จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,064
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    กรรมฐานของคนที่เกิดวันเสาร์

    นิสัยของคนที่เกิดวันเสาร์
    ลักษณะเด่นๆของคนที่เกิดวันเสาร์ ก็คือ มักจะคนหงุดหงิดง่าย และใจร้อน และบางคนก็จะมีลักษณะชอบเก็บตัว ไม่ชอบสุงสิงกับใคร ใครก็ตาม ที่มีลักษณะชอบเก็บตัว ชอบอยู่คนเดียวเงียบๆ พวกนี้ มักจะเป็นคนที่คิดมาก

    ฉะนั้น ท่านผู้รู้ ท่านจึงได้แต่งเป็นบทร้อยกรองสอนใจ เอาไว้ว่า
    อยู่คนเดียว ให้ระวัง ยั้งความคิด
    อยู่ร่วมมิตร ให้ระวัง ยั้งคำขาน
    อยู่ร่วมราษฎร์ เคารพตั้ง ระวังการ
    อยู่ร่วมพาล ต้องระวัง ทุกอย่างไป


    ถ้าอยู่คนเดียว ก็มักจะอดคิดมากไม่ได้ คิดไปได้สารพัดเรื่องนั่นแหละ เดี๋ยวเรื่องโน้น เดี๋ยวเรื่องนี้ และเพราะความเป็นคนชอบคิดนี่เอง จึงทำให้เป็นคนที่ค่อนข้างเครียดง่าย และช่างจดช่างจำ เจ้าคิด เจ้าแค้น ใครทำให้เจ็บล่ะก้อ จำจนวันตาย นี่แหละ คือลักษณะนิสัย ของคนที่เกิดวันเสาร์

    กรรมฐานสำหรับคนที่เกิดในวันเสาร์
    ลักษณะนิสัย ของคนที่เกิดวันเสาร์ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ท่านก็คงพอจะเดาออก ว่ากรรมฐานที่จะใช้แก้ไขนิสัย ของคนที่เกิดวันเสาร์นั้น คงจะไม่มีอะไรดี เท่ากับกรรมฐาน 2 ข้อ
    ดังต่อไปนี้ คือ
    1. พรหมวิหาร 4…. กรรมฐานหมวดนี้ จะช่วยแก้นิสัยใจร้อน ทำให้ใจเย็นลง และจากที่เคยหงุดหงิดง่าย ก็จะหงุดหงิดได้ยากขึ้น
    2. อานาปานสติ…. กรรมฐานข้อนี้ จะช่วยแก้นิสัย ความเป็นคนชอบคิดมาก เพราะกรรมฐานข้อนี้ เป็นกรรมฐาน ที่จะช่วยตัดกระแสวิตก ได้อย่างดีเยี่ยม
    เมื่อรู้แล้วว่า คนที่เกิดวันเสาร์ ควรจะเจริญกรรมฐาน ทั้ง 2 ประเภทนี้ ทีนี้ เราก็จะมาศึกษา ในรายละเอียดกันล่ะว่า กรรมฐานแต่ละประเภท ที่กล่าวมานั้น มีวิธีปฏิบัติกันอย่างไร ?


    พรหมวิหาร 4
    พรหมวิหาร ถ้าจะแปล ก็ต้องแปลว่า คุณธรรม เป็นเครื่องอยู่ ของพระพรหม
    พูดง่ายๆก็คือ พระพรหม จะต้องมีคุณธรรม 4 ข้อนี้ จึงจะเป็นพระพรหมได้
    ที่เขาสร้างรูปพระพรหม ให้มี 4 หน้า ก็เป็นการจำลองคุณธรรมทั้ง 4 ด้าน ของพระพรหมนั่นเอง และเนื่องจาก คุณธรรมทั้ง 4 ข้อ ของพระพรหมนั้น ไปตรงกับคุณธรรม ของพ่อ ของแม่ พระพุทธเจ้า จึงได้ทรงยกย่อง พ่อแม่ ว่าอยู่ในฐานะ พรหมของลูก
    ทีนี้ คุณธรรม ทั้ง 4 ข้อนั้น มีอะไรบ้างล่ะ ?
    ก็มี ดังต่อไปนี้ คือ
    1. เมตตา ได้แก่ความรัก ความเอ็นดู ความปรารถนาดี อยากให้ทุกๆชีวิต มีแต่ความสุขความเจริญ
    2. กรุณา ได้แก่ความสงสาร เวลาเห็นคนตกทุกข์ได้ยาก ก็อดที่จะสงสาร อดที่จะช่วยเหลือไม่ได้
    3. มุทิตา ได้แก่ ความพลอยยินดี เมื่อคนเห็นอื่น เขาได้ดีมีสุข
    4. อุเบกขา ได้แก่ การรู้จักวางเฉย ไม่ซ้ำเติม เมื่อเห็นคนอื่นพลาดพลั้ง เพราะการกระทำ ของเขาเอง
    คุณธรรมทั้ง 4 ข้อนี้ เมื่อเราเจริญ ให้เกิด ให้มี ขึ้นในใจแล้ว มันจะช่วยขจัดอารมณ์เศร้าหมอง อันเปรียบเสมือนสนิมในใจออกไป ได้หลายอย่างทีเดียว

    ขณะนี้ กำลังพูดถึงกรรมฐาน ซึ่งเหมาะ สำหรับคนที่เกิดวันเสาร์ โดยเมื่อตอนที่แล้ว ได้พูดถึงกรรมฐาน หมวดพรหมวิหาร ซึ่งจะช่วยทำให้ใจ ที่เคยร้อนเย็นลงกว่าเดิม และความหมาย ของพรหมวิหาร แต่ละข้อ ก็ได้อธิบายให้ฟัง อย่างคร่าวๆมาแล้ว ในตอนที่ผ่านมา ยังคงค้างอยู่ ก็เฉพาะในประเด็นที่ว่า พรหมวิหาร แต่ละข้อนั้น ช่วยขจัดอารมณ์เศร้าหมองภายในใจ ข้อใดได้บ้าง… เรามาพบคำเฉลย ในตอนนี้ กันได้เลยครับ

    พรหมวิหาร ข้อแรก คือ เมตตา ได้แก่ ความรัก ความปรารถนาดี อยากให้ทุกๆชีวิต มีแต่ความสุข

    ถ้าใครก็ตาม ที่เจริญพรหมวิหารข้อนี้ ให้เกิด ให้มี ในใจได้ ก็จะทำให้ใจของผู้นั้น ละคลายจากความโกรธเกลียด ซึ่งเป็นอารมณ์เศร้าหมอง ภายในใจได้ ถ้าเจริญ ให้เต็มที่ ถึงที่สุด เราก็จะได้เห็น ความเปลี่ยนแปลง ทางด้านจิตใจ ได้อย่างชัดเจน คือเราสามารถ ที่จะให้อภัยได้ แม้กระทั่ง ผู้ที่เป็นศัตรู
    อย่างองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่มากด้วยเมตตา และมีเมตตา เต็มเปี่ยมอยู่ในพระทัย ครั้งหนึ่ง พระอานนท์ได้เคยทูลถามถึงความรู้สึก ว่าพระองค์รู้สึกอย่างไร กับพระเทวทัต ซึ่งตามจ้องล้างจองผลาญพระองค์มาโดยตลอดพระพุทธองค์ ทรงตอบว่ายังไง ท่านทราบไหมครับ ?
    พระองค์ตรัสตอบว่า "เรารักราหุล พุทธชิโนรส ของเราอย่างไร เราก็รัก และมีจิตเมตตา ในพระเทวทัต ผู้มีจิตคิดประทุษร้ายต่อเรา ฉันนั้น"
    นี่แหละ คือยอดของความเมตตาจริงๆ คือรัก และให้อภัยได้ แม้กระทั่งศัตรู ถ้าเราเจริญเมตตาให้มากๆ จิตใจเรา ก็จะเป็นอย่างนี้ คือจะไม่มีความเคียดแค้น ไม่พยาบาทใคร และพร้อมที่จะให้อภัย กับคนทุกคน
    จิตแบบนี้ เป็นจิตที่เยือกเย็น และละเอียดอ่อน ท่านยังบอกอีกว่า ใครก็ตาม ที่เจริญเมตตา อยู่เป็นประจำ ผู้นั้น ย่อมได้รับอานิสงส์ ถึง 11 ประการด้วยกัน อาทิเช่น หลับก็เป็นสุข, ตื่นก็เป็นสุข, มีสีหน้าที่แจ่มใส, ไปไหนมาไหน มีเทวดาคอยตามอภิบารักษา , ไฟ ศัสตรา ยาพิษ ทำอันตรายไม่ได้ ฯลฯ เป็นต้น

