อย่าเลยพระพุทธเจ้า อย่าเลยครูอาจารย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 28 มีนาคม 2013.

  1. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ท่านพอจะอธิบายหรือให้ความสว่างแก่กระผมได้หรือไม่อย่างไร
    กระผมสงสัยพระสูตรอยู่ตอนหนึ่ง
    ท่องเที่ยวไปเหมือนดังนอแรดฉันนั้น

    ทำไมเหมือนนอแรด
    นอแรดอย่างไร

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วขอรับ
     
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เป็นเรื่องของพระปัจเจกพระพุทธเจ้า
    ลองค้นพระปัจเจกภูมิ ดูจ๊ะ
    เปรียบเทียบท่าน ดังนอแรด คือเป็นหนึ่ง ไปตามลำพัง
    เพราะไม่เห็นประโยชน์ของเรือน ครอบครัว ญาติ เพื่อน สมบัติ... ฯลฯ ที่มีแต่ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์...
    ประมาณนี้อ่ะจ๊ะ
     
  3. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    กล่าวถึงเรื่องกายอย่างเดียวหรือไม่
    พระสูตรหลังจากนั้นกล่าวถึงปราสาทราชวังอีกขอรับ
    เชื่อมต่อกันอย่างไรมีความหมายอย่างใดหรือขอรับ
     
  4. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพน
    ชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้
    ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉัน
    ใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อัน
    ลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟังจักไม่เข้าไปตั้ง
    จิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตร
    อันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวก
    ภาษิตอยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ

    ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ
    [๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก
    เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุ
    ดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก
    มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสต
    ลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ

    พระกล่าวไว้ว่าในอนาคตกาล จะไม่มีใครฟังคำตถาคต

    จะมีแต่คนฟังสาวกภาษิต จนทำให้เนื้อกองอานกะ ต้องอันตธารหายไปในที่สุด ท่านอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เนื้อกลองหายไปหรอครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2013
  5. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    พึงเห็นโทษหลายอย่าง..ไม่เห็นประโยชน์ของโลกหลายๆอย่าง
    ไม่พึงปรารถนา(ธรรมมีขันธ์) ไม่เห็นคุณในเยื่อใย..
    ทั้งบุตร ภรรยา เพื่อน ตระกูล ทรัพย์สมบัติ
    กาม การละเล่น การยินดี การมีเยื่อใย..... ฯลฯ
    เพราะเห็นถึงความไม่เที่ยง เสื่อมสลาย

    ...

    ภิกษุไม่กระทำความยินดีในรสทั้งหลาย ไม่โลเล
    ไม่เลี้ยงคนอื่น มีปรกติเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก ผู้มี
    จิตไม่ผูกพันในตระกูล พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
    ฉะนั้น บุคคลละธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต ๕ อย่าง บรรเทา
    อุปกิเลสทั้งปวงแล้ว ผู้อันทิฐิไม่อาศัย ตัดโทษคือความ
    เยื่อใยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
    บุคคลละสุข ทุกข์ โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนได้
    ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
    เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลปรารภความเพียรเพื่อบรรลุ
    ปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความประพฤติไม่
    เกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่น ถึงพร้อมแล้วด้วยกำลังกาย
    และกำลังญาณ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
    บุคคลไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มีปรกติประพฤติธรรม
    อันสมควรเป็นนิตย์ในธรรมทั้งหลาย พิจารณาเห็นโทษใน
    ภพทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
    บุคคลผู้ปรารถนาความสิ้นตัณหา พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่
    เป็นคนบ้าคนใบ้ มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันกำหนด
    รู้แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียว
    เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลไม่สะดุ้งในธรรมมีความ
    ไม่เที่ยงเป็นต้น เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียง ไม่ข้องอยู่
    ในธรรมมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น เหมือนลมไม่ข้องอยู่
    ในข่าย ไม่ติดอยู่ด้วยความยินดีและความโลภ เหมือน
    ดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
    ฉะนั้น บุคคลพึงเสพเสนาสนะอันสงัด เป็นผู้เที่ยวไป
    ผู้เดียวเช่นกับนอแรด เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่
    ครอบงำหมู่เนื้อเที่ยวไป ฉะนั้น บุคคลเสพอยู่ซึ่งเมตตา
    วิมุติ กรุณาวิมุติ มุทิตาวิมุติ และอุเบกขาวิมุติ ในกาล
    อันควร ไม่ยินร้ายด้วยโลกทั้งปวง พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
    นอแรด ฉะนั้น บุคคลละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว
    ทำลายสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึง
    เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น มนุษย์ทั้งหลาย
    ผู้ไม่สะอาด มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ย่อมคบหาสมาคม
    เพราะมีเหตุเป็นประโยชน์ ผู้ไม่มีเหตุมาเป็นมิตร หาได้ยาก
    ในทุกวันนี้ บุคคลพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=6971&Z=7101
     
