ไม่รู้จักกัน

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย อนัตตา, 4 มกราคม 2019.

  1. ล่อนจ้อน

    ล่อนจ้อน ยถาวารี ตถาการี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    4,665
    ค่าพลัง:
    +2,579
    วิธีการละเนาะที่นี้
     
  2. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    เข้าไปอ่านเรื่อง ขันธ์ 5 ดูแล้วสิ่งที่เกิดอาจจะเป็น เวทนา หรือ สังขาร เดี๋ยวต้องอ่านให้ละเอียดอีกที

    ช่วงนี้ระหว่างวัน คลายสมาธิให้อ่อนลง ให้ครอบคลุมการรู้กาย แล้ว ฝึก อานา และ สติปัจฐาน 4 ใหม่ กะจะให้ละเอียดทุกส่วน

    เริ่มไม่เท่าไร ก็เจอเลย
     
  3. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    คนพาลมักเพ่งโทษผู้อื่น
    ถ้าใช้ความพาลนั้น มาเพ่งโทษตนก็น่าจะมีประโยชน์มาก
     
  4. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    กายทิพย์ หรือ ออร่า อันหมายถึง พลังแม่เหล็กไฟฟ้าที่ไม่มีตัวตน

    พลังชีวิตมาจากสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ ที่ส่องมายังพื้นโลก และมันถูกเหนี่ยวนำ มาสู่ตัวเราด้วยเหล็กที่มีอยู่มากในกระแสเลือด" เรื่องนี้ถ้าจะหาเหตุอธิบายให้เข้าข้างกันสักหน่อยก็อาจต้องนึกถึง สารฮีโมโกลบิน ซึ่งมีเหล็กอยู่ด้วย ว่าอาจเป็นตัวตอบสนองต่อ สนามแม่เหล็กโลกหรือเปล่า ร่างกายของคนเรานั้นแท้ที่จริงก็คือ องค์รวมของมวลสาร และพลังงานอันมีหลายมิติ .นพ.ริชาร์ด เกอร์เบอร์ ได้จำแนกตัวเราออก ตามความหยาบ และละเอียดของมวลสาร และ พลังงานออกเป็นชั้นๆ คือ

    กายเนื้อ (Physical Body),

    กายละเอียดหรือกายไอ (Etheric Body) กายนี้เราพอจะสัมผัสกันได้ อย่างเช่นเวลาเราอยู่ในรถเมล์ที่แน่นๆ เราจะรู้สึกอึดอัดด้วยไอตัวของผู้คน หรือเวลาเข้าใกล้ใครที่ป่วยเป็นโรค เราอาจได้ไอโรคจากตัวเขา,

    กายทิพย์ (Astral Body) ส่วนนี้ต้องสัมผัสด้วยความรู้สึก ซึ่งเราอาจรับรู้กันได้ เวลาเราพบหน้าใครก็รู้สึกว่าคนนี้มีความเป็นมิตร รู้สึกอบอุ่น

    จิต (Mental) นี่เป็นส่วนของนามธรรม ถือเป็นส่วนที่ละเอียดที่สุดของกาย 4 ชั้น

    ริชาร์ด เกอร์เบอร์ ฉลาดที่จะทำให้เราเข้าใจโดยเปรียบเทียบกายจิต 4 ชั้นนี้กับเสียงดนตรี 4 อ็อกเตฟบนคีบอร์ด อ็อกเตฟแรกหมายถึง กายเนื้อ ต่อไปเป็น กายละเอียด เป็นกายทิพย์ และเป็นจิต ตามลำดับ

    เซลล์ของเรา ที่มีชีวิต มีการแลกเปลี่ยน ประจุตลอดเวลา ทำให้ทุกเซลล์มีศักดาไฟฟ้าพร้อมๆ กับที่มีสนามพลัง อยู่โดยรอบแต่ละเซลล์ สนามพลังนี้มีขั้วพลังเป็นตำแหน่งต่างๆ ในร่างกายถึง 600 กว่าจุด จุดฝังเข็ม น่าจะเป็นขั้วพลังเหล่านี้ ขั้วพลังที่มีศักดาสูง รวมกันอยู่ เป็นจุดจักระ สนามพลังนี้ยังเชื่อมต่อกับจิตของเรา อย่างแยกไม่ออก ส่งผลซึ่งกันและกัน เหนือสิ่งอื่นใด กายจิตของคนเรานี้ยังได้รับอิทธิพลจากสนามพลังของโลก และจักรวาลด้วย ตั้งแต่สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และจักรราศีต่างๆ สนามแม่เหล็กโลก ซึ่งยังเปลี่ยนแปร กับปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด กระแสน้ำในมหาสมุทร คลื่นใต้น้ำและเหนือน้ำ อุณหภูมิของโลก พายุฝนฟ้า เป็นต้น ท้ายที่สุดคลื่นที่คนเราประดิษฐ์ขึ้น คอมพิวเตอร์ หม้อแปลงไฟ เตาอบ ไดเป่าผม โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ กระทั่งเสียงดนตรี เพลง เสียงสวดมนต์ รวมไปถึงคลื่นข่าว คลื่นความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง ความสงบ เรียบร้อยของบ้านเมือง เหล่านี้คือ องค์รวมของสิ่งต่างๆ ที่ส่งผลกลับไปกลับมาต่อชีวิตจิตใจของคนเรา

