เห็นจิต เกิด-ดับ ท่านเข้าใจว่าอย่างไรกันครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย somchai_eee, 24 เมษายน 2013.

  1. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ก็มันเป็นเช่นนั้น นี้ครับ ท่านก็สนทนาอยู่ในนี้ตั้งนานแล้ว ยังไม่เห็นความเป็นเช่นนั้นอีกเหรอ .... เหมือนคนในกรุงเทพที่ รถติดแล้วเครียดเลย มันติดทุกวันเขายังเครียดกันได้อีกทุกวัน ยังไม่เห็นความเป็นธรรมดาได้เลย
     
  2. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    พระสูตรนี้จะชัดเจนตรงที่
    อกุศลวิตกทั้งหลาย เกิดเพราะการดำริที่เป็นอกุศล(พระสูตรอื่น) ฉนั่น ดำริที่เป็นฐาน ก่อนจะเกิดอกุศลวิตก ดับไม่มีเหลือในปฐมฌาน เเละถ้าดำริออกจาก ปฐมฌาน มันเเน่นอนที่ อกุศลสังกัปปะย่อมเกิดขึ้นอีก กลายเป็นอกุศลวิตก มันเลยทำให้เห็นชัดเจน เเบบหยาบๆคือตัว วิตกที่เป็นอกุศล เมื่อทำเเบบนี้บ่อยๆ เห็นวิตกเป็นคุณ เเถมเป็นตัวอกุศลวิตก ไม่เห็นโทษ มันจึงกลายมาเป็นอาพาธของสมาธิในที่สุด ตรงนี้พระองค์ตรัสไว้ขัดเจน
    ทำให้ ความคิดต่างๆมันผุดขึ้นๆ ไม่หยุด คือ ความเป็นอาพาธ ที่ไม่สามารถระงับวิตก วิจาร ได้โดยง่าย ผลจากการยึดมั่นวิตก นี้คือผลเสียจากการยึดมั่นวิตก.
    เเละถ้าเป็นกุศลวิตก จะดับไปไม่มีเหลือในฌาน2 ฉนั้นสมาธิ ถ้าให้ดี ไม่ควรมีวิตก หรือ ความคิดปุดขึ้น
    (ถ้าสงสัยตรงไหน พรุ้งนี้มาติบ)

    ถปติ ! อกุศลสังกัปปะเหล่านี้ จะดับไม่มีส่วนเหลือ ในที่ไหน ? ความดับแห่ง
    อกุศลสังกัปปะเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เขากล่าวกันไว้แล้ว. ถปติ !ในกรณีนี้ ภิกษุ สงัดจาก
    กามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌานอันมีวิตกและวิจารมีปิติและสุขอันเกิดจาก
    วิเวก แล้วแลอยู่. อกุศลสังกัปปะเหล่านี้ ย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือ ในปฐมฌานนั้น.
     
  3. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    เป็นสำนวนเฉยๆครับ เห็นที่ว่านี้ ให้ใช้ความรู้สึกละรึกรู้เอา
    เพราะจิตไม่มีรูปจะตามรู้ตัวจิตตรงๆไม่ได้

    วิธีการคือตามรู้ตัวเจตสิกที่จะต้องเกิดร่วมกับจิตทุกครั้ง
    เจตสิกที่ว่านี้ก็คือ ราคะความพึงพอใจ ความโกรธ พวกอารมณ์ต่างๆนี่แหละครับ

    ซึ่งมันต้องฝึกสติปัฏฐานให้สติเกิดก่อนนะครับ ให้สติตามรู้ได้เท่าทัน จึงจะเห็น
    แต่มันแตกกระจายละเอียดละออมาก แล้วแต่ใครจะเห็นได้ไม่เหมือนกัน

    ซึ่งถ้าจะนำมาอธิบายมันอาจจะไม่เหมาะกับผู้ที่ไม่รู้นะครับ

    ตามรู้เจตสิกนะครับ รู้ตามหลังมันไปแบบเห็นหางไหวๆ
     
  4. patdorn

    patdorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +227
    แสดงว่าเข้าใจอยู่แล้ว ^ ^
     
