สนทนา...วิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 19 สิงหาคม 2011.

  1. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    เมื่อจิตหยุดนิ่งแล้ว ไม่มีสิ่งใดเจือปนอยู่ในจิต จิตจึงใสสะอาด

    หากมีสิ่งใดเข้ามาเจือปนภายในจิต จะเห็นได้ชัดเจน

    และพิจารณาได้แยบคายมากกว่า จิตที่มีการเจือปนอยู่มากมายด้วยกิเลสครับ
     
  2. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0


    นิมิตจากการคิดเอา กับนิมิตที่เป็นปฏิภาคนิมิตมันเหมือนกันเหรอครับ
     
  3. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    เมื่อเพ่งจนจดจำได้ จึงเกิดนิมิต

    หากตรึกนึกจนจดจำได้ จึงเกิดนิมิต

    ธรรมกายเขามีดวงแก้วให้เพ่งนะครับ ที่เรียกว่าจุ่ยเจียนะครับ
     
  4. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0


    การไปทำให้จิตนิ่งมันทำให้เห็นความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้อย่างไร
    ในเมื่อเราบังคับให้จิตนิ่งได้ ก็แสดงว่าจิตเป็นอัตตา
    ในเมื่อจิตนิ่งแล้ว ก้ไม่เห็นจิตเปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์ต่าง ก็แสดงว่าจิตเที่ยง
    ในเมื่อจิตนิ่ง มีความสงบ ก้เป็นสุขในสมาธิ ก้แสดงว่าจิตไม่เป็นทุกข์ไม่ใช่เหรอครับ


    แล้วเราจะเห็นไตรลักษ์ได้อย่างไร???
     
  5. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0


    อาโลกกสินเป็นการเพ่งช่องว่างในอากาศนี่ครับ ตามที่วิสุทธิมรรคได้บอกเอาไว้
     
  6. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมไม่รู้นะครับ ว่าคุณไปเอาความรู้แบบนี้มาจากไหน

    จิตนิ่งในขณะนั่งปฎิบัติ แต่เมื่อออกจากการปฎิบัติแล้ว หากคงอารมณ์นั้นให้อยู่ได้

    ในการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ที่มีอารมณ์แห่งสมาธิจะไม่ร้อนรนต่อสิ่งที่เข้ามากระทบครับ

    และนี่คือที่ผมกล่าวว่า "หากมีสิ่งที่เข้ามาเจือปน" คงไม่มีใครนั่งทั้งชาติใช่ไหมครับ

    ยังต้องใช้ชีวิตอยู่บนโลกใช่ไหมครับ และ การปฎิบัตินั้นมีกล่าวไว้ด้วย

    สมถะ และ วิปัสนาครับ ไม่ใช่ว่ากระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็จะสามารถบรรลุได้ครับ

    ดั่งคนที่มีแรงมาก แต่ไร้ซึ่งปัญญา จะกระทำการใดก็สำเร็จได้ยาก

    และคนที่มีปัญญามาก แต่ไร้ซึ่งเรี่ยวแรง จะกระทำการใดก็สำเร็จได้ยาก

    ลองตรึกตรองดูครับ ว่าจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้หรือไม่
     
  7. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0
    อ้อ ขออภัย อาโลกกสินต้องเพ่งแสงสว่างที่ลอดมาตามช่อง ไม่ใช่ช่องว่างในอากาศหรือดวงแก้ว
     
  8. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    มัวแต่ยึดติด จะเห็นสิ่งใดได้เล่า

    ปฎิบัติจนเห็นจริงรู้แจ้ง จึงเข้าใจในการปฎิบัติครับ

    หลักสำคัญของการปฎิบัตินั้นลงที่จิตครับ

    ไม่ว่าจะสมถะ หรือ วิปัสนาครับ
     
  9. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    หากคุณต้องการจะรู้ ลองเพ่งตามที่คุณเข้าใจได้เลยครับ

