** ฉันทะ ** วัตถุมงคล หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อยุธยา **

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ตุ้ย ฉันทะ, 16 พฤษภาคม 2010.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Jopaa

    Jopaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +4,867
    ก็มาเกิดช้าไป..เกิดก่อน แก่ก่อนซิ..จะได้เห็นอะไรเยอะๆ..

    เอางี้..มาแลกกันดี่มั๊ย..พี่อยากกลับไปเป็นอายุ 20 ฟ่าๆ..(ว่ะ +5555)

    :cool::cool::cool:

    จริงๆ..ไม่ใช่อย่างนั้นหรอก..เท่าที่สังเกตุดูน่ะ.

    โดยส่วนตัวแต่ไหนแต่ไร พี่มักมีเรื่องที่ค่อนข้างจะชอบและผูกพันธ์เป็นพิเศษอยู่เพียงสองอย่าง

    หนึ่งเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ พระเครื่อง วัตถุโบราณ เรื่องอะไรที่เกี่ยวกับเก่าๆ (ใหม่ๆเทคโนโลยี่นี้..ไม่เป็น..ไม่ได้เลย ไม่ถูกจริตมากๆ ไม่รู้เป็นไง) และต้องศึกษากันอย่างนักประวัติศาสตร์ พอมีหลักฐานค้นคว้าเทียบเคียงพอแก่การเชื่อกันบ้าง ไม่ได้เชื่อกันแบบหลงงมงาย ประเภทเชื่อต่อๆกันมา

    สองเรื่องเกี่ยวกับภาคปฏิบัติ

    และเรื่องอะไรๆที่ออกจะไปในแนวมหัศจรรย์พันลึก มักไม่ได้เกิดจากข้อหนึ่งน่ะ แต่มักได้พบเห็นเรื่องจริง ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนกัลยาณมิตรในสายธรรม สายปฏิบัติเสียมากกว่า..

    มันออกจะเป็นแนวนั้นมาโดยตลอดครับ

    แต่ไม่ว่าอย่างไร เรื่องพวกนี้อย่าได้พึ่งสนใจมากเลยครับ เดี๋ยวจะหลงทาง หลงอภินิหาร เอาของจริงของแท้กันดีฟ่า..เรื่องพวกนี้บางครั้งมีอะไรแปลกๆเข้ามาบ้าง อย่าไปถือเป็นเรื่องบุญของฉัน บารมีของฉันอะไรเลยครับ จะกลายเป็นกิเลสผิดๆเอา พี่ถือว่าเป็นเรื่อง "ภายนอก" เป็นไปเพื่อกำลังใจนิดๆหน่อยๆบ้างก็เท่านั้น..

    คนทุกวันนี้ติดฤทธิ์ ติดอภินิหารกันมาก ติดการขอกันมาก จนละเลยซึ่ง "อัตตาหิ อัตโนนาโถ" ลงทุกวัน ภาคปฏิบัติจริงจึงไม่ก้าวหน้า ไม่ค่อยจะเอาไหน

    ปฏิบัติไปเพื่ออะไร เพื่อหวังบุญกุศล เพื่อหวังความวิเศษเห็นนู้นเห็นนี่หรือ..ก็เป็นอันผิดทางผิดแนวทั้งสิ้น..

    การปฏิบัติทั้งหมดมีวัตถุประสงค์เพียงข้อเดียว คือ ก็เพื่อให้จิตใจสงบ พอที่จะให้มี "สติ "แก่การวินิจฉัยว่า สิ่งใดเป็นสิ่งดี สิ่งใดเป็นสิ่งไม่ดี สิ่งใดควรละ สิ่งใดควรทำไม่ทำ ซึ่งก็คือการใช้ปัญญารบราฆ่าฟันกับกิเลสตั้งแต่อย่างหยาบ อย่างกลาง ละเอียด ค่อยๆละๆกันไปที่ละข้อ ที่ละน้อย ซึ่งก็ไม่ใช่กิเลสของใคร ของตัวเองนั่นเอง การเอาชนะซึ่งกิเลสในแต่ละชนิดได้ ก็คือ การเอาชนะใจตนเองได้ ผลที่ได้ก็ได้กับตัวเอง ไม่เห็นจะมีใครได้ผลบุญตามไปกับเราด้วย มีเพียงข้อนี้ข้อเดียวเท่านั้นในภาคปฏิบัติที่เห็น นอกนั้นไม่เห็นมีอะไร มีแต่สิ่งมาหลอกๆพาให้หลงทางทั้งสิ้น


    สิ่งภายนอกทั้งหลายทั้งปวง นอกจากเรื่อง " จิต" แล้ว...ไม่ทำให้พ้นทุกข์ไปได้..

    ตราบใดจิตตนยังไม่ได้ก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งโลกุตรธรรม..จงดำเนินไปตามปกติแห่งโลก ปกติตามที่เขามีมา โลกไม่ให้ช้ำ ธรรมไม่ให้ขุ้น..วางจิตสบายๆ..แล

    ( นานๆหน้านี้..จะเขียนถึงเรื่องธรรมสักที่..จะหนักไปมั๊ยหนอ..)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กรกฎาคม 2012
  2. fulfill

    fulfill Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +93
    พี่โจ....อ่านแล้วมีสติดีค่ะ คนเราถ้ารู้ัจักคำว่า พอและพอคงมีความสุขมากนะค๊ะแต่ตัดกิเลสไม่ได้ซักที
     
  3. Jopaa

    Jopaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +4,867
    คุณลี..ครับ อย่างเราๆท่านๆ ยังไม่มีใครตัดได้หมดหรอก อย่าว่าเอาหมดเลย แค่สัก 1 ในพันในหมื่นส่วน ยังได้ไม่ครบเลย

    แม้ตัวผมเองก็ได้แต่พูดๆไป.. พยายามปฏิบัติไปบ้าง แต่เอาเข้าจริง กิเลสยังเต็มหัวใจ จะอีกกี่ภพกี่ชาติกว่าจะตัดได้ แม้เพียงหนึ่งในร้อยในพันส่วนอย่างที่ควรจะเป็นก็ไม่รู้

    ไม่ต้องเอากิเลสอย่างกลาง กับ ละเอียดหรอกครับ ซึ่งต้องใช้ภูมิแห่งสมาธิเป็นตัวช่วย เพื่อเป็นเครื่องรู้เห็นเล่ห์เหลี่ยมของกิเลสตามความเป็นจริง พอให้รู้เท่าทันตัวกิเลสชนิดยากๆ เพื่อเอาชนะกันได้

    กิเลสอย่างหยาบ ๆ เช่นเราๆท่านๆที่กำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้.. ไม่ต้องใช้ภูมิแห่งวิปัสสนากรรมฐานเป็นตัวช่วยหรอก ใช้ตัวสติสามัญสำนึกธรรมดา อารมณ์ปกติๆประจำวันเรานี่แหละเป็นตัวรู้ ตัวนึกคิดช่วยตัด..เรายังทำกันไม่ได้ ทำกันไม่ครบเลย..

