อย่าเลยพระพุทธเจ้า อย่าเลยครูอาจารย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 28 มีนาคม 2013.

  1. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    อริยสาวกเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ได้สดับตรับฟังมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก
    ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามใน
    ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง เปรียบ
    เหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธแหลมยาวและอาวุธคม
    สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวกผู้
    มีสุตะเปรียบเหมือนอาวุธ ย่อมละอกุศลธรรม ... บริหารตนให้บริสุทธิ์นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๔ ฯ


    อริยสาวกปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมถึงพร้อม มีกำลัง มีความ
    บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา ตั้งกองทัพ
    ไว้มาก คือพลม้า ฯลฯ กองทหารทาส สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกมีความเพียรเปรียบเหมือนกองทัพ ย่อมละอกุศลธรรม ... บริหารตน
    ให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๕ ฯ
     
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 454
    ภิกษุ .... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าบุคคลเป็นพหูสูต
    เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ดังนี้
    ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล บุคคลจึงเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ?
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า. ดูก่อนภิกษุ เราแสดงธรรมเป็นอันมาก คือ
    สุตตะ.. .เวทัลละ ถ้าแม้ภิกษุรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งคาถา ๔ บาท
    แล้วเป็นผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมไซร้ ก็ควรเรียกว่า เป็นพหูสูต
    เป็นผู้ทรงธรรม...

    ..
    แวะมา น่าสนใจเรื่องผู้เป็นพหูสูตรผู้เป็นผู้ทรงธรรมในพุทธพจน์บทนี้
    เลยลองค้นดู
    เนื้อหาแสดงไว้ ว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมไว้เป็นอันมาก
    หากภิกษุ แม้รู้ทั่วถึงอรรถและธรรมแห่งคาถา 4 บาท
    แล้วเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม ก็เป็นพหูสูตรเป็นผู้ทรงธรรม
    เลยค้นคาถา 4 บาท คืออะไร
    ก็คือ หนึ่งคาถา จะมี 4 บาท(หรือ 4 บท)
    คือ คาถา 4 บาท ก็คือ 1 คาถา นั่นเอง

    แต่ไม่ทราบว่าจะรู้คาถาเดียวหรือกี่คาถา(ยกไว้ก่อน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2013
  3. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    บุรุษเปล่าเรียนธรรม
    [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษเปล่า บางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม
    คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
    บุรุษเปล่าเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วย
    ปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแก่บุรุษเปล่าเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วย
    ปัญญา บุรุษเปล่าเหล่านั้นเป็นผู้มีความข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และมีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทา
    เป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด
    บุรุษเปล่าเหล่านั้น ย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันบุรุษเปล่า
    เหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้น
    เป็นเพราะอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน
    บุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษเขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษ
    นั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่ข้อมือ ที่แขน หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง
    เขาพึงถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเหตุเพราะอะไร
    เพราะงูพิษตนจับไม่ดีแล้ว แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกบุรุษเปล่า บางพวกในธรรมวินัยนี้
    ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ... อัพภูตธรรม เวทัลละ บุรุษเปล่าเหล่านั้น
    เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น
    ย่อมไม่ควรซึ่ง การเพ่งแก่บุรุษเปล่าเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา บุรุษเปล่าเหล่า
    นั้นเป็นผู้มีการข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และมีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ ย่อม
    เล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด บุรุษเปล่าเหล่านั้น
    ย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันบุรุษเปล่าเหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะ
    ธรรมทั้งหลาย อันตนเรียนไม่ดีแล้ว.

