มโนมยิทธิไปนิพพาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย noom8a, 20 กรกฎาคม 2013.

  1. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    อะจ๊าก......ถ้าอยากปริยัติก็ได้นะ พวกปฏิบัติไม่เห็นผลอะไรนะ
    รอเดี๋ยวนะเดี๋ยวขอค้นหาเรื่องของ ยมกะ มาให้อ่านเอาแบบปริยัติกันเลยไม่เน้นปฎิบัติ
     
  2. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ๓. ยมกสูตร
    ว่าด้วยพระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่
    [๑๙๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ-
    *บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า
    เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว
    ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก. ภิกษุหลายรูป ได้ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ยมกภิกษุเกิด
    ทิฏฐิอันชั่วช้าเป็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพ
    เมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก. ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงพากัน
    เข้าไปหาท่านยมกภิกษุถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกภิกษุ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัย
    ชวนให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว จึงถามท่านยมกภิกษุว่า
    ดูกรท่านยมกะ ทราบว่า ท่านเกิดทิฏฐิอันชั่วช้า เห็นปานนี้ว่า เรารู้ว่าทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มี-
    *พระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก
    จริงหรือ? ท่านยมกะกล่าวว่า อย่างนั้น อาวุโส.
    ภิ. ดูกรอาวุโสยมกะ ท่านอย่าได้พูดอย่างนั้น อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะ
    การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ว่า พระขีณาสพเมื่อ
    ตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.
    ท่านยมกะ เมื่อถูกภิกษุเหล่านั้นกล่าวแม้อย่างนี้ ยังขืนกล่าวถือทิฏฐิอันชั่วช้านั้น อย่าง
    หนักแน่นอย่างนั้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อ
    ตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.
    ภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่อาจเพื่อจะยังท่านยมกะ ให้ถอนทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้ จึงลุกจาก
    อาสนะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่
    ท่านสารีบุตร ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค
    ทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ขอ
    โอกาสนิมนต์ท่านพระสารีบุตรไปหายมกภิกษุถึงที่อยู่ เพื่ออนุเคราะห์เถิด. ท่านพระสารีบุตรรับ
    นิมนต์โดยดุษณีภาพ.
    [๑๙๙] ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้วเข้าไปหาท่านยมกะ
    ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
    จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านยมกะว่า ดูกรอาวุโสยมกะ ทราบว่า ท่านเกิด
    ทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพ
    เมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ดังนี้ จริงหรือ? ท่านยมกะตอบว่า
    อย่างนั้นแล ท่านสารีบุตร.
    สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ย. ไม่เที่ยง ท่าน ฯลฯ
    สา. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ย. ไม่เที่ยง ท่าน ฯลฯ
    สา. เพราะเหตุนี้นั้นแล ยมกะ พระอริยสาวกผู้ใดสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
    รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก.
    [๒๐๐] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นรูปว่าเป็น
    สัตว์เป็นบุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นเวทนาว่าสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นสัญญาว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นสังขารว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นวิญญาณว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    [๒๐๑] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคล
    มีในรูปหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากรูปหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในเวทนาหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในสัญญาหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในสังขารหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากสังขารหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในวิญญาณหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    [๒๐๒] สา. ดูกรยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นรูป เวทนา
    สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นสัตว์บุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    [๒๐๓] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นว่า สัตว์
    บุคคลนี้นั้นไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ หรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ดูกรท่านยมกะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ ท่านจะค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้
    ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรแลหรือที่ท่านจะยืนยันว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค
    ทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.
    ย. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร เมื่อก่อนผมไม่รู้อย่างนี้ จึงได้เกิดทิฏฐิอันชั่วช้าอย่างนั้น แต่
    เดี๋ยวนี้ ผมละทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้แล้ว และผมก็ได้บรรลุธรรมแล้วเพราะฟังธรรมเทศนานี้ ของ
    ท่านพระสารีบุตร.
    [๒๐๔] สา. ดูกรท่านยมกะ ถ้าชนทั้งหลาย พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านยมกะ ภิกษุ
    ผู้ที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเป็นอะไร ท่านถูกถามอย่างนั้น จะพึงกล่าวแก้
    ว่าอย่างไร?
    ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ถ้าเขาถามอย่างนั้น ผมพึงกล่าวแก้อย่างนี้ว่ารูปแลไม่เที่ยง สิ่ง
    ใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ เวทนา
    สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไป
    แล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมถูกเขาถามอย่างนั้น พึงกล่าวแก้อย่างนี้.
    [๒๐๕] สา. ดีละๆ ยมกะ ถ้าอย่างนั้น เราจักอุปมาให้ท่านฟัง เพื่อหยั่งรู้ความข้อ
    นั้นให้ยิ่งๆ ขึ้น. ดูกรท่านยมกะ เปรียบเหมือนคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์
    มาก มีโภคะมาก และเขารักษาตัวกวดขัน เกิดมีบุรุษคนหนึ่งประสงค์ความพินาศ ประสงค์ความ
    ไม่เป็นประโยชน์ ประสงค์ความไม่ปลอดภัย อยากจะปลงชีวิตเขาเสีย เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
    คฤหบดีและบุตรคฤหบดีนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเขามีการรักษาอย่าง
    กวดขัน การที่จะอุกอาจปลงชีวิตนี้ ไม่ใช่เป็นการทำได้ง่ายเลย อย่ากระนั้นเลย เราพึงใช้อุบาย
    ปลงชีวิต. บุรุษนั้น พึงเข้าไปหาคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผมขอเป็น
    คนรับใช้ท่าน. คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น พึงรับบุรุษนั้นไว้ใช้ เขาพึงรับใช้เรียบร้อยดีทุกประการ
    คือ มีปรกติตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังคำสั่ง ประพฤติให้เป็นที่พอใจ กล่าวแต่วาจาเป็นที่รัก
    ใคร่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น เชื่อเขาโดยความเป็นมิตร โดยความเป็นสหาย และถึงความ
    ไว้วางใจในเขา. เมื่อใด บุรุษนั้นพึงคิดว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีไว้ใจเราดีแล้ว เมื่อนั้น บุรุษ
    นั้นรู้ว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีอยู่ในที่ลับ พึงปลงชีวิตเสียด้วยศาตราอันคม. ท่านยมกะ ท่าน
    จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในกาลใด บุรุษนั้นเข้าไปหาคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีโน้นแล้ว
    กล่าวอย่างนี้ว่า ผมขอรับใช้ท่านแม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่าอยู่แล้ว ก็แต่คฤหบดีหรือบุตร
    คฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษผู้ฆ่าว่า เป็นผู้ฆ่าเราไม่. ในกาลใด บุรุษนั้นตื่นก่อน นอนภายหลัง
    คอยฟังคำสั่ง ประพฤติให้เป็นที่พอใจ กล่าวแต่วาจาเป็นที่รักใคร่ แม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็น
    ผู้ฆ่าอยู่แล้ว ก็แต่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษผู้ฆ่านั้นว่า เป็นผู้ฆ่าเราไม่. และใน
    กาลใด บุรุษนั้นรู้ว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นอยู่ในที่ลับ จึงปลงชีวิตเสียด้วยศาตราอันคม
    แม้ในกาลนั้น เขาเป็นผู้ฆ่านั่นเอง ก็แต่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษนั้นว่าเป็นผู้ฆ่า
    เราไม่.
    ย. อย่างนั้น ท่าน.
    [๒๐๖] สา. ดูกรท่านยมกะ ข้ออุปมานี้ฉันใด ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ
    ทั้งหลาย ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่
    ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป โดย
    ความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป ย่อมเห็นรูปในตน หรือย่อมเห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนา
    โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน
    ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน หรือ
    ย่อมเห็นตนในวิญญาณ. เขาย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    อันไม่เที่ยงว่า ไม่เที่ยง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    อันเป็นทุกข์ว่า เป็นทุกข์ ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    อันเป็นอนัตตาว่า เป็นอนัตตา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่งว่า อันปัจจัยแต่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ อันเป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นผู้ฆ่า. เขาย่อมเข้าไปถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณว่า เป็นตัวตนของเรา. อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันปุถุชนนั้นเข้าไปถือมั่น ยึด
    มั่นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
    [๒๐๗] ดูกรท่านยมกะ ส่วนพระอริยสาวกผู้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาด
    ในอริยธรรม ได้รับแนะนำในอริยธรรมดีแล้ว ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ฉลาดในสัปปุริสธรรม
    ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรมดีแล้ว ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ย่อม
    ไม่เห็นรูปในตน หรือย่อมไม่เห็นตนในรูป ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่
    เห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่เห็นวิญญาณ
    โดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีวิญญาณ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน หรือย่อมไม่เห็นตนใน
    วิญญาณ. เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยงว่า
    ไม่เที่ยง. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ว่า
    เป็นทุกข์. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา
    ว่า เป็นอนัตตา. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัย
    ปรุงแต่ง ว่าปัจจัยปรุงแต่ง. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    อันเป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นผู้ฆ่า. เขาย่อมไม่เข้าไปถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณว่า เป็นตัวตนของเรา. อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันอริยสาวกนั้น ไม่เข้าไปถือมั่น ยึด
    มั่นแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน.
    ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ข้อที่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้เช่น
    นั้น เป็นผู้อนุเคราะห์ ใคร่ประโยชน์ เป็นผู้ว่ากล่าวพร่ำสอน ย่อมเป็นอย่างนั้นแท้ ก็แล
    จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่น เพราะได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านสารีบุตร.
    จบ สูตรที่ ๓.
     
