อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ หรือปล่อยรู้ไปตามธรรมชาติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 14 พฤศจิกายน 2010.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    555555555555555555555555555 อ่านแล้วขำ...เดี้ยวนี้ในอภิญญา-สมาธิเขามีเรื่องขำๆแบบนี้ด้วย ธรรมะ อ่านว่า ธัม-มะ, ทำ-มะ อันกันแน่หว่า5555 เห็นพวกขั้นเทพแล้วนึกขำทุกที แต่คงต้องขำอย่างมีสติด้วย เพราะขาดสติแล้วหายใจไม่ทันอาจถึงตายได้555555
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ก็ไม่มีอะไรมากหรอก ถ้ารู้ทั้ง2สภาวะได้เมื่อไร เรียกว่าปลาเป็น
    เพราะรู้จักทั้ง2แบบแล้วไง รู้ว่าอย่างไหนเรียกว่าปลาเป็น อย่างไหนเรียกว่าปลาตาย

    ถ้ารู้สภาวะเดียว เรียกว่าปลาตาย

    ไม่เกี่ยวกับว่าเคยเป็นหรือเคยตายมาก่อน หรือเปล่า
    มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับ รู้ หรือ ไม่รู้
    เหมือนปลาเป็นมันว่ายน้ำเป็น กระดิกก็ได้ ว่ายทวนกระแสได้ ว่ายตามกระแสได้
    ทำตัวนิ่งๆแช่ๆก็ได้ เพราะมันรู้ไง ว่ามีหลายหลายแบบ
    แต่ถ้าปลาตายมันกระดิกไม่เป็น นิ่งๆแบบนอนตายอย่างเดียว รู้สภาวะเดียว
    ก็รู้แบบเดียว ไม่รู้ว่าปลาเป็นเขาทำอะไรกันได้บ้าง พอปลาเป็นเขาพูดแบบนี้ปลาตายมันไม่รู้
    มันก็ไม่เข้าใจโลกของปลาเป็น มันไม่มีผิดหรือถูกไง มีแต่รู้หรือเปล่า กับไม่รู้เรื่องอะไรของเขาเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2010
  3. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    พี่ขวัญกับน้องหลบภัยเก่งจังเลยนะครับ รู้ธรรมลึกซึ้ง อาจารย์เอกวีร์คงสอนมาดี

    ขอตัวไปนอนพักผ่อนก่อน เย็นๆ ค่อยแวะมาดูเด็กแข่งกีฬาต่อ วันนี้มีชิงเหรียญ หุๆๆ
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ได้ยินคำชมของคุณวิมุตตินี้ ...............ป๊าดดดด ภาพนี้กระเด้งมาเลยนะ อิอิ

    [​IMG]

    ส่วนอันนี้ก็ ....ช้านเอง แหะ ๆ

    [​IMG]

    ตามด้วยอันนี้

    [​IMG]....อิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2010
  5. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ดูลมหายใจ เข้าออก อยู่ดีดี ปลาไม่หายใจ ไปตัวแล้ว 555
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เรื่องนี้ที่เป็น แบบนี้เพราะว่า ส่วนปลายที่พูดกันนั้น ไปขโมยธรรมของคนอื่นมา
    จึง ไม่เข้าใจ ในสายทางปฏิบัติ เพราะตนไม่ได้เห็น ไม่ได้รู้ ธรรม อันเป็นปัจจัตตัง
     
  7. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ไม่เห็นมีอะไรเลย แม้แต่ลมหายใจ

    ดูหนังต่อดีกว่า
     
  8. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    จะให้เห็นต้องเห็นในปัจจุบัน ไม่ใช่เห็นอนาคตแบบ"ปรมัติ"
     