    ก็ได้แต่พยายามทำๆไปน่ะครับ ได้เท่าไรเอาเท่านั้น.. คิดว่ายังดีกว่าไม่พยายามทำ ไม่พยายามตัดอะไรเลย แล้วก็พูดถึงแต่ความหวัง การขอแต่พระนิพพาน เป็นต้น

    เอาแค่กิเลสอย่างหยาบๆนี่แหละ เราละกันได้ครบหมดหรือยัง หรือ เริ่มต้นพยายามที่จะเรียนรู้ พยายามที่จะศึกษาหน้าตาแห่งตัวกิเลสต่างๆ เพื่อการละ เพื่อการเอาชนะให้ได้บ้างแล้วหรือยัง ?..

    หลวงปู่ครูบาอาจารย์ผม ท่านได้เคยสอนเคยกล่าวคำสั้นง่ายๆ แล้วให้ตีความเอาเองว่า..

    เอาแค่ " พรหมวิหารธรรม 4 " นั่นแหละ.. นั่นพอแล้ว.. ทำได้แล้ว.. หรือพยายามทำหรือยัง

    ไม่ต้องเอาอื่นไกล เอาธรรมะยากๆ ภาษาธรรมยากๆอันลึกซึ้งหรอก

    " เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา " นั่นแหละ.. ไปทำดู

    ทำได้เท่าไร..จิตสบาย ผิวกายผ่องใสมากขึ้นเท่านั้น สบายกับตนเอง ไม่มีใครมาสบายกับเราด้วย

    คุณลีได้พบหลวงปู่ ได้ฐานกำลังใจอันยิ่งแล้ว...

    พี่ขออนุโมทนาเป็นอย่างมากน่ะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2012
  4. fulfill

    fulfill Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +93
    ขอบคุณค่ะ ทุกครั้งหรือทุกคำพูดที่พี่โจเตือนสติมีกำลังใจที่จะสู้เสมอขอบคุณจากใจค่ะ
     
  5. sitcrubha2520

    sitcrubha2520 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,585
    ค่าพลัง:
    +784
    ขอบคุณครับ ผมได้อ่านแล้ว รู้สึกมีความสุขครับพี่โจ
     
  6. chatchai4884

    chatchai4884 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +69
    ว้าว...ครบถ้วนกระบวนความเลยครับ สุดยอดครับพี่โจ:cool:
     
  7. Jopaa

    Jopaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +4,867
    หลังจาก 2-3 หน้ามานี่.มีการเขียนอ้างอิงถึงเรื่องธรรม แฝงเข้ามาในหน้าความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องหลวงปู่ดู่กันบ้าง

    จึงมีเพื่อนๆ pm มาสอบถามเกี่ยวกับแนวทางด้านปฏิบัติ ด้านธรรมะกันพอสมควร โดยเฉพาะการปฏิบัติตามแนวทางหลวงปู่ดู่ท่าน

    วันนี้วันอาทิตย์สบายๆ..จึงจะยกบทความหนึ่งขึ้นมา

    ผมต้องขออนุญาตออกตัวก่อนน่ะครับว่า..ผมก็เป็นแค่อีกผู้หนึ่งที่เคยเล่าเรียนปฏิบัติมาบ้าง นิดๆหน่อยๆ และก็เพียงแต่แค่งูๆปลาๆเท่านั้น มิได้เก่ง มีความสามารถ หรือจะบังอาจตั้งตนเป็นอาจารย์ผู้บอกกล่าว ตั้งตนเป็นผู้สอนแต่อย่างใดเลย ก็หาไม่น่ะครับ

    เป็นแต่บางครั้ง ย่อมมีความแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในมุมมองของผมบ้าง

    ซึ่งบางครั้งเรื่องของธรรมะ เรื่องของการปฏิบัตินั่นพูดยาก

    ส่วนใหญ่ปฏิบัติกันได้ไม่ค่อยจะเท่าไรหรอกครับ

    แต่เรื่องการยึดติดนี่..ต้องมากันเป็นอันดับ 1

    อาจารย์ฉันต้องถูก ต้องดี ต้องเก่ง เป็นที่ 1 ใครบังอาจมากระทบกระเทียบ แตะต้องอาจารย์ฉันสักนิดล่ะ..เป็นเรื่อง

    เนี่ยล่ะ..คนเรามักเป็นอย่างนี้ล่ะครับ..เป็นกันทุกหมู่ครูบาอาจารย์ล่ะครับ จะสายไหนๆ แนวทางปฏิบัติแบบไหนก็ตาม

    ประเภทว่า แนวทางฉัน ถูกที่สุด เก่งที่สุด อาจารย์ฉันท่านพระโพธิสัตย์แล้ว ท่านอรหันต์แล้วเป็นต้น..(ไปไหนก็ได้ยินแต่คำนนี้..ทั้งปีเลย..+55555)

    บางครั้งครูบาอาจารย์ท่านเองอาจไม่ว่ากล่าวอะไรเลย..แต่ศิษย์นั่นแหละตัวดี..ร้อนไปหมด ทุรนทุรายไปหมด ทุกสิ่งล้วนเกิดจากความยึดติด ยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง..ยึดติดกับพระพุทธเจ้า อยู่กับธรรมยังไม่เท่าไร แต่ยึดติดเฉพาะกับครูบาอาจารย์ตนเองนี่ซิ..หนักอยู่เหมือนกัน