  5. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    คิคิ

    อย่าง กะ กระต่ายกระโดดบนภูเขาไฟ เลยจ๊ะ ตุ๊บๆๆ อิอิ
    กระโดด จาก หินร้อนๆก้อนนึง ไปหา หินเย็นอีกก้อนนึง
    เผลอๆ บางที คิดว่าหินมันเย็น ดันกลายเป็น หินเพิ่งเย็นจากลาวา
    เผลอๆ จมลงไปลาวา อันร้อนระอุอีก ต่างหาก อิอิ
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    มีผู้รู้พระบาลีพอสมควรบางท่านที่พยายามยกเอาพระบาลีอัสสุตวตาสูตร
    มาเพื่อกล่าวแย้งเรื่องจิตเกิดดับอย่างแน่นอน ตามคำแปลพระบาลี
    โดยเอาคำว่า "อุปปชฺติ" แปลว่า เกิด
    และคำว่า "นิรุชฺฌติ." แปลว่า ดับ

    โดยการนำมาชี้แจงเพียงเท่านี้ พร้อมกับคำแปลที่เป็นภาษาไทยถูกรจนาขึ้นในภายหลัง
    ผมเองก็มีความรู้พระบาลีเพียงเล็กๆน้อย จากการจำมาจากพระสูตรต่างๆ
    ซึ่งในพระบาลีที่นำมานั้น มีนัยยะ เรื่องเกิดดับดังนี้
    มีพระบาลีที่ยกมาบอกไว้ว่า "อัญญะเทว" แปลว่า
    อัญญา=รู้ต่าง เทว อ่านว่าทะเว= รู้ต่างทั้งสองฝ่าย คือรู้ต่างทั้งเกิดขึ้นและดับไป

    ฉะนั้นคำว่า "อญฺญเทว อุปฺปชฺชติ" แปลได้ว่า เกิดขึ้นก็รู้
    คำว่า "อญฺญํ นิรุชฺฌติ" แปลได้ว่า ดับไปก็รู้ เพราะรู้ต่างทั้งสองฝ่าย

    เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า พระบาลีบอกไว้ชัดๆว่า เกิดขึ้นก็รู้ ดับไปก็รู้
    แสดงว่าที่เกิดดับไปนั้นเป็นเพียงอาการของจิต(จิตเป็นต้นนั้น)เท่านั้น
    แต่ก็ยังมีคนพวกหนึ่ง เมื่ออ้างถึงจิตเกิดดับมักต้องยกเอาพระสูตรนี้มาเป็นประจำ

    โดยไม่ศึกษาถึงเนื้อหาที่ถูกต้องแท้จริงๆเลย
    เพราะเชื่อตามที่สอนว่าเป็นแบบนั้น โดยไม่เอาหลักเหตุผลใดๆทั้งสิ้นเลย

    พระอริยสาวก ย่อมรู้ชัดว่าคือรู้เห็นตามความเป็นจริง
    ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
    ทุกข์เกิดขึ้นที่ไหนครับ? ที่จิตใช่มั้ยครับ?
    สุข ทุกข์ที่เกิดขึ้นดับไปล้วนใช่อาการของจิตมั้ย?

    ส่วนปุถุชนนั้น เห็นอาการของจิต(จิตตสังขาร) ที่เรียกว่า
    จิตบ้าง มโนบ้าง วิญาณบ้างฯลฯ จิตเป็นต้นนั้น
    เกิดดับไปตามอารมณ์เหล่านั้น(เครื่องเศร้าหมองจิต)เป็นธรรมดาเพราะไม่รู้จักจิต
    ส่วนพระอริยสาวกรู้เห็นตามความเป็นจริง เห็นอารมณ์เกิดขึ้นที่จิตและดับไปจากจิตครับ

    พระสูตรก็ชัดเจนอยู่แล้ว ท่านเปรียบวานรเหมือนจิต วานรกี่ตัว?
    แต่อาการที่วานร ไปจับกิ่งโน้น ปล่อยกิ่งนี้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดกิ่งนี้ ใช่วานรเป็นต้นนั้นมั้ยครับ?