  9. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ปัจจัตตัง = ปัจ+จัต+ตัง การเรียนรู้ถือว่าดี การไม่เรียนรู้นั้นถือว่าไม่ดี แต่ถ้าคิดว่าดีแล้วก็ไม่เกิดการเรียนรู้ แต่คนที่คิดว่าดีแล้วนั้นมันคืออะไร...การที่คนเราจะเจอประสบสิ่งใดก็เป็นไปตามอำนาจของกรรม ว่ากันไม่ได้ บางคนคิดว่าที่เป็นนั้นถูกแล้วดีแล้วและบางคนคิดว่าที่เป็นนั้นยังไม่เรียกว่าดี นั่นเพราะกรรมของแต่ละคนต่างกัน สุดท้ายไม่มีใครฉลาดก่อนโง่ ทุกคนต้องโง่ก่อนฉลาด แต่จะโง่มากโง่น้อยนั้นอีกเรื่องหนึ่ง ฉลาดมากฉลาดน้อยก็อีกเรื่องหนึ่ง จึงเป็นเรื่องว่ากันไม่ได้ เมื่อธรรมคือพระสัทธรรมคือหนทางของการเปลี่ยนแปลงจากโง่ไปเป็นฉลาด แต่ไม่ใช่เปลี่ยนจากฉลาดมาเป็นโง่ และโง่กับฉลาดนั้นเราไม่ใช้กับใครๆเราจะใช้กับตนเองกับกิเลสของตนเองเมื่อใดก็ตามหากเรานำไปใช้กับผู้อื่น นั่นหมายถึงตัวเราเองกำลังทำสิ่งไม่ควรทำ เพราะนั่นเรียกว่า โง่ไปตามกิเลสตน
    สาธุคั๊บ
     
  10. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ถ้าพูดเจตนาดี ก็จะได้สิ่งดีดี แต่ถ้าพูดเผลอกิเลสมันก็แสดงออกทันทีน่ะ
    แต่ช่างมัน จะว่ากล่าวใครก็กล้าระบุ น่านับถือ บางคนแค่หลบภัยเห็นชือ
    หลบภัยไม่อ่านโพสของเขาเลย ผ่านๆ เหมือนไม่มีตัวตน

    อ้อ อีกเรื่องนึง อาจารย์ของหลบภัย คือหลวงพ่อที่นับถือ หลบภัยไม่เอาคนอื่น
    มาตีตัวเสมอหลวงพ่อหรอก
     
  11. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    อาร๊าย มาคิดแทน อย่างงั้นเลยเหรอ
     
  12. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ๖. การเจริญอานาปาณสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ซึ่งดู ๆ ก็ไม่น่าจะยากเย็นอะไรเลย แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้สะดวกสบายนัก เพราะอาจเผลอตัว ไม่มีความรู้สึกตัว คือขาดสติสัมปชัญญะได้ง่าย จริงอยู่การเจริญภาวนาไม่ว่าจะอาศัยกัมมัฏฐานใดๆ จะต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ขาดสติสัมปชัญญะ คือ เผลอตัวเมื่อใดเมื่อนั้นก็ขาดจากการเจริญภาวนา จะเรียกว่าเป็นการเจริญภาวนาหาได้ไม่ โดยเฉพาะการกำหนดลมหายใจนี้ ลมหายใจยิ่งละเอียดสุขุมมากเท่าใด ก็ยิ่งเผลอตัวได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น เผลอตัวได้ง่ายกว่ากัมมัฏฐานอย่างอื่น เหตุนี้ในวิสุทธิมัคคจึงกล่าวว่า การเจริญอานาปาณสตินี้ เหมาะสมแก่ผู้ที่มีปัญญากล้า และเฉียบแหลม หาควรแก่ผู้ที่มีปัญญาน้อยไม่

    ๗. สถานที่ที่จะเจริญอานาปาณสติกัมมัฏฐานนั้น ถ้าเลือกได้สถานที่ดังจะกล่าวต่อไปนี้ก็จะเป็นที่สะดวกดีมาก คือ

    ก. เสนาสนะในป่าที่สงัด เหมาะแก่ฤดูร้อน เหมาะแก่ผู้ที่มีโมหจริต เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่ เสมหะ

    ข. เสนาสนะที่อยู่โคนต้นไม้ หมายถึงใต้ร่มไม้ใหญ่ที่เงียบเชียบ เหมาะแก่ฤดูหนาว เหมาะแก่ผู้ที่มีโทสจริต เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่น้ำดี

    ค. เสนาสนะที่เป็นเรือนว่าง ที่ไม่มีคนอยู่อาศัย อยู่ในที่วิเวก เหมาะแก่ฤดูฝน เหมาะแก่ผู้ที่มีราคจริต เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่ธาตุ

