจิตนั้นรู้อารมณ์ได้ครั้งละอย่างเดียว อย่างร่างกายเคลื่อนไหวเนี่ย จิตดูลงปัจจุบันได้ เพราะจิตมารู้กาย แต่จิตจะไปรู้จิตเนี่ยไม่ได้ จิตจะไปรู้จิตในขณะ ขณะนั้นนะ ในขณะที่เดินปฏิบัติปกติเนี่ยไม่ได้ แต่ในขณะที่เกิดอริยมรรคได้นะ คนละอันกันนะ คนละเรื่อง ที่ท่านว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรคนั้น ท่านพูดถึงอริยมรรคเลย เฮ้อ เหนื่อย เทศน์มันยากมากเลย มัน intensive course

    เพราะงั้นดูกายเนี่ยนะ ดูมันลงปัจจุบัน ดูจิตนั้น ดูมันเนื่องกับปัจจุบัน เช่น มันโกรธ พอมันโกรธปุ๊บ สติรู้ว่าโกรธ ในขณะที่จิตมีสติรู้ว่าโกรธเนี่ย ความโกรธนั้นเป็นอดีตไปแล้ว ความรู้ รู้ว่าเมื่อกี้โกรธนั้นเป็นปัจจุบัน ความโลภเกิดขึ้น ความโลภเป็นปัจจุบัน สติรู้ว่าเมื่อกี้โลภ โลภเป็นอดีตละ จิตที่มีสตินี้เป็นปัจจุบัน

    จิตที่มีสติมันเกิดตามหลังจิตที่มีกิเลสนะ เพราะงั้นตรงที่มีกิเลสเนี่ย ดูไม่ได้ เพราะในขณะที่กิเลสเกิดเนี่ย สติไม่มี ในขณะที่มีสติน่ะไม่มีกิเลส เพราะงั้นการที่เราเห็นว่าจิตมีกิเลสน่ะ เราเห็นตามหลังทั้งสิ้น เพราะ ฉะนั้นการดูจิตนี่นะ จะตาม แต่ตามแบบติดๆนะ เมื่อวานโกรธวันนี้รู้ไม่เรียกว่าปัจจุบันสันตตินะ เพราะว่าห่างไกลมาก นั่นเป็นอดีตสันตติแล้วไม่ใช่ปัจจุบันละ

    เพราะงั้นการดูจิตนะ ดูแบบติดๆ เลย โกรธขึ้นมาก่อน รู้ว่าโกรธ นี่เห็นหางความโกรธๆไหวๆ หายแว้บไปต่อหน้าต่อตา นี่ เห็นหางเท่านั้นนะ ไม่เห็นตัวมันหรอก งั้นดูอย่างนี้นะ ดูไปเรื่อย แต่จิตต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู ตัวนี้แหละคือตัวสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู สติระลึกรู้กายลงเป็นปัจจุบัน สติตามรู้จิตที่ดับไปสดๆร้อนๆ นะ

    เนี่ยในขณะที่เดินมรรคเขาเดินกันอย่างนี้ ในขณะที่เกิดอริยมรรคเป็นอีกแบบนึง คนละเรื่องกัน อย่าไปปนกัน

    พอเราเจริญมากๆนะ จะได้อะไร จะได้ตัวของปัญญา ปัญญา คือสัมมาทิฐิ คือสัมมาสังกัปปะ

    สัมมาทิฐิคือความเห็นแจ้งในอริยสัจจ์ รู้ว่าตัวตนไม่มีหรอก ตัวตนมีแต่ทุกข์ ขันธ์มีแต่ตัวทุกข์ ขันธ์ไม่ใช่ตัวตน พอมีอย่างนี้นะใจมันก็ดำริออกจากกาม ดำริออกจากพยาบาท ดำริออกจากการเบียดเบียน ก็ตัวเราไม่มีจะมีกามไปทำไม จะพยาบาททำไม จะเบียดเบียนยังไง ใจก็พ้นจากกิเลส พ้นจากทุกข์ พ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างไป

