ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    เรียนพี่เสือครับ
    ผมเองก็อยากจะขอสัก 1 ชุดครับ
    ผมเคยส่งซองไปตามกติกา ส่งแบบลงทะเบียนไปครับ
    ไม่ทราบว่าพี่เสือได้รับหรือเปล่าครับ
    ขอบพระคุณครับ
    มหาโมทนาบุญด้วยครับ
     
  2. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    [​IMG]


    กำลังใจ

    ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นปีที่คณะเสรีไทยกำลังโด่งดังมาก บ้านหนองผือก็เป็นอีกแห่งที่ คณะเสรีไทยได้เข้าไปตั้งค่าย เพื่อฝึกอบรมคณะครูและประชาชนชายหนุ่มให้ไปเป็นกองกำลังทหาร ต่อสู้ ขับไล่ทหารญี่ปุ่นในสมัยนั้น คุณครูหนูไทย สุพลวานิช ( ชาวบ้านหนองผือ ผู้อยู่ในเหตการณ์และเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราว ปัจจุบัน ( พ.ศ. ๒๕๔๔ ) ใช้ชีวิตอยู่ในอำเถอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ) เป็นผู้หนึ่งที่ถูกเกณฑ์ให้ไปฝึกอบรมในค่ายนี้ ท่าน เกิดที่บ้านหนองผือนี่เอง เป็นธรรมดาสัญชาตญาณของคนเรา เมื่อตกอยู่ในภาวะเหตุการณ์เช่นนี้ จึงทำให้ แสวงหาสิ่งพึ่งพิงทางใจในยามคับขัน ช่วงเวลาว่างในการฝึกก็นั่งพักผ่อนตามอัธยาศัย พูดคุยสรวลเสเฮฮา กับหมู่เพื่อนร่วมค่ายหลายเรื่องหลายราว จนกระทั่งมาถึงเรื่องของดีของขลังของศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เพื่อป้องกัน อันตรายที่จะมาถึงตัว มีเพื่อนคนหนึ่งในจำนวนนั้นได้พูดขึ้นว่า " ท่านพระอาจารย์ใหญ่ในวัดป่าบ้านหนองผือ ทราบข่าวว่าท่านเป็นพระดีองค์หนึ่ง พวกเราจะไม่ลองไปขอของดีกับท่านดูบ้างหรือ ท่านคงจะให้พวกเรา "
    ด้วยคำพูดของเพื่อนจึงทำให้คุณครูหนูไทยนำไปคิดเป็นการบ้าน วันต่อมาคุณครูหนูไทยหาแผ่นทอง มาได้แผ่นหนึ่ง มาตัดเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ วางใส่จานขันธ์ห้า แล้วให้โยมผู้เฒ่าทายกวัดที่เป็นญาติซึ่งไปจังหัน ที่วัดในตอนเช้านำแผ่นทองถวายท่านพระอาจารย์มั่น เพื่อให้ท่านทำหลอดยันต์ให้แต่โยมผู้ที่นำแผ่นทองไปนั้น ไม่กล้าเข้าไปหาท่านพระอาจารย์มั่นโดยตรง จึงให้พระอุปัฏฐากเข้าไปลองถามท่านดูก่อน ท่านพระอาจารย์มั่น ได้พูดตอบพระอุปัฏฐากว่า " เขาอยากได้ กะเฮ็ดให้เขาสั้นตั๊ว " ( หมายความว่า เขาต้องการก็ทำให้เขาได้จะเป็นอะไร )เมื่อพระอุปัฏฐากเข้าใจแล้วจึงบอกให้โยมเอาแผ่นทองมาให้ท่าน รออยู่ประมาณสามวันพระอุปัฏฐาก ท่านก็นำหลอดยันต์นั้นมาให้โยมแล้วโยมผู้เฒ่าคนนั้นจึงนำมาให้คุณครูหนูไทยอีกทีหนึ่ง คุณครูหนูไทยเมื่อได้ ของดีแล้วก็มีความดีอกดีใจเป็นอันมาก ทะนุถนอมเก็บรักษาไว้ในที่มิดชิด และนำติดตัวไปในทุกสถานที่เลย ทีเดียว
    วันหนึ่งว่างจากการฝึกอบรมจึงเดินเที่ยวเล่นไปทางด้านหลังสนาม เผอิญเหลือบไปเห็นพวกเพื่อน สามสี่คนกำลังทำอะไรกันอยู่ข้างมุมสนาม คุณครูหนูไทยจึงเดินไปดูก็เห็นพวกเขากำลังทดลองจะยิง " เขี้ยวหมูตัน " ด้วยอาวุธปืนคาร์ไบน์ ( ชื่อเรียกในสมัยนั้น ) เมื่อเขาทดลองยิงแล้วปรากฎว่า " เขี้ยวหมูตัน " ที่ถือว่าเป็นของขลังศักดิ์สิทธิ์นั้น แตกกระจายไปคนละทิศละทาง เพื่อนคนที่เป็นเจ้าของเขี้ยวหมูตันหน้าถอดสี ไปหมด ส่วนเพื่อนคนที่เป็นคนยิงคงจะย่ามใจ หันหน้ามาถามคุณครูหนูไทยที่เดินเข้าไปสมทบทีหลังว่า " มีของดีอะไรมาลองบ้างเพื่อน " ด้วยความซื่อและความเป็นเพื่อน คุณครูหนูไทยจึงตอบเขาไปว่า " มีอยู่ " แค่นั้นแหละเพื่อนคนนั้นก็ก้าวเท้าเข้ามาเอามือล้วงปั๊บไปทีกระเป๋าเสื้อของคุณครูหนูไทยพร้อมกับพูดขึ้นว่า " ไหนเอาของดีมาลองดูหน่อยซิ " โดยคุณครูหนูไทยคิดไม่ถึงว่าเพื่อนจะกล้าทำได้เช่นนั้น แต่ก็ช้าไปเสียแล้ว วัตถุสิ่งนั้นจึงติดมือเพื่อนคนนั้นไป คุณครูหนูไทยวอนขอเขาอย่างไร เขาก็ไม่ยอมคืนให้ท่าเดียว
    ในที่สุดเขาก็นำตะกรุดยันต์นั้นไปวางที่ระยะห่างประมาณสัก ๓ - ๔ วา แล้วเขาก็ถอยกลับมายกปืน ขึ้นเล็งไปที่ตะกรุดยันต์นั้น เพื่อนทุกคนที่อยู่ที่นั่นเงียบกริบ ต่างคนก็ต่างเอาใจไปจดจ่อที่จุดเดียวกัน สักครู่คนยิงจึงกดไกปืนเสียงดัง " แชะ แชะ " แต่ไม่ระเบิด ทั้งหมดที่อยู่ที่นั่นต่างตกตะลึง ครั้งที่สามเขา ลองหันปลายกระบอกปืนนั้นขึ้นบนฟ้าแล้วกดไกอีกครั้ง ปรากฎว่าเสียงปืนกระบอกนั้นดังสนั่นหวั่นไหวไปทั่ว บริเวณ ส่วนคุณครูหนูไทยนึกขึ้นได้จึงใช้จังหวะนั้นกระโดดวิ่งเข้าไปหยิบตะกรุดยันต์นั้นอย่างรวดเร็ว แล้ว กำไว้ในมืออย่างหวงแหนที่สุด ถึงแม้พวกเพื่อน ๆ จะขอดูขอชม ก็ไม่อยากให้เขาดูเขาชม เดินบ่ายเบี่ยง ไปทางอื่น แต่พวกเพื่อนก็ขอดูขอชมจนได้ เสร็จแล้วทุกคนจึงพากันเลิกลา กลับไปที่พักของตนด้วยความ ฉงนสนเท่ห์และตื่นเต้นในอภินิหารตะกรุดยันต์ของท่านพระอาจารย์มั่นเป็นอย่างมาก อันนี้คุณครูหนูไทยเล่าให้ ฟังอย่างนั้น
    ภายหลังต่อมาบางคนทราบข่าวจึงพากันไปขอจากท่านพระอาจารย์มั่นที่วัด ส่วนมากจะได้เป็น แผ่นผ้าลงอักขระคาถาด้วยยันต์ สำหรับตะกรุดแผ่นทองนั้นไม่ค่อยมี เพราะแผ่นทองสมัยนั้นหายากมาก ต่อมาไม่นานท่านพระอาจารย์มั่นคงเห็นว่ามากไปจนเกินเลย จึงบอกให้เลิก ท่านบอกว่าสงครามเขาจะสงบแล้ว ไม่ต้องเอาก็ได้ พวกตะกรุดยันต์ ผ้ายันต์ เหล่านั้น นั่นมันเป็นของภายนอก สู้เอาคาถาบทนี้ไปบริกรรมแนบ กับใจไม่ได้ ให้บริกรรม ทุกเช้าค่ำจนขึ้นใจ แล้วจะปลอดภัยอันตรายต่างๆ จะไม่มากล้ำกรายตัวเราได้เลย คาถาบทนั้นว่าดังนี้
    "นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา" ฯลฯ
    ( เป็นบทสวด ส่วนหนึ่งของบทสวดโมระปะริตตัง (คาถายูงทอง)
    ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านหนองผือเลยไม่กล้าขอท่านอีก และเป็นความจริงตามที่ท่านพระอาจารย์มั่นพูด ยังไม่ถึง ๗ วันก็ได้ทราบข่าวว่า เครื่องบินทหารอเมริกันบินไปทิ้งระเบิดปรมาณูใส่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่นย่อยยับ จนในที่สุดประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม และสงครามในครั้งนั้นก็สงบจบสิ้นลง ดังที่พวกเราท่านทั้งหลายได้รู้จักกันแล้วในหน้าประวัติศาสตร์นั้นแล
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    โมระปะริตตัง (คาถายูงทอง)
    อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
    ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
    เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
    อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ
    อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
    ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
    เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
    อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ
    นะมัตถุ พุทธานัง : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    นะมัตถุ โพธิยา : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่พระโพธิญาณ
    นะโม วิมุตตานัง : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย
    นะโม วิมุตติยา : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่วิมุตติธรรม
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    ขอขอบพระคุณ
     