    ถ้าวานรเปรียบเหมือนจิตที่เกิดๆดับๆ วานรมิต้องตกตายเกลื่อนป่าหรือ?
    ดวงเดียวเที่ยวไป ก็เหมือนวานรตัวเดียวเที่ยวไป
    ส่วนอาการของจิตที่แสดงในการจับสิ่งนั้น(อารมณ์) ปล่อยสิ่งนี้ ปล่อยสิ่งนั้น ยึดสิ่งนี้
    ล้วนเป็นจิตสังขารหรือจิตเป็นต้นนั้นทั้งสิ้นใช่หรือไม่?

    ^
    ^
    เอามาให้อ่านเพื่อเปิดธรรมทัศน์ให้กว้างข้างยิ่งขึ้นเท่านั้น
    อย่าเพิ่งเชื่อโดยขาดการสมาทาน เพื่อพิสูจน์ทราบตามความเป็นจริง

    เจริญในํธรรมทุกๆท่าน
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ก็คงต้องขอนำคำพูดของมหาเปรียญท่านหนึ่งซึ่งท่านศึกษาพระบาลีมาไม่น้อย
    ท่านได้ให้ข้อสังเกตไว้ดังนี้

    "...คือสำนวนในบาลีโดยมาก เท่าที่ได้สังเกตมาปะตาอยู่เสมอ
    ในที่ใด ท่านพูดถึง วิญญาณ
    ท่านใช้กิริยาของ วิญญาณว่า นิรุชฌ์ ซึ่งแปลว่าดับ

    ในที่ใดท่านพูดถึง จิต
    ท่านใช้กิริยาของจิต วิมุตติบ้าง วิโมกข์บ้าง ซึ่งแปลว่า พ้น

    พ้นคือจิตพ้น
    วิญญาณดับ จิตพ้น ย่อมต่างกัน

    อนึ่ง โลกุตตรจิต จิตเหนือโลก จิตพ้นโลก นั้นมีแน่แท้
    แต่โลกุตตรวิญญาณไม่มีจริงๆ...ฯลฯ...
    *
    ที่ยกมานั้น ในพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ใช้คำว่า จิตฺตํ ตรงๆเลยครับ ไม่ได้ใช้คำว่า วิญฺญาณํ หรือคำอื่นมาแสลงเลย ตรงที่สุด

    นาหํ ภิกฺขเว อญฺญํ เอกธมฺมํปิ สมนุปสฺสามิ ยํ เอวํ
    ลหุปริวตฺตํ ยถยิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ยาวญฺจิทํ ภิกฺขเว อุปมาปิ น สุกรา ยาว ลหุปริวตฺตํ จิตฺตนฺติ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้ มิใช่ง่าย ฯ

    ฉะนั้น จะไปกล้าวอ้างว่า ผู้อื่นเข้าใจวิญญาณซึ่งเป็นอาการของจิต ที่เกิดดับ แล้วเหมาเอาว่าจิตดับ
    เขาดูที่คำว่าจิตเลย ไม่ใช่วิญญาณอะไร พระพุทธพจน์ก็ใช้คำว่าจิต

    คำว่าเปลี่ยนแปลงของจิตในพระสูตรนี้ ท่านอรรถกถา ท่านอธิบายไว้ดังนี้ครับ

    เอวํ ลหุปริวตฺตนฺติ เอวํ ลหุ อุปฺปชฺชิตฺวา ลหํ นิรุชฺฌนกํ
    บทว่า เอวํ ลหุปริวตฺตํ ความว่า เกิดเร็วดับเร็วด้วยอาการ อย่างนี้

    ใช้คำว่า อุปฺปชฺช (เกิด) นิรุชฺฌ (ดับ)


    สยฺยถาปิ ภิกฺขเว มกฺกโฏ อรญฺเญ จ พฺรหาวเน จ จรมาโน ฯเปฯ
    เอวเมว ภิกฺขเว ยมิทํ วุจฺจติ จิตฺตํ อิติปิ มโน อิติปิ วิญฺญาณํ.
    อิติปิ ตํ รตฺติยา จ ทิวสสฺส จ อญฺญเทว อุปฺปชฺชติ อญฺญํ นิรุชฺฌติ.

