สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,502
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    [​IMG]
    . .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นคำแต่งใหม่เป็นเรื่องนอกแนวไม่เกี่ยวของกับพระไตรปิฏกและพระพุทธศาสนาของสำนักวัดนาป่าพง

    https://youtu.be/ubuYLqmzCCc

    ดูสติปัญญาเจ้าสำนัก สุดจะพรรณนาบรรยายสรรพโทษ สรรพทุกข์ สรรพโศกสรรพโรค สรรพภัย สรรพเคราะห์ เสนียดจัญไร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2016
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "พุทธวจนปิฏกจะมาแทนพระไตรปิฏกทั้งหมดในประเทศไทย และในโลก"

    https://youtu.be/fJ69eQETA6A

    รับพุทธวจนปิฏก แบบฉบับสำนักวัดนาป่าพง เพื่อไปเป็นพระโสดาบันสักพวงไหม?

    คึกฤทธิ์เจ้าสำนักรับประกันการันตีถ้าเข้าสำนัก ทำตามสำนักได้เป็นพระโสดาบันจริงแท้แน่นอน พระไตรปิฏกแบบเก่าๆไม่สามารถให้มรรคผลอะไรได้ ครูบาอาจาร์ยตั้งแต่โบราณจาร์ยเจ้า เรียนมาผิดสอนมาผิดสืบทอดมาผิดอย่าไปอ่าน

    สำนักสัทธรรมปฎิรูปแห่งประเทศไทย

    แน่นอนจริงๆ คงเห็นเป็นเรื่องธรรมดา มีอะไรแปลกๆใหม่ๆ มาได้ตลอด ปกติหนังสือธรรมหรือบทสวดมนต์นี่ ผู้หวังความเจริญ เขานำถวายเป็นสังฆทาน หรือยกตู้มาถวาย เดี๋ยวนี้เขาเอาไปทำพวงหรีดหรือพวงมาลัยอะไรเสียแล้ว นี่หรือจะน้อมนำมาสั่งสอนเหล่าเวไนยสัตว์ ไปกันใหญ่แล้ว

    หลายเฉดสีแบบนี้ ดูแล้วทำให้คิดถึง สัตว์เลื้อยคลานจริงๆ สัฎิรู
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2016
  4. gratrypa

    gratrypa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,283
    ค่าพลัง:
    +1,505
    เขียน ๒๒.๕๙

    หวัดดีจ่า บายดีนะ

    อย่าไปสนใจปลาซิวปลาสร้อยเลยน่านะ เนอะ

    ตะกี้นี้ บังเอิญมีเหตุให้ต้องทำกิจ จัดหาเพลงเทพของอินเดีย ให้หลวงตาเกจิรูปนึง
    หลังจากเคยแปลงจากแผ่น ใส่แฟลชให้ไปหลายชุดแล้วอ่ะนะ

    โหลดมาได้สองสามวันแล้ว แต่เมื่อกี้เพิ่งจะนึกอยากก็อปลงแฟลชไดร์ฟให้
    แล้วก็ได้ลองเปิดฟังดู ว่าใช้ได้ป่าว แล้วก็บังเอิญอีกแล้วครับท่าน ว่า

    เพลงแรกจากสิบเอ็ดเพลงที่ใส่เข้าไป วินแอมป์ดันเล่นเพลงที่สาม
    ซึ่งเป็นเพลง "บทบูชาสรรเสริญพระแม่กาลี (Om Kali Maa Mantra)"
    โหลดมาจากยูทูปอ่ะนะ แล้วแปลงไฟล์ให้เป็น MP3

    ฟังได้แป๊บนึง ก็ร้อนรุ่มขึ้นมาเชียว หึหึหึ
    ดูชื่อเพลง ดูไปดูมา เอ..นี่เจ้าแม่กาลีนี่หว่า
    คณะสงฆ์กะลังวุ่น ขอแรงหน่อยละกันนะ เนอะ
    แล้วรายแรกก็ปรากฏ เป็นว่าที่สังฆราชเลยล่ะโว้ย
    สมเด็จช่วง ไม่รอดแน่ วาสนาไม่ถึง ไปไม่ถึงฝันแน่
    แล้วก็สาวไปถึงหัวหน้าแก๊ง ดัมมี่ไชโย บริษัทจานบิน
    นึกไปนึกมา เล่นมหาเถรสมาคมด้วยดีกว่าล่ะมั้ง นะ เนอะ

    นี่ไม่รู้ใครจัดให้แฮะ ขอบคุณหลาย
    ก็หวังว่ากฏหมายคณะสงฆ์ ฉบับที่สอง
    ที่จอมพล ป. จัดไว้ให้ เมื่อปี 2505 ล่ะมั้ง
    ที่แจ้งเรา ผ่านไทยพีบีเอส หลายวันก่อนนี้อ่ะ
    คงจะได้มีโอกาสออกมาเสนอหน้า ได้ตามคาดนะ
    เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นวินาศ แก่ศัตรูของพุทธะเหอะน่า นะ


    จ่าพอหาแผนผังวัดจานบินได้ป่ะ อยากรู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหนบ้างอ่ะนะ
    แล้วรบกวนหาภาพหัวหน้าแก๊งจานบินให้ด้วยดิ ได้รูปล่าสุดก็ดีนะ
    รูปสมเด็จช่วงไม่ต้อง วันก่อนเห็นอ่านอะไรออกทีวีแล้วล่ะ
    มหาเถร คงไม่ต้อง ปลาเน่าตัวเดียว ก็เหม็นทั้งข้อง

    ขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ แจ้งพิกัดศัตรู แก่กองกำลังส่วนหน้า นะ

    ฟังเจ้าแม่กาลีจบ แล้วเลือกฟัง
    "บทบูชาสรรเสริญพระพิฆเนศ (Om Ganesh Mantra)"
    งานชุดนี้ ใครฝากมาไม่ทราบได้ หึหึหึ


    นักรบแสง แห่งหมู่บ้านในนิทาน / เล็บครุฑ นารายณ์ทรง ทราบ

    .
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ผลจากการสร้างสัทธรรมปฎิรูป ตรงไหนร้ายแรงสุดก็จะส่งผลกับส่วนอื่นๆตามไปด้วย เรื่องอื่นๆและ ณ ที่อื่นๆ บุคคลอื่นๆ ไม่เหนือการคำนวนพิจารณา แต่ที่นี่ใจสั่งมามีหน้าที่ตรงนี้ ทำตามหน้าที่ตามกิจที่ได้รับมอบมา เพื่อรักษาพระปริตรที่ถูกทำลาย ต้องขออภัยที่ไม่ว่างในกิจนั้นด้วย สำหรับเหตุที่อื่นหากได้ปาฎิหาริย์ ๓ เขาก็จะถอยหมด ยุติได้ แต่ตัวนี้มันมาร๕ มหาเทวะคนที่ ๒ มาจุติ ตั้งใจมาทำให้เกิดเหตุแห่ง ธาตุอันตรธานปริวัตต์ เป็นผู้หมุนทวนพระธรรมจักร เป็นกงจักรแต่แสร้งแปลงรูปเป็นดอกบัว ให้คนหลง ต้องเพ่งในธรรมที่มีโทษดังนี้แลฯ gratrypa
    https://youtu.be/QxPyyCvynLA
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2016
  6. gratrypa

    gratrypa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,283
    ค่าพลัง:
    +1,505
    เขียน ๐๐.๐๔

    แต่เราไม่คิดงั้นนะ ไอ้นี่ไม่ค่อยอันตรายเท่าไหร่หรอก ล่ะมั้ง นะ
    ทำงานโจ่งแจ้งอย่างนี้ เป็นเป้าเด่น ไม่น่าจะอยู่ได้อีกนานนักหรอกน่า นะ
    หรืออาจจะเป็นเป้าลวงล่ะหว่า ฝูงศัตรูอาจซ่อนตัวชักใยอยู่ด้านหลัง รึป่าวหว่า
    สายเจ้าของลิขสิทธิ์ตำรา จากเกาะนาฬิเกร์ อาจจะเตรียมแผนตอบโต้โจมตีไว้บ้างแล้ว
    แล้วยังมีอีกหลายฝ่ายหลายตีน ที่รอรุมยำอยู่ ไม่รู้ว่ากะลังรอฤกษ์อยู่หรือป่าว เราไม่รู้อนาคตนะ


    นักรบแสง แห่งหมู่บ้านในนิทาน / กระต่ายป่า ข้างวัด

    .
     
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า ใน [o]พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม[o] หรือ {O} ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม {O} อันจุติธรรมด้วย [ปฏิสัมภิทาญาน] ได้ถูกถอดโดยสำนักวัดนาป่าพง และถูกบัญญัติใหม่ให้เป็นเดรัจฉานวิชา

    บทสวดยอดนิยม อภยปริตรเป็นคำแต่งใหม่ เป็นเดรัจฉานวิชา

    https://youtu.be/jBIMisvVwJY
    ------------------------------------------------------------

    แต่เรา คือผู้รักษาพระปริตรนี้

    https://youtu.be/5NNBqCPYkyA

    ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นสมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา

    ด้วยประการฉะนี้ นิรุตติปฏิสัมภิทานี้ ชื่อว่ามีสัททะคือเสียงเป็นอารมณ์ มิได้มีบัญญัติเป็นอารมณ์. เพราะเหตุไร? เพราะพระอริยบุคคลได้ยินเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.

    จริงอยู่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ครั้นเขาพูดว่า ผสฺโส ก็ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, ครั้นเขาพูดว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ก็ย่อมรู้ว่า นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.

    แม้ในสภาวธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

    ถามว่า ก็พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานี้จะรู้หรือไม่ รู้คำอื่นคือเสียงแห่งพยัญชนะอันกล่าวถึงนาม, อาขยาต, อุปสัค, และนิบาต.
    ตอบว่า พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานั้น ครั้นได้ยินเสียงแล้วก็รู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ ด้วยเหตุสำคัญอันใด, ก็จักรู้คำนั้นด้วยเหตุสำคัญอันนั้น.



    ถ้าคิดว่าคิดถูก คิดทันแล้ว คิดใหม่เถอะ! การทำลายอภยปริตรปรากฎขึ้นทุกๆกึ่งพุทธกาล เป็นสัญญานเตือนว่าถึงกาล ศึกษาพิจารณาให้ดีๆ บอกแล้วว่า อย่างอื่น พ่ายปาฎิหาริย์ ๓ หมด แม้จะลัทธิฯลฯไหนก็ตาม

    ถ้าจะหักหลังแพ้พ่าย ทำลายเพราะโมฆะบุรุษที่เกิดจากภายใน แบบนี้แหละเจ็บปวดที่สุดฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2016
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    " สาวก ไม่ต้องมีคำสอน มีไม๊ มีไม่ได้ "

    คึกฤทธิ์ผู้ไม่รู้จักการสรรเสริญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พุทธานุสติ ธรรมมานุสติ สังฆานุสติ ในบทธรรม และไม่รู้จัก ปฎิสัมภิทาญาน แต่อ้างพระพุทธเจ้ารู้ธรรมโดยกำหนดสมาธิทุกครั้งในการพูด การตรัสรู้ตาม หรือเห็นธรรมตามธรรมโดยปฎิสัมภิทาญาน การทรงพระไตรปิฏกย่อมไม่มี เวรกรรม กรรมเวรของสัตว์โลก ถ้าต้องตกไปอยู่ใต้อุ้งมือมาร๕อย่างโมฆะบุรุษผู้นี้
    https://youtu.be/bWiO-mtodNE

    สุดจะบรรยาย
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อวชฺเช วชฺชมติโน
    วชฺเช อวชฺชทสฺสิโน
    มิจฺฉาทิฏฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคตึ ฯ

    วชฺชญฺจ วชฺชโต ญตฺวา
    อวชฺชญฺจ อวชฺชโต
    สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ ฯ


    สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษในธรรมที่หาโทษมิได้
    มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ในธรรมที่มีโทษ
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ”

    สัตว์ทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมมีโทษ
    รู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งสัมมาทิฏฐิ
    ย่อมไปสู่สุคติ.




