อย่าเลยพระพุทธเจ้า อย่าเลยครูอาจารย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 28 มีนาคม 2013.

  1. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    น่าตกใจครับ
    ถ้ามันสมบูรณ์จริงตามนั้น (เข้าไปในเว็ปวัดนาป่าพง เห็นว่ายังทอดกฐินที่ดินไปไม่เท่าไหร่นัก)
    ก็คงต้องเกิดสังฆเภท โดยคณะวัดนาป่าพงนี่แหละครับ

    แต่ผมเชื่อว่า คงไปไม่ถึงแล้วล่ะ เพราะเจอคุณชาวมหาวิหาร (เป็นเบื้องต้น) แสดงข้อแย้งได้ฉะฉานขนาดนั้น คาดว่าจะดื้อดึงไปได้ไม่นาน
     
  2. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    เป็นพุทธจนนะครับท่าน ท่านนี่เจ๋งจริงๆเลย
     
  3. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    ถึงจุดนี้แล้ว ทำให้เข้าใจเลยว่า ศิษย์สำนักวัดนาป่าพง ยึดติดที่ตัวอักษรจริงๆ
    เชื่อมั้ยครับว่า "เพียงท่องให้คล่องปากขึ้นใจ ก็สามารถไปบรรลุธรรม"
    มีทั้งคนนำไปตีความเพื่อปฏิบัติต่อได้มากว่า2-3กรณี
    และสามารถภาวนาไปสู่หนทางที่เป็นสัมมาและมิจฉาได้

    ไม่ต่างไปจากการอ่านคำว่า
    "ตาก.ลม_ตา.กลม" หรือ "สิบก้่าว_สิบเก้า"
     
  4. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    คุณเคยอ่านพระสูตรนี้บ้างมั้ยครับ
     
  5. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    ลองนำมาเสนอดูสิครับ เพราะผมคงไม่เคยอ่านจากฉบับสยามรัฐ แต่อาจเคยผ่านตาสำหรับฉบับประชาชน
     
  6. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ท่านลองอ่านดูิซิว่ามีประโยชน์มั้ย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ
    คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น
    เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติ หลงลืม
    เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอ
    ผู้มีความสุขในภพนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
    แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น
    เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติหลงลืม เมื่อ
    กระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งบทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มี
    ความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท
    เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัย
    นั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลันดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อ
    เสียงกลอง เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า
    เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
    อานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆคล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดี
    ด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่
    ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดง
    ธรรม ในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน
    เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์
    นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์ เขาเดินทางไกล
    พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง ว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ ที่แท้
    เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ
    สุตตะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
    แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึง
    หวังได้ ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อม
    ไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดง
    ธรรมในเทพบริษัท แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือน
    เทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน
    เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้นฤทุกข์ สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุ
    คุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว
    ในที่บางแห่ง สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ
    เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกันย่อมเล่าเรียน
    ธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔
    แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ประการนี้ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก
    ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
     
  7. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    ตรงไหน และใครเป็นผู้ย่นย่อว่า
    "เพียงท่องให้คล่องปากขึ้นใจ ก็สามารถไปบรรลุธรรม"

    จากประโยคนี้
    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ประการนี้ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก
    ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ"

    เหมือนกันมั้ยครับ?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2013
  8. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    กล่าว่าอย่างนี้ครับ ท่องขึ้นปากขึ้นใจเนืองๆนั้น แม้หลงลืมสติทำกาละ(หมายความว่าแม้ตายแบบไม่มีสติ) ก็จะได้เกิดบนสรรค์ แล้วได้ไปบรรลุธรรมได้สี่อาการดั่งกล่าว บนสวรรค์ พระสูตรนี้แสดงให้เห็นว่าการบรรลุธรรมนั้นมีได้หลายทางซึ่งเราไม่เคยได้ยินกันมาก่อนเลย

