ทางนิพพาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 30 สิงหาคม 2013.

  1. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    มันก็ต้องดับที่รูปนามนั้นแหล่ะ ถัาคนเข้าใจจริงๆจะไม่มีคำแย้งอย่างท่านหรอกเพราะการดับรูปนามนั้นมันก็ดับไปหมดล่ะครับทั้งอวิชา ทั้งสังขารทั้งหลาย ทั้งขันธ์ ธาตุ อายะตนะ มันจบตรงนี้แหล่ะมันเรื่องเดียวกัน คนที่ไม่เข้าใจก็คือเรื่องราวทั้งหมดมันไม่ได้เกิดขึ้นกับตนเอง มันจึงเข้าใจไม่ได้ มันเป็นปัจจัตตัง
     
  2. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ลองพิจารณาดีดี ท่านไม่ได้เน้นตรงรูปนามดับ
    แต่ให้เห็นอริยสัจจ ตรงนั้นต่างหาก
    พร้อมเห็นความจริงขณะนั้นๆว่า เป็นอนิจจัง อนัตตา สุญญตา
    ถอดถอนความมีตัวตนออก เรียกว่าดับความยึดมั่นถือมันในนามกู ในรูปกู
    อายตนะ ผัสสะ ที่ตามมาจึงเป็นแต่เพียงสักว่า มันเห็นเป็นธรรมเสียแล้ว
    ก็ต่อลงไปเป็นเวทนาสักว่าเวทนา ตรงนี้อุปทานก็ไม่มีตัณหามาหล่อเลี้ยง มันก็ฝ่อไป ว่าก็ที่ครึ่งท่อนตรงนี้ เท่าที่ทราบก่อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กันยายน 2013
  3. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    นั้นเป็นเพียงขั้นจินตมยปัญญาเท่านั้นเป็นการโยนิโสมนสิการ แต่การเข้าถึงสภาวะธรรมที่แท้จริงนั้น จะต้องตับสังขารทั้งหลายซึ่งหมายว่านั้นก็คือดับรูปนามเป็นสภาวะภาวนามยปัญญา ท่านลองดูสัญญาเวทยิตนิโรธซิครับนั้นเป็นสภาวะใกล้นิพพานหรือนิพพานหรือเปล่าผมไม่สามรถรู้ได้เพราะอย่างน้อยต้องอนาคามี สัญญาเวทยิตนิโรธยังต้องดับวจีสังขาร กายสังขาร และจิตสังขารเลย แล้วสภาวะนิพพานนั้นจะไม่ดับสังขารทั้งหลายได้อย่างไร ผมให้ลองพิจารณาตรงนี้ ส่วนการที่บอกว่าให้เราเห้นความจริง อนิจจัง อนัตตา สูญญตาอะไรนั้น ท่านให้พิจารณาธรรมตามนั้นจริงๆแต่เป็นขั้นการเข้าใจหรือขั้นที่สภาวะธรรมขั้นพิ้นผิวของจิตที่สามารถที่จะเห็นความจริงได้เช่นเดียวกัน แต่สภาวะธรรมตรงนั้นยังไม่ใช่ปัญญาหรือที่สุดของสภาวะธรรมที่จิตสามารถเข้าถึงได้ ถามว่ามีประโยชน์มั้ย ก็มีประโยชน์มากพราะเราก้ต้องเริ่มจากการเข้าใจในสิ่งนั้นก่อนต้องเรียนรู้ในสิ่งนั้นก่อน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2013
  4. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    คุณนิวคาดคะเนการเข้าถึงสภาวะธรรมที่แท้จริงหรือเปล่าครับ
     
  5. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    มั่ว กลับหัวกลับหาง เละเทะอีกแล้ว

