เวรกรรมมีจริง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 20 มีนาคม 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ผมบอกได้แค่ว่า ผมเข้าใจ ผมฟังนานาจังรู้เรื่องครับ
     
  2. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    เล่าสักนิด(ติดโม้สักหน่อย โปรดใช้วิจารณาญาณประจำตัว)
    ผมคิดว่าสิ่งที่ผมสื่อออกไปแล้วคนอ่านไม่เข้าใจตามที่ผมเข้าใจ
    ผมก็จะถามเอา คาดคั้นเอาบ้าง เพื่อให้ได้คำตอบในสิ่งที่ผมคิดไว้
    ทั้งในขณะที่ผมคิดว่าผมภาวนาอยู่ เจริญด้วยสติปัฏฐาน หรือกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง
    ทีนี้ พอลองตรองดู นำน้อมเข้ามาพิจารณา จะเห็นว่าแม้แต่ตัวผมเอง
    สัมมาทิฏฐิ เกิดหรือยัง มั่นใจว่าตนรู้ตนดีหรือ ก็ทวนสอบในตน ว่ายังมีเผลอ หลง ลืม
    อวิชชาเต็ม ไม่ได้พร่องไปไหน ก็น้อมออกมา เห็นว่า แม้ตัวเราเองยังไม่เที่ยง บังคับบัญชาไม่ได้ เอาแน่นอนไม่ได้เลย
    ยังจะไปหาจากสิ่งอื่น รู้สิ่งอื่น บังคับสิ่งอื่น ได้อย่างไร
    จึงต้องรู้จักวางใจ วางกาย ให้มากขึ้น
    สำรวมกาย สำรวมใจให้มากขึ้น
    น้อมเข้ามาในตนด้วยพิจารณาให้แยบคาย เสมอ
    ฐานต้องมี เพียร ศีล สมาธิ ครับ
    ไม่ฟันธง
    ฟังได้ พูดได้ ยิ้มให้กันได้ครับ
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อย่าลืมสิครับ เราครูคนเดียวกัน ครูไม่ได้พูดถึง สมาธิ ว่าคือ ฌาณ

    แต่ คุณก็ยังคิดว่า สมาธิ คือ ฌาณ อยู่ตะพืดตะพือ

    สมาธิไม่ใช่ ฌาณ ดังนั้น ธรรมเอก เนี่ยะ ของปรากฏได้ในภูมิปรกติ

    เพียงแต่คนที่ทำ ฌาณมานั้น ภูมิปรกติเขาจะมี ธรรมเอก ค้างอยู่
    ได้นาน ทั้งวันบ้าง 3เดือนไม่หายไปเลยบ้าง

    แต่นั่นมันเรื่องของคนทำฌาณเป็น

    คนที่เรียธรรมะของหลวงพ่อ เมื่อตามรู้ตามดุไปเรื่อยๆ จิตก็จะละเอียด
    ได้เหมือนคนทำฌาณ ไม่มีผิดเพี้ยน ดังนั้น เมื่อเจริญสติไปเรื่อยๆ
    สงัดจากกามฉันทะ สงัดจากนิวรณ์ มันก็ต้องเกิด ธรรมเอก ได้เหมือน
    กับคนทำฌาณได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน

    เพราะ ธรรมเอก คือ วิบากจิตที่ได้จากจิตที่สงัดจากกามฉันทะ สงัดจาก
    นิวรณ์

    คุณขวัญภาวนามาเนิ่นนาน ย่อมต้องสามารถเจริญจิตให้ สงัดจากกามฉันทะ
    ได้ อีกทั้ง สงัดจากนิวรณ์ได้ เมื่อได้แล้ว ก็ต้องเกิด "ธรรมเอก"

    เมื่อมี ธรรมเอก ก็จะภาวนาเจริญปัญญาได้ แยกรูปแยกนามได้ตาม
    ความเป็นจริง

    ************************

    ส่วนอาหลง อาหลงเขาพึ่งบอกว่า อเมซิ่งมากตอนตื่นนอน อันนี้ก็เหมือนกัน
    คือ สภาวะของคนตื่นนอนมันคล้ายจิตที่ทำสมาธิมา มันคล้ายพวกทำฌาณ
    มาเพราะ ผ่านภวังคบาทมาใกล้เคียงกัน ดังนั้น อันนี้ หลวงพ่อก็เทศนาว่า

    บางคนทำอะไรไม่ได้เลย ภาวนาดูจิตก็ไม่ได้ ทำสมาธิก็ไม่ได้ พระท่านก็
    แนะนำว่าให้สังเกตตอนเช้าเอา ให้สังเกตตอนอาบน้ำเอา ตรงนี้มันจะได้จิต
    ที่คล้ายมี ธรรมเอก เหมือนกัน