    และยังมีมรรควิธีง่ายๆอีกเยอะครับเป็นพุทธวจนล้วนๆเลย
     
  9. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ
    คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น
    เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิเธอมีสติ หลงลืม
    เมื่อกระทำกาล
    ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอ
    ผู้มีความสุขในภพนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย
    นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
    แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น
    เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิเธอมีสติหลงลืม เมื่อ
    กระทำกาละ
    ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งบทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มี
    ความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท
    เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัย
    นั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลันดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อ
    เสียงกลอง เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า
    เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    นี้เป็น
    อานิสงส์ประการที่ ๒
    แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆคล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดี
    ด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่
    ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดง
    ธรรม ในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน
    เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์
    นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์ เขาเดินทางไกล
    พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง ว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ ที่แท้
    เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ
    สุตตะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
    แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึง
    หวังได้ ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อม
    ไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดง
    ธรรมในเทพบริษัท แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือน
    เทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน
    เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้นฤทุกข์ สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุ
    คุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว
    ในที่บางแห่ง สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ
    เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกันย่อมเล่าเรียน
    ธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

    ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔
    แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ประการนี้ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก
    ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2013
  10. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    ตีความได้มากมายครับ เช่น

    1) ผู้สวดมนต์อยู่เนืองนิจ ด้วยใจเป็นกุศล ถึงแม้จะไม่รู้ความหมายโดยแจ้งตลอด
    2) ผู้สวดมนต์อยู่เนืองนิจ ด้วยใจเป็นกุศล รู้ความหมายเข้าใจสิ่งที่สวดโดยแจ้งตลอด
    3) ผู้จดจำคำสอนแม้เพียงประโยคเดียวอย่างขึ้นใจ ด้วยใจเป็นกุศล ถึงแม้จะรู้เพียงนัยยะเชิงพยัญชนะ
    4) ผู้จดจำคำสอนแม้เพียงประโยคเดียวอย่างขึ้นใจ ด้วยใจเป็นกุศล โดยรู้ถึงนัยยะเชิงธรรมะอย่างลึกซึ้ง
    5) ผู้บริกรรมอย่างขึ้นใจ เพื่อผลแห่งการหลุดพ้น ถึงแม้จะไม่ได้ผลแห่งสมาธิ
    6) ผู้บริกรรมอย่างขึ้นใจ เพื่อผลแห่งการหลุดพ้น และได้ผลแห่งสมาธิ
    7) ผู้บริกรรมอย่างขึ้นใจ เพื่อผลแห่งการหลุดพ้น ได้ผลแห่งสมาธิและปัญญา
     
  11. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ตีความได้อย่างเดียวคือ ท่องปากขึ้นใจแทงตลอดด้วยความเห็น แม้จะไมบรรลุธรรมในภพปัจจุบันน้นเลย(ชัดเจนนะครับว่าจะไปบรรลุธรรมที่บนสวรรค์เป็นพวกเทพนิกายด้วยสี่อาการ)แม้แต่ตายแบบหลงลืมสติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2013
  12. opateng

    opateng สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +11
    โห่ลุง ถ้าลุงเอา เสขิยะ กับ อนิยตะ แล้วลุงยึด "150 กว่า" (ทั้งที่ Pitaka 3 ฉบับแปลว่าถ้วน แต่ก่อน มหามกุฏฯ แปล "ที่สำคัญ" แต่ปี 2535 เปลี่ยนเป็น "ถ้วน") กว่าไปไกลถึง 227 เลยนะลุง ถ้าลุงเอาอนิยตะอีก 2 เป็น 152 ยังพอคุยกันได้นะ

    งั้นก้อต้องให้ไปดูวิธีสวด 5 แบบ แบบย่อ 4 แบบละเอียด 1 แบบย่อข้อ 4 ให้สวด อนิยตะ แต่ลุงอย่าเหมารวมเอานะว่าแบบละเอียดจะให้สวด อนิยตะ ด้วยอ่ะ