    ^
    ^
    เนื่องจากคุณยกบาลีมา
    จึงนำคำพูดของมหาเปรียญท่านหนึ่งซึ่งท่านศึกษาพระบาลีมาไม่น้อยมาแสดง
    เพื่อให้ผู้เข้ามาอ่าน มีข้อสังเกตว่า

    ในพระบาลีนั้น โดยมาก ถ้าดับ จะหมายถึงวิญญาณ ซึ่งเป็นอาการของจิต
    ถ้าจะกล่าวถึงจิต มักใช้คำว่า พ้น คือ จิตพ้น

    นั่นคือ จิตไม่เกิดดับ ที่เกิดดับคือวิญญาณขันธ์ หรือขันธ์ ๕ หรืออาการของจิต

    และพระสูตรที่คุณยกมานั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้ มิใช่ง่าย ฯ

    ณ ตรงนี้ยังมิได้พูดไว้เลยว่าหมายถึงวิญญาณ
    แต่หมายถึงจิต อยู่แล้ว ที่เปลี่ยนแปลงเร็ว
    คือ เปลี่ยนจากการยึดถืออารมณ์หนึ่ง ไปยึดถืออีกอารมณ์หนึ่ง ได้อย่างรวดเร็ว
    จึงทรงสั่งสอนให้อบรมจิต เพื่อให้จิตรู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    เพื่อจิตหลุดพ้นจากการยึดถือและปรุงแต่งไปตามอารมณ์
    หรือจิตหลุดพ้นจากการถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นเอง

    เพราะในพระสูตรที่คุณยกมานั้น ก็มีตรัสต่อว่า
    [๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง
    แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา
    ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง
    ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิต ฯ

    [๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง
    และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา
    พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง
    ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมีการอบรมจิต ฯ
    ไม่ได้ตรัสนะว่าจิตเกิดดับ
    คำว่าจิตเปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่ได้หมายว่าจิตเกิดดับ

    เพราะทรงสอนให้อบรมจิตโดยปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔
    และในมหาสติปัฏฐานสูตร ทุกบททุกตอนตรัสว่า
    ...รู้ชัดว่า...

    นั่นคือ ผู้ปฏิบัติต้องมีจิตรู้ตลอดทุกกระบวนการในการลงมือปฏิบัติ
    ไม่ได้ตรัสว่า รู้ชัดบ้างไม่รู้ชัดบ้าง ...พอจะเข้าใจไปว่าจิตนั้นเกิดดับ


    อามาให้อ่านเพื่อเปิดธรรมทัศน์ให้กว้างข้างยิ่งขึ้นเท่านั้น
    อย่าเพิ่งเชื่อโดยขาดการสมาทาน เพื่อพิสูจน์ทราบตามความเป็นจริง

    เจริญในํธรรมทุกๆท่าน
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อ้างอิงอัสสุตวตาสูตรที่ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย
    กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกาย
    อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ
    บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน
    นั้นแล ฯ

    ^
    ^
    เมื่อวานรคือจิต มีตัวเดียวเที่ยวไป(เอก จรํ จิตตํ=ดวงเดียวเที่ยวไปในอารมณ์)ในป่าใหญ่ กิ่งไม้เปรียบเหมือนอารมณ์ต่างๆ
    จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไปเรื่อยๆ คือเป็นไปตามอารมณ์ต่างๆที่จรเข้ามาใช่หรือไม่?

    ส่วนจิตเป็นต้นนั้นในพระสูตร ล้วนเป็นจิตสังขาร หรือจิตที่ปรุงแต่งกับอารมณ์ไปแล้วทั้งสิ้น
    และเกิดดับตามอารมณ์เหล่านั้น เราเรียกจิตสังขารเหล่านั้นว่าดวงเช่นกัน จึงต้องเรียกว่า ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงดับไป
    เราเปรียบจิตเหมือนน้ำที่เดิมนั้น บริสุทธิ์หมดจดอยู่ก่อน ที่สกปรกโสมมไปเพราะ มีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาปนเปื้อน

    ที่เราเรียกว่า น้ำแดง แกงส้ม ต้มมะระ ฯลฯ น้ำเป็นต้นนั้น สิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งหนึ่งดับไปตลอดทั้งกลางวันกลางคืน ฉันใด
    เรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้างฯลฯ จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ

    เราสามารถกลั่นน้ำ ให้บริสุทธฺ์หมดจดจากสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อนได้ฉันใด
    เราสามารถฝึกฝนอบรมชำระจิต ให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายได้ฉันนั้นครับ