  3. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    สายสิญจน์แห่งธรรม


    ในยุคที่บ้านเมืองกำลังก้าวเข้าสู่"กลียุค"ที่เต็มไปด้วยภยันตรายร้ายแรงทั้งที่มองเห็นจับต้องด้วยกายเนื้อในมิติที่ 3 หรือต้องใช้สัมผัสพิเศษในมิติที่ 4อย่างที่พบเห็นอยู่ในทุกวันนี้ หากแม้นจะมี"ของดี"ไว้ป้องกันตัวบ้าง ก็มิใช่เรื่องผิดแปลกแต่ประการใด
    ที่สุด แม้แต่พระอริยสงฆ์ผู้ทรงศีลาสุตาธิคุณและมั่นคงในพระพุทธวจนะอย่างยวดยิ่งและไม่ปรากฏว่าจะให้ความสนใจในการสร้างหรือเสกเครื่องรางของขลังมาแต่กาลก่อนเป็นหลายองค์หลายๆท่าน ที่สุดแล้ว ก็ไม่อาจไม่ทำของป้องกันตัวแจกจ่ายแก่ญาติโยมในยุคมืดยุคเสื่อมเช่นนี้ได้
    เพราะธรรมดา "นาม"ย่อมต้องอิงอาศัย"รูป"ควบคู่ไปด้วยฉันใด ก็หากแม้รูปกายยังเอาตัวไม่รอดหรือประคับประคองเอาไว้ไม่อยู่เสียแล้ว จักมีแก่จิตเอาใจไปปฏิบัติธรรมหรือทำคุณงามความดีใดอื่นได้เล่า..???

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่สุด เมื่อคราวที่เดินทางไปถวายพระมหาจักรพรรดิคู่บารมีแด่วัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่เมื่อช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2553 ที่ผ่านมา และได้แวะไปกราบหลวงพ่อธัมมานันทะมหาเถระ วัดท่ามะโอ อ.เมือง จ.ลำปาง ซึ่งเป็นพระอัจฉริยบริสุทธิสงฆ์ผู้ทรงธรรมไตรสิกขาและพระไตรปิฏกจากประเทศพม่าอย่างลึกซึ้งยิ่งใหญ่ที่สุด ถึงขนาดที่แม้แต่หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปางยังได้นิมนต์ท่านมาสวดพระปริตรถวายยามอาพาธเป็นหลายวาระด้วยกัน และหลวงพ่อธัมมานันทะยังเป็นผู้ถวายความรู้พิเศษเกี่ยวกับชินบัญชรคาถาแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ก็ยังเมตตาอธิษฐานและแจก"ของดีในตำนานจากพระไตรปิฏก"ให้กับมือท่านอย่างที่ไม่เคยนึกเคยฝันหรือเคยพบเห็นมาก่อนเลยอีกด้วย.!!!???


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    นั่นก็คือ"ปริตตวาลิกะ"หรือ"สายสิญจน์"นั่นเอง..!!!!!! <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    และหลวงพ่อธัมมานันทะมหาเถระยังเมตตาสวมและผูก"ปริตตวาลิกะ"ให้กับมือของท่านเองแก่หมู่คณะทุกๆคน นับเป็นสิริมงคลอันยิ่งโดยแท้

