ของดีราคาถูก พระหลักร้อย พุทธคุณหลักล้าน

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย mayakarn, 22 กรกฎาคม 2011.

  1. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    [​IMG]
     
  2. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,833
    กระทู้เรื่องเด่น:
    92
    ค่าพลัง:
    +225,599
    [​IMG]
     
  3. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,833
    กระทู้เรื่องเด่น:
    92
    ค่าพลัง:
    +225,599
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  4. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,833
    กระทู้เรื่องเด่น:
    92
    ค่าพลัง:
    +225,599
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  5. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,833
    กระทู้เรื่องเด่น:
    92
    ค่าพลัง:
    +225,599
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  6. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,833
    กระทู้เรื่องเด่น:
    92
    ค่าพลัง:
    +225,599
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  7. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,833
    กระทู้เรื่องเด่น:
    92
    ค่าพลัง:
    +225,599
    [​IMG]
     
  8. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,833
    กระทู้เรื่องเด่น:
    92
    ค่าพลัง:
    +225,599
    สวัสดียามดึกครับพี่ตี๋ใหญ่ พี่รุ่ง คุณเอ๊ะ คุณปู คุณโญ คุณชาญ คุณรัก คุณภัทร์ คุณนอร์ คุณเอ็ม คุณโอ๊ต และทุกๆท่านครับ



    [​IMG]
     
  9. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    เมื่อวานหลังจากปํกธง ก็ไปตะเวณปักตะไคร้กับน้องโอ๊ตต่อ ถึงว่าทำไมจามไม่หยุดนึกว่าแพ้อากาศซะอีก[​IMG]
     
  10. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    น้อมกราบพระพุทธชินราช หลวงปู่บุดดา -/\-

    สวัสดีครับพี่วรรณ พระหลวงปู่รุ่นนี้ แกะได้สวยงามมากๆเลยครับ ไปวัดหลวงปู่มาเมื่อไม่กี่เดือนยังมีพระตกค้างอยู่ที่วัดบางรุ่นนะครับ
     
  11. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]

    ประวัติพระครูวิโรจน์รัตโนบล, ญาท่านดีโลด
    ( รอด นนฺตโร พ.ศ. ๒๓๘๙ – ๒๔๘๕ )

