ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #ข่าวร้อนในญี่ปุ่น สื่อญี่ปุ่นเผย ไทยทำ Go To Travel แคมเปญเหมือนญี่ปุ่น กระตุ้นท่องเที่ยว ชาวเนทแห่คอมเมนต์
    .
    โดยสื่อญี่ปุ่นรายงานว่า... ประเทศไทยมีสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวสูง ได้เริ่มแคมเปญกระตุ้นการเที่ยวในประเทศ คล้าย "GoTo Travel" ของญี่ปุ่นแล้ว โดยแคมเปญนี้จะลดค่าที่พัก 40% ประมาณ 10,000 เยนต่อคืนหรือ 3,000 บาท และคืนค่าตั๋วเครื่องบิน 40% ยังมีคูปองลดค่าอาหารให้อีกด้วย โดยมีคนกว่า 3.3 ล้านคนได้ลงทะเบียนในระบบแล้ว ซึ่งไทยไม่มีผู้ติดเชื้อโควิดใหม่นานกว่า 50 วันแล้ว... ชาวเนทแห่คอมเมนต์ (ขอยกมาบางส่วน)
    .
    ของเค้ามันคนละเรื่องเลย คุมการติดเชื้อได้ดีมากๆ
    ไทยคุมโควิดได้ดีนะ
    ของไทยติดแค่ 1-2 คน ญี่ปุ่นติดกันที 600 กว่าคน
    ฉันว่าโอเคนะ ไม่มีผู้ติดเชื้อแล้ว
    ไทยสู้ๆ นะ อย่าไปติดกันตอนเที่ยวละ
    โตเกียว เมืองที่พัฒนาแล้ว แต่สู้ไทยไม่ได้เลย
    ไทยแลนด์ เจ๋งไปเลย
    ไทยเวอร์ชั่น
    ดูเหมือนหลายๆ คนอยากไปเที่ยวไทยซะแล้ว
    ไทยมีอย่างอื่นนอกจากการท่องเที่ยวไหม
    ฉันเห็นด้วยนะ โควิด ก็แค่หวัด
    มาเที่ยวญี่ปุ่นกันสิ คนไทย
    ของบ้านเรานี่มันแคมเปญ Go to Hell ละนะ ฮ่าๆๆ
    เอาไปเทียบซะ ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศกำลังพัฒนาไปซะแล้ว
    3,000 บาท โห ประเทศไทยค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวถูกจัง
    .
    ขอบคุณข้อมูลจาก


     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #อัพเดทญี่ปุ่น รถไฟแพนด้ามาแล้ว "Panda Kuroshio Smile Adventure Train"
    .
    สายรถไฟมุ้งมิ้งต้องไว้ใจญี่ปุ่นล่ะค่ะ เมื่อ JR West ได้ร่วมมือกับ Adventure world (Shirahama-cho - Wakayama) ส่งรถไฟดีไซน์ใหม่เป็นลาย "แพนด้า" โดยจะเริ่มวิ่งตั้งแต่ 23 ก.ค.2020 และจะวิ่งไปจนถึง ฤดูหนาวปี 2023 (โดยประมาณ) โดยรถไฟขบวนนี้มีชื่อว่า Panda Kuroshio หรือ แพนด้า ขาว และ ดำ โดยมีแรงบันดาลใจมาจากรอยยิ้ม ที่อยากจะให้ทุกคนมีรอยยิ้มตลอดการเดินทาง ที่นอกเหนือจากความปลอดภัย
    .
    รถไฟรุ่น 287 มี 6 ตู้ ไม่มีตู้นั่ง Green Car และ ตู้สำหรับ Women Only สถานีที่รถไฟขบวนนี้ผ่านได้แก่ Kyoto Station (Tokaido Main Line) ถึง Shingu Station (Kise Main Line) ผ่าน Shin-Osaka/Tennoji/Wakayama รถไฟที่จะวิ่งในวันแรก 23 ก.ค. 2020 รถไฟชื่อ Kurushio หมายเลข 3, 6, 25 และ 26
    .
    ดูตารางการวิ่งของรถไฟขบวนนี้ได้ที่นี่ : https://bit.ly/2CvgJIG
    ขอบคุณภาพและที่มา https://bit.ly/2CrCbOW
    แค่กด see first หรือ “ดูเป็นอันดับแรก” ก็จะไม่พลาดทุกข่าวสาร

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    พื้นที่ลุ่มแม่น้ำกำลังเผชิญอุทกภัย ครั้งประวัติการณ์
    .
    一 / 1 / จีนจำเป็นต้องสกัดกั้นภัยพิบัติ ด้วยการระเบิดเขื่อนฉูเหอ เขื่อนใหญ่กลางแม่น้ำฉู ในมณฑลอันฮุย เพื่อระบายน้ำในแม่น้ำที่กำลังมีระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ
    .
    二 / 2 / แม่น้ำฉู (ฉูเหอ - 滁河) เป็นแม่น้ำสาขาสายใหญ่ของแม่น้ำแยงซีเกียง (ฉังเจียง - 长江) / แยงซีเกียงมีความยาวรวม 6,300 กิโลเมตร ยาวที่สุดในเอเชีย
    .
    三 / 3 / ภาพข่าวถูกเผยแพร่ออกไป เป็นภาพเจ้าหน้าที่กำลังทำงานเพื่อระเบิดเขื่อน และภาพมวลน้ำมหาศาลกำลังไหลออกจากเขื่อน ไหลไปยังพื้นที่กักเก็บน้ำท่วมระดับชาติ ในอำเภอเฉวียนเจียว มณฑลอันฮุย ทางตอนกลางของจีน ซึ่งสามารถรองรับน้ำได้กว่า 60 ล้านลูกบาศก์เมตร
    .
    四 / 4 / การระเบิดเขื่อน ระเบิดทำนบกั้นน้ำเพื่อระบายน้ำออก เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่จีนเคยนำมาใช้ในวิกฤตอุทกภัยเมื่อปี 1998 อุทกภัยคราวนั้นคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 2,000 คน บ้านเรือนราว 3 ล้านหลังเสียหาย
    .
    五 / 5 / สำหรับอุทกภัยปีนี้ มีผู้เสียชีวิต/สูญหายในพื้นที่น้ำท่วมและดินถล่ม รวมกันไม่น้อยกว่า 150 คนแล้ว อพยพประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยงอีกราว 1 ล้าน 8 แสนคน มูลค่าความเสียหาย 4 หมื่น 9 พันล้านหยวน
    .
    六 / 6 / พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยมากที่สุดคือ ตอนกลางและตอนใต้ของจีน เมืองใหญ่หลายแห่งยังวิกฤต เช่น เมืองอู่ฮั่น เมืองเอกของมณฑลหูเป่ย และยังมีเมืองใหญ่ๆอีกหลายแห่งทางตอนล่างของแม่น้ำแยงซีเกียง
    .
    七 / 7 / ขณะที่ฝนยังคงตกหนักต่อเนื่อง ทำให้แม่น้ำหลายสายมีระดับน้ำสูงขึ้น โดยเฉพาะแม่น้ำแยงซีเกียง พื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงกำลังเผชิญอุทกภัยครั้งประวัติการณ์
    .
    ขอบคุณภาพจาก...China Xinhua News ครับ
    .