    จงอ่าน...
    http://palungjit.org/threads/อเหตุกจิต.506792/
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    บทความที่นำมาลงกล่าวได้ครอบคลุมดีแล้วเริ่มต้นจากการโน้มเข้าสู่หัวเรื่องหรือ
    แม้แต่การเน้นยํ้าในประเด็นสําคัญหลักๆและยังย้ำเน้นประเด็นที่นักปฏิบัติ
    ควรให้ความใส่ใจคือเรื่องสัมมาทิฐิก็ยังได้กล่าวย้ำอีกรอบตรงนี้สำคัญมากสำหรับ
    การเดินปัญญาก็จะเห็นว่าท่านได้ย้ำไว้อีกรอบ.
    .หลักการต่างๆที่กล่าวยัง
    คลุมไปถึงลักษณะการลงไตรลักษณ์ ในรูปแบบต่าง..และหลักการทั้งหมด
    กล่าวด้วยภาษาธรรมดาแบบชาวบ้านอ่านรู้เรื่องและด้วยภาษาสมมุติที่เป็นภาษากลางอ้างอิง
    กับตำราสำหรับผู้ศีกษาตำราอ่านก็เข้าใจ...สาธุกับบทความที่นำมาลงครับ..​
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระอนาคามีไม่ได้เป็นเพราะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธได้ ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธกับสภาวะนิพพานไม่ได้ใกล้กันเลย ฌานแต่ละขั้นไม่ได้บอกถึงความเป็นอริยะ ไม่ใช่ว่าเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วจะเป็นพระอนาคามี คนที่เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธได้แต่จิตไม่ได้ละลดราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางเลย จิตก็ไม่ต่างกับปุถุชน ต่างกันกับบุคคลผู้ที่เข้าฌานตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงจตุตถฌาน รู้จักขันธ์ห้าตามความเป็นจริง รู้เหตุเกิดและดับของขันธ์ทั้งหลายตามความเป็นจริง เห็นทุกขอริยสัจ จิตลดราคะ โทสะ โมหะหรือราคะ โทสะ โมหะเบาบางลง ละสังโยชน์เบื้องต่ำได้เป็นพระโสดาบันหรือพระสกทาคามี หากละสังโยชน์เบื้องสูงได้เป็นพระอนาคามี หากจิตหมดละราคะ โทสะ โมหะอย่างสิ้นเชิงเป็นพระอรหันต์ ฌานแต่ขั้นเป็นแค่เพียงทางเดินเท่านั้น ไม่ใช่ตัวกำหนดหรือบ่งชี้วัดว่าสำเร็จเป็นพระอริยะบุคคล
     
  8. (อโศก)

    (อโศก) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +445
    เริ่มมั่วและกวนศัพท์หรูอีกแล้วน้านิว หาหนังสือดีๆๆมาอ้านบ้างนะน้า อย่างน้อยก็ต้องแม่น ศัพท์นิดหนึ่ง ว่าธรรมะแต่ละตัวท่านบัญญัติขึ้นมาเพื่อบอกอะไรความหมายว่ายังไง พอไม่แม่ศัพท์แล้วมันก็จะกวนมั่ว ไม่ก็พอเห็นคำคล้ายๆๆกันก็เอาและสับสน อย่างสังขารในไตรลักษณ์ ท่านก็หมายถึงสังขตธรรม สังขารในขันธ์ห้า ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของสังขารเมื่อท่านแสดงไตรลักษณ์ เหมือนรูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ก็เป็นส่วนหนึ่งของสังขารที่ท่านแสดงในไตรลักษณ์ด้วยซึ่งมีความหมายเทียบเท่าสังขตธรรม(เหมือนที่ท่านเรียกนิพพานว่า วิสังขาร อสังขตธรรมไง)

    พอไม่แม่นนิยามเห็นแล้วก็งงขึ้นมา จับชนกันมั่วสนุกอีก


    น้าต้องแยกนิดหนึ่งระหว่างทุกข์ในอริยสัจสี่ กับทุกขังในไตรลักษณ์

    ทุกข์ในอริยสัจสี่ ก็อย่างความรู้สึกไม่สบายใจไม่สบายกาย มันเกิดจากอุปทานขันธ์ห้า
    แต่ทุกขังในไตรลักษณ์ แสดงความหมายว่าสภาพที่สิ่งต่างๆๆไม่อาจจะคงสภาพเดิมของมันไว้ได้ แม้แต่ความทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจเรานี่ เดี๋ยวมันก็ไป ความสุขในใจเราก็เหมือนกันเดี๋ยวมันก็ไป ตาเหตุตามปัจจัย ที่เปลี่ยนไป เป็นลักษณะเฉพาะของสังขาร หรือ สังขตธรรม เป็นลักษณะอาการอยู่แล้วของสังขาร หรือ สังขตธรรม มันเป็นธรรมชาติของมันแบบนั้น เช่นนั้นเอง