    ตรงอานิสงส์ที่ว่า ไฟ ศัสตรา ยาพิษ ทำอันตรายไม่ได้ บางท่านอาจจะไม่เชื่อ ว่าจะเป็นไปได้ ก็ใคร่ขอยกตัวอย่างเรื่องจริง ของพระผู้ปฏิบัติดีรูปหนึ่ง คือ หลวงปู่พุทธบาทตากผ้า วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน หลวงปู่พุทธบาทตากผ้านั้น เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูงมาก ไม่เคย แม้แต่จะดุใคร มีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านออกธุดงค์ มีคนมาลองดีท่าน โดยแอบเอายาสั่งใส่น้ำ ถวายให้ท่านดื่ม ด้วยอยากจะลอง ว่าท่านเก่ง จริงหรือไม่ ขณะที่หลวงปู่ กำลังจะยกแก้วขึ้นดื่มนั้น ก็ปรากฎว่า แก้วได้แตกดัง เพล้ง ! โดยไม่มีสาเหตุ เล่นเอาคนที่แอบเอายาสั่งไปถวายท่าน ต้องก้มลงกราบ และขอขมาต่อท่านกันยกใหญ่

    ที่เป็นดังนี้ ก็คงเป็นด้วยอานิสงส์แห่งเมตตาที่ว่า ไฟ ศัสตรา ยาพิษ ทำอันตรายไม่ได้ หรือไม่เช่นนั้น ก็อาจจะเกิดขึ้น จากอำนาจของเทวดา ที่คอยตามอภิบาลรักษาท่าน เพราะความที่ท่านมีจิตเมตตาสูงนั่นเอง ผู้ที่มีจิตเมตตาสูงนั้น อย่าว่าแต่มนุษย์จะให้ความเคารพบูชาเลย ขนาดเทวดา หรือสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า ก็ยังให้ความเคารพ และคอยคุ้มครอง ให้ปราศจากภยันตราย และนี่ก็คือประจักษ์พยาน ที่แสดงให้เห็นว่า อานุภาพแห่งเมตตานั้น มีอยู่จริง

    ทีนี้มาถึงพรหมวิหารข้อที่ 2 คือ กรุณา ได้แก่ ความสงสาร
    ความสงสาร หรือกรุณานี้ ถ้าจะถามว่า ช่วยขจัดอารมณ์เศร้าหมองข้อใด ?
    ก็ต้องตอบว่า ขจัดความเศร้าหมอง ข้อ วิหิงสา คือการชอบเบียดเบียน รังแกคนอื่น สัตว์อื่น
    ใครก็ตาม ที่ไม่มีความสงสารต่อเพื่อนมนุษย์ หรือต่อสัตว์อื่น ผู้นั้นก็พร้อมที่จะเบียดเบียนคนอื่นได้ตลอดเวลา ที่เป็นดังนี้ ก็เพราะขาดความสงสารตัวเดียว
    ถ้ามีความสงสาร อยู่ในใจแล้ว เราจะเบียดเบียนใครไม่ลง อย่างแน่นอน
    ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงบอกว่า กรุณา ความสงสาร นี่แหละ คือตัวที่จะสังหาร วิหิงสา คือการเบียดเบียน ซึ่งถือว่า เป็นเครื่องเศร้าหมองทางใจอย่างหนึ่ง

    ทีนี้ พรหมวิหาร ข้อที่ 3 คือ มุทิตา
    มุทิตา ได้แก่ ความพลอยยินดี เมื่อเห็นคนอื่นได้ดี พอพูดแค่นี้ หลายท่าน ก็คงจะพอเดาออกว่า มุทิตา ความพลอยยินดี เมื่อเกิดขึ้นในใจใคร ความริษยา ก็ย่อมจะหมดไป จากใจของผู้นั้น มุทิตา ความพลอยยินดี กับความริษยา มันมีลักษณะ ที่ตรงกันข้าม เหมือนน้ำ กับไฟ ยามใด ที่มีมุทิตา ยามนั้น ริษยา ต้องไม่มีอยู่ในใจ แต่ถ้ายามใด ใจเต็มไปด้วยความริษยา เมื่อนั้น มุทิตา ก็ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้เช่นกัน

    อุเบกขา คือการวางเฉย
    การที่เราจะวางเฉยได้ นั่นก็เพราะ ได้มานึกถึงเรื่องกรรม ของแต่ละบุคคล ทางพระ ท่านก็บอกไว้แล้วว่า กัมมุนา วัตตติ โลโก สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม คือใครทำกรรมอย่างใดไว้ ผู้นั้น ก็จะต้องเป็นผู้รับผล แห่งกรรมนั้น
    ใครก็ตามที่นึกถึงเรื่องกฎแห่งกรรมของแต่ละบุคคลบ่อยๆ คนประเภทนั้นจะเจริญอุเบกขา คือความวางเฉยได้ง่าย
    แต่สำหรับใครก็ตาม ที่ไม่นึกถึงเรื่องกฎแห่งกรรมเลย คนประเภทนั้น เวลามีเหตุการณ์อะไร เกิดขึ้น กับคนรอบข้าง ก็มักจะเป็นทุกข์ เป็นร้อน ทำใจไม่ได้

    ยกตัวอย่างเช่น ลูกหลานของเรา ถูกจับ ในคดียาเสพติด ถ้าเราเป็นผู้เจริญพรหมวิหารข้อนี้ คืออุเบกขาพรหมวิหาร เมื่อมาระลึกได้ว่า เราได้เคยห้ามปรามเขาแล้ว แต่เขาไม่เชื่อ กลับไปพัวพัน เกี่ยวกับเรื่องยาเสพติด จนกระทั่งถูกจับ ก็ต้องวางเฉยให้เป็น นั่นถือว่า เขาสร้างกรรม ที่จะทำให้ถูกจับ ด้วยตนเอง ไม่มีใคร ไปทำเขา ใจเราก็จะเป็นปกติได้
    แต่ถ้าเรา ไม่นึกถึงเรื่อง กรรมใคร กรรมมัน มีแต่คิดว่า ลูกหลานของฉัน จะผิดไม่ได้ จะถูกจับไม่ได้ แล้วก็หาทางวิ่งเต้น เพื่อให้ลูกหลานของตน หลุดพ้นจากคดี อย่างนี้ซีครับ เป็นตัวอันตรายมาก

    สังคมทุกวันนี้ ที่มันวุ่นวาย เดือดร้อน กันไม่รู้จักหยุด ไม่รู้จักหย่อน ก็เพราะผู้ใหญ่ประเภทที่วางอุเบกขาไม่เป็นนี่เอง ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตโต ) ท่านเคยปรารภไว้ว่า คุณธรรม ในหมวดพรหมวิหารนั้น ที่ท่านต้องวางอุเบกขา ( ความวางเฉย ) ไว้กำกับ เป็นข้อสุดท้าย ก็เพื่อรักษาสภาพใจของผู้เจริญ ไม่ให้เป็นทุกข์ กับผลกรรม ที่คนรอบข้าง จะต้องได้รับ นั่นประการหนึ่ง