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    "ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้องของพระเจ้าพรหมทัตแห่งเมือง พาราณสี ทรงศรัทธาบำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นประจำ วันหนึ่งได้ทูลถามพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า ต่อภายหน้าพระองค์จะได้เสวยราชสมบัติในเมืองพาราณสีหรือไม่ พระปัจเจกพุทธเจ้าพิจารณาดูแล้วก็ทราบว่า จะไม่ได้เป็นกษัตริย์ในเมืองนี้ แต่จะได้ครองเมืองตักสิลา ทว่าการไปตักสิลานั้นมีอันตรายจากนางยักษิณีระหว่างทาง จึงถวายพระพรเรื่องนี้ให้ทรงทราบพร้อมกำชับว่าให้ระวังตัวในเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่นางยักษิณีจะปลอมแปลงมาหลอกลวง ถ้าหลงใหลจะเป็นอันตรายถึงชีวิต พระโพธิสัตว์ก็รับคำเป็นอันดี แล้วได้อาราธนาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายสวดพระปริตร แล้วรับเอาปริตตวาลิกะ (ทรายเสกด้วยพระปริตร) และปริตต-สุตตะ (ด้ายเสก-สายสิญจน์) ที่พระปัจเจกพุทธเจ้ามอบให้ ทูลลาพระราชบิดาออกเดินทางไปเมืองตักสิลาพร้อมด้วยคนสนิทอีก 5 คน ซึ่งขอติดตามไปด้วยโดยมิฟังคำทัดทาน หลังจากกำชับกำชา ให้ระวังตัวให้ดีเหมือนคำพระปัจเจกพุทธเจ้า และทุกคนรับคำเป็นอันดีแล้วก็เดินทางไปตามลำดับ
    ครั้นถึงกลางดงใหญ่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของนางยักษิณี นางยักษิณีเห็นบุรุษเหล่านั้นพักอยู่จึงจำแลงเพศ มาเป็นหญิงสาวรุ่นงดงาม น่าพึงใจด้วย รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส พวกคนสนิทของพระโพธิสัตว์เห็นเข้าก็เกิดความลุ่มหลง ลืมสัญญาเสียสิ้น คนที่ชอบรูปร่าง ก็ถูกนางยักษิณีลวงด้วยรูปสวย แล้วจับกินเสีย คนที่ชอบเสียงก็ลวงด้วยเสียง แล้วถูกจับกิน คนทั้งห้าถูกลวงด้วยกามคุณห้าอย่างนี้แล้วถูกกินจนหมด เหลือพระโพธิสัตว์เพียงคนเดียวเท่านั้น แม้ยักษิณีจะลวงด้วยอาการอย่างไรก็ไม่ประมาท ไม่ยอมติดใจยินดี ด้วยอำนาจบุญบารมีที่เคยสั่งสมอบรมมา
    นางยักษิณีก็ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่ติดตามไปห่างๆ จะเข้าก็ไม่ได้ เพราะอานุภาพแห่งทรายเสก และด้ายเสกที่ติดตัวพระโพธิสัตว์อยู่
    พอถึงเมืองตักสิลา พระโพธิสัตว์ก็เข้าพัก ณ ศาลาแห่งหนึ่ง เอาทรายเสกโรยบนศีรษะ แล้วเอาด้ายเสกวนรอบที่พัก นางยักษิณีก็เข้าศาลาไม่ได้จึงพักอยู่ข้างนอกจนกระทั่งรุ่งเช้า พระราชาเมืองตักสิลาเสด็จผ่านมาเห็นนางเข้าจึงเกิดความเสน่หา นำนางเข้าไปเป็นสนมในวัง ภายหลังถูกนางยักษิณีหลอก จับกินเสียอีก เมื่อขาดพระราชาประชาชนจึงพร้อมใจกันเลือกพระราชาองค์ใหม่ เห็นพระโพธิสัตว์มีรูปร่างงดงาม มีสง่าน่าเลื่อมใส จึงอัญเชิญให้เป็นพระราชาเมืองนั้นสืบต่อไป.."
    ด้วยเหตุนี้ ด้ายสายสิญจน์จึงนิยมใช้วงสถานที่อยู่ และสถานที่ทำพิธี ตลอดจนใช้สวมศีรษะ สวมคอ ผูกข้อมือในงานมงคลทั้งปวง โดยนับถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ประดุจข่าย หรือเกราะเพชรป้องกันสรรพอันตรายเป็นประเพณีสืบมาจนทุกวันนี้


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    คำถาม "การสวดมนต์ปริตเป็นเดรัจฉานวิชาหรือไม่??"
    คำตอบ "ไม่..เพราะการสวดมนต์พระปริตรอันเป็นเครื่องป้องกันภยันตรายต่างๆ ได้มีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ายังดำรงอยู่แล้ว
    มีบัญญัติในพระวินัยทรงห้ามพระภิกษุเรียนเดรัจฉานวิชา แต่ให้เรียนปริตรป้องกันเหตุเภทภัยต่างๆ เมื่อมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น พระสงฆ์ก็ใช้สวดสาธยายพระพุทธวจนะนั้นตามสมควรแก่เหตุการณ์ ดังมีเรื่องเล่าว่า เมื่อคราวเมืองเวสาลี เกิดโรคระบาดทำให้คนและสัตว์ตายเป็นอันมาก พระอานนท์ ได้ไปยังที่นั้นแล้วสวด"รตนสูตร" โรคนั้นระงับไป
    เมื่อสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงประชวร โปรดให้พระจุนทเถระสวด
    "โพชฌงคสูตร"ถวาย พระโรคาพาธก็สงบลง
    ครั้งหนึ่งพวกภิกษุไปบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ป่า ถูกพวกอมนุษย์รบกวน กลับมาเฝ้ากราบทูลพระผู้มีพระภาค พระองค์โปรดให้สวด
    "กรณียเมตตสูตร" แล้วอยู่ต่อไป ภัยเหล่านั้นก็ไม่มี
    หรือเมื่อพระโมคคัลลานะและพระมหากัสสปะเป็นไข้หนัก พระพุทธเจ้าได้สวด
    "โพชฌงคสูตร" ให้สดับแล้วหายจากโรคภัยไข้เจ็บ


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มา, นานาวินิจฉัย หลวงพ่อธัมมานันทะมหาเถระ
    ขอขอบพระคุณ
     
  4. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    สูตรถอด"สูงสุดสำหรับ"โสฬสมหาพรหม

    นะโม 3 จบ
    สุนาตุเม ภันเตสังโฆสะมุหะคะโต สะมุหะคะตา สะมุหะคะติ ตัมโพ เอชะยาติ นะโมพุทธายะ นะถอด โมถอนพุทธะเคลื่อนออก ธะรายะ สูญหายะ( 3 จบ)

    [​IMG]

    1.คาถาสูตรถอดของสมเด็จลุนนี้ใช้โดยตรงกับพระสายโสฬสมหาพรหมทุกสาย
    2.สามารถใช้ได้กับพระมงคลมหาลาภ พ.ศ.2499 วัดสารนาถธรรมารามได้อย่างวิเศษที่สุดสามารถถอนของถอนคุณไสยได้ทุกชนิด<O:p
    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 75pt; mso-cellspacing: 0in; mso-yfti-tbllook: 1184; mso-padding-alt: 0in 0in 0in 0in" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0in; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0in; PADDING-BOTTOM: 0in; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0in; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent">

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <O:p


    หมายเหตุ :
    หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย นครพนมเคยบอกว่า
    สำหรับคนที่โดนของโดนคุณไสยแรงๆ ให้นำพระมงคลมหาลาภนี้มาฝนเอาผงมาผสมน้ำพร้อมสวดสูตรถอดดื่มกินเป็นออกหมด หรือแม้แต่ถูกงูพิษกัด ก็เอามาดื่ม 3 อึกพร้อมทาที่แผล หากไม่ถึงฆาต ก็อาจรอดชีวิตได้เช่นกัน

    พระมงคลมหาลาภ
    สมเด็จพระมงคลมหาลาภ สร้างเป็นที่ระลึกในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี ซึ่งสร้างที่วัดสัมพันธวงศ์ พระนครแล้วเชิญไปประดิษฐานเป็นพระธาน ณ วัดสารนาถธรรมราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา เมื่อวันที่ ๕-๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๙ นั้น บางท่านยังไปทราบประวัติที่ควรทราบ ซึ่งเป็นเหตุจะจงใให้เกิดความเลื่อมใสสัทธา เพื่อได้เคารพบูชาให้แน่บแน่นสมกับเป็นปูชนียวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลเหตุเครื่องเจริญอายุ วรรณะ สุขะ พละ แลลาภยศ สรรเสริญ สมบัติเกียรติศักดิ์ แลคุณธรรม คือเป็นสือสำคัญที่จะให้ใจเข้าถึงอิฐผลนั้นๆ อันนับว่าเป็นกำลังอันยิ่งใหญ่สำหรับชีวิต สามารถให้ถึงภาวะอันเป็นอิสสระเต็มที่ มีความเกษมนิรันดร