  3. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ค่อยๆอ่านนะครับ คนที่ไล้ด้วย
     
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
  5. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ผมคิดว่าคนที่พอจะมีปัญญาอยู่บ้างคงพอจะเข้าใจได้นะครับ นอกจากพวกไร้ปัญญา
    คุณนี่ดูเหมือนเก่งนะ พวกศิษย์ๆมาดูกันหน่อย มโนฯนะแท้ไหมรู้ไหมของจริงเขาเป็นยังไง
     
  6. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ไปก่อนแล้วนะ เพราะเดี๋ยวจะมีคนมาบอกว่า กัดกันยังกะหมา นี่หรือผู้ปฎิบัติธรรม
    มีแต่ โทสะ และโมหะ คนที่จะบอกก็หยุดก่อนนะ อย่าเดาใจฉัน นั่นมันแค่อุปทานขันธ์ 555
     
  7. นางมะลิ

    นางมะลิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +117
    ค่ะ ทีึ่อุปมา ก็พอเข้าใจค่ะ แต่เห็นบางคนเขาว่าเป็นเมืองจริงๆๆ เลย เพราะถามว่า อุปมาหรือเปล่าเขาว่าไม่นี่ค่ะ....

    ที่นี้สภาพคือว่างเปล่า ความว่างเปล่าเป็นอารมณ์กรรมฐาน มันไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ ที่เอา
    อากาศหาที่สุดมิได้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์ (อารมณ์วางเฉย จัด)เป็นฌาน ๔ (แต่อยู่)ในอรูปฌาน หรือที่สูงขึ้นมาสองขั้น คือ อากิญจัญญายตนะ ที่
    อรูปฌานนี้กำหนดความว่างเปล่าดุจอวกาศคือไม่มีอะไรเลย อะไรเลยเป็นจนจิตไม่ยึดถืออะไรทั้งหมด ตั้งเป็นอุเบกขารมณ์

    หรือค่ะ อันนี้งง มาก.......
    หรือมันต่างกันค่ะ
     
  8. นางมะลิ

    นางมะลิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +117
    ลองแสวงหาแล้วค่ะ แต่ไม่เคยเห็นจริงๆๆเคยเห็นท่านที่เอามือแช่กรดแต่ไม่เป็นอะไรด้วย ตอนหลังมารู้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นการหลอกกันคือใครแช่ก็ไม่เป็นเพราะถ้ากรดบางอย่างมันไม่ผสมน้ำ มันจะไม่กัดมือเรา เลยไม่ฟันธงแต่เอาเป็นว่าท่านสอนธรรมได้ก็พอใจแล้วค่ะ ไม่ต้องเหาะหรอกค่ะ ส่วนที่ยกมหายาน ขึ้นมาจริงๆๆก็เพื่อจะบอกว่าธรรมกายในเถรวาทกะมหายานสอนเหมือนกัน อย่าว่าแต่เถรวาทเลยมหายานก็ว่างี้ มีธรรมกายในความหมายของวัดธรรมกายนี่แหละที่ไม่ได้หมายถึงพระธรรม หมายถึงดวงแก้ว หรือเมือง สายหลวงพ่อฤาษีเป็นเมืองหรือเปล่าค่ะ

    เพราะบางท่านว่าไม่ใช่เป็นอุปมา บางท่านว่าเป็นเมือง (อ.ที่มีคนนับถือพอๆๆกันทั้งคู่ด้วย)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 สิงหาคม 2013
  9. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ==================

    เพราะศึกษามามากแต่เพราะยังปฏิบัติไปได้ไม่มาก จึงยังไม่ค่อยเข้าใจ จึงขออธิบายเพิ่มเติมว่า