    พอมีจิตคล้าย ธรรมเอกได้ มันก็ ออมซซิ่งมาก ไม่เคยเจอมาก่อน
     
  4. นาอินจัง

    นาอินจัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2009
    โพสต์:
    304
    ค่าพลัง:
    +36
    ธรรมเอก นี้คือไร อ่ะ
    ยังมีธรรมเอก ธรรมรอง ธรรมปลายๆ อีกเหรอ
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    <CENTER>โมคคัลลานสังยุตต์
    </CENTER> [๕๑๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
    อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหา-
    *โมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะ
    แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ขอ
    โอกาส เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ความปริวิตกแห่งใจได้เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ที่เรียก
    ว่า ปฐมฌานๆ ดังนี้ ปฐมฌาน เป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุใน
    พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติ
    และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้เรียกว่า ปฐมฌาน เราก็สงัด จากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เมื่อเราอยู่
    ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล
    พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธอ
    อย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุด
    ขึ้นในปฐมฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัด
    จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้
    มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรง
    อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า
    สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ
    [๕๑๖] ที่เรียกว่า ทุติยฌานๆ ดังนี้ ทุติยฌานเป็นไฉนหนอ เรา
    ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่ง
    จิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและ
    สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เรียกว่าทุติยฌาน เราก็เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่ง
    จิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติ
    และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบ
    ด้วยวิตกย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์
    แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาททุติยฌาน จงดำรงจิตไว้ใน
    ทุติยฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในทุติยฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในทุติย-
    *ฌาน สมัยต่อมา เราเข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรม
    เอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
    อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระ-
    *ศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด
    คำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ
    [๕๑๗] ที่เรียกว่า ตติยฌานๆ ดังนี้ ตติยฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความ
    คิดอย่างนี้ว่าภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
    นามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
    เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้เรียกว่าตติยฌาน เราก็มีอุเบกขา มีสติ มี
    สัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้า
    ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เมื่อเราอยู่ด้วย
    วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยปีติย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มี
    พระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่า
    ประมาท ตติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ในตติยฌาน
    จงตั้งจิตไว้ในตติยฌาน สมัยต่อมา เรามีอุเบกขา มีสติ มีสัม-
    *ปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
    สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
    ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึง
    ความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอัน
    พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ
    [๕๑๘] ที่เรียกว่า จตุตถฌานๆ ดังนี้ จตุตถฌานเป็นไฉนหนอ เราได้
    มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
    เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ
    บริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าจตุตถฌาน เราก็เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละ
    สุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยสุขย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้น
    แล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ
    เธออย่าประมาทจตุตถฌาน จงดำรงจิตไว้ในจตุตถฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรม
    เอกผุดขึ้นในจตุตถฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในจตุตถฌาน สมัยต่อมา เราเข้า
    จตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
    ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูด
    ให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้
    ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรง
    อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ
    [๕๑๙] ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌานๆ ดังนี้ อากาสานัญจายตน
    ฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้า
    อากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้
    เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการ
    ทั้งปวง นี้เรียกว่าอากาสานัญจายตนฌาน เราก็เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วย
    คำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสีย
    ได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วย
    วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยรูป สัญญาย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล
    พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ
    เธออย่าประมาทอากาสานัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากาสานัญจายตนฌาน
    จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอากาสานัญจายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นใน
    อากาสานัญจายตนฌาน สมัยต่อมา เราเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า
    อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้
    เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
    ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว
    ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวก
    อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ
    [๕๒๐] ที่เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌานๆ ดังนี้ วิญญาณัญจายตนฌาน เป็น
    ไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าวิญญาณัญจายตน
    ฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน
    เสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าวิญญาณัญจายตนฌาน เราก็เข้า
    วิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสา
    นัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา
    มนสิการอันประกอบด้วยอากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มี
    พระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธอ
    อย่าประมาทวิญญาณัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในวิญญาณัญจายตนฌาน จง
    กระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในวิญญาณัญจายตนฌาน
    จงตั้งจิตไว้ให้มั่นใน
    วิญญาณัญจายตนฌาน สมัยต่อมา เราเข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณ
    หาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้
    มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรง
    อนุเคราะห์ ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า
    สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ
    [๕๒๑] ที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌานๆ ดังนี้ อากิญจัญญายตนฌาน
    เป็นไฉนหนอเราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอากิญจัญญายตน
    ฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
    เสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าอากิญจัญญายตนฌาน เราก็เข้าอากิญจัญญายตน
    ฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
    เสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอัน
    ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีภาคเสด็จเข้าไป
    หาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาท
    อากิญจัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากิญจัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็น
    ธรรมเอกผุดขึ้นในอากิญจัญญายตนฌาน
    จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอากิญจัญญายตนฌาน
    สมัยต่อมาเราเข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะ
    ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคล
    เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความ
    เป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดา
    ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ
    [๕๒๒] ที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานๆ ดังนี้ เนวสัญญา-
    *นาสัญญายตนฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัย
    นี้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดย
    ประการทั้งปวง นี้เรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เราก็เข้าเนวสัญญา
    นาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อ
    เราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยอากิญจัญญายตนะย่อมฟุ้ง
    ซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ ตรัสว่า
    โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ใน
    เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในเนวสัญญานา
    สัญญายตนฌาน
    จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สมัย
    ต่อมา เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌาน
    เสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด
    คำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคล
    เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว
    ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ
    [๕๒๓] ที่เรียกว่า อนิมิตตเจโตสมาธิๆ ดังนี้ อนิมิตตเจโตสมาธิ
    เป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอนิมิตตเจโต
    สมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง นี้เรียกว่าอนิมิตตเจโตสมาธิ
    เราก็เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง เมื่อเราอยู่
    ด้วยวิหารธรรมนี้ วิญญาณอันซ่านไปตามซึ่งอนิมิตย่อมมี ครั้งนั้นแล พระผู้มี-
    *พระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่า
    ประมาทอนิมิตตเจโตสมาธิ จงดำรงจิตไว้ในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงกระทำจิตให้
    เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอนิมิตตเจโตสมาธิ
    จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอนิมิตตเจโตสมาธิ
    สมัยต่อมา เราเข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดา
    ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้น
    กะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ
    [๕๒๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายจากพระวิหารเชตวัน
    ไปปรากฏในดาวดึงสเทวโลก เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขน
    ที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไป
    หาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้
    ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะ
    ท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะ
    เหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตาย
    ไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึง
    พระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวก
    ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท้าวสักกะจอมเทพ
    ตรัสว่า ข้าแต่พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก
    เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย
    ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึง
    พระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวก
    ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จาก พุทธวัจนะ ดังกล่าว จะเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็น รูปฌาณ4 หรือ อรูปฌาณ4
    ก็ต้องแลให้เห็น ธรรมเอกผุดขึ้น ต้องตามรู้ว่ามี การตามรู้ว่ามี คือ รู้อรรถ
    หรือ ระลึกได้ เอามาเป็นเครื่อง ระลึกของ "สติ" จะขาดไม่ได้

