กิเลส กรรม วิบาก ในการปฏิบัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 20 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    กิเลส กรรม วิบาก


    กิเลสมันไม่ดี มันชั่ว ถ้าไม่มีกิเลส จะได้ดีหรือ


    ในกิเลส(ความทะยานอยาก) กรรม(การกระทำ) วิบาก(ผล)


    ความทะยานอยากทำให้เกิดการกระทำ

    หากแบบภาษาบ้านๆ
    ผลของการกระทำ จึงมี สองส่วน

    ส่วนที่เรียกว่ากุศล และส่วนที่เรียกว่าอกุศล

    เมื่อเอ่ยชื่อกิเลส มันจะเป็นแต่อกุศลใช่ไหม


    เชิญครับ เจ้าเก่า เจ้าใหม่ ทั้งหลาย^^
     
  2. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    กิเลสก็อยู่ส่วนกิเลส เราไม่ได้ไปฆ่า หรือ ไปทำลาย เพียงแต่เราไกลออกมาจากกิเลส เท่านั้น

    เป็นผู้ไกลแล้วจากกิเลส คำๆนี้คงเคยได้ยินได้ฟังกันมามากแล้ว สาธุครับ
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    กิเลส แปลว่า สิ่งเกาะติด สิ่งเปรอะเปื้อน สิ่งสกปรก

    กิเลส คือ สิ่งที่แฝงติดอยู่ในใจแล้วทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัว มีอุปมาเหมือนสีที่ใส่ลงไปในน้ำทำให้น้ำมีสีเหมือนสีที่ใส่ลงไป ใจก็เช่นกัน ปกติก็ใสสะอาด แต่กลายเป็นใจดำ ใจง่าย ใจร้ายก็เพราะมีกิเลสเข้าไปอิงอาศัยผสมปนเปอยู่

    กิเลสที่ชอบซุกหมักหมมอยู่ในใจคนมากที่สุด คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เพราะกิเลสชอบซุกหมักหมมอยู่ในใจของคน จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กิเลสาสวะ หรือ อาสวกิเลส แปลว่า กิเลสที่หมักดองอยู่ในจิต


    ประเภทของกิเลส

    อโนตตัปปะ ความไม่รู้สึกตื่นกลัวต่อการทุจริต
    โทสะ ความโมโห โกรธ ความไม่พอใจ
    โมหะ ความหลงใหล ความโง่
    อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านไปต่างๆนานา
    ทิฏฐิ ความเห็นผิดเป็นชอบ
    วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงใจ สงสัย ไม่แน่ใจ ลังเลใจ ในสิ่งที่ควรเชื่อ
    โลภะ ความพอใจ ชอบพอ เต็มใจ ในโลกียอารมณ์ต่างๆ
    ถีนะ ความหดหู่ เงียบเหงา
    อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการกระทำผิด ทุจริต
    มานะ ความ ทะนงตน ถือตัว เย่อหยิ่ง
    ความเป็นตัวตน

    กิเลส - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2012
  4. วันเบาๆ

    วันเบาๆ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2012
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +2
    กิเลส แปลตามพระบาลี แปลว่าเคื่องเศร้าหมองของจิต

    ถ้าเราไปเอามันมาครองใจ เอามาครอบครอง

    ใจเราก็จะเศร้าหมอง ไม่สดใส

    ปราศจากกิเลส มากเท่าใด ใจก็มีความสุข และก็ไม่เศร้าหมอง มากเท่านั้น
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    กิเลส
    คำว่า กิเลส แปลว่า สิ่งที่เศร้าหมอง หรือ เครื่องทำให้เกิดความเศร้าหมอง
    มีความหมาย ๓ อย่าง คือ

    ให้เกิดความสกปรก หรือ เศร้าหมองอย่างหนึ่ง
    ให้เกิดความมืดมิดไม่สว่างไสวอย่างหนึ่ง
    ให้เกิดความกระวนกระวายไม่มีความสงบอีกอย่างหนึ่ง


    เพื่อให้เข้าใจง่าย ท่านแบ่งชั้นกิเลสเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นละเอียดหรือชั้นใน
    อย่างหนึ่ง, ชั้นกลางอย่างหนึ่ง, ชั้นหยาบหรือชั้นนอก อย่างหนึ่ง

    ที่เป็นชั้นใน หมายถึงชั้นที่นอนนิ่งอยู่ในสันดานอย่างเงียบๆ จนกว่าจะมีอารมณ์มา
    กระทบ จึงจะปรุงขึ้นเป็นกิเลสชั้นกลางที่เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิต หรือเป็นกิเลสชั้นหยาบ
    ที่ทะลุออกมาปรากฏเป็นกิริยาต่างๆ ที่ชั่วร้ายภายนอก ตัวอย่างกิเลสชั้นละเอียดที่
    เป็นภายในมีชื่อเรียกว่า อกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ โลภะ-ความโลภ, โทสะ-ความ
    โกรธ ประทุษร้าย, โมหะ-ความหลง หรือ ที่มีชื่อเป็นอย่างอื่นอีกมากชื่อ แต่โดย
    ใจความแล้ว ได้แก่ กิเลสที่ยังสงบอยู่ภายใน จนกว่า ได้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องจน
    เกิดความรู้สึกอยากได้รุนแรง รบกวนอยู่ในใจ พลุ่งพล่านอยู่ด้วยความอยาก หรือ
    พลุ่งพล่าน อยู่ด้วยความโกรธแค้นเกลียดชัง หรือ พลุ่งพล่านอยู่ด้วยความโง่สงสัย
    กระวนกระวายอยู่ในใจ เป็นกิเลสชั้นกลางเรียกชื่อว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่าง คือ
    กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา. ถ้าความปรุงแต่งไม่หยุด
    อยู่แต่เพียงเท่านั้น ก็จะทะลุออกมา ทางกาย ทางวาจา เป็นการกระทำด้วยเจตนา
    เช่น การล่วงละเมิดในทางกาม การฆ่าเขา เบียดเบียนเขา การพูดเท็จ ตลอดจน
    การดื่มน้ำเมา เป็นต้น ซึ่งเรียกว่า กิเลสหยาบ ถ้าพิจารณากันอีกทางหนึ่ง จะเห็นได้
    ว่า ตัวกิเลสที่แท้นั้น คือ กิเลสชั้นใน หรือ ชั้นละเอียดนั่นเอง ส่วนอีก ๒ ชั้นที่เหลือ
    เป็นเพียงกิริยาอาการของกิเลสชั้นในที่แสดงออกมา มากกว่าที่จะเป็นตัวกิเลสเอง
    แต่โดยเหตุที่ท่านเพี่งเล็งถึงตัวความเศร้าหมองมืดมัวและไม่สงบ ท่านจึงจัดกิริยา
    อาการของกิเลสอย่างนั้นทั้ง ๒ ชั้น ว่าเป็นตัวกิเลสโดยตรงอีกด้วย เช่นกิริยาอาการ
    ที่เรียกว่า กามฉันทะ หรือ พยาบาทนั้น ทำให้มโนทวาร หรือ ใจเศร้าหมอง และ
    กิเลสในการล่วงละเมิดในกาม และการพูดเท็จ เป็นต้นนั้น ทำให้กายและวาจาเศร้า
    หมอง ในทำนองเดียวกันกับที่กิเลสชั้นละเอียดได้ทำให้สันดานพื้นฐานส่วนลึกของ
    ใจเศร้าหมอง ในที่สุดเราก็จะได้เป็นคู่ๆ กันดังนี้

    ๑. กิเลสชั้นละเอียด ทำให้สันดานเศร้าหมอง
    ๒. กิเลสชั้นกลาง ทำให้มโนทวารเศร้าหมอง
    ๓. กิเลสชั้นหยาบ ทำให้วจีทวารและกายทวารเศร้าหมอง