    วันนี้เทศน์เรื่องมรรคให้ฟังนะ มรรคมีหนึ่งนะ แต่มีองค์แปด แต่ไม่ได้มีแปดมรรคนะ ถ้าแปดมรรคเรียกมักมาก มรรคมีหนึ่งเท่านั้นแต่มีองค์แปด คล้ายๆ แมงมุมมีหนึ่งตัวแต่มีแปดขา หักออกขานึงก็พิการละ ใช้ไม่ได้ อริยมรรคจะไม่เกิดนะ ถ้าขนาดส่วนใดส่วนหนึ่ง

    เพราะฉะนั้นส่วนแรกเลยที่ต้องรักษาคือศีล จำไว้นะ ตั้งใจ แล้วพยายามดำรงชีวิตอย่างสุจริต พยายามฝึกจิตฝึกใจไปเรื่อย คอยรู้ทันจิตไป กิเลสเกิดรู้ทัน อย่าให้มันครอบงำ รู้ทันกิเลสได้บ่อยๆ ใจก็มีกุศลมากขึ้นๆ แล้วก็หัดรู้สภาวะของรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย จนกระทั่งสติมันเกิด แล้วก็ฝึกจิตไป จิตไหลไปแล้วรู้ๆ สมาธิก็เกิด ในที่สุดก็มีสมาธิ มีสติรู้รูปรู้นามตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางคือจิตมีสมาธิ เมื่อมีสติรู้รูปรู้นามรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากพอ ปัญญาจะเกิด จะเห็นแจ้งว่ารูปธรรมนามธรรมไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่ตัวทุกข์ล้วนๆ ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ล้วนๆ พอปล่อยวางได้นะ คุณงามความดีทั้งหลายเนี่ยสมบูรณ์แบบหมดเลย ความสุขอันมหาศาลจะเกิดขึ้น
    :- https://sites.google.com/site/dhammajak2500/luangphor-pramothe
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    หลักในการฝึกจิตใจ :: หลวงพ่อปราโมทย์ 17 มี.ค. 2562 (ไฟล์ 620317A ซีดี 81)

    Dhamma.com
    63,788 views Apr 27, 2019
    งานหลัก คือ วิปัสสนา งานทำสมถะ เป็นงานสนับสนุน ทำให้มีกำลังที่จะทำวิปัสสนา วิปัสสนา ทำเพื่อให้เกิดความรู้ถูก ความเข้าใจถูก ในร่างกายจิตใจว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้ารู้ถูก เข้าใจถูกแล้ว จิตจะเบื่อหน่าย คลายความยึดถือ แล้วจิตก็จะหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นจากรูปธรรม นามธรรม หลุดพ้นจากความยึดถือในกาย ในใจแล้ว ความทุกข์จะไม่มาสู่ใจเราอีก เพราะความทุกข์คือกาย ความทุกข์คือใจ

    -- หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม วันที่ 17 มีนาคม 2562
    ไฟล์ 620317A ซีดีแผ่นที่ 81
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    นิโรธ 5 :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 3 เม.ย. 2565