    เมื่อสร้างแจ้งให้ทราบแต่การประกอบพิธีบันจุพุทธมนต์เป็นพิเศษที่ยิ่งใหญ่โดยสังเขป ซึ่งยังไม่เคยเห็นทำที่ไหน คือจัดที่บูชาพร้อมเครื่องสังเวยต่างๆ มีเทียนธูป ข้าวตอก ดอกไม้ ๗ สี แลอาหารผลไม้ถึงอย่างละ ๓๗๕ ที่มีเบญจา มีเสวตฉัตร ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก ๘ ต้น บายศรีเงิน บายศรีทอง ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก อย่างละ ๘ ต้น บันจุพระพุทธมนต์ลงไปในน้ำ และผงที่จะสร้างพระนั้น โดยนิมนต์อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงหลายวัดทำพิธีประจุมนต์ เข้าพิธีปลุกเศกมี

    พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร
    พระวรเวทย์คุณาจารจย์ (เมี้ยน ปภสสโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    พระมหารัชชมังคลาจารย์
    พระครูวินัยธรเฟื่อง (ญาณปปทีโป)
    พระสอาด อภิวฒฒโน วัดสัมพันธวงศ์
    พระครูนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
    พระอาจารย์บุ่ง วัดใหม่ทองเสน
    พระชอบ สัมมาจารี วัดอาวุธวิกสิตาราม ธนบุรี
    เป็นต้น

    พร้อมด้วยบันจุ เทพมนต์พรหมมนต์ โดยเชิญเทพแลพรหมผู้มีชื่อเสียงเก่าๆ มาเข้าทรงประกอบพิธีอธิษฐานบันจุมนต์ลงด้วย และบันจุมนต์โยคีโดยโยคีฮาเร็บ (อาจารย์ชื่น จันทรเพ็ชร) ผู้มีชื่อเสียงและ พ.ต.อ.ชะลอ อุทกภาชน์ ผู้เป็นศิษย์เป็นผู้ทำพิธีบรรจุ เสร็จพิธีแล้ว จึงได้ใช้ผงประสมทำเป็นองค์พระได้มงคลฤกษ์ จึงได้ทำพิธีปลุกเศกพระเครื่องนั้นอีกครั้งหนึ่ง

    พระเครื่องที่จะทำพิธีปลุกเศกนั้น ห่อด้วยผ้าขาว ๗ ชั้น ผ้าเขียว ๗ ชั้น พิธีนอกนั้นเหมือนเมื่อบันจุมนต์ลงในผงแลน้ำที่จะสร้างพระ ตั้งน้ำมนต์สำหรับแจกผู้ต้องการซึ่งมาร่วมพิธี ๔๐ ตุ่ม แต่ไม่ได้กล่าวถิ่นผงที่นำมาประสมสร้างพระนั้นว่ามีอะไรบ้าง มีผู้สนใจต้องการทราบอยู่เป็นจำนวนมา จึงสมควรเขียนประวัติ เนื่องด้วยผงที่นำมาประสมสร้างพระเครื่องนั้น ให้ท่านทราบไว้ด้วย ดังต่อไปนี้

    ๑. ผงขอจากพระอาจารย์ต่างๆ ที่ท่านทำและรวบรวมไว้หลายวัด เช่นวัดพระเชตุพน วัดตรีทศเทพ วัดสัมพันธวงศ์ ฯลฯ ผงแป้งที่ทำแลผงจากพระของเก่าบ้าง
    ๒.ผงพระที่ทำด้วยว่านต่างๆ ที่นิยมว่าเป็นมงคลศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ อย่าง ทำจากดอกไม้บูชาพระต่างๆ ๑๐๘ อย่าง
    ๓. ผงที่ทำด้วยดินจากท่าน้ำ ๗ ท่า และจากสระน้ำ ๗ สระ
    ๔. ผงที่ทำด้วยเอาคัมภีร์เก่าๆ ทั้งใบลานแลสมุดข่อยมาเผาบด ตั้งแต่หมายเลข ๑ ถึง ๕ นี้ประสมสร้างพระผงรุ่นก่อน แล้วเอาบดผสมเข้ากัน กับผงใหม่ที่นำมาเข้าพิธีนี้ด้วย
    ๕. ผงที่ได้จากดินที่สังเวชนียสถาน แห่งในอินเดียคือ ๑ ดินที่ลุมพินีระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และเทวทหะ ซึ่งเป็นที่ประสูดของพระพุทธเจ้า ๒ ดินที่มหาโพธิพุทธคยาที่ตรัสรู้ ๓ ดินทีสารนาถ มฤคทายวัน เมื่องพาราณสี ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักร ๔ ดินที่กุสินนาราซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
    ๖. ดินจากสถานที่สำคัญอีก ๙ แห่ง คือดินจากสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จเสวยวิมัติสุข ๗ แห่ง ปริเวณพุทธคยา มีที่รัตนะจงกลม แลที่สระมุจลินเป็นต้น แลดินที่พระคัณธกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้าบนเขาคิชกูฏ (เมืองราชคฤห์) ๑ ดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับในเมืองสาวัตถี ๓ ซึ่งพระครูสุภารพินิจ (โทน สุขพโล) วัดสัมพันธวงศ์ ได้ไปนมัสการปูชนียสถานนั้นๆ และได้นำมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ผู้ที่มีพระเครื่องแบบพุทธมงคลมหาลาภ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นต้นไว้บูชา เป็นอันได้ระฃึกถึงแลบูชา สังเวชนัยสถานด้วย
    ๗. ผงปูนขาวหินราชบุรี
    ๘. ผงปูนซิเมนต์ขาว และนอกจากนี้ ก็ยังมีดินเหนียวอย่างดี สีเหลือง แลน้ำอ้อยเป็นต้น

    ผงเหล่านี้นั้น ประสมกันมากบ้างน้อยบ้าง แล้วบดให้ละเอียดแร่งกรองด้วยผ้าป่าน สำเร็จเป็นผงที่จะสร้างพระเครื่อง ใช้น้ำมนต์ที่ทำไว้นั้นประสมกับของที่จะทำพระให้พระมีคุณภาพดี สวยงามทนทาน ศักดิ์สิทธิ์ต่อไป ประสมผงพิมพ์เป็นรูป พระพุทธมงคลมหาลาภ บ้างสมเด็จบ้าง

    ส่วนพระเครื่องอื่นสร้างด้วยดินประสมผงเผาแล้วนำมา เข้าพิธีปลุกเศกในคราวเดียวกันกับพระพุทธมงคลมหาลาภเสร็จพิธีแล้วแจกจ่ายในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี พร้อมด้วยพระอัครสาวก ในการต่อมา พระเครื่องเหล่านี้ เมื่อแจกจ่ายแก่ผู้จำนงในงานผูกพัทธสีมา อุโบสถวัดสารนาถธรรมารามแล้ว ก็จะได้จัดการทำพิธีบันจุในอุโบสถ หรือเจดีย์ตามควร เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่วัดสารนาถธรรมาราม อันเป็นมหาปูชนียสถานในกาลต่อไปฯ