    กิเลสชั้นละเอียด ซึ่งได้กล่าวแล้วเรียกว่า อกุศลมูล ในที่นี้ มีเพียง ๓ อย่าง แต่ใน
    ที่อื่นมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น และจำแนกออกไปมากกว่า ๓ อย่าง ตัวอย่างเช่น
    แทนที่จะจำแนกเป็น โลภะ โทสะ โมหะ ก็จำแนกเป็น กามราคะ ปฏิฆะ ทิฎฐิ
    วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ อวิชชา รวมเป็น ๗ อย่าง และเรียกว่า อนุสัย แต่ในที่สุด
    เราก็เห็นได้ว่า กามราคะ ความกำหนัดในกาม และ ภวราคะ ความกำหนัด ใน
    ความมีความเป็น ในที่นี้ ได้แก่ โลภะ หรือ ราคะ นั่นเอง ปฏิฆะ ในที่นี้ ก็คือ โทสะ
    นั่นเอง ส่วน ทิฎฐิ วิจิกิจฉา มานะ อวิชชา ทั้ง ๔ อย่างนี้ สรุปลงรวมได้ในโมหะ
    จึงยังคงเหลือเพียง โลภะ โทสะ โมหะ อยู่นั่นเอง แม้จะจำแนกให้มากออกไปกว่า
    นี้ เช่น เป็น สังโยชน์ ๑๐ ก็ทำนองเดียวกัน คือ อาจจะย่นให้เหลือ เพียง ๓ ได้
    ดังกล่าว หากแต่ว่า เป็นเรื่องละเอียดเกินภูมิ ของผู้เริ่มศึกษา จะงด ไม่กล่าวถึง

    http://www.buddhadasa.com/rightstudydham/kires.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2012
  6. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    พี่ปราบ สอนเด็กสอบ ONETอยู่ใช่ไหม..เข้าแพทย์ ติดชัวร์.
    ...นี่มันวิชาเชื่อมโยง ที่กระทรวงศึกษา ใช้แม่แบบมาจากหลัก พุทธศาสนา โดยเริ่มนำออกมาป้อนสมองเด็กนิดๆ.. นิดเดียวเอง.. จิ๊ดเดียวจริงๆ.. กลัวเด็กตามไม่ทัน ASIAN..บวก3 บวก6..
    ..ธรรมใดเกิดแต่เหตุใด พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงเหตุแห่งการเกิดและดับ ของเหตุนั้น..
    แปลงเป็น วิชาเชื่อมโยง โดยใช้หลัก อิทัปัจจยะตา ..มีสิ่งนี้เป็นต้นเหตุ..จึงเกิดสิ่งนั้น..จึงมีสิ่งนี้..ฯลฯ
    กิเลส กรรม วิบาก ..นับถือ..นับถือ พี่ปราบ..ONET..GAT-PAT..!
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อีกหนึ่งทัศนะบุคคลหนึ่ง โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน เด๊อค่ะ
    ขอขมาพระพุทธเจ้า _/|\_ หากมีการบิดเบือนคำสอนเพราะความไม่รู้


    พระพุทธเจ้าสอนการละกิเลสเป็นขั้นตอน
    วันหนึ่ง ไม่ทราบว่าเราคิดสนุกอย่างไร ไปหยอกผู้เฒ่า (หลวงปู่ เมตตาหลวง อดีตเจ้าอาวาส วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา)


    “หลวงปู่ ไปเที่ยวสอนให้คนละ กิเลส โลภ โกรธ หลง สอนศาสนาผิดนะ”


    “ไอ้บ้า! ทั้งหลายเขาสอนให้ละ กิเลส โลภ โกรธ หลง แกเอาคัมภีร์ไหนมาพูดวะ ว่าสอนให้คนละ กิเลส โลภ โกรธ สอนศาสนาผิด ใครสอนเธอมา”
    “ไม่มีใครสอน ผมคิดของผมเอง ไม่มีใครจะไปตั้งใจละกิเลส โลภ โกรธ หลง ได้หรอก พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้สอนให้ละกิเลส โลภ โกรธ หลง โดยตรง แต่เวลาท่านพูดไว้ ท่านพูดไว้ในระดับสูง ทีนี้ ในเมื่อใครละกิเลส โลภ โกรธ หลง ยังไม่ได้ ท่านสอนให้ใช้ กิเลส โลภ โกรธ หลง ให้เกิดประโยชน์โดยความเป็นธรรม”
    “แกมีอะไรเป็นหลักฐาน”
    “ศีล ๕ ข้อ กับทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ กิเลส โลภ โกรธ หลง มีในใจ เอาให้มันเป็นสิ่งกระตุ้นเตือนใจให้เกิดทะเยอทะยานในความอยากได้ อยากดีอยากมี อยากเป็น
    สิ่งที่มนุษย์ปรารถนามีอยู่ ๕ อย่าง
    ลาภ คือผลประโยชน์ ยศ ตำแหน่งหน้าที่การงาน สรรเสริญ ชื่อเสียงอันดีงาม สุขกายสุขใจ และ อำนาจ
    ๕ อย่างนี้ ทุกคนมีสิทธิที่จะแสวงหา แต่ว่าการแสวงหาควรจะมีขอบเขต ขอบเขตก็คือ ศีล ๕ ข้อ

    “แล้วเธอมีหลักฐานอะไรมายืนยัน”
    “ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ อุฏฐานสัมปทา หมั่นขยันในการประกอบธุรกิจการงานหาผลประโยชน์
    นี่คือหลักฐาน คนไม่มีความโลภ ขยันไม่เป็น พอได้ผลประโยชน์มาแล้ว อารักขสัมปทา หัดตระหนี่ให้มากๆ คนไม่ตระหนี่ไม่มีโอกาสได้เป็นเศรษฐี ในเมื่อพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติและอำนาจ กัลยาณมิตตตา สร้างความดีกับเพื่อนบ้าน แต่คนทั้งหลายไปตีความหมายว่า คบมิตรที่ดี แต่ผมเปลี่ยนคำว่า สร้างความดีกับเพื่อนบ้าน ให้เพื่อนบ้านเขารัก เคารพนับถือ บูชา จะได้เป็นกำลังช่วยรักษาชีวิตและทรัพย์สมบัติของเราให้มั่นคง สมชีวิตา เลี้ยงตนเองและครอบครัว ตามสมควรแก่ฐานะ อันนี้คือหลักของท่าน”

    เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าสอนธรรมะนี่ พระองค์สอนเป็นขั้นตอน

    คนที่ยังติดอยู่ในโลก ให้แสวงหาผลประโยชน์ทางโลก

    คนที่มีอินทรีย์แก่กล้า แสวงหาผลประโยชน์ในทางธรรมเพื่อสวรรค์

    คนที่มีอุปนิสัยสูง แสวงหาผลประโยชน์เพื่อมรรคผลนิพพาน

    ท่านสอนไว้เป็นขั้นตอนอย่างนี้

    Palungdham.com : พลังธรรม -นำแสงสว่างสู่จิตใจมวลมนุษย์
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ๗. อย่าตกเป็นทาสของกิเลส

    ๐ ความดี เป็นเหตุให้ชื่อสกุลดำรงอยู่อย่างชื่นชมความชั่ว เป็นเหตุให้ชื่อสกุลดำรงอยู่อย่างดูถูก
    พระพุทธเจ้าทรงเป็นพยานยืนยันความจริงที่ว่า ร่างกายของสัตว์ย่อยยับได้ แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ
    พระพุทธสรีระ คือร่างกายของพระพุทธเจ้าย่อยยับไปนานนักแล้ว นับเป็นเวลากว่าสองพันปี แต่ชื่อและสกุลของพระองศ์ท่านหาได้ย่อมยับไปด้วยไม่ ยังดำรงอยู่อย่างมั่นคงตราบเท่าทุกวันนี้ พระนามของพระพุทธองศ์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและเป็นที่รู้จักอย่างเทิดทูนบูชาศรัทธาเลื่อมใสอย่างสูงส่ง
    ทำให้น่าคิดว่า ชื่อและสกุลที่ไม่ย่อยยับนั้น แตกต่างกันเป็นสองลักษณะกว้างๆคือลักษณะหนึ่ง ดำรงอยู่อย่างเป็นชื่นชมยกย่องสรรเสริญ ความแตกต่างนั้น ทุกคนน่าจะเข้าใจว่าเป็นเพราะเหตุสำคัญ คือความดีกับความชั่ว
    ความดี จะเป็นเหตุให้ชื่อและสกุลดำรงอยู่อย่างเป็นที่ชื่นชมยกย่อง สรรเสริญ
    ความชั่ว จะเป็นเหตุให้ชื่อและสกุลดำรงอยู่อย่างเป็นที่ดูหมิ่นดูแคลน รังเกียจเหยียดหยาม
    ๐ ความไม่รอบคอบในการจัดการกับกิเลส
    น่าจะกล่าวได้ว่าทุกคนรักชื่อรักสกุลของตน แต่ความไม่รอบคอบในการจัดการกับกิเลส ทำให้คนเป็นอันมากทำลายชื่อ ทำลายสกุลของตนเอง ทำให้ชื่อให้สกุลของตนดำรงอยู่อย่างย่อยยับก้าชื่อและสกุลจะย่อยยับไปเสียพร้อมกับร่างกาย ก็ย่อมจะดีกว่าคือถ้าตัวตาย ร่างกายเปื่อยเน่าสลายไป ชื่อและสกุลก็สลายไปพร้อมกัน ก็จะไม่มีอะไรน่ากังวลห่วงใยนัก
    แต่เมื่อไม่เป็นเช่นนั้น ร่างกายย่อยยับแล้ว ไม่มีเหลืออยู่แล้วแต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ ยังเหลืออยู่ ผู้ร่วมสกุลผู้อยู่หลังยังมีอยู่ ยังร่วมรับรู้เกี่ยวกับชื่อและสกุลของเราอยู่ จนเป็นเหตุให้ชื่อและสกุลที่ดำรงอยู่เป็นที่รังเกียจเหยียดหยาม นำความอับอายขายหน้า ความเสื่อมเสีย มาสู่ผู้ร่วมสกุลทั้งหลายที่ร่างกายยังไม่ย่อมยับ