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ๗. อาสวสูตรที่ ๑
    ....(เหตุเกิดแห่งอาสวะทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ดับแห่งอาสวะทั้งหลาย)

    [๒๓๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
    พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
    เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ
    กามาสวะ ๑ ภวาสวะ ๑ อวิชชาสวะ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้แล ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น
    พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
    สาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีจิตตั้งมั่น ผู้รู้ทั่ว มีสติ ย่อมรู้ชัดซึ่งอาสวะทั้งหลาย
    เหตุเกิดแห่งอาสวะทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ดับแห่งอาสวะทั้งหลาย
    และมรรคอันให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
    ภิกษุหายหิวแล้ว ดับรอบแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ฯ

    เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ


    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=5502&Z=5517&pagebreak=0
    *
    ^
    ^
    พระสูตร มีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ชัดเจนว่า
    สาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีจิตตั้งมั่น ผู้รู้ทั่ว มีสติ
    ย่อมรู้ชัดซึ่งอาสวะทั้งหลาย
    เหตุเกิดแห่งอาสวะทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ดับแห่งอาสวะทั้งหลาย

    เมื่อมีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดว่า เหตุเกิดแห่งโลภะ โทสะ โมหะ(อาสาวะทั้งหลาย)
    เหตุเนื่องจากจิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในอาสาวะทั้งหลายว่าเป็นตน เป็นของๆตน
    และรู้ชัดว่า ธรรมแห่งความดับแห่งโลภะ โทสะ โมหะ(อาสาวะทั้งหลาย)
    ผลเนื่องจากจิตถ่ายถอนความยึดมั่นถือมั่นในอาสาวะทั้งหลายว่าไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของๆตน

    พระพุทธพจน์ไม่มีกล่าวไว้ตรงไหนเลยว่า จิตเกิดๆดับๆไปตามอาสาวะทั้งหลายเหล่านั้น

    เจริญในธรมทุกๆท่าน
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ๗. โสตาปันนสูตร
    (เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.)

    [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
    ได้แก่ อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พระอริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ
    คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
    เหล่านี้ ตามความเป็นจริง.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า พระอริยสาวกผู้โสดาบัน มีอันไม่ตก
    ต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=3572&Z=3579

    ^
    ^
    ชัดๆขนาดนี้แล้ว ยังจะเถียงพระพุทธวจนะให้ชนะอีกหรือ
    พระอริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ
    คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
    (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)

    เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
    อะไรของท่านพระโสดาครับ เป็นผู้เที่ยงตรงคงที่ต่อพระนิพพาน?
    กายที่ต้องอาศัยเพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย หรือ จิตของพระอริยะสาวก?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    พระสูตรที่คุณยกมานั้น คุณควรอ่านตั้งแต่ต้นที่ทรงกล่าวไว้ว่า
    "ปุถุชน ผู้ที่ไม่ได้สดับจากพระอริยะ" ใช่มั้ย?
    แล้วปุถุชนมักมองเห็นตรงข้ามกับพระอริยะเจ้าใช่มั้ย?
    ปุถุชนรู้เห็นอย่างที่คุณยกมานั้น ก็เป็นธรรมดาครับ ย่อมต้องต่างจากพระอริยสาวก


    ในพระสูตรส่วนใหญ่แล้ว เมื่อทรงกล่าวถึงปุถุชน ผู้มิได้สดับ รู้เห็นเป็นอย่างไรใช่มั้ย?
    ย่อมต้องทรงกล่าวถึง พระอริยสาวก ผู้ที่ได้สดับมาว่า รู้เห็นเป็นอย่างไรใช่มั้ย?
    พระอริยะสาวก ผู้ได้สดับมานั้น รู้เห็นว่า
    "รู้ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ รู้ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้"
    ไม่ใช่รู้ความเกิดดับของจิตนะครับ

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้
    ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย
    แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
    เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
    ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ"
    ู^
    ^
    อะไรเกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นครับ? ใช่จิตมั้ยครับที่รู้?
    ถ้าไม่ใช่ก็ช่วยตอบด้วยนะครับว่าอะไรที่หยั่งรู้

