อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ หรือปล่อยรู้ไปตามธรรมชาติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 14 พฤศจิกายน 2010.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เอกวีร์เอ๊ย สมัยก่อนสร้างความสับสน ให้กับเพื่อนสมาชิก ด้วยการเอาคำสอนผิดๆ มานำเสนอ ชักจูงคนอื่นให้หลงตามตนไป โกหกพกลม ตั้งกลุ่มตั้งแก๊งค์

    มาวันนี้ มาทำลาย หลักการในทาง อานาปานสติอีก

    การมีสติแนบไปกับลม นั้นหมายความว่า มีสมาธิดีมากแล้ว
    และ ฌาณ ก็เกิดขึ้น เนื่องจากอานาปานสติได้

    คนเขาเข้าใจ กันถูกต้องหลายคนแล้ว มีแต่คุณเท่านั้นแหละ ที่นั่งหายใจทิ้งไปวันๆ
     
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    คนปฎิบัติ ไม่เกี่ยง ไม่แบ่งแย่งหรอกครับ สมาธิ ฌาน ญาณ เกิดควบสนับสนุนกันไปเลย

    เวียนวนจนมั่วไปหมด พระธรรมคำสอน หาเอาการตีความ ว่าเป็นความเข้าใจ อาศัยการตีความว่าเป็นภูมิรู้ มิได้เลย อยากได้ต้องลงมือทำ

    ธรรมจึงเกิด ธรรมจึงประดิษฐาน เมื่อธรรมอยู่ในใจตน คนคนนั้นก็เป็นธรรม คิดก็เป็นธรรม พูดก็เป็นธรรม ทำก็เป็นธรรม

    ธรรมที่ว่านี้ จะเป็นไปทางเดียว คือ ธรรมที่เป็นเครื่องไถ่ถอน กิเลสตัณหาอุปสัยทั้งหลาย ให้ลดน้อยถอยลง จนสิ้นไป

    เล่าให้คุณขันธ์ฟ้ง เมื่อคืนก่อนนั่งสมาธิ ทันทีที่นั่ง ก็ได้ยินเสียง เป็นเสียงที่ใจรับรู้ ไม่ใช่เสียงจากโสตหูว่า " จะไปเสียเวลากับคนพวกนี้ทำไม "
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คนเราจะปล่อย อะไรได้ก็ตาม จะต้องจับก่อน ต้องรู้ด้วยว่าตนเองจับ

    เดิมที จิตเรานี้อยู่ไม่สุข ไปจับนั่นจับนี่ คว้าน้ำเหลว จับสังขารปล่อยสังขารให้วุ่นไปหมด

    เป็น ความฟุ้งซ่านไป ก็ไม่สามารถจะมีปัญญาขึ้นมาได้

    การเข้าไปรู้ลม ด้วยการสร้างลมขึ้นมาให้ชัดเจน รู้ชัด นั้น คือ การเริ่มต้นกระทำอานาปานสติ เมื่อลมนิ่งแล้ว ระงับแล้ว จะเกิด ปีติ สุข และ เอกคตาขึ้น

    เป็นลมปกติ นิ่งเสมอ เรียบ ประณีต นั้นเรียกว่า ปฐมฌาณ เกิดขึ้น ด้วย อานาปานสติ

    จากนั้น จึงใช้ พระสติ นี้ สังเกตุ ปีัติ และสุข การที่ยังสำเหนียกรู้ในลมหายใจนั้น ก็เพื่อให้มีสติไม่ขาดสาย ไม่หลงเข้ากลับไปสู่ ภวังคจิต

    เมื่อมีสติ เด่นชัด ก็รู้ว่า ปีติ เป็นอย่างไร สุขเป็นอย่างไร แล้วปล่อย กลายเป็น ทุติฌาณ ตติยฌาณ จนถึุง จตุถฌาณ ตามลำดับ

    จากนั้น แม้มีสติอยู่ แต่ อายตนะทั้งหลาย หดลง ย่นลงแล้ว ก็จะเหลือแต่ รูป นาม จิต ธรรม ให้สังเกตุได้ชัด

    เอาเท่านี้แล้วกัน พิจารณาเอา
     
  4. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ก็ต้องอ่านภาษาไทยให้เข้าใจนะครับ

    ผมไม่ได้กล่าวขัด ในกรณีที่ว่า ใครจะเอาจิตไปแนบกับลม เพื่อยกรูปฌาณ
    หากสติสัมปชัญยะไม่พอ ก็คงต้องทำตามนั้น

    แต่หากจะยกบทแย้งว่า แนบลม หรือไม่แนบลม ก็ขอให้กลับไปอ่านบท
    ที่ว่า "ลมหายใจเข้าออกนี้คือกายอย่างหนึ่ง" หลังจากนั้นให้ ตามเห็น
    กายในกายเพื่อกำจัดอภิชญาโทมนัสในกาย(ลม)

    อันนี้คืออะไร คือ ให้แนบลมหรือ หรือให้ แยกกายลมออกไปเป็นส่วน
    ที่กายที่กำลังถูกรู้ถูกดู

    การยกกายลมให้เป็นสิ่งที่ตามเห็น กับ การแนบเข้าไปเป็นเนื้อเดียวกัน

    มันเหมือนกันหรือแตกต่างกัน ก็แล้วแต่ สติสัมปชัญญะจะพิจารณา


    การพิจารณา กายในกาย หรือ การพิจารณาเห็นลมคือกายอย่างหนึ่ง

    จะเป็นบทแรกๆ บทตั้งไข่ใน อานาปานสติ ซึ่งถัดจากบทนี้ถึงค่อย
    ขึ้นสู่การพิจารณา ปีติ และ สุข

