เรื่องเด่น คาถาท้าวมหาพรหมส่องโลก ตำรับ สมเด็จโต วัดระฆัง

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 1 มิถุนายน 2019.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    คาถาท้าวมหาพรหมส่องโลก ตำรับ สมเด็จโต วัดระฆัง

    8255.jpg




    โดย ศักดิ์ศรี บุญรังศรี วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2562


    คาถาท้าวมหาพรหมส่องโลก ตำรับสมเด็จโต

    ถือเป็นคาถาสำคัญบทหนึ่งทีเดียวบางทีก็เรียกว่า “คาถาท้าวมหาพรหม” (คนละบทกับโองการท้าวมหาพรหม) มีอุปเท่ห์มากทีเดียวสมัยก่อน เป็นคาถาพระธุดงค์ ที่ท่านต้องเรียนไว้ป้องกันตัวเพราะ หากไม่รู้จักคาถาบทนี้ ก็จะเอาตัวไม่รอด จากภยันอันตรายในป่าเขาที่มีอยู่มากมายขณะเดินธุดงค์นั้นนั่นเอง คาถาบทนี้ชื่อว่า “มหาพรหมส่องโลก” เพราะนับถือว่าผู้ใดท่องบ่นภาวนา ก็จะอยู่ในข่ายญาณของท่านท้าวมหาพรหม และ ได้รับการช่วยเหลือจากพระองค์ ด้วยอำนาจแห่งพรหมวิหารธรรมที่พระพรหมท่านเจริญภาวนาอยู่นั่นเอง

    images(8)(1).png

    ท้าวมหาพรหม

    คาถานี้ มีหลายสำนวน ต่างสำนักก็อาจมีเนื้อความแตกต่างกันออกไปบ้างแต่อุปเท่ห์นั้นมีมากมายคล้ายๆกัน ในตำราโบราณบางฉบับ ก็ใช้พระคาถาบทนี้ เสกใบมะขามเป็นต่อแตนขับไล่ศัตรูก็มี เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม กทม.อมตะเถระ ของชาวสยามนั้นในวัยหนุ่มท่านชอบเดินธุดงค์ตามป่าเขาเพื่อแสวงหาวิเวกธรรมอยู่เสมอท่านชอบการจาริกไปในที่ต่างๆเพื่ออบรมสร้างสมบารมีธรรมมาก ขนาดไม่ยอมรับสมณศักดิ์เลยทีเดียว (ตลอดสมัยรัชกาลที่๓) การเดินธุดงค์เป็นการฝึกจิตสร้างสมบารมีธรรมมีข้อถือเป็นวัตรปฏิบัติ ที่แยกออกไปถึง๑๓ วิธี ซึ่งพระภิกษุ ท่านต้องสมาทานตามอัชฌาศัยว่าจะถือข้อใดบ้าง และต้องรักษา วัตรปฏิบัตินั้นๆอย่างเคร่งครัดตลอดการเดินธุดงค์ ซึ่งข้อปฏิบัติที่ว่านี้ค่อนข้างจะทำได้ยากสำหรับบุคคลสามัญ ต้องมีจิตใจที่มั่นคงจริงๆจึงจะทำได้สำเร็จ

    สมัยโบราณนั้นพระภิกษุเมื่อพ้นความเป็นพระนวกะแล้วจะเดินธุดงค์กันมาก ถือว่าเป็นการแสดงความมุ่งมั่นเอาดีในพระศาสนาอย่างหนึ่ง การเดินธุดงค์จะมีทั้งเดินไปเป็นคณะ ติดตามครูบาอาจารย์ เพื่อฝึกฝน อบรมในภาคปฏิบัติจริง หรือสำหรับท่านที่มีจิตกล้าแข็งพอก็อาจเดินธุดงค์เพียงรูปเดียว ไม่ว่าจะเดินธุดงค์เป็นคณะ หรือเดินเดี่ยวก็ต้องเสี่ยงกับอันตรายที่มีอยู่มากตามป่าเขาด้วย ทั้งสัตว์ร้าย หรือ ภูตผีปีศาจ ท่านพระภิกษุโต (ขณะนั้น)จึงต้องศึกษาคาถาอาคมไว้บ้างเพื่อป้องกันตนเองและคาถาที่ท่านใช้ประจำขณะที่เดินธุดงค์ก็มีชื่อว่า “มหาพรหมส่องโลก” ด้วยเช่นกันคาถานี้นับถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์มาก อาจบันดาลความปรารถนาทั้งหลายให้สำเร็จได้เป็นอัศจรรย์ เลยทีเดียวคาถามีเนื้อความดังนี้