  6. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ขอเรียนถามท่านว่าตถาคตต่างกับอนาคตอย่างไรหรือขอรับ
     
  7. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    บทนี้กล่าวถึงผู้ฟัง..เมื่อภิกษุกล่าวถึงพระสูตรของพระตถาคต ซึ่งประกอบด้วยโลกกุตตรธรรม สุญญตาธรรม กลับไม่ชื่นชม ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อธรรมเหล่านั้น ว่าควรศึกษาเล่าเรียน
    แต่ไปชื่นชมปราชญ์ภาษิต.. เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต ..ที่ไม่ประกอบด้วยโลกกุตตรธรรม สุญญตาธรรม แต่กลับคิดว่าควรศึกษาเล่าเรียน
    เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม เราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา


    ...แต่จะขอบทที่ว่า สาวกไม่มีคำสอนของตนที่เข้าถึง ต้องจำพระวจนะอย่างเดียว..
    ล้วนแต่เอาคำตถาคตมา เพราะจะเป็นคำนอกเหนือจากคำตถาคตไม่ได้
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ปุณฑ์
    ยกมาอีก ก็ดีจ๊ะ...
    จะได้ทราบว่า สาวกไม่มีคำสอนของตนที่เข้าถึง ต้องจำพระวจนะอย่างเดียว..
    ล้วนแต่เอาคำตถาคตมา เพราะจะเป็นคำนอกเหนือจากคำตถาคต ไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2013
  8. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    จะได้ทราบว่า สาวกไม่มีคำสอนของตนที่เข้าถึง ต้องจำพระวจนะอย่างเดียว..
    ล้วนแต่เอาคำตถาคตมา เพราะจะเป็นคำนอกเหนือจากคำตถาคต ไม่ได้[/COLOR][/QUOTE]

    แปรว่าอะไรขอรับตัวแดงๆที่ขยายขอรับ
     
  9. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419

    เอาน่า ที่ผมอธิบายยังพอเป็นรูปร่าง ให้เห็นตามได้ ไม่เหมือนที่อรรถาเขียนไว้ว่าพุทธเจ้า9องค์อะไรทำนองนั้น

    มันดูน่าตื่นตานะ เเต่ไม่เกียวอะไรกับ9พระองค์
    พระธรรมคำสอนจะเหมือนกันทุกพระองค์ ไม่ใช่คำสอนท่อนนี้ขององค์นี้องค์นั้น

    เเต่เป็น ปริยธรรม คือธรรมนานาเเบบ ที่พระองค์เเสดงไว้ในพระสูตรต่างๆ

    เเล้วที่คุณเอาประเด็นเรื่องสุตตันมาอีก จากการเเสดงของอรรถกถา ผมคิดว่าผู้ที่อธิบายไว้นั้น ไม่ชัดเจนเท่าไหร่นะ. น่าจะหาข้อมูลเสริมอีก. เพราะถึงขั้นเเยกกัน อย่างนั่น ก็ต้องมีข้อมูลที่ดีกว่านี้
     
  10. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แยกไว้ 9 ประเภท หรือมีองค์ 9 ประการ
    ไม่ใช่พระพุทธเจ้า 9 พระองค์

    ประเด็นเรื่อง สุตตะ กับ สุตตันตะ
    บางทีการจะทราบว่า เขาอธิบายชัดเจนหรือไม่ ก็ต้องอ่านให้ละเอียดก่อนนะ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2013
  11. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    อย่าลืมคำนี้ซิครับ ทังคำนอก และสาวกภาษิตซิครับ
    อย่างนีนั้นจะไม่เขาใจในประเด็นเลยว่าเชื่อมโยงกันอย่างไร ทำไมเนื้อกลองอานกะหรือพระัสัทธรรมที่พระองค์แสดงไว้จึงเสื่อม
     
  12. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    เหตุผลอะไรครับ ที่ต้องเข้าใจคนละอย่าง ขอชัดๆ.
    ผู้สั่งสมสุตตะ ก็ต้องเป็น สูตร ที่เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่งเป็นชั้นโลกุตระ
    เเล้วจะเเตกต่างตรงไหน ก็อธิบายสิ่งเดียวคือ ภาษิต หลักสอน ที่ออกจากปากพระพุทธเจ้า
     