    ก็จะเห็นว่า ไม่ใช่แนบเข้าไปกับลมจนเป็นฌาณจิต เสียก่อน แต่เป็น
    บทเริ่มๆต้นก่อนที่จะขึ้นสู่การมี องค์ฌาณ(ปีติ สุข) เข้ามาให้ระลึก

    ตรงนี้ หากผู้สอนคิดว่า อานาปานสติเป็นฌาณ ก็จะสอนให้แนบ
    ซึ่งจะเลยปิติสุขไปแล้ว คือ แนบได้นี่มันต้องมีเอกัคตาไปแล้ว

    ก็จะเห็นได้ง่ายๆว่า มั่วลำดับการเกิดองค์ฌาณ ไปหยิบเรื่ององค์
    ฌาณเข้ามาอธิบายอานาปานสติผิดเรื่องผิดราว ผิดลำดับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2010
  5. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ลมหายใจ ไม่ใช้กสิญ เขาเป็นเขามีของเขา มาตั้งนาน
    เวลาทุกข์ สุข เศร้า อารมณ์เป็นไง ก็ยังมีลมหายตลอดเวลา
    แล้วต้องไปกำหนดการหายใจเข้า หายใจออกอะไรอีกล่ะ
    เขาเป็นของเขาอยู่อย่างนั้น เธอไปบังคับอะไรเขา
    ถ้าเธอไปบังคับเขา เขาก็จะแสดงให้เธอรู้ว่า เธอไม่มีสิทธิ
    สุดท้าย เธอก็จะอึดอัดหน้ามึด เธอมีหน้าที่รู้เขาเท่านั้น
    หากใครไม่ได้ฌาน ในอานาปาน ทำให้รู้เลย ปฐมฌานเป็นบาท
     
  6. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ตัวอย่างของการ ลักลั่น เอา ฌาณ มาอธิบาย อานาปานสติ

    ก็จะกระโดด ไปเป็นเรื่อง ฌาณ ถอย ฌาณมาพิจารณา วิถี
    การปฏิบัติจะไม่ลงกันกับพระสูตร

    อย่างเรื่อง พิจารณา ปีติ กับ สุข ในอานาปานสติ ต้องสังเกตุ
    ดีๆว่า ปีติ สุข นี้ในอานาปานสตินั้น ก็ไม่ได้ให้เอา ให้แนบ แต่
    ให้พิจารณาตามรู้ หรือ ยกออกจากจิต แล้วยกไปตามลำดับจนกระ
    ทั่งเห็น ปีติ และ สุข ปรากฏเป็นเพียง จิตสังขาร (ไม่ใช่จิต จึง
    ไม่ใช่เรื่องแนบจิตอีก) เมื่อพิจารณาไม่ไปส่องเสพ( ไม่มีอามิสจาก
    ปีติ และ สุข) ก็จะกลับมาพิจารณา ลมหายใจเข้าออกเป็นเพียง
    เวทนาอย่างหนึ่ง

    ก็จะเห็นว่า การพิจารณาเวทนาในอานาปานสติ ก็ยังเป็นเรื่องตาม
    รู้กองลมอยู่ดี นี่ชี้ให้เห็นว่า ยังอยู่ที่การตามรู้ลมหายใจ ถึงขั้น
    นี้แล้วยังไม่มีเลย แนบลม หรือ ลมหายใจหายไป ลมหายใจปราณีต
    เนียนนวล ไม่มีนะ ตอนนี้ลมหายใจจะมีมากมีน้อยก็ปล่อยของมันอย่าง
    นั้น ซึ่งอีกสักพักก็จะเห็นต่อจากการเห็นลมหายใจเป็นเวทนากองหนึ่ง
    ไปสู่ความบันเทิงที่มีลมหายใจอยู่ ทำไมบันเทิง ทำไมกายสังขารรำงับ
    ทำไม กายเนื้อที่แตกดับสลายให้เห็นอยู่กับมีความบันเทิงผาสุก

    คนไม่เคยทำก็ไม่รู้ ว่าทำไมถึงได้ง่ายๆแบบนี้ ไม่เห้นต้องดำดิ่งเป็น
    ฌาณเป็นแฌณอะไรเลย

    คนที่ทำฌาณแล้วมาเห็นมันก็เหมือนจะรู้นะ

    แต่จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ แต่จะบอกว่า ทำอานาปานสติอยู่ หรือ
    สอนอานาปานสติอยู่ ก็ต้องใคร่ครวญให้มากๆ ว่า จริงหรือ
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ปัดโธ่ เด็กเพิ่งหัด สวดมนต์

    อวัยวะแขนขา ของเรา ควบคุมได้ไหม เอาไปใช้ประโยชน์ได้ไหม

    ลมหายใจนี่ก็ควบคุมได้ แต่ธรรมะ ท่านว่าไม่ให้ยึด คือ อย่าไปยึดว่าเป็นของเรา

    เพราะว่า เวลามันสลาย มันเสื่อมเราจะได้ไม่ทุกข์

    ตามธรรมดา จะไปจับเสือ จับสัตว์ มันยอมให้จับได้ง่ายๆ หรือ
    นี่อะไร พอเสือขู่หน่อย ถอยหลังกลับ ไม่เป็นท่า พลอยมาสอนคนอื่นด้วยว่า อย่าไปจับเสือ เพราะมันจับไม่ได้ ตัวเองยังไม่ทันจับเลย แค่ได้ยินมันขู่เท่านั้น ก็วิ่งหางจุกตูด