    ๐ อย่าตกเป็นทาสของกิเลส
    จงรอบคอบในการปฏิบัติจัดการกับกิเลสทั้งปวง ที่มีอยู่ในใจตนอย่าตกเป็นทาสของกิเลสเมื่อยังไม่สามารถหนีไกลกิเลสได้พ้นจริง ก็ต้องเข้มแข็งประณีตในการปฏิบัติทุกอย่างให้ฉลาดเหนือกิเลส ให้กิเลสอยู่ใต้เราไม่ใช่ให้เราอยู่ใต้กิเลส

    ๐ การนำกิเลสที่มีอยู่ มาใช้ให้เกิดประโยชน์
    มีกิเลสอยู่ต้องใช้กิเลสให้เป็นประโยชน์ เช่นใช้กิเลสกองโลภะให้เป็นการโลภแสวงบุญกุศลคุณความดี ใช้กิเลสกองโทสะดุว่าตำหนิติเตียนตนเองเมื่อทำไม่ชอบ ดังนี้เป็นต้น

    ๐ ตราบใดที่กิเลสยังไม่ไกลจากจิตใจสิ้นเชิงตราบนั้น..ยังไม่ควรหยุดขับไล่กิเลส
    แต่ที่ถูกต้องที่สุด ควรปฏิบัติที่สุดก็คือ พยายามขับไล่กิเลสออกพ้นใจให้เต็มสติปัญญาความสามารถ โลภก็ตาม โกรธ ก็ตาม หลงก็ตาม ต้องพยายามขจัดไปให้พ้นจิตใจให้ได้ หมั่นสำรวจตรวจดูใจตนว่า สามารถทำได้ผลเพียงใดในแต่ละวันแล้วไม่นอนใจไม่พอใจว่า ทำให้ผลเพียงพอแล้ว ตราบใดที่กิเลสยังไม่ไกลจากจิตใจสิ้นเชิง ตราบนั้นยังไม่ควรหยุดขับไล่กิเลส

    ๐ ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะของใคร เกิดจากใครอื่น นอกจากเจ้าตัวเอง
    โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ทรงมีพระพุทธดำรัสเช่นนี้เป็นสัจจะความจริงเช่นนี้ ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะของใคร เกิดจากใครอื่น นอกจากเจ้าตัวเอง ไม่ว่ามากน้อยหนักเบา โลภะ โทสะ โมหะ
    เกิดจากตัวเองทั้งสิ้น และที่จะเกิดได้ก็ด้วยอาศัยสื่อคือความคิดปรุง ปรุงคิดอันเกิดจากอวิชชาความรู้ไม่ถูก รู้ไม่จริง

    ๐ ความคิดที่ไม่มีอวิชชาตัณหาเป็นพลังประกอบจะไม่ทำให้เกิดโลภะ โทสะ และโมหะได้เล
    ความโลภ โกรธ หลงของผู้ใด จะเกิดก็เพราะความคิดปรุงของผู้นั้น ความคิดปรุงที่อวิชชาตัณหาเป็นพลังสำคัญส่งเสริม จึงจะทำให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือโลภะ โทสะ โมหะเกิดได้
    ความคิดปรุงที่ไม่มีอวิชชาตัณหาเป็นหลังประกอบ จะไม่ทำให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือโลภะ โทสะ โมหะ เกิดดังนั้น ความคิดปรุงจึงมีสองอย่าง อย่างหนึ่งประกอบด้วยกิเลสอย่างหนึ่งไม่ประกอบด้วยกิเลส และแม้จะมีกิเลสเป็นพื้นที่อยู่ที่จิตใจ แต่ถ้าไม่มีความคิดปรุงมากกระตุ้นให้ปรากฏตัวแล้ว กิเลสก็จะสงบตัวอยู่เหมือนไม่มี
    ความคิดปรุงอันประกอบด้วยกิเลส ที่ทำให้โลภะ โทสะ โมหะ แสดงตัว ก็เป็นโลภะ โทสะ โมหะที่ใจตัวเอง ไม่ใช่โลภะ โทสะ โมหะของใครอื่น จึงเป็นความจริง เป็นสัจจะที่ควรพยายามให้รู้ให้เห็นตามที่พระพุทธเจ้ารับสั่งว่า โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง

    ๐ โลภะ โทสะ โมหะ ย่อมเบียดผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น
    พระพุทธเจ้ารับสั่งว่า โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเองย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น
    พระพุทธดำรัสนี้ชี้ชัดว่า ทรงกล่าวถึงกิเลส คือโลภะ โทสะ โมหะ ว่าเป็นความชั้ว มีอยู่ที่ใจทำให้ใจชั่ว มีอยู่ที่ใจผู้ใด ทำให้ผู้นั้นมีใจชั่ว ดังพระพุทธดำรัส และขุยไผ่นั่นก็เกิดจากต้นไผ่เองทำให้ต้นไผ่ต้องตายเอง
    ทรงเปรียบกิเลสคือโลภะ โทสะ โมหะ กับขุยไผ่ ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ กิเลสคือโลภะ โทสะ โมหะ มีอยู่ที่ใจผู้ใด ย่อมฆ่าผู้นั้นทำให้ผู้นั้นเป็นผู้ตายทั้งเป็น คือถูกฆ่าทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่
    พระพุทธพจน์ หรือพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเปรียบได้ดังวิชาความรู้ที่ต้องศึกษาและสอบให้ผ่าน ไม่เช่นนั้นก็จะบรรลุผลม่ได้ ผู้มุ่งมาบริหารจิตจึงต้องหมั่นยกสัจจะที่ตรัสสั่งสอนไว้ขึ้นพิจารณา เหมือนท่องบนวิชาทั่วไปทั้งหลายจนเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจของตนเอง เป็นผลที่ตนเองได้รับได้เสวยตามควรแก่ความพากเพียรศึกษาปฏิบัติ จนเป็นความรู้ความเข้าใจจริง

    ๐ พระพุทธองศ์ ผุ้มีมหากรุณาอย่างหาที่เปรียบมิได้
    พระพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย นับว่าเป็นผู้มีบุญ เป็นผู้ได้เปรียบเพราะมีพระพุทธเจ้าผู้ทรงตรัสรู้ คือทรงรู้แจ้งโลก ทรงรู้แจ้งทุกสิ่งทุกอย่าง และทรงรู้อย่างถูกต้อง ไม่ใช่ทรงรู้ผืดอันเป็นอวิชชา
    พระพุทธเจ้าไม่ทรงเพียงรู้แจ้งโลกอย่างถูกแท้เท่านั้น แต่ทรงมีพระมหากรุณาอย่างหาที่เปรียบมิได้ต่อโลก มิใช่ต่อผู้หนึ่งผู้ใดเท่านั้นด้วย ดังนั้นจึงทรงแสดงความรู้ที่ทรงตรัสรู้อย่างเปิดเผยไม่ปกปิด เพื่อให้ผู้ยอมเชื่อฟังได้รับประโยชน์ นำไปปฏิบัติพาตนให้ดำเนินไปตามทางที่ทรงดำเนินถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงแล้ว

    ๐ วิธีบริหารจิตโดยตรง ให้ท่างไกลจากกิเลส
    อันความคิดและสติปัญญาของบุถุชนเรา แตกต่างจากของพระพุทธเจ้าอย่างหาคำอธิบายให้ถูกไม่ได้ ดังนั้นจึงมีความตรงกันข้ามอยู่ในแทบทุกเรื่อง ที่เป็นความตรัสรู้ และที่เป็นความคิดเห็นของบุถุชนทั้งหลาย เป็นต้น ในความสุขและความทุกข์ที่เราเข้าใจว่าเป็นสุขก็ทรงแสดงว่าเป็นทุกข์ ที่เราเข้าใจว่าน่าใคร่ปรารถนาพอใจ ก็ทรงแสดงว่าไม่น่าใคร่ไม่น่าปรารถนาพอใจ และที่เราเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่จะนำให้เกิดความสุข ก็ทรงแสดงว่าเป็นสิ่งที่จะนำให้เกิดความทุกข์ ดังนี้เป็นต้น
    จึงสมควรที่จะใช้วิธีบริหารจิตโดยตรง คือ โดยยอมเชื่อว่าไม่ว่าในเรื่องใดสิ่งใดทั้งนั้น ถ้าความคิดความเห็นของเราผิดจากพระพุทธเจ้าแล้ว เราเป็นฝ่ายผิด ต้องแก้ไขให้ถูกต้องตามของพระพุทธเจ้าให้เต็มสติปัญญาความสามารถ