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=text1 vAlign=top align=left height=20>จากบันทึกของพระมหารัชชมังคลาจารย์(เทศ นิเทสโก) ดังกล่าวข้างต้น อาจที่จะสรุป เพื่อความเข้าใจง่ายที่สุดก็คือ
    1. พระผงมงคลมหาลาภนี้ สร้างในงานฉลอง"พระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี" หรือ"พระพุทโธใหญ่"ที่คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติมสร้างถวายเป็นพระประธานประจำพระอุโบสถ วัดสารนาถธรรมาราม อ.แกลง จ.ระยอง ของท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ในสมัยนั้น ท่ามกลางเหตุปาฏิหาริย์มากมาย(จะได้กล่าวต่อไปในภายหลัง)
    2.ผงโสฬสมหาพรหมที่นำมาสร้างพระผงมงคลมหาลาภนี้ เกิดจากการใช้วิชาพรหมศาสตร์อัญเชิญพรหมอริยะชั้นโสฬส(สุทธาวาส) และพระผู้เป็นเจ้าของทั้ง 3 ศาสนา(พราหมณ์,คริสต์,อิสลาม) ซึ่งพระอริยคุณาธาร(ปุสโส เส็ง) และท่านผู้รู้ต่างๆกล่าวตรงกันว่า แท้จริงแล้ว "พระเจ้า"หรือ"พระผู้เป็นเจ้า"เหล่านี้ ก็เป็น"พระเถระ"ของ"พุทธ" ที่เดินทางไปเผยแพร่ศาสนาตามสถานที่ต่างๆ แล้วคนรุ่นต่อมามาตีความดัดแปลงไปตามความเชื่อส่วนตัวของศาสดานั้นๆ จนเคลื่อนจากหลักเดิมไป
    3. ผง"โสฬสมหาพรหม" (ความจริงน่าเรียกว่า ผง"มหาพรหมอริยะโพธิสัตว์ผู้เป็นเจ้า" จะตรงและครอบคลุมกว่า) ไม่ได้เป็นการลบผงทีละกระดาน (ไม่ทันกิน) เลยเล่นเอาผงปูนมาเสกทีละเป็นกระสอบๆ โดยเชิญ"พระเบื้องบน"ลงประทับทำ ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าอัศจรรย์ ที่แม้แต่ท่านพ่อลี วัดอโศการามเมื่อสัมผัสผงนี้แล้ว ก็ถึงกับสะดุ้งออกวาจาอุทานว่า "เฮ็ดหยังแรงจังซี่" ( อะไรจะพลังแรงได้ขนาดนี้??) ก่อนที่จะขอผงพระมงคลมหาลาภหักๆไปผสมทำพระใบโพธิ์ 25 ศตวรรษที่วัดอโศการามในเวลาต่อมา รวมถึงอาจารย์ปถม อาจสาครเอง ก็ได้เอาผงพระ"มงคลมหาลาภ"หักๆนี้ไปทำพระผงรุ่น"โสฬสมหาพรหม" 2505 ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่จนดังระเบิดในเวลาต่อมาด้วย สมกับท่านอาจารย์ปถมบันทึกไว้เองว่า " รวมรวมผงหักป่นไว้ได้สักโหลใหญ่ พระที่ผมสร้างจึงขลัง"เพราะได้ผงหลักจาก"พระมงคลมหาลาภ"นี่เอง (ใครไม่มีพระผงโสฬสมหาพรหมของหลวงปู่ทิมที่หายากและแพงจัด หากมีพระผงมงคลมหาลาภนี้ไว้ ก็คง"นอนหลับฝันหวาน"ไป 3 วัน 7 วันได้แล้วนะครับ.....
    4.และเมื่อเอาผง"โสฬสมหาพรหม"หรือผง"มหาพรหมอริยะโพธิสัตว์ผู้เป็นเจ้า"มากดพิมพ์สร้างพระ"มงคลมหาลาภ"แล้ว ก็ได้ประกอบพิธีทางพรหมศาสตร์อัญเชิญ"พรหมโสฬส"และ"พระผู้เป็นเจ้า" ลงเสกซ้ำอีกครั้ง พร้อมด้วยพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังยุค 2500 อย่างมหาศาล (มีหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ,หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมฯลฯ )ที่วัดสัมพันธวงศ์เป็นประเดิมก่อน แล้วจึงอัญเชิญไปประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกพร้อมกับ"พระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี"(พระพุทโธใหญ่) ที่วัดสารนาถธรรมาราม ระยองอีก 18 วัน 18 คืน โดยพระคณาจารย์สายหลวงปู่มั่น 100 กว่าองค์ (มีพระอาจารย์สิงห์ ขันยาคโม,หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯเป็นอาทิ) พร้อมกันนี้ ก็ยังได้นิมนต์พระสายตะวันออก,ระยองมาร่วมนั่งปรกด้วย (มี หลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง, หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ เป็นต้น ฯลฯ) โดยมี"ท่านพ่อลี วัดอโศการาม" เป็น"เจ้าพิธี"ฝ่ายสงฆ์ และมี "คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม" วัดอาวุธฯ เป็นทั้ง"เจ้าพิธี"และ"ประธานดำเนินการสร้าง/เสก" ทุกขั้นตอนเอง
    </TD></TR><TR><TD class=text1>"เนาว์สถิตย์" (NAOSATITT) </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=10 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#3399cc border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#f9f9f9><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width="100%"><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE height="100%" cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" align=center bgColor=#cacaec border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%" align=center bgColor=#f9f9f9 border=0><TBODY><TR><TD class=text2 align=left></TD><TD align=right width="20%" height=17><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=0 width=220 border=0><TBODY><TR class=text1><TD class=text2 onclick="MM_openBrWindow('Option_ReportDelete.asp?MessageID=MSG-080422083386209','','width=370,height=150')" align=right> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=text1 vAlign=top align=left height=20>เกร็ดพิเศษ พระมงคลมหาลาภ(เพิ่มเติม)
    1.สร้างจากผง"โสฬสมหาพรหม" ล้วนๆ (ผง"กูโบ๊ส" หรือที่บางคนเรียกว่า"ผงโสฬสมหาพรหม" ได้ทำขึ้นเพื่อพระชุดนี้เป็นการเฉพาะ ที่แม้แต่ท่านพ่อลี วัดอโศการามสัมผัสดูถึงกับสะดุ้ง ร้องว่า"เฮ็ดหยังแรงจั่งซี่" และขอผงพระหัก 1 บาตรไปผสมสร้างพระใบโพธิ์ วัดอโศการาม ,อาจารย์ปถม อาจสาคร เอาพระหักรุ่นนี้ไปสร้างชุด"บินเดี่ยว" หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่จนดังระเบิด)
    2.ผงวิเศษ รวมจากสุดยอดพระคณาจารย์ในยุค 2500 มากมาย
    3.พิธีพุทธาภิเษกครั้งแรก ที่วัดสัมพันธวงศ์ นอกจากจะทำพิธีเสกแบบ"พรหมศาสตร์" เหมือนตอนทำผง"โสฬสมหาพรหม" (เสกก็นิมนต์พรหมชั้นโสฬสลงมาเสกด้วย)แล้ว ก็ยังได้นิมนต์สุดยอดพระคณาจารย์ในยุคนั้นอย่างมหาศาล น้องๆพระ 25 ศตวรรษ มีหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี,หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เป็นต้นฯลฯ
    4. และยังเสกเบิ้ลที่วัดสารนาถธรรมาราม ระยอง อีกถึง 18 วัน 18 คืน ด้วยพระสายระยอง (มีหลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ เป็นอาทิ) พร้อมสายกรรมฐาน ศิษย์พระอาจารย์มั่นอีก 100 กว่าองค์ นำทีมโดยพระอาจารย์สิงห์ ขันตยคโม,หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, ท่านพ่อลี ธัมมธโร ฯลฯ ในพิธีสมโภช"พระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี" หรือ"พระพุทโธใหญ่" ที่คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม เป็นประธานจัดสร้างและคุมงานเอง
    หมายเหตุ ...พูดง่ายๆก็คือ พระพิธีนี้ เป็นการผนึกกำลังของพระสาย"เกจิ"และ"อริยะ" ระดับสุดยอดมากเป็นประวัติการณ์ ยิ่งกว่า"พระ 25 ศตวรรษ"เสียด้วยซ้ำ (พระ 25 ศตวรรษจะมีสายวิทยาคมเสียโดยมาก แต่สายกรรมฐานมีน้อยกว่า และเสกกันเพียง 3 วัน และครั้งเดียวที่วัดสุทัศน์เท่านั้น) อีกทั้งยังเป็นพิธีที่เหมือนจะเป็นการ"ประลองฤทธิ์"กันสุดๆระหว่าง "ท่านพ่อลี วัดอโศการาม" พระอริยเถระผู้ยิ่งด้วยบุญฤทธิ์ เป็น"เจ้าพิธีฝ่ายบรรพชิต" กับ"คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม" ยอดหญิงอริยะผู้ยิ่งด้วยอิทธิฤทธิ์เป็น"เจ้าพิธีฝ่ายฆราวาส" (โอย..แค่คิดก็"มันส์หยด"แล้ว....อยากมีตาทิพย์จัง จะได้ย้อนไปดูเหตุการณ์ในวันนั้น ว่างานนั้นท่านใช้ฌาณฤทธิ์ระดับสุดยอดสู้กันเปรี๊ยะๆเปรี้ยงๆปร้างๆฟ้าถล่ม แผ่นดินทลาย เพื่อสร้างความขลังกันสุดฤทธิ์สุดเดชถึงขนาดไหนนะเนี่ย???)
    5. สร้างจำนวนเพียง 84,000 องค์
    6.เรื่องของประสพการณ์ไม่ต้องพูด คนระยอง,จันทรบุรีรู้ซึ้งถึงเยื่อในกระดูกดี มีคนรอดตายจากพายุ เพราะมีพระนี้ห้อยคออยู่องค์เดียวโดดๆก็มีมาแล้ว
    7.พระชุดนี้ ขลังขนาดเปล่งรัศมีสีเขียวยาวเป็นวาให้พระในสมัยนั้น เห็นด้วย"ตาเนื้อ"กันจะๆได้
    8.บูชาแทน "พระผงโสฬส หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่" ที่"แพงจัด"และ"ปลอมระเบิด"ได้อย่างสบายๆ เพราะนี่คือ"ต้นธาตุ"แห่ง"พระผงโสฬส" แถมยังได้นิมนต์หลวงปู่ทิม ตอนอายุ 70 กว่าๆมานั่งปรกด้วย
    9.อ.ประถม อาจสาคร หลังจากที่"ลุย"มาร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ ถึงกับต้องยกนิ้วการันตีแบบสุดตัวว่า พระมงคลมหาลาภนี้ "แคล้วคลาดสุดยอด" ชนิด "ไม่ต้องหาพระรอดมหาวัน"ให้เหนื่อยยากเลยทีเดียว.....!!!!!