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (Jul 20) เศรษฐกิจฟื้นไม่ได้ ถ้าโควิดไม่นิ่ง : บทความ “อย่าประมาทสถานการณ์โควิด-19” ที่ผมเขียนวันจันทร์ที่แล้วเตือนให้ระวังความเสี่ยงของโควิด-19 รอบสอง

    โดยเฉพาะจากผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ลงพิมพ์ได้ไม่ถึงครึ่งวัน ก็มีข่าวทหารอียิปต์และเด็กลูกทูตซูดาน ที่สร้างความหวั่นวิตกและความผิดหวังให้กับคนทั้งประเทศในระบบกักตัวผู้เดินทางมาจากต่างประเทศของทางการที่มีช่องโหว่ ชี้ให้เห็นถึงความหละหลวมในการทำหน้าที่จนทางการต้องออกมาขอโทษ

    จุดอ่อนเหล่านี้ถ้าไม่แก้ไข ก็คือความเสี่ยงที่จะทำให้ประเทศมีการระบาดของโควิด-19 รอบสอง และถ้าเกิดขึ้น โอกาสที่กิจกรรมเศรษฐกิจจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังก็จะหมดลงทันที เพราะประมาณการการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปีหน้าจากทุกสำนัก ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า จะไม่มีการระบาดของโควิด-19 รอบสอง ในประเทศ นี่คือ ประเด็นที่จะเขียนวันนี้

    ในบทความอาทิตย์ที่แล้ว ผมชี้ว่า การระบาดของโควิด-19 รอบสองขณะนี้กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศ ล่าสุด ก็ออสเตเลีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ซึ่งประเทศเหล่านี้ล้วนเป็นประเทศที่ควบคุมสถานการณ์การระบาดได้ดีในรอบแรก ทำให้ชัดเจนว่า การระบาดรอบสองเกิดขึ้นได้ และจะเกิดได้ง่ายถ้าระบบป้องกันในประเทศมีช่องโหว่ ซึ่งจากเหตุการณ์ในประเทศอื่นที่เกิดขึ้น

    จุดเสี่ยงที่เห็นชัดเจน ก็คือ การเดินทางเข้าประเทศของบุคคลจากต่างประเทศ ที่นำเชื้อไวรัสติดตัวมาด้วย จึงสำคัญมากที่ประเทศจะต้องมีระบบการคัดกรอง และการกักตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศที่รัดกุม ไม่มีช่องโหว่ และทำอย่างจริงจังต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อนำเข้าเหล่านี้มาระบาดในประเทศ

    ในเรื่องนี้ อย่างที่เป็นข่าว จุดเปราะบางสำคัญอยู่ที่ความเข้มงวดของระบบกักตัว โดยเฉพาะการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลต่างๆ ที่เดินทางเข้ามาระยะสั้น ที่ทำให้ระบบกักตัวมีช่องโหว่ จนสร้างปัญหากับคนในประเทศ นอกจากนี้ ต้องระมัดระวังมากในกรณีของแรงงานต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศ ที่ต้องมีการกักตัวอย่างจริงจัง รวมถึง การลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย ไม่มีการตรวจหรือกักตัว ที่สร้างความเสี่ยงต่อคนในประเทศ

    นี่คือ 3 จุดเปราะบางหลักที่ผมเขียนถึงอาทิตย์ที่แล้ว

    อุทาหรณ์สำคัญจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ใน จ.ระยอง คือประชาชนรับไม่ได้ถ้าการระบาดประทุขึ้นอีก เพราะประเทศได้ปลอดจากการระบาดภายในประเทศมาเกือบ 50 วัน บนความอ่อนล้าของประชาชน

    ประชาชนต้องการความปลอดภัยทางสาธารณสุขให้มีต่อไป เพื่อเป็นฐานของการกลับคืนสู่ภาวะปรกติของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อให้มีรายได้ ข่าวการไม่ปฏิบัติตามกฎของทหารอียิปต์ ทำให้หลายกิจการต้องปิดโรงเรียนต้องหยุด ซึ่งสร้างความเสียหายและความเดือดร้อนอย่างมากให้กับคนในพื้นที่

    ความรู้สึกของประชาชนที่แสดงออกมาจึงสำคัญ ทำให้ยากที่เราจะเห็นประชาชนยอมรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวเป็นการทั่วไปอย่างในอดีต ในภาวะที่การระบาดทั่วโลกยังไม่หยุด และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ตรงกันข้าม ประชาชนพร้อมที่จะทำมาหากินตามวิสัยตามอัตภาพในโลกเศรษฐกิจที่ไม่เต็มร้อย แต่ปลอดภัยเพราะไม่มีการระบาดของโควิดภายในประเทศ นี่คือ สิ่งที่ประชาชนเลือกและคงเป็นความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ของประเทศ

    ด้วยเหตุนี้ การรักษาสถานภาพของการไม่มีการแพร่ระบาดภายในประเทศ จึงสำคัญมาก ทั้งต่อสุขภาพของประชาขนและการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยถึงวันนี้เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 อยู่ในระดับที่ควบคุมได้

    ตัวอย่างเช่นข้อมูลจากเว็บไซต์อิสระ Endcoronavirus.org ระบุว่า ณ วันที่ 15 ก.ค. มีเพียง 44 ประเทศใน 134 ประเทศทั่วโลก ที่อยู่ในโซนสีเขียว คือ ควบคุมสถานการณ์การระบาดได้(Winning) ซึ่งไทยก็อยู่ในกลุ่มนี้ มี 16 ประเทศอยู่ในโซนสีเหลือง คือกลุ่มใกล้ทำได้สำเร็จ (Nearly There) ซึ่งมีหลายประเทศอยู่ในกลุ่มนี้เพราะการระบาดรอบสอง เช่น จีน เกาหลีใต้ และมี 72 ประเทศอยู่ในกลุ่มสีแดง หรือ ยังเอาไม่อยู่ (Need Action) ซึ่งก็มีหลายประเทศที่ทำได้ดีในรอบแรก แต่กลับมาอยู่ในกลุ่มนี้เพราะการระบาดรอบสอง เช่น ญี่ปุ่น และออสเตเลีย

    ข้อมูลนี้ชี้ว่า การระบาดรอบสอง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ และถ้าเกิดขึ้นสถานการณ์อาจบานปลายจนการควบคุมทำได้ยาก ใช้เวลา และอาจนำไปสู่การล็อคดาวน์อีกรอบ เช่น กรณีออสเตรเลีย ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นต้องหยุดชะงัก หรือกลับไปสู่การหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีก

    อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ในกลุ่มประเทศทรงพลังทางเศรษฐกิจมากที่สุด 20 ประเทศของโลก หรือ กลุ่ม G20 ขณะนี้มากกว่าครึ่งของประเทศ G20 อยู่ในกลุ่มสีแดง คือยังควบคุมสถานการณ์การระบาดไม่ได้ เช่น อาร์เจนติน่า ออสเตเลีย บราซิล อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย อัฟริกาใต้ ตรุกี และสหรัฐอเมริกา รายได้ประชาชาติของประเทศ G20 ที่อยู่ในกลุ่มสีแดงนี้ รวมกันแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่งของจีดีพีโลก

    จึงชัดเจนว่า ถ้าประเทศเหล่านี้ยังควบคุมการระบาดไม่ได้ โดยเฉพาะใน 3 เดือนข้างหน้า โอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวในปีหน้าคงแทบเป็นศูนย์ และปีนี้เศรษฐกิจโลกจะยิ่งหดตัวมากขึ้นไปอีก ทำให้เศรษฐกิจโลกจะไม่ฟื้นตัวเช่นกัน ถ้าสถานการณ์โควิดยังไม่นิ่ง