    ...................
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล เป็นผู้สืบทอดงานพระศาสนาต่อจากพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย) และเป็นเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีรูปแรก ในการปกครองแบบประชาธิปไตย ลักษณะพระครูวิโรจน์รัตโนบล ท่านเป็นผู้มีเมตตา อารมณ์ดี สุภาพอ่อนโยน ใจกว้าง หนักแน่นโอบอ้อมอารี สงบเสงี่ยมหนักแน่นในพระธรรมวินัย มั่นคงอยู่ในพรหมวิหาร มีความกตัญญู และเอื้อเฟื้อต่อประชาชนทุกชนชั้น ไม่ว่าหมู่บ้านใดเดือดร้อน ไม่สงบสุขมานิมนต์ให้ท่านไปทำพิธีมงคล ทำหลักบ้าน ท่านก็จะไปสงเคราะห์ให้ บ้านเมืองจึงสงบร่มเย็นเป็นสุข
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล มีนามเดิมว่า รอด นามสกุล สมจิตร เกิด เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๘ ตรงกับวันขึ้น ๕ ค่ำเดือนยี่ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๑๗ ที่บ้านแต้เก่า ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โยมบิดาชื่อ นายบุดดี สมจิตร โยมมารดา ชื่อ นางกา สมจิตร ตรงกับปลายรัชกาลที่ ๔ โดยท่านเป็นสหธรรมมิกกับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( จันทร์ สิริจนฺโท พ.ศ. ๒๓๙๙ – ๒๔๗๕ ) เนื่องจากเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่ครั้งเป็นฆราวาส
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล ได้รับการศึกษาเบื้องต้น จากสำนักราชบรรเทา วิชาที่เรียนได้แก่ อักษรขอม อักษรธรรม อักษรไทยน้อย ซึ่งเป็นที่นิยมเรียนกันในสมัยนั้น อักษรไทยในปัจจุบัน และเรียนศิลปศาสตร์ คือ วิชาช่างแต้มช่างเขียน ตลอดจนวิชาการช่างอื่น ๆ จากสำนักราชบรรเทา อาจารย์เดียวกันกับที่สอนหนังสือเบื้องต้น
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล อุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ ขณะอายุได้ ๒๔ ปี ณ พัทธสีมา วัดป่าน้อย หรือ วัดวณีวนาราม ในปัจจุบัน โดยมีเจ้าอธิการจันลา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์คำ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ดี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “นนฺตโร” แปลว่า “ผู้มีความเมตตาแผ่กว้างออกไปไม่มีขอบเขตขีดกั้น”
    ภายหลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านถูกส่งให้ไปประจำอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง ซึ่งเป็นแหล่งการศึกษาที่สำคัญของเมืองอุบล ในสมัยนั้น
    วัดทุ่งศรีเมือง เป็นวัดที่สร้างโดยพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ พระเถระที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มากำกับดูแลการพระศาสนาในหัวเมืองอีสาน และท่านได้จัดการศึกษาในหัวเมืองอีสานได้อย่ามีประสิทธิภาพ โดยได้ตั้งสำนักสอนหนังสือไทยอย่างภาคกลางขึ้นหลายแห่ง ทั้งในเมืองและนอกเมือง ขณะนั้นอยู่ช่วงปลายรัชกาลของพระองค์ เมื่อพระอริยวงศาจารย์ ฯ ละสังขารในปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ จากนั้นพระครูวิโรจน์จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสครองวัดทุ่งศรีเมือง เป็นผู้สืบทอดงานพระศาสนาและงานการศึกษาต่อมา ขณะพำนักอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง พระครูวิโรจน์รัตโนบลได้มีโอกาสศึกษาพระปริยัติธรรม วิชาการช่าง ตลอดจนข้อวัตรปฏิบัติ และปฏิปทาอย่างพระสงฆ์ภาพภาคกลางจากบูรพาจารย์ที่วัดทุ่งศรีเมือง ซึ่งสืบทอดต่อมาจากพระอริยวงศาจารย์ ฯ จนท่านมีความชำนาญงานช่างต่าง ๆ ซึ่งปรากฎในเวลาต่อมาว่างานศิลป์ที่เกิดจากการสร้างของท่านมีความงดงามเป็นเลิศ
    ส่วนวิชาศาสตราคม ของท่านมีความขลังและศักดิ์สิทธ์ไม่แพ้ความชำนาญด้านช่างศิลป์ เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ท่านเรียนมาจาก ครูบาธรรมวงศ์ ( ราว พ.ศ. ๒๓๓๔ – ๒๔๖๙ ) วัดผาแก้ว ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพระอาจารย์เพียงรูปเดียวที่มีชื่อเสียงปรากฎว่าเป็นอาจารย์ทางด้านคาถาอาคมของพระครูวิโรจน์รัตโนบล