    คำว่าความว่างนั้น มีหลายระดับชั้น ความว่างของพระอรหันต์ นั้นคือจิตว่างยิ่งกว่าความว่างอื่นใด เพราะอาศัยจิตที่ทรงสภาวะไม่รับอารมณ์รูปนามและเครื่องปรุงแต่งใดๆแล้ว เป็นนิรันดร์ แม้ความว่าง ในอากาสานัญจายตนะ วิญญาณนัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะและเนวะสัญญานายตนะก็ดีก็ไม่เข้าไปยึดติดคือปล่อยวางเป็นที่สุดความนึกคิดทั้งหลายทั้งหมดไม่สามารถเข้ามาปรุงแต่งจิตได้อีก เมื่อจิตไม่มีอะไรมาเป็นเหตุปัจจัยปรุงแต่งได้แล้ว จึงหลุดพ้นจากรูปนามทั้งปวง จิตจึงอาศัยอยู่ด้วยความว่างนั่นเอง ว่างจากกิเลส ว่างจากรูปนาม ว่างจากขันธ์ ว่างจากของไม่ว่าง เพราะมีปัญญาวางหมดสิ้นแล้ว ครับนี่คือจิตของพระอรหันต์ เมื่อจิตมีสภาพอย่างนี้ เมื่อดับกายธาตุ จิตย่อมเคลื่อนอัตภาพไป ไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิด

    จิตพระอรหันต์ทั้งหลาย ย่อมเคลื่อนอัตภาพไปยังสภานที่หนึ่ง อันมีลักษณะว่างเปล่า ในความว่างเปล่า จะมีจิตอรหันต์อาศัยอยู่ จิตอรหันต์ที่อาศัยอยู่ หรือจิตของผู้หลุดพ้นทุกข์แล้วนั้น มีหลายลักษณะ ตามประเภทของความเป็นอรหันตบุคคล
    1 จิตอรหันต์บางดวงสว่างใส โปร่งเหมือนความว่าง
    2 จิตอรหันต์บางดวง สว่างใส่ ดุจเกล็ดผลึกน้ำแข็ง
    3 จิตอรหัรต์บางดวง สว่างใส มีรัศมี ดุจแก้วประกายพฤต
    4 จิตอรหันต์พุทธเจ้า สว่างมีรัศมีมากดุจประกายอัญมณีหลากสีประกายพฤต

    ดินแดนแห่งนี้ เป็นความว่างไม่มีประมาณ แต่ที่สวยงามวิจิตเพราะจิตของเหล่าพระอรหันต์ทั้งปวงนั่นเองที่อาศัยอยู่ เราอุปโหลกเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า ดินแดนแห่งพระนิพพาน ซึ่งเป็นดินแดนที่มีอยู่จริง ครับ สาธุครับ
     
  10. นางมะลิ

    นางมะลิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +117

    เก็ท....แล้วค่ะ หลงมึนตั้งนานขอบคุณค่ะ แล้วทำไมจิตอรหันต์ถึงต่างกันค่ะขึ้นกับบารมีหรือค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 สิงหาคม 2013
  11. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ใช่ครับ จิตทั้งหลาย หรือกายทิพย์ทั้งหลาย ย่อมมีสภาพลักษณะที่แตกต่างกัน
    แม้เทพยังมีลักษณะที่แตกต่างกัน ตามบุญบารมีครับ แม้ความเป็นอรูปพรหม ที่หลายๆท่านที่อ่านแต่ตำราไม่ไม่เคยสื่อถึงหรือไม่เคยสัมผัส ท่านจะไม่ทราบเลยว่า
    แท้จริงความเป็นอรูปพรหม แม้กายท่านจะไม่สามารถมองเห็นเป็นรูปร่างเหมือนกายทิพย์ทั่วไป แต่กายท่านก็สว่างเป็นทิพย์เช่นกัน ท่านสามารถแสดงอภินิหารในความเป็นทิพย์ของกายทิพย์ของท่านได้ หรือบางโอกาสท่านก็สามารถจำแลงอธิฐานมีกายทิพย์แบบมีรูปร่างหน้าตาแบบไหนก็ได้ หรือเพิ่มกายได้มากมายก็ทำได้
    แต่อรูปพรหมหรืออรูปฌาณ นั้นบางจำพวกที่จิตเสวยสุขในอรูปฌาณก็จะไม่สามารถทำอะไรได้เพราะจิตยังติดอยู่ในสภาวะอย่างนั้นจนกว่าจะหมดอายุไขจากกำลังของฌาณครับ