    ช่วงนี้พอดีได้เขียนอยู่หลายบทความต่อเนื่องกัน เผอิญไปเขียนอยู่อีกกระทู้ที่หน้าแห่งหนึ่ง ที่มีผู้ถามตั้งต้นถาม ไอ้เราก็ดันไปสู้อวดรู้อยู่บ้าง ก็เลยตอบพาลต่อเนื่องไป ซึ่งปกติก็ไม่ค่อยได้เข้าไปเท่าไรหรอกครับที่หน้านั้น ผมได้พิจารณาดูแล้ว จะเป็นบทความที่ถูกต้องหรือไม่ก็ไม่ทราบ ทราบแต่ว่าเป็นบทความที่ผมถอดมาจากความรู้สึกต่อแนวทางปฏิบัติต่างๆ อันเป็นส่วนลึก เป็นตัวตนผมจริงๆ

    ก็ลองๆอ่านกันดูครับ ตำหนิติชมกันมา สำหรับผมยินดีน้อมรับฟังคำติเตียนได้แน่นอน ไม่มีการยึดติดใดๆครับ จิตนี้เปิดการรับกว้างในทุกมุมมองครับ

    บทความที่ 1

    อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ.......
    สอบถามผู้รุ้ครับ ผมเคยนั่งสมาธิภาวณา พุทโธ หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ สมาธิจะกำหนดอยู่ที่ลมหายใจ ทำให้มีสมาธิมุ่งมั่นอยู่ที่ลมหายใจ ผมอยากทราบว่า นั่งสมาธิแล้วภาวนาตามแบบหลวงปู่ ต้องภาวนา
    พุทธัง สรณัง คัจฉามิ

    ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ

    สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
    ภาวนาแบบนี้มีสัมพันธ์กับลมหายใจอย่างไรบ้างครับ คือผมภาวนาตามแบบหลวงปู่ ยังไม่มีสมาธิ รู้สึกสับสนคำภาวนา กับลมหายใจ ทำอย่างไรให้มีสมาธิ ขอรบกวนท่านผู้รู้ชี้แนะแนวทางด้วยครับ










    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    พอดีแวะเข้ามาหน้าของคุณ.... เห็นถามเรื่องการปฏิบัติ ขออนุญาตคุณ... เจ้าของกระทู้ ตอบตามที่ปัญญาอันน้อยนิดพึ่งทราบน่ะครับ

    หลวงปู่ท่านไม่เคยกำหนดกฏเกณฑ์เลยว่า ต้องภาวนาคำว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ..เป็นกฏตายตัว มีแต่จะเน้นย้ำว่า เคยปฏิบัติอย่างไหนมา ถูกจริต ชำนาญแบบนั้นอยู่แล้ว ก็เอาแบบที่เคยเพียร เคยปฏิบัติมา

    นอกจากคนที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน ท่านจึงเริ่มสอนด้วยบทไตรสรณคมณ์ พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ฯ ทั้งนี้โดยความหมายก็เพื่อให้พึ่งระลึกถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งอันประเสริฐ เชื่อมั่นในพระรัตนตรัยเป็นอารมณ์ เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ที่ปฏิบัติบูชาอันสูงสุด เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหลายทั้งปวง

    การปฏิบัติตามแบบฉบับหลวงปู่ ท่านเอาเพียงคำภาวนาเป็นอารมณ์ จะไม่เอาซึ่งการกำหนดลมหายใจควบคู่ไปด้วย ด้วยคำยาวๆ กับลมหายใจเข้า-ออก ย่อมไม่สัมพันธ์กันเป็นปกติครับ

    อนึ่ง..เรื่องของพระกำนั่ง ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่หลวงปู่ท่านพาทำ โดยนัยก็เพื่อให้จิตผู้ปฏิบัติเกิดกำลังใจ ละจากความกลัวต่างๆ เช่น กลัวนั้นกลัวนี่..กลัวเห็นผี กลัวนั่งไปแล้วกลับมาที่เก่าไม่ได้ ตามความเชื่อเก่าๆของคนบางคนที่ไม่เคยปฏิบัติ ต่อเมื่อปฏิบัติพอได้พอเป็นแล้ว หลวงปู่ท่านก็ไม่เคยได้เน้นย้ำเรื่องพระกำนั่งเลย ท่านว่าไม่ให้ยึดติด มีก็ได้ไม่มีก็ได้ ถ้าแกทำได้แล้ว เชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริงๆแล้ว เป็นไม่ต้อง เอาพระในตัวนั่นแหละ หาพระเก่า พระแท้ในตัวให้เจอ

    สุดท้ายสิ่งที่ท่านเน้นย้ำมาโดยตลอดก็คือ..

    "สวดมนต์คือยาทา..ภาวนาก็คือยากิน "


    เอาแค่พอคร่าวๆน่ะครับ สำหรับหลักคำสอนหลวงปู่ตามแบบฉบับเดิม ที่ไม่ผิดเพี้ยนไปตามกาลเวลา.. <!-- google_ad_section_end -->










    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2012
  8. Jopaa

    Jopaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +4,867
    บทความที่ 2



    อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>ข้อความดั้งเดิมโดยคณ......... [​IMG]
    ทำอะไรที่สบายๆนะครับ อย่าไปยึกกับกฏเกณฑ์มากจนเกินไป ครับ ทำใจเราให้นิ่งปล่อยไปตามลมหายใจ มองดูลมหายใจเข้า-ออก ให้สำนึกรู้ว่าเราทำอะไรอยู่ อย่าไปอยากเห็นโน่นเห็นนี่ บางครั้งสิ่งที่เราเห็นน่ะ เราเห็นจริงๆแต่สิ่งที่เห็นนั้นหาใช่ของจริงไม่
    เคยมีคำกล่าวที่ว่า อยากเห็นก็จะไม่ได้เห็น อยากเป็นก็จะไม่ได้เป็น อยากได้ก็จะไม่ได้ บ้างมั๊ยครับ นั่นละมันเป็นตัวกิเลส

    ค่อยๆทำ ค่อยๆนั่ง ดูจิตของเราไปครับ

    เอาเป็นข้อมูลจาก ความคิดเห็นเล็กๆบทนึงนะครับ

    ขออนุโมทนาด้วยนะครับ ยังเป็นเด็กน้อยแต่มีจิตใจใฝ่ในธรรมเช่นนี้ _/I\_




    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    อย่างที่พี่อิฐมอญพูดน่ะครับ..