    สำหรับคนที่บอกว่า ตนไม่ได้ทำ ฌาณ ก็แปลว่า ทำอนิมิตสมาธิ เพราะไม่ได้
    กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง แบบนี้ก็ยังต้อง ยก ธรรมเอก ขึ้นมาพิจารณา
    เป็นเครื่องรู้ของ "สติ" ให้ได้ เช่นเดียวกัน

    มรรคมีหนึ่งเดียว ไม่มีทางอื่น

    ผมชักชวนให้เขา เข้าใจ และ ตามรู้ตามดู ธรรมเอก ก็เพื่อให้ เข้าถึงความ
    เป็นผู้เจริญที่ยิ่งใหญ่ ตามพุทธวัจนะ ที่ได้ยกมาให้พิจารณาใคร่ครวญ

    *******************

    การที่ตัวผม กระทำเหมือนดั่งเป็น พาหะ บินมาโดยเอาเท้าทั้งหกหอบ
    เอาสิ่งหนึ่งมาให้ หากไปดูที่ พาหะ แล้ว ไม่พิจารณาว่า หอบสิ่งใดมา
    ให้ ก็แล้วแต่ "การตั้งจิต" ไว้จะนำพาไปเห็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2012
  7. นาอินจัง

    นาอินจัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2009
    โพสต์:
    304
    ค่าพลัง:
    +36
    ผู้ใด ดำรงค์ประถมฌานได้ ผู้นั้นคงสภาพได้
    เหมือนผู้ใด จำการตื่นจากนอนนั้นได้ ให้จำไว้
    ผู้นั้น จัดไว้ว่า กำลังเป็นผู้เจริญ

    อืม Ok
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อ่านโมคคัลลานสังยุตต์แล้ว สุตตมยปัญญา และจินตมยปัญญา
    และภาวนามยปัญญา(รู้จิ๊บๆ=รู้ไม่ชัด ในเรื่อง อนิมิตตเจโตสมาธิ )
    ปัญญาประสานการงาน สุ จิ ปุ ลิ เกิดเป็นความเข้าใจ ดังนี้
    (ไม่มีญาณรู้ชัดว่าเข้าใจถูกแล้ว มีแต่ทิฏฐิทัศนะเข้าใจว่าเป็นแบบนี้
    ดังนั้นวันหน้าเกิดญาณหยั่งรู้ชัดว่าที่เข้าใจนี้ผิด ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้
    แบบว่า ทิฏฐิมันไม่เที่ยง!!!)

    อ่านแล้วปัญญาเข้าใจว่า ธรรมเอก หมายถึง จิตผู้รู้

    โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน
    จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุด
    ขึ้นในปฐมฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน

    k.อันนี้เข้าใจว่า เข้าปฐมฌาณแล้วอย่าประมาท ให้มีจิตผู้รู้ตั้งมั่นไว้
    จะมีสติเห็นองค์ฌาณ

    สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร
    มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก
    พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

    k.เพราะกระทำจิตให้มีผู้รู้ตั้งมั่นอยู่จึงเห็นองค์ฌาณเกิดดับ เห็นอาการในสมาธิ
    ได้แก่ปิติ สุข ฯลฯ กระทำตามพระศาสดาอนุเคราะห์แล้ว ล่วงอาการทั้งหลายได้
    ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่(บรรลุสัจธรรม มีภาวนามยปัญญารู้พระไตรลักษณ์?)


    เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
    เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและ
    สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เรียกว่าทุติยฌาน
    k.จิตเข้าสมาธิทุติยฌาณ มีจิตผู้รู้ผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร

    พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์แล้วได้ตรัสว่า
    โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาททุติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในทุติยฌาน
    จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในทุติยฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในทุติยฌาน
    สมัยต่อมา เราเข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรม
    เอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
    อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า
    สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

    k.จิตเข้าสมาธิทุติยฌาณ มีจิตผู้รู้ผุดขึ้นเห็นองค์ฌาณ เห็นอาการสมาธิ
    มีปีติและสุข จิตผู้รู้ไม่มีวิตกวิจาร พระศาสดาอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่

    โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาท ตติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน
    จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในตติยฌาน จงตั้งจิตไว้ในตติยฌาน
    สมัยต่อมา เรามีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
    เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
    สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
    ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่


    k.จิตเข้าสมาธิตติยฌาณ มีจิตผู้รู้ผุดขึ้นเห็นองค์ฌาณ เห็นอาการสมาธิ
    มีอุเบกขา ปีติ และสุข จิตผู้รู้เห็นปีติสิ้นไป พระศาสดาอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่

    โมคคัลลานะๆเธออย่าประมาทอากาสานัญจายตนฌาน
    จงดำรงจิตไว้ในอากาสานัญจายตนฌาน
    จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอากาสานัญจายตนฌาน
    จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอากาสานัญจายตนฌาน สมัยต่อมา
    เราเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า
    อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้
    เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
    ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว
    ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

    k.จิตเข้าสมาธิอากาสานัญจายตนฌานมีจิตผู้รู้ผุดขึ้นเห็นองค์ฌาณ
    เห็นอากาศหาที่สุดมิได้ รู้ล่วงรูปสัญญา รู้ดับปฏิฆะสัญญา
    ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
    พระศาสดาอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่

    โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทวิญญาณัญจายตนฌาน
    จงดำรงจิตไว้ในวิญญาณัญจายตนฌาน
    จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในวิญญาณัญจายตนฌาน
    จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน สมัยต่อมา
    เราเข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
    เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้
    มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า
    สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

    k.จิตเข้าสมาธิวิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตผู้รู้ผุดขึ้นเห็นองค์ฌาณ
    เห็นวิญญาณหาที่สุดมิได้ รู้วิญญาณหาที่สุดมิได้
    ล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้
    พระศาสดาอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่


    โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทอากิญจัญญายตนฌาน
    จงดำรงจิตไว้ในอากิญจัญญายตนฌาน
    จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอากิญจัญญายตนฌาน
    จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอากิญจัญญายตนฌาน
    สมัยต่อมาเราเข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า
    สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้
    โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคล
    เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว
    ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

    k.จิตเข้าสมาธิอากิญจัญญายตนฌานมีจิตผู้รู้ผุดขึ้นเห็นองค์ฌาณ
    เห็นสิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี รู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้
    พระศาสดาอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่

    โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    จงดำรงจิตไว้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สมัยต่อมา
    เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌาน
    เสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด
    คำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

    k.จิตเข้าสมาธิเนวสัญญานาสัญญายตนฌานมีจิตผู้รู้ผุดขึ้นเห็นองค์ฌาณ
    รู้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้
    พระศาสดาอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่

    โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทอนิมิตตเจโตสมาธิ
    จงดำรงจิตไว้ในอนิมิตตเจโตสมาธิ
    จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอนิมิตตเจโตสมาธิ
    จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอนิมิตตเจโตสมาธิสมัยต่อมา
    เราเข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า
    สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

    k.จิตเข้าสมาธิอนิมิตตเจโตสมาธิ มีจิตผู้รู้ผุดขึ้น
    รู้เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิ รู้ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง
    พระศาสดาอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2012
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    นะนา เข้าฌาณข้ามเวทนาเป็นแล้ว น่าจะอธิบายได้ดีกว่าพี่เค นะ
    เพราะเข้าใจเรื่องอาการในสมาธิ เรื่อง ปีติ สุข จิตผู้รู้ทรงฌาณ จิตผู้รู้สงบนิ่งเป็นเอกกัคคตา
    พี่เค ใช้จินตมยปัญญา เยอะ แต่ใช้บนฐานความรู้จากประสบการณ์เรื่องอื่น
    มาอธิบาย มันก็จะมีผิดพลาดได้ เพราะไม่ได้พูดจากประสบการณ์จริง
    เหมือนชิมมะเฟืองรู้รสเปรี้ยว พอมีคนอธิบายรสมะนาวเปรี้ยว ก็พอเข้าใจเรื่องรสเปรี้ยวอยู่
    แต่เพราะไม่เคยชิมมะนาวก็เลยต้องใช้คำว่าไม่เคยชิมมะนาว ทำให้อธิบายรสมะนาวไม่ถูก100%
    อธิบายเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2012
  10. นาอินจัง

    นาอินจัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2009
    โพสต์:
    304
    ค่าพลัง:
    +36
    ตังหนังสือสีฟ้านี่ คือของพี่ เค ใช่ไหม หนูจะได้ ถาม เป็นข้อๆ ไป ค่ะ

    เดี่ยวหนูทำข้อมูลส่งก่อนนะพี่ ป๋าจะเอาอ่ะ แป๊บนึง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2012
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ตัวหนังสีฟ้า คือของพี่เค จ้ะ
    เป็นความเข้าใจส่วนตัว จากสุตตมยปัญญา จินตมนปัญญา เป็นส่วนใหญ่
     
  12. นาอินจัง

    นาอินจัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2009
    โพสต์:
    304
    ค่าพลัง:
    +36
    อ่านโมคคัลลานสังยุตต์แล้ว สุตตมยปัญญา และจินตมยปัญญา
    และภาวนามยปัญญา(รู้จิ๊บๆ=รู้ไม่ชัด ในเรื่อง อนิมิตตเจโตสมาธิ )
    ปัญญาประสานการงาน สุ จิ ปุ ลิ เกิดเป็นความเข้าใจ ดังนี้
    (ไม่มีญาณรู้ชัดว่าเข้าใจถูกแล้ว มีแต่ทิฏฐิทัศนะเข้าใจว่าเป็นแบบนี้
    ดังนั้นวันหน้าเกิดญาณหยั่งรู้ชัดว่าที่เข้าใจนี้ผิด ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้
    แบบว่า ทิฏฐิมันไม่เที่ยง!!!)