    ที่มา...https://www.novabizz.com/NovaAce/Aura.htm

    ปล. อย่าเพิ่งเชื่อจนกว่าจะพิสูจน์ทราบด้วยตนเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    สนใจหมดทุกศาสตร์ จนเป็นประสาท ฮาๆๆ

    กินยาก่อนแพพ...ยาสติ:p
     
  6. ล่อนจ้อน

    ล่อนจ้อน ยถาวารี ตถาการี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    4,665
    ค่าพลัง:
    +2,579
    อันนี้ศาสตร์อนุบาล

    1+1เป็นควาย 2+2เป็นกระต่าย 3+3เป็นแมว 4+4เป็นกวาง 5+5เป็นช๊างงงง....
    ศึกษาย๊างงง
     
  7. BENATO

    BENATO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2013
    โพสต์:
    2,582
    ค่าพลัง:
    +1,917
    เฮื้อก..!!! จะ.. เป็น... ลม :D:D
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2021
  8. ล่อนจ้อน

    ล่อนจ้อน ยถาวารี ตถาการี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    4,665
    ค่าพลัง:
    +2,579
    ศาสตร์ที่มีคุนค่าคือศาสตร์ที่ใช้ดับทุกข์ได้จริง(ได้ชั่วคราวกะพอย้วนๆ)
    พอเราศึกษาศาสตร์นี้อย่างแตกฉาน
    เราสามารถทำให้เด็กยิ้มได้
    ซึ้งมีคุณค่ามากสำหรับเด็ก
     
  9. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    เป็นศาสตร์ที่น่าสนใจ:D
    งวดนี้ 49 ฮาๆๆๆ ไปบวกลบคูณหารเพิ่มเอาเอง:cool:
     
  10. ล่อนจ้อน

    ล่อนจ้อน ยถาวารี ตถาการี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    4,665
    ค่าพลัง:
    +2,579
    คณิตศาตร์มหัศจรรย์
     
  11. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    เอามาไว้ท่อง;)
    มันต้องสุตตะฯ ก่อน แล้วก็ไปจินตาฯ จากนั้นจึงเป็นภาวนาฯ...:D
    (เอาไว้ทำเช็คลิสต์ ตรวจสอบตน)

    สักกายทิฏฐิ20

    1. เห็นรูปเป็นตน
    คือ ขณะที่เห็นผิดยึดถือว่า รูปร่างกายเป็นเรา (ตน) อุปมา เหมือนเห็นเปลวไฟและสีของเปลวไฟเป็นอย่างเดียวกัน

    2. เห็นตนมีรูป คือ ขณะที่ยึดถือว่า นามธรรมเป็นเราที่มีรูปร่างกาย อุปมา เหมือนเห็นต้นไม้มีเงา

    3. เห็นรูปในตน คือ ขณะที่ยึดถือว่า นามธรรมเป็นเรา และรูปอยู่ในนามที่เรา อุปมาเหมือนกลิ่นในดอกไม้

    4. เห็นตนในรูป คือ ขณะที่ยึดถือว่า นามธรรมเป็นเราที่อยู่ในรูปร่างกาย อุปมา เหมือนแก้วมณีในขวด

    5. เห็นเวทนาเป็นตน คือ ขณะที่ยึดถือว่า ความรู้สึกเป็นเรา (ตน) อุปมาโดยนัยเดียวกันกับรูป

    6. เห็นตนมีเวทนา คือ ขณะที่ยึดถือรูป สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นเรา และเรามีเวทนา

    7. เห็นเวทนาในตน คือ ขณะที่ยึดถือรูป สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น เรา และมีเวทนาในเรา

    8. เห็นตนในเวทนา คือ ขณะที่ยึดถือรูป สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น เรา และเรามีอยู่ในเวทนา

    9. เห็นสัญญาเป็นตน คือ ขณะที่ยึดถือว่า ความจำเป็นเรา (ตน)

    10. เห็นตนมีสัญญา คือ ขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น เรา และเรามีสัญญา

    11. เห็นสัญญาในตน คือ ขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น เรา และมีสัญญาในเรา

    12. เห็นตนในสัญญา คือ ขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น เรา และเรามีอยู่ในสัญญา

    13. เห็นสังขารเป็นตน คือ ขณะที่ยึดถือว่า สังขารตัวปรุงแต่งเป็นเรา

    14. เห็นตนมีสังขาร คือ ขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ว่าเป็น เรา และเรามีสังขาร

    15. เห็นสังขารในตน คือ ขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ว่าเป็น เรา และมีสังขารในเรา

    16. เห็นตนในสังขาร คือขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ว่าเป็น เรา และเรามีอยู่ในสังขาร

    17. เห็นวิญญาณเป็นตน คือในขณะที่ยึดถือว่า วิญญาณเป็นเรา (ตน)

    18. เห็นตนมีวิญญาณ คือขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา สังขาร ว่าเป็น เรา และเรามีวิญญาณ