    เหมือนกัน คนจับลมอานาปานสติ ยังไม่ทันจับให้มันดีเลย พอมันอึดอัดหน่อย กลัวตาย

    รีบคลาย โวยวาย นั่นเป็นเพราะมันมีความกลัว มันมีตัณหาเข้ามาแทรก

    ของอะไรทุกอย่าง ถ้าเราฝึกมันดีแล้วใช้การได้ดีหมด เป็นประโยชน์ เพราะเรารู้จักมัน

    ถ้าไม่รู้จักมัน มันก็ทำร้ายเรานะสิ

    ยุคนี้เป็นอะไร มีแต่พวกอวดรู้ เบื่อจริงๆ พวกเด็กอวดรู้เนี่ย
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    พูดไปพูดมา ระวัง สะดุดหกล้ม หละ น้องพลับ
     
  9. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ไม่เป็นไร ตอนนี้อยากจะพูดอะไร ก็พูดไป สักวันหนึ่งหากมีความเพียรจริง
    จะไม่พูดเหมือนวันนี้ ดังนั้น ในเมื่อ ลุงขันยังไม่เห็นไม่เป็นไร
    ทำไปถึงตรงนั้นให้ได้นะ แล้วค่อยออกมาแย้ง จะดีกว่า
    เคยบอกไว้แล้ว จะคุยกับคนที่ปฏิบัติตรงทางเท่านั้น ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็น
    ใครไม่เห็น ไม่เท่าจิตมันเห็น บอกไว้แค่นี้นะ
    สิ่งที่พูดคือหลบภัยเป็น ใครปฏิบัติอานาปานอยู่ย่อมเห็นเหมือนกัน
    เราไม่ได้มาทำสิ่งที่น่าละอาย ในที่สาธารณะ ถ้าไม่เชื่อลุงprint
    บทที่หลบภัยโพส ไปให้หลวงพ่อท่านไหน อ่านก็ได้
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    แย้ง ยังกับเป็นคนไม่เคยศึกษาธรรมะ ไปได้
     
  11. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    จงแสดงรายละเอียดของ ธรรมสังเวช ในขณะจิตเดียว
     
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ไม่มีหรอก ธรรมสังเวช มีแต่ สังเวชหลบภัย ในขณะจิตเดียวนี่แหละ

    พูดจายังกับ ครูภาษาไทย ป 4
     
  13. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ดังนั้น อย่ามาสอนอานาปาน ใครที่อานาปานได้ ก็จะเห็นจิตแสดงให้ดูในขณะ ขณะ ธรรมของลุงมันลามก ....แบร่ ไม่คุยด้วยแระ
     
  14. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ผมไม่ขอวิจารย์ใครแต่ชอบอานาปาณสติ ทำแล้วสบายใจสบายกาย ทำที่ไหนก็ได้ครับ ตามรู้ลมหายใจจนไม่ต้องตามรู้ คือรู้เลยว่าลมหายใจเป็นแบบไหนเข้าออกร้อนเย็นสั้นยาว ไม่เอาอาการอื่นๆมาผสม เอาอาการของลมเท่านั้น ลมมันเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ทำบ่อยๆก็สบายดี บางทีก็หลับบ้างเพื่อความสบายใจ ไม่ได้อยากหรือไม่อยากเพราะยังไงๆคนเราก็ต้องหายใจแต่ส่วนใหญ่คนไม่ค่อยรู้ว่าหายใจไปทำไมกัน เอาแค่ขำๆพอเพื่อความสบายใจ จะได้ไม่รู้สึกอึดอัด แต่ถ้ารู้สึกอึดอัดนะก็ลองคิดดูว่า ถ้ามีลมหายใจแล้วว่าอึดอัด แล้วไอ้ที่ลมมันเข้าแล้วไม่ออกอึดอัดกว่าไหม ก็ลองคิดเอา พอดีกว่า
    สาธุคั๊บ
     
  15. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็เหมาะที่จะใช้ อานาปาณสติ แก้ แต่
    เมื่อจิตหดหู่ ก็ไม่ควรใช้ อานาปาณสติ ...........
     
  16. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อีกเรื่องหนึ่งที่รู้คือ คนที่ร่างกายแข็งแรงนั้นส่วนใหญ่ลมหายใจดี การหายใจเป็นปกติ คือ คนที่หายใจเร็วๆ ฝึกให้เป็นคนหายใจนุ่มนวลแต่แน่นอนอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถทำให้การทำงานของร่างกายส่วนอื่นๆดีขึ้นตามลำดับ เพราะการหายใจคือการนำเอาอากาศเข้าสู่กระแสเลือด ต้องตั้งใจ ต้องตั้งเจตนา ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดและชัดเจนสำหรับผู้ฝึกจิตทั้งหลายว่า อย่างน้อยรูปกายจึงดูสะอาดผุดผ่องไม่หมองคล้ำ ซึ่งโอกาสของผู้ฝึกจิตและกายเศร้าหมองดูคล้ำหม่นไปนั้นเป็นเพราะการฝึกที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงตามลักษณะอาการของตน เคยได้ยินและเคยเป็นเองหลายครั้งแล้วว่า สมาธิช่วยให้คลายความเครียดเมื่อความเครียดไม่เกิดโรคภัยต่างๆก็ทุเลาลงและถึงขั้นไม่อาจเบียดเบียนได้ ดังนั้นการตั้งใจทำสิ่งใดโดยเฉพาะการหายใจจึงสำคัญเช่นกัน มันจะปล่อยให้ลอยๆไปไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องรายละเอียด พลังของการหายใจให้ได้ความคุ้มค่าในหนึ่งครั้งนั้นสำคัญมาก ฝึกมากทำมากเอาสติควบคุมเห็นแต่ว่าเกิดประโยชน์มาก ไม่ใช่เพื่ออะไรๆทั้งนั้น เพื่อสร้างสติ สร้างสมาธิ สร้างกำลัง เอาไว้ใช้พิจารณาและลดความตึงเครียดของจิตของกายลง
     