    กุลบุตรเรียนธรรม
    [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม
    คือสุตตะ เคยยะ ... อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตรเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อม
    ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแก่กุลบุตร
    เหล่านั้น ผู้ไตร่ตรองซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้น ไม่เป็นผู้มีการข่มผู้อื่นเป็น
    อานิสงส์ และไม่มีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม และกุลบุตร
    เหล่านั้น ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรม
    เหล่านั้นอันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
    ข้อนี้เป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน
    บุรุษผู้มีความต้องการงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงกดงูพิษ
    นั้นไว้มั่นด้วยไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะ ครั้นกดไว้มั่นด้วยไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะแล้ว
    จับที่คอไว้มั่น ถึงแม้งูพิษนั้นพึงรัดมือ แขน หรืออวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง ของบุรุษ
    นั้นด้วยขนด ก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาไม่ถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย ซึ่งมีการพันนั้น
    เป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะงูพิษอันตนจับไว้มั่นแล้ว แม้ฉันใด กุลบุตรบางพวก
    ในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
    อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตรเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อม
    ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแก่กุลบุตร
    เหล่านั้น ผู้ไตร่ตรองซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้น ไม่เป็นผู้มีการข่มผู้อื่นเป็น
    อานิสงส์ และไม่มีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม และกุลบุตร
    เหล่านั้น ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรม
    เหล่านั้นอันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
    ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ
    เหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของเราอย่างใด พึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด ก็แล
    ท่านทั้งหลาย ไม่พึงรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของเรา พึงสอบถามเรา หรือถามภิกษุผู้ฉลาดก็ได้
    เราจักแสดงธรรมมีอุปมาด้วยแพแก่ท่านทั้งหลาย เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการจะ
    ยึดถือ ท่านทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจไว้ให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้
    มีพระภาคแล้ว.

    แปะไว้ก่อน ไว้มาอ่าน
    ใครสนใจ ไปที่
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4443
     
  4. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    น่าจะเกี่ยวกับเป็นคำร้อยกลอง เพราะพุทธเจ้าจะเทศเป็นร้อยกลอง
    ลองค้นในวิกิพีเดียดูสิครับไม่แน่ใจว่า กลอนแต่ละแบบคิดบาทกับบทไม่เหมือนกัน
     
  5. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419

    คุณเข้าใจว่าอย่างไรอธิบายมาชัดๆเลยดีกว่า
    ผมยอมรับผู้ที่เข้าใจเนื้อความได้ดีกว่า เเน่นอน หรือไม่ก็เเทงตลอดหลายๆสูตรอย่า
    ที่ผมทำ เเละผมคิดว่ายังมีคนเข้าใจลึกกว่า
    เเต่ถึงอย่างนั้น ผมก็เลือกดูพระหูสูตที่เค้าทรงไว้เเต่คำตถาคต ไม่ได้ไปเอา ตะกุดหลวงพ่อนั้นมาเป็นสารานัง. หรอกนะ
     
  6. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ภิกษุ ท ! เราแสดงธรรมแล้ว มากมายครบถ้วนขบวนความ เป็น สุตตะ เคยยะ
    เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมม์ เวทัลละ ภิกษุ ท ! ผู้รู้อรรถรู้
    ธรรมแห่งคาถาแม้เพียงสี่บท แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นั่นแหละควรจะ
    เรียกว่า เป็น พหูสูตผู้ทรงธรรม. “สาธุ พระเจ้าข้า!”
     
  7. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ไม่อยากให้อธิบายไปไกลเดียวเลยเถิดไปใหญ่

    4บทก็4บท

    4บาทเอาไปซื้ออะไร? แปลผิด
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ใครก็ได้ ที่คิดว่าเป็นผู้รู้ เป็นผู้รู้แล้ว เป็น......

    ช่วยไขข้อข้องใจให้หน่อยว่า การบรรลุธรรมเพื่อความหลุดนั้น มีตั้งหลายวิธีด้วยกันจริงหรือ?

    คำว่าบรรลุธรรมนั้น การเข้าถึงธรรม จะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม ย่อมเรียกได้เช่นกันว่าบรรลุธรรม

    แต่ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่ามีดวงตาเห็นธรรม ก็บรรลุธรรมเช่นกัน ถ้ามีตั้งหลายวิธีช่วยบอกด้วย55+

    เพราะสงสัยคงไม่ปล่อยให้สงสัยเท่านั้น จึงได้ถามจ้า

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  9. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ผมนำเสนออย่างนี้นะครับ การบรรลุธรรมที่บรรลุบนโลกมนุษย์กับการบรรลุธรรมในโลกสวรรค์
    การบรรลุธรรมบนโลกมนุษย์นั้นต้องเขาถึงกระแสพระนิพพาน จะด้วยวิธีใดนั้นก็ก็ว่ากันไป ส่วนการบรรลุธรรบนโลกสวรรค์เพียงแค่ท่องคล่องปากขึ้นใจแทงตลอดด้วยความเห็น แม้ยังไม่บรรลุธรรมใดๆ ก็สามารถไปบรรลุธรรมบนสวรรค์ ดั่งพุทธวจน ที่แสดงไว้ชัดเจนว่า แม้หลงลืมสติทำกาละก็ได้เกิดบนสวรรค์จะไปบรรลุธรรมที่นั้นดวยอาการ4อย่าง ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่า นอกจากภพของมนุษย์แล้ว เรายังสามรถไปบรรลูธรรที่ภพอื่นได้ครับ มิได้หมายความว่าแทงตลอดอย่างไร แบบไหนวิธีใด ท่านย้อนไปดูพระสูตรที่ยกแสดงไว้ดูครับ
     