    แต่อรูปพรหมหรืออรูปฌาณประเภทจิตทรงฌาณคือจิตเข้าออกอรูปฌาณเป็นปกติ ได้เจริญวิปัสสนาญาณควบคู่ อันเกิดได้ในอริยะบุคคล นั้น จิตเสวยความเป็นอรูปพรหม จึงมีกายทิพย์ได้ตามจิตจำนงค์ งดงามมากเช่นกันครับ สาธุ
     
  12. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    อนึ่งท่านท้าวมหาพรหมปรเมศวร บรมครูฝ่ายเทพของกระผม ท่านก็เป็นอรูปพรหม ท่านสามารถเนรมิตรกายให้เหมือนผมทุกประการ แต่ท่านจะไว้ผมยาวมวนผมนุ่งขาวห่มขาว ตอนแรกที่เจอท่านในสมาธิก็งงว่านั่นตัวเราหรือเปล่า แต่ท่านก็กล่าวให้ทราบทุกประการ ผมเวลาเจอท่าน ก็จะทราบจริตทันทีอนึ่งแม้จะเหมือนกันหมด แต่ การพูดจา การทำไม้ทำมือ สายตา อ่อนโยนเมตตา กริยาท่านงดงามกว่าผมมากนัก

    ท่านสอนให้ผมได้รู้จักกับความเป็นเทพ มหาเทพ และพิธีกรรมต่างๆมากมาย จวบจนท่านก็เมตตาส่งผมเข้าสู่ทางธรรม มีพระอาจารย์ทั้งฝ่ายพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระอรหันต์ พระอริยะสงฆ์หลายพระองค์ จนทุกวันนี้จิตเข้าสู่กระแสธรรมมากยิ่งขึ้น ปราถนาเฉพาะการสร้างความดี สร้างกุศลและชำระจิตของตนให้สะอาด ครับ สาธุ
     
  13. justpon

    justpon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +467
    หลวงตาไม่เคยเทศน์ขัดกับพระอรหันต์องค์ไหนเลยหากแต่วิธีปฎิบัติไม่เหมือนกันเนื่องจาก กรมมฐานมี 40 กอง แถม สติปัฏฐานสูตร อีก หนึ่งหมวด การปฏิบัติ ถามว่า ถ้าเราทำในแบบกสิณ จะมีนิมิต ถ้าไม่จับนิมิต จะสำเร็จไหม ส่วนในแบบ สติปัฏฐานสูตร ท่านให้กำหนดรู้ โดยละนิมิต (ในแบบพระป่าส่วนใหญ่ใช้วิธีนี้) เพราะฉะนั้นเราเองศึกษาเสี้ยวเดียวจะไม่รู้หรอกว่ากรรมฐานกองใดใช้แบบใด แล้วที่ว่าอรูปฌาณน่ะผู้ศึกษา ปฏิเสธนิมิต จะสำเร็จหรือ เค้าต้องตั้งกสิณก่อนจับภาพให้เป็นนิมิต อยู่ในฌาน 4 ลายอะเอียดจะไม่ลงลึกเพราะไม่สันทัดมาก แล้วเพิกหรือ ละนิมิตทิ้งจับอากาศว่างเปล่า หรือ ความเวิ้งว้างของอากาศ สัญญา ฯลฯ ในแต่ละขั้น ฉะนั้นอรูปฌาน คุณต้องได้กสิณก่อน ซึ่งกสิณก็ต้องใช้นิมิต ผมไปหาพระป่าหลายรูปท่านก็ว่าแบบนี้

    ส่วนเรื่องที่บอกพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วไม่มีใครเห็นก็โปรดอ่านที่ผมโพสต์หนังสือให้ดู ... ตัวคุณปฎิเสธการมีฤทธิ์ในด้านต่าง ๆ ผมก็ว่าในพระไตรปิฎกก็มีลงเช่นท่านพระโมคคัลลานะ ก็ยังงงว่าคุณดูพระไตรปิฎก อ้างพระไตรปิฎก แต่คุณก็ปฎิเสธสิ่งที่มีในนั้นซะเอง คุณอ่านหรือคุณแค่ดู ....