    19. เห็นวิญญาณในตน คือขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา สังขาร ว่าเป็น เรา และมีวิญญาณในเรา

    20. เห็นตนในวิญญาณ คือขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา สังขาร ว่าเป็น เรา และเรามีอยู่ในวิญญาณ
     
  12. BENATO

    BENATO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2013
    โพสต์:
    2,582
    ค่าพลัง:
    +1,917

    ทำซ้ำ... :D:D
     
  13. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    การศึกษากายให้รู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องของกาย ก็เพื่อถอดถอนความเห็นผิดในกาย ถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นกายว่าเป็นของเที่ยง เป็นตน ของตน ถอดถอนอุปาทาน4 ได้แก่ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตวาทุปาทาน

    ครั้นเมื่อถอดถอนความสำคัญผิดเกี่ยวกับกายได้แล้ว จิตก็จะเป็นอิสระจากกาย การทำกิจเพื่อความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ก็จะง่ายมากขึ้น:D
     
  14. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    วันนี้อ่านกระทู้ไปเรื่อย เจอสมาชิก ท่านหนึ่งนำ สมาธิสูตร มาลง

    สมาธิสูตร
    [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการ
    เป็นไฉน คือ สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
    เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑ สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
    แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑ สมาธิภาวนาอันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑ สมาธิภาวนา
    อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ
    ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
    ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา
    มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระ
    อริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน
    ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลก-
    *สัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ๑- ว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือน
    กลางคืน มีใจอันสงัด ปราศจากเครื่องรัดรึง อบรมจิตให้มีความสว่างอยู่ ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว

    กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่
    เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น
    รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
    อาสวะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
    เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
    ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความ
    ดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้
    ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้
    ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
    ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คำต่อไปนี้ เรากล่าวแล้ว
    ในปุณณปัญหาในปรายนวรรค หมายเอาข้อความนี้ว่า
    ความหวั่นไหวไม่มีแก่บุคคลใด ในโลกไหนๆ เพราะรู้ความ
    สูงต่ำในโลก บุคคลนั้นเป็นผู้สงบปราศจากควันคือความโกรธ
    เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้หมดหวัง เรากล่าวว่า ข้าม
    ชาติและชราได้แล้ว ฯ

    สมาธิสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ (84000.org)


    อ่านแล้วทำให้รู้ข้อบกพร่องของตัวเองเลย เพราะว่าเราชอบเห็นแสงตลอด เลยทำให้ไปทาง
    ญาณทัสนะ หาทางออกไม่เจอ เพราะว่ามันเป็นความเคยชิน ทำแล้วรู้สึกเข้าสมาธิได้ตลอดเวลา

    ถ้าไม่เจอพระสูตรนี้ ก็คงหาทางออกไม่เจอ
     
  15. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    การนั่งสมาธิทุกครั้งต้องใช้อธิษฐานบารมีเป็นตัวนำค่ะ
     
  16. BENATO

    BENATO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2013
    โพสต์:
    2,582
    ค่าพลัง:
    +1,917
    สวัสดี เช้าวันใหม่.. :):)
     
  17. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    VgqzknFM.jpg
     
  18. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    ieaLzNgo.jpg
     
  19. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    ผู้ไม่มี คือผู้ที่รวยที่สุด
    ไม่มีรายรับก็ไม่มีรายจ่าย
    ไม่มีรายจ่าย ไม่มีหนี้ ไม่มีภาระ
    รับมาก็ต้องจ่ายไป แล้วที่มีคืออะไร

    ถ้ากลัวว่าจะไม่มีใครคบ...ก็คบกับตัวเองไป
    หักหลังตัวเองไป...ทรยศคดโกงตัวเองไป
    คบกับพระธรรมไป

    โลภะไม่เคยทำให้ใครมีสุข
     
  20. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    ธรรมมี ๒ ประเภทโดยย่อ

    ประเภทที่เราเห็นอยู่เดี๋ยวนี้เป็นประเภทของธรรมฝ่ายสังขาร เกิดขึ้นหาระหว่างมิได้แปรปรวนหาระหว่างมิได้ ความแก่ก็หาระหว่างมิได้ เราจะรู้ตามเป็นจริงหรือไม่ก็ไม่เป็นปัญหา ความเจ็บก็หาระหว่างมิได้ ความตายจากเช้า สาย บ่าย เที่ยง ก็หาระหว่างมิได้นี่ก็เป็นธรรมานุปัสนาเหมือนกัน เพราะรู้ตามเป็นจริงอยู่ในตัว ก็ตัดสินเผงว่า “ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” นี่เรียกว่าธรรมฝ่ายสังขาร

    ประเภทที่ ๒ ธรรมฝ่ายพระนิพพานนั้น เมื่อสิ้นความสงสัยในนี้แล้วจิตก็ไม่เพลินในสังขารทั้งปวง ไม่หลงในสังขารทั้งปวงนั้นคือประตูเข้าสู่พระนิพพาน เพราะหมดปัญหาที่จะผูกขึ้นในตัว...

    หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
    _/|\_ _/|\_ _/|\_
     

แชร์หน้านี้

Loading...