    จำเป็นมั้ยที่ต้องสวด อนิยตะ อาจจะจำเป็นหรืออาจจะไม่ก้อได้ (ตีความเอง) ก้อเพราะมันอยู่ใน ปาจิตตีย์ กับ สังฆาทิเสส 4 ข้อท้ายแล้วไง เดี๋ยวลุงก้อจะมาบอกว่าแบบย่อข้อ 4 มีทั้ง สวดสังฆาทิเสส 13 สวดอนิยตะ 2 ก้อมันยังขาด ปาจิตตีย์ไง แถมปาจิตตีย์มีความผิดเลย แต่ อนิยตะ ต้องมีอุบาสิกามาโจทก่อนนะถึงจะผิด

    แต่แบบละเอียดมันสวดทั้ง สังฆาทิเสส ทั้ง ปาจิตตีย์ แล้ว อนิยตะ จำเป็นหรือไม่ 152 พอคุยกันได้ว่าอาจเป็นไปได้ถ้ายึดคำว่ากว่า แต่ถ้ายึด ถ้วนตาม Pitaka ทั้งสามฉบับก้อต้อง 150 แต่ เสขิยะให้เอามาสวดปาติโมกด้วยอันนี้ผมยังไม่เคยเป็นพระสูตรนะ ถ้าลุงเจอเอามาบอกด้วย

    Pali Text Society (pitaka ของฝาหรั่ง) แปลว่ากว่านะ
    more than a hundred and fifty rules

    ลุงก้อมีความหวังของชัยชนะอยู่นะ แต่มี 4 พระสูตรบอก 150 จะกว่า หรือ จะ ถ้วน ก้อไม่ถึง 227 มาถึงตรงนี้เกิดอะไรขึ้นคำของพระพุทธเจ้าขัดกันแล้ว ทำไง คำของพระพุทธเจ้าขัดกันไม่ได้ด้วยสิ ทำไงดี ใช้หลักมหาประเทศ 4 แล้วยังไง 150 เจอใน ธรรม + วินั้ย ถึง 4 พระสูตร เพราะฉนั้นก้อต้องทำตาม ธรรม + วินัย 150 ข้อสิจ๊ะ จุ๊บ จุ๊บ
     
  13. คนเหาะ

    คนเหาะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +85
    ง่ายๆ สั้นๆ ชัดๆ

    ศีล ตั้งแต่สมัยพุทธกาล

    นานล่วงเลยมาแล้ว

    ศีล เฌร มี 10ข้อ

    ศีล พระ มี 227ข้อ

    ศีล ภิษุณี มี 311ข้อ

    แค่นี้ จบปะ..บ่องตงๆ
     
  14. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    5555++++ ทันสมัยซะด้วย บ่องตงๆ
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    สาระมันอยู่ตรงนี้ เมื่อขึ้นใจแล้ว

    ยังยึด(ทิฐิ)มาปฏิบัติตามนั้นด้วยดีอีก อันเป็นผลพึ่งหวังได้


    ^
    ^
    การเข้าถึงธรรม อันเป็นกุศลก็ดี อันเป็นอกุศลก็ดี

    ล้วนเรียกว่าเป็นการบรรลุธรรมทั้งสิ้น

    พระสูตรชัดเจน ไม่ต้องตีใดๆความเลย "เป็นพวกเทพนิกาย"เท่านั้น

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  16. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    ช่วยอธิบายทีสิครับ
    อะไรคือคล่องปาก
    อะไรคือขึ้นใจ
    อะไรคือแทงตลอดด้วยดี
    อะไรคือแ่งตลอดด้วยทิฏฐิ
    เอาแบบที่เป็นรูปธรรมในรูปแบบที่คุณเองทำอยู่
    เพราะด้วยประโยคเท่านี้ คงไม่สามารถไม่จิตนาการไปหลากหลาย
     
  17. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419

    การบรรลุธรรมด้วย อกุศลธรรมทั้งหลายนั้น ด้วยการฆ่า การลักทรัพ หรือ อภิชฌาใดๆในโลก

    นั้นเรียกว่าบรรลุ ของผู้ที่ปราถนา อยากเป็นเทพในความฝัน เเต่สุดท้ายจะไปได้เกิดใน วินิบาต เปรตนรก ครับ
     