  13. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    เพราะว่าไม่มีทางเป็นไปได้จะไม่มีใครกล่าวคำตถาคตเพิ่มเติมหรือตัดทอนลง พระองค์จึงมีคำแก้ให้เมื่อเราไปได้ยินได้ฟังคำท่านใดมา๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ! ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะ
    พระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำาสอนของพระศาสดา”...
    ๒.(หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่พร้อมด้วย
    พระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า “นี้เป็นธรรม
    นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำาสอนของพระศาสดา”...
    ๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่
    จำานวนมาก เป็นพหุสูต เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมา
    เฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำาสอนของพระศาสดา”...
    ๔.(หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่
    รูปหนึ่ง เป็นพหุสูต เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมา
    เฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำาสอนของพระศาสดา”...
    เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำากล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและ
    พยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย
    ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้
    พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำารัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และ
    ภิกษุนี้รับมาผิด” เธอทั้งหลาย พึงทิ้งคำานั้นเสีย
    ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลง
    สันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำารัส ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และ
    ภิกษุนั้นรับมาด้วยดี” เธอทั้งหลาย พึงจำามหาปเทส... นี้ไว้.
    มหา. ที. ๑๐/๑๔๔/๑๑๓-๖
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2013
  14. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เพราะสนใจ สาวกภาษิต ที่ไม่เกี่ยวกับโลกกุตรธรรม สุญญตาธรรม
    หากเป็นเรื่องโลกุตตรธรรม สุญญตธรรม จักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา กันหรือเปล่า??
     
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เทียบความหมาย หรือเทียบคำเหมือน..
     
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    หากจัดตามหลักธรรมคำสอนเป็นประเภท..
    หลักธรรมอันเป็นคำสอนของพุทธศาสนาที่รวมเรียกว่า “พระธรรมวินัย” ท่านแยกไว้ถึง 9 ประเภท เรียกว่า“นวังคสัตถุศาสตร์” ซึ่งแปลตามรูปศัพท์ว่า คำสอนของพระศาสดา คือ พระพุทธเจ้า มีองค์ 9 ประการ
    (สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมม์ เวทัลละ...)

    หากจัดตามพระไตรปิฏก แบ่งเป็น
    ๑. พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์ หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป)
    ๒. พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาส ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา, แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ)
    ๓. อภิธรรมปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป)

    พระสุตตะ
    สุตตะ คือ พระสูตร แปลว่า ด้าย หมายความว่า เรื่องที่นำมาผูกร้อยกรองเข้าด้วยกัน ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิเทส ขันธกะ ปริวาร และสูตรต่าง ๆ
    ในสมัยพุทธกาล คำว่า “สุตตะ” นี้ พระพุทธเจ้าทรงหมายถึง กฎ หลัก หรือหัวข้อธรรมสั้น ๆ มีตอนเดียวจบ และมีความสมบูรณ์ในตัว ซึ่งมักจะเอาเฉพาะตัวกฎปาติโมกข์ในพระวินัยปิฎก มีข้อความปรากฏในจุลลวรรคว่า หลักธรรมของพระพุทธเจ้าได้รวมอยู่ในรูปสุตตะอันภิกษุทั้งหลายต้องสวดทุก ๆ กึ่งเดือน และมีหัวข้อหนึ่งในพระวินัยปิฎก คือ “สุตตวิภังค์” เป็นหัวข้อที่แสดงและวิเคราะห์ความหมายของคำและเนื้อหาในตัวหลักพระปาติโมกข์อย่างละเอียดซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับอรรถกถา เมื่อคำว่า “วิภังค์” แปลว่า การวิเคราะห์ แยกแยะ ดังนั้น คำว่า “สุตตะ” ในที่นั้นก็จะต้องหมายถึง ตัวหลักปาติโมกข์นั่นเอง
    คำว่า “สุตตะ” ในนวังคสัตถุศาสตร์นี้ ไม่ได้มีความหมายเหมือนกับคำว่า “สุตตันตะ” กล่าวคือ คำว่า “สุตตันตะ” มาจากคำว่า สุตตะ+อันตะ แปลว่า ที่สุดหรือตอนปลายของสุตตะ คือ ส่วนที่อธิบายขยายความในสุตตะให้ละเอียดยิ่งขึ้น