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขอขอบพระคุณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2010
  5. nathaphat

    nathaphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +750
    ร่วมทำบุญ

    วันนี้ร่วมทำบุญ 800 บาทครับ
    ครอบครัว อัครานนท์ และ ครอบครัว สุระนันท์

    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยนะครับ สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • slip250553.jpg
      slip250553.jpg
      ขนาดไฟล์:
      38.1 KB
      เปิดดู:
      106
  6. yen-jit

    yen-jit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +709
    ขอร่วมบุญด้วยนะค่ะ 300 บาท

    ถ้ามีโอกาสจะร่วมบุญอีกค่ะ

    บุญกุศลทั้งหลายทั้งปวงขอให้ทุกๆท่านปราศจากทุกข์ ประสบสุขด้วยค่ะ

    ตั๊บ
     
  7. yen-jit

    yen-jit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +709
    รายการโอนตามที่แนบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    สารบัญ
    1-20 | 21-40 | 41-60 | 61-80 | 81-100 | 101-120 | 121-140 | 141-160 | 161-180 | 181-200 | 201-205

    หน้า : 1 บทนำ
    หน้า : 2 จุดเริ่มต้นและแนวทางการดำเนินงาน
    หน้า : 3 ความคืบหน้าและยอดเงินบริจาค ณ เดือน ธันวาคม 2550
    หน้า : 4 พี่ใหญ่ฝากมา...
    หน้า : 5 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน ธันวาคม 2550 #1
    หน้า : 6 ความรู้ปู่ให้มา..พระสมเด็จกรุบางน้ำชน (ปีระกาป่วงใหญ่)
    หน้า : 7 ความรู้ปู่ให้มา..พระสมเด็จปูนสอ "สมเด็จอัศนี"
    หน้า : 8 พระท่าดอกแก้วที่ อ.ประถม อาจสาครสร้าง
    หน้า : 9 ความคืบหน้าและยอดเงินบริจาค ณ เดือน มกราคม 2551
    หน้า : 10 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มกราคม 2551 #2
    หน้า : 11 ความคืบหน้าและยอดเงินบริจาค ณ เดือน กุมภาพันธ์ 2551
    หน้า : 12 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2551 #3
    หน้า : 13 การไหว้ 5 ครั้ง (ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถร ) วัดเทพศิรินทราวาส
    หน้า : 14 แจ้งกำหนดการร่วมทำบุญเดือน มีนาคม
    หน้า : 15 ภาพพระโลกอุดรที่เรียกว่า "กรุเก่า"
    หน้า : 16 ใบเสร็จรับเงินที่ไปทำบุญมาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2551
    หน้า : 17 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มีนาคม 2551 #4
    หน้า : 18 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มีนาคม 2551 #4 หน้า 2
    หน้า : 20 "กระดูก 300 ท่อน" สุดยอดธรรมจากหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
    หน้า : 21 ย้อนหลังกลับมาคุยถึงเรื่อง พระกำลังใจ 2