  18. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ก็คงเป็นพวกเราๆท่านๆนี่แหล่ะครับ ที่เข้าใจธรรมะทุกอย่างแต่ยังไม่บรรลุธรรมเลย พอตายไปก็จะไปเกิดบนสวรรค์ไปบรรลุบนนั้นนั้นแหล่ะครับ
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    เป็นภาษาที่ใช้ กับภาษาที่พูด

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  20. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    หมายถึง เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า เขาถึงตั้งสัจจะ
    ถ้าเป็นศรัทธาที่ทิฏฐิผิดล่ะ
    เป็นพระวจนะว่าเขาต้องศรัทธาอย่างแรงกล้าแล้วถึงตั้งสัจจะหรือ??
    ช่วยหาและยกมาหน่อยจ๊ะ

    จากบทด้านบน ผู้ศรัทธาเกิดแล้ว
    ให้สังเกตุคำว่าผู้หยั่งลงในคำสอน
    ที่สำคัญให้สังเกตคำว่าแล้วประพฤติตั้งใจ
    เพราะอะไร เพราะทราบว่าพระองค์ทรงรู้
    ทรงรู้อะไร ทรงรู้ทางบรรลุธธรรมได้ที่พระองค์สอนเรื่องอริยมรรคนั่นเอง
    ด้วยตั้งใจในความเพียรอย่างไร ...เพียรว่าหากไม่ถึงอิฐผล จะไม่ล้มเลิกความตั้งใจเลย
    ผู้หยั่งลงในคำสอน แล้วประพฤติ พึงหวังได้...

    พอดีไปเห็นโพสต์เก่าของคุณ
    บทนี้มีลำดับชัดเจนถึงการถึงอรหัตตผลจ๊ะ ว่ามีลำดับมาอย่างไร
    ด้วยการศึกษาตามลำดับ ทำโดยตามลำดับ ปฏิบัติตามลำดับ
    ว่าศรัทธาที่ควรเกิด เกิดอย่างไร จึงตั้งความเพียร
    ในพุทธพจน์จะเห็นว่าศรัทธาที่มีปัญญาได้ เมื่อได้ฟังธรรม
    แล้วพิจารณา เมื่อพิจารณา (ศรัทธาที่มีปัญญา)
    จึงเกิด ฉันทะ อุตสาหะ เมื่อไตร่ตรองจึงตั้งความเพียร..

    ....

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรก
    เท่านั้นหามิได้
    แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำ
    โดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ
    .

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ ในอรหัตตผล ย่อมมีได้
    ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร? ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้
    เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทน
    ได้ซึ่งความพินิจ
    เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ
    ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เมื่อมีตนส่งไปแล้วย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย ละย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดี การฟังธรรม
    ก็ดี ความพิจารณาเนื้อความก็ดี ธรรมอันทนได้ซึ่งความพินิจก็ดี ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี
    การไตร่ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด
    ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทสี่อันยืนยันได้ที่เรายกขึ้นแสดงแล้ว อันวิญญูบุรุษ
    จะพึงรู้เนื้อความได้ด้วยปัญญาไม่นานเลย มีอยู่ เราจักแสดงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักรู้
    ทั่วถึงเนื้อความแห่งบทสี่อันยืนยันได้ ที่เรายกขึ้นแสดงแล้วนั้น.

    ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ. สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงใน
    คำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้ง
    ไปจะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียร
    นั้นเสีย จักไม่มีเลย.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผลสองอย่างคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อ
    ขันธบัญจกที่กรรมกิเลสเข้าไปยึดถือเป็นส่วนเหลือยังมีอยู่ ความเป็นพระอนาคามีอย่างใดอย่าง
    หนึ่ง อันสาวกผู้มีศรัทธา
    ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ พึงหวังได้.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
    พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...