    เกี่ยวกับครูบาธรรมวงศ์ จากคำบอกเล่าของหลวงปู่อินทร์ อินฺทวํโส อายุ ๘๐ ปี เจ้าอาวาสวัดผาแก้ว บอกว่าเมื่อก่อนบ้านผาแก้ว ตั้งอยู่ในเขตตำบลดอนมดแดง เป็นหมู่บ้านนักปราชญ์สืบมาตั้งแต่ครั้งตั้งเมืองอุบลราชธานี ครูบาธรรมวงศ์ ผู้เป็นอาจารย์ของพระครูวิโรจน์ฯ มีอุปนิสัยหนักไปทางด้านกรรมฐาน เป็นผู้มีคุณธรรมสูง สามารถฟังภาษาสัตว์เข้าใจ ครูบาธรรมวงศ์ มรณภาพขณะ ด้วยวัย ๑๓๕ ปี ตรงกับปีขาล พ.ศ. ๒๔๖๙ ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับปีที่ท่านเกิด และได้มีพิธีถวายเพลิงศพกลางทุ่งนา ณ บ้านผาแก้ว ตำบลกุดลาดนั่นเอง ขณะนั้นพระครูวิโรจน์รัตโนบล เป็นเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว และท่านก็ได้เดินทางไปถวายเพลิงศพอาจารย์ของท่านด้วย นอกจากนั้น ครูบาธรรมวงศ์ยังเป็นอาจารย์ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( อ้วน ติสฺโส ) ด้วย
    พ.ศ. ๒๔๓๔ อันเป็นพรรษาที่ ๑๓ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวงอุตตรูปลนิคม ปัจจุบัน ได้แก่ เจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ และได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็น “พระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช” เป็นเจ้าคณะอำเภออยู่ ๑๒ ปี
    พ.ศ. ๒๔๔๕ พรรษาที่ ๒๕ ได้รับแต่ตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี รูปแรกตามพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ขณะนั้นเรียก “เจ้าคณะเมือง”
    พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ในราชทินนาม ที่ “พระครูวิโรจน์รัตโนบล” นอกจากพระครูวิโรจน์รัตโนบลจะเป็นพระที่หนักแน่นในกรรมฐานตามแบบอย่างพระอริยวงศ์ศาจารย์ ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ และครูบาธรรมวงศ์ผู้เป็นบูรพาจารย์แล้ว ท่านยังเป็นช่างวิจิตศิลป์ที่ชำนาญในการออกแบบอีกด้วย ท่านได้นำประชาชนบูรณะถาวรวัตถุไว้หลายแห่ง เช่น การปฏิสังขรณ์วิหารและพระเหลาเทพนิมิต พระพุทธรูปสำคัญของอำเภอพนานิคม ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก โดยมีศิษย์ของท่าน ๓ คน คือ ท้าวศรีนาม ท้าวคำอาษา และท้าวแก้ว ดวงตา ซึ่งเป็นเจ้านายในกรุงเวียงจันทน์ มีบรรดาศักดิ์ชั้นเพี้ย เป็นผู้สร้าง
    ตามประวัติเล่าว่า ครั้นเวียงจันทน์เกิดจลาจล ได้มีประชาชนอพยพติดตามท่านพระครูโพนสะเม็กมาจำนวนมาก เมื่อมาถึงนครจำปาศักดิ์ เพี้ยทั้ง ๓ ได้ลาอาจารย์นำครอบครัวและพรรคพวกประมาณ ๓๐ ครัวเรือน ไปตั้งบ้านพระเหลาขึ้น และได้สร้างวัดขึ้นที่นั่นเรียกว่า วัดศรีโพธิยาราม แล้วไปอาราธนาพระครูทิ ซึ่งเป็นศิษย์เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กรูปหนึ่ง จากวัดบ้านหม้อมาครองวัด พระครูทิได้สร้างวิหารและพระพุทธรูปใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตรเศษ ขึ้นไว้ประจำวัด เพราะพระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะงดงามมาก ชาวบ้านจึงขนานนามว่า “พระเหลา”
    ภายหลัง พ.ศ. ๒๔๔๐ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เจ้าคณะมณฑลอีสานขณะนั้นมาตรวจการคณะสงฆ์ ได้เห็นพระพุทธรูปองค์นี้ลักษณะงดงาม จึงได้เสริมนามว่า “พระเหลาเทพนิมิตร” สืบมา
    นอกจากนี้ พระครูวิโรจน์ฯ ยังได้เป็นกรรมการสร้างอุโบสถวัดสุปัฏนาราม และนำประชาชนหล่อพระพุทธรูปสำคัญของเมืองอุบลฯ ๓ องค์ คือ พระมิ่งเมือง พระศรีเมือง และ พระสัพพัญญู ซึ่งในปัจจุบันเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดสุปัฏนาราม ได้นำพระประธาน ปูนปั้นในวัดร้างต่าง ๆ มาบูรณะขึ้นใหม่ให้งดงามเหมือนเดิม และยังได้นำประชาชนสร้างพระพุทธรูป โบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญทั้งในเมืองและนอกเมืองอีกหลายแห่ง