    ๐ การดำรงชีวิตของคน เปรียบได้กับการเดินทาง
    เปรียบชีวิตก็เหมือนทาง การดำรงชีวิตอยู่ของแต่ละคนก๋เปรียบดังการเดินทางนั่นเอง แตกต่งกันเพียงว่าบางคนเดินอยู่บนทางที่สว่าง บางคนเดินอยู่บนทางที่มืด
    พระพุทธองศืทรงประกาศว่า ทรงชูประทีปขึ้นส่องทาง ก็แสดงว่าทางของพระพุทธองศ์เป็นทางที่สว่าง คือตามที่พระพุทธองศ์ทรงแสดงไว้ชัดแจ้งว่า เป็นทางที่ถูกแท้ อันจักนำไปถึงจุดมุ่งหมายได้โดยสวัสดี ไม่พาไปตกหลุมตกเหวเป็นเหยื่อของสัตว์ร้ายเสียก่อน

    ๐ กิเลสเปรียบเหมือนสัตว์ร้ายหรือห้วงเหวที่มีอยู่เต็มทางแห่งชีวิตของทุกคน
    ความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น เปรียบได้กับสัตว์ร้าย หรือห้วงเหวที่มีอยู่เต็มทางแห่งชีวิตของทุกคน
    ถ้าเราเดินไปตามที่มีประทีปส่องสว่างคือทางที่มีคำสั่งสอนของพระพุทธองศ์ประกอบบอกอยู่ตลอดเวลาว่านั่นคือสัตว์ร้ายให้หลีกเลี่ยงด้วยการทำเช่นนั้นเช่นนี้ หรือนั่นคือเหว ให้หลีกให้พ้นด้วยการเลี่ยงไปทางนั้นทางนี้ เหล่านี้เป็นต้น
    พระพุทธเจ้า จึงควรใช้ศรัทธาให้ถูกต้องเต็มกำลังความสามารถอย่าท้อแท้ ลังเล ทรงสอนให้หลีกเลี่ยงอะไรควรตั้งใจปฏิบัติตามทรงสอนให้ทำอย่างไร ควรตั้งใจทำอย่างนั้น ที่แน่นอนที่สุดคือทรงสอนให้ไม่ทำบาป ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ให้ทำบุญทำกุศลทำคุณงามความดีทุกอย่าง และทำใจให้ผ่องใส คือไม่ให้ขุ่นมัวมืดมิดด้วยอำนาจของกิเลสคือโลภ โกรธ หลง
    เมื่อมุ่งมาบริหารจิต ก็ต้องถือว่าเดินอยู่บนทางที่ทรงชูประทีปให้เห็นแสงสว่างชัดเจน เป็นแสงส่องทาง หรือแสงส่องใจนั่นเอง

    ๐ ถ้าต้องการมีความสุข ต้องกำจัดกิเลสของตนเอง
    ความทุกข์ทั้งหลายเกิดจากกิเลส โลภะหรือราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ถ้าต้องการมีความสุข ก็ต้องกำจัดกิเลส กิเลสของตัวเอง กิเลสที่ใจตนเอง ไม่ใช่ไปตั้งหน้าจะกำจัดกิเลสของผู้อื่นเรื่องการกำจัดกิเลสนั้น จะได้ผลก็ต่อเมื่อเป็นการกำจัดกิเลสตนเอง คือกิเลสของผู้ใด ผู้นั้นต้องกำจัด จะได้ผลยากมากหรือ
    ไม่ได้ผลเลย ถ้ามุ่งไปกำจัดกิเลสผู้อื่น
    เรื่องนี้สำคัญ ควรรำลึกไว้และปฏิบัติให้ถูก กำจัดความโลภ ความโกรธ ความหลงที่ใจตน จึงจะเกิดผล กำจัดความโลภ ความโกรธ ความหลงของผู้อื่นได้ผลยาก และอาจไม่ได้ผลเลย ผู้มีปัญญาจึงมุ่งดูกิเลสของตน และจำกัดกิเลสของตนเท่านั้น ผู้ใดมุ่งกำจัดกิเลสของตนได้เพียงไหน จักมีความสุขเพียงนั้นนี้เป็นความจริงแท้


    ๐ เมื่อเห็นกิเลสในใจตน ก็จะเห็นความสุขความทุกข์ในใจตนเองได้ด้วย
    พึงเพ่งดูใจตนเอง ให้เห็นกิเลสที่ใจตนเอง ขณะเดียวกันจะสามารถเห็นความสุขความทุกข์ในใจตนเองได้ด้วย
    สำคัญอยู่ที่ว่าต้องใช้สติปัญญาให้ดี ให้ถูก ให้เห็นหน้าตาของกิเลสที่ใจตนเองให้ได้
    อย่าเห็นกิเลสที่ใจตน แล้วหลงเข้าใจผิดว่าเป็นกิเลสของผู้อื่นมุ่งไปแก้ที่ผู้อื่น เช่นนี้จักไม่มีวันได้พบความสุข เพราะจักไม่ได้เวลาที่กิเลสที่ใจตนถูกกำจัดให้ลดน้อยลง ความทุกข์จึงย่อมไม่หมดไป เพราะความทุกข์ทั้งหลายเกิดจากกิเลส

    ๐ บันไดขั้นต้นของการทำกิเลสให้หมดจด คือการไม่ทาปทั้งปวง และทำกุศลให้ถึงพร้อม
    กล่าวได้แน่นอนว่า ไม่มีทางใดจะพาให้ถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงได้ นอกจากทางที่ดำเนินไปสุ่ความหมดจดผ่องแผ้วของจิตใจเท่านั้น
    หมดจดจากอะไร แม้มีปัญหานี้ขึ้นก็ตอบได้ว่า หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง บันไดขั้นต้นของการทำกิเลสให้หมดจดก็คือการไม่ทำบาปทั้งปวงและทำกุศลให้ถึงพร้อมนั่นเอง

    ๐ จิตผ่องใสพ้นจากกิเลสสิ้งเชิงเมื่อไรก็ แสดงว่าพ้นทุกข์แล้วอย่างสิ้นเชิง เมื่อนั้น
    บันไดขั้นสุดท้ายคือการชำระจิตใจให้ผ่องใส่ จิตใจผ่องใสเมื่อไร ก็แสดงว่าไกลจากกิเลสแล้วเมื่อนั้น จิตผ่องใสน้อยก็แสดงว่าพ้นทุกข์แล้วอย่างสิ้นเชิงเมื่อนั้น นี่แหละพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า หาผู้ใดเล่าเปรียบเหมือน

    ๐ เมื่อมีความโกรธเกิดขึ้น จิตใจยิ่งมืดมัว
    อันความโกรธเป็นความมืด มีคำเปรียบว่าโกรธจนหน้ามืด หน้ามืดหรือตามืดก็หมายความว่าแลไม่เห็น หรือเห็นไม่ชัด เห็นไม่ถูกต้องตามเป็นจริง
    ตามืดหรือตาบอดไม่ดีอย่างไร ความืดที่เกิดจากความโกรธไม่ดียิ่งไปกว่านั้นอย่างประมาณไม่ได้ ความมืดที่เกิดจากความโกรธจะปรากฏครอบคลุมใจก่อให้เกิดความทุกข์ เหมือนผู้ที่เคยตาดีแล้วหลับตาบอด จะต้องเป็นทุกข์หนักยิ่งกว่าผู้ที่ตาบอดแต่กำเนิด

    ๐ พิจารณาจิตใจให้รอบคอบ ให้เห็นจริง ขณะที่ความโกรธยังไม่เกิด และขณะที่เกิดขึ้น
    จึงควรพิจารณาให้รอบคอบ ให้เห็นจริง ว่าเมื่อโกรธยังไม่เกิด กับเมื่อความโกรธเกิดขึ้น ใจของ ตนเองแตกต่งกันอย่างไรเมื่อความโกรธเกิดขึ้น ใจตนมืดมัวจริงหรือไม่ ความมืดมัวของใจนั้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความโง่หรือความไม่มีปัญญาของใจ
    ความโกรธรุนแรงเพียงไร ความืดของใจก็จะมากเพียงนั้น มืดสนิทเพียงนั้น ขาดปัญญาเพียงนั้น
    ที่ว่าขาดปัญญานั้นก็เช่นเมื่อความโกรธเกิดขึ้นรุนแรง ใจมืดสนิทปัญญาดับ เห็นอะไรก็จะไม่ถูก รู้อะไรก็จะไม่ถูก ความเห็นไม่ถูกรู้ไม่ถูกนี้แหละ จะนำให้เกิดความผิดพลาดอีกมากมายหลายอย่าง เป็นความผิดพลาดที่มักจะกล่าวกันว่าไม่น่าทำ หรือทำโง่ๆนั่นเอง

    http://www.dhammajak.net/book-somdej2/10.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2012
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    กิเลส เป็นอกุศลจิต อยุ่แล้ว มีอยู่ในจิตปุถุชนทุกคน ต้นตอก็มาจากอวิชชาความไม่รู้

    เราใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับอวิชชา กิเลส ตัณหา มานานเป็นเรื่องปกติธรรมดา
    แต่ถ้าเราไม่มี อวิชชา กิเลส ตัณหา เราก็ไม่ต้องมาใช้ชีิวิตเกิดดับวนเวียนเป็น
    วงกลมวัฏฏะสงสารแบบนี้หลอก คงทะลุตะข่ายไปแร้ว

    ทีนี้จะบอกว่ากิเลสเป็นกุศลจิตที่ไร้ประโยชน์ซะทีเดียวก็หาไม่
    ผู้มีปัญญาย่อมรู้ว่า อกุศลจิตเกิดแล้วมีสติรู้ทันก็เกิดเป็นกุศลจิตขึ้นมา
    คือการสร้างปัญญารู้ธรรมหนึ่ง ก็ขยันหมั่นเพียรภาวนาเพื่อเจริญสติเจริญปัญญา
    จากทุกสภาวะจิตทั้งกุศลจิตและอกุศลจิตที่เกิดขึ้นเองเป็นวิบากจิต เอามาใช้
    ในการภาวนา เมื่อมีปัญญารู้รอบรู้ชัดในคุณและโทษของอกุศลจิตอันเกิดจาก
    ปัจจัยคือกิเลส ตัณหา หรือเห็นถึงอวิชชา ได้ย่อมเกิดพุทธปัญญาสลัดคืน
    ปล่อยวาง ละทิ้ง กิเลส ตัณหา อวิชชา ลงได้ด้วยปัญญาที่รู้แจ้งนั้น
    เป็นเหตุให้อกุศลจิตเกิดน้อยลง หรือไม่เกิดเลย มีแต่กุศลจิตเกิดเป็นอาจิณ
    อยู่สุขได้ด้วยปัญญาทางธรรม มีปัญญารู้คุณรู้โทษของกิเลสตัณหาหมดสิ้นแล้ว

    ถ้าไม่มีกิเลส ตัณหา อวิชชา เราจะใช้อะไรเป็นเหตุปัจจัยในการละวางล่ะ
    จะไปละวางอัตตาด้วยความไม่รู้คุณโทษของสิ่งต่างๆที่ประกอบอยู่ในจิตใจเรา
    แบบว่าฆ่าตัวตายถอนเสาเรือน ตัดเหลือแต่ตอ มันจะหมดเหตุเกิดได้หรือ
    จะรู้คุณรู้โทษของอัตตาได้จริงๆหรือถ้าไม่มีกิเลสตัณหาแสดงออกมาเป็นอััตตาให้เรารู้

    วิซั่น วิซั่น แบบแมวๆ
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2012
  10. เลขโนนสูง

    เลขโนนสูง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +825
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    เจตนา เป็น กรรม....เหตุเกิดแห่งกรรม คือ ผัสสะ.....พระวจนะเรื่องกิเลสตัณหา พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เรามองไม่เห็นสัญโญชย์อื่นแม้แต่อย่างเดียว ซึ่งเมื่อสัตว์ทั้งหลาย ประกอบแล้ว ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ในวัฎสงสาร ตลอดกาลนานอย่างนี้ เหมือนอย่างตัณหาสัญโญชย์ นี้ ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายที่ประกอบด้วยตัณหาสัญโญชย์แล้ว ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ในวัฎสงสาร ตลอดกาลนาน โดยแท้จริงแล---อิติวุ.ขุ.25/236/193:cool: พระวจนะเรื่อง เครื่องจูงใจสู่ภพ พระวจนะ" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่าเครื่องนำสู่ภพ เครื่องนำไปสู่ภพ ดังนี้ ก็เครื่องนำไปสู่ภพเป็นอย่างไรพระเจ้าข้า และ ความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพนั้นเป็นอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า------ราธะ ฉันทะ ก็ดี ราคะ ก็ดี นันทิ ก็ดี ตัณหาก็ดี และอุปายะ(กิเลสเครื่องนำไปสู่ภพ) และอุปาทานอันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตก็ดี ใดใดในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาน กิเลสเหล่านี้เราเรียกว่าเครื่องนำไปสู่ภพ ความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพมีได้ เพราะความดับไม่เหลือของกิเลสมีฉันทะราคะเป้นต้นเหล่านั้นเอง---ขนธ.สํ.17/233/368.:cool:
     
  12. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    [​IMG]



    เมื่อตากระทบรูป แยกได้ไหม
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    [​IMG].....(ping-love
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <CENTER>พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)</CENTER>
    [356] จิต 89 หรือ 121 (ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ, วิญญาณ — mind; thought; consciousness; a state of consciousness)

    “จิต” มีไวพจน์ คือ คำที่ต่างเพียงรูป แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน ใช้แทนกันได้หลายคำ เช่น มโน มานัส หทัย บัณฑร มนายตนะ มนินทรีย์ และ วิญญาณ เป็นต้น (อภิ.สํ. 34/21/10; ฯลฯ) คำเหล่านี้มีความหมายเกยกัน มิใช่ตรงกันโดยสมบูรณ์ ใช้แทนกันได้ในบางโอกาส มิใช่เสมอไป
    เมื่อจัดแบ่งสภาวธรรมทั้งหลายเป็นประเภทๆ ที่เรียกว่า ขันธ์ 5 จิตได้แก่ วิญญาณขันธ์ แต่ในคัมภีร์อภิธรรมยุคต่อมา นิยมประมวลสภาวธรรมเข้าเป็น 4 อย่าง เรียกว่า ปรมัตถธรรม 4 จิต เป็นปรมัตถธรรมอย่างที่ 1; ดู [157] ปรมัตถธรรม 4; [216] ขันธ์ 5.
    คัมภีร์อภิธรรมรุ่นอรรถกถา ประมวลเรื่องจิตที่แสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎกแล้ว แจงนับสภาพจิตทั้งหลายไว้ว่ามีจำนวน 89 หรือโดยพิสดารมี 121 เรียกว่า จิต 89 หรือ 121
    เบื้องต้นนี้ จะประมวลจิตทั้งหมดไว้เป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ ก่อน เพื่อสะดวกในการศึกษากำหนดจดจำและทบทวนต่อไป ในที่นี้ พึงทราบวิธีจำแนกประเภท 2 แบบ เปรียบเทียบกัน ดังนี้ <SUP class=remark>*</SUP>
    <CENTER><SMALL>----------------------------------------------</SMALL></CENTER><CENTER><SMALL><SUP class=remark>*</SUP> ท่านเรียบเรียงเป็นคาถาสรุปความไว้ ดังนี้</SMALL></CENTER><CENTER><TABLE class=remark cellSpacing=0 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="40%">ทฺวาทสากุสลาเนว <TD>กุสลาเนกวีสติ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=remark cellSpacing=0 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="40%">ฉตฺตึเสว วิปากานิ <TD>กฺริยาจิตฺตานิ วีสติ ฯ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=remark cellSpacing=0 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="40%">จตุปญฺญาสธา กาเม <TD>รูเป ปณฺณรสีริเย</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=remark cellSpacing=0 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="40%">จิตฺตานิ ทฺวาทสารูเป <TD>อฏฺฐธานุตฺตเร ตถา ฯ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=remark cellSpacing=0 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="40%">อิตฺถเมกูนนวุติปฺ <TD>ปเภทํ ปน มานสํ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=remark cellSpacing=0 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="40%">เอกวีสสตํ วาถ <TD>วิภชนฺติ วิจกฺขณา ฯ</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    ก. โดยชาติประเภท

    1. อกุศลจิต 12
    - โลภมูลจิต 8
    - โทสมูลจิต 2
    - โมหมูลจิต 2
    2. กุศลจิต 21 (37)
    - มหากุศลจิต 8
    - รูปาวจรกุศลจิต 5
    - อรูปาวจรกุศลจิต 4
    - โลกุตตรกุศลจิต 4 (20)
    3. วิปากจิต 36 (52)
    - อกุศลวิบากจิต 7
    - กุศลวิบากอเหตุกจิต 8
    - มหาวิบากจิต 8
    - รูปาวจรวิบากจิต 5
    - อรูปาวจรวิบากจิต 4
    - โลกุตตรวิบากจิต 4 (20)
    4. กิริยาจิต 20
    - อเหตุกกิริยาจิต 3
    - มหากิริยาจิต 8
    - รูปาวจรกิริยาจิต 5
    - อรูปาวจรกิริยาจิต 4​