    และอีกประการหนึ่ง ก็คือ เพื่อรักษาความยุติธรรม ของสังคมเอาไว้ อีกทางหนึ่งด้วย บางท่านอาจจะสงสัย ว่าอุเบกขาพรหมวิหาร ช่วยรักษาความยุติธรรม ให้สังคม ได้อย่างไร ข้อนี้เห็นได้ไม่ยากครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้เราไปดูกระบวนการยุติธรรม ของบ้านเมือง คนที่ทำผิดกฎหมาย คนนั้นก็ต้องได้รับโทษ ตามกระบวนการยุติธรรม โดยไม่มีการยกเว้น ไม่ว่าผู้ทำผิด จะเป็นใครก็ตาม

    แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ก็ยังมีบุคคลจำนวนไม่ใช่น้อย ที่พยายามหาทางหลบหลีก เพื่อให้พวกพ้องของตนเอง หลุดรอด จากการเอาผิดทางกฎหมาย เช่น พยายามหาทางวิ่งเต้น ติดสินบนเจ้าพนักงาน เพื่อให้พวกพ้องของตนเอง พ้นจากความผิด เป็นต้น โดยไม่สนใจว่า สิ่งที่ตนทำนั้น จะถูกต้องหรือไม่

    ถ้าบ้านเมืองเรา เป็นเสียอย่างนี้ ความยุติธรรม คงหาไม่ได้ในสังคม คนทำผิด ถ้ามีเงิน มีอำนาจ ก็พร้อมที่จะพลุดรอด จากการเอาผิดของกฎหมายได้ อย่างนี้ มันก็คงไม่ยุติธรรม
    สภาพของสังคม มันคงเป็นอย่างนี้ต่อไป ถ้าคนในสังคม ยังวางเฉยไม่เป็น เพราะไม่เคยนึกถึงเรื่อง กรรมใคร กรรรมมัน ท่องอยู่ได้แต่เพียงว่า ลูกฉัน หลานฉัน พรรคพวกฉัน จะผิดไม่ได้ จะถูกจับไม่ได้
    ฉะนั้น ถ้าจะว่าไปแล้ว สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ กำลังต้องการผู้ใหญ่ ที่มีใจเป็นอุเบกขา คือพร้อมที่จะวางเฉยได้ทันที ถ้าพบว่า ลูกตัว หลานตัว และพรรคพวกของตัว ทำผิดจริง จะไม่ปกป้องเอาไว้ ให้เสียความยุติธรรมของบ้านเมือง
    ท่านเห็นหรือยังล่ะครับ ว่า อุเบกขาพรหมวิหารนั้น ช่วยรักษาความยุติธรรมให้บ้านเมืองได้อย่างไร
    ทีนี้ มาพูดในแง่ ของการรักษาจิตใจ ของผู้เจริญอุเบกขาบ้าง ผู้ที่เจริญอุเบกขานั้น จะทำให้ มีความสุขใจ และมีความสบายใจ มากขึ้นกว่าเดิม

    แต่เดิม อาจจะเคยเป็นทุกข์เป็นร้อน กับเรื่องราวของบุคคลรอบตัว เช่นลูกบ้าง หลานบ้าง พรรคพวกบ้าง ที่ไปเที่ยวก่อกรรม ทำความผิดเอาไว้ อาศัยที่เรามีเมตตา คือรักเขามาก ก็เลยต้องทำ ทุกวิถีทาง เพื่อปกป้องเขา ให้พ้นผิด ในกรณีเช่นนี้ ท่านถือว่า ใช้เมตตา ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้อง คือ ถ้าเขาทำถูก เราใช้เมตตาได้….. แต่ถ้าเขาทำผิด เราต้องวางอุเบกขาเป็น อย่างนี้ต่างหาก จึงจะเป็นการสมควร และถูกต้องตามพุทธประสงค์ การที่เราจะวางอุเบกขาได้ ในกรณีเช่นนี้ เราต้องระลึก และยอมรับ ในเรื่องของกฎแห่งกรรมให้มากๆ ว่ากรรมใดก็ตาม ที่เรา หรือคนรอบตัวเรา ได้ทำไว้ ผู้ทำจะต้องเป็นผู้ได้รับผลทั้งสิ้น ในเมื่อกล้าทำ ก็ต้องกล้ารับ จะปัดความผิด ไปให้คนอื่นรับแทน หาได้ไม่….ต้องทำใจให้ได้อย่างนี้ แล้วท่าน ก็จะวางเฉยได้ และใจท่าน ก็จะเป็นสุข ไม่ต้องทุกข์ เหมือนแต่ก่อน


    โ ด ย : อาจารย์บรรเจิด สังข์สวน
    Dhamma Department Store : Dhammathai.org
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,064
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มีนาคม 2013
  3. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]

    ถึงพ่อจาก จากแต่กาย ใจยังอยู่
    คอยเฝ้าดู เฝ้าห่วงใย ในลูกเสมอ
    เฝ้าชะเง้อ หาทางสื่อ ผ่านจิตมา
    ว่าลูกจ๋า อย่าแชเชีอน เตือนตนเอง...​



    หลวงพ่อฝากมาบอก ลูกหลานทุกคน ว่า ​


    *** อย่าลีม มรณานุสสติ ...ให้นึกไว้ทุกลมหายใจ

    *** อย่าลืมว่าเราเป็นมนุษย์ไม่นาน แต่เป็นอย่างอื่น (โลกหลังความตาย) นานกว่า..

    *** "อย่าเอาจิตไปสนใจในสิ่งที่ไม่ใช่ บุญกุศล"

    *** อย่าไปสนใจใยดี ในกิเลสของตนเอง และ ผู้อื่น ...
    เอาจิตออกมา อะไรที่ไม่ใช่เรื่อง ของจิต อย่าไปสน ...
    ให้เราหันมาดูที่จิตตนเองเท่านั้น

    *** ให้พิจารณาทุกสิ่งในโลกนี้ ให้เป็น สิ่งที่สมมติทั้งหมด..
    ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราเลยสักอย่างเดียว ลูกอาศัยอยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้นนะ...
    อย่าหลงระเริงกัน...

    *** อยู่ทางโลก แต่ จิตอย่าไปเกาะทางโลก แยกจิตออกมา...


    *************************************************​
    B]

    กราบแทบเท้า พระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตาอย่างหาประมาณมิได้ ....กราบ กราบ กราบ
     
  4. natatik

    natatik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    873
    ค่าพลัง:
    +3,607
     
  5. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,081
    ค่าพลัง:
    +10,246
    คือรูปรสกลิ่นเสียงไม่เที่ยงแท้
    ย่อมเฒ่าแก่เกิดโรคโศกสงสาร
    ความตายหนึ่งพึงให้เห็นเป็นประธาน
    หวังนิพพานพ้นทุกข์สนุกสบาย

    ซึ่งบ้านเมืองเคืองเข็ญถึงเช่นนี้
    เพราะโลกีย์ตัณหาพาฉิบหาย
    อันศีลห้าว่าอย่าทำให้จำตาย
    จะตกอบายภูมิขุมนรก

    หนึ่งว่าอย่าลักเอาของเขาอื่น
    มาชมชื่นฉ้อฉลคนโกหก
    หนึ่งทำชู้คู่เขาเล่าลามก
    จะตายตกในกระทะอเวจี

    หนึ่งสูบฝิ่นกินสุรามุสาวาท
    ใครทำขาดศีลห้าสิ้นราศี
    ใครสัตย์ซื่อถือมั่นในขันตี
    จะถึงที่พระนิพพานสำราญใจ

    อย่าโกรธขึ้งหึงสาพยาบาท
    นึกว่าชาติก่อนกรรมจะทำไฉน
    เหมือนดุมวงกงเกวียนอันเวียนไป
    อย่าโทษใครนี่เพราะกรรมจึงจำเป็น

    ประการหนึ่งซึ่งขาดพระศาสนา
    ทั้งโลกาเกิดทุกข์จึงยุคเข็ญ
    ซึ่งจะกลับดับร้อนให้ผ่อนเย็น
    ก็ต้องเป็นไมตรีปรานีกัน..."

