ธรรมา อนัตตา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิริยะ13, 16 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. วิริยะ13

    วิริยะ13 สติเป็นโล่ห์ ปัญญาเป็นอาวุธ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    3,003
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,554
    ค่าพลัง:
    +12,629
    ธรรมเปรียบเหมือนแพ

    พระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม 4 มัชฌิมนิกาย
    มูลปัณณาสก์ อลคัททูปมสูตร

    [๒๘๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล พบห้วงน้ำใหญ่
    ฝั่งข้างนี้น่ารังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า ฝั่งข้างโน้มเกษม ไม่มีภัย ก็แหละเรือ หรือสะพานสำหรับข้าม
    เพื่อจะไปสู่ฝั่งโน้น ไม่พึงมี บุรุษนั้นพึงดำริอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่ แลฝั่งข้างนี้น่ารังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า

    ฝั่งข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละเรือ หรือสะพานสำหรับข้าม เพื่อจะไปสู่ฝั่งโน้น ย่อมไม่มี ถ้ากระไร
    เราพึงรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นแพ แล้วอาศัยแพนั้น พยายามด้วยมือและเท้า
    พึงข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี.


    ทีนี้แล บุรุษนั้นรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นแพ อาศัยแพนั้น พยายามด้วยมือและเท้า
    พึงข้ามถึงฝั่งโดยความสวัสดี บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งได้แล้ว พึงดำริอย่างนี้ว่า แพนี้มีอุปการะแก่เรามากแล
    เราอาศัยแพนี้พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า ข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี ถ้ากระไร เรายกแพนี้ขึ้นบนศีรษะ
    หรือแบกที่บ่า แล้วพึงหลีกไปตามความปรารถนา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่ากระทำถูกหน้าที่ใน
    แพนั้นบ้างหรือหนอ?

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นชื่อว่าทำไม่ถูก พระเจ้าข้า

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษนั้นกระทำอย่างไร จึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ในแพนั้น?
    ในข้อนี้ บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งแล้ว พึงดำริอย่างนี้ว่า แพนี้มีอุปการะแก่เรามากแล เราอาศัยแพนี้ พยายาม
    อยู่ด้วยมือและเท้า จึงข้ามถึงฝั่งได้โดยสวัสดี ถ้ากระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นวางบนบก หรือให้ลอยอยู่ในน้ำ
    แล้วพึงหลีกไปตามความปรารถนา.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นกระทำอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่ากระทำถูกหน้าที่ในแพนั้น แม้ฉันใด.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ..
    เราแสดงธรรม มีอุปมาด้วยแพ เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการยึดถือ ฉันนั้นแล
    เธอทั้งหลายรู้ถึงธรรมมีอุปมาด้วยแพ ที่เราแสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย
    จะป่วยกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า


    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 กุมภาพันธ์ 2013
  2. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    พิจารณาคำว่า "ธรรมทั้งหลาย" ทั้งหลายอย่างไร


    1. ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ

    2. ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า

    3. ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตน

    4. ธรรมทั้งหลายไม่พึงยึดมั่นถือมั่น


    --> ธรรมทั้หลายในข้อ1.ไม่จัดเอาอสังขตธรรมเข้าไปด้วย เพราะอสังขตธรรม แปลว่า สิ่งที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความหมายกว้าง ๆ ของคำ ๆ นี้ก็คือ สิ่งที่เกิดและดำรงอยู่ได้โดยตัวของมันเอง ไม่มีผู้สร้างและไม่มีสาเหตุทำให้มันเกิด เมื่อมันดำรงอยู่ดำรงอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสิ่งอื่น "ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ" ในที่นี้จึงหมายเอา สังขตธรรม ไม่รวม อสังขตธรรม นั่นเอง แต่ท่านก็ใช้คำว่า "ธรรมทั้งหลาย" นะครับ

    --> ธรรมทั้งหลายในข้อ 2.ต้องมาพิจารณาอีกว่า เข้าได้กับอสังขตธรรมหรือไม่ เพราะ ใจ ในที่นี้ ถ้าเป็นสังขตธรรมย่อมมีใจเป็นหัวหน้าได้ นั่นคือสังขารธรรม เพราะ ใจเกิดแต่เหตุ แต่ อสังขตธรรมไม่เกิดแต่เหตุ "ธรรมทั้งหลาย" ในที่นี้จะรวม อสังขตธรรมได้หรือ..?

    --> ธรรมทั้งหลายในข้อ 3.ก็ธรรมก็อย่างหนึ่ง ตนก็อย่างหนึ่ง ธรรมจึงไม่ใช่ตน ตนจึงไม่ใช่ธรรม นี่ก็ว่าตามสำนวนภาษาอย่างนี้ก็ว่าได้

    ก่อนที่จะทรงตรัสว่า "ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตน" ทรงตรัสเต็มๆ ว่า "สัพเพ สังขารา อนิจจา สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ" บท "สัพเพ ธัมมา อนัตตา"นั้น พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อตรวจสอบธาตุธรรม และพบว่าทุกธาตุธรรมที่
    เป็นสังขตธาตุ สังขตธรรมล้วนเป็นอนัตตา และบทสัพเพ ธัมมา อนัตตา ล้วนเป็นตอนต้นเมื่อพระ
    พุทธองค์พูดถึงเรื่องขันธ์ 5 และสังขาร เท่านั้น ตัวอย่าง