    ๘. การกำหนดลมหายใจนี้ จำแนกไว้เป็น ๔ หมวด แต่ละหมวดก็มี ๔ นัย จึงรวมเป็น ๑๖ นัยด้วยกัน

    หมวดที่ ๑

    ก. กำหนดให้รู้ว่าขณะนั้น หายใจออกยาวและเข้ายาว

    ข. กำหนดให้รู้ว่าขณะนั้น หายใจออกสั้นและเข้าสั้น

    ค. กำหนดให้รู้ในกองลมทั้งปวงในเวลาหายใจออกและเข้า คือให้รู้ว่าเบื้องต้น ของลมหายใจออกนั้นอยู่เหนือสะดือ เบื้องกลางอยู่ที่หน้าอก เบื้องปลายอยู่ที่ช่องจมูก และเบื้องต้นของลมหายใจเข้านั้นอยู่ที่ช่องจมูก เบื้องกลางอยู่ที่หน้าอก เบื้องปลายอยู่ที่เหนือสะดือ จะรู้ได้ต่อเมื่อตั้งใจกำหนดอย่างแน่แน่ว ( การระลึกรู้ต้นลมหายใจ กลางลมหายใจ ปลายลมหายใจ ใน พระไตรปิฎก ปฏิสัมภิทามรรค ท่านให้ใช้สติระลึกรู้ที่ปลายจมูกตรงจุดที่ลมกระทบเพียง แห่งเดียวเท่านั้น ก็จะสามารถระลึกรู้ทั้ง ต้นลมหายใจ กลางลมหายใจ และปลายลมหายใจ ได้ทั้งหมดอยู่แล้ว ใน พระไตรปิฎก ปฏิสัมภิทามรรค ท่านห้ามการระลึกรู้ตามลมหายใจ จากจมูกไปยังหน้าอก และไปถึงสะดือหรือท้อง เพราะจะทำให้จิตแกว่งไม่ตั้งมั่น ในอารมณ์เดียว จิตจะฟุ้งซ่าน ไม่เป็นสมาธิ )

    ง. ให้รู้ในกายสังขาร คือ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าที่สงบ คือการหายใจนั้นแผ่ว เบา ละเอียด ยิ่งขึ้นทุกที ถ้าไม่ตั้งใจกำหนดอย่างจริงจังก็จะเผลอไม่รู้สึกตัว

    หมวดที่ ๒

    ก. กำหนดให้รู้แจ้ง ปีติในเวลาหายใจออกและเข้า หมายความว่า กำหนดตามหมวดที่ ๑ จนได้ฌานแล้ว มีวสีภาวะทั้ง ๕ แล้ว ก็ให้ยกองค์ฌาน คือ ปีตินั้นเพ่งโดยวิปัสสนาภาวนาจนเห็นปีติในลักษณะ ๓ คือ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ให้เพ่ง ปีติ เพราะผู้ที่ได้ฌานต้น ๆ นั้น ปีติ มักจะปรากฏเด่นชัดกว่าองค์ฌานอื่น

    ข. กำหนดให้รู้แจ้ง สุขเวทนา ในเวลาหายใจออกและเข้า มีความหมายว่า ผู้ที่ได้ทุติยฌาน ตติยฌาน หรือ จตุตถฌานนั้น ความสุขในองค์ฌานย่อมปรากฏชัด จึงกำหนดให้รู้แจ้ง สุขเวทนา ในเวลาหายใจออกและเข้าได้สะดวก

    ค. กำหนดให้แจ้งใน จิตตสังขาร คือ เวทนา สัญญา ในเวลาหายใจออกและเข้า

    ง. กำหนดให้แจ้งในการยังจิตตสังขารให้สงบ ในเวลาหายใจออกและเข้า ซึ่งผู้ที่ได้ฌานใด ๆ ก็สามารถกำหนดรู้ได้

    หมวดที่ ๓

    ก. กำหนดให้แจ้งในจิต ในเวลาหายใจออกและเข้า คือให้รู้จิตที่เป็นไปด้วยรูปฌานทั้ง ๕

    ข. กำหนดให้แจ้งในความบันเทิงของจิต ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึง ปีติ ที่ประกอบด้วยฌานนั้น ๆ

    ค. กำหนดให้แจ้งในจิตที่เป็นสมาธิ ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายทั้ง ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ

    ง. กำหนดให้แจ้งในความพ้นของจิต ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึงความพ้นทั้ง ๒ อย่าง คือพ้นด้วยสมาธิ ก็พ้นจากนิวรณ์ ๕ หรือพ้นจาก วิตก วิจาร ปีติตามลำดับขององค์ฌาน ถ้าพ้นด้วยวิปัสสนาก็พ้นจากวิปัลลาสธรรม มีนิจจสัญญา เป็นต้น

    หมวดที่ ๔

    ก. กำหนดตามเห็นอนิจจัง ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึงตามเห็นความไม่เที่ยงในรูปขันธ์ ในเวทนาขันธ์ ในสัญญาขันธ์ ในสังขารขันธ์ และในวิญญาณขันธ์

    ข. กำหนดตามเห็นวิราคะ ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึงพ้นจากราคะด้วยอำนาจของวิปัสสนา หรือด้วยมัคคจิต ๔ ความพ้นทั้ง ๒ นี้เรียกว่า วิราคานุปัสสนา

    ค. กำหนดตามเห็นความดับ ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึงความดับของทุกข์ สมุทัย หรือความดับของ วยะ ขยะ คือ ความดับสิ้นไปของสังขารนั้น

    ง. กำหนดตามเห็น ความสละในการยึดมั่น ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึง ละการยึดถือด้วยอุปาทาน มีอัตตวาทุปาทาน เป็นต้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนา ในอานาปาณสติ ๑๖ นัยนี้ตั้งแต่หมวดที่ ๑ ถึง ๓ รวม ๑๒ นัยนั้นกล่าวรวมทั้งสมถะและวิปัสสนาด้วย ส่วนในหมวดที่ ๔ นั้น กล่าวเฉพาะวิปัสสนาอย่างเดียว

    หมวดที่ ๑ สงเคราะห์ด้วยปฐมฌาน และสงเคราะห์ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    หมวดที่ ๒ สงเคราะห์ด้วยปฐมฌานถึงจตุตถฌาน และสงเคราะห์ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    หมวดที่ ๓ สงเคราะห์ด้วยฌานทั้ง ๕ และสงเคราะห์ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    หมวดที่ ๔ กล่าวเฉพาะ วิปัสสนา


    จากคู่มือการศึกษา กัมมัฏฐานสังคหวิภาค พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2010
  13. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666

    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (บางส่วน)

    บรรพที่ ๑ อานาปานสติ นี้เจริญได้ทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา กล่าวคือ

    ถ้ากำหนดพิจารณาลมหายใจเข้า ลมหายใจออก โดยถือเอาบัญญัติ คือลม เป็นที่ตั้งแห่งการเพ่ง เพื่อให้ได้ฌาน ก็เป็นสมถภาวนา

    แต่ ถ้ากำหนดพิจารณาความร้อนเย็นของลมหายใจที่กระทบริมฝีปากบน หรือ ที่ปลายจมูก เพื่อให้เห็นรูปธรรม ตลอดจนไตรลักษณ์ ก็เป็นวิปัสสนาภาวนา

    บรรพที่ ๒ อิริยาบถ ๔ บรรพที่ ๓ สัมปชัญญะ ๗ และบรรพที่ ๕ ธาตุ ทั้ง ๔ รวม ๓ บรรพนี้ ใช้ในการเจริญวิปัสสนาภาวนาแต่อย่างเดียว จะเพ่งให้เกิด ฌานจิตไม่ได้

    บรรพที่ ๔ ปฏิกูลสัญญา และบรรพที่ ๖ ถึง ๑๔ อสุภะ รวม ๑๐ บรรพนี้ ใช้ในการเจริญสมถภาวนาแต่อย่างเดียวเท่านั้น

    อนึ่ง บรรพที่ ๓ สัมปชัญญะ ๗ นั้น มีความหมายว่า ผู้บำเพ็ญเพียรภาวนา เดินไปข้างหน้า ถอยหลัง เหลียวซ้าย แลขวา ตลอดจนการเคลื่อนไหวทำการใด ๆ จะต้องทำด้วยความมีสัมปชัญญะ คือรู้ตัวอยู่ทุกขณะที่เคลื่อนไหวไม่ใช่ทำไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้พินิจพิเคราะห์