    ข. โดยภูมิประเภท
    1. กามาวจรจิต 54
    1) อกุศลจิต 12
    - โลภมูลจิต 8
    - โทสมูลจิต 2
    - โมหมูลจิต 2
    2) อเหตุกจิต 18
    - อกุศลวิบากจิต 7
    - กุศลวิบากอเหตุกจิต 8
    - อเหตุกกิริยาจิต 3
    3) กามาวจรโสภณจิต 24
    - มหากุศลจิต 8
    - มหาวิบากจิต 8
    - มหากิริยาจิต 8
    2. รูปาวจรจิต 15
    1) รูปาวจรกุศลจิต 5
    2) รูปาวจรวิบากจิต 5
    3) รูปาวจรกิริยาจิต 5
    3. อรูปาวจรจิต 12
    1) อรูปาวจรกุศลจิต 4
    2) อรูปาวจรวิบากจิต 4
    3) อรูปาวจรกิริยาจิต 4
    4. โลกุตตรจิต 8 (x ฌาน 5 = 40)
    1) โลกุตตรกุศลจิต 4 (20)
    2) โลกุตตรวิบากจิต 4 (20)​

    หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ ( ) หมายถึงจำนวนอย่างพิสดาร เมื่อนับจิตเป็น 121 (พึงสังเกตว่าจำนวนจะเพิ่มเฉพาะ โลกุตตรจิต อย่างเดียว คือ โลกุตตรจิต อย่างย่อมี 8 อย่างพิสดารจำแนกออกไปตามฌานทั้ง 5 เป็น 40)​

    ต่อไปจะแสดง จิต 89 [122] ตามแบบภูมิประเภท (แบบชาติประเภทพึงกำหนดเอาจากแบบภูมิประเภทนี้ ตามหัวข้อที่แสดงไว้แล้ว)
    1. กามาวจรจิต 54 (จิตที่เป็นไปในกามภูมิ — consciousness of the Sense-Sphere)
    1) อกุศลจิต 12 (จิตอันเป็นอกุศล — immoral consciousness) อกุศลจิตมีแต่ที่เป็นกามาวจรนี้เท่านั้น คือ
    โลภมูลจิต 8 (จิตมีโลภะเป็นมูล — consc rooted in greed)
    1. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    2. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    3. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    4. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    5. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    6. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    7. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    8. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ​

    1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
    2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ
    3. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
    4. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ
    5. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
    6. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ
    7. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
    8. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ​

    1. One consc, acc by joy, asso with wrong view, unprompted.<SUP class=remark>*</SUP>
    <SMALL><SUP class=remark>*</SUP> consc = consciousness; acc = accompanied; asso = associated; diss = dissociated; indif = indiffernce.</SMALL>

    2. One consc, acc by joy, asso with wrong view, prompted.
    3. One consc, acc by joy, disso from wrong view, unprompted.
    4. One consc, acc by joy, disso from wrong view, prompted.
    5. One consc, acc by indif, asso with wrong view, unprompted.
    6. One consc, acc by indif, asso with wrong view, prompted.
    7. One consc, acc by indif, disso from wrong view, unprompted.
    8. One consc, acc by indif, disso from wrong view, prompted.​

    โทสมูลจิต 2<SUP class=remark>๑</SUP> (จิตมีโทสะเป็นมูล — consc rooted in hatred)
    <SMALL><SUP class=remark>๑</SUP> เรียก ปฏิฆสัมปยุตตจิต ก็ได้.</SMALL>

    1. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    2. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ​

    1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปฏิฆะ ไม่มีการชักนำ
    2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปฏิฆะ มีการชักนำ​

    1. One consc, acc by grief, asso with resentment, unprompted.
    2. One consc, acc by grief, asso with resentment, prompted.​

    โมหมูลจิต หรือ โมมูหจิต 2 (จิตมีโมหะเป็นมูล — consc rooted in delusion)
    1. อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ
    2. อุเปกฺขาสหคตํ อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ​

    1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยวิจิกิจฉา
    2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยอุทธัจจะ

    1. One consc, acc by indif, asso with uncertainty.
    2. One consc, acc by indif, asso with restlessness.​

    2) อเหตุกจิต 18 (จิตอันไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือ ไม่ประกอบด้วยเหตุ 6 ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ — rootless consc)
    อกุศลวิบากจิต 7 (จิตที่เป็นผลของอกุศล — rootless resultant-of-immorality consc)
    1. อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺญาณํ
    2. อุเปกฺขาสหคตํ โสตวิญฺญาณํ
    3. อุเปกฺขาสหคตํ ฆานวิญฺญาณํ
    4. อุเปกฺขาสหคตํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
    5. ทุกฺขสหคตํ กายวิญฺญาณํ
    6. อุเปกฺขาสหคตํ สมฺปฏิจฺฉนฺนํ
    7. อุเปกฺขาสหคตํ สนฺตีรณํ​

    1. จักขุวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
    2. โสตวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
    3. ฆานวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
    4. ชิวหาวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
    5. กายวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยทุกขเวทนา
    6. สัมปฏิจฉันนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
    7. สันตีรณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา​

    1. Eye-consc, acc by indif.
    2. Ear-consc, acc by indif.
    3. Nose-consc, acc by indif.
    4. Tongue-consc, acc by indif.
    5. Body-consc, acc by pain.
    6. Receiving-consc, acc by indif.
    7. Investigating-consc, acc by indif.​

    กุศลวิบากอเหตุกจิต 8 (จิตที่เป็นผลของกุศล ไม่มีสัมปยุตตเหตุ — rootless resultant-of-morality consc)
    1. อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺญาณํ
    2. อุเปกฺขาสหคตํ โสตวิญฺญาณํ
    3. อุเปกฺขาสหคตํ ฆานวิญฺญาณํ
    4. อุเปกฺขาสหคตํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
    5. สุขสหคตํ กายวิญฺญาณํ
    6. อุเปกฺขาสหคตํ สมฺปฏิจฺฉนฺนํ
    7. โสมนสฺสสหคตํ สนฺตีรณํ
    8. อุเปกฺขาสหคตํ สนฺตีรณํ​

    1. จักขุวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
    2. โสตวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
    3. ฆานวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
    4. ชิวหาวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
    5. กายวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยสุขเวทนา
    6. สัมปฏิจฉันนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
    7. สันตีรณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา
    8. สันตีรณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา​

    1. Eye-consc, acc by indif.
    2. Ear-consc, acc by indif.
    3. Nose-consc, acc by indif.
    4. Tongue-consc, acc by indif.
    5. Body-consc, acc by pleasure.
    6. Receiving-consc, acc by indif.
    7. Investigating-consc acc by joy.
    8. Investigating-consc, acc by indif.​

    อเหตุกกริยาจิต 3 (จิตที่เป็นเพียงกิริยา ไม่มีสัมปยุตตเหตุ — rootless functional consc)
    1. อุเปกฺขาสหคตํ ปญฺจทฺวาราวชฺชนํ
    2. อุเปกฺขาสหคตํ มโนทฺวาราวชฺชนํ
    3. โสมนสฺสสหคตํ หสิตุปฺปาทจิตฺตํ​

    1. ปัญจทวาราวัชชนจิต<SUP class=remark></SUP> ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
    2. มโนทวาราวัชชนจิต<SUP class=remark></SUP> ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
    3. หสิตุปปาทจิต<SUP class=remark></SUP> ที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา
    <SMALL>----------------------------------------------</SMALL>
    <SMALL><SUP class=remark>๑</SUP> จิตที่รำพึงถึงอารมณ์ที่กระทบทวารทั้ง 5</SMALL>
    <SMALL><SUP class=remark>๒</SUP> จิตที่รำพึงถึงอารมณ์อันมาถึงคลองในมโนทวาร = โวฏฐัพพนะ</SMALL>
    <SMALL><SUP class=remark>๓</SUP> จิตที่ทำให้เกิดการแย้มยิ้มของพระอรหันต์</SMALL>

    1. Five-sense-door adverting consc, acc by indif.
    2. Mind-door adverting consc, acc by indif.
    3. Smile-producing consc, acc by joy.​

    3) กามาวจรโสภณจิต 24 (จิตดีงามที่เป็นไปในกามภูมิ — Sense-Sphere beautiful consc)
    มหากุศลจิต หรือ สเหตุกกามาวจรกุศลจิต 8 (จิตที่เป็นกุศลยิ่งใหญ่ หรือ กุศลจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ — moral consc)
    1. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    2. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    3. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    4. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    5. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    6. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    7. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    8. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ​

    1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
    2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
    3. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
    4. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
    5. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
    6. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
    7. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
    8. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ​

    1. One consc, acc by joy, asso with knowledge, unprompted.
    2. One consc, acc by joy, asso with knowledge, prompted.
    3. One consc, acc by joy, diss from knowledge, unprompted.
    4. One consc, acc by joy, diss from knowledge, prompted.
    5. One consc, acc by indif, asso with knowledge, unprompted.
    6. One consc, acc by indif, asso with knowledge, prompted.
    7. One consc, acc by indif, diss from knowledge, unprompted.
    8. One consc, acc by indif, diss from knowledge, prompted.​

    มหาวิบากจิต หรือ สเหตุกกามาวจรวิบากจิต 8 (จิตอันเป็นผลของมหากุศล หรือวิบากจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ — resultant consc)
    (เหมือนกับมหากุศลจิตทุกข้อ)​