    บทสวดและเพลงพาหุงแปล บทสวดพระคาถาชินบัญชร เพลงพระคาถาชินบัญชร ขับร้องเป็นคำแต่งใหม่และอีก ฯลฯ ถูกรวบรวมเป็นเดรัจฉานวิชาโดยสำนักวัดนาป่าพง

    https://youtu.be/zBcZhRvScYg

    https://youtu.be/CqynMfxGpLw

    https://youtu.be/Rib5Y4CLOO0

    https://youtu.be/0TED0oYE-Ls

    https://youtu.be/ceakUPHWtz8

    ----------------------------------------------------------
    บทสวดยอดนิยม พาหุงเป็นคำแต่งใหม่ https://youtu.be/GEi_-8A-_uA
    บทสวดยอดนิยม คาถาชินบัญชรเป็นคำแต่งใหม่ https://youtu.be/cOTNdG26nqI

    และอีก ฯลฯ ที่สำนักวัดนาป่าพงตั้งใจและรวบรวมเป็นเดรัจฉานวิชา
    ------------------------------------------------------------------


    แต่เพลงแต่งใหม่ ที่พรรณนาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ที่สำนักพุทธวจนนำออกสื่อเผยแพร่อย่างเป็นทางการ เป็นของดีของสำนัก พุทธวจน ไม่จัดเป็นเดรัจฉานวิชา ไม่เป็นคำแต่งใหม่ และถึงจะแต่งใหม่ ก็เป็นเรื่องที่ยอมรับได้
    พุทธวจน เพลงถึงฝั่งธรรม
    https://youtu.be/tTr3n97BzwM?list=PLiOvkrXZ-xAqRnqKJUP7gfuOZlcsSg5Kx

    พุทธวจน เพลงบัวบูชา
    https://youtu.be/poHDO_TS_MA?list=PLiOvkrXZ-xAqRnqKJUP7gfuOZlcsSg5Kx

    คอนเสิร์ต " ตามรอยบาทศาสดา พุทธวจน
    https://youtu.be/-EEWwHRtXrU?list=PLiOvkrXZ-xAqRnqKJUP7gfuOZlcsSg5Kx

    เพลง บัวบูชา-ถึงฝั่งธรรม(พุทธวจน)
    https://youtu.be/2i6G7tdKPH8?list=PLiOvkrXZ-xAqRnqKJUP7gfuOZlcsSg5Kx

    ช่างยอดเยี่ยมกระเทียมเจียวจริงๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มีนาคม 2016
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระพุทธภาษิต

    (หันทะ มะยัง พะหุการานิ พุทธาทิภาสิตานิ ภะณามะ เส)

    นิธีนังวะ ปะวัตตารัง ยัง ปัสเส วัชชะทัสสะนัง, นิคคัยหะวาทิง เมธาวิง
    ตาทิสัง ปัณฑิตัง ภะเช, ตาทิสัง ภะชะมานัสสะ เสยโย โหติ นะ ปาปิโย,


    คนเราควรมองผู้มีปัญญาใดๆ ที่คอยชี้โทษ, และกล่าวคำขนาบอยู่เสมอไป
    ว่าผู้นั้นแหละคือผู้ชี้ขุมทรัพย์ล่ะ, ควรคบหากับบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อ
    คบหากับบัณฑิตเช่นนั้นอยู่, ย่อมมีแต่คุณอันประเสริฐส่วนเดียว ไม่มีเสื่อมเลย,


    (ธรรมบท ๒๕/๒๑)

    นะ เต อะหัง อานันทะ ตะถา ปะรักกะมิสสามิ, ยะถา กุมภะกาโร อามะเก
    อามะกะมัตเต,


    อานนท์ ! เราจะไม่พยายามทำกะพวกเธออย่างทะนุถนอม,
    เหมือนพวกช่างหม้อทำแก่หม้อที่ยังเปียกยังดิบอยู่,

    นิคคัยหะ นิคคัยหาหัง อานันทะ วักขามิ, ปะวัยหะ ปะวัยหาหัง อานันทะ
    วักขามิ, โย สาโร โส ฐัสสะติ,


    อานนท์ ! เราจะขนาบแล้วขนาบอีกไม่มีหยุด,
    อานนท์ ! เราจะชี้โทษแล้วชี้โทษอีกไม่มีหยุด,
    ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจะทนอยู่ได้,


    (มหาสุญญตสูตร ๑๔/๒๑๒)

    ยัง ภิกขะเว สัตถารา กะระณียัง สาวะกานัง, หิเตสินา อะนุกัมปะเกนะ
    อะนุกัมปัง อุปาทายะ กะตัง โว ตัง มะยา,


    ภิกษุทั้งหลาย ! กิจอันใดที่ศาสดาผู้เอ็นดู, แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
    จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย, กิจอันนั้นเราได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย,


    เอตานิ ภิกขะเว รุกขะมูลานิ เอตานิ สุญญาคารานิ,

    ภิกษุทั้งหลาย ! นั่นโคนไม้ทั้งหลาย นั่นเรือนว่างทั้งหลาย,

    ฌายะถะ ภิกขะเว มา ปะมาทัตถะ,

    ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท,

    มา ปัจฉา วิปปะฏิสาริโน อะหุวัตถุ,

    เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจในภายหลังเลย,

    อะยัง โว อัมหากัง อะนุสาสะนี,

    นี้แลเป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนเธอทั้งหลายของเรา,

    (สัลเลขสูตร ๑๒/๗๒)

    นะยิทัง ภิกขะเว พ๎รัห๎มะจะริยัง วุสสะติ, ชะนะกุหะนัตถัง นะ
    ชะนะละปะนัตถัง, นะ ลาภะสักการะสิโลกานิสังสัตถัง, นะ
    อิติวาทัปปะโมกขานิสังสัตถัง, นะ อิติ มัง ชะโน ชานาตูติ,


    ภิกษุทั้งหลาย ! เราประพฤติพรหมจรรย์นี้,
    มิใช่เพื่อหลอกลวงคนเพื่อให้คนบ่่นถึง, เพื่อผลคือลาภสักการะและชื่อเสียง,
    เพื่อเป็นเจ้าลัทธิ หรือเพื่อให้คนทั้งหลายรู้จักเราก็หามิได้,


    อะถะ โข อิทัง ภิกขะเว พ๎รัห๎มะจะริยัง วุสสะติ, สังวะรัตถัง ปะหานัตถัง
    วิราคัตถัง นิโรธัตถัง,


    ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ที่แท้แล้วเราประพฤติพรหมจรรย์นี้,
    เพื่อความสำรวมระวัง เพื่อละกิเลส, เพื่อคลายกิเลสและเพื่อดับกิเลสเท่านั้น,


    (พรหมจริยสูตร ๒๑/๒๙)

    โย โข อานันทะ ภิกขุ วา ภิกขุนี วา อุปาสะโก วา อุปาสิกา วา,

    อานนท์ ! ผู้ใดจะเป็นภิกษุก็ตาม เป็นภิกษุณีก็ตาม
    เป็นอุบาสกหรือเป็นอุบาสิกาก็ตามที,


    ธัมมานุธัมมะปะฏิปันโน วิหะระติ สามีจิปะฏิปันโน อะนุธัมมะจารี,

    ถ้าเป็นผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่,

    โส ตะถาคะตัง สักกะโรติ คะรุกะโรติ มาเนติ ปูเชติ ปะระมายะ ปูชายะ,

    ผู้นั้นแลชื่อว่าได้สักการะ ได้ให้ความเคารพนับถือ
    และบูชาเราตถาคต ด้วยการบูชาอย่างสูงสุด,
    อิติ ด้วยประการฉะนี้แล.

    (มหาปรินิพพานสูตร ๑๐/๑๓๓)


    จากใจเราแด่สหายธรรม
    " ขอจงตั้งใจ ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ ยังไม่เคยสร้างกรรมใหญ่ ชาตินี้มีโอกาส "
    จงเลือก ไม่เลือกไม่ได้ มนุษย์สมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ ไม่เลือกไม่ได้
    หากจะให้เลือกระหว่าง การขุดแงะชอนไชกัดเซาะที่เป็นที่ไปที่มาของพระธรรมคำสั่งสอน๑ กับ การสรรเสริญพระธรรมที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงไว้๒ ควรเลือกอย่างที่๒จะเป็นการดีเป็นมรรคเป็นผล ที่ไม่มีเหตุแห่งความเสื่อมเลย ผู้ใดยังสงสัยและหลงทางอยู่ ไปไม่ถูก ให้ล้างใจให้สะอาด และกล้าที่จะเผชิญกับความจริง ขอจงเดินกลับไปเริ่มต้นยังจุดเริ่มต้นใหม่ สร้างวิริยะศรัทธาให้มากขึ้นกว่าเดิม อย่าดูถูกดูแคลนตนเอง อย่าดูถูกผู้อื่น
    แต่จงชี้แจงเหตุและผลผิดหรือถูกตามความเป็นจริง และตามฐานะอุตริมนุษยธรรมที่มีในตน และอย่าหมายใจหวังในตนและผู้อื่นเพื่อการสรรเสริญตนเอง จงสรรเสริญพระธรรมนั้นเถิด มีพระธรรมนั้นแล จึงมีเรา ผู้ใดเห็นเรา จึงเห็นธรรม

    ราตรีกาลนี้ พักผ่อนกันเถิด สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2016
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201


    อวชฺเช วชฺชมติโน
    วชฺเช อวชฺชทสฺสิโน
    มิจฺฉาทิฏฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคตึ ฯ

    วชฺชญฺจ วชฺชโต ญตฺวา
    อวชฺชญฺจ อวชฺชโต
    สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ ฯ


    สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษในธรรมที่หาโทษมิได้
    มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ในธรรมที่มีโทษ
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ”

    สัตว์ทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมมีโทษ
    รู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งสัมมาทิฏฐิ
    ย่อมไปสู่สุคติ.