    ผมจะบอกว่า ไม่ว่าสายไหนถ้าปฏิบัติตรงก็เข้านิพพานหมด ผมไม่ได้บอกว่าสายพระป่า สายหลวงพ่อพระราชพรหมญาณ ดีกว่าที่อื่น แต่ผมกล้าท้าให้คุณได้ลองปฏิบัติดู ผมไม่รู้ว่าคุณจะเป็นคริสต์ หรือ อะไรหรือเปล่า หรือ สายไหนก็ตาม แต่ผมลองปฎิบัติตามทั้งคู่ ผมว่าทางนั้นเป็นไปตามพระพุทธเจ้าและสามารถไปนิพพานได้ในชาตินี้ ผมไม่ได้ปฎิเสธเทพ ผี พรหม ร่างทรง ผมเจอมามากกว่าพวกคุณซะอีก แต่ผมผ่านมาได้ ไม่ได้วิปลาศไปกับสิ่งเหล่านั้น ฉะนั้นผมจึงอยากให้คุณลองได้ปฎิบัติตาม ฟังคำสอนของหลวงพ่อ วัดท่าซุง ดูก่อนแล้วค่อยเชื่อ กระทู้แบบนี้ผมจะโพสต์แค่นี้นะครับแต่จะcopyไปในทุกอันที่ผมเคยลง ยังไงซะก็สุดแล้วแต่คุณเถอะ คนเรามันมีถนนหลายสายให้เดิน ช้าหรือเร็วก็นิพพานทุกท่าน สวัสดี




    20130803_131453.jpg

    20130803_131508.jpg
     
  14. sopholwit

    sopholwit Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +94
    ขออนุโมทนากับคุณ นาง มะลิ และ คุณ tjs ถ้าอย่างนั้นพอจะสรุปได้ไหมครับว่าวิธีนี้
    เป็นภพ ภพ หนึ่งที่จิตสร้างขึ้น เป็น ปฏิจจสมุปบาท สายเกิด เป็น ภพ เป็นแดนเกิด
     
  15. นางมะลิ

    นางมะลิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +117
    ขัดหรือเปล่าไม่รู้ค่ะ แต่มโนยิทธิ ตามสายหลวงพ่อฤาษีไม่เหมือนพระไตรปิฏกแน่นอนค่ะ แต่ท่านจะยืมชื่อมาใช้กับวิธีการที่ท่านคิดเองก็ไม่ว่ากัน แต่มโนยิทธิตามพระไตรปิฏกไม่ใช่กรรมฐาน เป็นอิทธิอย่างหนึ่ง คือการแสดงฤทธิ์ได้และมโนยิทธิ ก็คือการสร้างรูปใหม่ขึ้นมามีอินทรีย์ครบอะไรทำนองนี้ เป็นฤทธิ์แบบโลกีย์

    แต่ของสายหลวงพ่อฤาษี เป็นกรรมฐานและดูจะมีคุณวิเศษมากกว่าที่มโนยิทธิในพระไตรปิฏก เข้าใจว่าเป็นวิธีอย่างหนึ่ง แล้วท่านเรียกเอา ว่ามโนยิทธิ


    เรื่องนิมิตข้าใจค่ะ อย่างกสิณ ดวงกสิณ ที่ทำมันต้องติดตาเข้าไปด้วย ไม่หลุดออกไป อันนี้เข้าใจ แต่ถ้ายังมีดวงๆๆ มันก็ยังเป็นรูปญาณสิค่ะ

    ส่วนอรูปญาณก็ไม่มีวัตถุหรือรูปอะไรอีกมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน อย่างกำหนดอากาศ อากาศไม่มีรูป กำหนดวิญญาณ หรือ ความไม่มี ส่วนที่ว่าต้องได้รูปญาณก่อนเข้าใจค่ะ แต่บางท่านไม่ต้องได้นี่ค่ะ และอีกอย่างทั้งรูปญาณ อรูปญาณก็คือ สมถะนี่ ถ้าว่ากันตามจริงพระอรหันต์บางรูปที่ไม่เคยเจริญเหล่านี้มาเลย พอทำวิปัสสนาได้อาสวักขยญาณ ก็จะได้ อิทธิวิธิ ทิพพโสต เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ทิพพจักขุ ด้วยแม้ไม่เคยเจริญญาณสมาบัติมาก่อน แต่บางท่านก็ไม่ได้ เรียกว่าปัญญาวิมุตติ

    เหล่านี้ มันเป็นสมณะ สิ วิปัสสนา มันเป็นการเจริญปัญญาไม่ได้กำหนดนิมิต แต่เป็นการเอาสติไปตั้งที่ฐานต่างๆๆ(จะว่าเป็นนิมิตแท้ก็ได้ไม่ใช่การเพ่ง)
    อย่างที่กาย ก็พิจารณาให้คายความยึดติดในกาย ถ้าเอาสติมาตั้งที่เวทนา ก็พิจารณาให้คายความยึดติดในเวทนา
    ถ้าเป็นจิต ก็พิจารณาให้คายความยึดติดในจิต เห็นเกิดดับ
    ส่วนถ้าเอาสติมาตั้งที๋ธรรม ก็พิจารณาไตรลักษณ์ สิ่งไหนไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