    ด้วยข้อมูลนี้ สิ่งที่ต้องตระหนักในกรณีเศรษฐกิจไทยจากนี้ไป คือ
    1.เศรษฐกิจโลกคงจะหดตัวต่อเนื่องเพราะสถานการณ์โควิด ทำให้การส่งออกและการท่องเที่ยวจะไม่สามารถเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเราได้ อย่างน้อยปีนี้และปีหน้า

    2.การฟื้นตัวจะมาจากพลังของเศรษฐกิจในประเทศเป็นสำคัญ ทำให้การรักษาให้ประเทศไม่มีการระบาดของโควิดภายในประเทศ จึงสำคัญมากต่อการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ

    3.ประชาชนต้องช่วยกันลดความเสี่ยงไม่ให้การระบาดเกิดขึ้นด้วยการอยู่ในสังคมร่วมกันอย่างมีวินัย คือ สวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ และปฏิบัติตนตามแนวปฏิบัติของทางการในที่สาธารณะ ที่สำคัญภาครัฐต้องทำหน้าที่ของตนอย่างเข้มแข็ง อย่าสั่งอย่างเดียว แต่ต้องทำตนให้เป็นตัวอย่าง เพราะเราไม่มีทรัพยากรอีกแล้วที่จะปิดเมือง หรือเยียวยา ถ้าการระบาดเกิดขึ้น

    คอลัมน์เศรษฐศาสตร์บัณฑิต โดย ดร.บัณฑิต นิจถาวร

    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    https://www.bangkokbiznews.com/blog...dium=internal_referral&utm_campaign=columnist

    เพิ่มเติม
    - อย่าประมาท สถานการณ์ 'โควิด-19'
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/889160
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (Jul 20) ธปท.ชี้ เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแบบเครื่องหมายถูกแบบยาว : ธปท.ย้ำ เศรษฐกิจไทยค่อยๆฟื้นแบบ “Swoosh Shaped” ขณะที่ภาคการเงินไทยแกร่งไม่จำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือจากIMF
    FB_IMG_1595253932834.jpg
    สัมมนาวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคประจำปี 2563 ในหัวเรื่อง "ชวนคุยชวนคิดปรับวิถีธุรกิจท้องถิ่น ในโลกใหม่อย่างยั่งยืน"

    นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวในเวทีสัมมนาวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาค ประจำปี 2563ในช่วง สนทนากับผู้ว่า "ก้าวต่อไป ทิศทางเศรษฐกิจหลังยุคโควิดภิวัฒน์" โดยผู้ว่าธปท.ระบุว่า ช่วงนี้เป็นช่วงของการเข้าสู่ช่วงการปฎิรูปอย่างจริงจัง เพราขณะนี้เป็นสภาวะวิกฤต ที่เกิดจากด้านสาธารณสุข ที่ใช่เพียงเฉพาะประเทศไทย แต่รวมถึงทั่วโลก

    แม้วันนี้ จะสามารถเข้าสู่ช่วงที่3 โดยสามารถควบคุมการระบาดของโควิดจนผ่านช่วงที่2 มาได้ด้วยความร่วมมือทุกฝ่ายกับการอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ แต่การ์ดยังตกไม่ได้เพราะถานการณ์หลายประเทศยังมีการติดเชื้อจากการแพร่ระบาดของโควิดฉะนั้น"การ์ดอย่าตก"

    ทั้งนี้จากที่ประเทศไทยเข้าสู่ช่วงที่3 ได้เร็ว ขณะที่ประเทศอื่นยังออกจากล็อกดาวน์ไม่ได้ ซึ่งป็นโอกาสมาคิดเรื่องการฟื้นฟูและปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยมุมมองของธปท.ต่อเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่2 เศรษฐกิจต่ำสุดและผ่านพ้นมาได้ เพราะไตรมาส 2 เป็นช่วงกิจกรรมทางเศรษฐกิจชะงักหยุดทั่วโลก จากทุกประเทศดำเนินมาตรการล็อกดาวน์ ภาคส่งออกสินค้าไม่สามารถส่งออกหรือส่งออกไป ขณะที่ประเทศปลายทางไม่สามารถกระจายสินค้า

    สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะงักงั้น ซึ่งในแง่ตัวเลขเศรษฐกิจก็สอดคล้องกับหลายประเทศ แต่หลังไตรมาส 2 ธปท.ประเมินว่า ถ้าไม่มีการระบาดของโควิดรุนแรง หรือแม้จะควบคุมโควิดได้แต่เศรษฐกิจไทยจะค่อยๆ ฟื้นตัวไม่เร็ว โดยจะเป็นลักษณะเครื่องหมายถูกแบบยาว (Swoosh Shaped) คาดว่า จะใช้เวลา 2ปีกว่า จะปรับไปอยู่ระดับช่วงก่อนโควิด

    อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้เกิดวิกฤตพร้อมกันทั่วโลก แต่ภาคเศรษฐกิจมหภาคและด้านการเงินไทยไม่ได้มีปัญหา ซึ่งทุกคนยังจำได้วิกฤติปี 2540 และวิกฤกติแฮมเบอร์เกอร์ กลไกกำกับและบริหารความเสี่ยงที่เข้มแข็งในภาคสถาบันการเงิน ดังนั้นทำให้วิกฤติครั้งนี้ จึงผสานนโยบายและทุกเครื่องมือ เพราะไม่มีเครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งจะนำมาใช้

    “ครั้งนี้สามารถดำเนินนโยบายการเงินอัตราดอกเบี้ยต่ำ 0.50% ต่อปี ให้ภาคธุรกิจลดต้นทุนและสถาบันการสามารถช่วยพักหนี้และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ลูกค้า โดยที่ภาครัฐก็ออกมาตรการต่างๆมา เพราะครั้งนี้ภาคเศรษฐกิจจริงถูกกระทบแรงไม่แพ้ปี 2540”

    อย่างไรก็ตาม ภาคการเงินไทยเป็นจุดแข็งของเรา จึงไม่มีความจำเป็นที่จะขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ซึ่งมีข้อสังเกตุต่างประเทศ จะเห็นว่า มีการขอรับความช่วยเหลือจาก IMF แล้ว 102 ประเทศเกินครึ่งจากที่มีสมาชิกอยู่ 145 ประเทศ

    Source: ฐานเศรษฐกิจออนไลน์
    https://www.thansettakij.com/conten...homepage_hilight&utm_medium=internal_referral

    ภาพ ธปท.
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    FB_IMG_1595254058775.jpg

    (Jul 20) การบินไทย' ลุยแผนฟื้นฟูกิจการ รื้อโครงสร้างผู้บริหาร รีไฟแนนซ์หนี้ 3.5 แสนล้าน : “ชาญศิลป์” เร่งทำแผนฟื้นฟูเสนอศาล 17 ส.ค.นี้ เผยเตรียมปรับโครงสร้างหนี้ 3.5 แสนล้าน โยก 2 ผู้บริหารระดับสูงเปิดทางลุยแผนฟื้นฟู วาง 4 กลยุทธ์ จัดโครงสร้างใหม่เขย่าเส้นทางบิน แยกหน่วยธุรกิจ ลดไซส์องค์กร

    ศาลล้มละลายกลางมีกำหนดนัดไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ครั้งแรกในวันที่ 17 ส.ค.2563 โดยศาลล้มละลายกลางได้เปิดให้เจ้าหนี้หรือผู้มีส่วนได้เสียรับทราบและหากประสงค์คัดค้านคำร้องขอฟื้นฟูกิจการให้ยื่นคำคัดค้านต่อศาลภายในวันที่ 13 ส.ค.2563

    นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร กรรมการการบินไทย ในฐานะรักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย เปิดเผยว่า ความคืบหน้าของแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทยนั้น ภายหลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของการบินไทย เมื่อวันที่ 27 พ.ค.2563 ซึ่งศาลล้มละลายกลางกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของการบินไทยแล้ว ซึ่งการบินไทยกำลังจัดทำร่างแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อยื่นศาลล้มละลายกลาง

    ทั้งนี้ หากไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการจะส่งผลให้การบินไทยไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ รวมทั้งจะก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อการบินไทย เจ้าหนี้ พนักงานการบินไทย ผู้ลงทุน ประชาชน และกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ และอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอื่นเป็นวงกว้าง

    อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของการบินไทยต้องได้รับการยอมรับและความเชื่อถือจากทุกภาคส่วน ทั้งลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ พันธมิตรทางธุรกิจต่างๆ รวมถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร ซึ่งทำให้บริษัทจำเป็นต้องว่าจ้างที่ปรึกษา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านต่างๆ ในระดับโลก เพื่อมาช่วยดำเนินการให้การบินไทยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการและจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการให้เรียบร้อย

    เตรียมรายงานคืบหน้าแผนฟื้นฟู

    รายงานข่าวจากการบินไทย ระบุว่า ที่ผ่านมาการบินไทยยังไม่ได้รายงานความคืบหน้าแผนฟื้นฟูกิจการให้กับคณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหา การบินไทยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้คำสั่งศาล ที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพราะร่างแผนฟื้นฟูกิจการยังไม่ได้ข้อสรุป และคาดว่าจะรายงานต่อคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ต้นเดือน ส.ค.นี้ ก่อนศาลล้มละลายกลางนัดไต่สวนครั้งแรก

    ในขณะที่การเจรจากับเจ้าหนี้ถือว่ามีความคืบหน้าที่ได้เจรจาทั้งเจ้าหนี้ผู้ให้เช่าเครื่องบิน สถาบันการเงินและเจ้าหนี้น้ำมัน ซึ่งการบินไทยจำเป็นต้องเร่งเจรจาเจ้าหนี้ เพราะเป็นทิศทางการทำงานกรณีแผนฟื้นฟูกิจการได้รับความเห็นชอบ รวมทั้งจะเห็นทิศทางของเจ้าหนี้ต่อแผนฟื้นฟูกิจการ โดยถ้าเจ้าหนี้มีท่าทีที่ดีในการเจรจาก็มีแนวโน้มที่เจ้าหนี้จะเห็นด้วยกับแผนฟื้นฟูกิจการ

    โยกผู้บริหารระดับสูง2ราย

    ในขณะที่คณะผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ 6 คน ที่เป็นกรรมการการบินไทยด้วย จะมีบทบาทสำคัญในการทำแผนฟื้นฟูกิจการ โดยในแผนฟื้นฟูกิจการจะมีการปรับโครงสร้างองค์กร ซึ่งที่ผ่านมาคณะผู้ทำแผนฟื้นฟูได้เสนอคณะกรรมการการบินไทยทยอยปรับตำแหน่งผู้บริหารการบินไทยไปแล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูกิจการ

    ล่าสุดคณะกรรมการการบินไทยเมื่อวันที่ 17 ก.ค.2563 มีมติแต่งตั้งผู้บริหารดังนี้

    1.นายณัฐพงศ์ สมิตอำไพศาล พ้นจากกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายการเงินและบัญชี ไปดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่เพื่อการฟื้นฟูกิจการ (การแยกบัญชีการเงินของหน่วยธุรกิจ)

    2.แต่งตั้งนายชาย เอี่ยมศิริ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายปิโตรเลียม ประกันภัยและสิ่งแวดล้อมการบิน เป็นรักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายการเงินและบัญชี อีกหนึ่งตำแหน่ง

    ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค.2563

    ทั้งนี้ แผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทยจะต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมเจ้าหนี้และศาล โดยสำหรับช่องทางฟื้นฟูกิจการที่การบินไทยได้ยื่นต่อศาลล้มละลายกลาง เมื่อวันที่ 27 พ.ค.2563 ได้ชี้แจงถึงปัญหาทางการเงินล้นพ้นตัว ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นจากปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจ แต่เกิดจากสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินที่รุนแรง ประกอบกับข้อจำกัดและความไม่คล่องตัวในการบริการจัดการเนื่องจากเคยเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงเป็นเหตุให้กำไรต่อหน่วยของการบินไทยลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

    ทั้งนี้ ธุรกิจของการบินไทยมีพื้นฐานที่แข็งแรง และมีศักยภาพที่ดีทุกด้าน พร้อมต่อยอดและสร้างรายได้ให้องค์กรเพื่อนำไปชำระหนี้สิน หากการบินไทยได้รับการฟื้นฟูกิจการ และได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินที่ถึงกำหนดชำระโดยการปรับโครงสร้างหนี้ โครงสร้างทุน โครงสร้างองค์กรด้วยวิธีที่เหมาะสม ทั้งนี้การบินไทยได้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการในเบื้องต้น 2 ส่วน คือ

    1.การบินไทยจะต้องปรับโครงสร้างหนี้ โดยอาจเจรจากับเจ้าหนี้รายต่างๆ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไป ปรับลดเงินต้นและดอกเบี้ยลงทั้งหมดหรือบางส่วน หรือพักการชำระหนี้เงินต้น และดอกเบี้ย ขอรีไฟแนนซ์ หรือปรับโครงสร้างหนี้หรือปรับโครงสร้างทุนในรูปแบบอื่นตามความเหมาะสม ตลอดจนอาจกำหนดให้ผู้บริหารแผนมีอำนาจหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม โดยอาจขอสินเชื่อหรือเงินทุนสนับสนุนจากสถาบันการรเงิน นักลงทุน หรือพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อนำมาปรับปรุงกิจการหรือต่อยอดธุรกิจ

    รวมทั้งแผนฟื้นฟูกิจการอาจกำหนดให้ผู้บริหารแผนทำนิติกรรมสัญญาเพื่อจัดการทรัพย์สินและกิจการเพื่อให้การบินไทยดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เจ้าหนี้ทั้งหมายจะได้รับชำระหนี้มากกว่าการปล่อยให้การบินไทยล้มละลายแน่นอน

    ทั้งนี้ มูลหนี้ที่การบินไทยระบุในคำขอฟื้นฟูกิจการอยู่ที่ 352,494 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้สินหมุนเวียน 104,669 ล้านบาท และหนี้สินไม่หมุนเวียน 247,824 ล้านบาท

    2.การบริหารจัดการกิจการของการบินไทย เนื่องจากการดำเนินธุรกิจมีต้นทุนสูงไม่เพียงพอต่อรายได้ การบินไทยจึงมีความจำเป็นจ้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กร ตลอดจนหน่วยธุรกิจต่างๆ เพื่อความคล่องตัวและลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น

    ยกเลิกเส้นทางบินกำไรต่ำ

    ทั้งนี้ การบินไทยสรุปแนวทางบริหารจัดการกิจการให้ศาลพิจารณาในคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ดังนี้