    อ่านแล้วปัญญาเข้าใจว่า ธรรมเอก หมายถึง จิตผู้รู้
    จิตผู้รู้ที่พี่เค เข้าใจนี่ต้องใช้ฌาน ประคองไว้ไหนคะ


    k.อันนี้เข้าใจว่า เข้าปฐมฌาณแล้วอย่าประมาท ให้มีจิตผู้รู้ตั้งมั่นไว้
    จะมีสติเห็นองค์ฌาณ
    ผู้ที่ประคองปฐมฌานได้ นั้นต้องเป็นพระโสดาบันค่ะ ปุถุชนยังประคองไม่ได้
    ต้องมีไหล มีหลงบ้าง อันนี้พี่เค เข้าใจว่ายังไงคะ


    k.เพราะกระทำจิตให้มีผู้รู้ตั้งมั่นอยู่จึงเห็นองค์ฌาณเกิดดับ เห็นอาการในสมาธิ
    ได้แก่ปิติ สุข ฯลฯ กระทำตามพระศาสดาอนุเคราะห์แล้ว ล่วงอาการทั้งหลายได้
    ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่(บรรลุสัจธรรม มีภาวนามยปัญญารู้พระไตรลักษณ์?)
    ข้อนี้ไม่ออกความคิดเห็นค่ะ เพราะไม่รู้จริงๆ

    k.จิตเข้าสมาธิทุติยฌาณ มีจิตผู้รู้ผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร

    พี่เข้าใจว่า ไม่มีวิตกวิจารณ์เฉยๆ เหรอ แล้วมีอะไรเพิ่มไหม
    ส่วนหนูเห็นว่า การเข้าสู่วิป้สนา เราจะเห็นชัดตรงนี้


    k.จิตเข้าสมาธิทุติยฌาณ มีจิตผู้รู้ผุดขึ้นเห็นองค์ฌาณ เห็นอาการสมาธิ
    มีปีติและสุข จิตผู้รู้ไม่มีวิตกวิจาร พระศาสดาอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่
    ที่บอกว่า อาการของสมาธิ คือ รู้ผุดขึ้นเห็นองค์ฌาน เห็นสมาธิ
    ตรงนี้ไม่เห็นด้วยค่ะ เพราะการตั้งมั้นของสมาธิ จะฌานเป็นสัมปยุตย์
    ไม่ใช่เราเข้าไปเห็น แต่เราเป็นไปตามสติ และสภาวะจิต คือผู้รู้
    ค่ะ พระศาสนาทรงอนุเคราะห์และแจกแจงให้แล้ว


    k.จิตเข้าสมาธิตติยฌาณ มีจิตผู้รู้ผุดขึ้นเห็นองค์ฌาณ เห็นอาการสมาธิ
    มีอุเบกขา ปีติ และสุข จิตผู้รู้เห็นปีติสิ้นไป พระศาสดาอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่

    ถ้าตรงนี้สิ้นปิติแล้ว ตรงนี้เหลือไว้อุเบกขา อันนี้ใช่ค่ะ แต่มันต้องมีอะไรต่ออีก
    แต่หนูไม่รู้นะ


    k.จิตเข้าสมาธิอากาสานัญจายตนฌานมีจิตผู้รู้ผุดขึ้นเห็นองค์ฌาณ
    เห็นอากาศหาที่สุดมิได้ รู้ล่วงรูปสัญญา รู้ดับปฏิฆะสัญญา
    ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
    พระศาสดาอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่

    ตรงนั้นหนูเข้าใจว่า เป็นช่องว่างของกากาศ แต่ไม่ใช่คววามว่างค่ะ

    k.จิตเข้าสมาธิวิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตผู้รู้ผุดขึ้นเห็นองค์ฌาณ
    เห็นวิญญาณหาที่สุดมิได้ รู้วิญญาณหาที่สุดมิได้
    ล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้
    พระศาสดาอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่
    หนูมีความคิดเห็นว่า ท่านต้องย้อนกลับมาหาผัสสะเพื่อให้วิญญาญเด่นชัด
    หากไม่อยู่ที่ อากาสา อย่างเดียวจะมีแต่สิ่งรู้ แต่ไม่มีสิ่งกระทบค่ะ


    k.จิตเข้าสมาธิอากิญจัญญายตนฌานมีจิตผู้รู้ผุดขึ้นเห็นองค์ฌาณ
    เห็นสิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี รู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้
    พระศาสดาอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่
    กลัวจะกลายเป็นพรมลูกฟักนานโข พอหลุดมาได้
    ก็กลายเป็นจิตไร้เดียงสาแบบสุด เพราะอยู่นานเกินไป
    และไม่มีสิ่งกระทบ


    k.จิตเข้าสมาธิเนวสัญญานาสัญญายตนฌานมีจิตผู้รู้ผุดขึ้นเห็นองค์ฌาณ
    รู้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้
    พระศาสดาอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่
    อ่า ตรงนี้เป็นอรูปฌานแบบสุด พระพุทธไปแล้ว
    แล้วเกิดอุทาน แล้วจะมีอะไร ให้กระทบ แล้วท่าน
    ก็ย้อนกลับไปที่อานาปาน จนได้ตรัสรู้

    k.จิตเข้าสมาธิอนิมิตตเจโตสมาธิ มีจิตผู้รู้ผุดขึ้น
    รู้เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิ รู้ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง
    พระศาสดาอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่
    อืม ไม่มีนิมิตแล้ว ที่เหลือคือ ของจริง
     