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล เป็นพระเถระที่ได้ทุ่มเทชีวิตให้กับงานพระศาสนาอย่างมุ่งมั่น สถาปัตยกรรมที่เด่นชัดและงดงามที่สุด ซึ่งเกิดจากการบูรณะด้วยจิตที่วิจิตร บ่งบอกถึงความชำนาญในวิจิตรศิลป์ของพระครูวิโรจน์รัตโนบล คือ การบูรณะพระธาตุพนม อันเป็นเจดีย์สถานที่เก่าแก่ที่สุดในลุ่มแม่น้ำโขง ปรากฏตามบันทึกประวัติพระครูวิโรจน์รัตโนบล ว่า
    ภายหลังความวุ่นวายทางการเมืองระหว่างเวียงจันทน์กับกรุงเทพฯ สงบลงตั้งแต่ปี ๒๓๗๑ ประชาชนพลเมืองได้โยกย้ายที่อยู่อาศัยเข้าไปอยู่ภาคกลางมาก บางพวกก็หลบหนีเข้าป่า พระธาตุพนมจึงขาดผู้ดูแลเอาใจใส่ นับแต่เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (หรือเจ้าราชครูขี้หอม) จึงได้นำลูกศิษย์ลงมาปฏิสังขรพระธาตุพนม ใน พ.ศ. ๒๒๓๓-๒๒๓๕ จากนั้นก็ไม่มีผู้ใดบูรณะต่อมา พระธาตุพนมถูกปล่อยทิ้งร้างปรักหักพังอยู่กลางป่า ซากอิฐปูนบริเวณพระธาตุก็ขลังประหลาด เพราะอำนาจเทพารักษ์ที่หวงแหน ใครไปแตะต้องประมาทลบหลู่เสาหิน ตุ๊กตาหินหรือใครจับต้องเหยียบย่ำหรือปีนป่ายไม่เคารพ ก็จะเกิดเจ็บป่วยอย่างปัจจุบันทันใด เมื่อนำเครื่องสักการะมาขมาต่อพระธาตุแล้วก็หายเป็นปกติ ประชาชนจึงหวาดกลัว ไม่มีใครกล้าเข้าไปในบริเวณองค์พระธาตุ
    ราวปี พ.ศ. ๒๔๔๔ พระอุปัชฌาย์ทา ชยเสโน วัดบูรพาฯ เมืองอุบลฯ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล กับคณะเดินธุดงค์มาพักจำพรรษาอยู่ในบริเวณใกล้องค์พระธาตุพนม เวลานั้นมีป่าไผ่โดยรอบเป็นที่สงัด ท่านทั้งสามได้เห็นองค์พระธาตุเศร้าหมองคร่ำคร่า และพระธาตุเป็นของโบราณบรรจุพระอุรังคธาตุเป็นสิ่งที่หายาก ควรรักษาไว้ให้ยั่งยืน เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระพุทธเจ้าผู้บรมครู
    แต่ท่านทั้ง ๓ ไม่มีความชำนาญ จึงไม่สามารถทำการบูรณะเองได้ เห็นแต่พระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช เจ้าคณะแขวงอุตตรูปลนิคม ปัจจุบันคืออำเภอม่วงสามสิบ เจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี เป็นช่างมีความเพียรหนักนั่น เคยตรากตรำทำงานใหญ่มาแล้ว มีความสามารถที่จะบูรณะพระธาตุได้ จึงเรียกหัวหน้าญาติโยมชาวธาตุพนมมาแนะนำให้ไปนิมนต์ท่านมาบูรณะ ชาวบ้านก็ตกลงเห็นด้วย
    ครั้นออกพรรษา ญาติโยมชาวธาตุพนมนำหนังสือท่านพระอาจารย์ทั้ง ๓ ไปนิมนต์ท่านพระครูวิโรจน์ฯ มาเป็นผู้นำชาวบ้านบูรณะ ท่านรับรองจะขึ้นมาทำและให้ญาติโยมกลับก่อน
    ครั้นถึงเดือนอ้ายข้างขึ้น พ.ศ. ๒๔๔๔ พระครูวิโรจน์พร้อมด้วยคณะศิษย์ติดตาม ๔๐ รูป/คน ก็ออกเดินทาง ก่อนออกเดินทาง หลวงปู่จะฉันภัตตาหาร เมื่อฉันเสร็จจึงจะให้ญาติโยมรับประทานทีหลัง จากนั้นจึงโยนปั้นข้าวเหนียวให้หมาและลิง ๒ ตัวซึ่งรักกันมากและหลวงปู่ก็รักสัตว์ทั้ง ๒ มากเช่นกัน ไม่ว่าท่านจะเดินเหินไปที่ไหนหมาและลิงคู่นี้ก็จะตามไป ยามท่านพักผ่อน มันก็จะนอนระแวดระวังเหมือนกับองครักษ์ วันเดินทางหลวงปู่จะขี่ม้าเดินทางล่วงหน้าไปรอที่จุดนัดพบพร้อมกับพระภิกษุสามเณรบางส่วน เมื่อญาติโยมรับประทานอาหารเสร็จจะขี่เกวียนตามไปทีหลัง เมื่อหมาและลิงกินปั้นข้าวเหนียวเสร็จ ลิงก็จะโดดขี่บนหลังหมา ในบางครั้งทั้งลิงและหมาก็จะขึ้นขี่บนเกวียนเช่นกัน ได้ออกจากวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานีเดินทางไปถึงพระธาตุพนมในวันเพ็ญเดือนอ้าย ใช้เวลาเดินทาง ๘ วัน ๘ เดือน (จากคำบอกเล่าของพ่อใหญ่บ้านผาแก้ว ที่ออกเดินทางไปบูรณะพระธาตุพนมชุดแรก)
    ครั้นถึงเวลาเย็น พระครูวิโรจน์ให้นัดประชุมทั้งพระสงฆ์และฆราวาส แจ้งให้ทราบถึงเรื่องที่มีญาติโยมไปนิมนต์ท่านมาบูรณะพระธาตุพนม แต่ชาวบ้านกลับเปลี่ยนใจไม่ยอมที่จะให้มีการบูรณะ เนื่องจากหวาดกลัวว่าจะเกิดเรื่องร้ายขึ้นแก่ชาวบ้าน แต่ต้องการให้ซ่อมแซมรอบ ๆ โดยไม่ให้แตะต้ององค์พระธาตุ เพื่อให้มีที่กราบไหว้สะดวกเท่านั้น พระครูวิโรจน์บอกว่า ถ้าจะให้ทำก็ต้องทำให้หมดทั้งองค์พระธาตุ ถ้าไม่ได้ทำแต่ดินถึงยอด แต่ยอดถึงดินก็อย่าทำดีกว่า