    หน้า : 22 ชนวนที่ใช้ในการสร้างพระกำลังใจ 2 หน้าที่ 1
    หน้า : 23 ชนวนที่ใช้ในการสร้างพระกำลังใจ 2 หน้าที่ 2
    หน้า : 24 สรุปยอดเงินบริจาคที่ Update ยอดเมื่อวันนี้ 10 เมษายน 2551
    หน้า : 25 ใบโมทนาบัตรเมื่อคราวไปทำบุญเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2551
    หน้า : 26 สรุปรายการพระที่นำมามอบให้เป็นสำหรับผู้ร่วมทำบุญกับทุนนิธิ ฯ
    หน้า : 27 บรรยากาศแบบไทย ๆ ณ บ้านอาจารย์ประถม อาจสาคร ร่วมกับ คณะกรรมการทุนนิธิฯ
    หน้า : 28 พระอีกรุ่นหนึ่งที่เป็นพระที่ อ.ประถมฯ สร้างไว้...
    หน้า : 29 คำบอกเล่าเกี่ยวกับกิจกรรมทำบุญครั้งที่ 5 ของทุนนิธิฯ...จากประธานทุนนิธิฯ
    หน้า : 30 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน เมษายน 2551 #5
    หน้า : 31 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน เมษายน 2551 #5-2
    หน้า : 32 รูปขณะที่ทางประธานทุนนิธิฯและคณะกรรมการได้นำกระเช้า ไปกราบเยี่ยมอาการผ่าตัดต้อที่ตาของ อาจารย์ประถม ที่บ้าน
    หน้า : 34 ประชาสัมพันธ์ งานบุญที่ รพ.สงฆ์ ครั้งที่ 6/51
    หน้า : 35 รายละเอียด ก่อนเริ่มการทำบุญ ในวันอาทิตย์ที่ 25/5/2551
    หน้า : 36 รายงานการถอนเงินออกมาเพื่อทำบุญ และ สรุปยอดเงินบริจาคที่ Update ยอดเมื่อ 27/05/08
    หน้า : 37 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน พฤษภาคม 2551 #6 หน้าที่ 1
    หน้า : 38 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน พฤษภาคม 2551 #6 หน้าที่ 2
    หน้า : 39 แจ้งข่าว หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร วัดถ้ำเขาประทุน ชลบุรี ได้มรณภาพแล้วด้วยอาการสงบ
    หน้า : 40 แจ้งข่าวเรื่องการทำบุญ รพ.สงฆ์ ในวันที่ ๒๒/๐๖/๒๕๕๑
    หน้า : 41 ขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมของทุนนิธิฯ วันที่ 22 มิ.ย (ครั้งที่ 7)
    หน้า : 42 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มิถุนายน 2551 #7 หน้าที่ 1

    หน้า : 43 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มิถุนายน 2551 #7 หน้าที่ 2
    หน้า : 44 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มิถุนายน 2551 #7 หน้าที่ 3
    หน้า : 45 ประธานทุนนิธิฯ แจ้งยอดการทำบุญในครังที่ 7 นี้ และใบเสร็จแจ้งการทำบุญ ร่วมโมทนาบุญด้วยกันครับ
    หน้า : 46 พระนาคปรกมหาลาภ
    หน้า : 47 ประชาสัมพันธ์กิจกรรมสำหรับงานบุญประจำเดือนกรกฎาคม 2551
    หน้า : 48 หลักฐานการโอนเงินเข้ากองทุนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี และ กองทุนสงฆ์อาพาธ รพ. 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ จ.อุบลฯ
    หน้า : 49 ใบโมทนาบัตรที่ทางโรงพยาบาลสงฆ์ และของทาง รพ.50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ จ.อุบลส่งมาให้ทางทุนนิธิฯทั้งของเดือน พฤษภาคมและเดือนมิถุนายน
    หน้า : 50 การเบิก-จ่ายในงานบุญ ๒๗/๐๗/๒๕๕๑
    หน้า : 51 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน กรกฏาคม 2551 #8 หน้าที่ 1
    หน้า : 52 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน กรกฏาคม 2551 #8 หน้าที่ 2
    หน้า : 53 พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า พิมพ์ปรกโพธิ์
    หน้า : 54 ซื้อผ้ามัสสลิน ถวายเพื่อใช้เป็นเครื่องบริขารให้แก่พระสงฆ์อาพาธ ณ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น
    หน้า : 55 ปุจฉา - วิสัชนา
    หน้า : 56 สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าพิมพ์ใหญ่และสมเด็จปัญจสิริรุ่นแรกเนื้อเก่าสวยๆ #1
    หน้า : 57 สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าพิมพ์ใหญ่และสมเด็จปัญจสิริรุ่นแรกเนื้อเก่าสวยๆ #2
    หน้า : 58 สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าพิมพ์ใหญ่และสมเด็จปัญจสิริรุ่นแรกเนื้อเก่าสวยๆ #3
    หน้า : 59 สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าพิมพ์ใหญ่และสมเด็จปัญจสิริรุ่นแรกเนื้อเก่าสวยๆ #4
    หน้า : 60 สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าพิมพ์ใหญ่และสมเด็จปัญจสิริรุ่นแรกเนื้อเก่าสวยๆ #5
    หน้า : 61 ใบโมทนาบัตรของเดือน กรกฎาคม+ยอดเงินที่เบิกออกมาใช้ในการทำบุญกับทาง รพ.สงฆ์ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2551
    หน้า : 62 ภาพของผ้ามัสลินที่ได้จากการบริจาคของทุนนิธิ ฯ ไปใช้หอสงฆ์ที่ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น

    หน้า : 65 พระกรุวังหน้าบางส่วน
    หน้า : 66 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน สิงหาคม 2551 #1
    หน้า : 67 แจงรายละเอียดการทำบุญเดือนสิงหาคม 2551
    หน้า : 68 ปิดท้ายงานบุญเดือนสิงหาคม 2551
    หน้า : 69 พระพิมพ์เจ้าสัว....
    หน้า : 70 พระกรุโลกอุดร
    หน้า : 71 พระกรุโลกอุดร พิมพ์ปิดตา อรหัง
    หน้า : 72 พระสารีริกธาตุของพระพุทธปัจเจกพุทธเจ้า
    หน้า : 73 พระสกุลวังหน้า
    หน้า : 74 พระพิมพ์สกุลวังหน้า
    หน้า : 75 พระพิมพ์สกุลวังหน้า.. ต่อ
    หน้า : 76 พระพิมพ์ของบรมครูพระเทพโลกอุดร
    หน้า : 77 แจ้งข่าวเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานขั้นต่อไปของทุนนิธิ
    หน้า : 78 ทางทุนนิธิฯตั้งใจจะแจกพระให้ในเดือนนี้นั้นก็ขอเรียนชี้แจงดังนี้นะครับ
    หน้า : 79 ภาพพระ ๒๔๐๘ เพื่อการศึกษา
    หน้า : 80 ภาพของการรักษาผู้ป่วยของ รพ.สงขลานครินทร์ ที่เราเตรียมส่งเงินไปช่วยเหลือ
    หน้า : 81 ภาพพระ ๒๔๐๘ เพื่อการศึกษา (๒)
    หน้า : 82 ใบโมทนาบัตรของโรงพยาบาล 5 พรรษา มหาวชิราลงกรณ และโรงพยาบาล ศรีนครินทร์ มาให้ได้ร่วมกันโมทนาในบุญ
    หน้า : 83 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน กันยายน 2551 #10 หน้าที่ 1
    หน้า : 84 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน กันยายน 2551 #10 หน้าที่ 2