  10. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    อ้าว ถ้าอย่างนั้น ก็คือเรื่องว่าด้วยปรากฏการณ์หนึ่งสิครับ ประมาณว่า ถ้ากินข้าวก็จะหายหิว
    ผมว่าส่วนนี้มีอะไรมากกว่านั้น ถ้าจำเพาะที่เรื่อง "คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีและทิฏฐิ" ซึ่งหากศิษย์วัดนาป่าพงแสดงได้ว่า "กินข้าว" อย่างไร จะเป็นประโยชน์ ต่อการ ถกเรื่องพทุธวจนครับ
     
  11. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    ประโยคนี้ชัดเจนครับ "คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด" ไม่ใช่พึ่งเริ่ม ก. ไก่

    และที่คุณกำลังอธิบาย ต่อเนื่อง คือหมายความว่า
    ต้องฟังบ่อยๆ เดี๋ยวความเข้าใจจะมาเอง .... นี่ก็สำคัญครับ
    และในส่วน นำไปปฏิบัติสมควรแก่ธรรมนี่ ก็สำคัญครับ

    อธิบายแบบนี้ จึงเริ่มเป็นรูปธรรมครับ

    เอ้า ถ้าเช่นนั้น "คล่องปาก ขึ้นใจ" อย่างเดียวไม่ได้นะ ต้อง "แทงตลอดด้วยดีและทิฏฐิ" ก็สำคัญยิ่ง
    หมายความว่า ท่องพุทธพจนจนจำแม่น อย่างเดียวไม่ได้ นะครับ
    แต่ต้องปฏิบัติด้วย

    ทีนี้ ถามย้อนกลับ ถ้าท่องไม่ขึ้นใจ แล้วปฏิบัติล่ะจะเป็นอย่างไร?
     
  12. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    สมมติว่าผมมีเพื่อนใกล้ตายอยู่คนหนึ่ง
    เชิญคุณไปแสดงธรรมสักประโยค
    คุณจะแสดงธรรมข้อไหนดีครับ ... ขอประโยคเด็ดๆสักหนึ่งสิ
    ที่จะทำให้ "มีสิทธิ์" เข้ากระแส
     
  13. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    ในฐานะของผู้ที่ศึกษาตามแนวทางวัดนาป่าพงมานานพอตัว
    ขอถามว่า คุณเจอ "ธรรมบทเดียว" นั้นหรือยังครับ?
     
  14. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    ขอทราบรายละเอียดมากกว่านี้ครับ
    "ไม่มีใครแสดงธรรมได้เหมือนตถาคต" นั้น มองในมุมไหน
    ๑) ตถาคตสามารถแสดงธรรมเพื่อให้บุคคลบรรลุได้โดยง่ายกว่าผู้อื่น???
    ๒) ธรรมของตถาคต สุดยอดที่สุดแล้ว ธรรมของอริยสาวก สุดยอดสู้ธรรมของพุทธองค์ไม่ได้???
     
  15. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    แหม ท่าน ผศ. อ้ายกระผมว่า เรื่องนี้ หากจะพิสูจน์
    คุณ นิวอแม๋ซิ่ง ให้ชัดๆ ท่าน ผศ. ก็เรียนเชิญ คุณ นิ้วแม่สิ้น ( newa
    ma zing ) ไปท่อง อาขยาน สักพระสูตรนึง ต่อหน้านักศึกษา
    มหาลัย ดูสักครั้ง

    จะได้ เห็นไปเลยว่า ท่องได้ และ ทำได้

    คือ อย่างน้อย ทำได้ ก็หมายถึง ท่องได้

    หรือ ดีกว่านั้น ทำได้ คือ ไม่โกหกว่า ท่องได้ ซึ่งเป็น ข้อเท็จจริง
    ของนัยยปฏิบัตที่มีผลเกิดที่จิต ที่ใจ
     
  16. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เราจะได้รู้ด้วยว่า เขา เอาบทไหน ไปท่องจนขึ้นใจ

    พระสูตรบางพระสูตรนี่ หากเขาอ้างว่า เขาท่องได้ และ ทำตามนั้นอยู่

    บางพระสูตรนี้ ชี้ได้เลยว่า ได้ความเป็นอริยเจ้า หรือว่า ยัง

    เช่น

    พระสูตรที่ว่า ท่องจนขึ้นใจ แล้ว มีแต่ความ ขาดสติ ตายไปไม่ได้มรรคผลอะไร
    ต้องไป ภาวนาต่อในภายภาคหน้าโน้น ซึ่ง ก็ต้องอิงคนอื่นให้มาสะกิด เสียส่วน
    ใหญ่ ถึงจะนึกขึ้นได้ ว่า ยังไม่ได้มรรคผลนะเว้ยเฮ้ย !!