    มหากิริยาจิต หรือ สเหตุกกามาวจรกริยาจิต 8 (จิตอันเป็นกริยาอย่างที่ทำมหากุศล แต่ไม่มีวิบาก ได้แก่การกระทำมหากุศลของพระอรหันต์ หรือกิริยาจิตในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ — functional consc)
    (เหมือนกับมหากุศลจิตทุกข้อ)​

    2. รูปาวจรจิต 5 (จิตอันเป็นไปในภูมิ — Form-Sphere consciousness)
    1) รูปาวจรกุศลจิต 5 (กุศลจิตที่เป็นไปในภูมิ ได้แก่จิตของผู้เข้าถึงรูปฌาน — Form-Sphere moral consc)
    1. วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ปฐมชุฌานกุสลจิตฺตํ
    2. วิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ทุติยชฺฌานกุสลจิตฺตํ
    3. ปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ตติยชฺฌานกุสลจิตฺตํ
    4. สุเขกคฺคตาสหิตํ จตุตฺถชฺฌานกุสลจิตฺตํ
    5. อุเปกฺเขกคฺคตาสหิตํ ปญฺจมชฺฌานกุสลจิตฺตํ​

    1. ปฐมฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    2. ทุติยฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    3. ตติยฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา
    4. จตุตถฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
    5. ปัญจมฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา​

    1. First Jhana consc with initial application, sustained application, rapture, happiness and one-pointedness.
    2. Second Jhana consc with sustained application, rapture, happiness and one-pointedness.
    3. Third Jhana consc with rapture, happiness and one-pointedness.
    4. Fourth Jhana consc with happiness and one-pointedness.
    5. Fifth Jhana consc with equanimity and one-pointedness.​

    2) รูปาวจรวิบากจิต 5 (วิบากจิตที่เป็นไปในรูปภูมิ คือ จิตที่เป็นผลของรูปาวจรกุศล — Form-Sphere resultant consc)
    (เหมือนกับรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น วิปากจิตฺตํ)​

    3) รูปาวจรกิริยาจิต 5 (กิริยาจิตที่เป็นไปในรูปภูมิ คือ จิตของพระอรหันต์ผู้กระทำรูปาวจรกุศล — Form-Sphere resultant consc)
    (เหมือนกับรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น กฺริยาจิตฺตํ)​

    3. อรูปาวจรจิต 12 (จิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ — Formless-Sphere consc)
    1) อรูปาวจรกุศลจิต 4 (กุศลจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ ได้แก่ จิตของผู้เข้าถึงอรูปฌาน — Formless-Sphere moral consc)
    1. อากาสานญฺจายตนกุสลจิตฺตํ
    2. วิญฺญาณญฺจายตนกุสลจิตฺตํ
    3. อากิญฺจญฺญายตนกุสลจิตฺตํ
    4. เนวสญฺญานาสญฺญายตนกุสลจิตฺตํ​

    1. กุศลจิตประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌาน
    2. กุศลจิตประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน
    3. กุศลจิตประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌาน
    4. กุศลจิตประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน​

    1. Moral Jhana consc dwelling on the infinity of space.
    2. Moral Jhana consc dwelling on the infinity of consciousness.
    3. Moral Jhana consc dwelling on nothingness.
    4. Moral Jhana consc wherein perception neither is nor is not.​

    2) อรูปาวจรวิบากจิต (วิบากจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ คือ จิตที่เป็นผลของอรูปาวจรกุศล — Formless-Sphere resultant consc)
    (เหมือนกับอรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น วิปากจิตฺตํ)​

    3) อรูปาวจรกิริยาจิต (กิริยาจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ คือ จิตของพระอรหันต์ ผู้กระทำอรูปาวจรกุศล — Formless-Sphere functional consc)
    (เหมือนกับอรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น กฺริยาจิตฺตํ)​

    4. โลกุตตรจิต 8 หรือ 40 (จิตที่เป็นโลกุตตระ — supermundane consc)
    1) โลกุตตรกุศลจิต 4 หรือ 20 (กุศลจิตที่เป็นโลกุตตระ คือ กุศลจิตที่ทำให้ข้ามพ้นอยู่เหนือโลก — moral supermundane consc)
    1. โสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ
    2. สกทาคามิมคฺคจิตฺตํ
    3. อนาคามิมคฺคจิตฺตํ
    4. อรหตฺตมคฺคจิตฺตํ​

    1. จิตที่ประกอบด้วยโสตาปัตติมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงกระแสอันไหลไปสู่นิพพานธาตุ
    2. จิตที่ประกอบด้วยสกทาคามิมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี
    3. จิตที่ประกอบด้วยอนาคามิมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระอนาคามี
    4. จิตที่ประกอบด้วยอรหัตตมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระอรหันต์​

    1. Consc belonging to the Path of Stream-Entry.
    2. Consc belonging to the Path of Once-Returning.
    3. Consc belonging to the Path of Non-Returning.
    4. Consc belonging to the Path of Arahantship.​

    อย่างพิสดาร ให้แจกมัคคจิต 4 นี้ ด้วยฌาน 5 ตามลำดับ ก็จะได้จำนวน 20 ตามตัวอย่างดังนี้
    วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ปฐมชฺฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ ฯลฯ​

    2) โลกุตตรวิบากจิต 4 หรือ 20 (วิบากจิตที่เป็นโลกุตตระ คือ จิตที่เป็นผลของโลกุตตรกุศล — resultant supermundane consc)
    1. โสตาปตฺติผลจิตฺตํ
    2. สกทาคามิผลจิตฺตํ
    3. อนาคามิผลจิตฺตํ
    4. อรหตฺตผลจิตฺตํ​

    1. จิตที่ประกอบด้วยโสตาปัตติผลญาณ
    2. จิตที่ประกอบด้วยสกทาคามิผลญาณ
    3. จิตที่ประกอบด้วยอนาคามิผลญาณ
    4. จิตที่ประกอบด้วยอรหัตตผลญาณ​

    1. Consc belonging to the Fruition of Stream-Entry.
    2. Consc belonging to the Fruition of Once-Returning.
    3. Consc belonging to the Fruition of Non-Returning.
    4. Consc belonging to the Fruition of Arahantship.​

    อย่างพิสดาร ให้แจกผลจิต 4 นี้ ด้วยฌาน 5 ตามลำดับ ก็จะได้จำนวน 20 ตามตัวอย่างดังนี้
    วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ปฐมชฺฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ ฯลฯ​


    <CENTER><TABLE class=ref width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="50%">Comp.81-93.
    <TD>สงฺคห. 1-6.

    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=356

    <CENTER></CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2012
  15. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ เรื่องพืช ของภพ....พระวจนะ" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ภพ ภพ ดังนี้ ภพย่อมมีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไหร่เล่าพระเจ้าข้า........................อานนท์ ถ้า กรรม มีกามธาตุเป็นวิบาก จัก ไม่ได้มี แล้วไซร้ กามภพ จัก ปรากฎได้หรือ?----หา มีได้ พระเจ้าข้า......................อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป้นเนื้อนา วิญญานเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง(สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช วิญญานของสัตว์ทั้งหลาย มี อวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม(กามธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้...........อานนท์ ถ้า กรรม มีรูปธาตุ จัก ไม่ได้ มีแล้วไซร้ รูปภพ พึง จะปรากฎได้แลหรือ? ..................อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญานเป็นเมล็ดพืช ตัรหาเป็นยาง ของพืช วิญญานของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง(รูปธาตุ) การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.....................อานนท์ ถ้ากรรม มีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ อรูปภพ จะพึงปรากฎได้หรือ?----หามีได้พระเจ้าข้า................อานนท์ ด้วยเหตุนี้แล กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญานเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง ของพืช วิญญานของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นปราณีต(อรูปธาตุ) การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.....อานนท์ ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล----ติก.อํ.20/287/516:cool:
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [​IMG]



    <CENTER>ข. แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายพระสูตร</CENTER>