    อีกนัยหนึ่ง สัมปชัญญะคือการรู้ตัวนั้น ต้องมีสติและชอบด้วยเหตุผล ไม่ใช่ ทำไปตามอารมณ์หรือทำไปตามใจชอบ แต่ต้องมีทั้งสติและปัญญาด้วย จึงจะเรียก ได้ว่า มีสติสัมปชัญญะ

    จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
     
  14. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    แปลกนะ ตัวเอง เอาสันดานตัวเอง ออกมาแจง แล้วละเมอคิดว่า
    คนทั้งโลกจะต้องเป็นอย่างตัวเอง

    ขอโทษนะครับ ผมว่า คนบางคนในโลกนี้ เมื่อได้สดับอานาปานสติ
    แล้ว เขาจะเริ่มการทำกรรมฐานด้วยการไม่ต้องกำหนดลงไป นั้น มีแน่
    นอน ไม่ใช่โง่อย่างคุณไปเสียทุกคน

    นอกจากนี้ คนที่ยังมีตัณหาอยู่บ้าง มีปัญญามากอยู่ คนแบบนี้เมื่อได้
    สดับอานาปานสติแล้ว วาระจิตแรกจะคิดถึง "การทำอย่างไรจึงถูก"

    และเมื่อเขาดำริอย่างนั้น เราเพียงแต่ชี้ให้เห็นว่า นั้นคือ เชื้อตัณหาจริต
    ที่ยังหลงเหลือ ชี้ให้เห็น หากเขาเห็นได้ตามความเป็นจริง เขาคนนั้น
    ก็จะค่อยรู้ทันทีว่า ไม่ต้องกำหนด ไม่ต้องตั้งท่า ตามรู้ได้เลย

    ส่วนคนที่ว่า ชำนาญอยู่แล้ว หรือไม่ชำนาญแต่ปัญญาอินทรรย์มีมาก
    แค่ฟังก็น้อมทำตามได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน อันนี้ ก็มีอยู่ในโลก

    สรปุแล้ว คนที่ยังโง่ ต้องกำหนดขึ้นมาก่อน หากเทียบดู มันแค่
    1 ใน 4 ประเภท ซึ่งถือว่าเป็นเส่วนน้อย

    แต่เผอิญคนในโลก 1 ใน 4 ส่วนนั้น มันเป็นคนส่วนมาก ก็เลยละ
    เมอว่า โลกแห่งความเป็นจริงคือคนโง่อย่างเขาเท่านั้นที่มีอยู่ ทำให้
    ล่วงเลยไปว่า พุทธพจน์นั้นต้องเติมแต่งลงไปด้วยว่า ต้องกำหนดลม
    หายใจขึ้นมา

    แล้วคนโง่เหล่านั้น เมื่อสำเร็จด้วยทางบนความโง่ของตน ด้วยเพราะ
    ยังโง่อยู่มาก เลยคิดว่า ตำราที่มีอยู่นั้นไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุนั้น จึงได้
    รังสรรค์ตำหรับตำราอานาปานสติของตนขึ้นมาใช้แทนคำสอนของพระ
    พุทธองค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2010
  15. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241

    อ้าว มะช่าย หลบภัยนี่ ไม่ได้รับอะไรเลยไปจากเรา

    เขามีครูของเขา แต่เมื่อคืนคุยกัน ผมก็ยังเห็นว่าเขา
    ยังไม่เจอครูของเขาด้วยซ้ำไป

    ที่ๆเขาเจออยู่นะ ผมก็เห็นว่าไม่ใช่ครูเขา เป็นเพียงงูตัวเล็ก
    ที่เลื่อยผ่านมาชั่วคราว

    [​IMG] <-- งงให้รู้ว่างง อย่าไปเอา เนาะ
     
  16. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เนี่ยะ ชัดเจนว่า มั่วซั่ว ทำทีเป็นรู้ในอานาปานสติ

    แต่ขายขี้เท้อ พูดออกมาได้ว่า ต้องไปต่อยอด

    ไปจับเอาความตามตัวหนังสือว่า อานาปานสติ
    ทำให้สติปัฏฐานสี่เต็ม แล้วมองว่า ต้องทำอานาปานสติ
    ก่อนแล้ว ต่อด้วยสติปัฏฐาน4 ทีหลัง