    ส่วนขันธ์ห้า เป็นทุกขัง ก็เพราะขันธ์5 เกิดมาจากเหตุปัจจัยนั้นเอง ด้วยเหตุนี้จึ่งไม่อาจจะคงสภาพเดิมของมันไว้ได้จำต้องเปลี่ยนแปลงแตกดับไป

    ส่วนทุกข์ในอริยสัจสี่ ชี้หมายความทุกข์ในใจ ที่เกิดจากความรู้สึกว่ามีตัวกูของกู เช่นขันธ์นี้เป็นตัวกู ขันธ์นี้เป็นของกู เช่นใบหน้าในกระจกตอนนี้คือใบหน้าเราที่ยังหนุ่มยังสาวนี่ ทีนี้ พอเวลาผ่านไปใบหน้านี้มันก็แก่มันก็หายไป ก็เกิดความรู้สึกทุกข์ขึ้นว่าหนอๆๆๆ ใบหน้าของกู หรือใบหน้านี่คือกู ทำไมหายไปเปลี่ยนไปอัปลักษณ์แบบนี้ นี่ก็ทุกข์ เพราะมันเจอเข้ากับไตรลักษณ์ ว่าอะไรก็ตามที่เกิดจากเหตุจากปัจจัยมันต้องเปลี่ยนแปลง(อนิจจัง) คงสภาพเดิมไม่ได้(ทุกขัง) จึ่งไม่มีตัวตนที่แท้(อนัตตา) แต่เนื่องจากอวิชชาหรือความไม่รู้ เช่นไม่รู้ไตรลักษณ์นี้ จึ่งไปยึดเอาว่าสิ่งต่างๆๆ มีตัวตน(อัตตา)ของมันขึ้นมามันไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุปัจจัย จึ่งเที่ยง(นิจจัง) และคงสภาพเดิมของมันได้ตลอดอย่างนั้นๆๆ(สุขขัง)
    นี่คืออุปทานขันธ์ห้า อันที่จริงก็คือเรื่องเดียวกับปฏิจจสมุปบาทนั้นเอง แต่ปฏิจจสมุปบาทท่านเอามากระจายมาวิเคราะห์ให้พิศดารขึ้น

    ส่วนรูปนาม ปกติเราใช้เป็นฐานของการภาวนา ที่ว่าดับตัญหาต้องดับที่รูปนามนะถูกแล้ว แต่จะดับยังไงก็ต้องพิจารณาไตรลักษณ์ที่ตรงรูปตรงนามนี่แหละ จนมันหมดความยึดถือว่ารูปนามหรือขันธ์ห้านี่เป็นตัวกูหรือของกู

    ฮามากทุกข์แก้ตรงอุปทานไม่ได้ ก็อุปทานกะตัญหามันเป็นปัจจัยแก่กันและกัน น้าดับอุปทานน้าก็ดับตัญหาได้ น้าดับตัญหาได้น้าก็ดับอุปทานได้ มันเป็นความสัมพันธ์สองทิศทาง เขาเรียกว่าปัจจัยการ หรือ ปัจจัยแก่กันและกัน มันก็บอกชัดว่าปัจจัยแก่กันและกัน คือ ก ไม่ใช่เหตุของ ข อย่างเดียวนะ ข ก็เป็นเหตุของ ก ด้วย เหมือนที่ ข เป็นผลของ ก ก ก็เป็นผลของ ข ที่จริงทั้งสิบสองตัวในปฏิจจสมุปบาทมันก็มีความสัมพันธ์แบบนี้แก่กันหมด

    อย่าแต่งตำราใหม่ให้ฮาเลยน้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2013
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เฮ้อ!!!