    แล้วเกี่ยวอะไรกับนิมิตค่ะ ถ้ามีนิมิตก็ต้องล่ะนิมิตนั้นทิ้งไปไม่ใช่หรือ วิปัสสนานะค่ะ

    ฉันไม่ได้ปฏิเสธฤทธิ์ค่ะ แค่บอกไม่เคยเห็นเลยไม่ฟังธงเชื่อแค่นั้น ถ้าเคยเห็นก็เชื่อค่ะ ว่าแต่กาลามาสูตรก็ว่าอย่าเชื่อแม้แต่ตำราไม่ใช่หรือค่ะ ฉันแค่ไม่ฟังธงค่ะ

    ถามพระอ.ที่นับถือท่านว่าหูทิพย์ตาทิพย์แบบที่พูดนะของปลอมทั้งนั้น ของจริงนู้นโยมผู้หญิง เห็นหรือได้ยินจิตเห็นใจตัวเอง เห็นความคิดชั่วแล้วหยุดมันที่ตรงนั้นได้ เห็นความคิดดีแล้วช่วยให้มันเป็นรูปธรรมจริงออกมาได้ เห็นว่ามันกำลังทุกข์แล้วดับได้

    นี่ของจริง....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2013
  16. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ================

    ที่เพิ่งละสังขารไป คือพระครูโกวิโท วัดถ้ำบ่อทอง ที่ลพบุรี ตอนนี้ ร่างสังขารท่านใส่โลงแก้วครับ ไปกราบได้ ครับ ท่านบวชตั้งแต่อายุน้อยๆ ธุดงค์ไปหลายที่ จนท่านมรณภาพ ท่านสร้างวัดไว้หลายวัดครับ

    ล่าสุดที่ยังมีชีวิตอยู่ ท่านคือหลวงตาดอน อาจารณสัมปันโนครับ ท่านนี้เก่งในวิชาอาคมเมตตามหานิยม ครับ ท่านเดินธุดงค์เหมือนกัน อยู่วัดน้ำซับสังฆารามครับ ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อหอม ครับ

    นอกนั้นไม่มีครับ แต่รู้ว่ามีวาสนารอเวลาไปพบและฝากตัวเป็นศิษย์ก่อนที่ท่านจะมรณภาพและก่อนที่ผมจะบวชครับ รอเวลาอยู่ครับ อีกท่านหนึ่งครับ สาธุ ครับ
     
  17. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    =============
    มโนมยิทธิ เป็นเรื่องของอิทธิฤทธิ์ ทางจิต

    อิทธิฤทธิ์ เกิดได้ด้วยกำลังของสมาธิ ระดับสองขึ้นไป จนอุปจารสมาธิและกรรมฐาน จนจิตเกิดกำลัง สามารถแสดงอภินิหาร หรืออภิญญา ตามจริตหรือตามที่ฝึกฝน

    มโนมยิทธิอาศัยการส่งกระแสจิตออกไปยังสถานที่ต่างๆ อาศัยการเห็นรู้ สภาวะต่างๆ เพราะกระแสจิตที่ส่งออกไป [ไม่ได้ถอดจิต เพราะจิตยังอยู่กับร่าง แต่เคลื่อนไปแค่กระแสจิตเท่านั้น] จึงไปรับรู้เห็นสิ่งต่างๆได้

    ส่วนทิพย์จักษุ และทิพยโสต นั้น อาศัยสมาธิเป็นพื้นฐานเช่นกัน และด้วยกำลังของสมาธิที่สงบว่างตัดเวทนาหมดสิ้น จิตจึงเป็นอิสระว่างเปล่ารวมเป็นหนึ่งอยู่ในกาย จิตสภาวะนี้ แสดงกำลังออกมาด้วยปรากฏเป็นภาพนิมิตเกิดขึ้น เหมือนมีดวงตามองเห็นภาพทุกอย่าง หรือบางครั้งเราเรียกว่า ตาใน หรือตาที่สามก็ได้ ส่วนทิพยโสตก็เช่นกัน

    มโนมยิทธิ เป็นอิทธิฤทธิ์ ทางจิต จิตมีกำลังมากจึงเคลื่อนกระแสจิตไปยังที่ต่างๆทำให้รับรู้สภาวะเหล่านั้นได้ บางครั้งก็จริง บางครั้งก็ไม่จริง แล้วแต่กำลังความบริสุทธิ์ ของสมาธิและจิต