    "สัพเพ สังขารา ทุกขา สัพเพ สังขารา อนิจจา สัพเพ ธัมมา อนัตตา"

    รูปัง อะนิจจัง, เวทะนา อะนิจจา, สัญญา อะนิจจา, สังขารา อะนิจจา, วิญญาณัง อะนิจจา, รูปัง อะนัตตา, เวทะนา อนัตตา, สัญญา อะนัตตา, สังขารา อะนัตตา, วิญญาณัง อะนัตตา, สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ,

    ธรรมทั้งปวงอนัตตา เช่นนี้ก็ทรงกล่าวให้ไม่ไปยึดถือในสังขารธรรมที่ทรงตรัสก่อนหน้านี้ จึงทรงสรุปว่า ธรรมทั้งหลาย(ที่ทรงตรัสในเรื่องสังขารนี้)ไม่ใช่ตน สำคัญคือเราไปตีความเพิ่มเติมไปเองยัดใส่อะไรๆ เกินจากพุทธประสงค์เข้าไปอีกหรือเปล่านั่นเอง



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
    มหาวรรค ภาค ๑

    โสตเป็นของร้อน เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ...
    ฆานะเป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน ...
    ชิวหาเป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็นของร้อน ...
    กายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน ...
    มนะเป็นของร้อน ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=1124&Z=1215

    อย่างนี้จะหมายเอา อสังขตธรรมเป็นของร้อนด้วยหรือไม่..?


    --> ธรรมทั้งหลายในข้อ 4.นี้น่าจะช่วยยุติข้อสงสัยได้ เพราะแม้จะเห็นต่างกันอย่างไรในประเด็น "ธรรมทั้งหลาย" ก็ควรพิจารณาเพื่อความปล่อยความยึดถือในทิฏฐิทั้งปวงซึ่งเป็นประโยชน์ต่อมรรคผลนิพพาน นั่นก็คือ "ธรรมทั้งหลายไม่พึงยึดมั่นถือมั่น" นั่นเอง



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=1183&Z=1203


    [๙๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่ง
    ซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือหนอแล ฯ
    พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชา
    ย่อมเกิดขึ้น มีอยู่ ฯ
    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ
    อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น เป็นไฉน พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่ง คือ อวิชชาแล ซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ
    อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ฯ
    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุรู้อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงละ
    อวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น
    เธอย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรม
    ทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมเห็นนิมิตทั้งปวงโดยประการอื่น คือ
    เห็นจักษุโดยประการอื่น เห็นรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา
    หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น ฯลฯ
    เห็นใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา
    หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น
    ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงละอวิชชาได้ วิชชา



    สุดท้ายขอเสนองานวิจัยที่ควรศึกษาในเรื่องที่มาของภาษา เพื่อเราจักได้มีมุมมองในการวินิจฉัยอรรถวินิจฉัยธรรมได้กว้างขวางยิ่งขึ้นนะครับ

    อ่านงานวิจัยได้ที่นี่ http://www.mcu.ac.th/userfiles/file/สารนิพนธ์2538-2552 มจร/255023.pdf
     
  3. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419

    ธรรมเปรียบเหมือนพวงเเพ บุุคคลไม่ควรยึด. เเต่ถ้าหากบุรุษรวบรวมกิ่งไม้ใบไม้ไว้ เเต่เค้ายังไม่ทันได้ประกอบเป็นเเพ ก็เอามือเเละเท้าทั้งหลายทำให้กระจายไปเสีย เเล้วเเบบนี้เค้าจะข้ามห้วงน้ำได้อย่างไร ผู้ที่จะข้ามห้วงน้ำได้ก็ต้องประกอบเเพให้ได้ก่อนเเล้วถึงนำไปใช้ข้ามห้วงน้ำ เมื่อถึงฝั่งเค้าถึงจะปล่อยเเพไป ไม่ใช่นำขึ้นฝั่งไปด้วย ฉนั้นถ้าเกิดยังไม่ถึงฝั่งกำลังลอยคออยู่กลางน้ำ เเต่เข้าใจผิดว่าเราสามารถข้ามได้โดยไม่ต้องใช้เเพ เเล้วกระโจนลงน้ำไป นั้นก็อาจจะหมายถึงจุดจบของเค้าก็เป็นไปได้
     
  4. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    หยุดธรรมดำ คือหยุดทำชั่วทั้งหมด ด้วยกาย วาจา ใจ
    บำเพ็ญธรรมขาว ทำดีทุกอย่าง ด้วยกาย วาจา ใจ
    ล้างใจ ให้ใส ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา (ไม่ให้มีทั้งขาว ไม่ให้มีทั้งดำ มีแต่ความใส บริสุทธิ์ )

    ตามความหมายที่กล่าวมา เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
     
  5. chuchart_11

    chuchart_11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +2,932
    ขออนุโมทนาสาธุ ธรรมใดที่ท่านสำเร็จแล้ว ขอข้าพเจ้าสำเร็จด้วยเทอญ สาธุๆๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...