  13. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เค คิดได้น่าสนใจ
    ธรรมเอก บางพระสูตร อาจหมายถึงสมาธิ
    และบางพระสูตรอาจหมายถึงสติปัฏฐาน เห็นสภาพธรรมตามจริง
    คือเห็นไตรลักษณ์ ในรูปฌานและอรูปฌาน และกระทำความรู้ต่อ
    เพื่อความรู้ยิ่งๆ ขึ้นไป.. (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)


    พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 260
    ประกอบด้วยความผ่องใส เหมือนผ้าสีเขียว เพราะประกอบด้วยสีเขียวฉะนั้น
    อีกอย่างหนึ่ง เพราะฌานนั้น ย่อมยังใจให้เลื่อมใสด้วยดี เพราะประกอบด้วย
    ศรัทธาที่เป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส (และ) เพราะสงบระงับความกำเริบแห่ง
    วิตกและวิจารเสียได้ เพราะเหตุแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สมฺป-
    สาทน. ก็ในอรรถวิกัปนี้ พึงทราบสัมพันธ์เฉพาะบทอย่างนี้ว่า สมฺปสาทน
    เจตโส (เป็นความผ่องใสแห่งใจ). แต่ในอรรถวิกัปต้น พึงประกอบบทว่า
    เจตโส นั่น เข้ากับ เอโกทิภาวะ.

    [อรรถาธิบาย เอโกทิภาวศัพท์]
    ในบทว่า เอโกทิภาว นั้น มีอรรถโยชนาดังต่อไปนี้ :- สมาธิ
    ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น. อธิบายว่า ชื่อว่าเป็น
    ธรรมที่เลิศ คือธรรมประเสริฐที่สุด ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารไม่ผุดขึ้น. จริงอยู่
    แม้คนที่ประเสริฐที่สุด เข้าก็เรียกว่า เป็นเอก ในโลก. อีกอย่างหนึ่ง จะกล่าวว่า
    สมาธิที่เว้นจากวิตกและวิจาร ชื่อว่าเป็นธรรมเอก คือไม่สหาย ดังนี้บ้าง
    ก็ควร อีกบรรยายหนึ่ง สมาธิ ชื่อว่า อุทิ เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัมปยุตธรรม
    ให้ผุดขึ้น อธิบายว่า ให้ตั้งขึ้น, สมาธินั้น เป็นเอก เพราะอรรถว่า ประเสริฐ
    และผุดขึ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอโกทิ. คำว่า เอโกทิ นั่น เป็นชื่อ
    ของสมาธิ. ทุติยฌาน ย่อมยังสมาธิที่ชื่อว่า เอโกทิ นี้ ดังกล่าวนี้ให้เกิด
    คือให้เจริญ. เหตุนั้น ทุติยฌานนี้ จึงชื่อว่า เอโกทิภาพ. ก็เพราะสมาธิที่
    ชื่อว่า เอโกทิ นี้นั้นย่อมมีแก่ใจ หามีแก่สัตว์ แก่ชีวะไม่ ฉะนั้น ทุติยฌานนั่น
    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจตโส เอโกทิภาว (เป็นเอโกทิภาพแห่งใจ).
    มีคำถามว่า ก็ศรัทธานี้ และสมาธิที่มีชื่อว่าเอโกทินี้มีอยู่ในปฐมฌาน
    มิใช่หรือ ? เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ทุติยฌานนี้เท่านั้น พระผู้มีพระ-
    ภาคเจ้า จึงตรัสว่า เป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส และว่า เป็นเอโกทิภาพเล่า ?

    ......................................



    <CENTER><BIG>อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค</BIG> <CENTER class=D>โมคคัลลานสังยุตต์</CENTER></CENTER>
    <CENTER>อรรถกถาโมคคัลลานสังยุต
    อรรถกถาสวิตักกปัญหาสูตรที่ ๑

    </CENTER>พึงทราบวินิจฉัยในโมคคัลลานสังยุต ดังต่อไปนี้. ​
    บทว่า กามสหคตา คือ ประกอบนิวรณ์ ๕ ก็เมื่อภิกษุนั้นออกจากปฐมฌานแล้ว นิวรณ์ ๕ ปรากฏแล้ว โดยความสงบมีอยู่ ด้วยเหตุนั้น ปฐมฌานนั้นของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่ามีส่วนแห่งความเสื่อม. พระศาสดาทรงทราบความประมาทนั้นแล้ว จึงได้ประทานพระโอวาทว่า อย่าประมาท.