    [จาก "พ ร ะ อ ภั ย ม ณี" โดย ยอดกวีแห่งแผ่นดินสยาม "ท่านสนทรภู่"]

    แสดงกระทู้ - ๒๖ มิถุนายน : อั น เ นื่ อ ง ใ น วั น สุ น ท ร ภู่ • ลานธรรมจักร
     
  6. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    พี่ต้อย สุภาทร หายไปนาน กลับมาเบิกบานด้วย กรรมฐานประจำวันเกิด
    ขอบพระคุณคะ. ตรงจัง ๆ โมทนาบุญด้วยค่ะ

    ;aa1;aa30;aa50
     
  7. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    สัมมาสติ (มรรคฯข้อที่ 7)

    คือ การมีสติกำหนดระลึกรู้อยู่เป็นนิจว่า กำลังทำอะไรอยู่ กำหนดรู้สภาวะที่เกิดขึ้นจริงในขณะปัจจุบัน
    ในสภาวะทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม ตามความจำกัดความแบบพระสูตร คือ
    หลักธรรมที่เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ แบ่งออกเป็น 4 คือ
    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การกำหนดระลึกรู้ในกาย
    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การกำหนดระลึกรู้ในเวทนา
    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การกำหนดระลึกรู้ในจิต
    ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การกำหนดระลึกรู้ในธรรม คือสัญญา(ความนึก)และสังขาร(ความคิด)

    สัมมาสมาธิ (มรรคฯข้อที่ 8)

    สัมมาสมาธิ แปลว่า สมาธิชอบ คือความตั้งใจมั่นโดยถูกทาง
    โดยการที่กุศลจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว
    (ความตั้งมั่นแห่งกุศลจิตในในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน)
    เข้าถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน
    (จิตตั้งมั่นในฌานทั้ง 4 นี้ ส่วนอรูปฌาน)ทั้ง4ท่านจัดเข้าในจตุตถฌาน
    ตามอารมณ์ที่อรูปฌานมีเจตสิกที่เข้ามาประกอบในจิต คือ
    อุเบกขาเจตสิกและเอกัคคตาเจตสิก เช่นเดียวกับจตุตถฌาน

    ความแตกต่างของสมาธิและสัมมาสมาธิ
    คำว่าสมาธิ กับคำว่า สัมมาสมาธิ มีความแตกต่างกัน
    สมาธิ ได้แก่ การถือเอาอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ทำให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์นั้น แบบสมถะสมาธิ
    สัมมาสมาธินั้น เป็นสมาธิที่มีรากฐานจากการกำหนดรู้ ในมหาสติปัฏฐานทั้ง 4 คือกาย เวทนา จิต ธรรม

    อริยมรรค 8 คือ หนทางแห่งการดำรงชีวิตอย่างรู้แจ้ง
    มีสติเป็นพี้นฐานด้วยการฝึกสติสามารถพัฒนาสมาธิจิต ซึ่งจะช่วยให้บรรลุถึงปัญญา
    เพราะ สัมมาสมาธิจึงสามารถบรรลุถึงสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
    สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และสัมมาวายามะ
    ปัญญาความเข้าใจซึ่งพัฒนาขึ้นนั้นสามารถกำจัดความไม่รู้ (อวิชชา) ได้ในที่สุด

    ลักษณะของสัมมาสมาธิ
    จิตสงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากกรรมที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย
    เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
    เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง
    เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ
    เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข
    เข้าถึงตติยฌาน เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง
    เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา

    สัมมาสมาธิ - วิกิพีเดีย
     
  8. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ขออนุญาตเน้นย้ำ!
    เรื่อง สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    เพราะสติเป็นบ่อเกิดแห่งสมาธิ
    เพราะสมาธิเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา

    เพราะ คำกล่าวอ้างของ อริยมรรค 8 คือ หนทางแห่งการดำรงชีวิตอย่างรู้แจ้ง
    มีสติเป็นพี้นฐานด้วยการฝึกสติสามารถพัฒนาสมาธิจิต ซึ่งจะช่วยให้บรรลุถึงปัญญา
    เพราะ สัมมาสมาธิจึงสามารถบรรลุถึงสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
    สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และสัมมาวายามะ
    ปัญญาความเข้าใจซึ่งพัฒนาขึ้นนั้นสามารถกำจัดความไม่รู้ (อวิชชา) ได้ในที่สุด

    กระทู้นี้ ไม่เน้นเตือนภัยพิบัติภายนอกจิตใจ
     
  9. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=kCkbNiNHYTg]เรือยางรองเท้าแตะ - โนอาร์ 2013 - YouTube[/ame]
    กระทู้นี้ ไม่เน้นเตือนภัยพิบัติภายนอกจิตใจ
    แต่เล็งเห็นประโยชน์ส่วนรวม จึงนำมาฝากกัน
    เพราะเป็นห่วงเป็นใยพวกเรา เตรียมไว้บ้างก็ดี เพื่อความไม่ประมาท
    แต่ผมไม่มีส่วนได้ ส่วนเสียแน่นอน
     
  10. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,081
    ค่าพลัง:
    +10,246
    [๗๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยใน
    พระนครราชคฤห์ แล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไป
    กันเถิด เราจักไปยังอัมพลัฏฐิกา ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มี-
    *พระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึง
    อัมพลัฏฐิกาแล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับ ณ พระตำหนักหลวง
    ในอัมพลัฏฐิกาแม้นั้น ทรงกระทำธรรมีกถาอันนี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า
    อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา สมาธิอันศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่
    มีอานิสงส์ใหญ่ จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบ คือ
    กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ


    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=1888&Z=3915
     
  11. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    [​IMG]

    ในหมู่บ้านหนองผือมีบ้านอยู่ ๗๐ หลังคาเรือน มีคุณยายนุ่งขาวห่มขาวคนหนึ่งชื่อ “กั้ง” อายุราว ๘๐ ปี เป็นนักภาวนาสำคัญคนหนึ่ง ที่หลวงปู่มั่นเมตตาเป็นพิเศษเสมอมาคุณยายอุตส่าห์ตะเกียกตะกายไปศึกษาธรรม
    กับท่านที่วัดป่าบ้านหนองผือเสมอ ดังนี้

    “...แกใช้ไม้เท้าเป็นเครื่องพยุงออกไปหาพ่อแม่ครูจารย์มั่น กว่าจะถึงวัดต้องพักเหนื่อยระหว่างทางถึง ๓-๔ ครั้ง ทั้งเหนื่อยทั้งหอบน่าสงสารมาก บางทีท่านพระอาจารย์มั่นก็ทำท่าดุเอาบ้างว่า

    ‘โยมจะออกมาทำไม มันเหนื่อยไม่รู้หรือ แม้แต่เด็กเขายังรู้จักเหนื่อย แต่โยมแก่จนอายุ๘๐-๙๐ ปีแล้วทำไมไม่รู้จักเหนื่อยเมื่อยล้า มาให้ลำบากทำไม?’