    ชาวบ้านเกรงเทวาอารักษ์ที่รักษาพระธาตุจะไม่พอใจ แล้วเบียดเบียนชาวบ้านให้ได้รับความเดือดร้อน ต่างก็คัดค้านไม่ให้ทำ เพราะจะทำให้บ้านเมืองเดือดร้อน ท่านบอกชาวบ้านว่า “จะร้อนอย่างไร เราทำให้ดี ให้สะอาด สวยงาม เรียบร้อย เทวดาจะไม่อยากได้บุญด้วยหรือ” ชาวบ้านก็ไม่ยอมให้บูรณะ ท่านบอกว่าไม่ได้ทำก็จะกลับ ชาวบ้านก็ยืนยันว่าจะกลับก็กลับ พร้อมตำหนิท่านว่า “พระอะไร รื้อเจดีย์ ฟันโพธิ์ศรี ลอกหนังพระเจ้า พระนอกรีต” แล้วที่ประชุมก็เลิกด้วยจิตขุ่นวุ่นวาย ไม่พอใจ ส่วนพระครูวิโรจน์ฯ คงมีจิตใจแจ่มใสเบิกบาน
    เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์มาก พอชาวบ้านเข้าหมู่บ้านยังมิทันได้พักให้หายเหนื่อย อารักษ์ใหญ่รักษาพระธาตุก็เข้าทรงคนในหมู่บ้านตวาดด่าทอผู้ที่คัดค้านการบูรณะพระธาตุพนม ชาวบ้านได้ยินก็รู้ว่าอะไรเป็นอะไร จึงแตกฮือเข้ามาในวัดไปกราบไหว้พระครูวิโรจน์ให้ท่านบูรณะพระธาตุพนมได้ตามใจ แต่พวกตนไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย ท่านพระครูวิโรจน์รู้สึกโล่งใจ นึกว่าเทวดาช่วยท่านแล้ว และตั้งปณิธานว่า ต้องทำให้สำเร็จ
    คืนนั้น ก่อนจำวัด พระครูวิโรจน์จุดธูปเทียนเครื่องสักการะถวายบูชาพระบรมธาตุ เข้าที่ภาวนาอธิษฐานจิตด้วยความชุ่มชื่นปีติและมั่นใจว่า “จะทำการปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุด้วยความสุจริตใจและจงรักภักดีต่อพระบรมครูสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอให้คุณพระศรีรัตนตรัยมีพระบรมธาตุเป็นประธานและเทพเจ้าผู้เฝ้ารักษา ก็ขอให้ช่วยเป็นศรัทธานาบุญอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่ามีอุปสรรคใด ๆ มาขัดขวาง ขอให้ผู้มีฤทธิ์มีอำนาจทางสติปัญญาและทรัพย์สินและบ้านเมือง จงเข้าเป็นนิมิตร่วมมหากุศลครั้งนี้” จากนั้น จึงจำวัดในเวลาใกล้รุ่ง คืนนั้นท่านนิมิตเห็นตาผ้าขาวมาหาแล้วยิ้มให้ บอกว่า “เอานะ หลาน เป็นวาระของเจ้าแล้วให้ทำเอาเต็มที่สุดฝีไม้ลายมือเถิด” แล้วก็ตื่นนอนด้วยความชุ่มชื่นเบิกบาน และเต็มไปด้วยความหวังอันงดงาม
    ในสมัยนั้นบ้านเมืองกำลังอยู่ในภาวะสงคราม มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองหลายด้าน ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดแผ่นดินทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง การเงินชาวบ้านไม่ดี เกิดปัญหาที่จะระดมทุนบูรณะ แต่ท่านก็กล้าเสี่ยงทำงานใหญ่ด้วยหวังต่อคุณพระศรีรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
    ในวันแรก พระครูวิโรจน์นำพระเณรที่มาจากอุบลฯ ๔๐ รูป ตั้งเครื่องสักการะทำการสัมมาคารวะพระรัตนตรัย แล้วให้พระเณรที่ติดตามทั้ง ๔๐ รูปนั้น เอาไม้พาดเจดีย์ทำความสะอาด ชาวบ้านและพระเณรในวัดไม่มีใครกล้าช่วย แต่พระครูวิโรจน์ก็ทำงานต่อไปทุกวันในช่วงแรกมีเพียงเฒ่าชัยวงศา ผู้ใหญ่บ้านดอนกลาง ที่มารับใช้ให้ความช่วยเหลือ ครั้นผ่านไป ๗ วัน ก็เริ่มมีชาวบ้านละแวกพระธาตุพนมมายืนสังเกตการณ์ดูอยู่ห่าง ๆ ต่อมาได้ ๑๕ วัน ผู้คนก็หลังไหลมาจากทั่วทุกสารทิศทั้งฝั่งซ้ายฝั่งขวา เจ้าเมืองท่าแขกยกหินปูนที่ภูเขาเหล็กไฟให้ทั้งลูก พร้อมเกณฑ์คนเป็นพันขนหินปูนจากเชิงเขาถึงฝั่งแม่น้ำโขงทางยาว ๔ กิโลเมตร โดยยืนเรียงแถว เจ้าเมืองสกลนครและหนองคายปวารณาให้ช้างมาใช้ลากเข็น ประชาชนพระภิกษุสามเณร ผู้เฒ่าแก่ หนุ่มสาวไหลมาจากทุกทิศ
    พระครูวิโรจน์บูรณะองค์พระธาตุพนม โดยการขูดกะเทาะปูนเก่าออกแล้วโบกเข้าไปใหม่ ทาน้ำปูนพระธาตุ ประดับแก้วปิดทองส่วนบน ติดดาวที่ระฆังแผ่แผ่นทองคำหุ้มยอด ปูลานพระธาตุซ่อมแซมกำแพงชั้นใน ชั้นกลาง จนแล้วเสร็จได้ฉลององค์พระธาตุ โดยพระครูวิโรจน์กำหนดให้มีงานชุมนุมไหว้พระธาตุประจำปี เป็นประเพณีสืบต่อมาถึงปัจจุบัน พระครูวิโรจน์ใช้เวลาซ่อมพระธาตุพนมอยู่ราว ๓ ปี จากนั้นก็ใช้เวลาบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่าง ๆ เพิ่มเติมต้องขึ้นลงระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีกับนครพนมหลายเที่ยวตลอดระยะเวลา ๓๘ ปี ช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตของพระครูวิโรจน์ฯ ท่านอุทิศให้กับการบูรณะพระธาตุพนม และในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นการเดินทางสู่พระธาตุพนม ครั้งสุดท้ายของท่าน