    เนี่ยะ ถ้าเขาอ้าง พระสูตรนี้ ก็ ชี้เลยว่า ปัจจุบัน มันยังไม่ได้ มรรคผลอะไรเลย !!
     
  17. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ส่วนเรื่องที่ ท่าน ผศ. ตั้ง เว็บไซท์ขัดขวางการหลุดพ้น และ ตอนนี้ ได้
    ทำการ หาช่องหาตะเข็บจะชี้ผิดพระ ซึ่งคราวนี้ เพิ่มบัญญีรายชื่อมี
    พระ.....เข้าไปด้วย โดย ตั้งประเด็นที่ จำนวนข้อ ถ้าไม่ครบ ไม่ตรง
    กัน ก็จะจับสึก ชี้โทษ ชี้กรรม

    เอ..........ท่าน ผศ. เคยได้ยินเรื่อง คนถามหลวงปู่มั่นเรื่องการรักษาศีล
    ของหลวงปู่มั่นไหม มีคนถามว่า หลวงปู่ๆ ท่านรักษาศีลกี่ข้อ ( 5 8 150
    152 227 227+2000 )

    หลวงปู่ ตอบว่า " รักษาข้อเดียว "

    โอ้ยยยยยยส์ เอาไงหละ ที่นี้
     
  18. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    พวกศิษย์ปัญญาอ่อนพวกนี้แหละ ที่เถียงข้างๆคูๆ ทำให้เสียไปถึงอาจารย์

    เอะอะก็จะ เอาแต่ท่อง 150 ถ้วน150 ถ้วนเป็นแผ่นเสียงตกร่อง
    โดยไม่ศึกษาหาความจริง

    ก่อนอื่นตอบมาให้ได้ก่อน ว่า 150 ข้อมีอะไรบ้าง เอาอ้างอิงมาให้ดูทีสิ ว่าพระพุทธเจ้าตรัสอธิบายแจกแจงว่ามีอะไรบ้าง ไม่ใช่เอาแต่ยึดมั่นท่องปาวๆ

    อีกอย่าง ที่พระอาจารย์ประยุทธ รวมถึง pali text แปลว่า กว่า 150 ข้อ ไม่ได้หมายความว่า กว่าคือ ไม่กี่ข้อ แต่หมายถึง มากกว่า (เท่าไหร่ก็ไปดูวินัยปิฎกสิ แล้วอย่าแถอีกนะว่าวินัยปิฎกไม่ใช่พุทธพจน์)

    ท่านอธิบายรูปศัพท์บาลีชัดเจน ว่า สาธิกะ คือ สะหะ กับ อธิก แปลว่า พร้อมส่วนที่เกิน แล้วยังมีจุดอื่นที่ใช้ สาธิก ที่แปล ว่ามากกว่า เช่น

    ในมหาสีหนาทสูตร

     คนทั้งหลายอื่นร้องไห้อยู่ มีตัวร้อนรุมขุดหลุมถ่านอยู่.                แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาหลุม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สาธิกโปริสํ ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ. ในบทนั้น หลุมนั้น ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษเป็นประมาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ. อธิบายว่า ลึกเกินกว่าห้าศอก. 

    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=159&p=2

    ถ้าคิดว่า 150 ถ้วน ช่วยอธิบายทีว่า เพราะอะไร คำไหนแปลว่าถ้วน แล้ว ท่ีท่านประยุทธอธิบายมาผิดตรงไหน ไม่ใช่ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง แล้วบอกว่าคนโน้นก็แปลแบบนี้โดยไม่มีความรู้ที่มา ที่แปลว่าถ้วนอาจจะผิดก็ได้

    แต่ไม่ว่า 150 ถ้วนนี่จะแปลผิดหรือถูกก็ตาม นั่นคือเหตุการณ์ตอนพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ แต่ต่อมา พระพุทธเจ้า ท่านก็ปรับปรุงแก้ไขเรื่อยๆ จนสุดท้าย มีที่ต้องสวด ทั้งหมด 227 ข้อ

    ในอรรถกถา อธิบายว่า
    สิกขาบท ๑๕๐. ภิกษุวัชชีบุตรหมายเอาสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ในสมัยนั้น
    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=524

    แต่ปัจจุบัน ท่านให้สวด เสขิยะ ในปาฏิโมกข์ด้วย

    ในวินัยปิฎกพระพุทธเจ้าตรัสให้แสดง ยกเว้น มีเหตุจำเปน จึงแสดงโดยย่อได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ พระบัญญัติ              ๑๔๖. ๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล.