    โจทนาสูตร
    ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส
    ทั้งหลาย ภิกษุผู้โจทก์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการไว้ภายใน
    ก่อนแล้วจึงโจทผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ธรรมว่า เราจักกล่าวโดย
    กาลควร จักไม่กล่าวโดยกาลไม่ควร ๑ จักกล่าวด้วยเรื่องจริง จักไม่กล่าวด้วย
    เรื่องไม่จริง ๑ จักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ ๑ จักกล่าว
    ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
    จักเป็นผู้มีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เป็นผู้เพ่งโทษกล่าว ๑ ดูกรอาวุโส
    ภิกษุผู้โจทก์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ภายในก่อนแล้วจึง
    โจทผู้อื่น ฯ


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ถูกผู้อื่นโจทโดย
    กาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลอันควร ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่
    ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำอ่อน
    หวาน ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วย
    เรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วย
    เมตตาจิต ก็โกรธ ฯ


    ดูกรอาวุโส ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดย
    ไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาล
    ควร ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่อง
    จริง ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำอ่อน
    หวาน ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูก
    โจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่
    เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ฯ


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์
    โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาล
    ควร ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง ท่าน
    จึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำอ่อนหวาน ท่านจึงควร
    เดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่
    ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเพ่งโทษ ไม่โจทด้วย
    เมตตาจิต ท่านจึงควรเดือดร้อน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึง
    ให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะว่า ภิกษุแม้รูปอื่นไม่พึงเข้าใจว่า พึงโจทด้วยเรื่องไม่จริง ฯ


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ถูกโจทโดย
    กาลควร ไม่ถูกโจทโดยกาลไม่ควร ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ถูกโจท
    ด้วยเรื่องไม่จริง ก็โกรธ ถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยคำหยาบ
    ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่
    ประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยเพ่งโทษ
    ก็โกรธ ฯ


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูก
    โจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ คือ ท่านถูกโจทโดยกาลควร ไม่ถูกโจทโดยกาล
    ไม่ควร ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่
    จริง ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยคำหยาบ
    ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจท
    ด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วย
    เมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควรเดือดร้อน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
    ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ นี้ ฯ


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจท
    โดยเป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านโจทโดยกาลควร ไม่โจทโดยกาลไม่ควร
    ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง ท่านจึง
    ไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่โจทด้วยคำหยาบ ท่านจึงไม่ควร
    เดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่ไม่
    ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเมตตาจิต ไม่โจท
    ด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน
    ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะว่าภิกษุแม้รูปอื่นพึงเข้าใจว่า พึงโจทด้วยเรื่องจริง ฯ
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อันบุคคลผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ
    ความจริง และความไม่โกรธ ฯ


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย (ถ้า) ผู้อื่นพึงโจท (เรา) ด้วยธรรม ๕ ประการ
    คือ พึงโจทโดยกาลควรหรือโดยกาลไม่ควร ๑ ด้วยเรื่องจริงหรือด้วยเรื่องไม่จริง ๑
    ด้วยคำอ่อนหวานหรือด้วยคำหยาบ ๑ ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ หรือ
    ด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ด้วยเมตตาจิตหรือด้วยเพ่งโทษ ๑ แม้
    เราก็พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริงและความไม่โกรธ ถ้าเราพึง
    ทราบว่าธรรมนั้นมีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรมนั้นว่า มีอยู่ ว่าธรรมนั้นมีอยู่
    พร้อมในเรา ถ้าเราพึงทราบว่าธรรมนั้นไม่มีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรมนั้นว่า
    ไม่มีอยู่ ว่าธรรมนั้นไม่มีอยู่พร้อมในเรา ฯ


    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เรื่องก็จะพึงเป็นเช่นนั้น แต่ว่า
    โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับโดยเคารพ ฯ
    สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยง
    ชีวิต มิใช่ออกบวชด้วยศรัทธา เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เกเร ฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่ง
    เหลาะแหละ ปากกล้า พูดพล่าม ไม่สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จัก
    ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เพ่งถึงความเป็นสมณะ ไม่มี
    ความเคารพกล้าในสิกขา มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด
    ทอดธุระในวิเวก เกียจคร้าน มีความเพียรทราม มีสติเลอะเลือน ไม่มี
    สัมปชัญญะ ไม่มีจิตมั่นคง มีจิตฟุ้งซ่าน มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย คน
    เหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ ย่อมไม่รับโดยเคารพ ส่วนกุลบุตร
    เหล่าใด มีศรัทธาออกบวช ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่
    เย่อหยิ่ง ไม่เหลาะแหละ ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม สำรวมทวารในอินทรีย์
    ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร เพ่งถึงความเป็นสมณะ มี
    ความเคารพกล้าในสิกขา ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการล่วงละเมิด
    เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียร อบรมตน มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ
    มีจิตมั่นคง มีจิตเป็นหนึ่ง มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย กุลบุตรเหล่านั้น
    เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ย่อมรับโดยเคารพ ฯ


    พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย จงยกไว้ (ยกเว้น) ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย ดูกรสารีบุตร เธอพึงว่ากล่าวกุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจรรย์ จงพร่ำสอนเพื่อนพรหมจรรย์ ด้วยหวังว่าเราจักยกเพื่อนพรหมจรรย์จากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรมเธอพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้แล สารีบุตร ฯ
    จบสูตรที่ ๗


    " ข้าพระพุทธเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กุลบุตรและเพื่อนพรหมจรรย์เหล่านั้น จะพิจารณาธรรม ตามธรรมที่ข้าพระพุทธเจ้าแสดงการห้ามปราม ว่ากล่าวไปพระพุทธเจ้าข้า "

    วิธีการสอนนี้เป็นการแสดงถึง การรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาของพระพุทธองค์ที่ใช้สอนบุคคลระดับต่างๆ ถ้าผู้สอนสอนอย่างไม่มีอัตตา ลดละตัณหา มานะ ทิฏฐิเสียให้น้อยที่สุด ก็จะมุ่งไปยังผลสำเร็จในการเรียนรู้เป็นสำคัญ เช่น กรณีที่พระพุทธเจ้าตรัสกับคนฝึกม้าที่มีวิธีการฝึกด้วยวิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง ทั้งวิธีแบบสุภาพและรุนแรง จนกระทั่งสุดท้ายเมื่อฝึกไม่ได้ก็ฆ่าทิ้งเสีย

    พระพุทธองค์ก็ใช้วิธีการที่คนฝึกม้ากล่าวไว้นั้น ย้อนกลับมาเป็นอุปกรณ์การสอนของพระองค์ ด้วยพระดำรัสว่า “เราย่อมฝึกคนด้วยวิธีละมุนละไมบ้าง ด้วยวิธีรุนแรงบ้าง ด้วยวิธีที่ทั้งละมุนละไมและทั้งรุนแรงปนกันไปบ้าง และถ้าฝึกไม่ได้ก็ฆ่าเสีย” แต่ในกรณีการฆ่าของพระองค์นั้น หมายถึงการไม่เอาใจใส่ต่อบุคคลที่ไม่มีความสนใจในธรรม จึงฆ่าเสียคือปล่อยให้หล่นไปสู่หนทางที่ไม่ดี เพราะสาเหตุจากการไม่สนใจของบุคคลนั้น การทำในลักษณะดังกล่าว ถือว่าเป็นการฆ่าในอริยวินัย

    นี่แค่ทรงสอนทรงตำหนิกรรมนั้นๆ ก็ถึงตายด้วยธาตุทัณฑ์
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว และเมื่อกำลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ โลหิตร้อนพุ่งออกจากปากของภิกษุ ๖๐ รูป (พวกต้น)ภิกษุ ๖๐ รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ด้วยกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้แสนยาก อีก ๖๐ รูป จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ฯ
    อัคคิขันธูปมสูตร

    ตำหนิกรรมที่กระทำ ชี้แจงผลที่จะได้รับ หาใช่การตำหนิที่ตัวบุคคล ตัวบุคคลหาได้มีจริงไม่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ท่านทรงเป็นผู้สอนผู้ตักเตือนอย่างนี้
    ขออภัยที่ติดนิสัย หยาบคายบ้าง อดีตเป็นยักษ์ขี้โมโห มีจริตธรรมชอบการไต่สวนลงโทษลงทัณฑ์

    https://youtu.be/IJf5hFi25kk
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มีนาคม 2016
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระอัครสาวกพาภิกษุ ๕๐๐ กลับ
    สมัยนั้น พระเทวทัตอันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม แล้วนั่งแสดงธรรมอยู่ เธอได้เห็นพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ มาแต่ไกล จึงเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เห็นไหม ธรรมเรากล่าวดีแล้ว พระสารีบุตรโมคคัลลานะอัครสาวกของพระสมณโคดม พากันมาสู่สำนักเรา ต้องชอบใจธรรม
    ของเรา เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะ ได้กล่าวกะพระเทวทัตว่า ท่านเทวทัต ท่านอย่าไว้วางใจพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เพราะเธอทั้งสองมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแก่ความปรารถนาลามก พระเทวทัตกล่าวว่าอย่าเลย คุณ ท่านทั้งสองมาดี เพราะชอบใจธรรมของเรา


    ลำดับนั้น ท่านพระเทวทัตนิมนต์ท่านพระสารีบุตรด้วยอาสนะกึ่งหนึ่งว่ามาเถิด ท่านสารีบุตร นิมนต์นั่งบนอาสนะนี้ ท่านพระสารีบุตรห้ามว่า อย่าเลยท่าน
    แล้วถืออาสนะแห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ถืออาสนะแห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระเทวทัตแสดงธรรมกถาให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง หลายราตรี แล้วเชื้อเชิญท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของภิกษุทั้งหลายจงแจ่มแจ้งกะท่าน เราเมื่อยหลังจักเอน ท่านพระสารีบุตรรับคำพระเทวทัตแล้ว ลำดับนั้น พระเทวทัตปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น แล้วจำวัตรโดยข้างเบื้องขวาเธอเหน็ดเหนื่อยหมดสติสัมปชัญญะ ครู่เดียวเท่านั้น ก็หลับไป ฯ



    ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอน พร่ำสอนภิกษุทั้งหลายด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนีเจือด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวสอน พร่ำสอน ภิกษุทั้งหลายด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนีเจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ขณะเมื่อภิกษุเหล่านั้นอันท่านพระสารีบุตรกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ด้วยอนุศาสนีเจือด้วยอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอันท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ ด้วยอนุศาสนีเจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ดวงตาเห็นธรรมที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ท่านทั้งหลาย เราจักไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ผู้ใดชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา


    ครั้งนั้น พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ พาภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้นเข้าไปทางพระเวฬุวัน
    ครั้งนั้น พระโกกาลิกะปลุกพระเทวทัตให้ลุกขึ้นด้วยคำว่าท่านเทวทัต ลุกขึ้นเถิด พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะพาภิกษุเหล่านั้นไปแล้ว เราบอกท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าไว้วางใจพระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ เพราะเธอทั้งสองมีความปรารถนาลามก ถึงอำนาจความปรารถนาลามกครั้งนั้น โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากพระเทวทัต ในที่นั้นเอง ฯ

    ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลาย พึงอุปสมบทใหม่


    พ. อย่าเลย สารีบุตร เธออย่าพอใจการอุปสมบทใหม่ของพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายเลย ดูกรสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายแสดงอาบัติถุลลัจจัย ก็เทวทัตปฏิบัติแก่เธออย่างไร
    ส. พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วได้รับสั่งกะข้าพระพุทธเจ้าว่า ดูกรสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของภิกษุทั้งหลายจงแจ่มแจ้งแก่เธอ เราเมื่อยหลัง ดังนี้ ฉันใด พระเทวทัต ก็ได้ปฏิบัติฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธเจ้าข้า ฯ


    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่อยู่ในราวป่า ช้างทั้งหลายอาศัยสระนั้นอยู่และพวกมันพากันลงสระนั้น เอางวงถอนเหง้าและรากบัวล้างให้สะอาดจนไม่มีตมแล้วเคี้ยวกลืนกินเหง้าและรากบัวนั้น เหง้าและรากบัวนั้น ย่อมบำรุงวรรณะและกำลังของช้างเหล่านั้น และช้างเหล่านั้นก็ไม่เข้าถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตายมีข้อนั้นเป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนลูกช้างตัวเล็กๆ เอาอย่างช้างใหญ่เหล่านั้นและพากันลงสระนั้น เอางวงถอนเหง้าและรากบัวแล้วไม่ล้างให้สะอาดเคี้ยวกลืนกินทั้งที่มีตม เหง้าและรากบัวนั้น ย่อมไม่บำรุงวรรณะและกำลังของลูกช้างเหล่านั้นและพวกมันย่อมเข้าถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตเลียนแบบเราจักตายอย่างคนกำพร้า อย่างนั้นเหมือนกัน ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสประพันธคาถา ว่าดังนี้
    เมื่อช้างใหญ่คุมฝูง ขุดดิน กินเหง้าบัวอยู่ในสระใหญ่ ลูกช้างกินเหง้าบัวทั้งที่มีตมแล้วตาย ฉันใด เทวทัตเลียนแบบเราแล้ว จักตายอย่างคนกำพร้า ฉันนั้น



    คึกฤทธิ์คือ ผู้ที่เป็นไม่ได้แม้แต่จะเทียบกับพระเทวทัต เป็นได้แค่มหาเทวะคนที่ ๒ ผู้ทำสังฆเภทที่คิดว่าตนบรรลุธรรม รู้แจ้งในพระสัทธรรมทั้งมวล สอนในสิ่งที่ตนไม่ได้ปฎิบัติให้ถึง สอนในสิ่งที่ตนไม่รู้ กระทำตนลุแก่อำนาจ อาศัยบวชในพระพุทธศาสนา ร่ำเรียนพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระบรมมหาศาสดาได้ใจความเพียงส่วนหนึ่ง เพียงพอให้ได้สักการะและชื่อเสียง มาสู่ตนเองและพวกพ้อง บิดเบือนพระสัทธรรม ทำลายล้างหยามหมิ่นพระสัทธรรมและพระรัตนตรัย จนถึงพระอริยสงฆ์สาวก ให้เป็นเดรัจฉานกถาและเดรัจฉานวิชา สร้างสัทธรรมปฎิรูป หลบหลู่คุณครูบาอาจาร์ย ทำลายพระไตรปิฏกคัดค้านอรรถกถาธรรมโดยปรมัตถ์ธรรม เป็นผลเสียแก่มหาชนเหล่าพุทธบริษัทที่หลงเชื่อคำสั่งสอนของโมฆะบุรุษ ผู้ที่ไม่สำรวมในพระวินัย เป็นผู้สร้างความอื้อฉาว โดยต้อง มิตฉัตตะ ๑๐ ประการ เป็นผู้อาศัยพระธรรมคำสั่งสอนเพื่อลาภสักการะสรรเสริญฯ ไม่ใช่เพื่อความดับทุกข์อย่างแท้จริง

    มิจฉัตตสูตร

    [๑๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มิจฉัตตะ (ความเป็นผิด) ๑๐ ประการนี้๑๐ ประการเป็นไฉน คือ มิจฉาทิฐิ ๑ มิจฉาสังกัปปะ ๑ มิจฉาวาจา ๑ มิจฉากัมมันตะ ๑มิจฉาอาชีวะ ๑ มิจฉาวายามะ ๑ มิจฉาสติ ๑ มิจฉาสมาธิ ๑ มิจฉาญาณะ ๑ มิจฉาวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มิจฉัตตะ ๑๐ ประการนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๑๐


    มิจฉัตตสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตะ จึงมีการพลาดจาก
    สวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล เพราะอาศัยมิจฉัตตะ
    อย่างไร จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นผิด ย่อมมีความดำริผิด ผู้มีความดำริผิด
    ย่อมมีวาจาผิด ผู้มีวาจาผิด ย่อมมีการงานผิด ผู้มีการงานผิด ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิด
    ผู้มีการเลี้ยงชีพผิด ย่อมมีความพยายามผิด ผู้มีความพยายามผิด ย่อมมีความ
    ระลึกผิด ผู้มีความระลึกผิด ย่อมมีความตั้งใจผิด ผู้มีความตั้งใจผิด ย่อมมีความ
    รู้ผิด ผู้มีความรู้ผิด ย่อมมีความหลุดพ้นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย
    มิจฉัตตะอย่างนี้แล จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์
    และมรรคผล ฯ
    จบสูตรที่ ๓



    สัมมัตตสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยสัมมัตตะ จึงมีการบรรลุสวรรค์
    และมรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล เพราะอาศัยสัมมัตตะ
    อย่างไร จึงมีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อมมีความดำริชอบ ผู้มีความดำริ
    ชอบ ย่อมมีวาจาชอบ ผู้มีวาจาชอบ ย่อมมีการงานชอบ ผู้มีการงานชอบ
    ย่อมมีการเลี้ยงชีพชอบ ผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมมีความพยายามชอบ ผู้มีความ
    พยายามชอบ ย่อมมีความระลึกชอบ ผู้มีความระลึกชอบ ย่อมมีความตั้งใจชอบ
    ผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมมีความรู้ชอบ ผู้มีความรู้ชอบ ย่อมมีความหลุดพ้นชอบ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยสัมมัตตะ จึงมีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล
    ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ด้วยประการอย่างนี้แล ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นผิด มีความดำริผิด มีวาจาผิด
    มีการงานผิด มีการเลี้ยงชีพผิด มีความพยายามผิด มีความระลึกผิด มีความ
    ตั้งใจผิด มีความรู้ผิด มีความหลุดพ้นผิด สมาทานกายกรรม วจีกรรม
    มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนา ความ
    ตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่า
    ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะเป็นทิฐิอันชั่วช้า ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพืชสะเดา พืชบวบขม หรือพืช
    น้ำเต้าขม อันบุคคลเพาะแล้วในแผ่นดินที่ชุ่มชื้น ย่อมเข้าไปจับรสดิน และรส
    น้ำอันใด รสดินและรสน้ำทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นรสขม เป็นรส
    เผ็ดร้อน เป็นรสไม่น่ายินดี ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะพืชเป็นของไม่ดี
    แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นผิด มีความดำริผิด มีวาจา
    ผิด มีการงานผิด มีการเลี้ยงชีพผิด มีความพยายามผิด มีความระลึกผิด มีความ
    ตั้งใจผิด มีความรู้ผิด มีความหลุดพ้นผิด สมาทานกายกรรม วจีกรรม
    มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนา ความ
    ตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่า
    ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเป็นเพราะ
    เหตุไร เพราะเป็นทิฐิที่ชั่วช้า ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ มี
    วาจาชอบ มีการงานชอบ มีการเลี้ยงชีพชอบ มีความพยายามชอบ มีความ
    ระลึกชอบ มีความตั้งใจชอบ มีความรู้ชอบ มีความหลุดพ้นชอบ สมาทาน
    กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา
    ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็น
    ไปเพื่อผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ความเกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเป็น
    เพราะเหตุไร เพราะเป็นทิฐิที่เจริญ ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพืชอ้อย พืชข้าวสาลี หรือพืชองุ่น
    อันบุคคลเพาะลงแล้วในแผ่นดินที่ชุ่มชื้น ย่อมเข้าไปจับรสดิน และรสน้ำอันใด
    รสดินและรสน้ำทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นรสที่น่ายินดี เป็นรสหวาน
    เป็นรสอันน่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพืชเป็นของดี แม้ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ มีวาจาชอบ
    มีการงานชอบ มีการเลี้ยงชีพชอบ มีความพยายามชอบ มีความระลึกชอบ
    มีความตั้งใจชอบ มีความรู้ชอบ มีความหลุดพ้นชอบ สมาทานกายกรรม
    วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนา
    ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลอันน่า
    ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิ
    เป็นของเจริญ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

    จบสูตรที่ ๔


    เราเชื่อว่าจะมีผู้ที่หลงผิดแล้วกลับตัวกลับใจ และผู้กำลังจะหลงเดินทางผิด ปลีกตนออกจากสำนักวัดนาป่าพงเพิ่มมากขึ้นไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่ได้หูตาสว่างแล้ว จงพึ่งพาอาศัยศรัทธาและรู้จักพึ่งพาอาศัยตนเอง ไปให้ถึงความเจริญในพระสัทธรรม โดยหมั่นสั่งสมบุญบารมี รู้จักพิจารณาธรรมให้เกิดให้เป็นด้วยตนเอง โดยไม่ต้องไปฟังคำสอนการวิสัชนาธรรม อย่างผิดเพี้ยนของคึกฤทธิ์ ผู้ทำสังฆเภทที่คิดว่าตนบรรลุธรรม รู้แจ้งในพระสัทธรรมทั้งมวล สอนในสิ่งที่ตนไม่ได้ปฎิบัติให้ถึง สอนในสิ่งที่ตนไม่รู้ ท่านก็ย่อมไปถึงจุดหมายในพระพุทธศาสนาได้ด้วยตนเองอย่างแน่นอน จงพึงเสพบัณฑิตเถิด

    เราขออนุโมทนาฯในบุญของท่านทั้งหลายฯที่่พ้นจากบ่วงกรรมของมาร๕ กงจักรแปลงเป็นดอกบัว มาจุติในร่างของคึกฤทธิ์นั้นด้วย ท่านได้ดีแล้ว ขอให้เจริญในพระสัทธรรม อันยิ่งขึ้นไปเถิด

    สาธุธรรมฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2016
  13. gratrypa

    gratrypa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,283
    ค่าพลัง:
    +1,505
    .
    เขียน ๑๒.๐๐
    บนเปล แกว่งไปแกว่งมา


    เอ้า..ถ้าเป้าหมายท่าน มีเพียงหนึ่ง
    เล่นเกมส์ของท่านก็ได้นะ เนอะ
    มีรูปสินค้าของมันอีกไม๊อ่ะ
    จะไปหาแนวร่วมให้อีก
    เอาที่ไม่เคยลงนะ
    ของเก่าเซฟไว้แล้ว
    เดี๋ยวจะไปโพสท์เรียกตีน
    ให้ในเวบพันทิปละกัน คงได้แยะ
    คงสร้างกระแสคลื่นจิต ได้จำนวนหนึ่ง