    และลองหลับตาดูครับ ว่าเกิดนิมิตไหมครับ

    หากมีแต่การบอกกล่าว แล้วจะให้เห็น ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงนั้น เป็นเรื่องยากครับ
     
  10. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0


    ครั้งพุทธกาลมีหลายท่านเ็ป็นพระอรหันต์ได้โดยไม่ได้ทำสมถะมาก่อนไม่ใช่เหรอครับ
    ก็แสดงว่าวิปัสสนาเป็นทางสายเดียว ทางสายเอกเท่านั้น
     
  11. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0


    ถ้าไม่ยึดพระไตรปิฏก จะได้ชื่อว่าพุทธบริษัทได้อย่างไร
     
  12. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ฉนั้นลองศึกษาให้ลึกลงไปว่าผู้ที่สำเร็จมรรคผลโดยไม่ต้องปฎิบัติเพราะเหตุใด
     
  13. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    การยึดมั่นที่ผมกล่าวนั้น ยึดมั่นโดยไม่ได้พิจารณาครับ

    พิจารณาให้เห็นถึงเหตุและผลจริงๆ จึงจะเข้าใจแจ่มแจ้ง

    พระไตรปิฎกนั้นบ่งบอกถึงความเป็นจริง แต่หากไม่พิจารณาแล้ว

    จะเห็นจริงตามนั้นไหมครับ ได้ทำความเข้าใจอย่างท่องแท้แล้วหรือครับ
     
  14. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อันน้ำนั้นยังไม่เต็ม จักนิ่งอยู่เฉย แล้วเหตุใดน้ำจึงจะเต็ม ฉันใด

    ผู้ปฎิบัติถึงพร้อมแล้วนั้น ก็จักบรรลุมรรคผลได้ แม้เพียงได้ยินธรรมที่พระผู้ัมีพระภาคเจ้าทรงตรัส

    อันคำว่า ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวท หากเพียงเรียนรู้ไม่ปฎิบัติ ความสำเร็จจักเกิดได้อย่างไร

    มุ่งแต่ปฎิบัติโดยขาดความรู้ ความสำเร็จจักเกิดได้อย่างไร

    ใตร่ตรองดูเถิด ถึงสิ่งที่ควรเจริญ ว่ามีสิ่งใดบ้าง
     
  15. saturday_rainy

    saturday_rainy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    335
    ค่าพลัง:
    +957
    เรื่องของการเพ่งช่องว่างที่มีแสงลอดผ่าน นั้นคืออโลกกสิน กับมองลูกแก้วนั้น ต่างกันในวิธีทำครับ แต่ผลที่ได้คือ ต้องหลับตาเพื่อให้เกิดปฎิภาคนิมิต เห็นเป็นลูกกลมมีแสงสว่างเรืองเหมือนกัน จะเห็นได้ว่า ครูอาจารย์ท่านมีทางที่ทำให้เป็นได้ ลูกกลมใสมีลักษณะคล้ายดวงนิมิต จึงนิยมนำมาใช้เพ่ง เพื่อให้เกิดภาพติดตา ติดใจ แต่เมื่อจิตมี วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกขตา เกิดขึ้นแล้ว จะมีอีกอารมณ์เข้ามา ซึ่งเพียงตำราหรือนั่งคิดอย่างเดียว ไม่อาจจินตนาการให้เข้าใจได้เลย
    ถ้าการคิดหรือฟังอย่างเดียว ทำให้เข้าใจสรรพสิ่งทุกเรื่อง ไอนสไตน์ หรือสตีเวน ฮอบสกิน คงสามารถอธิบาย นิพพาน ให้เรากระจ่างแจ้งได้
    คงต้องทบทวนพิจารณาอีกครั้งว่าในขณะที่ท่านฟัง จิตท่านนั้นมีอารมณ์เคลือบเคล้ม ซึมซาบ เกิด ปิติในอารมณ์หรือเปล่า ถ้ามีก็มีเกณฑ์ว่าท่านผู้นั้นได้มรรคผล เมื่อผ่านฌาน แล้วท่านพิจารณา เหตุปัจจัย แต่อาจเกิดเพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว อารมณ์คล้ายๆกับที่จู่ๆท่านก็ร้อง อ๋อ ขึ้นมาน่ะเอง
    การดูแต่ตัวหนังสือจึงมิได้ผิดแต่คงต้องลงไปในรายละเอียด เพราะภาษาไม่ละเอียดพอที่จะอธิบาย สิ่งที่ยากจะเข้าใจ ถ้าไม่ได้ลองทำดูจะไปรู้ได้ยังไง จริงไหมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2011
  16. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    เมื่อปีกลายก็ลองฝึก ๆ ทำอยู่ คุณป้าลูกศิษย์วัดธรรมกาย โทรศัพท์คุยกันเขาก็แนะนำว่าทำอย่างนี้ ๆ ผมก็ลองทำ ก็เป็นเดือนไม่ได้อะไร ผ่านไป เริ่มกรกฏา สิงหา
    มาโอเคเดือนกันยา ผมไม่รู้ว่าใช่ไหมนะครับดวงที่คุณว่า
    1 จะปรากฏแสงจุดเล็กเท่าปลายเข็ม
    2 ร่างกายที่รู้สึกตัวทั่วพร้อม จะรู้สึกเบาหวิว สบายมาก ลูกตาหายไปเลย รู้สึกว่าไม่มีลูกตาก็ว่าได้
    3 ดวงดาวจุดเล็ก ๆ ที่มองอยู่ จะสว่างขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งมองยิ่งสว่าง สวยมาก ยิ่งกว่าดวงอาทิตย์อีก