    การปฏิบัติธรรมสมาธิ คือ ความนิ่ง.. ความเงียบสงบ.. อย่ายึดกฏเกณฑ์ใดมากจนเกินไป จนเกิดเป็นตัวทิฏฐิ ทำทุกอย่างให้เป็นไปตามธรรมชาติ..สบายๆ..

    ยกตัวอย่างเป็นรูปธรรมเช่น ปัจจุบันศิษย์หลวงปู่ฯ นิยมสวดมนต์ "บทบูชาพระ " หรือที่ปัจจุบันมาเปลี่ยนชื่อเรียกกันใหม่ว่า "บทสวดจักรพรรดิ์"

    ความจริงการสวดมนต์เป็นสิ่งดี ทำให้จิตใจเราซึ่งปกติว่องไว วอกแวก หาความสงบ หาความนิ่งไม่ได้ เมื่อจะเริ่มนั่งสมาธิใหม่ๆ บางท่านจึงใช้วิธีระงับอารมณ์ ระงับอาการแส่สร่ายเบื้องต้นด้วยการสวดมนต์เพื่อให้จิตรวม โดยสวดบทต่างๆของหลวงปู่ที่ท่านเคยพาทำ (มีเผยแพร่มากมาย )

    ต่อเมื่อสวดไปได้ระยะหนึ่งแล้ว จิตเริ่มนิ่งตัว.. เริ่มอยากหยุดอาการแห่งการท่อง การพูด การออกเสียงต่างๆ.. จิตอยากอยู่นิ่งๆ..เมื่อนั้นแล้วอย่าฝืน อย่ากำหนดกฏเกณฑ์ว่าต้องทำให้ได้เท่านั้นจบ เท่านี้จบ อันนั้นเป็นสิ่งผิดธรรมชาติ จิตเขาจะลงนิ่งหาความสงบอยู่แล้ว ก็ไปฝืนไปบังคับเขาปลุกเขาขึ้นมา ก็พอดีไม่เป็นอันได้นั่งสมาธิอันเป็นของจริงของแท้เสียที มั่วแต่ไปยึดติดกับกฏเกณฑ์ต่างๆมากจนเกินไป..

    แต่หากวันั้น จิดมันคะนอง แม้สวดไปแล้วหลายๆสิบรอบ จนถึง 108 จบ ถ้าจิตยังไม่เกิดอาการคลายตัว จิตยังไม่อยากสงบ จิตยังสนุกอยู่กับการสวดมนต์ จิตยังไม่เกิดทุกข์จากการสวดมากรอบมากจบจนเกินไป ดูที่จิตตนเอง ถ้าวันนั้นจิตเขาอยากสวดมากๆ ก็ปล่อยเขาสวดไป เอาทุกอย่างที่ความสบายๆแห่งจิต...

    สรุปอย่าฝืนธรรมชาติ.. สบายๆ..ตัวฝืนจะกลายเป็นตัวทุกข์ กลายเป็นตัวทิฏฐิเข้ามาแทนที่ ความสงบในจิตใจ หรือเรียกว่า หลักวิธีหาความสงบเบื้องต้นจากการสวดมนต์

    อนึ่ง..การบำเพ็ญเพียรสมาธิ จิตต้องตั้งมั่น กล้าหาญในธรรม เชื่อมั่นอยู่กับ "อัตตาหิ อัตตโน นาโถ " คือ " ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน " อันนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ต้องท่องไว้ให้ขึ้นใจ เป็นปกติอารมณ์ เป็นทางสายหลักแห่งธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเน้นย้ำ หลวงปู่ดู่ท่านไม่เคยสอนอะไรเกินกว่าธรรม เกินกว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนเลย

    ปัจจุบันนักปฏิบัติสายหลวงปู่ฯ เริ่มออกนอกแนวกันอยู่บ้าง อะไรเล็กน้อยก็ขอให้หลวงปูช่วย. อะไรๆก็ขอๆๆๆ.. แม้แต่นักปฏิบัติบางท่าน...

    " ลัทธิการขอเป็นลัทธิของชาวฮินดู " การสวดมนต์อ้อนวอนต่างๆ ต่อเนื่องในระยะเวลายาวนานเป็นเดือน เป็นปี หลายๆปี ก็เพื่อให้เทพเจ้าเห็นใจ เห็นในความสัตย์ชื่อแห่งตนที่เพียรขอ ดลบันดาลให้เป็นไปตามที่ร้องขอ / ศาสนาพุทธมิได้เป็นเช่นนั้นเลย พระพุทธองค์ทรงเห็นความหลงผิดหลงเชื่อเช่นนั้น จึงละเสีย ศาสนาพุทธแตกต่างจากศาสนาอื่นก็ตรงนี้.. ตรงที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้ละจากการขอ มาเป็นการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ

    เมื่อจิตที่หวังแต่การขอพึ่งพิง การขอให้ช่วยเหลือ ให้ดลบันดาลเป็นไปต่างๆ โดยละเลยซึ่งการพึ่งพาตนเอง ขาดความกล้า ความห้าวหาญในธรรม เมื่อจิตอ่อนแอเช่นนั้น ความมุ่งมั่นที่จะต่อสู่กับตัวอาสวะกิเลสทั้งหลายทั้งปวงซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดก็หมดลง กลายเป็นจิตที่อ่อนแอ อ่อนพลัง ไปสู่เป้าหมายปลายทางมิได้..