    ปล่อยออกสู่โลกสามมิติ สะสมตีนเอาไว้ก่อน
    พอดวงดาวเคลื่อนสู่ตำแหน่งที่เหมาะสม
    ก็ระดมโจมตีในครั้งเดียว เหี่ยวเห็นๆ
    กระทำการอย่างสอดคล้องกัน
    กับดวงดาว ไม่เปลืองแรง
    เหมือนยักในวงไฮโล
    ลงทุนเพียงน้อย
    กำไรสองต่อ
    ๕๕๕๕๕


    เล็บครุฑ นารายณ์ทรง / มังกรคู่สู้สิบทิศ

    .
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ผู้ใดสมาทาน หวังความเจริญในพระสัทธรรมโดยปฎิสัมภิทาญาน ผู้นั้นย่อมล่วงรู้สถานะและได้เข้าถึงทิพยภูมิของพระอริยะบุคคล เพียงแก่ฐานะที่สั่งสมบุญบารมี โดยปฎิสัมภิทาญานในอนาคต ชาติภพนี้ อย่าคิดว่าตนเองจะไม่มีทางได้รู้ เมื่อมีโอกาสได้รู้ เบื้องต้น ควรศึกษาและหมั่นพิจารณาองค์กำเนิดธรรมนี้ อยู่เป็นเนืองนิตย์ เมื่อใดที่ตนรู้แล้วในธรรมนี้ ก็จะรู้จักกิจรู้จักหน้าที่ของตนอีกครั้งโดยปรมัตถ์ธรรม

    ขอให้ทุกท่านถึงความเจริญฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201






    การประกาศเป็นศัตรูกับพระสัทธรรมและเหล่าพุทธบริษัท อย่างแฝงกิเลสลุแก่อำนาจชั่วของสำนักวัดนาป่าพง

    สำหรับเรื่องที่คึกฤทธิ์ได้วิสัชนา ถอดถอนบทธรรม คาถาบทสวดมนต์ต่างๆ ระบุให้เป็นเดรัจฉานวิชาทั้งหมด นั่นก็หมายถึง ถ้าในพุทธวจนปิฏกทั้งหลาย เล่มเขียวเล่มแดงเล่มเหมืองเล่มดำ สารพัดสี ดังที่ได้มีหนังสือระบุ อันส่อแสดงถึงเจตนาถึงการสวดมนต์ในบทต่างๆที่มีอยู่ในโลกธาตุนี้ ตามเว็บต่างๆ สื่อเสียงยูทูป ที่สำนักวัดนาป่าพงไม่ได้แสดงไว้ ซึ่งบทธรรมหรือข้อธรรมนั้นๆ ก็เท่ากับเป็นการประกาศอย่างโจ่งแจ้งว่า " บทสวดมนต์ใดๆก็ตามๆที่สำนักวัดนาป่าพง ไม่ได้เอาขึ้นเรื่องตีปกในหนังสือของสำนักตนเอง บทธรรม ข้อความ บทคาถา บทสวดมนต์ หรือสื่อธรรมนั้นๆ เป็นเดรัจฉานวิชาทั้งหมด ฯ แม้บทสวดมนต์ที่บุคคลนับถือสวดพิจารณา สาธยายมาหลายเป็นพันปีหลายร้อยปีและหลายสิบปี สำนักวัดนาป่าพงโดยคึกฤทธิ์และลูกศิษย์ยังไม่ได้เกิดเป็นวุ้นเลยก็มี พึ่งจะได้เกิดเมื่อวานซืน แต่ก็ยังสามารถทำให้บทสวดบทธรรมที่มีอยู่ยั่งยืนมานานยิ่งกว่าอายุขัยตนเองยังทำให้เป็นเดรัจฉานวิชาได้ นับประสาอะไรกับบทธรรมอื่นๆ ในสากลโลก



    หากคิดให้ลึกซึ้งแล้ว ท่านผู้มีความรักและหวงแหนในพระพุทธศาสนา ย่อมเห็นความอหังการชั่วช้าของคึกฤทธิ์และศิษย์ผู้ติดตามที่โง่เขลา ที่กระทำการเบียดเบียนเหล่าพุทธบริษัท ทั่วสากลโลกในตลอดอนันตริยจักรวาล บาปอกุศลกรรมที่เกิดขึ้นกับสำนักวัดนาป่าพงนี้ จักเพิ่มพูนมากขึ้น ทุกทิวาราตรีกาล จึงขอให้ท่านผู้เจริญในพระสัทธรรมทั้งหลายฯ ได้พ้นห่างจากภัยข้อนี้ และรักษาตนและบุคคลอันเป็นที่รักให้รอดพ้นจากภัยที่กำลังจะเกิดขึ้น กับ เหล่าโมฆะบุรุษแห่งสำนักวัดนาป่าพงในชาติภพนี้เถิด

    จงดูเป็นอุทาหรณ์ เป็นตัวอย่างในกาลต่อไป อย่าได้ประมาทในธรรม!!

    ยิ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงเด่นดังทางสังคมมากเท่าไหร่ฉันใด ชื่อเสียที่จะเกิดขึ้นก็จะมากกว่าฉันนั้น

    ด้วยกรรมแห่งอนันตริยกรรมทั้ง 5 ประการนี้จัดเป็นกรรมหนักหรือครุกรรม ผู้ใดทำกรรมอนันตริยกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้นั้นจะได้รับโทษทั้งทางโลกและทางธรรม โทษของทางโลกคือจะถูกผู้คนประณามและสาปแช่ง คึกฤทธิ์ผู้ต้องปาราชิกจากการทำสังฆเภท, อวดอุตริมนุษยธรรม, ฉ้อโกงพระธรรมของพระพุทธเจ้า, กล่าวตู่ว่าเป็น สิ่งของตามพุทธวจนะที่ทรงประทานอนุญาต ให้สร้างและจัดสร้างออกมาขาย, ผลกรรมคือไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานหรือมรรคผลใดๆ ได้เลยตลอดชีวิตในชาติที่ยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อตายจากโลกไปจะต้องตกนรกเพียงสถานเดียว ไม่สามารถขึ้นสวรรค์ได้ ต่อให้ทำกรรมดีมากมายเพียงใดก็ไม่อาจหนีพ้นจากนรกไปได้ ทั้งนี้จะรวมทั้งลูกศิษย์ที่ให้การสนับสนุนโดยที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่นั่นด้วย ตั้งแต่เกิดมาไม่มีสติปัญญาไตร่ตรองพระธรรมคำสั่งสอนได้เอง พอเจอระบบสังคมนิยม ก็เกิดความเห่อเหิมจนลืมตัว เห็นช้างขี้ อยากเดินไปขี้ตามช้าง โดยไม่รู้ว่าช้างมันตกมันและตาบอด พาเดินโดดลงหน้าผาตกลงไปในหุบเหว แต่ก็สมแล้ว ที่ได้เป็นศิษย์เป็นครูกัน


    เราขอเตือน การศิโรราบก้มกราบเท้าโมฆะบุรุษอย่างคึกฤทธิ์ จะเกิดภัยไม่ว่าชนิดใดๆเป็นอันมาก ,อุปัทวะไม่ว่าชนิดใดๆเป็นอันมาก ,อุปสรรคไม่ว่าชนิดใดๆเป็นอันมาก ชีวิตจะฉิบหาย ครอบครัวจะล่มสลาย ล่มหายตายจากก่อนวัยอันควรเป็นอันมาก เพราะธาตุ ๔ ในร่างกายจะแบกรับสภาวะกรรมไม่ไหว เพราะไม่รู้จักอานิสงส์แห่งการเคารพกราบไหว้ จะพาพ่อแม่ปู่ย่าตายายและลูกหลานญาติพี่น้องล้มตาย เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ศิษย์สำนักวัดนาป่าพงผู้โง่เขลา ผู้แยกแยะดีชั่วไม่ออกไม่เป็น เวรกรรมแท้ๆ


    เตรียมรับ ธาตุทัณฑ์ กันทั้งสำนัก ถือว่าเมตตาแล้ว โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากผลกรรมนี้ ญาติพี่น้องล้มหายตายจาก ก็ไม่ได้บุญจากการสาธยายพระอภิธรรม เวรกรรมแท้ๆ ลงอบายภูมิด้วยผลกรรมที่ตัดรอน

    ถ้าไม่เชื่อ ไปสำรวจยอดญาติผู้เสียชีวิตได้เลย ว่าทำไมถึงตายแบบด่วนกระทันหัน และประสบทุกข์มากมายในชีวิตเพิ่มมากขึ้น แล้วอย่าคิดว่าตายแล้วจะได้ไปสู่สุคติ


    [ธาตุทัณฑ์] คือผลกรรมบันดาล เบิกกรรมชาตินี้ ทำลายกรรมชาติหน้า มหาเมตตา สำหรับคนขาดสูญฯสิ้นเสีย
    ธาตุขันธ์ ๕ ย่อมทำลายตนเองเพื่อบูชาธรรม นี่คือกรรมของพวกโกหกปลิ้นปล้อน กรณีแผ่นดินเคลื่อน ธรณีสูบ ธรณีสูบ คือ ปฐวีธาตุ หรือธาตุดินกำเริบอย่าไปคิดว่าพระแม่ธรณี ฆ่าเอา เทพ นาค คนธรรพ์ เทวดา มารพรหม เขาไม่มีเอี่ยวด้วยในเรื่องนี้คนมันถึงที่ บาปมันลงตัว ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ ขันธ์ ๙ ก็ไม่เหลือ ยกเว้นอรูปพรหม จำไว้นะ สภาวะธรรมสามารถแปลงธาตุได้ทุกอย่าง

    ธาตุทัณฑ์ในสมัยพุทธกาล พระเทวทัต สุปปะพุทธะ นันทมานพ จิญจมาณวิกา ธาตุดินกำเริบ ส่วน นันทยักษ์ ธาตุลม ,ธาตุไฟและธาตุดินกำเริบ



    ขโมยอะไรไม่ขโมย ขโมยธรรมจากพระพุทธเจ้าไปขาย กล่าวตู่พระพุทธเจ้าว่าเป็นสิ่งของตามพุทธวจนะ ทรงประทานอนุญาต
    การลัก การขโมย เป็นต้น ท่านจำแนกไว้ ๑๓ ลักษณะ คือ ลัก ชิงหรือวิ่งราว ลักต้อน แย่ง ลักสับ ตู่ ฉ้อหรือฉ้อโกง ยักยอก ตระบัด ปล้น หลอกลวง กดขี่หรือกรรโชก ลักซ่อน อวหารทั้ง ๑๓ ประการนี้ ถ้าภิกษุลงมือทำด้วยตนเอง เรียกว่า สาณัตติกะ คือ การทำความผิดด้วยตนเอง แต่ถ้าสั่ง คือให้ผู้อื่นทำแทนตน เรียกว่า อาณัตติกะ ต้องอาบัติเพราะสั่งให้เขาทำ และต้องอาบัติในเวลาที่ผู้รับคำสั่งนั้นไปลักทรัพย์หรือทำอวหารได้ของมา ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า สิกขาบทนี้เป็นทั้งสาณัตติกะ และ อาณัตติกะ คือ ทำเองก็ต้อง สั่งผู้อื่นทำก็ต้องเหมือนกัน