    <CENTER>จบอรรถกถาสวิตักกปัญหาสูตรที่ ๑ </CENTER><CENTER>


    อรรถกถาอวิตักกปัญหาสูตรที่ ๒ </CENTER>
    แม้ในทุติยฌานเป็นต้น ก็พึงทราบความโดยนัยนี้แล.
    ก็ในข้อนี้ ฌานอันประกอบด้วยอารมณ์เท่านั้น ท่านกล่าวว่า สหคตํ ดังนี้. ​

    <CENTER>จบอรรถกถาอวิตักกปัญหาสูตรที่ ๒ </CENTER><CENTER>


    อรรถกถาอนิมิตตปัญหาสูตรที่ ๙ </CENTER>
    บทว่า อนิมิตฺตํ เจโตสมาธิ นั้น พระเถระกล่าวหมายถึงวิปัสสนา. สมาธิที่ละนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้นได้แล้วเป็นไป.

    บทว่า อนิมิตฺตานุสาริวิญฺญาณํ โหติ ความว่า เมื่อเราอยู่ด้วยวิปัสสนาสมาธิวิหารธรรมนี้อย่างนี้ วิปัสสนาญาณก็แก่กล้า ละเอียด นำไปอยู่. เหมือนเมื่อบุรุษเอาขวานที่คมดี ตัดต้นไม้อยู่ มองดูอยู่ซึ่งคมขวานในทุกขณะด้วยคิดว่า ขวานของเราคมจริงหนอดังนี้ กิจในการตัด ก็ย่อมไม่สำเร็จฉันใด แม้พระเถระปรารภวิปัสสนาด้วยคิดว่า ญาณของเราแก่กล้าจริงหนอดังนี้ ความใคร่ก็ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น พระเถระนั้นก็ไม่สามารถให้วิปัสสนากิจสำเร็จได้ฉันนั้น. พระเถระหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวว่า อนิมิตฺตานุสาริวิญฺญาณํ โหติ.
    บทว่า สพฺพนิมิตฺตานํ อมนสิการา อนิมิตฺตํ เจโตสมาธิ อุปสมฺปชฺช วิหาสึ ความว่า เราเข้าเจโตสมาธิที่สัมปยุตด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนา และสมาธิในมรรคและผลเบื้องสูง ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ อันไม่มีนิมิต เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตว่าเที่ยงเป็นสุขเป็นตนทั้งปวงอยู่แล้ว. ​

    <CENTER>จบอรรถกถาอนิมิตตปัญหาสูตรที่ ๙ </CENTER><CENTER>


    อรรถกถาสักกสูตรที่ ๑๐ </CENTER>
    บทว่า อเวจฺจปฺปสาเทน ได้แก่ ด้วยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหว.

    บทว่า ทสหิ ฐาเนหิ คือ ด้วยเหตุ ๑๐.
    บทว่า อธิคณฺหนฺติ คือ ย่อมครอบงำ คือล่วงเกิน.
    คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้. ​

    <CENTER>จบอรรถกถาสักกสูตรที่ ๑๐


    จบอรรถกถาโมคคัลลานสังยุต

    </CENTER><CENTER></CENTER>.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค โมคคัลลานสังยุตต์ จบ.


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2012
  14. นาอินจัง

    นาอินจัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2009
    โพสต์:
    304
    ค่าพลัง:
    +36
    จิตมีสมาธิ ที่ประกอบด้วยฌาน กับจิตที่รู้ทัน
    ก็ไม่ได้ต่างกัน หากเราทำสองสิ่งนี้ไปพร้อมกันพี่
    เพราะเราทำเพื่อจะรู้ แต่จิตที่ข้ามเวทนา ไม่ใช่การกดข่มค่ะ
    หากเรายกจิต ขั้นมาวิจัยได้ ตรงนี้
    เราจะละเอียดว่า ผู้ที่ทำแต่สติปัฏฐาน เพราะตรงนั้น ไม่มีนิวรณ์
    แต่ว่า เราต้องทำสองอย่างนี้ไปพร้อมกัน
    พี่เค น่าจะถนัดเรื่อง ธรรมวิจัยมากกว่าฌาน ก็ทำแบบพี่นั้นแระค่ะ
     
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    สมาธิที่ไม่ขาดสติ เป็นอย่างที่นาอินจังเข้าใจ
    โลกียฌานมีสติจริง แต่อาจขาดปัญญา และอาจขาดสติบางช่วงหากอุปาทานเข้าแทรก หากสติกลับมาทัน เพราะแต่ละขณะจิตเร็วมาก ก็ยังคงไม่เป็นมิจฉาสมาธิ เพราะสติเข้าไปวิจัยได้ เป็นการระลึกรู้ตามรูปนาม(เวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ) และถ้าสมาธิตั้งมั่น(สมาธิมีกำลัง ก็จะก้าวข้ามเวทนา เห็นว่ารูปและนาม เป็นคนละอย่างกัน แต่หากสมาธิยังไม่มีกำลัง สติดีอยู่ ปัญญาก็วิเคราะห์ได้ ถึงความเจ็บทางกายกับทางจิต เป็นคนละตัวกัน.. ถ้าสติต่อเนื่องดีๆ จนสมาธิมีกำลังมาก จะแยกเวทนาได้จริง คือไม่ได้คิดวิเคราะห์ แต่สภาวธรรมเกิดขึ้นให้เห็นเลย แต่จะเกิดปัญญาเห็นเหตุปัจจัยหรือยัง.. ต้องแล้วแต่คน
    เพราะหากเกิดปัญญาได้ทันที เพราะสติต่อเนื่องดี ก็จะยิ่งเข้าไปรู้สภาวธรรมที่ลึกขึ้นๆไปเรื่อย.. (วิปัสสนาญาณ 16)