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล เป็นเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีมาจนชราภาพ ครั้นอายุ ๗๕ ปี เกิดความขัดแย้งขึ้นในคณะสงฆ์ มีคำสั่งให้เผาทำลายคัมภีร์ใบลานตามวัดต่าง ๆ ของอีสาน แต่ท่านไม่ยอมปฏิบัติตามยังคงรักษาใบลานในหอไตรวัดทุ่งศรีเมืองไว้ตามเดิม ต่อมาท่านก็ถูกปลดจากตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี โดยยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ แม้เป็นกิตติมศักดิ์ ท่านก็ยังอุตส่าห์เป็นพระอุปัชฌาย์ให้การบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา เอาธุระสั่งสอนพระภิกษุสามเณรและชาวบ้านให้อยู่ในศีลธรรม และเป็นภาระในการปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมถาวรวัตถุอยู่เช่นเดิม ตลอดจนอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ให้เป็นช่างปั้น ช่างแกะลวดลาย ช่างเขียน ตลอดจนช่างเงินทองต่าง ๆ จนเกิดตระกูลช่างศิลป์ ที่มีความวิจิตรงดงามเฉพาะอุบลสืบต่อมา
    แม้ท่านจะชราภาพมากแล้ว หากหมู่บ้านใดเกิดเดือดร้อนไม่ค่อยอยู่ดี ชาวบ้านมานิมนต์ ท่านก็ยังไปรดน้ำมนต์ทำมงคลให้บ้านเมืองเกิดความสงบร่มเย็น
    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๕ เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในสงครามอินโดจน ทหารฝรั่งเศสบุกยึดนครจำปาศักดิ์ เกิดการปะทะกันระหว่างทหารทั้งสองฝ่าย ได้มีการตั้งฐานปฏิบัติการอยู่อุบลฯ พระกล้ากลางสมร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี สั่งให้หน่วยราชการทั้งหมดที่อยู่ใต้บังคับบัญชาเข้ากราบขอพรพระครูวิโรจน์ฯ วัดทุ่งศรีเมือง
    ขณะนั้นท่านชราภาพมากแล้วลุกไม่ได้ นอนบนเตียงที่รับแขกคอยยื่นมือแตะศีรษะทหารที่จะเข้าสู่สนามรบเพื่อให้เกิดความปลอดภัย พร้อมกับให้ศีลให้พรเหล่าทหารหาญตลอดวัน นอกจากนั้นขณะ หลวงวิจิตรวาทการ ไปตรวจเยี่ยมเมืองอุบลราชธานี ซึ่งเป็นที่ตั้งกองบัญชาการทหารอีกแห่งหนึ่ง ได้แวะกราบนมัสการพระธาตุพนม ทราบว่าพระครูวิโรจน์รัตโนบลเป็นผู้นำชาวบ้านบูรณะจึงได้แนะนำให้พระกล้ากลางสมร ทำเหรียญพระครูวิโรจน์ออกแจกจ่าย เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่เหล่าทหาร
    สำหรับงานที่สำคัญอีกอย่างของพระครูวิโรจน์ คือ การบูรณะหอไตร วัดทุ่งศรีเมือง สร้างมาตั้งแต่ครั้งพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ สมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งทรุดโทรมไปมากตามกาลเวลา เนื่องจากไม่มีใครเป็นช่างที่มีความชำนาญพอที่จะบูรณะได้ ท่านจึงได้นำพาญาติโยมบูรณปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมให้มีสภาพเช่นเดิม เพื่อเป็นสมบัติของพระพุทธศาสนิกชนและของชาติบ้านเมืองสืบไป
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล เป็นพระเถระที่ชาวจังหวัดอุบลราชธานีและชาวจังหวัดใกล้เคียงจากแม่น้ำมูลถึงแม่น้ำโขงทั้งสองฝั่ง ให้ความเคารพศรัทธามากองค์หนึ่งของอีสาน เมื่อชาวบ้านมาขอให้ท่านช่วยหาฤกษ์หายาม แต่งงานขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญสะเดาะเคราะห์ เมื่อถามฤกษ์พานาทีว่าดีไหม ท่านจะตอบว่า “ดีโลด” ทุกคนไป และทุกคนที่ไปหาก็จะดีอย่างที่ท่านพูดจริง ๆ จนทุกคนที่ไปหา จะคุ้นเคยกับคำว่า “ดีโลด” ของท่าน
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒4๘๕ พรรษาที่ ๖๔ขณะมีอายุได้ ๘๘ ปี แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่ชาวจังหวัดอุบลราชธานียังเรียกติดปากว่า “หลวงพ่อดีโลด” มาจนถึงปัจจุบัน