    นักปฏิบัติหลายๆท่าน แม้ปฏิบัติมานานหลายสิบปี มั่วแต่หลงทาง ที่สุดก็ยังไม่ไปไหน ไม่ได้สัมผัสซึ่งอารมณ์แห่งความสงบที่แท้จริง เพราะจิตมั่วแต่ไปติดกับการขอๆๆๆๆ..ขาดความกล้า การช่วยเหลือตัวเอง เช่นนี้แล้ว..หลวงปู่ท่านไม่สนับสนุนผู้ขาดความกล้าในธรรม..เช่นนี้แล





    หลวงปู่ท่านมักพูดเสมอว่า.."เพราะพวกแกมันยังเชื่อไม่จริง " (เชื่อในคุณแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ )<!-- google_ad_section_end --> <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>



    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) --><!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2012
  9. Jopaa

    Jopaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +4,867
    บทความที่ 3

    อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ................. [​IMG]
    คือพี่ๆจะหมายถึงให้กำพระ หลับตานิ่งๆเฉยๆ ไม่ต้องพูด ท่อง หรือคิดอะไรใช่ไหมครับ





























    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    การปฏิบัติธรรมสมาธิ โดยหลักการเราแบ่งเป็น สมถกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน

    สมถกรรมฐาน คือ ไปให้ถึงซึ่งความสงบ ไปถึงซึ่งฐานจิตเดิม เราเรียกระดับความนิ่งของจิตในแต่ละขั้นว่า อุปจารสมาธิก็ดี อัปปนาสมาธิก็ดี หรือจะเรียกเป็นญาณ 1 2 3 4 หรือเท่าไรก็ดี ก็แล้วแต่จะเรียก แล้วแต่สำนัก เราอย่าไปให้ความสำคัญกับชื่อสมมุติมากนัก

    วิปัสสนากรรมฐาน คือ การละจากสมถเข้าสู่การใช้ "ปัญญา "ขบคิดใคร่ครวญถึงเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดทุกข์ เราเรียกตัวเหตุเหล่านั้นว่า " กิเลส " การใช้ปัญญาฆ่าฟันกับกิเลสให้ชนะ เป็นระดับขั้นๆไป ตั้งแต่เอาชนะได้ซึ่ง กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง จนถึงละเอียด การเอาชนะได้ซึ่งกิเลสแต่ละชนิด ชนะได้ก็คือ ความหลุดพ้นจากพันธนาการเดิม เกิดความสบายจิตสบายใจ ค่อยๆหลุดออกจาก ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น เมื่อละความอยากเหล่านี้ได้ ใจก็ไม่เกิดทุกข์ หรือ จากปกติเดิมๆทุกข์มันไปซะทุกเรื่อง ก็ค่อยๆคลายตัวลง ไม่ยึดติด ปลดทุกข์ไปได้ที่ละเปราะ ก็เกิดความสบายอกสบายใจแก่ตนเองมากขึ้น

    หากท่านเคยปฏิบัติแนวทางอื่นมาบ้างแล้ว เช่น ภาวนาพุท-โธก็ดี , สัมมา-อรหังก็ดี, ยุบหนอ-พองหนอก็ดี จะภาวนาแต่คำเฉยๆก็ดี, ภาวนาควบคู่กับการกำหนดดูลมหายใจเข้า-ออกก็ดี (อานาปานสติ) เมื่อปฏิบัติแล้วเกิดความชำนิชำนาญ ถูกจริต รับรู้ได้ถึงความสงบ ก็เลือกตามแนววิธีที่ท่านเคยดำเนินมา ทุกวิธีดีทั้งนั้น..

    แต่หากปฏิบัติตามวิธีขั้นต้นแล้ว จิตยังแสสร่าย ไม่นิ่ง หรือ ท่านเป็นผู้ไม่เคยปฏิบัติธรรมสมาธิมาก่อนเลย และอยากลองปฏิบัติตามแนวทางหลวงปู่ดู่ท่านดู ก็ให้กำหนดเอาคำ ไตรสรณคมณ์ คือคำว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจจามิ เป็นคำในการภาวนา

    ให้ท่องอยู่ในใจเบาๆช้าๆ..เป็นจังหวะจะโคน จิตตามดูคำภาวนาไว้ เมื่อปฏิบัติใหม่ๆ แรกจับคำภาวนาได้ อีกสักหน่อยใจก็แวกไปทางอื่น คิดนู้นคิดนี่ เมื่อรู้สึกตัวก็ให้ดึงกลับมาที่คำภาวนาใหม่ ความรู้สึกตัวว่าแวบออกนอกไปแล้ว และระลึก (ดึง) กลับมาได้ เราเรียกว่าอาการนั้นว่าตัว "สติ"

    ปฏิบัติไปเช่นนั้น จนชำนิชำนาญ จากที่สติที่เคยหลุดบ่อยๆ นานวันเข้าก็จะกลายเป็นนานๆจะหลุดออกนอกซะที่

    เมื่อภาวนาไปแล้ว จิตเริ่มนิ่ง เช่นนี้ไม่ต้องถามใคร จิตเราจะเป็นผู้บอกเอง จิตเขารู้ว่าอยากหยุดคำภาวนาแล้ว อยากนิ่งแล้ว เช่นนี้แล้วเมื่อจิตเขาให้หยุด จงอย่าไปรั้ง อย่าไปฝืน ตามดูตัวนิ่งเขาต่อไป ไม่ต้องกลัวนั้นกลัวนี่ กลัวเป็นบ้า กลัวเห็นผี กลัวนั่งไปแล้วกลับไม่ได้ ฯลฯ ความกลัวโดยไร้เหตุผลเช่นนี้ จะทำให้จิตหลุดจากอารมณ์แห่งความสงบที่จะก่อเกิด

    นักภาวนาใหม่ๆ บางท่าน เพียงต้นทางแห่งปฏิบัติ ก็ไปติดภาพนิมิตร ติดภาพลวงตา ติดแสง ติดลูกแก้ว ติดเทพธิดา นางฟ้านางสวรรค์ ติดวิมานแก้วฟ้าจุฬามนี ติดรู้เห็นเรื่องราวต่างภพต่างภูมิ ติดเหาะเหินเดินอากาศ ตัวเบ่ง ตัวพอง ติดภาพต่างๆที่จิตจินตนาการสร้างขึ้น ฯลฯ (ส่วนมากมักเป็นเรื่องเดิมที่ฝังรากลึกอยู่ในจิตส่วนลึก หรือสิ่งที่ถูกตอกย้ำความเชื่ออยู่บ่อยๆ) เมื่อจิตติดอยู่แค่นั้น จิตก็ไปไหนต่อไม่ได้ บางท่านปฏิบัติได้เพียงแค่นั้น ก็พากันหลงทาง นึกปิติดีใจว่า เราเป็นผู้มีบุญ เราเป็นผู้ผู้วิเศษ มีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น เราได้เห็นแสงสว่าง เราได้เห็นรูปพระพุทธเจ้ามาโปรด เราได้ไปเที่ยวสวรรค์วิมานบ้านของตนเองที่ได้สร้างบุญไว้แล้ว อะไรเช่นนี้เป็นต้น การปฏิบัติส่งจิตออกนอกบ่อยๆเช่นนี้ นานวันไปก็จะกลายเป็น "จิตหลอกจิต" ที่สุดหลอกตัวเองว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติพิเศษเหนือผู้อื่น สามารถติดต่อ รู้เห็นอะไรกับสิ่งภายนอกได้ ตั้งตนตั้งตัวเองเป็นอาจารย์ เป็นเจ้าสำนักวัดวาอารามก็มาก หรือแม้กระทั่งตำหนักทรงต่างๆก็มากมี