    “นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ มะอะอุอุอะมะ ปัญจะพุทธานะมามิหัง มะนาทิเต มะเตทินา มะเตยาติ มะติยาเต มะโนยาติ มะติยาโน มะสาทิติ มะติทิสา”

    trowmalewarah(1).jpg

    ท้าวมหาพรหม

    เป็นคาถามหาพรหมส่องโลกเฉพาะของเจ้าประคุณสมเด็จโตเอง แตกต่างจากพระคาถามหาพรหมส่องโลกฉบับมาตรฐานอยู่บ้างแต่ใช้ได้ผลดีเช่นกัน ใช้ป้องกันอันตรายทั้งปวง ในการเดินทางเป็นหมู่คณะให้หัวหน้าคณะเดินทางนั้นสวดดังดังก่อนออกเดินทาง จะคุ้มภัยได้อย่างดี ก่อนนอนให้เสกน้ำหรือทรายหว่านรอบๆบริเวณที่พักจะป้องกันอันตรายจากมนุษย์และอมนุษย์ได้อย่างดีมีผู้ใช้เห็นผลมามากแล้วอย่าสนเท่ห์เลย นอกจากนี้หากท่องบ่นเป็นประจำจะพ้นบาปภัยทั้งปวง ยังทำให้สิ่งที่คิด หวังเป็นจริงขึ้นมาได้ด้วย สมภารเจ้าวัดก็ควรเรียนไว้จะบำรุงรักษาอารามได้ดีมาก

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก "สมเด็จโต" "หลวงปู่โต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" เป็นพระภิกษุมหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชนและนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล ๑ ใน ๕ ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน

    _paragraph_2_131(1)(10)(1).gif

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในรัชสมัย[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาร] (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว ๗ ปีเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๕๐ เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑) ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายฉบับ เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ อย่างไรก็ดีมารดาของท่านนั้นเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง

    สำหรับบิดาของท่านนั้น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระยศเป็นเจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และแม้ในฉบับของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองฉบับกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป

    6361725710519415471(9)(1).jpg

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

    เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๓ ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. ๒๓๕๐ จีงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี" เนื่องจากเป็นนาคหลวงจึงเรียกว่า "พระมหาโต" มานับแต่นั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้รับพระมหาโตไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์

    ท่านมีอุปนิสัยทำสิ่งใดตามความพอใจของตน ไม่ถือเอาความนิยมขอผู้อื่นเป็นหลัก และไม่ปรารถนายศศักดิ์หรือลาภสักการะใด ๆ แม้ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน ก็ไม่ยอมเข้าสอบเปรียญธรรม ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงตั้งท่านเป็นพระราชาคณะ แต่ท่านไม่ยอมรับ จึงคงเป็นพระมหาโตมาตลอดรัชกาล


    ต่อมากล่าวกันว่า พระมหาโตได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆ กัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งปูชนียสถานทุกแห่งที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของท่านอยู่เสมอ การจะสร้างปูชนียสถานขนาดใหญ่เช่นนี้ล้วนแต่ต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้างจึงจะทำได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศรัทธาและบารมีของท่าน ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนในย่านที่ท่านได้ธุดงค์ผ่านไปอย่างชัดเจน

    DE-MK-001(9).jpg

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดปรานพระมหาโตเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. ๒๓๙๕ พระองค์จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์พระมหาโตเป็นครั้งแรก เป็นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิติ" และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ขณะนั้นท่านอายุ ๖๕ ปี โดยปกติแล้วพระมหาโตมักพยายามหลีกเลี่ยงการรับพระราชทานสมณศักดิ์ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้ท่านต้องยอมรับพระราชทานสมณศักดิ์ในที่สุด อีก๒ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๓๙๗) ท่านจึงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ที่ "พระเทพกระวี" หลังจากนั้นอีก ๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๔๐๗) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นสมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระพุฒาจารย์" มีราชทินนามตามจารึกในหิรัญบัฏว่า

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศร สมณนิกรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ สถิต ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงฯ

    spd_20140324123253_b(1)(1).jpg

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

    สมณศักดิ์ดังกล่าวนี้นับเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดและเป็นชั้นสุดท้ายที่ท่านได้รับตราบจนกระทั่งถึงวันมรณภาพ คนทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า "สมเด็จโต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" ส่วนคนในยุคร่วมสมัยกับท่านเรียกท่านว่า "ขรัวโต"

    ราวปี พ.ศ. ๒๔๑๐ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) ที่วัดอินทรวิหาร (ในสมัยนั้นเรียกว่า วัดบางขุนพรหมใน) ทว่าการก่อสร้างก็ยังไม่ทันสำเร็จ โดยขณะนั้นก่อองค์พระได้ถึงเพียงระดับพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ได้มรณภาพบนศาลาเก่าวัดบางขุนพรหมใน ณ วันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน๘ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริรวมอายุได้ ๘๔ ปี อยู่ในสมณเพศ ๖๔ พรรษา เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตารามได้ ๒๐ ปี

    ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูล

    https://www.facebook.com/khamkhoon3636
    https://th.wikipedia.org

    เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทาน



    ขอบคุณที่มา
    https://www.partiharn.com/contents/23452
     
  2. Ratree0424

    Ratree0424 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2014
    โพสต์:
    93
    ค่าพลัง:
    +158
    สาธุค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...