  17. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)
    มีข้อสำคัญอยู่ ๗ ข้อ คือ


    ๑. ให้ภาวนา พุท ลมเข้ายาวๆ โธ ลมออกยาวๆ ก่อน ๓ ครั้ง หรือ ๗ ครั้ง (คำภาวนากับลมให้ยาวเท่ากัน)
    ๒. ให้รู้จักลมเข้าลมออกโดยชัดเจน
    ๓. ให้รู้จักสังเกตลมในเวลาเข้าออกว่า มีลักษณะอย่างไร กว้างหรือแคบ ขัดหรือสะดวก ช้าหรือเร็ว สั้นหรือยาว ร้อนหรือเย็น ถ้าไม่สบายก็ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขจนได้รับความสะดวกสบาย
    ๔. ให้รู้จักขยายลมออกเป็น ๔ แบบ คือ
    ๑) เข้ายาวออกยาว
    ๒) เข้าสั้นออกสั้น
    ๓) เข้าสั้นออกยาว
    ๔) เข้ายาวออกสั้น
    แบบใดเป็นที่สบายให้เอาแบบนั้น
    ๕. ให้รู้จักที่ตั้งของจิต ฐานไหนเป็นที่สบายของตัวให้เลือกเอาฐานนั้น ห้ามสะกดจิต สะกดลม ให้ปล่อยลมตามสบาย ปล่อยใจตามลมเข้าลมออกให้สบาย
    ๖. ให้รู้จักขยายจิต คือ ทำความรู้ให้กว้างขวางออกไปทั่วสรรพางค์กาย
    ๗. ให้รู้จักประสานลม และขยายจิตออกให้กว้างขวางให้รู้ส่วนต่างๆ ของลม ซึ่งอยู่ในร่างกายนั้นก่อน แล้วจะได้รู้ในส่วนอื่นๆ ทั่วไปอีกมาก

    หลักอานาปา ฯ ทั้ง ๗ ข้อนี้

    เพราะเป็นเรื่องสำคัญของอานาปาฯ ทั้งสิ้น ถ้าเรารู้จักการปรับปรุงแก้ไขลมหายใจของตัวเองโดยสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว ก็เท่ากับว่าคนในบ้านของท่านเป็นคนดี ส่วนปลีกย่อยนั้น เปรียบเหมือนคนนอกบ้าน คือ แขก ในที่นี้ได้แก่นิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากลมให้ปรากฎเป็นรูป บางทีเกิดเป็นแสงสว่างขึ้น บางทีปรากฎเป็นรูปคนหรือรูปสัตว์ เป็นตนเองหรือคนอื่น บางคราวเกิดนิมิตขึ้นทางหู เช่น ได้ยินคำพูดของบุคคลผู้อื่น เป็นต้น

    การที่เราจะต้อนรับแขกเหล่านี้ เราต้องบังคับปรับปรุงแขกให้อยู่ในอำนาจของเราเสียก่อน ถ้าแขกไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของเราอย่าเพิ่งไปคลุกคลีกับเขา เขาอาจนำความเสื่อมเสียมาสู่เราได้ ถ้าหากเรารู้จักปรับปรุงเขา สิ่งเหล่านั้นก็จะเป็นเครื่องสนับสนุนเราต่อไป

    ฉะนั้นสิ่งทั้งหลายที่กล่าวมาให้ทบทวนดูให้ดี อย่าเพิ่งยินดีในสิ่งที่ปรากฏ อย่าเพิ่งยินร้ายหรือปฏิเสธในสิ่งที่ปรากฏ ควรตั้งจิตเป็นกลางทบทวนดูให้รอบคอบละเอียดละออเสียก่อน ว่าเป็นของควรเชื่อถือได้หรือไม่

    มิฉะนั้นจะเป็นเหตุให้สำคัญผิดไปก็มี ดี ชั่ว ถูก ผิด สูง ต่ำ ทั้งหมดมันสำคัญอยู่ที่ดวงจิตของเราฉลาดหรือโง่ รู้จักพลิกแพลงดัดแปลงแก้ไข เมื่อดวงจิตของเราเป็นผู้โง่อยู่แล้ว แม้ของสูงอาจจะกลายเป็นของต่ำ ของดี อาจจะกลายเป็นของชั่ว

    ถ้าหากเราได้รู้เรื่องราวต่าง ๆ ของลม และส่วนปลีกย่อยของลม จะรู้ได้ในอริยสัจธรรม นอกจากนั้น ยังเป็นหนทางบรรเทาทุกข์ของร่างกายได้อย่างดี ตัวสติเป็นตัวยา ลมอานาปาฯ เป็นกระสาย เมื่อสติเข้าไปฟอกแล้วย่อมบริสุทธิ์ ลมที่บริสุทธิ์จะส่งไปฟอกส่วนต่าง ๆ ในร่างกายให้สะอาดบรรเทาโรคภัยต่างๆ สร้างความเข้มแข็งของร่างกาย ให้ได้รับความสุขยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายได้รับความสุข จิตใจก็สงบ เมื่อจิตสงบได้อย่างนั้น ย่อมเกิดกำลังสามารถที่จะระงับเวทนาในเวลานั่งสมาธิ เมื่อกายสงบจากเวทนา จิตย่อมสงบปราศจากนิวรณ์ได้อย่างดี กายก็มีกำลัง ใจก็มีกำลังเรียกว่า "สมาธิพลัง" เมื่อสมาธิมีกำลังเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดปัญญา สามารถจะแลเห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แจ้งประจักษ์ขึ้นในลมหายใจของตัวที่มีอยู่ทุกตัวคน