    ปัจจุบัน..แม้ในแวดวงผู้สนใจการปฏิบัติธรรมกรรมฐานด้วยกัน การปฏิบัติเพื่อการค้นหาความจริงแห่งชีวิต การปฏิบัติเพื่อค้นหากิเลสแห่งตนเพื่อการละวางนั้น อันเป็นทางลัดตัดตรง ทางบริสุทธิ์เพื่อมรรคผลนิพพาน เริ่มมีน้อยลงทุกวัน เดี๋ยวนี้เริ่มเกิดครูบาอาจารย์สายใหม่ขึ้น กลายเป็นปฏิบัติไปก็เพื่อการเห็นต่างๆ การมุ่งให้มองเห็นนู้นเห็นนี่ เห็นพระพุทธเจ้ามาโปรด เห็นครูบาอาจาร์ตนมาโปรด เห็นความวิเศษเหนือมนุษย์ต่างๆ เป็นต้น จึงควรพิจารณาว่าการสอนให้เห็นน การเน้นตอกย้ำกระตุ้นเตือนต่อมจิตใต้สำนึกเพื่อคาดหวังจะได้เห็น ที่แท้นั้นถูกต้องหรือไม่ เป็นการมุ่งสอนเพื่อให้เกิดการสะสม หรือเพื่อการละวางกิเลสกันแน่..

    เรื่องของนิมิตรนั้น อาจกล่าวได้ว่า เป็นเรื่องทางสองแพร่งอันสำคัญ เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังให้ดีที่สุด เราอย่าเพิ่งพึ่งปฏิเสธว่านิมิตรนีไม่มีจริง นิมิตรนั้นมีจริง แต่ให้เข้าใจว่ามีทั้งนิมิตรหลอก และนิมิตรจริง แต่ระดับเราๆอย่างเพิ่งให้ความสนใจเลย โดยทัวไปมักเป็นแต่นิมิตรหลอก ที่ฉายภาพจินตนาการความต้องการส่วนลึกของตนออกมา นิมิตรอันถูกต้องแม่นยำนั้นยกให้เป็นเรื่องของระดับอริยะสงฆ์ หรืออริยบุคคลของแท้ท่านก่อนเถิด หากเราไปให้ความสนใจเรื่องนิมิตรตั้งแต่ต้น โอกาสเสี่ยงต่อการออกนอกลู่นอกทางมีความเสียงสูงที่เดียว นักปฏิบัติหลายๆท่านเมื่อออกนอกแล้ว ยากที่จะกลับคืนได้ มีแต่ไปแล้วไปลับ ยากจะกู่กลับ ความจริงยากกว่าการจะเริ่มต้นปฏิบัติใหม่เสียอีก

    การที่กล่าวถึงนิมิตรเช่นนี้..หาใช่ว่ากล่าวว่านิมิตรเป็นสิ่งไม่ดีไม่ถูกต้องไม่ เพราะในการปฏิบัติธรรมสมาธิของบางท่าน บางสำนัก ก็ใช้แนวทางแห่งจินตการภาพใน วัตถุ แสง สี เป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งหาใช่แนวทางที่ผิดแต่ประการใดไม่ หากแต่เป็นวิธีการหนึ่งในหลายๆวิธีการตามตำรา ที่เพียงขึ้นต้นแนวทางที่แตกต่าง สุดท้ายหากไปต่อได้ ย่อมลงสู่จุดหมายปลายทางเดียวกัน แต่อย่างไรก็ดี คำว่า "ไปต่อได้" จุดนี้เป็นจุดสำคัญที่ควรคิดคำนึง แนวทางที่ปลอดภัย แนวทางที่ครูบาอาจารย์อริยสงฆ์เจ้าท่านเคยพาเดินพาทำ ในสิ่งที่ถูกต้องดีงามปลอดภัยอยู่แล้ว ใยจึงต้องมาเลือกแนวทางเพื่อการเสี่ยงเหล่านั้นเล่า..

    และ..จะมีสักกี่คนที่เริ่มต้นปฏิบัติจากแนวทางเสี่ยงๆนั้น แล้วไม่เสพสุขหลงไปกับการเห็น กี่คนเล่าที่จะสามารถพาจิต ดึงจิตกลับเข้าสู่แนวทางที่ถูกต้องแห่งการดูกิเลส ละกิเลส ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่แท้จริงเพียงข้อเดียวแห่งการปฏิบัติธรรมกรรมฐานได้ ถ้าการดึงจิตเข้าสู่แนวทางปกติได้ง่ายดายปานนั้น ทำไมกี่ล้านคนเล่าที่ยังยึดติดกับลูกแก้ว ยังยีดติดกับการเที่ยวเยี่ยมชมวิมานสวรรค์ชั้นฟ้าที่ตนสร้างขึ้น กี่คนเล่าที่ยังสนุกเพลิดเพลินกับการเข้ากราบพระพุทธองค์ ณ วิมานแก้วฟ้าจุฬามณี กี่คนเล่าที่ยังสนุกกับการส่งจิตออกนอกเที่ยวเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆเหนือสมุทรใต้บาดาลอย่างเพลิดเพลิน ฯลฯ