    ในอดีตที่เมืองอุบลยังพลุกพล่านไปด้วยนักปราชญ์ ทั้งที่ถือกำเนิดเอาในเมือง และผู้มาจากนอกเมือง ชื่อของท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นันตโร) แห่งวัดทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี หรือที่มหาชนขนานสมญาโดยเคารพว่า “ญาท่านดีโลด” นั้นนับว่าอยู่แถวหน้าอย่างยืดอกได้ไม่อายใคร หากผู้ใดจะออกปากว่าตนเป็นศิษย์
    ค่าที่ท่านพระอาจารย์ใหญ่ของวงศ์กัมมัฏฐานคือ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ออกปากรับรองถึงความเป็นพระดี และมากด้วยบุญญาบารมี ถึงขนาดให้ประชาชนไปนิมนต์พระครูวิโรจน์ฯ มาบูรณะองค์พระธาตุพนมแทนตัวท่าน และหลวงปู่หนู ฐิตปัญโญ วัดปทุมวนาราม เลยทีเดียว
    นอกเหนือไปจากความเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว ยังมีเรื่องแห่ง “ปาฏิหาริย์” ในท่านที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีอยู่จริงและเป็นอีกกระแสหนึ่งที่โหมชื่อของท่านให้ระบือไปทั่วแคว้นแดนอีสาน
    หลวงปู่คำพัน โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม ให้ความเคารพในองค์หลวงปู่ดีโลดเป็นยิ่งนัก ไม่ว่าจะเดินทางไปกิจธุระที่ใดหากท่านพบเห็นภาพถ่ายไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กของหลวงปู่ดีโลด ท่านเป็นต้องยกมือไหว้อย่างนอบน้อมทุกครั้งไป