    ถ้าถึงฌาน(อัปนาสมาธิ) แม้นโลกียฌานก็ดับนิวรณ์
    ยังไม่ถึงฌาน ก็มีนิวรณ์แทรกได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2012
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็นั่นแหละ จาก โมคคัลลานะสูตร จะเห็นเลยว่า สมาธิที่พระพุทธองค์
    ทรงเน้นสอน ไม่ใช่ ฌาณทั้ง8

    แต่เป็น สุญญตาสมาธิ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ อนิมิตสมาธิ ซึ่งเมื่อฝึกอนิมิต
    สมาธิได้แล้ว ก็จะถึงเป็น อัปณิหิตสมาธิ ซึ่งก็จะกลายเป็น รู้สัมมาสมาธิ
    ที่ถูกต้องตรงเข้าไป

    สำหรับพระโมคคัลลานะ ท่านไม่สามารถเข้ามาที่ สุญญตาสมาธิตรงๆได้
    เพราะ ปุญภิสังขารทางฌาณมีมาก จึงต้องให้ ฝึกเพื่อละ ก็คือ อย่า
    ประมาทต่อฌาณ ซึ่งไม่ได้แปลว่า ห้ามตำหนิฌาณ แต่หมายถึง อย่าเอา
    แต่เห็นฌาณ แล้วพอใจอยู่แค่นั้น ให้กำหนดรู้หรือสร้างธรรมเอกขึ้นมาเพื่อ
    ถอดถอนอาสวะทางการทำฌาณทิ้งไปเสีย ก็จะล่วงนิมิตที่เป็น รูป และ อรูป
    ทั้งหมด กลับมานับหนึ่งใหม่ที่ อนิมิตสมาธิ(สุญญตาสมาธิ)

    แต่ เค เริ่มที่ สุญญตาสมาธิ หรือ อนิมิตสมาธิ เข้ามาตรงๆ

    ซึ่งก็ต้องกำหนดรู้ เอา ธรรมเอก ขึ้นมา ไม่ประมาทใน อนิมิตสมาธิ คือ
    ไม่เจริญโดยค้างอยู่แค่ในสมาธิชนิดนี้ จะต้องเอา ธรรมเอก ขึ้นมาสอดส่อง
    ให้เห็นทุกขสัจจ เพื่อพ้นไปเสีย พอพ้นอนิมิตสมาธิแล้วพบว่า พอพ้นแล้วก็จะ
    ปรากฏเป็น อัปณิหิตสมาธิ(ไม่กำหนดที่ตั้งใดๆทั้งปวง) ก็จะถือว่า
    เดิน "สมาธิ3" ได้ครบตามที่พระพุทธองค์สอน คือ สอนแต่ สมาธิ3 นี้เท่านั้น

    ดังนั้น มรรคมีหนึ่งเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2012
  17. นาอินจัง

    นาอินจัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2009
    โพสต์:
    304
    ค่าพลัง:
    +36
    ค่ะพี่ ฌานโลกีย์ทีสติจริง ดังนั้นพระพุทธองค์ท่านทรงกล่าวว่า
    มรรค 8 ต้องมีสัมมาสติประกอบ โดยการเห็นการละ ต้องหลังจากวิปัสนาเสมอ เพราะเห็นแล้ว ด้วยปัญญาตตัวเอง

    คราวนี้มาดูในเรื่องการข้ามเวทนา จริงเราไม่ไดข้าม แต่เราแยกออกมา
    หากเป็นสมถะกดข่ม ตรงนี้ความรู้สึกนี้จะหายไป แต่หากเป็นสัมมาสมาธิ
    เวทนายังอยู่ แต่ไม่ได้เป็นเรา และเราก็เห็นรูปนามแยกได้ชัด
    ตอนนั้น จิตเขาจะทำของเขาเองหมด แต่ในที่นี้ ต้องอยู่กับพื้นฐานของ
    ผู้ภาวนาเอง แต่การละอุปทานจะเหมือนกันหมด
    ไม่ต่างจาก การทำสติปัฏฐาน 4 หากทันเขาตัด
     
  18. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    หมายถึงเวทนาไม่เกิดเลย หรือเกิดแล้วหายไป
    ในกรณีที่กำหนดเวทนามา แล้วสมาธิเกิดนำ
    มันอาจจะหายไปเพราะเข้าฌาน โลกียฌานก็ได้ ที่ว่าข่ม(ดับไปด้วยสมาธิ)
    หรือเวทนาหากไม่กล้า ก็อาจหายไปด้วยสมาธิที่ไม่มาก
    แต่ถ้ามีสติดีๆ มันอาจจะหายไปแบบโลกุตตรฌาน คือประหารกิเลสไปด้วย (ดับขันธ์ห้าไปด้วยอริยมรรคหรือย่อมาเป็นสติสมาธิปัญญา) ที่เขาชอบพูดกันว่าระเบิดไปพร้อมเวทนาอะไรแบบนั้นอ่ะจ๊ะ

    ..
    แต่พวกสมาธิดีๆนี่ ไม่ค่อยมีเวทนาเกิด
    หรือบางทีเกิด ก็แบบว่า เป็นสภาวธรรมขั้นสูงเลย
    เป็นพวกเวทนาขณะกำลังตายเลย หรือก็พวกอศุภะแบบที่มีผลต่อจิตด้วย..
    (ความคิดเห็นส่วนตัวนะ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2012
  19. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อนุโมทนาค่ะ
    ยิ่งปล่อยรู้ ยิ่งเข้าไปรู้
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2012
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...