    หากท่านใดที่เริ่มนั่งแล้วมักมีอาการเช่นนั้นเป็นประจำ คือ ชอบส่งจิตออกนอกตลอด วิธีละนิมิตรง่ายๆ ที่ครูบาอาจารย์ท่านพึ่งสอน พึ่งว่ากล่าวตักเตือนไว้ ก็คือ " ให้มองตัวผู้เห็น (เพ่งอยู่แต่เฉพาะในวงกายเรา) อย่าไปมองผู้ถูกเห็น " หมายความว่า หากเห็นสิ่งเหล่านั้น อย่าได้ตื่นตกใจ เงียบๆเฉยๆ ไม่สะทกสะท้าน ไม่ตื่นเต้นดีใจ เสียใจ ไม่ปิติ ไม่ยินดี เฉยๆ อย่าได้ไปตามดู หรือให้ความสนใจกับสิ่ง (ภายนอก) เหล่านั้น เมื่อเราไม่ให้ความสนใจ ไม่ตามดู ที่สุดแล้ว ภาพเหล่านั้นทีมาหลอกล่อก็จะหายไปเอง ให้พึ่งระลึกเตือนสติตนเองให้ขึ้นใจอย่างหนึ่งว่า " สิ่งที่เราเห็น.เราเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็นอาจไม่จริง " และคำว่า " นิมิตรต่างๆนั้น ดูไปก็น่าสนุกเพลินเพลินดีอยู่ดอก แต่สิ่งเหล่านั้นยังเป็นเพียงของภายนอก ไม่อาจทำให้พ้นทุกข์ได้ "

    เอาเวลาแห่งการเห็นนั้น มาพี่งกำหนดอยู่ที่คำภาวนา หรือ ความนิ่ง หรือพิจารณาลงไปให้เห็นต้นทางแห่งกิเลสนั้นๆในตัวเรา เพื่อการละวางเป็นขั้นๆลงไปนั้นดีกว่า

    ถึงขั้นนี่แล้ว ทุกอย่างไม่ต้องบอก ปล่อยให้จิตเขาเดินของเขาไปเอง..ทำเอง ปฏิบัติเอง อย่าเรียนรูทฤษฏีมากไป การเรียนรู้ทฤษฏีมากไป มักเกิดเป็นตัวสัญญาจำได้หมายรู้ ยิ่งรู้มาก จิตยิ่งไปไม่ได้ เพราะจิตมันไปจดจำทฤษฏี รู้ไปซะทุกเรื่องก่อนล่วงหน้าแล้ว

    ครูบาอาจารย์อริยะสงฆ์ท่านจึงมักเป็นผู้ไม่พูดมาก " พูดมากคือไม่จริง พูดจริงคือไม่มาก" ท่านมักกล่าวแต่ว่า " ให้ปฏิบัติไป ทำไปๆๆๆๆ แล้วจะรู้เอง "

    คงเอาแค่เบื้องต้นนี่ก่อน สำหรับนักปฏิบัติใหม่ๆ

    สำหรับนักปฏิบัติธรรมชั้นสูง และผู้คงแก่เรียน กระผมคงต้องขอประทานโทษด้วยเป็นอย่างสูง หากเขียนนี้ เขียนไปโดยขาดภูมิความรู้ ได้แต่เขียนขึ้นจากประสบการ์ณ เรียนรู้จากครูบาอาจารย์ตามป่าๆดงๆ ไม่ได้ศึกษาจากอารามหลวง พระมหาเปรียญธรรมสูงศักดิ์ใด อีกทั้งการปฏิบัติก็เคยทำบ้างแต่เพียงเล็กน้อยงูๆปลาๆ ผิดพลาดใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2012
  10. Jopaa

    Jopaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +4,867
    ครับ..จบแล้วครับ เรื่องราวอันเกี่ยวกับธรรมะ นานๆจะหนักๆกันสักที..

    คงพอแล้วครับ..คนที่ไม่ค่อยชอบเรื่องเกี่ยวกับแนวทางนี่..อาจจะเบื่อๆ..

    กลับมาเหตุการ์ณปกติ เข้าสู่แนวพระเครื่องหลวงปู่ดู่

    เพื่อการเรียนรู้ เพื่อการศึกษากันต่อไปครับ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2012
  11. fulfill

    fulfill Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +93
    ไ่ม่เบื่อเลย....อ่านแล้วเพลินดีค่ะได้แง่คิดที่ดีมาก ลีจะได้นำมาปฎิบัติบ้าง
    ข้อแรก...ต้องทำจิตให้เป็นธรรมชาติก่อน
    ข้อสอง...
    ข้อสาม...จะตามมาเอง
    ขอบคุณข้อความดี ๆ ค่ะ
     
  12. max_thonglor

    max_thonglor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    317
    ค่าพลัง:
    +704
    มัวแต่ดูทางiPadเลยไม่ได้ตอบ

    อย่างนี้เรียกว่า "แดงกระจาย"..........................สะใจ
    [​IMG]
     
  13. max_thonglor

    max_thonglor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    317
    ค่าพลัง:
    +704
    คุณโจครับผมเล่าย้อนเรื่องพระธาตุเสด็จ

    .......ที่วัดป่าอัมพวัน จ.ชลบุรี รุ่นพี่ของผมคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า หลังจากไปปฏิบัติธรรมอยู่หลายวันจนวันสุดท้าย หลวงพ่อท่าน(น่าจะเป็นหลวงพ่อจันดีรึป่าว?ไม่แนใจ)สวดให้พรเสร็จก็พรมน้ำมนต์ ตอนพรมน้ำมนต์....น้ำมนต์ที่ยังมาไม่ถึงตัวเหล่าผู้ปฏิบัติธรรม...ยังเป็นน้ำอยู่ครับ....แต่พอน้ำมนต์ถูกศรีษะ ถูกตัว....เปลี่ยนเป็นเม็ดทรายเม็ดใหญ่หน่อยนึง....ทุกคนก็แปลกใจ....ก็รีบไปชะโงกดูในขันน้ำมนต์ก็เป็นน้ำนี้ครับ.....คนไหนที่สติไวก็รีบเก็บกลับบ้านไปบูชา....ส่วนรุ่นพี่ของผมมัวแต่แปลกใจสบัดเม็ดที่ติดอยู่บนศรีษะหมดเกลี้ยง.....มารู้ภายหลังภายหลังว่านั้นแหละ..."พระธาตุเสด็จ"

    คุณโจอย่าลืมนะครับ....วันที่5ธ.ค.55นี้...งานสมโภชฯ....ของหลวงปู่ชา
     
  14. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574
    ขออนุโมทนากับข้อความที่พี่โจนำความรู้ด้านการปฏิบัติมาแบ่งปันครับ แนวทางสายวิปัสสนากรรมฐานหากศึกษาจากพ่อแม่ครูอาจารย์มาไม่ว่าจะเป็นท่านไหนๆหลักการปฏิบัติไม่เคยหลุดไปจากการดูจิตรู้ทันจิตของตัวเองเลย