    พระสุตตันตะ
    พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาส ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา, แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) คือ
    ๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร
    ๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร
    ๓. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่าสังยุตหนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวของรวม ๕๖ สังยุต มี ๗,๗๖๒ สูตร
    ๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรม มี ๙,๕๕๗ สูตร
    ๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตรคาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าใน ๔ นิกายแรกไม่ได้ มี ๑๕ คัมภีร์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2013
  17. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    คำที่เหมือนหรือถูกตรงที่คำตถาคตกล่าวไว นั้นเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเป็นส่วนเดียวเท่านั้นเพื่อหาความหมายที่เที่ยงตรง เพราะเนื้อไม้ของกลองอานกะและพระสัทธรรมนันจะไม่อันตธารหายไป
     
  18. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    สาวภาษิตอย่างไรกต้องตรวจทานอย่างที่ยกตัวอย่างไว้ครับ ว่าจำมาถูกตรงมั้ย ชัดเจนอยู่แล้วครับคำตถาคตสั่งไว้
     
  19. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ถ้าเทียบคำเหมือน คงจะหาตัวแทบไม่ได้เลย นอกจากได้บางพระสูตร เพราะภาษาของพระองค์ งามทั้งต้นกลางปลาย เป็นคาถา เป็นร้อยกรอง เป็นสำนวน .. ฯ ที่ยากแก่การจะกล่าวตามได้ ถ้าคนสมัยก่อนจะท่องคาถา และจดจำมาสวด.. สวดให้ง่ายต่อการจำ(แต่ถ้าจำได้อย่างเดียว ไม่ปฏิบัติ ไม่เข้าใจ ก็ไม่มีประโยชน์ส่วนตน)
    ที่ควรทำคือรักษาพระวจนะไว้ ยืนไว้ โดยนำพุทธวจนะมาศึกษา และถ้าไม่มีการปฏิบัติ ก็คงไม่มีประโยชน์ เพราะปฏิเวธหาย ปฏิบัติหาย ปริยัติจะคงหาคนเข้าใจคงไม่มี ก็คงบิดเบือนจนเลือนหายไปเช่นกัน...
    พระสงฆ์จึงมีความสำคัญ ครูบาอาจารย์สำคัญ แต่ไม่ได้หมายถึงสำคัญไปกว่าพระพุทธเจ้า จะไม่สนใจพระพุทธวจนะ ที่จริงต้องขอบคุณพระไตรปิฏก ที่ยังคงอยู่...เรายังอยู่ในยุคที่ดี...

    แต่ถ้าความหมายของคำสอน ครูบาอาจารย์ที่เข้าถึง ย่อมบรรยายถึงโลกุตตรธรรม สุญญตธรรม ได้.. อย่างไรเสียการตรวจทานกับพุทธวจนะ ก็เป็นเรื่องควร แต่คนระดับนั้น เราก็ต้องเรียกท่านว่าอาจารย์อีก.. เราอยากทำได้ก็ต้องปฏิบัติ จนถึงอรรถถึงธรรมและทำได้จริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2013
  20. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...................ฟังพระสูตรนี้แล้ว...เรา ท่านก็ ทำกันอยู่แล้ว..."พีงเรียน บท และ พยัญชนะ เหล่านั้นให้ดี"..........สำหรับผมหมายความว่าอย่างไร? เราก็ฟังและโยนิโสมนสิการไป...ทำความเข้าใจ และ แน่นอนถ้ามีโอกาส ย่อมเทียบเคียงกับพระสูตร(ส่วนใหญ่พระท่านก็ จะอธิบายให้คนฟังเข้าใจพระวจนะอีกที...สาวกที่ท่านให้แยกย้ายกันไป เผยแผ่พระธรรม ทุกทิศ).....เมื่อฟังแล้วเข้าใจแล้วก็ย่อมเข้าใจ ลึกลงไปในแง่มุม ของ ภาษา หรือ อะไรอะไรที่เป็นเปลือกนอก อาจจะเป็นภาษา อิสาน ภาษากลาง ภาษาใต้ ภาษาท้องถิ่น โดยธรรมชาติ โยนิโสมนสิการความเข้าใจ ก็ คัดกรองไปในตัวแล้ว...อันที่จริงรู้จักหน้าที่ของผู้ภาวนา ทำให้ดี ก้พอแล้ว...เจอพระอาจารย์รูปใหนถูกใจก็ฟังไป...ถ้ายังไม่พอก็หาไปต่อ ก็แค่นั้น...หน้าที่ผู้ภาวนา คงมี แค่นั้นแหละ:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...