    "กัมมุนา วัตตติ โลโก"

    สัตว์โลกทั้งหลายต้องเป็นไปตามกรรม


    มธุวา มญฺญติ พาโล ยาว ปาปํ น มุจฺจติ คนโง่ย่อมจะเห็นบาปเป็นน้ำผึ้ง ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล

    อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ ตนทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง

    สเจ ปุพฺเพกตเหตุ สุขทุกฺขํ นิคจฺฉติ สะเจปุบเพกะตะเหตุสุขทุกขังนิคันฉะติ

    ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ

    กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว



    อถ ปาปานิ กมฺมานิ กรํ พาโล น พุชฺฌติ อะถะปาปานิกัมมานิ กะรังพาโลนะพุดชะยะติ

    เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก

    นิสมฺม กรณํ เสยฺโย นิสัมมะกะระณังเสยโย

    ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า

    ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ ยาทิสังวะปะเตพีชังตาทิสังละภะเตผะลัง

    บุคคลหว่านพืชเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้น

    น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ นะตังกัมมังกะตังสาธุยังกัตวาอะนุตับปะติ

    ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี

    สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคติ สานิกัมมานินะยันติทุคะติ

    กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคคติ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2016
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เราถือว่าเราเตือนเป็นครั้งที่ ๓ เป็นครั้งสุดท้าย ในเรื่อง ธาตุทัณฑ์ และเราขอให้กรรมนี้ได้ไปตัดรอนและฉุดช่วย เหล่าโมฆะบุรุษสำนักวัดนาป่าพง ไม่ต้องสร้างบาปกรรมมากไปกว่านี้ จนถึงบุคคลสุดท้าย ขอให้ผลกรรมที่มีด้วยความเมตตา นั้นจงบังเกิดสัมฤทธิ์ผล เพื่อปลดทุกข์ให้แก่เหล่าเวไนยสัตว์นี้ด้วยเทอญฯ อย่าให้พวกเขาเหล่านั้นสร้างกรรมไปมากกว่านี้อีกเลย ขอให้เจ้าสำนักและศิษย์สำนักวัดนาป่าพงเจริญๆในพระสัทธรรมเถิด

    คงจะจำได้นะ ถ้าศึกษามามากพอ ว่า คำอวยพรขอให้เจริญๆ แต่ผู้ที่ได้รับพรกลับถูกธรณีสูบ จะได้ข้ามภพข้ามชาติไวๆอย่างไรล่ะ! มาจากที่ไหน?


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เป็นอย่างไร?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมเพ่งพินิจโดยความเป็น ธาตุ ประการหนึ่ง
    โดยความเป็น อายตนะ ประการหนึ่ง
    โดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท ประการหนึ่ง.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุย่อมเป็นผู้ เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ.
    ภิกษุฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เรา เรียกว่า ยอดบุรุษ ผู้เสร็จกิจ อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้.



    สัตว์ทั้งหลายคบกันโดยธาตุ
    สรรพสัตว์ทั้งหลาย ล้วนต่างปรารถนาความสุขเกลียดชังความทุกข์ แต่ยากที่จะล่วงพ้นจากทุกข์ไปได้ ความทุกข์เกิดขึ้นมาพร้อมกับการเกิดของสรรพสัตว์ ตั้งแต่วันแรกเกิดกระทั่งถึงวันที่หลับตาลาโลก ทุกชีวิตล้วนมีความทุกข์เป็นพื้นฐาน จะทุกข์มากหรือทุกข์น้อย ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ถ้ามีบุญน้อยก็ทุกข์มากหน่อย มีบุญมากความทุกข์ก็ลดน้อยลงไป เมื่อเราเข้าใจความเป็นจริงของชีวิตว่า ชีวิตเป็นทุกข์อย่างนี้แล้ว เราจะได้เกิดความเบื่อหน่ายในทุกข์ทั้งหลาย แล้วรีบขวนขวายในการสลัดตนให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งมวล และแสวงหาความสุขที่แท้จริง ซึ่งการปฏิบัติธรรมด้วยการทำใจให้บริสุทธิ์หยุดนิ่ง เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตของผู้ที่ปรารถนาความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
    มีวาระพระบาลีที่ปรากฏในปฐมสขาสูตร ความว่า

    “มิตรที่ดี ย่อมให้ของที่ดีงาม และเป็นของที่ให้ได้ยาก รับทำกิจที่ทำได้ยาก อดทนต่อถ้อยคำหยาบคาย แม้ยากที่จะอดทนไว้ได้ บอกความลับของตนแก่เพื่อน ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ เมื่อเพื่อนสิ้นโภคสมบัติก็ไม่ดูหมิ่น ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในบุคคลใด บุคคลนั้นเป็นมิตรแท้ ผู้ประสงค์จะคบมิตรสหาย ควรคบกับมิตรเช่นนั้นแล”

    คนเราจะคบหาสมาคม และมีความรักความสามัคคีกันนั้น บุคคลทั้งสองจะต้องมีอุปนิสัยใจคอ และมีความประพฤติใกล้เคียงกัน มีศีลและทิฐิเสมอกัน ส่วนคนที่ชอบเที่ยวสนุกสนาน จะมีพรรคพวกที่ชอบเที่ยวชอบสนุกสนานเหมือนกัน คนที่ชอบไปวัดฟังธรรม ชอบทำบุญทำกุศล จะคบหากับคนที่ชอบทำบุญเข้าวัดฟังธรรม ส่วนคนชอบดื่มสุราจะมีเพื่อนขี้เมาด้วยกัน มีงานเลี้ยงที่ไหนจะพบเจอกันที่นั่น ส่วนคนชอบเล่นการพนัน ก็จะมีเพื่อนเป็นเซียนพนัน มีบ่อนที่ไหนก็จะเจอกันที่นั้น
    สังคมของมนุษย์ จึงแยกกลุ่มไปตามอุปนิสัยของคน ดังตัวอย่างของพระภิกษุ ๒ รูป ที่มีอุปนิสัยใจคอตรงกัน จึงมีความรักความสมัครสมานสามัคคี และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เรื่องมีอยู่ว่า
    *มก. สุหนุชาดก เล่ม ๕๗/๕๔

    ในสมัยพุทธกาล ที่วัดพระเชตวันมหาวิหาร มีภิกษุรูปหนึ่ง มีอุปนิสัยใจคอดุร้ายหยาบคาย พระภิกษุสามเณรที่วัดพระเชตวันต่างรู้จักอัธยาศัยของภิกษุรูปนี้เป็นอย่างดี ส่วนวัดที่อยู่ชนบทอีกแห่งหนึ่งก็มีภิกษุที่มีอุปนิสัยใจคอดุร้ายหยาบคายอีกรูปหนึ่งเช่นกัน วันหนึ่งภิกษุชนบทรูปนี้ เดินทางมาที่วัดพระเชตวันมหาวิหาร พวกภิกษุสามเณรที่วัดพระเชตวันได้ล่วงรู้อัธยาศัยของท่าน จึงไม่อยากให้พักอาศัยอยู่ด้วย แต่ได้นิมนต์ให้ท่านไปพักอยู่กับภิกษุผู้มีอารมณ์ร้ายเหมือนกัน

    เหล่าภิกษุสามเณรเมื่อส่งท่านไปแล้ว ต่างหวั่นใจกลัวว่าภิกษุทั้งสองรูปนี้จะทะเลาะโต้เถียงกันลั่นวัด แต่เหตุการณ์กลับไม่ได้เป็นอย่างที่คาดคิด เพราะเมื่อภิกษุทั้ง ๒ รูป เห็นหน้ากันเท่านั้น กลับมีความสนิทสนมคุ้นเคย มีความรักความสมัครสมานสามัคคีกัน พูดคุยกันอย่างถูกคอ ทั้งยังผลัดกันนวดให้กันและกันอีกด้วย ครั้นเหล่าภิกษุรู้เรื่อง จึงสงสัยและพูดคุยสนทนาไปต่างๆ นานา

    วันหนึ่ง เหล่าภิกษุได้พูดคุยสนทนากันที่โรงธรรมสภาว่า “ภิกษุทั้งสองรูปนี้ มีใจคอดุร้าย หยาบคายเฉพาะกับบุคคลอื่น แต่ทำไมเมื่อทั้งสองรูปนี้อยู่กุฏิเดียวกัน กลับไม่ทะเลาะเบาะแว้งกันเลย ทั้งยังมีความรักสนิทสนมกันดีมาก” ขณะที่เหล่าภิกษุกำลังสนทนากัน พระบรมศาสดาได้เสด็จมาและตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกำลังสนทนาพูดคุยเรื่องอะไรกันอยู่” เหล่าภิกษุได้กราบทูลให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ไม่ใช่เฉพาะในชาตินี้เท่านั้น ที่ภิกษุทั้งสองรูปนี้ มีอุปนิสัยดุร้ายหยาบคาย แต่พอเห็นหน้ากันแล้วกลับมีความรัก มีความสามัคคี มีความสนิทสนมกัน แม้ในชาติก่อนเธอทั้งสองก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน” เมื่อได้ฟังพระดำรัสดังนั้น เหล่าภิกษุอยากจะรู้เรื่องราวในอดีต จึงกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ตรัสเล่าให้ฟัง พระบรมศาสดาจึงทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่าว่า

    ในอดีตกาล ครั้งที่พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในเมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ สำเร็จราชการทุกอย่างแทนพระราชา ทั้งยังเป็นผู้ถวายอรรถและธรรมให้กับพระราชาอีกด้วย ส่วนพระราชามีอุปนิสัยละโมบในพระราชทรัพย์ และทรงมีม้าอยู่ตัวหนึ่งชื่อมหาโสณะ

    วันหนึ่ง พวกพ่อค้าม้าชาวเมืองอุตตราบถ นำม้า ๕๐๐ ตัว มาขายที่เมืองพาราณสี พวกอำมาตย์จึงเข้าไปกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ ช่วงแรก พระโพธิสัตว์เป็นคนตีราคาม้า จึงตีราคาตามรูปร่างของม้า และตามความเหมาะสม แล้วจ่ายทรัพย์ให้กับพวกพ่อค้าม้าด้วยตนเอง แต่ช่วงหลัง พระราชาเห็นพระโพธิสัตว์ไม่ต่อรองลดราคาม้าลง จึงเกิดความเสียดายพระราชทรัพย์ จึงตรัสเรียกอำมาตย์คนอื่นมาเข้าเฝ้าแล้วตรัสบอกว่า “ท่านจงไปทำหน้าที่ตีราคาม้า ก่อนจะตีราคาม้า ให้ปล่อยม้ามหาโสณะเข้าไปกัดม้าทั้งหลายให้เป็นแผลเสียก่อน เพื่อจะได้กดราคาม้าลงมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้”