    แกเรียนตอบท่านอย่างอาจหาญตามนิสัยที่ตรงไปตรงมาของแกว่า

    ‘ก็มันอยากมา มันก็มาซิ’…”
    คุณยายแกมีหลานชายคนหนึ่งเป็นโยมอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น คอยส่งบาตรทุกวันๆ พอองค์ท่านรับบาตรเสร็จแล้ว ก็จะสะพายบาตรไปส่งที่วัดทุกวันไม่เคยขาด องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน กล่าวถึงการภาวนาของคุณยายว่า

    “คุณยายแกภาวนาดี มีหลักเกณฑ์ทางจิตแล้ว แกยังมีปรจิตตวิชชา คือสามารถรู้พื้นเพดีชั่วแห่งจิตคนอื่นได้ด้วย และมีนิสัยชอบรู้สิ่งแปลกๆ ภายนอกด้วย เวลาแกมารับการอบรมกับท่านอาจารย์มั่น แกเล่าความรู้แปลกๆ ถวายท่านด้วยความอาจหาญมาก ท่านทั้งขบขันทั้งหัวเราะ ทั้งเมตตาว่ายายแก่นี้อาจหาญจริง ไม่กลัวใคร”

    คุณยายสามารถรู้เรื่องความคิดจิตใจของใครต่อใครได้ จนบางครั้งหลวงปู่มั่นยังได้ถามคุณยายแบบขบขันว่า

    “รู้เรื่องนั้นไหม?”

    คุณยายก็ว่า “รู้”

    “แล้วเรื่องนี้รู้ไหม?” ก็ว่า “ก็รู้อีก”

    หลวงปู่มั่นเลยลองถามว่า

    “แล้วรู้ไหม?จิตของพระในวัดหนองผือนี้”

    คุณยายว่า “ทำไมจะไม่รู้” แถมพูดแบบขู่เลยว่า “รู้หมดแหละ”

    คุณยายเคยเล่าเรื่องภาวนาให้หลวงปู่มั่นฟังอย่าอาจหาญว่า

    “มองมาวัดหนองผือแห่งนี้สว่างไสวทั่วหมดเลย มีแต่พระภาวนาดวงเล็กดวงใหญ่เหมือนดาวอยู่เต็มวัด”

    เวลาเล่าถวายหลวงปู่มั่น คุณยายจะพูดแบบอาจหาญมากไม่กลัวใคร แม้พระเณรจำนวนร่วมครึ่งร้อยซึ่งมีท่าน (องค์หลวงตามหาบัว) รวมอยู่ด้วย จะนั่งฟังอยู่เวลานั้นด้วยก็ตาม คุณยายก็จะพูดได้อย่างสบาย ไม่สนใจว่าใครจะคิดอะไร ดังนี้

    “...พวกพระทั้งหลายพากันรีบล้างบาตรแล้วค่อยมาแอบฟังคำพูดของแก อยู่ทางด้านหลังหอฉัน แกพูดอาจหาญตามหลักความจริง ไม่สะทกสะท้าน‘เวลาพวกทวยเทพทั้งหลายมากราบพ่อแม่ครูจารย์ที่หนองผือ หลั่งไหลมา เขามา ทิศทางพระไม่อยู่นะพวกทวยเทพทั้งหลาย เขาเคารพพระมาก คือเขาจะมาทางด้านไม่มีพระ ถ้าพระมากทางด้านไหน เขาจะไม่มาทางด้านนั้น เขาไม่มาสุ่มสี่
    สุ่มห้านะ’

    พ่อแม่ครูจารย์บอก กับโยมยายกั้งพูดเข้ากันได้ ท่านบอกว่า

    ‘ทางด้านนี้พวกเทพมา ใครอย่าไปทำสุ่มสี่สุ่มห้าแถวนั้นนะ นอนก็เหมือนกันหลับครอกๆแครกๆ ให้พวกเทพเขามาปลงธรรมสังเวชไม่ได้นะ ให้รักษามารยาท’

    พ่อแม่ครูจารย์มั่นท่านพูดก่อน แล้วโยมยายกั้งนี้แกมาพูดแบบเดียวกัน แกรู้จิตคนอื่นแกเห็นจริงๆ รู้จริงๆ ใครสะอาดผ่องใสขนาดไหน แกเห็น เวลาแกมาเล่านี้ คือแกนิสัยตรงไปตรงมา พูดไม่กลัวใครเหมือนขวานผ่าซาก รู้อย่างไร พูดอย่างนั้น แกเป็นคนตรงไปตรงมา พวกพระก็สนุกฟัง…
    ยายกั้งมาเล่าถวายถึงการล่วงรู้จิตของท่านและพระเณรในวัด รู้สึกน่าฟังมาก พระเณรทั้งแสดงอาการหวาดๆ บ้าง แสดงอาการอยากฟังแกเล่าบ้าง แกเล่าว่า

    ‘นับแต่จิตท่านอาจารย์ลงมาถึงจิตเณรความสว่างไสวลดหลั่นกันลงมาเป็นลำดับลำดาเหมือนดาวใหญ่กับหมู่ดาวเล็กๆ ที่อยู่ด้วยกัน'

    ฉะนั้น รู้สึกน่าดูและน่าชมเชยมาก ที่มองดูจิตพระเณรมีความสว่างไสวและสง่าผ่าเผย ไม่เป็นจิตที่อับเฉาเฝ้าทุกข์ที่กลุ้มรุมดวงใจ แม้เป็นจิตพระหนุ่มและสามเณรน้อยๆ ก็ยังน่าปีติยินดีและน่าเคารพนับถือตามภูมิของแต่ละองค์
    ที่อุตส่าห์พยายามชำระขัดเกลาได้ตามฐานะของตน

    บางครั้งแกมาเล่าถวายท่านเรื่องแกขึ้นไปพรหมโลกว่า

    ‘เห็นแต่พระจำนวนมากมายในพรหมโลก ไม่เห็นมีฆราวาสสลับสับปนกันอยู่บ้างเลย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?’

    ท่านตอบว่า

    ‘เพราะที่พรหมโลกโดยมาก มีแต่พระที่ท่านบำเพ็ญจิตสำเร็จธรรมขั้นอนาคามีผลแล้ว ส่วนฆราวาสมีจำนวนน้อยมากที่บำเพ็ญตนจนได้สำเร็จธรรมขั้นอนาคามีผล แล้วไปเกิดและอยู่ในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง ฉะนั้น โยมจึงเห็นแต่พระไม่เห็นฆราวาสสับปนอยู่เลย อีกประการหนึ่ง ถ้าโยมสงสัยทำไมจึงไม่ถามท่านบ้าง เสียเวลาขึ้นไปถึงแล้ว มาถามอาตมาทำไม?’

    แกหัวเราะแล้วเรียนท่านว่า

    ‘ลืมเรียนถามพระท่าน เวลาลงมาแล้วจึงระลึกได้ก็มาเรียนถามท่าน ต่อไปถ้าไม่ลืม เวลาขึ้นไปอีกจึงจะเรียนถามพระท่าน’

    แล้วแกจึงเรียนถามท่านต่อไปอีกว่า

    ‘เมื่อ คืนนี้ ใครกัน มองตรงไหนก็มีแต่หน้าเต็มไป หมด?’

    ท่านก็ตอบให้ด้วยความเมตตาว่า

    ‘อ๋อ! นั่นมันท้าวมหาพรหม เขามานมัสการเรา’

    ท่านอาจารย์ตอบปัญหายายกั้งมีความหมายเป็นสองนัย

    นัยหนึ่งตอบตามความจริง

    นัยสองตอบ เป็นเชิงแก้ความสงสัยของยายกั้งที่ถาม

    ต่อมาท่านห้ามไม่ให้แกออกรู้สิ่งภายนอกมากไปเสียเวลาพิจารณาธรรมภายในซึ่งเป็นทางมรรค
    ทางผลโดยตรง ยายกั้งก็ปฏิบัติตามท่าน…

    ความรู้ที่พิเศษอีกตอนหนึ่งก็คือที่คุณยาย
    ทายใจหลวงปู่มั่นอย่างอาจหาญมาก และไม่กลัว
    ว่าท่านจะดุจะว่าอะไรบ้างเลย คุณยายทายว่า

    “จิตหลวงพ่อพ้นไปนานแล้ว ฉันทราบ จิตหลวงพ่อมานานแล้ว จิตหลวงพ่อไม่มีใคร เสมอ ทั้งในวัดนี้หรือที่อื่นๆ จิตหลวงพ่อประเสริฐเลิศโลกแล้ว หลวงพ่อจะภาวนาไปเพื่ออะไร?”