    Dhamma.com
    50,379 views Streamed live on Apr 2, 2022

    นิโรธ 5 :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 3 เม.ย. 2565

    ความดับทุกข์เขาเรียกตัวนิโรธ มี 5 ระดับ เป็นความดับด้วยสมถกรรมฐาน ดับด้วยวิปัสสนากรรมฐาน ดับด้วยอริยมรรค ดับด้วยอริยผล แล้วก็นิพพาน สมถกรรมฐานดับตัวนิวรณ์ นิวรณ์เป็นตัวกั้นความเจริญทางจิตใจของเรา จิตมันทรงสมาธิขึ้นมา ก็ข่มนิวรณ์ไว้ชั่วคราว วิปัสสนาต้องเห็นไตรลักษณ์ เราเห็นไตรลักษณ์ของรูปของนามไปอย่างนี้ มันก็จะดับความเห็นผิด วิปัสสนามันสร้างให้เกิดตัวปัญญา พอเราเจริญวิปัสสนามากๆ ในที่สุดจิตมีกำลังขึ้นมา เกิดอริยมรรคขึ้นมา มันเกิดเองเมื่อศีล สมาธิ ปัญญาของเราสมบูรณ์ อริยมรรคมันขึ้นมาเพื่อดับกิเลส ถ้าล้างด้วยอริยมรรคจะล้างเด็ดขาด ไม่กลับมาอีกแล้วกิเลสตัวนั้น ละสังโยชน์ 3 ตัว สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ตัวที่สี่คืออริยผล อริยผลไม่มีการดับอะไรแล้ว มันดับที่ตัวมรรค อันนี้ตรงที่ดับคือการไม่เกิดขึ้น ไม่ใช่ว่ามันมีขึ้นมาแล้วไปดับมัน มันไม่มีงานอะไรต้องทำ แล้วนิโรธตัวที่ห้าจริงๆ คือนิพพาน จิตที่เราเข้าไปสัมผัส เข้าไปทรงพระนิพพาน มันดับ มันดับความไม่รู้ ความไม่เข้าใจอริยสัจ คือดับอวิชชา ดับตัณหา ดับอุปาทาน ดับภพ ดับชาติ ดับทุกข์ไป สิ่งเหล่านี้เดี๋ยวพวกเราก็เจอ ตอนนี้เรียน 2 ตัวแรกให้แตกฉาน
    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 3 เมษายน 2565
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม ณ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ ... 30 มิ.ย. 2557

    Dhamma.com
    54,227 views Jul 24, 2014
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ภาวนาตั้งแต่ตื่นจนหลับ :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 15 ม.ค. 2565

    Dhamma.com
    96,869 views Streamed live on Jan 14, 2022
    ภาวนาตั้งแต่ตื่นจนหลับ :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 15 ม.ค. 2565

    - ถ้าเราแทรกการปฏิบัติเข้าไปในการดำรงชีวิตได้ การภาวนาของเราเยอะแยะเลยวันๆ หนึ่ง คำว่าไม่มีเวลาภาวนาจะไม่มีหรอก หลวงปู่ดูลย์ท่านเคยบอก “ถ้ามีเวลาหายใจ ก็มีเวลาปฏิบัติ” ถ้าไม่ได้หายใจแล้ว ตายไปแล้วก็ไม่ได้ปฏิบัติ ที่บอกว่าไม่มีเวลาปฏิบัตินั่นมันข้ออ้าง ถ้าเรารวมการปฏิบัติเข้ากับการใช้ชีวิตจริงได้ เรามีเวลาตลอดเลย ตั้งแต่ตื่นนอนภาวนาไปเรื่อย จนกลับมาบ้าน นั่งสมาธิ เดินจงกรม อย่าเอาแต่หลงโลก ถึงเวลานอนก็นอนอยู่ในสมาธิ หายใจเข้าพุธ หายใจออกโธอะไรก็ได้ ดูร่างกายมันนอน ดูร่างกายมันหายใจ ใจเราเป็นคนดูสบายๆ ไปเรื่อยๆ ฝึกตัวเองทุกวันๆ จนมันชำนิชำนาญ สติเมื่อชำนาญอัตโนมัติ สมาธิก็ชำนาญ จะใช้สมาธิเพื่อกิจการอะไรก็ใช้ได้ รู้สึกอย่างนี้เรื่อยๆ เราจะไม่บ่นหรอกว่าเราไม่มีเวลาภาวนา พวกที่บ่นว่าไม่มีเวลาภาวนาคือพวกไม่ภาวนา
    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 15 มกราคม 2565
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ศีล สมาธิ ปัญญาอัตโนมัติ :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 27 มี.ค. 2565

    Dhamma.com
    47,547 views Streamed live on Mar 26, 2022
    ศีล สมาธิ ปัญญาอัตโนมัติ :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 27 มี.ค. 2565