    ที่มา:ห้องสมุดวัดทุ่งศรีเมือง, สวนขลัง

    ขอบคุณเจ้าของภาพด้วยครับ



    [​IMG]
     
  12. มะบอม

    มะบอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,255
    ค่าพลัง:
    +5,352
    สวัสดีครับพี่วรรณ ส่วนตัวผมชอบพระเครื่องหลวงปู่บุดดาครับ
     
  13. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]

    [​IMG]

    น้อมกราบครูบาวงศ์ -/\-
     
  14. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    สวัสดียามเช้าคุณปู คุณวัน คุณโญ และทุกๆท่าน ขอให้มีความสุขกาย สุขใจกันนะครับ
    อากาศหนาวอีกแล้ว อุตส่าห์ดีใจว่าอากาศอุ่นขี้นแล้วเมื่อวานนี้
     
  15. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    ;aa44 อรุณสวัสดิ์ยามเช้าครับทุก ๆ ท่าน...
     
  16. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    สวัสดีครับ พี่วรรณ พี่ตี๋
     
  17. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,436
    อรุณสวัสดิ์คับพี่ปู พี่ตี๋ พี่โญ...(^_^)
     
  18. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    ต่อนะครับ พระแก้วมรกตหลัง ภปร และพระทรงจิตรลดาหลัง สธ พิธีเดียวกับพระกริ่งปวเรศปี๓๐ พิธีพุทธาภิเศก ๒ ครั้งแรกที่วัดบวรฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินในการประกอบพิธี พระญานสังวรเป็นพระประธานพิธีอธิษฐานจิตสง ครั้งที่๓ ปี๓๐ พิธีพุทธาภิเศก ณ วัดพระแก้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินในการประกอบพิธี พระสังฆราช(วาสน์)ทรงจุดเทียนชัย พระญาณสังวรเป็นประธานพิธีอธิษฐานจิต มีพระภาวนาจารย์ร่วมพิธี ๓๖ รูป เช่น พระญาณโพธิ์ (เข้ม) วัดสุทัศน์ .ลป.สิม,ลพ.พุธ,ลพ.แพ,ลพ.อุตตมะ,ลพ.เกตุ,ลพ.หยอด,ลพ.พูล เป็นต้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3495.JPG
      IMG_3495.JPG
      ขนาดไฟล์:
      4 MB
      เปิดดู:
      39
    • IMG_3496.JPG
      IMG_3496.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3.9 MB
      เปิดดู:
      57
    • IMG_3615.JPG
      IMG_3615.JPG
      ขนาดไฟล์:
      4.6 MB
      เปิดดู:
      79
    • IMG_3614.JPG
      IMG_3614.JPG
      ขนาดไฟล์:
      4.5 MB
      เปิดดู:
      50
  19. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,232
    ค่าพลัง:
    +53,095
    สวัสดีทุกๆท่านด้วยครับผม
    [​IMG] [​IMG]
     
  20. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    เหรียญสุรสิทธิ์ เนื้อทองแดงพ่นทอง หลักพันต้น ๆ(๒ เทา)

    (เนื้อทองแดงธรรมดาน่าจะยังเป็นหลักร้อยปลายอยู่ครับ)



    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    จัดเป็นเหรียญรุ่นสาม
    จัดสร้างโดย คุณสุรสิทธิ์ กระแสร์
    สร้างแจกเนื่องในวาระครบ 80 ปี ของหลวงปู่
    เหรียญรุ่นนี้ มีเหรียญทองคำ ประมาณ 40 องค์
    เงิน 80 เหรียญ( เป็นลงยา 79 เหรียญ และ เงินไม่ได้ลงยา เพราะลงไม่ติด 1 เหรียญ )
    นอกนั้นเป็นเหรียญทองแดงประมาณ 5,000 เหรียญ(ทองแดงนำไปพ่นทอง 600 เหรียญ )

    เป็นอีกเหรียญที่ผมอาราธนาสับเปลี่ยนมาติดตัวอยู่บ่อย ๆ


    [​IMG]


    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...