    หลวงปู่มั่นจึงตอบทั้งหัวเราะ และเป็นอุบายสอนคุณยายไปพร้อมว่า“ภาวนาไปจนวันตายไม่มีถอย ใครถอยผู้นั้น
    มิใช่ศิษย์ตถาคต”

    คุณยายเรียนท่านว่า

    “ถ้าไปได้ก็พอไป แต่นี่จิตหลวงพ่อหมดทางไปทางมาแล้ว มีแต่ความสว่างไสวและความประเสริฐเต็มดวงจิต
    อยู่แล้ว หลวงพ่อจะภาวนาไปไหนอีกเล่า ฉันดูจิตหลวงพ่อสว่างไสวครอบโลกไปหมดแล้ว อะไรมาผ่านหลวงพ่อก็ทราบหมด ไม่มีอะไรปิดบังจิตหลวงพ่อได้เลย
    แต่จิตฉันมันยังไม่ประเสริฐอย่างจิตหลวงพ่อ จึงต้องออกมาเรียนถาม เพื่อหลวงพ่อได้ชี้แจงทางเดินให้ถึงความประเสริฐอย่างหลวงพ่อด้วยนี้”

    ทุกครั้งที่คุณยายมา จะได้รับคำชี้แจงจากหลวงปู่มั่นทางด้านจิตตภาวนาด้วยดี ขณะเดียวกันพระเณรต่างองค์ต่างก็มาแอบอยู่แถวบริเวณข้างๆ ศาลาฉัน ซึ่งเป็นที่ที่คุณยายสนทนากับท่าน เพื่อฟังปัญหาธรรมทางจิตตภาวนา
    ซึ่งโดยมากเป็นปัญหาที่รู้เห็นขึ้นจากการภาวนาล้วนๆ เกี่ยวกับอริยสัจทางภายในบ้าง เกี่ยวกับพวกเทพพวกพรหมภายนอกบ้าง ทั้งภายใน
    และภายนอก เมื่อคุณยายเล่าถวายจบลง
    ถ้าท่านเห็นด้วยท่านก็ส่งเสริมเพื่อเป็นกำลังใจ
    ในการพิจารณาธรรมส่วนนั้นให้มากยิ่งขึ้น
    ถ้าตอนใดที่ท่านไม่เห็นด้วย ก็อธิบายวิธีแก้ไข
    และสั่งสอนให้ละวิธีนั้น ไม่ให้ทำต่อไป
    หลวงปู่มั่นเคยชมเชยคุณยายท่านนี้ให้ พระฟังว่า

    “แกมีภูมิธรรมสูงที่น่าอนุโมทนา พวกพระเรา
    มีหลายองค์ที่ไม่อาจรู้ได้เหมือนคุณยาย”

    จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์หน้า ๒๐๓ -๒๐๔
    ลูกขอน้อมกราบหลวงปู่ด้วยเศียรเกล้า
     
  12. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,081
    ค่าพลัง:
    +10,246
    [๘๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า
    ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปโกฏิคาม ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัส
    ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
    เสด็จถึงโกฏิคามแล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกฏิคามนั้น ณ ที่
    นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔
    เราและพวกเธอจึงเร่ร่อนท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนานอย่างนี้
    เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ เป็นไฉน
    เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดทุกขอริยสัจ
    เราและพวกเธอจึงเร่ร่อนท่องเที่ยวไปตลอดกาลนานอย่างนี้
    เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอด ทุกขสมุทัยอริยสัจ ... ทุกขนิโรธอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
    เราและพวกเธอจึงเร่ร่อนท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนานอย่างนี้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ
    ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจแล้ว ตัณหาในภพ เราถอนเสีย
    แล้ว ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี ฯ

    พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึง
    ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

    [๘๗] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง เราและพวกเธอ
    จึงท่องเที่ยวไปในชาตินั้นๆ สิ้นกาลนาน
    เราได้เห็นอริยสัจ ๔ เหล่านั้นแล้ว
    เราถอนตัณหาอันจะนำไปสู่ภพเสียได้แล้ว
    มูลแห่งทุกข์เราตัดได้ขาดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี ดังนี้ ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=1888&Z=3915
     
  13. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    ขออนุญาตประกาศจิตบุญดวงที่ ๑๓๕ ณ วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๖

    ขอท่านทั้งหลายจงโมทนา
    กับจิตบุญดวงที่ ๑๓๕
    ของกลุ่มจิตบุญเทอญ
    สาธุ สาธุ สาธุ


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มีนาคม 2013
  14. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    วันนี้วันพระ คุณอ๊อด วีรพันธุ์ (แฟนน้องปุ้ย จิตบุญ 131) เป็นลูกศิษย์ครูก้อง และครูลูกพลังค่ะ
    สำเร็จวิชาจิตเกาะพระเป็นจิตบุญน้องใหม่ล่าสุดดวงที่ 135 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2556

    คุณอ๊อด เป็นอีกหนึ่งผลงานจากการจัดอบรมจิตเกาะพระครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 16 พย. 2555 ที่ผ่านมาค่ะ

    โมทนาสาธุ กับคุณอ๊อด และครูผู้สอนทุกท่านค่ะ

    ขอเชิญครูผู้สอน มาบอกเล่าการฝึกจิตเกาะพระเป็นธรรมทานด้วยค่ะ

    อีกทั้งขอเชิญคุณอ๊อด มารายงานตัวบนกระทู้กับท่านพี่ภู และครูทุกท่าน พร้อมบอกเล่าถึงการฝึกจิตเกาะพระของตนเองพอสังเขป เพื่อเป็นธรรมทานให้ทุกท่านได้โมทนาบุญกันด้วยน่ะค่ะ

    สาธุค่ะ

    ครูเกษ จบ.52
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มีนาคม 2013
  15. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    ขออนุญาตนำส่วนหนึ่งของการบ้านฉบับสุดท้ายของคุณอ๊อดขึ้นกระทู้ เพื่อเป็นธรรมทานน่ะค่ะ ขอย้ำว่า..นี้คือ ส่วนหนึ่งเท่านั้นจริงๆ ค่ะ อิๆๆ (ท่านเขียนไว้ยาวมากกกก):cool:

    ..ด้วยความที่จิตเห็นและรู้ด้วยปัญญาว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นี้มันมีแต่ปัญหา ปัญหาอันเกิดคนที่สร้างขึ้นมา ปัญหาเหล่านั้นกระทบ สร้างความไม่สบายแก่กายและจิต ทำให้จิตเองรู้สึกว่าการเกิดมานั้นเป็นทุกข์ ไม่สิ้นสุด ซึ่งจริง ๆ แล้วทุกข์นั้นก็เกิดจากอุปาทานขันธ์ ห้าทั้งสิ้น ดังนั้นเราเกิดมา ก็ไม่มีอะไรที่เป็นของเราเลย ไม่ว่าจะกายหรือจิต และของทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง ย่อมเกิดการเสื่อมสลาย ดับสูญตามเวลาของมัน แล้วอย่างนี้จะให้รู้สึกว่ายังจะมีอะไรให้จิตต้องไปยึดติดอีกหรือ เมื่อยึดติดแล้วเกิดเป็นทุกข์ ดังนั้นสู้ปล่อยวางเสียดีกว่าจะได้ไม่เป็นทุกข์ การที่จิตปล่อยวางจากความรู้สึก จากรูป หรือไม่ใช่รูป ที่เคยยึดติดทำให้เกิดความรู้สึกเบา ว่าง โปร่ง นี้คืออารมณ์ที่สัมผัสได้ภายในแบบไม่มีอะไรต้องกังวลเหมือนเมื่อก่อน เพราะเรารู้ดีว่าสุดท้ายความเที่ยงคือความตาย เพียงแค่รอเวลา ซึ่งอาจเร็ว ช้าก็มิอาจทราบได้ แต่ก็พร้อมทุกเมื่อ เพราะนี้คือความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องเจอทุกคน