    การที่เรามีสติแล้วรู้ แล้วรู้สภาวะไปเรื่อยๆ สติก็จะแหลมคมขึ้น สมาธิที่ถูกต้องก็จะดีขึ้น ปัญญาก็จะเกิดขึ้น สุดท้ายศีล สมาธิ ปัญญา จะประชุมลงในขณะจิตเดียวกัน มันรวมลงในที่เดียวกันได้ ในขณะเดียวกันได้ ด้วยวิธีที่หลวงพ่อบอกนั่นล่ะ รู้สภาวะ การที่เรารู้สภาวะ ศีลมันเกิดอัตโนมัติแล้ว ความตั้งมั่นเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติแล้ว ทำซ้ำๆ ต่อไปปัญญาอัตโนมัติมันก็เกิด จะเห็นทุกสิ่งที่เกิดดับทั้งสิ้น สิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ ถ้าเหตุดับ สิ่งนั้นก็ดับ อันนี้เห็นอนัตตา เห็นอนิจจัง ตรงนี้เราได้เดินปัญญาอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการที่เรามีสติ ภาวนาไปเรื่อยๆ ศีล สมาธิ ปัญญา มันจะสมบูรณ์ในขณะเดียวกันๆ พร้อมๆ กัน ตรงที่ศีล สมาธิ ปัญญาอัตโนมัติเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ถ้าบุญบารมีมากพอ สะสมมามากพอ อริยมรรคจะเกิดขึ้น เพราะในอริยมรรคมีศีลอัตโนมัติ สมาธิอัตโนมัติ ปัญญาอัตโนมัติอยู่ มันเกิดพร้อมกันในขณะจิตเดียวกัน เพราะฉะนั้นฝึกทุกวันๆ ต้องทำให้ต่อเนื่อง จิตจะได้ทรงสมาธิที่ดีขึ้นมา สามารถเดินปัญญาได้ สุดท้ายศีล สมาธิ ปัญญาก็ประชุมลงที่จิตดวงเดียว ในขณะจิตเดียว มันคือขณะแห่งอริยมรรค
    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 27 มีนาคม 2565
     
  21. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    [รีรัน] 15 พ.ค. 2565 ไลฟ์สดหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

    Dhamma.com
    38,770 views Streamed live on May 14, 2022
     
  22. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    "ภพก็คือความดิ้นรนปรุงแต่งของจิต พอจิตมันดิ้นรนปรุงแต่ง จิตก็จะหยิบฉวยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจขึ้นมา ก็เกิดชาติ เกิดทุกข์ขึ้นมา ท่านเริ่มดู สาวไปเรื่อย ๆ ทำไมมีทุกข์ มีทุกข์เพราะมันเกิดขึ้นมา ทำไมมันเกิดขึ้นมา เพราะว่ามันมีภพ ภพคือที่เกิดของจิต ก็คือความดิ้นรน ความปรุงแต่งของจิตนั่นล่ะ ที่จริงภพมี 2 อัน มีอุปัตติภพกับกรรมภพ อุปัตติภพ ก็คือภพใหญ่ ๆ เรียกว่าภพใหญ่ อย่างพวกเรานี้มีอุปัตติภพ ภพโดยการเกิดเป็นมนุษย์ แต่กรรมภพของเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวใจของเราก็เป็นมนุษย์ มีศีลมีธรรม เดี๋ยวใจของเราก็เป็นเทวดา มีคุณงามความดี เดี๋ยวใจเราสงบมากก็เป็นพรหม เดี๋ยวใจเราก็โลภมาก เราก็เป็นเปรต เราเวียนว่ายตายเกิดในภพสั้น ๆ โบราณเรียกว่าภพน้อย มีภพน้อยภพใหญ่ ภพใหญ่ก็คือภพที่อาศัยการเกิดจริง ๆ อุปัตติภพ ภพย่อย ๆ คือภพน้อย วันหนึ่งมีตั้งไม่รู้กี่ร้อยกี่พันภพหมุนอยู่ในใจเรา เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ ตอนที่ทุกข์ จมอยู่ในความทุกข์ เราก็ตกเป็นสัตว์นรกอยู่ บางทีก็เป็นเปรต เป็นอสุรกาย บางทีก็เผลอ ๆ เพลิน ๆ เราก็ไปเป็นเดรัจฉาน กายเราเป็นมนุษย์แต่ใจเราเป็นเดรัจฉาน ภพมันมี 2 อัน"
    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม
    15 พฤษภาคม 2565
     