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=2&A=15169&w=%E0%CA%A2%D4%C2

    ประเด็นคือทางวัดนาฯ บอกว่ายึดตามพระพุทธพจน์
    แต่กลับ ตัดการสวดเสขิยะ ไปโดยไม่มีเหตุจำเป็น
    ทั้งที่พระพุทธเจ้าบอกให้แสดงในปาฏิโมกข์ด้วย หรือ opatang จะเถียงว่า
    ทางวัดนาฯ ไม่ได้ตัดเสขิยะ ล่ะ?

    อีกอย่าง ผู้ที่รวบรวมพระพุทธพจน์ในฝ่ายวินัย คือพระอุบาลี ซึ่งพระพุทธเจ้ายกให้เปนเอตทัคคะด้านทรงจำพระวินัย opatang เก่งมาจากไหนจะไม่ฟังพระอุบาลี ไม่ฟังพระพุทธเจ้า ถ้าบอกว่า นี่คือสาวกพจน์ แล้วคำพูดพระอาจารย์คึกฤทธิ์เปนสาวกพจน์ไหม ทำไมถึงเชื่อล่ะ ?
     
  19. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    หาในพระสูตรให้ตายก็ไม่เจอหรอก
    เพราะอยู่ในพระวินัย

    ทั้งอนิยตะ และ เสขิยะ อย่ามั่วนิ่มคิดเองเออเองนั่งเทียนเดาว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็นต้องแสดง เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนว่าให้แสดง

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:- พระบัญญัติ              ๑๘. ๑. อนึ่ง ภิกษุใดรูปเดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้ เห็นภิกษุกับมาตุคาม นั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วย สังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ด้วยปาราชิกบ้าง ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์ บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับ ด้วยธรรมนั้น ธรรมนี้ชื่อ อนิยต.

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=1&A=19220&w=%CD%B9%D4%C2%B5
     
  20. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ผู้ที่รวบรวมพระพุทธพจน์ในฝ่ายวินัย คือพระอุบาลี ซึ่งพระพุทธเจ้ายกให้เปนเอตทัคคะด้านทรงจำพระวินัย opatang เก่งมาจากไหนจะไม่ฟังพระอุบาลี ไม่ฟังพระพุทธเจ้า ถ้าบอกว่า คำนิคมนี่คือสาวกพจน์ แล้วคำพูดพระอาจารย์คึกฤทธิ์เปนสาวกพจน์ไหม ทำไมถึงเชื่อล่ะ ?

    อย่าถือทิฏฐิปัญญาอ่อนที่จะ เอาแต่พุทธพจน์ อย่างเดียว โดยไม่ฟังคำครูอาจารย์ประกอบ ครูอาจารย์ที่แต่งนี่ พระพุทธเจ้ายกย่องว่าเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายด้านทรงจำพระวินัย และเกิดทันเห็นพระพุทธเจ้า ท่านสรุปมาแล้วว่า ที่พระพุทธเจ้าทรงให้แสดงมีอะไรบ้าง มีปาราชิก สังฆาทิเสส . . . รวมถึงอนิยตะ และ เสขิยะ ด้วย นอกจากนี้ยังมีพระอรหันต์อีก 499 รูป รับรองคำนิคมที่ว่า ด้วย

    ไม่ขัดเลย เพราะในพระสูตร อรรถกถาท่านอธิบายไว้แล้วว่า เป็นเหตุการณ์สมัยพุทธกาลตอนพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่

    แต่ในพระวินัย ท่านสรุปไว้ว่าสุดท้ายแล้ว ที่ให้สวดคือ 227 ข้อ
    แต่บางอย่างถึงแม้จะไม่ต้องแสดงในปาฏิโมกข์ แต่ก็ต้องรักษาด้วยอีกหลายข้อ
     

แชร์หน้านี้

Loading...