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  12. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ธรรมชาตดั่งเดิม หรือบางท่านกล่าวว่า จิตดั่งเดิม เมื่อยังมีอวิชชาอยู่ จิตดั่งเดิมจะปรุงแต่งขันธ์5(จิต) และยึดขันธ์5เป็นตัวตน(อุปทานขันธ์) เป็นตัวเรา

    คำกล่าวหลวงปู่ดุลล์
    "หลักธรรมที่แท้จริง คือ จิต จิตของเราทุกคนนั่นแหละ คือ หลักธรรมสูงสุดในจิตใจเรา นอกจากนั้นแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย
    จิตนี้แหละ คือ หลักธรรม ซึ่งนอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้นโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต

    เข้าใจนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2013
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    ขอเถอะอย่าทำแบบนี้อีก ก็อย่างที่บอก
    อ้างของท่านพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ต้องระวังรอบคอบรัดกุม

    จิตดั่งเดิมปรุงแต่งขันธ์๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ไปวงเล็บทำไมว่า "จิต"
    "ขันธ์๕"ไม่ใช่"จิต"และ"จิต"ก็ไม่ใช่"ขันธ์๕"
    วันหลังอย่ามั่วเองอีกนะ พระพุทธพจน์จาก"อนัตตลักขณสูตร"
    พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้อย่างชัดเจนแจมแจ้งแล้ว

    ถ้าไม่รู้จักธรรมของท่านพระอาจารย์หลวงปู่ดูลย์ที่ถูกต้องแท้จริง
    อย่าพยายามนำมาแอบอ้างอีกเลย
    จะเหมือนกับอลัชชี ที่ทุศีลชอบเอามาแอบอ้างเป็นของๆตนเอง

    จติคือหลักธรรมที่แท้จริงใช่หรือไม่? นอกจากนั้นแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย
    เมื่อจิตโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต? ตอบหน่อยสิว่าเป็นอะไร?
    อย่าตอบแล้วทำให้ื่ท่านพระอาจารย์หลวงปู่ต้องเสียหายอีกหละ
    เพราะท่านพระอาจรย์ท่านวางหลักเกณฑ์ไว้ว่า"จิตคือ หลักธรรมสูงสุดแล้ว"

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน


     
  14. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ขันธ์ 5 =รูป จิต เจตสิก
    ท่านธรรมภูต ก็บอกผมมาเลยก็ได้ จะถามทำไมอีก ผมยังโง่อยู่อีกเยอะ.... เอาแบบอธิบายตรงๆเลยนะไม่ต้องอ้อมมาก

    ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2013
  15. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    เพิ่มพระสูตรนี้ให้พิจารณาเพิ่ม
    [๓๔] ๘. (๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร
    จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
    ไม่เที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด
    กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้ อย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกว่าจักษุก็ดี โสตะก็ดีฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายก็ดี นี้ได้ชื่อว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอัน
    แปรผันเป็นธรรมดา ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิตหรือใจหรือวิญญาณ นี้ชื่อว่าอัตตา เป็นของเที่ยง
    ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    การเทียบแบบนี้ใช่ไม่ได้

    ท่านอรรถกถาจารย์ ท่านแยกหมวดธรรมในการศึกออกเป็น จิ เจ รุ นิ

    ไม่ใช่ที่คุณเทียบไว้ รุ จิ เจ ฉะนั้น การเทียบแบบนั้น เป็นการไม่เข้าใจในธรรม

    เพราะขันธ์๕ นั้น หมายเอารูปร่างกายที่มีจิตครองอยู่(๑)

    และมีอาการ(นาม๔)ที่จิตแสดงออกมาตอบต่ออารมณ์ที่ยึดอยู่นั้น

    ส่วนที่ท่านอาจารย์หลวงปู่ท่านได้กล่าวไว้นั้น

    หาฟังที่มีอธิบายไว้ จากพ่อแม่ครูบาอาจารย์ในสายปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเทศน์ไว้นะจ๊ะ