    1.การปรับปรุงเครือข่ายเส้นทางบินและปรับปรุงฝูงบิน โดยอาจพิจารณาบริหารจัดการหรือยกเลิกเว้นทางที่กำไรต่ำหรือไม่สามารถปรับปรุงให้ทำกำไรให้แก่การบินไทยได้ในอนาคต เพื่อลดกำลังการผลิต ลดต้นทุน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจปรับปรุงการบริหารจัดการเส้นทางบินให้เหมาะสมและเพื่อรักษาระดับความสามารถในการแข่งขัน และอาจปรับปรุงการบริหารจัดการหรือปรับลดประเภทเครื่องบินในฝูงบิน

    2.การปรับปรุงองค์กรและหน่วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบิน เพื่อให้ลูกหนี้มีความสามารถด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมและเติบโตต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ มั่นคงและยั่งยืน โดยอาจปรับเปลี่ยนโครงสร้างในหน่วยธุรกิจที่มีความสามารถในการทำกำไร เพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการ เช่น จัดตั้งบริษัทย่อย การจัดหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อร่วมทุน หาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และเพิ่มศักยภาพหน่วยธุรกิจให้พึ่งพาตนเองได้

    3.การปรับปรุงกลยุทธ์ด้านการพาณิชย์และความสามารถในการหารายได้ โดยอาจปรับปรุงช่องทางขายบัตรโดยสาร เพิ่มช่องทางอินเตอร์เน็ต ปรับโครงสร้างค่าตอบแทน เงื่อนไขและการประเมินผลงานตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสาร นอกจากนี้ ยังปรับปรุง พัฒนาและเพิ่มการหารายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบิน เช่น บริการลูกค้าภาคพื้นแบบครบวงจร ซ่อมและบำรุงอากาศยานและเครื่องยนต์ ธุรกิจครัวการบิน

    4.การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้กระชับ ลดกระบวนการซ้ำซ้อนและไม่จำเป็น โดยอาจปรับจำนวนพนักงานให้สอดคล้องกับจำนวนฝูงบินและกำลังการผลิต เพื่อให้กำลังคนสอดคล้องกับความสามารถในการบริหารต้นทุน ค่าใช้จ่ายและกำลังการผลิต ตลอดจนปรับสิทธิประโยชน์และค่าตอบแทนของพนักงานให้เหมาะสมตามมาตรฐานอุตสาหกรรมการบิน

    ทั้งนี้ แนวทางปรับโครงสร้างหนี้และการปรับปรุงการบริหารจัดการกิจการที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงแนวทางในเบื้องต้นเท่านั้น ในการจัดทำแผนฟื้นฟูและปรับปรุงบริหารจัดการ โดยการบินไทยจำเป็นต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยภายในองค์กร ตลอดจนปัจจัยภายนอก เช่น สภาพเศรษฐกิจ แนวโน้มอุตสาหกรรม นโยบายรัฐ จำนวนหนี้ที่ยื่นขอรับชำระหนี้ ตลอดจนสาระสำคัญของหนี้แต่ละรายที่มีการยื่นคำขอรับชำระหนี้ที่จะเกิดขึ้น

    อย่างไรก็ดี ผู้ทำแผนจะต้องตรวจสอบรายละเอียดและความเป็นได้จากการปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการบนหลักการที่ว่าแผนฟื้นฟูของการบินไทย จะต้องก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย และจะต้องได้รับชำระหนี้ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการมากกว่ากรณีที่การบินไทยล้มละลายอย่างแน่นอน

    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    https://www.bangkokbiznews.com/news...homepage_hilight&utm_medium=internal_referral

    เพิ่มเติม
    1. ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย สิ้นสภาพ
    https://news.thaipbs.or.th/content/294694

    2.การบินไทย แต่งตั้ง-ย้ายผู้บริหารฟื้นกิจการ : https://www.dailynews.co.th/economic/785709

    3. “การบินไทย ”ยืนยันจ่ายเงินบำเหน็จให้พนักงาน 1.6 พันคน
    https://www.thansettakij.com/content/business/442368

    4.บอร์ดการบินไทยโยกผู้บริหารอีกรอบ ตั้ง "ณัฐพงษ์" คุมฟื้นฟูกิจการ
    https://www.bangkokbiznews.com/news...edium=internal_referral&utm_campaign=economic
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (Jul 20) Update-ผู้ว่าธปท.คาด ศก.ไทยทยอยฟื้นสู่ปกติราวปลายปี 64 ยันภาคการเงินเข้มแข็งไม่ต้องกู้ IMF: นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานภาค ประจำปี 63 ในหัวข้อ"ก้าวต่อไป...ทิศทางเศรษฐกิจหลังยุคโควิดภิวัฒน์"โดยระบุว่า ประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ถือเป็นสถานการณ์ร้ายแรงแบบที่ไม่เคยเจอมาก่อน ซึ่งเกิดขึ้นจากภาวะด้านสาธารณสุข แตกต่างจากในอดีตที่เป็นสถานการณ์ที่เกิดจากภาวะด้านการเงิน

    นายวิรไท กล่าวว่า ขณะนี้เข้าสู่ภาวะของการฟื้นฟูและต้องเร่งปรับระบบโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกใหม่ หลังจากเศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในช่วงไตรมาส 2/63 ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก ซึ่งเศรษฐกิจไทยจากนี้ไปคงเป็นลักษณะการทยอยฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป และคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวสู่ระดับปกติเหมือนกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิดราวปลายปี 64 ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะต้องไม่มีการระบาดรุนแรงซ้ำอีก

    อย่างไรก็ดี มองว่าแม้ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด แต่ปัจจุบันระบบการเงินมีความแข็งแกร่ง เนื่องจากเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง และมีทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ขณะที่การกู้เงินจากต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ กลไกการกำกับดูแลสถาบันการเงินมีความเข้มแข็งมาก มีการบริหารจัดการความเสี่ยงได้ดีกว่าช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 40 เป็นอย่างมาก ดังนั้น เชื่อว่าประเทศไทยไม่จำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แต่อย่างใด

    "แม้ในภาคเศรษฐกิจจริง จะได้รับผลกระทบรุนแรงไม่แพ้กับปี 40 แต่ภาคการเงิน แตกต่างกันมาก เราไม่จำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือจาก IMF เพราะเศรษฐกิจมหภาคของเราในปัจจุบันมีความเข้มแข็งมาก สถานะเราไม่ได้เป็นเหมือนปี 40 เรามีกลไกการบริหารเศรษฐกิจมหภาคที่เข้มแข็ง" ผู้ว่าฯ ธปท.ระบุ

    นายวิรไท กล่าวอีกว่า ช่วงระยะแรกที่ไวรัสโควิดแพร่ระบาด ธปท.ได้ออกมาตรการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) ซึ่งเป็นมาตรการที่เปรียบเสมือนกับเป็นการสร้างหลังพิงให้กับระบบการเงินให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง หลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนและนักลงทุนจนทำให้กลไกของตลาดการเงินไม่ทำงาน ทั้งตลาดตราสาร ตลาดหุ้น และราคาทองคำปรับตัวลดลง เพราะทุกคนต่างต้องการถือเงินสดไว้ในมือ

    ส่วนระยะที่สอง ซึ่งเป็นช่วงของการออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ที่ต้องหยุดกิจการหรือปิดกิจการ หรือกิจกรรมต่างๆ ธปท.ได้ออกมาตรการเยียวยาช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยด้วยการยืดเวลาการชำระหนี้ ทั้งสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบ้าน ตลอดจนการออกมาตรการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี

    และในปัจจุบันกำลังเข้าสู่ระยะที่สามที่ประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดได้ดีในระดับหนึ่งแล้ว ธปท.ก็จะมีมาตรการให้ความช่วยเหลือเป็นการเฉพาะกลุ่มเป้าหมายและตรงจุดมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ นายวิรไท ยอมรับว่ามีความกังวลกับปัญหาการจ้างงาน เพราะที่ผ่านมาสถานการณ์โควิดได้สร้างผลกระทบอย่างมากกับตลาดแรงงานในประเทศ โดยเฉพาะภาคบริการและภาคการผลิตที่มีการจ้างแรงงานในระดับสูง และเมื่อมองไปข้างหน้าเชื่อว่าการกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานภายใต้สถานการณ์ของโลกใหม่หลังโควิดคลี่คลายอาจจะทำได้ยาก เนื่องจากปัจจุบันมีกำลังการผลิตส่วนเกินสูงมากในทั่วโลก ภาคการผลิตเริ่มหันไปใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรทดแทนแรงงานคนมากขึ้น ในขณะที่นักศึกษาจบใหม่จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการหางานทำ

    "ภาคบริการ โดยเฉพาะในธุรกิจท่องเที่ยว คงจะคาดหวังให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาปีละ 40 ล้านคนได้ยากเหมือนเดิมแล้ว แรงงานในส่วนนี้คงกลับเข้ามาได้ยาก ทัวร์ก็คงจะไม่ได้มาในลักษณะของกรุ๊ปใหญ่ๆ ส่วนภาคการผลิต ก็มีการใช้หุ่นยนต์แทนแรงงานมากขึ้น เมื่อหมดโควิด กลับมาสู่โลกใหม่ เป็นโลกที่ทุกคนคำนึงถึงต้นทุนเป็นสำคัญ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตใหม่" ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว พร้อมระบุว่า การสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินให้กับสังคมในช่วงหลังจากนี้ไปถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะเห็นได้ว่าก่อนวิกฤติโควิด ประเทศไทยก็ประสบปัญหาภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ดังนั้นเมื่อผ่านพ้นช่วงการเยียวยาไปแล้ว ต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับการออม และการวางแผนทางการเงิน ในขณะที่ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ก็เป็นอีกเรื่องสำคัญในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อไม่ให้ปัญหา NPL เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ให้ภาคประชาชนและธุรกิจได้มีภาระหนี้ที่สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ที่แท้จริง

    "โลกในยุคโควิดภิวัฒน์จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป เป็นยุคที่ต้องทำงานกันหนักขึ้น มีการแข่งขันสูงขึ้น แต่ไม่ใช้การแข่งขันด้านราคา หรือด้านปริมาณ แต่เป็นการแข่งขันด้านคุณภาพ ใครทำได้ดีกว่า ก็จะผ่านไปได้" ผู้ว่าฯ ธปท.ระบุ

    Source : อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/รัชดา/ศศิธร

    ******************
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (Jul 20) Update-ผู้ว่าธปท.คาด ศก.ไทยทยอยฟื้นสู่ปกติราวปลายปี 64 ยันภาคการเงินเข้มแข็งไม่ต้องกู้ IMF: นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานภาค ประจำปี 63 ในหัวข้อ"ก้าวต่อไป...ทิศทางเศรษฐกิจหลังยุคโควิดภิวัฒน์"โดยระบุว่า ประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ถือเป็นสถานการณ์ร้ายแรงแบบที่ไม่เคยเจอมาก่อน ซึ่งเกิดขึ้นจากภาวะด้านสาธารณสุข แตกต่างจากในอดีตที่เป็นสถานการณ์ที่เกิดจากภาวะด้านการเงิน

    นายวิรไท กล่าวว่า ขณะนี้เข้าสู่ภาวะของการฟื้นฟูและต้องเร่งปรับระบบโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกใหม่ หลังจากเศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในช่วงไตรมาส 2/63 ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก ซึ่งเศรษฐกิจไทยจากนี้ไปคงเป็นลักษณะการทยอยฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป และคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวสู่ระดับปกติเหมือนกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิดราวปลายปี 64 ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะต้องไม่มีการระบาดรุนแรงซ้ำอีก

    อย่างไรก็ดี มองว่าแม้ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด แต่ปัจจุบันระบบการเงินมีความแข็งแกร่ง เนื่องจากเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง และมีทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ขณะที่การกู้เงินจากต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ กลไกการกำกับดูแลสถาบันการเงินมีความเข้มแข็งมาก มีการบริหารจัดการความเสี่ยงได้ดีกว่าช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 40 เป็นอย่างมาก ดังนั้น เชื่อว่าประเทศไทยไม่จำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แต่อย่างใด

    "แม้ในภาคเศรษฐกิจจริง จะได้รับผลกระทบรุนแรงไม่แพ้กับปี 40 แต่ภาคการเงิน แตกต่างกันมาก เราไม่จำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือจาก IMF เพราะเศรษฐกิจมหภาคของเราในปัจจุบันมีความเข้มแข็งมาก สถานะเราไม่ได้เป็นเหมือนปี 40 เรามีกลไกการบริหารเศรษฐกิจมหภาคที่เข้มแข็ง" ผู้ว่าฯ ธปท.ระบุ

    นายวิรไท กล่าวอีกว่า ช่วงระยะแรกที่ไวรัสโควิดแพร่ระบาด ธปท.ได้ออกมาตรการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) ซึ่งเป็นมาตรการที่เปรียบเสมือนกับเป็นการสร้างหลังพิงให้กับระบบการเงินให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง หลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนและนักลงทุนจนทำให้กลไกของตลาดการเงินไม่ทำงาน ทั้งตลาดตราสาร ตลาดหุ้น และราคาทองคำปรับตัวลดลง เพราะทุกคนต่างต้องการถือเงินสดไว้ในมือ

    ส่วนระยะที่สอง ซึ่งเป็นช่วงของการออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ที่ต้องหยุดกิจการหรือปิดกิจการ หรือกิจกรรมต่างๆ ธปท.ได้ออกมาตรการเยียวยาช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยด้วยการยืดเวลาการชำระหนี้ ทั้งสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบ้าน ตลอดจนการออกมาตรการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี

    และในปัจจุบันกำลังเข้าสู่ระยะที่สามที่ประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดได้ดีในระดับหนึ่งแล้ว ธปท.ก็จะมีมาตรการให้ความช่วยเหลือเป็นการเฉพาะกลุ่มเป้าหมายและตรงจุดมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ นายวิรไท ยอมรับว่ามีความกังวลกับปัญหาการจ้างงาน เพราะที่ผ่านมาสถานการณ์โควิดได้สร้างผลกระทบอย่างมากกับตลาดแรงงานในประเทศ โดยเฉพาะภาคบริการและภาคการผลิตที่มีการจ้างแรงงานในระดับสูง และเมื่อมองไปข้างหน้าเชื่อว่าการกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานภายใต้สถานการณ์ของโลกใหม่หลังโควิดคลี่คลายอาจจะทำได้ยาก เนื่องจากปัจจุบันมีกำลังการผลิตส่วนเกินสูงมากในทั่วโลก ภาคการผลิตเริ่มหันไปใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรทดแทนแรงงานคนมากขึ้น ในขณะที่นักศึกษาจบใหม่จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการหางานทำ

    "ภาคบริการ โดยเฉพาะในธุรกิจท่องเที่ยว คงจะคาดหวังให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาปีละ 40 ล้านคนได้ยากเหมือนเดิมแล้ว แรงงานในส่วนนี้คงกลับเข้ามาได้ยาก ทัวร์ก็คงจะไม่ได้มาในลักษณะของกรุ๊ปใหญ่ๆ ส่วนภาคการผลิต ก็มีการใช้หุ่นยนต์แทนแรงงานมากขึ้น เมื่อหมดโควิด กลับมาสู่โลกใหม่ เป็นโลกที่ทุกคนคำนึงถึงต้นทุนเป็นสำคัญ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตใหม่" ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว พร้อมระบุว่า การสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินให้กับสังคมในช่วงหลังจากนี้ไปถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะเห็นได้ว่าก่อนวิกฤติโควิด ประเทศไทยก็ประสบปัญหาภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ดังนั้นเมื่อผ่านพ้นช่วงการเยียวยาไปแล้ว ต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับการออม และการวางแผนทางการเงิน ในขณะที่ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ก็เป็นอีกเรื่องสำคัญในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อไม่ให้ปัญหา NPL เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ให้ภาคประชาชนและธุรกิจได้มีภาระหนี้ที่สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ที่แท้จริง

    "โลกในยุคโควิดภิวัฒน์จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป เป็นยุคที่ต้องทำงานกันหนักขึ้น มีการแข่งขันสูงขึ้น แต่ไม่ใช้การแข่งขันด้านราคา หรือด้านปริมาณ แต่เป็นการแข่งขันด้านคุณภาพ ใครทำได้ดีกว่า ก็จะผ่านไปได้" ผู้ว่าฯ ธปท.ระบุ

    Source : อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/รัชดา/ศศิธร

    ******************

    https://www.ryt9.com/s/iq03/3143090
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เวียดนาม : ชายหาดเมืองเกื๋อหล่อ จังหวัดเหงะอาน ในวันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา ชายหาดคึกคักเต็มไปด้วยผู้คนมาพักผ่อนท่องเที่ยว หลังจากตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดอยู่ในระดับต่ำ ทำให้นักท่องเที่ยวกลับมาท่องเที่ยวคึกคักอีกครั้ง

    # แต่ก็ยังอยู่ในช่วงเว้นระยะห่าง
    Cr : ภาพ Đ.LAM / m.plo.vn

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อินเดีย : รัฐเบงกอลตะวันตก ชาวบ้านประท้วงขอความเป็นธรรมให้หญิงสาววัย15
    หลังแก๊งลักพาตัวไปและคาดว่าข่มขืนเธอ
    # ผลชันสูตรศพหญิงสาววัย 15 เธอดื่มสารพิษไม่มีร่องรอยการต่อสู้ไม่มีร่องรอยการข่มขืน ข้อมูลจากตำรวจในใบรับรอง
    # คำให้การของครอบครัวพี่สาวแจ้งว่าน้องสาวหายไปตั้งแต่เมื่อคืนมีชาย 5 คนมานำตัวเธอไปก่อนจะพบเป็นศพ ห่างจากบ้านไม่ไกลในตอนเช้า ในปากมีสารพิษ คาดว่าน้องสาวถูกข่มขืนและฆ่า
    ** จากข้อมูลที่ไม่ตรงกันเหมือนจงใจปกปิดตัวคนร้ายทำให้ชาวบ้านประท้วงเจ้าหน้าที่ เผารถตำรวจเสียหาย เพื่อขอความเป็นธรรมให้หญิงสาว
    # และพยานชาวบ้านหลายคนบอกว่าก่อนเธอหายตัวไป มีชายมาตามหาเธอ ก่อนจะพบเป็นศพในรุ่งเช้า และคาดว่าเธอโดนข่มขืนจากแก๊งอันธพาล
    **ล่าสุดมีการสอบสวนและทำคดีอีกครั้ง

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สหรัฐ :รัฐ ออริกอน พอร์ตแลนด์
    ม็อบผิวสี BLM ยังคงปะทะกับเจ้าหน้าที่อย่างดุเดือดในคืนที่ผ่านมา ม็อบยืดเยื้อมาตั้งแต่การเสียชีวิตของนาย จอร์จ ฟลอยด์ วันที่ 25 พ.ค. จนถึงปัจจุบัน

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คลิปที่แชร์เยอะในโซเชียลคำแนะนำ
    เวลาเห็นหมีควรทำอย่างไร
    # ให้อยู่นิ่งๆ

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สหรัฐ : ลูกเรืออวนลาก 85 คนตรวจพบเชื้อโควิด จากเรือ 2 ลำของบริษัท American Seafoods ตั้งอยู่ในซีแอตเทิล

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #มอร์มูฟเป็นข่าว เอาใจช่วยอินเดีย-เนปาล!!! หลังจากต้องเผชิญอุทกภัยรุนแรงจากฝนฤดูมรสุม สร้างความเสียหายอย่างหนัก ล่าสุด มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 180 คน-ไร้ที่อยู่อาศัยอีกเกือบ 4 ล้านคน

    ฝนฤดูมรสุมที่ตกหนักต่อเนื่องในอินเดียและเนปาลทำให้เกิดอุทกภัยรุนแรง หลังน้ำในแม่น้ำพรหมบุตรซึ่งไหลผ่านทิเบต อินเดีย และบังกลาเทศเอ่อท้นไหลทะลักเข้าท่วมชุมชนและพื้นที่การเกษตร สร้างความเสียหายเป็นบริเวณกว้างจากน้ำท่วมฉับพลันและดินโคลนถล่ม โดยรัฐอัสสัม ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ได้รับผลกระทบมากที่สุด ล่าสุด ยอดผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยในอินเดียและเนปาลเพิ่มเป็น 189 คน ไร้ที่อยู่อาศัยอีกเกือบ 4 ล้านคน และสูญหายไปอีกหลายสิบคน ทั้งนี้ อุทกภัยในรัฐอัสสัมเกิดขึ้นท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 ทำให้ทางการท้องถิ่นต้องรับมือทั้งปัญหาโรคระบาดและภัยธรรมชาติที่กระหน่ำซ้ำเติม.
    ---------------------------------------------
    อ่านต่อ : https://news.thaipbs.or.th/content/...1EeIJy8Cx8GgJ__qHNgcFt3DjFhuLNYdcg0467vb-8xBA

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #มอร์มูฟเป็นข่าว รอดูโดยพร้อมเพรียงกัน!!! พรุ่งนี้ (21 ก.ค. 2563) จะเกิดปรากฏการณ์ 'ดาวเสาร์' ใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี

    สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ได้รายงานว่า ในวันอังคารที่ 21 ก.ค.63 ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โดยจะมีดวงอาทิตย์ โลก ดาวเสาร์ เรียงกันในแนวเส้นตรง ส่งผลให้ดาวเสาร์มีระยะใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี (Saturn Opposition) ห่างประมาณ 1,346 ล้านกิโลเมตร โดยในวันดังกล่าวเมื่อดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าจะมองเห็นดาวเสาร์สว่างอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจะสังเกตได้ยาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากดูดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 4 นิ้ว หรือมีกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป จะเห็นวงแหวน A และวงแหวน B แยกกันอย่างชัดเจน โดยมีช่องแบ่งแคสสินีอยู่ตรงกลางระหว่างวงแหวนทั้งสอง

    ** NARIT ได้เตรียมจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ #ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี ในวันพรุ่งนี้ (อังคารที่ 21 กรกฎาคม 2563) ตั้งแต่เวลา 18:00 - 22:00 น. ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่งคือ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา และสงขลา ในรูปแบบ New Normal #ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย.