    อธิบายก็ได้ความอย่างนี้ คือ ลมหายใจเข้าออกเป็น ทุกขสัจจ์ ลมเข้าเป็นชาติทุกข์ ลมออกเป็นมรณทุกข์ ไม่รู้จักลมเข้า ไม่รู้จักลมออก ไม่รู้ลักษณะของลมเป็น สมุทัยสัจจ์ ลมออกรู้ว่าออก ลมเข้ารู้ว่าเข้า รู้ลักษณะของลมโดยชัดเจนเป็น สัมมาทิฐิ


    องค์อริยมรรค คือ มีความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงของลมหายใจแบบใดไม่สบายก็รู้ และรู้จักวิธีแต่งลมหายใจของตัวว่า แบบนี้ไม่สบาย เราจะต้องหายใจแบบนี้จึงจะเป็นที่สบาย นี้ เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

    จิตตสังขารซึ่งนึกคิดวิตกวิจารณ์ในกองลมทั้งปวงอยู่โดยชอบชื่อว่า สัมมาวาจา วาจาชอบ
    รู้จักวิธีปรับปรุงลมหายใจของตนโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น หายใจเข้ายาวออกยาว หายใจเข้าสั้นออกสั้น หายใจเข้าสั้นออกยาว หายใจเข้ายาวออกสั้น จนไปถูกลมอันเป็นที่สบายแห่งตน ดังนี้ ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ การงานชอบ

    รู้จักทำลมหายใจฟอกโลหิตในร่างกายให้สะอาดบริสุทธิ์ แล้วส่งไปหล่อเลี้ยงหทัยวัตถุ รู้จักแต่งลมให้เป็นที่สบายของร่างกาย รู้จักประกอบลมให้เป็นที่สบายแห่งดวงจิต หายใจเข้าไปอิ่มกาย อิ่มจิต นี้ เรียกว่า สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ

    รู้จักพยายามเปลี่ยมลมหายใจของตนเป็นที่สบายกาย สบายจิต ถ้ายังไม่ได้รับความสบาย เกิดขึ้นในตัว ก็พากเพียรพยายามอยู่เรื่อยไปอยู่อย่างนั้นนี้ เรียกว่า สัมมาวายามะ เพียรชอบ

    รู้ลมหายใจเข้าออกทุกขณะเวลา และรู้กองลมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในร่างกาย เช่น ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมพัดในท้อง ลมพัดในลำไส้ ลมพัดไปตามชิ้นเนื้อซาบซ่านไปทั่วทุกขุมขน มีสติสัมปชัญญะตามรู้อยู่ทุกขณะลมหายใจเข้าออก นี้ เรียกว่า สัมมาสติ ระลึกชอบ

    ดวงจิตสงบอยู่ในเรื่องของลมอย่างเดียว ไม่ไปเหนี่ยวเอาอารมณ์อย่างอื่นมาแทรกแซงทำไปจนเป็นลมละเอียด เป็นอัปปนาฌาน จนกว่าจะเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นไปในที่นั้น เรียกว่า สัมมาสมาธิ

    ตั้งใจไว้ชอบนี้ เรียกว่า สัมมาสมาธิ เบื้องต้นในองค์อริยมรรค มรรคสัจจ์ ทั้งหมดที่กล่าวมา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เข้ามาสันนิบาตในดวงจิตได้แล้วโดยสมบูรณ์ ย่อมทำให้รู้แจ้งในกองลมทั้งปวงว่าหายใจอย่างนี้เป็นเหตุให้เกิดอกุศลจิต หายใจอย่างนั้นเป็นเหตุให้เกิดกุศลจิต และไม่ติดอยู่ในกายสังขารคือลม ไม่ติดอยู่ในวจีสังขาร ไม่ติดอยู่ในจิตตสังขาร ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ปล่อยวางไปตามสภาพแห่งความเป็นจริง เรียกว่า นิโรธสัจจ์



    ถ้าจะย่ออริยสัจ ๔ ให้สั้นเข้าไปอีกอย่างหนึ่งก็คือ ลมหายใจเข้าออกเป็น ทุกขสัจจ์
    ไม่รู้จักลมหายใจเข้า ไม่รู้จักลมหายใจออก เป็นสมุทัยสัจจ์ หรือวิชชาโมหะ
    ทำให้แจ้งในกองลมทั้งปวงจนละได้ไม่ยึดถือ เรียกว่า นิโรธสัจจ์
    ที่มีสติสัมปชัญญะประจำอยู่ในกองลม เรียกว่า มรรคสัจจ์

    เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้องตามแนวทางของอานาปา ฯ เป็นผู้มีวิชาอาจรู้ของจริงทั้ง ๔ อย่างได้อย่างชัดเจน ย่อมถึง วิมุตติ

    วิมุตติ นั้นคือ ดวงจิตที่ไม่เข้าไปติดอยู่ในเหตุฝ่ายต่ำ ผลฝ่ายต่ำ อันได้แก่ทุกข์ สมุทัย
    ไม่ติดอยู่ในเหตุฝ่ายสูงคือ มรรค และ นิโรธ
    ไม่ติดอยู่ในสิ่งที่ให้เรารู้ ไม่ติดอยู่ในความรู้ แยกสภาพธรรมไว้ เป็นส่วนๆ ได้ เช่นนี้ ชื่อว่า เป็นผู้มีวิชาวิมุติ คือ รู้จักเบื้องต้น เบื้องปลาย และท่ามกลาง วางไปตามสภาพแห่งความเป็นเอง ที่เรียกว่า สพฺเพ ธมฺมา อนฺตตา