    เป็นเรื่องแปลกแต่จริงของนักปฏิบัติในทุกวันนี้

    ที่สนใจอะไรที่เกินกว่าที่ตนเองได้เดินถึง

    เพิ่งหาทางมาถึงปากทาง ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะต้องเจอะอะไรบ้า่ง "ถูกหรือผิด"

    แต่ไพล่ไปอยากรู้เรื่องที่จะต้องประสพพบเจอด้วยกันทุกคนเมื่อไปถึงตรงจุดนั้น

    แค่พื้นฐานสำคัญ อันเป็นรากฐานเป็นปัจจัยที่จะตามไปด้วย เมื่อถึงจุดตรวจสอบนั้นๆ

    ถามตรงๆเถอะว่า จะมีสักกี่คนที่"ประคองจิตเป็น เห็นอากรของจิตได้"ชัดๆ

    ล้วนติดอยู่ที่ความรู้สึกนึกคิดของตนทั้งนั้น แต่กลับเข้าใจไปว่านั่นเป็น"ปัญญา"

    โทษที่ไม่ได้ดูถูก แต่บอกได้ว่าว่า"ถูก" ล้วนติดแค่"สัญญาอารมณ์"ว่าเป็นอย่างนั้น

    มันเป็น"กิเลส ตัณหา อุปาทาน"ที่ทั้งสั่งสมมาและสร้างมันขึ้นมาเองเท่านั้น

    มาสนใจเรื่องที่จะทำให้"สติปัฏฐาน๔"บริบูรณ์ไม่ดีกว่าหรือ?

    เมื่อสติที่ฐาน(กรรมฐาน)ดี มีหรือจะสร้างสิ่งดีๆ เพื่อเป้าหมายบนฐานนั้นไม่ได้

    อย่าเอาเวลาไปคิดๆๆๆจนตกผลึก เพื่อให้เข้าถึง"สภาวธรรม"นั้นๆ

    จงลงมือ"ภาวนา" ประคองจิตให้เป็น เห็นอาการของจิตได้ชัดๆ(แค่ไหวตัวก็รู้)

    เพื่อพิจารณาธรรมณ.ภายใน พิจาณาธรรมณ.ภายนอก

    และพิจารณาธรรมทั้งภายนอกและภายในควบคู่กันไปให้กระจ่าง

    ส่วนผลจะเกิดขึ้นมาอย่างไรนั้น เป็นสิ่งที่ผู้เข้าถึง ย่อมรู้เองเห็นเองเช่นกัน.

    เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน
     
  10. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย กล่าวโดยสรุป ปัญจุปาทานักขันธิ์ เป็นตัวทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ปัญจุปาทานักขันธิ์ได้แก่สิ่ง้เหล่านีั้ คือ ขันธิ์อันเป้นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือรูป ขันธิ์อันเป้นที่ตั้งแห่งคึวามยึดมั่นคือเวทนา ขันธิ์อันเป้นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสัญญา ขันธิ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสังขาร และขันธิ์อันเป้นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือวิญญาน เหล่านี้แล เรียกว่ากล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานักขันธิ์ เป้นตัวทุกข์ ----มหา.ที.10/343/295..---------------------------------พระวจนะ" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริย อุปาทานนั้นเองหรือ ชื่อว่า ปัญจุปาทานักขันธิ์ เหล่านั้น หรือว่าอุปาทาน เป็นอื่นไปจากปัยจุปาทานักขันธิ์ ทั้งหลายเล่า พระเจ้าข้า .....................ภิกษุทั้งหลาย ตัวอุปาทานนั้น ไม่ใช่ตัวปัญจุปาทานักขันธิ์ แต่ อุปาทานนนั้น ก็ไม่ได้มีในที่อื่น นอกไปจาก ปัญจุปาทานักขันธิ์ทั้งหลาย เพราะว่า ตัวฉันทะราคะ ที่มีอยู่ในปัญจุปาทานักขันธิ์ นั้นแหละ คือ ตัวอุปาทานในที่นี้แล....---อุปริ.ม.14/101/121...
     
  11. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ความเกิดแก่เจ็บตาย(รูปขันธ์) เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
    ตัณหาอุปาทาน(นามขันธ์ทีมีอวิชชา) เป็นนายช่างผู้สร้างเรือน(รูปขันธ์) ในสังสารไม่สิ้นสุด

    ....

    อะเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อนิพพิสัง
    เมื่อเรายังไม่พบญาณ ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นเอนกชาติ

    คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง
    แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน; การเกิดทุกคราว เป็นทุกข์ร่ำไป

    คะหะการะกะ ทิฏโฐสิ ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ
    นี่แน่ะนายช่างปลูกเรือน! เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว; เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป

    สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา คะหะกูฏัง วิสังขะตัง
    โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว; ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว

    วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา
    จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา
     

แชร์หน้านี้

Loading...