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  17. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    จิตปกติเป็นอัตตา แต่เนื่องจากวิญญาณที่มีผัสสะเกิดขึ้นในขณะนั้นๆ ทำให้จิตเปลี่ยนแปลง จิตจึงจัดเป็นอนัตตาด้วยเหตุนี้ ทีนี้ดูที่จิตเกิดดับก็คืออินทรีย์สังวรณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตมันทำงานไปตามผัสสะเราควบคุมไม่ได้ พิจรณาในแง่นี้จิตเป็นอนัตตา แต่จริงๆจิตเป็นอัตตา การพิจรณาความเกิดดับของจิตในวิสัยพระอนาคามีผมไม่เห็นประโยชน์อะไรนัก แต่วิสัยอรหันต์ผมไม่รู้ แต่ถ้าให้แนะนำก็กาคตายะสติน่ะแหละ แม้จะได้พระโสดาบันหรือพระสกิทาคามีแล้วก็ยังต้องทำต่อไป.....
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    จำเอาไว้นะ

    คำว่าจิตเที่ยงในพระสูตรนั้น หมายเอาว่า
    ใครที่เคยเกิดเป็นอะไร เมื่อตายไปแล้ว จะกลับมาเกิดอีกกี่ครั้ง ก็เป็นอย่างนั้นตลอดไป เรียกว่าจิตเที่ยง

    ส่วนจิต ใจ วิญญาณที่ เป็นอัตตานั้น หมายเอาว่า
    จิตสังขาร(จิต+อารมณ์)ทั้งหลาย ทีหมายยึดสกลกายนี้เป็นตน เป็นของๆตน เท่านั้น
    ใจ(อายตนะ)เป็นของคู่ธรรมารมณ์ วิญญาณ คืออาการของจิตที่แจ้งในอารมณ์นั้นๆ

    เวลาอ่านพระสูตร ต้องอ่านทั้งสองฝ่าย
    พวกสมณะพราหมณ์นั้นจัดอยู่ในฝ่าย"ปุถุชนที่ไม่ได้สดับ"
    ส่วนอริยสาวกที่ได้สดับ ย่อมเห็นว่าขันธ์๕ นั่นไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตนของเรา

    เมื่อจิตเบื่อหน่าย จิตก็คลายกำหนัด เมื่อจิตคลายกำหนัด
    จิตก็หลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์๕(อนัตตลักขณะสูตร)

    ควรต้องดูบริบทว่า ขณะนั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสถึง จิต หรือ จิตสังขาร(อาการของจิต)

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  19. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +1,210
    เกิด-ดับ คือ อารมณ์
    ที่เปลี่ยนแปลงคือ จิต
    ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ
     
  20. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ท่านไม่เห็นพระสูตรนี้หรือครับ ว่าทำไม่กล่าวถึง จิต ใจ และวิญญาน เช่นนั้น
    [๓๔] ๘. (๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร
    จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
    ไม่เที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด
    กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้ อย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกว่าจักษุก็ดี โสตะก็ดีฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายก็ดี นี้ได้ชื่อว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอัน
    แปรผันเป็นธรรมดา ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิตหรือใจหรือวิญญาณ นี้ชื่อว่าอัตตา เป็นของเที่ยงยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว

    ...............
    ส่วนอันนี้เอามาจากพระไตรปิฏก ไม่รู้จะใช่ได้มั้ยครับ
    [๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
    จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
    มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.

    ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
    เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.


    [๗๖๘] ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน?
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเจตสิก.

    ธรรมไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน?
    จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเจตสิก
    [๗๖๙] ธรรมสัมปยุตด้วยจิต เป็นไฉน?
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยจิต.
    ธรรมวิปปยุตจากจิต เป็นไฉน?

    รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากจิต.
    จิต จะกล่าวว่าสัมปยุตด้วยจิตก็ไม่ได้ ว่าวิปปยุตจากจิตก็ไม่ได้.

    [๗๗๐] ธรรมเจือกับจิต เป็นไฉน?
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิต.

    ธรรมไม่เจือกับจิต เป็นไฉน?
    รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต.
    จิต จะกล่าวว่าเจือกับจิตก็ไม่ได้ ว่าไม่เจือกับจิตก็ไม่ได้.
    ส่วนตรงนี้ท่านเข้าใจว่าอย่างไรครับ ช่วยอธิบายให้ผมฟังบ้างซิครับ

    .....................................
    ส่วนคำกล่าวหลวงปู่ดุลล์
    ทำไมท่านไม่อธิบายเสียเองละครับ ... จะคอยฟังนะครับ อย่าให้ผิดหวังละครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...