    ถ้าถามว่า สภาวะของจิตที่ปฏิบัติมาถึงขณะนี้นั้น อยู่ระดับไหน คงไม่สามารถบอกได้ เพราะมันคือนามธรรม แต่คงเทียบเคียงกับสังโยชน์ ได้ว่า ตัดได้ กี่ข้อ มากน้อยแค่ไหน นะครับ

    ศีลห้า รักษาได้ครบทุกข้อเป็นปกติ และเป็นพันธะสัญญาทางจิตที่ต้องปฏิบัติครับ ครับ
    เทียบกับสังโยชน์ 10 ประการ ตัดได้ข้อใดบ้างเอาใจวัดว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ถ้าลังเลสงสัยให้ลงว่าไม่ผ่านไว้ก่อน

    1. สักกายทิฏฐิ(มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา)
    ผ่านครับ ร่างกายนี้อันคือขันธ์ห้า ไม่ใช่ของเรา เพราะเราควบคุมอะไรสักอย่างไม่ได้เลย ทุกอย่าง มีการเกิดดับตลอดเวลา ดังนั้นไม่มีอะไรที่จะยึดมั่นถือมั่นได้เลย และร่างกายนี้ก็ไม่น่าหลงใหล มีแต่ความสกปรก โสโครก ทุกคนก็ต้องตาย

    2. วิจิกิจฉา(มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัยคือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์)
    ผ่านครับ จิตผม ไม่สงสัย ไม่ลังเล เพราะจิตมันพิสูจน์ รู้แจ้งด้วยปัญญาแล้วว่า พระรัตนตรัยเป็นสิ่งที่จิตจับต้องได้ รู้ได้ ด้วยการปฏิบัติ และจากการศรัทธาอย่างแรงกล้า

    3. สีลัพพตปรามาส(ลูบคลำศีล ไม่ตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์)
    ผ่านครับ ผมตั้งใจรักษาศีลจริงครับ เพราะจิตตั้งมั่นแล้วที่จะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง คือกลับสู่นิพพาน ไม่ขอเกิดอีกในชาติภพนี้

    4.กามฉันทะ (มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์ )
    ผ่านครับ ความหมกมุ่นมันได้หายไปแล้ว ตั้งแต่จิตมันรู้ว่ากามารมณ์นี้ ไม่น่ายินดี ไม่น่าปรารถนา มันคือของร้อน ที่จิตไม่ควรยึดติด หลงใหล
    ความพอใจในกามคุณ คือ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ เป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ ไม่น่าหลงใหล มีแต่จะหน่วงรั้งจิตให้เกิดกิเลส ต้องกำจัด
    และจิตก็ไม่ต้องการ

    5.พยาบาท (มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ )
    ผ่านครับ อารมณ์ พยาบาท ไม่มีครับ เพราะมันคือไฟตัณหาที่จะคอยแผดเผาจิตให้เป็นทุกข์ ดังนั้นไฟกองนี้พึงดับเสีย พึงไม่รับไว้ในจิต พึงให้เมตตาเพื่อลดความพยาบาท

    6.รูปราคะ (ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน )
    ผ่านครับ เพราะมันเกิดได้ ก็ดับได้ ดังนั้นก็ไม่น่ายึดมั่น เพราะสุดท้ายแล้วนิพพานไม่ได้ยึดมั่นในสิ่งใดเลย มีแต่ความว่าง

    7.อรูปราคะ (ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน คิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฎฎะ )
    ผ่านครับ เช่นเดียวกับอรูปคะ นี้คือแค่ทางผ่านไปนิพพาน ดังนั้นจิตไม่ควรยึดมั่น หรือหลงใหล

    8.มานะ (มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี )
    ผ่านครับ แม้ตัวตนนี้ยังมิใช่ของเรา และการถือตัวถือตนเป็นต้นตอของความทุกข์ จิตใจเราพร้อมในการเมตตาปรานี
    ไม่ถือตน คนอื่นเขาจะมีฐานะเช่นใดก็ช่าง ถือว่า เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกัน

    9.อุทธัจจะ (มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล)
    ผ่านครับ จิตรักษาระดบอารมณ์ในสภาวะปกติ ไม่ฟุ้งซ่านได้ ด้วยเหตุผลมีสติคอยควบคุม ไม่ให้คิด ส่งจิตออกนอก

    10.อวิชชา (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง )
    ผ่านครับ ฉันทะ กับ ราคะ ทั้งสองนี้เป็นอารมณ์ของ อวิชชา ถือว่าเป็นความโง่

    ฉันทะ คือการพอใจในการเกิดเป็นมนุษย์ เทพ พรหม ด้วยเหตุที่มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ทั้ง 3 ภพนี้ ไม่เป็นที่หมายของเรา คือยังเป็นแดนของความทุกข์ เทวโลก พรหมโลกเป็นแดนของความสุขชั่วคราว เราไม่ต้องการ ต้องการจิตเดียวคือ พระนิพพาน คือหลุดพ้น ไม่กลับมาเกิดอีก

    ราคะ คือการมีความยินดีในสมบัติของโลกด้วยอารมณ์ใคร่ในกิเลส ด้วยจิตเห็นแล้วว่า ไม่มีอะไรเลยที่เป็นของของเรา ดังนั้น เราจะยินดีในสิ่งนั้นไปทำไม เพราะสุดท้ายแล้วเราก็ตาย จะไปยินดีหลงใหลในสมบัติทำไม เพราะตายแล้วก็เอาไปไม่ได้เลย

    สังโยชน์ ทั้งสิบข้อ โดยภาพรวมถือว่าตัดได้ในระดับหยาบถึงละเอียดปานกลาง แต่ในขั้นที่ละเอียดสุดก็คงต้องอาศัยเวลา พัฒนาจิตเพื่อกำจัดสังโยชน์ขั้นละเอียดต่อไปเพราะมันคือ กิเลสเครื่องยึดเหนี่ยวจิต ต้องกำจัดไม่ให้มันมาเหนี่ยวรั้งจิตให้เกิดกิเลสสะสม จิตคงต้องบำเพ็ญภาวนาต่อไปทั้งในส่วนของสมถและวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อสร้างกำลังของจิตและฌาน ให้เกิดปัญญารู้แจ้ง สว่างของจิต เพื่อให้เกิดความว่างในจิต
     
  16. Patcharawan

    Patcharawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +3,980
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=BAXrR_MTolo]จำอวดหน้าม่าน ตอนเล่าสู่กันฟัง. - YouTube[/ame]
    เอ้า มาหัวเราะกันหน่อยจ้า...(deejai)
     
  17. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ขออนุโมทนา กับ จิตบุญดวงที่ ๑๓๕ คือ คุณอ๊อด และครูผู้สอน คือ ครูลูกพลังและครูก้อง ขอร่วมกล่าวคําอนุโมทนาสาธุ กับท่านที่ได้แนะนําพาดวงจิตลูกศิษย์ให้ได้เจอกับทางที่จะเดินไปด้วยการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น และขอให้ทุกๆท่านจงเจริญในธรรมของท่านยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ:cool::cool::cool:
     
  18. Patcharawan

    Patcharawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +3,980
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=SpFp5FfPcpE]เพลงฉ่อยแบบยาวๆ เต็มๆ ครับ - YouTube[/ame]
    ฟังแบบรวมมิตรดีกว่า... เวลาขำอย่าลืมหายใจละกัน... เอิ๊กกกกกๆๆๆๆ..
     