    การติดอยู่ในสิ่ง ที่ให้เรารู้ คือ ธาตุ ขันธ์ อายตนะ เหล่านี้เป็น กามุปปาทาน
    ติดวิชาความรู้ความเห็นของตัวเป็น ทิฏปปฐุทาน
    ไม่รู้จักตัวรู้ คือ พุทธะ เป็นสีลพัตุปปาทาน ย่อมเป็นเหตุให้หลง กายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร อันเกิดจากอวิชชา



    พระพุทธเจ้า พระองค์ย่อมเป็นผู้สมบูรณ์ทั้งเหตุทั้งผล
    พระองค์มิได้เข้าไปยึดในเหตุฝ่ายต่ำ ผลฝ่ายต่ำ มิได้เข้าไปยึดในเหตุฝ่ายสูง ผลฝ่ายสูง
    อยู่นอกเหตุเหนือผล สุข ทุกข์ พระองค์ก็มีใช้ แต่พระองค์มิได้ติดสุขติดทุกข์ ดี ชั่ว
    พระองค์ก็รู้อยู่โดยสมบูรณ์ อัตตาและอนัตตา
    พระองค์ก็มีอยู่โดยสมบูรณ์ แต่พระองค์ก็มิได้ไปยึดถือในเรื่องราวเหล่านั้น

    วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย ก็มีใช้ แต่พระองค์ก็มิได้ติด มรรค คือ ปัญญา พระองค์ก็มีใช้ พระองค์รู้จักแต่งพระองค์ด้วยพิธีการต่าง ๆ เช่น แต่งโง่ แต่งฉลาด แล้วรู้จักใช้โง่ ใช้ฉลาด ในกิจพระศาสนา ส่วนนิโรธเล่า พระองค์ก็มีใช้มิได้ยึดถือ คือไม่มีการติดในสิ่งเหล่านั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้สมบูรณ์ได้จริง

    ถ้าได้ศึกษาโดยทางที่ถูกต้อง ย่อมเกิดปัญญาอันบริสุทธิ์เหมือนเพชรพลอยที่เจียระไนแล้ว ย่อมเกิดแสงขึ้นในตัวของมันเองโดยธรรมชาตินั้นแล จึงเรียกว่าเป็นตัวปัญญาที่แท้ เกิดขึ้นเฉพาะตัว ที่เรียกว่า ปัจจัตตัง เป็นได้เฉพาะตัว รู้ได้เฉพาะตัว แต่โดยมากคนเราเข้าใจผิด ไม่รู้จักลักษณะของปัญญา ไปถือเอาปัญญาไม่แท้ที่เจือปนไปด้วยสัญญามาทับของแท้เสีย คล้าย ๆ กับว่าเอาปรอทมาทากระจกแล้ว มองเห็นเงาของตัวและคนอื่นได้ โดยอาศัยของอื่นมาฉาบทาก็เข้าใจว่า ตัวเป็นผู้ฉลาด มองเห็นธรรมลักษณะอย่างนี้ก็เท่ากับว่า ลิงส่องกระจกเงาเท่านั้นเอง ตัวเดียวก็จะต้องกลายเป็นสองตัวก็จะเล่นเงาของตนเองอยู่อย่างนี้เรื่อยไป ปรอทหลุดจากบานกระจกเมื่อไร ลิงตัวนั้นก็จะหน้าตกซบเซาอยู่โดยไม่รู้ว่าเงานั้นมาจากเรื่องอะไร

    ฉันใด บุคคลผู้ใดได้ปัญญาไม่แท้จริง คิดเอาเดาเอาตามสัญญาอารมณ์ว่าตนรู้ตนเห็น โดยปราศจากความรู้สึกตนเองแล้ว ก็จะได้รับความทุกข์โศก ในคราวประสบกับความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเมื่อภายหลัง

    ฉะนั้นส่วนสำคัญของปัญญาโดยธรรมชาติในทางพระพุทธศาสนาย่อมเกิดขึ้นจากการอบรมดวงจิตโดยเฉพาะเหมือนแสงเพชรที่เกิดในตัวของมันเองย่อมมีรัศมีตีแผ่โดยรอบ และเกิดแสงสว่างได้ทั้งในที่มืดและที่สว่าง ส่วนเงาในกระจกนั้นใช้ได้สำหรับในสถานที่แจ้งมีแสงสว่างมองเห็น ถ้าเอาเข้าไปในที่มืดแล้ว จะใช้ส่องเงาตัวเองไม่ได้เลย ไม่เหมือนแสงเพชรแสงพลอยที่เจียระไนแล้วย่อมมีแสงได้ทั่วไป

    ฉะนั้นพระองค์จึงได้ทรงแสดงไว้ว่า ปัญญาไม่มีที่ลับ และปิดบังไม่ใช่ปัญญา เรียกว่า ปัญญารัตนัง เป็นตัวที่จะทำลายเสียได้ซึ่ง อวิชชา ตัณหา และอุปทาน ก็จะบรรลุคุณธรรมอย่างสูงสุด คือ พระนิพพาน ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่สาบ ไม่สูญ มีอยู่โดยธรรมชาติของธรรม เรียกว่า อมตธรรม