    ผมชอบคำที่พี่ยกมานี้มากๆ ทำให้นึกขึ้นได้ว่าเคยได้อ่านคำกล่าวของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ราชมานิต วัดเทพศิรินทร์ พระอรหันต์กลางกรุงท่านกล่าวไว้ว่า

    "ของจริงนิ่งเป็นใบ้ ของพูดได้ไม่ใช่ของจริง"
     
  15. purn05

    purn05 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +406
    เห็นคำถามนี้แล้วนึกถึงตอนผมเริ่มนั่งสมาธิแล้วภาวนาแบบหลวงปู่เลย 55+ โชคดีที่ได้ท่านพี่หมีกับท่านพี่นิว คอยแนะนำและให้ความรู้ ไม่งั้นผมคงต้องนั่งพุทธัง สะระณัง(หายใจเข้า) คัจฉามิ..(หายใจออก) จนถึงวันนี้แน่ๆ อิอิ นึกแล้วต้องขอบคุณท่านพี่ทั้งสองเป็นอย่างมากเลยครับ/\
     
  16. Jopaa

    Jopaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +4,867
    Wow..!!...สุดยอดอลังการ..เพิ่งมีบุญได้เห็นเป็นครั้งแรกเหมือนกัน

    เลยขออนุญาตเซียนนิวส์รีบถ่ายภาพมาให้ดู !!

    ผ้ายันต์พระเหนือพรหม ลป.ดู่ ปี 2525

    เซียนนิวส์เพิ่งมาถึงบ้าน เอามาโชว์ให้ดู..ใส่กรอบออกแบบได้สวยงามลงตัวมาก..

    หายากสุดๆ..ปกติผืนหนึ่งว่าหายากแล้ว ยังรวมได้ครบสมบูรณ์ถึง 3 ผืนพร้อมกัน

    แถมได้ผืนสีฟ้าที่สวยสมบูรณ์สุดๆ

    เซียนนิวส์เล่นพระมานาน ยังเพิ่งเคยเจอเป็นผืนที่ 2

    (อยากได้.ๆๆๆๆ แต่ไม่ได้..เซียนนิวส์สงวนสิทธิ์ไว้ขอชื่นชมสักพักก่อน เพราะสวยงามหายากจริงๆ ครับ)

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2012
  17. max_thonglor

    max_thonglor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    317
    ค่าพลัง:
    +704
    [​IMG]

    คุณโจครับ...................ปกติสีไหนหายากสุดครับ....จัดอันดับหน่อย........ที่คุณโจบอกว่า"แถมได้ผืนสีฟ้าที่สวยสมบูรณ์สุดๆ"หมายความว่าหายากรึไงครับ
     
  18. Jopaa

    Jopaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +4,867
    พูดจริงๆ ผมก็ไม่ค่อยรู้รายละเอียดมากหรอกครับ

    เพราะว่าไม่เคยมี และก็หาได้ค่อนข้างยากที่เดียว

    ของลึกๆเช่นนี้..ข้อมูลส่วนใหญ่ก็จะได้จากคุณตุ้ยหรือเซียนนิวส์เขาถ่ายทอดให้ฟังน่ะครับ

    เท่าที่ทราบผืนทีหายากที่สุด คือ ผืนสีฟ้า จำนวนการสร้างไม่ทราบแน่นอน รู้แต่เป็นผืนที่หาได้ยากที่สุด แต่เฉพาะผืนสีน้ำเงิน ก็มีจำนวนการสร้างเพียง 76 ผืนเท่านั้นเอง ส่วนสีแดงก็ประมาณๆ 100 กว่าผืนครับ
     
  19. Jopaa

    Jopaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +4,867
    ไม่ลืมแน่นอนครับคุณ Max..ตั้งใจไว้แล้ว ขอบคุณมากน่ะครับ

    เรื่องพรมน้ำมนต์แล้วเรารู้สึกเป็นพระธาตุ โดยส่วนตัวคิดว่าเป็นเรื่องจริงครับ เพราะก็เคยพบกับตัวเอง แต่ไม่เคยบอกเล่าหรือพูดกับใครเลยสักครั้งเดียวจนกระทั่งคุณ Max พูดวันนี้..(เรื่องบางเรื่องบางทีเราก็เก็บไว้ จะพูดจะจาต้องระมัดระวัง คนภายนอกไม่เข้าใจจะว่าเราเป็นผู้หลงงมงาย เป็นบ้า จะเป็นบาปกรรมกันไปซะเปล่าๆ)

    เรารู้สึกได้ เป็นเหมือนเม็ดทรายติดตามหน้าตา ของผมจะมีลักษณะเหมือนกากเพชร หน้าผมตอนแห้งแล้วถูดแดดยังติดเป็นระยิบระยับ เป็นเหมือนที่ผู้หญิงเขาเอามาทาหน้าตาตอนออกงานอะไรอย่างนั้นน่ะครับ แต่เม็ดจะใหญ่กว่าหน่อย ผมเผ้านี้มีหมด แต่ก็ไม่ได้เก็บอะไรไว้หรอกครับปล่อยไว้อย่างนั้น เราไปดูขันน้ำมนต์หลวงปู่เรา พร้อมไม้พรม ก็เห็นมีแต่น้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ เรื่องเช่นนี้ปัจจุบันหายากมาก คิดว่าน่าจะเกิดได้กับเฉพาะพระผู้บริสุทธิ์เป็นพระอริยสงฆ์แท้เท่านั้น โดยเฉพาะในสายพระกรรมฐาน

    เขียนถึงเรื่องนี้..บางครั้งก็ทำให้รู้สึกหดหู่สลดใจ คิดถึงพระคุณครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่พระป่ากรรมฐาน ที่เราเคยกราบไหว้ได้สนิทใจ เดี๋ยวนี้ก็มาพาลละสิ้นแล้วเสียเกือบหมด..สาธุ..กราบพระคุณอาจารย์ ด้วยเศียรเกล้าฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กรกฎาคม 2012
  20. โพธิ์แก้ว

    โพธิ์แก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    อยากได้ๆๆๆpig_cryypig_cryypig_cryy
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...