    เมื่ออำมาตย์ได้รับพระบัญชาแล้ว ก็ทำตามพระประสงค์ทันที ฝ่ายพ่อค้าเกิดความไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง ที่เห็นอำมาตย์คนใหม่ปล่อยม้ามากัดม้าของพวกตน แล้วกดราคาม้าลง จึงนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าไปหาอำมาตย์พระโพธิสัตว์ ซึ่งมีความคุ้นเคยกันเมื่อตอนมาขายม้าใหม่ๆ พระโพธิสัตว์ได้ถามว่า “ที่เมืองของพวกท่าน มีม้าอย่างม้ามหาโสณะไหม พวกพ่อค้าตอบว่า มีอยู่ตัวหนึ่งชื่อสุหนุ ม้าตัวนี้หยาบคายมาก” พระโพธิสัตว์จึงบอกว่า “คราวหน้า เมื่อพวกท่านนำม้ามาขายอีก ให้นำม้าตัวนี้เดินทางมาด้วย” พวกพ่อค้าม้าก็รับคำ
    เมื่อพวกพ่อค้าชาวเมืองอุตตราบถเดินทางเอาม้ามาขายอีก ก็ได้นำม้าสุหนุติดมาด้วย พระราชาทรงรู้ว่า พวกพ่อค้าชาวเมืองอุตตราบถนำม้ามาขายอีก จึงรับสั่งให้เปิดสีหบัญชร เพื่อทอดพระเนตรดูม้าทั้งหลาย แล้วมีพระบัญชาให้ปล่อยม้ามหาโสณะออกไปทำงานทันที พวกพ่อค้าเห็นม้ามหาโสณะเข้ามากัดม้าของพวกตน จึงรีบปล่อยม้าสุหนุออกไปทันที พอม้าทั้งสองประจัญหน้ากัน ก็กลับเลียตัวให้กันและกัน ไม่ทำร้ายกัน มีท่าทีสนิทสนมกันมาก เหตุการณ์จึงไม่เป็นอย่างที่ตั้งพระทัยไว้
    พระราชาทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น จึงเกิดความสงสัยขึ้นมาทันที ได้ตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า “ม้าสองตัวนี้ ทำไมไม่กัดกัน แต่จะดุร้ายหยาบคายกัดเฉพาะม้าตัวอื่น มิหนำซ้ำ ม้าสองตัวนี้เห็นกันแล้ว กลับเลียตัวให้กันและกัน มีท่าทีสนิทสนม เหมือนเคยได้อยู่ร่วมกันมานาน เป็นเพราะเหตุใดหนอ”

    พระโพธิสัตว์กราบทูลให้ทรงทราบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ม้าสองตัวนี้มันมีปกติเสมอกัน มีธาตุเสมอกัน” แล้วกราบทูลอธิบายว่า “ม้าทั้งสองตัวนี้ มีความรักสนิทสนมกัน เพราะมีอุปนิสัยดุร้ายหยาบคายเหมือนกัน และยังเสมอกัน ทั้งชอบวิ่ง ชอบคะนอง และชอบกัดเชือกที่ล่ามอยู่เป็นประจำ ความที่มีอัธยาศัยเสมอกัน จึงไม่กัดไม่ทำร้ายกัน” เมื่อพระโพธิสัตว์กราบทูลจบ ก็ถวายโอวาทให้กับพระราชาอีกว่า “ข้าแต่มหาราช ธรรมดาพระราชาพึงอย่ามีความโลภจนเกินงาม อย่ารังแกผู้น้อย ทำสมบัติของคนอื่นให้เสียหาย ขอให้พระองค์ตีราคาม้า และจ่ายทรัพย์ให้กับพวกพ่อค้าม้าไปตามความเหมาะสมเถิด พระเจ้าข้า” เมื่อพวกพ่อค้าม้าได้ราคาตามเป็นจริง ต่างพากันร่าเริงยินดีกันถ้วนหน้า แล้วพากันกลับเมืองไป

    เราจะเห็นได้ว่า คนเราจะอยู่ร่วมกันหรือคบหาสมาคมกันด้วยธาตุในตัว คือ มีอุปนิสัยใจคอตรงกัน มีศีลและทิฐิเสมอกัน มีความประพฤติที่เหมือนๆ กัน จึงสามารถไปด้วยกันได้ คนดีคบหากับคนดี คนพาลก็คบกับคนพาล บัณฑิตนักปราชญ์คบหาสมาคมกับบัณฑิตนักปราชญ์ เพราะเหตุนั้น สังคมจึงแยกกันด้วยความประพฤติที่แตกต่างกันโดยธาตุ เพราะสัตว์ทั้งหลายคบกันโดยธาตุ ดังนั้น เราควรจะมีธาตุที่บริสุทธิ์ คบหาแต่ผู้บริสุทธิ์ มีศีลมีธรรม เพื่อชีวิตของเราจะได้เจริญรุ่งเรืองสูงส่งยิ่งๆ ขึ้นไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2016
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จงยินดีน้อมรับ ธาตุทัณฑ์ นั้นเถิด อยู่ไปก็เสียชาติ เกิดมา ตายเปล่า แทนที่จะหลุดพ้น กลับตาลปัตรต้องเวียนว่ายตายเกิด อย่างยาวนานอีก ช่างน่าเวทนา คบใครไม่คบ คบหาสมาคมกับคึกฤทธิ์
    https://youtu.be/FwoTvi7d5Cs



    พหุธาตุกสูตร
    [๒๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยไม่ว่า
    ชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต
    อุปัทวะไม่ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้น
    แต่บัณฑิต อุปสรรคไม่ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล
    ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไฟลุกลามแล้วแต่เรือน
    ไม้อ้อ หรือเรือนหญ้า ย่อมไหม้ได้กระทั่งเรือนยอดที่โบกปูน มีบานประตูสนิท
    ปิดหน้าต่างไว้ ฉันใด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภัยไม่ว่าชนิดใดๆ
    ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต อุปัทวะไม่
    ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต
    อุปสรรคไม่ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งหมดนั้นย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่
    เกิดขึ้นแต่บัณฑิต

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดังนี้แล คนพาลจึงมีภัยเฉพาะหน้า บัณฑิต
    ไม่มีภัยเฉพาะหน้า คนพาลจึงมีอุปัทวะ บัณฑิตไม่มีอุปัทวะ คนพาลจึงมีอุปสรรค
    บัณฑิตไม่มีอุปสรรค ภัย อุปัทวะ อุปสรรค ไม่มีแต่บัณฑิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า จักเป็นบัณฑิต ฯ"


    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้ทูล
    พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะควรเรียกว่าภิกษุเป็นบัณฑิต มี
    ปัญญาพิจารณา ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ
    ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และฉลาดในฐานะและอฐานะ ดูกร
    อานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็นบัณฑิต มีปัญญาพิจารณา ฯ

    [๒๓๗] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดใน
    ธาตุ ด้วยเหตุเท่าไร ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ ธาตุนี้มี ๑๘ อย่างแล ได้แก่ ธาตุคือจักษุ ธาตุคือรูป
    ธาตุคือจักษุวิญญาณ ธาตุคือโสต ธาตุคือเสียง ธาตุคือโสตวิญญาณ ธาตุคือฆานะ
    ธาตุคือกลิ่น ธาตุคือฆานวิญญาณ ธาตุคือชิวหา ธาตุคือรส ธาตุคือชิวหาวิญญาณ
    ธาตุคือกาย ธาตุคือโผฏฐัพพะ ธาตุคือกายวิญญาณ ธาตุคือมโน ธาตุคือธรรมารมณ์
    ธาตุคือมโนวิญญาณ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๑๘ อย่าง ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้
    อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ


    [๒๓๘] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า ภิกษุ
    ผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีไหม ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือดิน ธาตุคือน้ำ
    ธาตุคือไฟ ธาตุคือลม ธาตุคืออากาศ ธาตุคือวิญญาณ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล
    ธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาด
    ในธาตุ ฯ


    [๒๓๙] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า
    ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีอีกไหม ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือสุข ธาตุคือทุกข์
    ธาตุคือโสมนัส ธาตุคือโทมนัส ธาตุคืออุเบกขา ธาตุคืออวิชชา ดูกรอานนท์
    เหล่านี้แล ธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุ
    ผู้ฉลาดในธาตุ ฯ


    [๒๔๐] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า
    ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีอีกไหม ฯ


    พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือกาม ธาตุคือ
    เนกขัมมะ ธาตุคือพยาบาท ธาตุคือความไม่พยาบาท ธาตุคือความเบียดเบียน
    ธาตุคือความไม่เบียดเบียน ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุ
    ที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ


    [๒๔๑] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า
    ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีอีกไหม ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๓ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือกาม ธาตุคือรูป
    ธาตุคืออรูป ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๓ อย่าง แม้ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่
    จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ


    [๒๔๒] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า
    ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีอีกไหม ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๒ อย่าง คือ สังขตธาตุ อสังขตธาตุ
    ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๒ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่
    จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ

    [๒๔๓] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาด
    ในอายตนะ ด้วยเหตุเท่าไร ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ อายตนะทั้งภายในและภายนอกนี้ มีอย่างละ ๖ แล
    คือ จักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่น ชิวหาและรส กายและ
    โผฏฐัพพะ มโนและธรรมารมณ์ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล อายตนะทั้งภายใน
    และภายนอกอย่างละ ๖ แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุ
    ผู้ฉลาดในอายตนะ ฯ


    [๒๔๔] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาด
    ในปฏิจจสมุปบาท ด้วยเหตุเท่าไร ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เมื่อเหตุนี้มี
    ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี
    เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะ
    สังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูป
    เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ
    เป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
    จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    อย่างนี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ แต่เพราะอวิชชานั่นแลดับด้วย
    วิราคะไม่มีส่วนเหลือจึงดับสังขารได้ เพราะสังขารดับจึงดับวิญญาณได้ เพราะ
    วิญญาณดับจึงดับนามรูปได้ เพราะนามรูปดับจึงดับสฬายตนะได้ เพราะสฬายตนะ
    ดับจึงดับผัสสะได้ เพราะผัสสะดับจึงดับเวทนาได้ เพราะเวทนาดับจึงดับตัณหาได้
    เพราะตัณหาดับจึงดับอุปาทานได้ เพราะอุปาทานดับจึงดับภพได้ เพราะภพดับ
    จึงดับชาติได้ เพราะชาติดับจึงดับชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
    อุปายาสได้ อย่างนี้เป็นความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ดูกรอานนท์ ด้วยเหตุ
    เท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฯ


    [๒๔๕] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาด
    ในฐานะและอฐานะ ด้วยเหตุเท่าไร ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    (๑) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
    ทิฐิ ๑- พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และ
    รู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชน พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความ
    เป็นของเที่ยง นั้นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๒) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อม
    ด้วยทิฐิ พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และ
    รู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็น
    สุขนั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๓) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อม
    ๑. ในอรรถกถา ท่านหมายถึงพระโสดาบันผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมาทิฐิ
    ด้วยทิฐิ พึงเข้าใจธรรมไรๆ โดยความเป็นอัตตา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และ
    รู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงเข้าใจธรรมใดๆ โดยความ
    เป็นอัตตา นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๔) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อม
    ด้วยทิฐิ พึงปลงชีวิตมารดา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะ
    มีได้แล คือ ปุถุชนพึงปลงชีวิตมารดาได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๕) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อม
    ด้วยทิฐิ พึงปลงชีวิตบิดา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะ
    มีได้แล คือ ปุถุชนพึงปลงชีวิตบิดาได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๖) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อม
    ด้วยทิฐิ พึงปลงชีวิตพระอรหันต์ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า
    ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงปลงชีวิตพระอรหันต์ได้ นั่นเป็นฐานะ
    ที่มีได้ ฯ
    (๗) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อม
    ด้วยทิฐิ มีจิตคิดประทุษร้าย พึงทำโลหิตแห่งตถาคตให้ห้อขึ้น นั่นเป็นฐานะ
    ที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนมีจิตคิดประทุษร้าย
    พึงทำโลหิตแห่งตถาคตให้ห้อขึ้นได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๘) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อม
    ด้วยทิฐิ พึงทำลายสงฆ์ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะ
    มีได้แล คือ ปุถุชนพึงทำลายสงฆ์ได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๙) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อม
    ด้วยทิฐิ จะพึงมุ่งหมายศาสดาอื่น นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะ
    มีได้แล คือ ปุถุชนจะพึงมุ่งหมายศาสดาอื่นได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๑๐) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ พระอรหันต-
    *สัมมาสัมพุทธ ๒ พระองค์ พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลัง
    กัน นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ พระอรหันต-
    *สัมมาสัมพุทธพระองค์เดียว พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว นั่นเป็นฐานะ
    ที่มีได้ ฯ
    (๑๑) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ พระเจ้า
    จักรพรรดิ ๒ องค์ พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลังกัน
    นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ พระเจ้าจักรพรรดิ
    พระองค์เดียว พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๑๒) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรี
    พึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็น
    ฐานะมีได้แล คือ บุรุษพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ นั่นเป็นฐานะ
    ที่มีได้ ฯ
    (๑๓) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรี
    พึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะ
    มีได้แล คือ บุรุษพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๑๔) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีพึงสำเร็จ
    เป็นท้าวสักกะ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ
    บุรุษพึงสำเร็จเป็นท้าวสักกะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๑๕) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือสตรีพึงสำเร็จ
    เป็นมาร นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุรุษ
    พึงสำเร็จเป็นมาร นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๑๖) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือสตรีพึงสำเร็จ
    เป็นพรหม นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ
    บุรุษพึงสำเร็จเป็นพรหม นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๑๗) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่ง
    กายทุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้
    และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งกายทุจริต พึงเกิดเป็นที่
    ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ


    (๑๘) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งวจี-
    ทุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และ
    รู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งวจีทุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่า
    ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๑๙) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งมโน-
    *ทุจริตพึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และ
    รู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งมโนทุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่า
    ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๒๐) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งกาย-
    *สุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะ
    ที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งกายสุจริต พึงเกิด
    เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๒๑) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งวจี-
    *สุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะ
    ที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งวจีสุจริต พึงเกิด
    เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๒๒) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งมโน-
    *สุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะ
    ที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะที่มีได้แล คือ วิบากแห่งมโนสุจริต พึง
    เกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๒๓) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่ง
    พร้อมด้วยกายทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกายทุจริตนั้น
    เป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล
    คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจริตเมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
    นรก เพราะกายทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๒๔) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่ง
    พร้อมด้วยวจีทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะวจีทุจริตนั้น
    เป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล
    คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวจีทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
    นรก เพราะวจีทุจริตนั้นเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๒๕) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่ง
    พร้อมด้วยมโนทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะมโนทุจริต
    นั้นเป็นเหตุ เป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล
    คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ
    วินิบาต นรก เพราะมโนทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๒๖) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่ง
    พร้อมด้วยกายสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ
    กายสุจริตนั้นเป็นเหตุ เป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็น
    ฐานะมีได้แล คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติ
    โลกสวรรค์ เพราะกายสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๒๗) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อม
    ด้วยวจีสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะวจีสุจริต
    นั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล
    คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวจีสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะ
    วจีสุจริตนั้นเป็นเหตุ เป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (๒๘) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อม
    ด้วยมโนสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ
    มโนสุจริตนั้นเป็นเหตุ เป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็น
    ฐานะมีได้แล คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติ
    โลกสวรรค์ เพราะมโนสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    ดูกรอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ
    และอฐานะ ฯ

    [๒๔๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ ได้ทูล
    พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย
    ธรรมบรรยายนี้ชื่อไร พระพุทธเจ้าข้า ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ไว้ ว่าชื่อ
    พหุธาตุก (ชุมนุมธาตุมากอย่าง) บ้าง ว่าชื่อจตุปริวัฏฏ (แสดงอาการเวียน ๔ รอบ)
    บ้าง ว่าชื่อธรรมาทาส (แว่นส่องธรรม) บ้าง ว่าชื่ออมตทุนทุภี (กลองบันลืออมฤต)
    บ้าง ว่าชื่ออนุตตรสังคามวิชัย (ความชนะสงครามอย่างไม่มีความชนะอื่นยิ่งกว่า)
    บ้าง ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ พหุธาตุกสูตร ที่ ๕
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2016
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จะแก้การวิสัชนาของเราได้ ก็ต้องไปหาข้อความในพระราชหัตเลขา ว่า " ให้คัดลอกแก้ไขดัดแปลงและสร้างขึ้นใหม่ในรูปแบบอื่นได้" ไปสิ ไปหามา เราไม่เคยอ่าน แต่รู้ว่าไม่มีแน่นอน คึกฤทธิ์และลูกศิษย์ลูกหาลูกหาบเอย ถ้าหามาได้ ยิ่งเละ! คิดออกไหม? อย่าไปอ้างท่านพุทธทาสมาล่ะ ว่า ทำไมท่านทำได้ หึหึ! ยิ่งหนักหนาสาหัส นี่คือวิสัชนาซ่อนเมฆ

    สุดท้ายจะอ้างพระพุทธเจ้าอ้างศาสนาข่มขู่ให้เชื่อเหมือนเคย จะเอาแค่พอใจในศาสนาไม่ได้ ต้องครอบคลุม ไม่อย่างนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทรงได้ถูกขนานนามเป็น พระบรมมหาศาสดาเอกของสหโลกธาตุได้อย่างไร?

    ถ้าจะเอาแต่บาปกรรมมายกแสดงกล่าวขวัญให้เกิดความหวาดกลัว ข่มขู่ให้ปฎิบัติตาม ถ้าไม่ทำตามไม่ศรัทธา จงไปนรกจงไม่ได้ผุดได้เกิด มิกลายเป็นแพ้เดียร์ถีย์ลัทธินอกรีตแล้วหรือครับในพระธรรมคำสั่งสอน เรื่องป้องกันการปรามาสศาสนาลัทธิความเชื่อไหนก็มี

    "องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ทรงเป็นพระสัพพัญญูคือเป็นผู้รอบรู้อย่างยิ่ง ทรงล่วงรู้ทั้งหมดแม้แต่เหตุเกิดของทุกศาสนา ทรงทราบที่มาและที่ไปจุดมุ่งหมายสูงสุดของทุกคำสอน รู้กรรม รู้เผ่า รู้พันธุ์ รู้ชาติ รู้ตำรา คำสั่งสอนของทุกศาสนาทั้งในที่ลับปกปิดสูญหายและที่แจ้งเปิดเผยไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งไปกว่ามายาคติที่สร้างภพสร้างชาติ ของผู้เป็นเจ้าลัทธิศาสนาชนชาตินั้นๆ พระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาเป็นทางสายเอกเพียงทางเดียว เป็นทางตรงไม่มีสอง ไม่มีสองสถานะคือทำลายและสาปแช่งกล่าวให้ร้ายผู้อื่นผู้ใดและมีความอ่อนโยนเมตตารักอ่อนโยนอย่างบริสุทธิ์ใจ อุปมาดั่งเหรียญสองด้านนั้นด้วย นั่นมิใช่ฐานะ!ไม่ใช่ความหมายของคำว่า"ศาสนา"

    " ศาสนาที่แท้จริงเมื่อปฎิบัติตามย่อมส่งผลให้มีความเจริญเพียงอย่างเดียว ไม่มีตกต่ำเลย และเมื่อไม่รู้ไม่ปฎิบัติตาม ศาสนาที่แท้จริงนั้นก็ไม่ได้ส่งผลลงโทษสาปแช่งดูหมิ่นให้ใครเสียหาย นี่จึงเรียกว่าได้ศาสนาอันเป็นที่พึ่งอย่างจริงแท้ "

    "ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง อันละเอียดอ่อนแห่งกระแสธรรม จะมีสำหรับผู้มีความเคารพรักและศรัทธาอย่างแรงกล้า"

    "พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงส่งเสริมและคาดหวังปราถนาให้เกิดวิบากกรรมกับผู้ใด" ปถุชนและท่านสาธุชนเหล่าพุทธบริษัท๔ทั้งหลายนั้นต้องเข้าใจตามและต้องพึ่งตนเองเข้าสู่รสพระธรรม เพราะเหตุแห่งการเกิดทุกข์ทั้งหลายนั้นแล ที่ตนได้กระทำผิดพลาดไป บุญส่วนบุญ กรรมก็ส่วนกรรม (อนัตริยกรรมที่พลาดพลั้งทำไปแล้ว ไม่สามารถเจริญในธรรมชั้นโลกุตระได้ แต่สามารถเพียรพยามยามศึกษาหาความเจริญ สร้างกุศลเพื่อเกื้อหนุนชาติภพใหม่ได้ เป็นฐานะที่ต้องยอมรับสภาพในผลกรรมที่สร้าง เช่น กรณี พระเจ้าอชาตศัตรู) แต่หากได้ที่พึ่งที่ดีปฎิบัติตนดีเพื่อ - เพิ่ม, เลิก, เจริญ ในการ [ทำความดี ไม่ทำความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส] ไปจนถึงคราสำเร็จธรรมนั่นแล้ว ถึงแม้มีกรรม รออยู่เบื้องหน้าให้หนักหนาสักปานใด ก็สามารถหลีกเร้นหนีพ้นผลกรรมนั้นได้

    "แต่ในที่นี้หมายถึงการยอมรับผลของการกระทำ ด้วยใจทรนงซื่อตรงอ่อนโยนเชื่อมั่น ในการสำนึกผิดบาปตามเหตุผลอันควร ประดุจเรื่องราวของพระมหาโมคคัลลานะ พระอัครสาวกที่ทรงยึดมั่นแสดงไว้เป็นตัวอย่าง เพราะรู้และสำนึก แม้มีฤทธิ์หนีทำลายพ้นเหตุและการณ์ร้ายใดๆได้ ก็ไม่ฉวยโอกาสทอดทิ้งภาระกรรม นี่คือองค์คุณของพระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์คุณ"


    แก้น่ะแก้ได้แต่เป็นการ แก้ผ้าเอาหน้ารอด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2016
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    อัพเดทข้อมูล
     
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เหตุที่ให้คึกฤทธิ์ต้อง"ปาราชิก"มีเยอะแยะมาก ทำเองก็ต้องรับเอง แต่ยังดื้อด้าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...