    โดยมากคนเรามักจะต้องการแต่ปัญญาและวิมุติ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่อาจจะเป็นไปได้ เอะอะ ก็อนิจจัง ทุกขัง อนัตตากันเสียเลยทีเดียว สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนที่พระองค์จะปฏิเสธ อนิจจัง ของไม่เที่ยงนั้น พระองค์ได้ทำได้รู้จนปรากฏเห็นเป็นของเที่ยงเสียก่อน ก่อนที่จะปฏิเสธ ทุกขัง พระองค์ก็ได้ทำทุกข์อันนั้น ให้เป็นสุขเสียก่อน และก่อนที่จะปฏิเสธ อนัตตา ที่ไม่ใช่ตัวตนนั้น พระองค์ก็ได้ทำอนัตตาให้เป็นอัตตาขึ้นเสียก่อน จึงได้เห็นของเที่ยงของจริงที่แอบอิงอยู่ใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็ได้รวบรวมยอดแห่งธรรมเหล่านั้นเข้ามาเป็นอันเดียว เช่น ทำ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นี้เป็นหมวดหนึ่งนับเป็นพวกเดียวกัน มีลักษณะเสมอกันหมดทั้งโลก ส่วน นิจจัง สุขัง อัตตา นี้เป็นอีกหมวดหนึ่ง เป็นสังขารธรรม พระองค์ทรงปล่อยได้แล้วในส่วนสังขารโลกและสังขารธรรม ไม่ข้องอยู่ในของเที่ยงและของไม่เที่ยง ไม่ข้องอยู่ในทุกข์และสุข ไม่ข้องอยู่ในอัตตาและอนัตตา จึงได้นามว่า วิมุตติ วิสุทธิ์


    นิพพานไม่ต้องไปยึดสังขารธรรมและสังขารโลกทั้งหมด นี้เป็นลักษณะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญมา แต่ปฏิปทาของพุทธบริษัททั้งหลาย ส่วนมากมักจะเป็นผู้รู้ก่อนเกิด เป็นผู้เลิศก่อนทำ ต้องการแต่ความละความพ้นกันฝ่ายเดียว ถ้าละโดยปราศจากเหตุอันสมบูรณ์แล้วมันจะเลอะ ถ้าพ้นกันโดยปราศจากเหตุแล้วมันจะผิด

    สำหรับคนผู้ปรารถนาดีอยากเป็นแต่คนดี เหตุประกอบของตนโดยอาการเช่นนี้มีแล้วหรือยัง ถ้าหากว่าไม่ต้องการสร้างเหตุแห่งความละ ความพ้นโดยสมบูรณ์แล้ว พวกเราจะพ้นไปได้อย่างไร พระพุทธเจ้า พระองค์ยังทรงแสดงไว้ว่า ศีล ปราบกิเลสอย่างหยาบที่เป็นวิติกมโทษที่เกิดขึ้นทางกาย ทางวาจา ออกเสียได้

    สมาธิ ปราบกิเลสอย่างกลางมี กามฉันทะ พยาปาทะ ถีนะมิทธะ อุทัจจะกุกกุจจะ วิจกิจฉา เป็นต้น ส่วนปัญญาปราบกิเลสอย่างละเอียดมี อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นต้น คนบางคนที่มีปัญญาฉลาดหลักแหลม สามารถที่จะอธิบายข้ออรรถข้อธรรมได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง แต่กิเลสเพียงหยาบ ๆ อันเป็นคู่ปรับแห่งศีลแค่นี้ก็ยังละกันไม่ค่อยจะออก

    นี่คงจะเป็นเพราะขาดความสมบูรณ์แห่งศีล สมาธิ ปัญญา กระมัง จึงได้เป็นไปอย่างนั้น ศีลก็คงเป็นศีลอย่างเปลือก ๆ สมาธิก็คงเป็นสมาธิเปื้อนเปรอะ ปัญญาก็คงเป็นปัญญาอย่างเลอะเลือนเคลือบเอาเสมอเหมือนกับด้วยบานกระจกที่ทาด้วยปรอทฉะนั้น จึงไม่สามารถเป็นเหตุให้สำเร็จความมุ่งหวังของพุทธบริษัทได้ ตกอยู่ในลักษณะ มีดที่คมนอกฝัก คือ ฉลาดในเชิงพูดเชิงคิด แต่ดวงจิตไม่มีสมาธิ นี่เรียกว่า คมนอกฝัก ฟักไข่นอกรัง คือ แสวงหาความดีแต่ภายนอกไม่อบรมจิตของตนให้เป็นไปในทางสมาธิ ปักหลักกองทราย คือ เที่ยวยึดถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นสาระแก่ตนมาเป็นสรณะที่พึ่งย่อมให้โทษ


    เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ที่ยังไม่ได้ที่พึ่งอันเป็นแก่นสาร ฉะนั้นจึงควรที่จะสร้างเหตุให้เป็นไปด้วยดี เพราะธรรมทั้งหลายย่อมไหลมาเทมาแต่เหตุ ดังนี้

    อตฺตนา โจทยตฺตานํ ปฏิมํเส ตมตฺตนา

    จงเตือนตน ฝึกฝนใจด้วยตนเอง จงเร่งคิดพิจารณา (อานาปา ฯ) ของตนด้วยตนเทอญ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2010
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    โอ้โห พูดมาได้เต็มปาก ลมหายใจ ควบคุมได้

    ขอโทษ สิ่งที่คุณปรุงแต่งขึ้นมาชั่วครั้งชั่วคราว คุณโดนขันธ์5แหกตา
    ได้ขนาดนั้นเลยเหรอ ถึงขั้นพูดออกไปว่า "ลมหายใจ" ควบคุมได้

    นี่ตกลงเป็นนักสมถะมาจริงหรือเปล่า ลมหายใจบ้านคุณจะไปจะมา จะ
    หายไปจะถอนกลับออกมามี คุณควบคุมได้หรือ คุณไป กะเกณฑ์วิบาก
    กรรมที่ ลมหายใจติดมาเป็นทรัพย์ในอัตภาพนี้ ได้หรือ