    ก็ปัดโถ่ อานาปานสติ ในพุทธพจน์เขียนโต้งๆว่า เป็นการ
    พิจารณากายในกาย จิตในจิต เวทนาในเวทนา ธรรมใน
    ธรรมอยู่ในเนื้อหาอานาปานสติเลย มึ่งจะต้องไปต่อ
    ยอดอะไรที่ไหนอีก ก็อานาปานสตินั้นแหละตัวเดียว
    กันกับสติปัฏฐาน4 สำเร็จอานาปานสติก็คือสำเร็จ
    สติปัฏฐานไปเสร็จสรรพพร้อมกัน ไม่ใช่ต้องรอไปต่อยอด

    มึงไปเอาเรื่อง ฌาณ ถอยฌาณมาวิปัสสนา มามั่วซั่วแล้ว


    ขอร้องเถอะนะครับ คุณไปได้รับคำสอนจากพระท่านใดมา
    ว่าท่านสอนอานาปานสติคุณอยู่ หากพระท่านนั้นไม่ได้
    ยกพุทธวัจนะมาสอนคุณล้วนๆ ขอให้ตั้งประเด็นไว้เลยครับ
    ว่า ท่านท่องจำมาผิด แบบเห็นๆ อย่ามัวแต่ขยิบตาเหตุเพราะ
    ท่านเป็นสาวก ท่านเป็นครู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2010
  17. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ในครั้งพุทธกาล ก็มี ปัญหาคล้ายๆ กับที่ เห็นการถกเถียงกันตอนนี้นี่แหละ

    บังเอิญว่า จำพระสูตรไม่ได้ แต่ก็มี คนกลุ่มหนึ่ง เดินเข้าไปถามพระพุทธองค์
    ว่า พวกทำอานาปานสตินั้น ไม่เห็นจะได้ฌาณอะไร แล้วจะพิจารณาเห็นตาม
    เป็นจริงได้อย่างไร

    พระพุทธองค์ก็ตรัสชี้ลงไปง่ายๆสั้นๆว่า "บุคคลที่ตามรู้ลมหายใจตัวเอง แม้
    เพียงเสี้ยวขณะจิต จิตคนนั้น ไม่ว่างจากฌาณ"

    ก็แปลว่า แค่ตามรู้เพียงชั่วไม่กี่ขณะจิต ฌาณ ได้บังเกิดกับคนๆนั้นแล้ว

    ทีนี้ คุณจะเถียงคำสอนของพระพุทธองค์หรือเปล่า ถ้าเถียง ก็ลอง
    หาอ่านเอา แต่ถ้าไม่สะดวก จะเสี่ยงฟังเท่าที่ผมจำได้ก็ลองพิจารณาดู

    1. ลม นั้นถือว่า เป็น กายอย่างหนึ่ง
    2. กายนั้น เมื่อใส่ใจยกขึ้นพิจารณาได้ จิตคนนั้นจะปราศจากอกุศล และทิฏฐิ

    เอาแค่นี้ ก็พอมองเห็นแล้วว่า ขณะจิตที่ตามรู้ลม จิตจะว่าจากอกุศลแน่นอน
    และ ว่างจากทิฏฐิด้วย เมื่อไม่มีอกุศลแล้วศีลก็บริบูรณ์ เมื่อไม่มีทิฏฐิแล้วก็
    เหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ ขณะจิตที่ระลึกรู้ลมนั้น เป็นฌาณ ทันที

    เมื่อฌาณจิตปรากฏแล้วในพื้นจิต เมื่อทำไปเรื่อยๆ บทต่อไปจึงเริ่มยก
    ปีติ สุข ขึ้นมา แต่ท่านไม่ให้เอาอามิส นั้นก็คือ กลับมาทำฌาณอันเกิด
    จากทำอานาปานสติต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเล็งเห็นว่า ฌาณจิตนี่มีตัณหา
    เจือมีเวทนาเจือ เป็นฌาณโลกีย์ จึงต้องหมั่นทำให้มากๆ จนกว่าจะกำจัด
    อภิชญาโทมนัสในกาลก่อนๆลงได้ หมดวิบากผล เหลือแต่ลมหายใจที่
    เกิดจากกรรมดี ตรงนี้สาวกเลยเอาไปแปลว่า ตบแต่งลมหายใจ จริงๆ
    ไม่ใช่ มันต้องเป็นไปตามกฏแห่งกรรม ไม่ใช่ ไปพูดเสียว่า อยู่เหนือ
    กฏแห่งกรรม หลักสำคัญของศาสนาคือต้องเป็นไปตามกฏแห่งกรรม