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #มอร์มูฟเป็นข่าว การศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาในวารสารการแพทย์ The Lancet ได้พลิกการคาดการณ์ที่นักประชากรศาสตร์ของสหประชาชาติได้เคยคาดการณ์ไว้ตั้งแต่ปีที่แล้วว่าประชากรโลกอาจหยุดการเติบโตในปี 2100 เนื่องจากอัตราการเกิดของประชากรลดลง โดยคาดว่าจะมีประชากรโลกมากถึง 10,900 ล้านคนภายในสิ้นศตวรรษเมื่อเทียบกับ 7,800 ล้านคนในตอนนี้ โดยการศึกษาล่าสุดยืนยันว่า ประชากรโลกอาจจะมากที่สุดที่ 9,700 ล้านคนในปี 2064 และจะลดลงสู่ระดับ 8,800 ล้านคนในปี 2100 เพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญ

    นอกจากนี้ การศึกษายังสรุปอีกด้วยว่า ผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนประชากรกลุ่มใหญ่กว่าที่คาดการณ์ไว้ในการคาดการณ์ของสหประชาชาติ และประชากรอย่างน้อย 23 ประเทศ รวมถึงไทย, ญี่ปุ่น, อิตาลี และสเปนอาจหดตัวลงมากกว่า 50%.
    ------------------------------------------------
    Source : https://www.posttoday.com/world/628...qfNuQbi5EtHAxPBWusIBszSonoSw1mgOHXMXMXn9U1JM4

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จีน - โรงแรมเชอราตัน มูน เบย์ ในเมืองหูโจว มณฑลเจ้อเจียง หรือที่รู้จักกันในนามโรงแรมน้ำทองคำระดับเจ็ดดาวแห่งแรกของจีนถูกน้ำท่วม ซึ่งพิสูจน์ว่าทะเลสาบไท่หูเกินระดับการเตือน ประวัติศาสตร์ของ น้ำท่วม, 19 กรกฎาคม

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อินเดีย - การระเบิดอย่างฉับพลันของน้ำฝนที่ท่วมโรงพยาบาลที่เป็น โรงเรียนแพทย์ใน Bareilly รัฐ Uttar Pradesh สำหรับเตียงนอนสำหรับผู้ป่วย COVID-19 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    “หม่อมเต่า" ทิ้งเก้าอี้ รมว.แรงงาน

    นายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ โฆษกพรรครวมพลังประชาชาติไทย ได้แจ้งต่อสื่อมวลชนว่า ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแล้วเมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามสมาชิกพรรครวมพลังประชาชาติไทย และบุคลากรของพรรค ยังคงทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากพรรคอยู่ในกระทรวงแรงงาน

    การลาออกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ ทางพรรคฯได้รับการติดต่อจากสำนักงานรัฐมนตรีว่า อดีตหัวหน้าและสมาชิกพรรครวมพลังประชาชาติไทยได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในช่วงของเย็นวันนี้ แต่ทางพรรคและบุคลากรยังไม่ได้รับเอกสารยืนยันอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ⚠️ [Breaking] ⚠️ ผลทดสอบวัคซีนไวรัสโควิด Oxford-AstraZeneca พบว่าสามารถทำให้เกิดระบบภูมิคุ้มกันแบบคู่ (Dual Immune Action) ได้ และ #อาจผลิตเริ่มได้เร็วที่สุดคือภายในเดือนกันยายน นี้เลย หรือภายใน #อีกสองเดือน เท่านั้น !

    ราคาหุ้นของบริษัท AstraZeneca ดีดขึ้นทันที 10% ในคืนนี้

    เมื่อเวลา 3 ทุ่มของคืนวันจันทร์นี้เราได้รับรายงานว่าวัคซีน Oxford-AstraZeneca หรือวัคซีน Covid-19 ที่ทางมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดร่วมกันพัฒนากับบริษัทยา AstraZeneca หรือตัวเก็งในการผลิตวัคซีนสำเร็จในระดับต้นๆนั้น ได้กำลังแสดงผลทดสอบในมนุษย์ที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว

    โดยทางวัคซีนสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ 2 แบบทั้งแบบ "Protective neutralizing antibodies" และ "Immune T-cells" ได้ และผลทดลองนี้กำลังถูกตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Lancet ในวันนี้

    ข่าวนี้ไม่ได้เพียงทำให้หุ้นของบริษัท AstraZeneca ดีดขึ้นทันที 10% ในคืนนี้ แต่ตลาดโดยรวมนั้นกำลังให้น้ำหนักข่าวนี้โดยรวมสูงทีเดียว ทำให้ดัชนีหุ้น Futures สหรัฐต่างๆดีดขึ้นมาติดลบน้อยลงกว่าเมื่อเช้านี้ และเป็น Headline ไปทั่วสื่อต่างชาติ

    #WHO หรือองค์การอนามัยโลกระบุว่า ปัจจุบันกำลังมีวัคซีนโควิดกว่า 160 ตัวทั่วโลกที่กำลังทำการศึกษา วิจัย และทดลองอยู่ และทางวัคซีนของ Oxford-AstraZeneca ก็อยู่ในระดับต้นๆของกลุ่มที่น่าจะผลิตได้สำเร็จเป็นกลุ่มแรกๆ โดยวัคซีนที่เป็นความหวังอันดับต้นๆของโลกอื่นๆก็ประกอบไปด้วย

    บริษัท Moderna ของสหรัฐ
    บริษัท BioNTech ของเยอรมนี
    บริษัท Sinopharm ของรัฐบาลจีน
    บริษัท Pfizer ของสหรัฐ
    บริษัท Novavax จากสหรัฐ
    บริษัท Sinovac Biotech ของเอกชนจีน
    สถาบันวิจัย Murdoch ในออสเตรเลีย
    ทีมวิจัย CanSino Biologics จากจีน

    โดยบริษัทเหล่านี้คือกลุ่มหน้าๆที่กำลังทำการทดสอบวัคซีนในมนุษย์กันระยะที่ 2 และ 3 กันอยู่ (โดยลำดับนั้นไม่ได้เรียงตามความคืบหน้า)

    ช่วงหลังๆนี้เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องการพยายามแฮ็กเพื่อขโมยสูตรวิจัยของวัคซีนกันบ่อยๆ เพราะทางสหรัฐ อังกฤษ จีน หรือ เยอรมนี นั้นต่างก็เร่งทดสอบวัคซีนกันอย่างเต็มกำลัง

    สำหรับพวกเราแล้วใครผลิตได้ก่อนคงไม่สำคัญ #ขอให้แต่ละบริษัทสามารถผลิตวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยกันได้โดยเร็วเถอะ

    ⛔️ ท่านใดไม่อยากพลาดข่าวสารในตลาด แนะนำให้กดตั้งค่า “#รายการโปรด” หรือ "#Favourites" ที่เมนูมุมขวาบนของเพจใน Facebook ตรงปุ่ม [...] และกด #เปิดกระดิ่ง ไว้ได้เลยครับนะครับ จะได้ไม่พลาดทุกข่าวสารของทางเพจเรา

    ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามเพจของเราฝาก Like และ Share เป็นกำลังใจให้แอดด้วยหากข้อมูลนี้มีประโยชน์ ขอบคุณมากๆครับ

    #ทันโลกกับTraderKP

     

แชร์หน้านี้

Loading...