  19. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โมทนาสาธุสาธุกับคุณอ๊อดและครูผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยครับ
    งานเบื้องบนหยุดไม่ได้ นอกจากความตายเท่านั้น ที่จะหยุดจะต้องเดินต่อไป ปัญหาไม่มี ไม่มีปัญหา ไม่ต้องการยอด
    ต้องการจิตคุณภาพ เท่านั้น
    ผู้ใดจิตพร้อมก็ส่งต่อเบื้องบนต่อไป ส่วนที่เหลือเป็นหน้าที่เจ้าของจิตที่จะต้องขยันทรงอารมณ์จิตยกเอง
    และหมั่นเจริญสติภาวนาไปจนกว่าละขันธ์
    จิตเกาะพระ มีหน้าที่แค่เบื้องล่าง คือโลกมนุษย์ที่นี่รับรองแค่ชั่วคราว เท่านั้น เพราะผู้ที่จะทำหน้าที่รับรองดวงจิตมนุษย์ก็คือ
    พระพุทธเจ้า พระองค์ใดก็ได้ หรือครูบาอาจารย์ที่เป็นสายบุญของท่าน
    ท่านจะมาร่วมโมทนาในความฝันหรือนิมิตหรือในฌาน เป็นต้น

    ที่นี่ทำเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น มิได้ทำเพื่อตนเองหรือผู้ใด
    ที่นำพยายามแแนะนำให้ออกจากทุกข์ด้วยปัญญาของตนเอง ตามพระพุทธองค์ หรือครูบาอาจารย์ของพวกเรา
    ทำไปๆ พวกเราที่นี่ไม่ต้องการสิ่งตอบแทนใดๆ พวกเราทำตามกำลังที่มีอยู่ทำด้วยใจฯ

    ขอขอบใจครูเกษและครูผู้ที่เกี่ยวข้องมากๆ แทนจิตบุญทุกๆท่าน
     
  20. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โรคอื่นหมอยังพอรักษาหายได้
    แต่โรคกิเลสหรือโรคกรรมของคนเรา หมอก็หมอ เห่อ เสร็จทุกราย
    ตัวคุณหมอเอง ก็ยังตั้งหน้าตั้งตาปลดเปลื้องกิเลสแห่งตนเลย

    การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ก็คือ ต้องแก้ที่ต้นเหตุ และต้องแก้ด้วยสติปัญญาของตนเองด้วย
    ส่วนกรรมดีเราจะไม่กล่าวถึง แต่จะขอกล่าวกรรมที่ไม่ดี
    กรรมไม่ดีในครั้งอดีต เราหรือใครก็แก้ให้กันไม่ได้ เพราะไม่ใครหนีพ้นกฎแห่งกรรมไปได้
    เห็นมีแต่ แก้ไขจากหนักให้เป็นเบา

    แต่วิธีทางพุทธ แก้ด้วยเจริญพระกรรมฐาน หรือปฎิบัติธรรม ก็คือ แก้ที่ต้นเหตุแห่งทุกข์
    นั่นก็คือ ต้องแก้ไขที่จิตใจของผู้นั้น คืออยู่ปัจจุบันให้ดี
    หมายถึง ละชั่ว ทำดีฝ่ายเดียว เพื่อจะหนีกรรมไม่ดีในครั้งอดีต นั่นเอง

    เพราะฉะนั้น ถ้าใครได้มาปฎิบัติธรรมหรือมาเดินตามพระพุทธองค์แล้ว
    จะต้องเรียนรู้+เข้าใจธรรม และนำจิตเข้าถึง ก็จะยิ่งดีมาก
    เช่น อริยสัจ๔ กฎไตรลักษณ์ อริยมรรค(๑ใน๔ของอริยสัจ๔) เป็นต้น
    ก็พอเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร หรือจะเข้าใจทุกข์ เข้าใจตนเองและผู้อื่นทันที

    คนส่วนใหญ่ที่มักไม่ค่อยจะเข้าใจผู้อื่น เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น นินทาผู้อื่น รังแกผู้อื่น เป็นต้น
    เป็นเพราะว่า เรายังเข้าไม่ถึงธรรมะ ยังไม่เข้าใจกิเลสตนเองหรือไม่เข้าใจตนเอง
    ไม่พากันรักษาศีล ไม่ทำภาวนา ทั้งสติทั้งจิตของเราก็เลยเดินหลงทางไปนิดหน่อย
    เพราะเราไม่เข้าใจตนเองเป็นหลัก ตนก็คือ ขันธ์๕ หรือร่างกายตนเอง นี่เอง
    เรื่องที่มันดูยุ่งเหยิงและวุ่นวาย มิใช่ผู้อื่นหรือโลก แต่ตัวเราต่างหากเล่า!
    ในเมื่อเรายังไม่ค่อยจะเข้าใจตนเองเลย แล้วเราจะไปเข้าใจผู้อื่นได้อย่างไร
    แถมมีแต่คอยจะให้ผู้อื่นมาเข้าใจตนเองอีก มันยากส์!

    เรียนรู้ภายนอกหรือรูปลักษณ์ภายนอก ยังพอไหว เพราะมองเห็นด้วยตาเปล่า
    แค่รูปลักษณ์ มีตัวตน พวกเรายังเรียนรู้ยังไม่หมดเลย นับประสาอะไรจะไปเรียนรู้เรื่องนาม

    กิเลสตัณหาอุปาทาน สติ จิต สมาธิ ปัญญาของเรานี้ เป็นนาม
    แต่การเรียนรู้เรื่องนามนั้น เราจะต้องเอานามไปดูนาม
    แต่มีปัญหาอยู่ว่า เราจะเอาอะไรไปเรียนรู้ คำว่า นาม กันหล่ะ
    มีอยู่ตัวเดียว นั่นก็คือ สติ

    คนเรามีสติปัญญาเท่าเทียมกันหมด ไม่มีผู้ใดเสียเปรียบกัน
    ยกเว้นผู้ที่มีความผิดปกติทางสมอง เรียนไม่ได้
    คราวนี้วกกลับมาเข้าเรื่องเลย นั่นก็คือ การเจริญสติภาวนา จากกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง
    มีอยู่หนทางเดียวที่เราจะออกจากทุกข์ของตนเองได้ เพราะความทุกข์นั้นเกิดที่จิตใจ
    อยู่ๆเราจะไปตามหาจิตตนมันก็ยาก พระพุทธองค์ท่านถึงมีกรรมฐานให้พวกเราฝึกกัน
    เพราะเมื่อเราเจริญสติแล้ว จิตจะนิ่ง และจิตนิ่ง ก็คือ จิตเป็นสมาธิ
    เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว จิตก็มีปัญญา และตัวปัญญานี้จะช่วยให้จิตแยกแยะดีหรือชั่วได้เอง
    ยิ่งจิตเขาได้เรียนรู้อริยสัจด้วยแล้ว ก็คือ ความจริงอันประเสริฐที่
    เมื่อจิตเขารู้และเข้าใจความจริงธรรมชาติของจิตเอง และจิตจะเป็นผู้ทำหน้าที่ปล่อยวางเอง
    เมื่อจิตปล่อยวางกับทุกสรรพสิ่งหรือรูปนามสมมุตติได้ เราก็เลิกทุกข์
    หรือ ออกจากทุกข์ตนเองกันได้ เมื่อนั้น

    ขอเอาใจช่วยผู้ปฎิบัติธรรมทุกท่าน หรือผู้ที่กำลังออกทุกข์ตนเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...