    <CENTER>( สุตตันตมาติกา ) </CENTER>


    ได้กล่าวไว้แล้วว่า ในแม่บทของเล่มที่ ๓๔ นี้ แบ่งหัวข้อหรือแม่บทใหญ่ออกเป็นฝ่ายอภิธรรม กับฝ่ายพระสูตร เพื่อให้เทียบเคียงกันดู. แม่บทฝ่ายอภิธรรมมี ๑๒๒ หัวข้อ ( หัวข้อละ ๓ ประเด็น มี ๒๒, หัวข้อละ ๒ ประเด็น มี ๑๐๐ ) ส่วนแม่บทฝ่ายพระสูตร มี ๔๒ หัวข้อ ( หัวข้อละ ๒ ประเด็น ) แต่ไม่มีคำอธิบายแม่บทฝ่ายพระสูตร คง นำมาตั้งไว้ให้ทราบเท่านั้น ดังจะนำมากล่าวสัก ๑๐ ข้อ คือ :-
    ๑. ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา, ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งอวิชชา ;
    ๒. ธรรมอันอุปมาด้วยสายฟ้า, ธรรมอันอุปมาด้วยเพชร ;
    ๓. ธรรมอันเป็นของคนพาล, ธรรมอันเป็นของบัณฑิต ;
    ๔. ธรรมดำ, ธรรมขาว ;
    ๕. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน, ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ;
    ๖. ธรรมคือคำร้องเรียก, ธรรมคือทางแห่งคำร้องเรียก ;
    ๗. ธรรมคือภาษาพูด, ธรรมคือทางแห่งภาษาพูด ;
    ๘. ธรรมคือบัญญัติ, ธรรมคือทางแห่งบัญญัติ ;
    ๙. นาม, รูป ;
    ๑๐. อวิชชา, ภวตัณหา ( ความทะยานอยากมี อยากเป็น ) เป็นต้น ฯลฯ.
    ( หมายเหตุ : ในบทตั้งหรือแม่บท ๑๖๔ หัวข้ออันแจกรายละเอียดออกไปเป็นฝ่ายพระ อภิธรรม ๒๖๖ ประเด็น, เป็นฝ่ายพระสูตร ๘๔ ประเด็น, รวมทั้งสิ้น ๓๕๐ ประเด็น แต่นำมาตั้งให้เห็นเพียง ๔๕ หัวข้อ หรือ ๑๓๘ ประเด็น ที่เหลือได้ละไว้ด้วยคำว่า เป็นต้น นั้น ด้วยเจตนาจะแสดงรายการหรือประเด็นที่สำคัญ ส่วนปลีกย่อยก็ผ่านไป. ความจริงเท่าที่พระท่านสวด ท่านสวดบทตั้งของคัมภีร์ " ธัมมสังคณี " คือพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ นี้ โดยทั่วไปนั้น คงสวด เพียง ๒๒ หัวข้อแรก ที่แบ่งออกเป็นหัวข้อละ ๓ ประเด็น รวมทั้งสิ้น ๖๖ ประเด็นเท่านั้น ในที่นี้แสดงไว้ถึง ๔๕ หัวข้ออัน แบ่งออกเป็น ๑๓๘ ประเด็น เพื่อให้เห็นหน้าตาชัดเจนยิ่งขึ้น แท้จริงในการอธิบายรายละเอียดเป็นร้อย ๆหน้าในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ เอง ก็อธิบายหนักไปในหัวข้อแรก ๓ ประเด็น คือ กุสลา ธมฺมา ( ธรรมอันเป็นกุศล ), อกุสลา ธมฺมา ( ธรรมอัน เป็นอกุศล ) อพฺยากตา ธมฺมา ( ธรรมอันเป็นอัพยากฤต คือเป็นกลาง ๆ ) เท่านั้น นอกจากนั้นก็เป็นคำอธิบายเรื่อง " รูป " กับ อธิบายบทตั้งอื่น ๆ อย่างสั้น ๆ ท่านผู้อ่านจึงชื่อว่ามิได้ผ่านสาระสำคัญไปในการย่อครั้งนี้ ).

    <CENTER>๒. คำอธิบายเรื่องจิตเกิด ( จิตตุปปาทกัณฑ์ )</CENTER>


    ข้อความในกัณฑ์นี้ มี ๑๗๕ หน้า อธิบายเพียงหัวข้อแรก อันแบ่งเป็น ๓ ประเด็น คือธรรมอันเป็นกุศล, อกุศล, และอัพยากฤตหรือกลาง ๆ เท่านั้น. พึงทราบว่า ความมุ่งหมายยังแคบเข้ามาอีก คือธรรมทั้งสาม นั้น ท่านชี้ไปที่ จิต และสิ่งที่เนื่องด้วยจิต ที่เรียกว่า เจตสิก ดังหัวข้อย่อย ๆที่จะกล่าวต่อไปนี้ :-


    <CENTER>จิตทั่วไป </CENTER>
    ๑. จิต แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ กุศลฝ่ายดี, อกุศลฝ่ายชั่ว, อัพยากฤต คือกลาง ๆ.


    <CENTER>จิตฝ่ายกุศล </CENTER>
    ๒. จิตที่เป็นกุศลหรือกุศลจิต แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ตามภูมิชั้นที่ ต่ำและสูง คือ :-
    ( ๑ ) กามาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในกาม ที่เป็นฝ่ายกุศล<SUP></SUP>มี ๘
    ( ๒ ) รูปาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในรูปที่เป็นฝ่ายกุศล ( หมายถึงจิตที่ได้ ฌาน คือฌานที่เพ่งรูปเป็นอารมณ์ ) มี ๕
    ( ๓ ) อรูปาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในอรูปที่เป็นฝ่ายกุศล ( หมายถึงจิตที่ ได้อรูปฌาน คือฌานที่เพ่งนาม หรือสิ่งที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ ) มี ๔.
    ( ๔ ) โลกุตตระ คือจิตที่พ้นจากโลก ( หมายถึงจิตที่เป็นมรรค ๔ ) มี ๔.
    รวมเป็นจิตที่เป็นฝ่ายกุศล หรือฝ่ายดี ๔ ประเภทใหญ่ แบ่งเป็น ๒๑ ชนิด.


    <CENTER>จิตฝ่ายอกุศล </CENTER>
    ๓. จิตที่เป็นอกุศลหรืออกุศลจิต มีประเภทเดียว คือกามาวจร คือจิตที่ ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม สูงขึ้นไปกว่านั้นไม่มีอกุศล. จิตที่เป็นอกุศลนี้ เป็นจิตประกอบด้วยความโลภ ๘, ความคิดประทุษร้าย หรือโทสะ ๒, ความหลงหรือโมหะ ๒ จึงรวมเป็น ๑๒ ชนิด.


    <CENTER>จิตที่เป็นกลาง ๆ </CENTER>
    ๔. จิตที่เป็นอัพยากฤต คือที่พระพุทธเจ้าไม่ตรัสพยากรณ์ หรือชี้ลงไปว่า เป็นกุศล หรืออกุศล จึงหมายถึงจิตที่เป็นกลาง ๆ หรือเรียกว่า อัพยากตจิต แบ่งออกเป็น ๔ ประเภทใหญ่เหมือนกุศล คือ จิตที่เป็นกลาง ๆ นี้ มีได้ทั้ง ๔ ภูมิ เช่นเดียวกับกุศลจิต คือ :-
    ( ๑ ) กามาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในกาม ที่เป็นอัพยากฤตหรือเป็นกลาง ๆ มี ๓๔ ชนิด แบ่งเป็นวิบากจิต ( จิตที่เป็นผล ) ๒๓, กิริยาจิต ( จิตที่เป็นเพียงกิริยา ) ๑๑.
    ( ๒ ) รูปาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในรูป ที่เป็นอัพยากฤตหรือเป็นกลาง ๆ มี ๑๐ ชนิด คือเป็นวิบากจิต ( จิตที่เป็นผล ) ๕, กิริยาจิต ( จิตที่เป็นกิริยา ) ๕.
    ( ๓ ) อรูปาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในอรูป ที่เป็นอัพยากฤตหรือเป็นกลาง ๆ มี ๘ ชนิด คือเป็นวิบากจิต ๔, กิริยาจิต ๔.
    ( ๔ ) โลกุตตระ คือจิตที่พ้นจากโลก ที่เป็นอัพยากฤตหรือเป็นกลาง ๆ มี ๔ ชนิด คือเป็นวิบากจิต ๔.
    รวมทั้ง ๔ ประเภท คือกามาวจร ๓๔, รูปาวจร ๑๐, อรูปาวจร ๘ และโลกุตตระ ๔ จึงมีอัพยากตจิตหรือจิตที่เป็นกลาง ๆ ทั้งสิ้น ๕๖ ชนิด และเมื่อรวมกุศลจิต ๒๑, อกุศลจิต ๑๒, อัพยากตจิต ๕๖ จึงเป็นจิต ๘๙ ชนิด,<SUP></SUP> อนึ่ง เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขอแสดงโดยแผนผัง ดังต่อไปนี้ :-

    [​IMG]


    [​IMG]

    http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/praapitham/1.2.html
     
  17. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    [​IMG] ไม่รู้ค่ะ ยายสวย
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มะช่ายป๊ะป๋า มะช่ายป๊ะป๋า เลี้ยว !!

    [​IMG].....(ping-love<!-- google_ad_section_end -->
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เรียน ท่านประธานที่คาวรบ

    อ้ายกระผม สงสัยว่า กรรมฐานครอบครัว จะมีการโว๊ท แทนกัน ขอฮัก
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    :cool: ถ้ารูปอวตารคือยาย นะ สวยจริง อะ :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...