    ดังนั้น เราต้องทราบและเข้าใจ ตรงนี้ให้ถูกก่อน
    บางท่านฝึกกรรมฐาน ได้อภิญญาติดมาด้วยเพราะอภิญญา คือผลอย่างหนึ่งของสมาธิ
    บางท่านฝึกอภิญญา แน่นอนท่านก็ต้องได้สมาธิฌาณ กรรมฐานแน่นพอตัวแล้วครับ

    สุดท้าย เราต้องชำระจิตเราให้สะอาดยิ่งๆขึ้นไป เดินสมาธิกรรมฐานทุกวัน ศีลเราไม่ด่าง บุญทานเราทำเรื่อยๆ เราต้องทรงความดีไว้เสมอหรือมากยิ่งขึ้น สมาธิเราและจิตเราก้าวหน้าขึ้น อภิญญาก็ก้าวหน้าขึ้นเช่นกัน จนที่สุดคือ
    เมื่อจิตเราไม่เสื่อม ดังเช่นพระอรหันต์แล้ว อภิญญาทั้งหลายก็ไม่เสื่อม ครับ แต่อภิญญาของพระอรหันต์ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเพราะท่านไม่ยึดติดอะไรใดๆแล้วครับ สาธุ
     
  18. sopholwit

    sopholwit Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +94
    อนุโมทนาสาธุกับท่าน tjs ครับ มโนมยิทธิ เป็นอิทธิฤทธิ์ ทางจิต จิตมีกำลังมากจึงเคลื่อนกระแสจิตไปยังที่ต่างๆทำให้รับรู้สภาวะเหล่านั้นได้ บางครั้งก็จริง บางครั้งก็ไม่จริง แล้วแต่กำลังความบริสุทธิ์ ของสมาธิและจิต ใช้หลักไตรลักษณ์เข้าไปจับสภาวะการรับรู้พอจะมีโอกาสไหมครับ ทำยังไงไม่ให้หลง
     
  19. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ความเสื่อมเกิดเพราะกำลังของสมาธิและกำลังจิตที่เสื่อมลง เพราะพื้นฐานเสื่อม

    ดังนั้น ต้องปูพื้นให้ดีเสมอ และการฝึกชำระจิตเสมอ ด้วยการแยกรูปนาม พิจารณาตามกฏไตรลักษณ์ จิตไม่ยึดมั่้นยึดติดในอาสวะกิเลส ย่อมไม่ปรุงแต่ง เมื่อไม่มีอะไรปรุงแต่ง
    จิตมันก็เคลื่อนกำลังหรือกระแสจิต ไปโดยปกติธรรมชาติของมัน จึงเกิดเป็นสภาวะจริงเกิดขึ้นครับ

    อนึ่งเมื่อจิตเราบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น การปรุงแต่งของจิตก็น้อยลงครับ

    ส่วนมากที่กระผมสัมผัสได้คือ จิตจะไม่สนใจใยดีใยร้าย กับอภิญญา นิมิต แม้เราไม่ได้สนใจใยดีหรือยึดติดอะไร มันก็ยังเกิดขึ้นของมัน เราเป็นเป็นปกติ แต่เราก็ไม่ได้สนใจ แม้ว่ามันเห็นจริงเกิดจริง เราก็ต้องวางเฉยไม่ไปสนใจ แม้เห็นเลขหลายๆงวด เห็นจริง ตรงอย่างนั้นจริงๆ เราก็ไม่ได้สนใจ เพราะมันเป็นตัวอุปทานอย่างหนึ่ง เราปล่อยวาง ความโลภเราไม่มี ความยึดติดเราไม่มี จนในที่สุดอภิญญามันจะมีหรือไม่มีก็ไม่ได้สนใจ สนใจที่การชำระจิตเท่านั้นครับ สาธุ
     
  20. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ถ้ามีสติ ละเอียด เห็นการทำงานของจิตทั้งหมด รู้การทำงานของการปรุงแต่งทั้งหมดได้เมื่อไหร่ เมื่อนั้นจะรู้ว่า ส่วนไหนจริง ส่วนไหนเป็นการปรุงผสมของกิเลสของเราเอง

    มนุษย์ปุถุชนที่ไม่ใช่พระอริยเจ้า ไม่มีความสามารถเช่นนั้น หากสามารถเห็นการ ปรุงแต่งได้ละเอียดถึงที่สุดขนาดนั้น ก็จะไม่ใช่ผู้เป็นปุถุชนอีกต่อไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...