    ข้อสังเกตุ เวลาออก ดวงอาทิตย์ที่ว่า จะไม่หายไปเลยแต่จะค่อย ๆ หายไป เหมือนกับรอยหมึกหยดแล้วก็ค่อย ๆ แห้ง จนลางหายไป

    ไม่รู้ว่าใช่ไหมนะครับ
     
  17. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0


    ทุกท่านที่สำเร็จเป็นพระอริยะนั้นล้วนแล้วก็ต้องผ่านการปฏิบัติวิปัสสนาทั้งสิ้น
    แต่ไม่จำเป็นต้องผ่านสมถะ
     
  18. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0


    ขั้นตอนในวิสุทธิมรรคนั้นคือ ให้เพ่งแสงที่ลอดช่องมา เมื่อเพ่งไปแล้วแสงนั้นจะเปลี่ยนเป็นนิมิตร นั่นหมายถึงว่า เมื่อสมาธิถึงขั้นอัปปณาแล้วแสงที่เพ่งก้จะเปลี่ยนเป็นนิมิตไปเอง


    แต่การเพ่งเรื่องลูกแก้วนั้นอาจจะทำให้สับสนได้ว่า สิ่งที่เห็นนั้นเป็นเพียง "รูปจากสัญญา" หรือว่า "ปฏิภาคนิมิตของจริง"

    เพราะลักษณะของลูกแก้วนั้นใกล้เคียงกัน จึงอาจจะเป็นการคิดไปเองของจิตก็ได้ครับ
     
  19. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0
    จริงอยู่ที่ปัญญาจากการปฏิบัตินั้นไม่เหมือนกันปัญญาโดยทั่วๆไป

    แต่ก้ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถเข้าใจได้

    เพราะปรากฏว่าหลายท่านเพียงได้ฟังและคิดตามเท่านั้น ท่านก็สำเร็จโดยฉับพลันได้เช่นกัน
     
  20. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
    ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต
    จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
    วิปัสสนา ที่อบรมแล้วย่อมเสวย ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา
    ปัญญา ที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้ ฯ
    [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
    หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
    ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ
    เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ ฯ
    _____________________
    ทั้ง สมถะ และ วิปัสนา ถึงมรรคผลได้เหมือนกัน
    อยู่ที่จริตแต่ละคน
     

แชร์หน้านี้

Loading...