    ระวังนะ พูดแบบนี้มากๆเข้า จะกลายเป็นพวกเผลอกลั้นลมหายใจตาย

    * * * *

    ไหนๆ ก็ไหน ขอกล่าวต่ออีกหน่อย ในส่วน ธรรมในธรรม อันเกิดจาก
    การดูลมหายใจ ใช่ลมหายใจนี่แหละ ดูกิเลส ดูอาสวะได้ ไม่ต้องไป
    ดูบัญญติกุศลหรืออกุศลชืออื่นๆหรอก ให้ดูความปริเฉทของลมหาย
    ใจสมมบัญญัติเดียวนี่แหละ

    ลมหายใจหากดูจนเห็นว่า ลมหายใจนี่มันก็เป็นเวทนาอย่างหนึ่ง ก็จะ
    เริ่มเห็นแล้วว่า นั้นแหละมันคือรังของตัณหา ดังนั้น ลมหายใจก็คือ
    ตัวเดียวกันตัณหา และเมื่อใส่ใจดูไปอย่างนี้ ไม่นานก็จะเห็นว่า ลม
    หายใจที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง สั้นบ้าง ยาวบ้าง ติดขัดบ้าง ไม่ติดขัด
    บ้าง หายไปจากการรู้บ้าง ไม่หายไปจากการรู้บ้าง ล้วนแต่ผลจากวิบาก
    กรรมทั้งนั้น

    เมื่อเห็นแบบนี้ ก็จะแยกแยะลักษณะลมหายใจนั้นแหละ กองกิเลสเลย
    แหละ ลมหายใจนั้นแหละถูกตบแต่งโดยกิเลส ก็จะเห็นว่า หากคุณ
    แนบลมหายใจจนไม่รู้เรื่องรู้ราว เข้าไปสงบสว่างในอุกคนิมิต ปฏิภาค
    นิมิต เหล่านี้คุณจะรู้หรือถึง ลักษณะลมที่ตบแต่งโดยกิเลส โดยวิบาก
    หรือ จะเห็นหรือว่า ลมหายใจนั้นนั่นแหละ ก็ออกมาจากจิต!!!

    ใครก็ตามที่คิดว่า จะตบแต่งลมหายใจให้เหมือนลมที่เกิดจากกุศลจิต
    ฝ่ายกุศล ตบแต่งตัดตอนลมหายใจที่เกิดจากจิตที่สัมปยุตกับอกุศลมูล
    ก็เข้าขั้นไม่เข้าใจ ทุกขสัจจจากจิต ที่กำลังตบแต่งวิบากลมหายใจเป็น
    ผลอยู่ตรงหน้า ( ไม่เชื่อก็สังเกตสิว่า ลมหายใจเป็นวิบาก หรือว่ามัน
    เป็นเหตุ หากมันเป็น วิบาก คุณจะไปตบแต่งลมหายใจ อันนี้เข้าขั้น
    ไม่รู้เรื่องแล้ว แทนที่จะดูที่เหตุ กลับ ยกส่วนวิบากมาพูดว่า กูทำได้)

    แทนที่จะรู้ มีกิจอย่างเดียวคือ การรู้ทุกข์สัจจ(ลมหายใจนั้นแหละ) ไป
    อย่างซื่อๆ เพื่อแจ้งในอริยสัจจ ก็ไปนับหนึ่ง นับสอง นับสาม ให้วุ่นวาย
    ไม่ใช่อานาปานสติ ไปแล้ว

    อานาปานสติ เต็มสูตรก็จะจบรอบลงตรงนี้ เมื่อขัดเกลาอยู่ทุกเวลา
    ทุกย่างก้าว ทุกคำ ทุกโพส ทุกขณะเวลา ไม่ว่างเว้น เขาก็เรียกว่า ทำ
    ครบเต็มรอบเนืองๆ ทำแค่นี้แหละ ที่เหลือเป็นเรื่องผลพลอยได้
    ที่เกิดจาก สติสัมปชัญญะบริบูรณ์อย่างมาก แล้วขอโทษมาถึง
    ตรงนี้ อิทธิบาท4 พึ่งเริ่มต้น โพชฌงค์พึ่งเริ่มต้น ทำได้อานาปานสติ
    ให้เต็มรอบตรงนี้ก่อน โพธิปักขยิธรรมอื่นๆ พึ่งเริ่มต้น แต่ ณ วินาที
    ที่เริ่มต้นแค่ไม่กี่ขณะจิตนี่ ก็เป็น ราตรีหนึ่งเจริญแล้ว

    ไม่ใช่ตกพรึ๊บหดหัวเข้าภวังค์ไปแล้ว บอกว่า กูจับเสือ

    จับเสืออะไรว๊า พอออกมาจากฌาณปั๊ป ลมหายใจกัดปอดทันทีเลย

    จับแบบไหนหละนั่น มันกัดเข้าเต็มสังขารวิบากยังไม่รู้ว่าจะเห็นได้หรือเปล่าเลย

    อีกอย่างนะ ฌาณของพวกอวดจับเสือนี่ ลองทวนเอาเองละกันว่า ต้อง
    หลับตาพริ้ม ลมหายใจหมดไปสถานเดียวใช่ไหม แน่ใจหรือว่านั้นคือ
    ฌาณสมบูรณ์มีสติพร้อม

    ผมว่านะ หลวงพ่อดังๆหลายท่านๆ นะ ท่านจะทำอะไรแปลกๆ สักหน่อย
    ไม่เห็นจะต้อง ล้มหัวคมำลงไปนอนกับพื้นแล้วค่อยลุกมาทำอะไรแปลกๆ
    ให้เห็นเลย ท่านยิ้มหวานๆ แค่นั้นบางอย่างที่แปลกๆมันก็ออกมาแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2010
  19. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    วิธีดูกิเลสด้วยลมหายใจ
     
  20. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ต่างกันมากกับวิธีดูลมหายใจด้วยสติด้วยจิต
     

แชร์หน้านี้

Loading...