    ไม่ใช่เป็นพระเจ้าอยู่เหนือกรรม ไปพูดเสียว่า ตบแต่งลมหายใจให้ดีได้
    ทำไม่ได้หรอก มันแค่การอยสุขชั่วคราว เพราะของจริงคือ กรรมวิบาก
    ยังส่งผลมาถึงอยู่ แล้วพอเห็นก็ไม่ลงไปเล่น ไปควัก ไปดิ้นรน เป็นผู้
    เฉยได้(ยอมรับกรรมวิบากนั้นด้วยจิต) กรรมมันก็หมดลง ภพสั้นลงไป
    เรื่อยๆ

    อานิสงค์ของอานาปานสติ เลยทำให้แลเห็นด้วยว่า วิบากจะหมดลงเมื่อไหร่
    หรือ เห็นได้ว่า อายุของตนมีเท่าไหร่ และ ...นะ...อานิสงค์อีกเยอะ

    แค่รู้ลมหายใจนี่แหละ

    แต่ถ้าเป็นพวกฌาณนะ นู้นเข้านิมิตไปดูอะไร ไปถามใคร ไปเห็นอะไร
    คนละเรื่องคนละราว รู้ได้เหมือนกันก็จริง แต่อย่าคิดว่า เป็นวิธีเดียวกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2010
  18. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    พระพุทธองค์ก็ตรัสชี้ลงไปง่ายๆสั้นๆว่า "บุคคลที่ตามรู้ลมหายใจตัวเอง แม้
    เพียงเสี้ยวขณะจิต จิตคนนั้น ไม่ว่างจากฌาณ"


    หมายความว่า... ต้องทำทุกวันตามเวลา วันละแค่เสี้ยวขณะจิต (เป็นอาจิณ)ถึงจะ ไม่ว่างจากฌาน
     
  19. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    กั๊กๆ ถามหลบภัยเหรอว่า รู้ได้อย่างไรว่า เป็นมรรค

    เช่นนั้น ผมขอถามกลับก่อนสักหน่อยว่า

    การเลี้ยงชีพชอบนั้น แปลว่า ต้องอาศัยอาหาร ต้องมีการกิน

    อาหารในทางพระพุทธศาสนามี 4 อย่าง

    คำถาม.....?

    อานาปานสติ มีอะไรเป็น อาหารที่สอดคล้องกับ การเลี้ยงชีพชอบ
     
  20. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เคยมีกระทู้หนึ่งผมให้ความเห็นไว้ถึงการทำสติฐานสี่ โดยมีการกำหนดรู้ลมหายใจไปด้วย พอหลุดจากสติฐาน ก็เอาลมประคองไว้ พอได้ที่ก็วิปัสสนาต่อ พอหลุด ก็กำหนดรู้ลมต่อ ไล่ทวนไป

    คุณเอกวีร์จำมาแล้วคิดว่ามันกรณีด้วยกันหรือ อานาปานสติกรรมฐาน ก็ยังที่ยกมามากมายแล้ว ว่าต้องกำหนดรู้ มีสมาธิเป็นฐาน จึงต่อยอดวิปัสสนาได้ ตำราผู้รู้ก็มากมาย แบ่งเป็น 16 ขั้น 4 หมวด

    ธรรมแท้ย่นย่อแยกขยายอย่างไรก็ลงที่เดิม ถ้าแตกไปก็เป็นธรรมปฎิรูป

    ตกลงเอกวีร์เอาไงแน่ กำหนดหรือไม่กำหนด อยู่ดี ๆ จะรู้ได้หรือ ไม่กำหนด ไม่มีสมาธิ แล้วฌานจะเกิดหรือ ฌานเกิด ปัญญาญาณเกิด ไม่ถูกต้องอีกหรือ ไหนคุณว่า ไม่มีฌานไง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...