  23. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    กฎของการดูจิต 3 ข้อ :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 24 เม.ย. 2565

    Dhamma.com
    37,728 views Streamed live on Apr 23, 2022
    กฎของการดูจิต 3 ข้อ :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 24 เม.ย. 2565


    ข้อที่หนึ่ง อย่าอยากรู้แล้วเที่ยวแสวงหาว่าตอนนี้จิตเป็นอย่างไร ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยรู้ว่ามันรู้สึกอะไร
    ข้อที่สอง ระหว่างรู้ อย่าถลำลงไปรู้ จิตต้องเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตผู้รู้ก็ต้องอาศัยการฝึกอย่างที่ว่า ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แล้วรู้ทันจิตที่มันหลงไปไหลไป กฎข้อที่สามของการดูจิตก็คือ อย่าเข้าไปแทรกแซงสภาวะ ความสุขเกิด ไม่ต้องไปหลงยินดีมัน ถ้าหลงยินดีให้รู้ทัน ความทุกข์เกิด ไม่ต้องไปยินร้าย ถ้ายินร้ายเกิด ให้รู้ทัน จิตมันจะเป็นกลาง ตั้งมั่น มันมาในขั้นที่สอง ต้องตั้งมั่นแล้ว
    ขั้นที่สาม รู้ซื่อๆ คือขั้นของความเป็นกลาง เพราะฉะนั้นเวลาสภาวะใดๆ เกิดขึ้น แล้วจิตยินดีให้รู้ทัน จิตยินร้ายให้รู้ทัน จิตก็จะเป็นกลางต่อสภาวะทั้งหลายทั้งปวง เพราะฉะนั้นหลวงพ่อถึงสรุปการปฏิบัติเอาไว้ในประโยคสั้นๆ “ให้เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง”

    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    วัดสวนสันติธรรม
    24 เมษายน 2565
     
  24. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช • บ้านจิตสบาย 621103

    บ้านจิตสบาย
    Dec 24, 2019
     
  25. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    บวชใจให้ได้ :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 8 พ.ค. 2565

    Dhamma.com
    55,437 views Streamed live on May 7, 2022

    บวชใจให้ได้ :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 8 พ.ค. 2565
    ถ้าเราไม่มีโอกาสจะบวช อาจจะเพราะว่าไม่พร้อมที่จะบวช มีภารกิจทางโลก ยังบวชไม่ได้ หรือไม่มีภารกิจ แต่ยังหาที่บวชด้วยความเต็มใจไม่ได้ ไม่สบายใจที่จะบวช หาไม่ได้ทำอย่างไร อย่างผู้หญิงจะไปบวชภิกษุณี มันก็ไม่มีจริง ไปบวชชีแต่ละวัด เขาก็ขยาด หาที่อยู่ยาก มันมีเงื่อนไขที่เราบวชไม่ได้ เราฝึกตัวเอง บวชใจเราให้ได้ ตั้งใจรักษาศีล ศีล 5 ศีล 8 ถือเข้าไปเถอะ เท่าที่ทำได้ ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น อย่างบางคนสุขภาพไม่อำนวย ถือศีลอดข้าวเย็น แล้วทำงานหนักทั้งวันเลย ตกเย็นไม่กินข้าวอีก ไม่นานโรคกระเพาะก็ถามหา ฉะนั้นดูสภาพเราที่ทำได้จริงๆ ทำแล้วไม่เข้าข่ายอัตกิลมถาลิกานุโยค ทรมานตัวเอง แต่ไม่ใช่ปรนเปรอตัวเองตามใจชอบ มีวินัยในตัวเอง อยู่บ้านก็ภาวนาของเราไป ฆราวาสก็ทำมรรคผลได้
    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    วัดสวนสันติธรรม 8 พฤษภาคม 2565
     
  26. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    วิธีประเมินคุณภาพของจิต :: หลวงพ่อปราโมทย์ 16 มี.ค. 2557

    Dhamma.com
    41,922 views Mar 19, 2014
     

แชร์หน้านี้

Loading...