    หน้า : 85 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน กันยายน 2551 #10 หน้าที่ 3
    หน้า : 86 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน กันยายน 2551 #10 หน้าที่ 4
    หน้า : 87 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน กันยายน 2551 #10 หน้าที่ 5
    หน้า : 88 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน กันยายน 2551 #10 หน้าที่ 6
    หน้า : 89 รายนามท่านที่บริจาคเงินสมทบเข้าทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2551
    หน้า : 90 ร่วมทำบุญให้กับ รพ.แม่สอด จ.ตาก (รพ.ชายแดน)
    หน้า : 91 นำใบโอนเงินมาร่วมโมทนาบุญกับทาง ทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร
    หน้า : 92 ใบอนุโมทนาบัตรที่ได้รับจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ครับ โมทนาสาธุ
    หน้า : 93 การประชุมคณะกรรมการทุนนิธิฯ
    หน้า : 94 ภาพการทำบุญ รพ.สงฆ์ วันที่ 19 ตุลาคม 2551
    หน้า : 95 ภาพพระสมเด็จที่ระลึกในงานศพของคุณพ่อพี่พันวฤทธิ์
    หน้า : 96 รายงานยอดเงินที่ถอนไปทำบุญในเดือนนี้และใบขอบคุณและโมทนาบัตรของโรงพยาบาลต่างๆครับ
    หน้า : 97 สรุปผลการประชุม ๒๖-๑๐-๒๕๕๑ และแจ้งวันร่วมทำบุญในเดือน พฤษจิกายน ๒๕๕๑
    หน้า : 98 รายงานยอดเงินเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2551 ที่ผ่านมา
    หน้า : 99 สรุปยอดบริจาคผ้าห่มให้กับโรงพยาบาลสงฆ์ที่อำเภอปัว โรงพยาบาลที่สกลนคร ของหลวงปู่แฟ๊บ และ โรงพยาบาลที่อำเภอแม่สอด
    หน้า : 100 ภาพหลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย
    หน้า : 101 รูปบรรยากาศการพบปะของลูกศิษย์และอาจารย์ ณ บ้านอาจารย์ประถม
    หน้า : 102 รูปบรรยากาศการพบปะของลูกศิษย์และอาจารย์ ณ บ้านอาจารย์ประถม ต่อ....
    หน้า : 103 ประชาสัมพันธ์เรื่องด่วนควรค่าแก่การโมทนาและสาธุบุญให้ผู้ที่บริจาคเข้าบัญชีทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธฯ
    หน้า : 104 หลักฐานการโอนเงิน และใบตอบรับ โมทนาบัตรของโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ทางทุนนิธิฯได้ส่งเงินไปช่วย

    หน้า : 105 มีรูปมาฝากจากแม่สอด ที่เราบริจาคเพื่อซื้อผ้าห่มให้กับ สงฆ์อาพาธและไว้ใช้ที่ รพ.แม่สอด ครับ
    หน้า : 106 รูปกิจกรรมทำบุญ ครบบรอบ ๑ ปี ของทุนนิธิ ธันวาคม ๒๕๕๑ #๑๒ หน้าที่ ๑
    หน้า : 107 รูปกิจกรรมทำบุญ ครบบรอบ ๑ ปี ของทุนนิธิ ธันวาคม ๒๕๕๑ #๑๒ หน้าที่ ๒
    หน้า : 108 รูปกิจกรรมทำบุญ ครบบรอบ ๑ ปี ของทุนนิธิ ธันวาคม ๒๕๕๑ #๑๒ หน้าที่ ๓
    หน้า : 109 รายงานสรุปผลารดำเนินการของทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร
    หน้า : 110 พระดีที่น่ากราบไหว้
    หน้า : 111 แจ้งวันทำบุญ ในเดือนมกราคม ๒๕๕๒
    หน้า : 112 สรุปยอดเงินสำหรับเตรียมการบริจาคในวันอาทิตย์ที่ 18 มกราคมนี้
    หน้า : 113 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มกราคม 2552 #13 หน้าที่ 1
    หน้า : 114 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มกราคม 2552 #13 หน้าที่ 2
    หน้า : 115 กำหนดการทำบุญที่โรงพยาบาลสงฆ์ วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552
    หน้า : 116 "พระปิยบารมีพิมพฐานบัวใหญ่" ที่ได้นำบรรจุกรุเพื่อสืบพระพุทธศาสนา
    หน้า : 117 "พระปิยบารมีพิมพ์ฐานบัวเล็ก" สำหรับแจกผู้ร่วมบริจาคทำบุญอย่างต่อเนื่องครับ
    หน้า : 118 ความเคลื่อนไหวของยอดเงินในบัญชีของทุนนิธิฯ กุมภาพันธ์ 2552
    หน้า : 119 ภาพกิจกรรมทำบุญของทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อาจารย์ประถม อาจสาคร ประจำเดือนกุมภาพันธ์
    หน้า : 120 ภาพกิจกรรมทำบุญของทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อาจารย์ประถม อาจสาคร ประจำเดือนกุมภาพันธ์ หน้าที่ 2
    หน้า : 121 ภาพกิจกรรมทำบุญของทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อาจารย์ประถม อาจสาคร ประจำเดือนกุมภาพันธ์ หน้าที่ 3
    หน้า : 122 รายละเอียดการจัดกิจกรรมทำบุญประจำเดือนในวันอาทิตย์หน้า คือวันที่ 22 มีนาคม 2552
    หน้า : 123 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มีนาคม 2552 หน้าที่ 1
    หน้า : 124 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มีนาคม 2552 หน้าที่ 2

    หน้า : 125 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มีนาคม 2552 หน้าที่ 3
    หน้า : 126 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มีนาคม 2552 หน้าที่ 4
    หน้า : 127 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มีนาคม 2552 หน้าที่ 5
    หน้า : 128 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มีนาคม 2552 หน้าที่ 6
    หน้า : 129 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มีนาคม 2552 หน้าที่ 7
    หน้า : 130 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มีนาคม 2552 หน้าที่ 8
    หน้า : 131 สรุปผลการดำเนินงานเดือน มีนาคม ๒๕๕๒
    หน้า : 132 รายชื่อผู้บริจาค 22 มีนาคม 2552 และ ยอดเงินคงเหลือในบัญชี
    หน้า : 133 หลักฐานการทำบุญกับร.พ.ศิริราชครับ
    หน้า : 134 รายละเอียดในการทำบุญ วันที่ 26 เมษายน 2552
    หน้า : 135 หลักฐานการส่งเงินของทุนนิธิฯไปช่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ และอนุโมทนาบัตร
    หน้า : 136 รายละเอียดการจัดกิจกรรมทำบุญประจำเดือนในวันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม 2552
    หน้า : 137 หลักฐานการโอนเงินผ่านธนาคารและทางธนาณัติส่งไปให้โรงพยาบาลทางภูมิภาคต่างๆ รวม 6 แห่งสำหรับการช่วยสงฆ์อาพาธในเดือนมิถุนายน 2552
    หน้า : 138 แจ้งข่าวงานบุญของเดือนมิถุนายน
    หน้า : 139 รายละเอียดคร่าว ๆ กิจกรรมทำบุญเดือนมิถุนายน ๒๕๕๒
    หน้า : 140 ภาพที่ทางทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ได้เดินทางไปเป็นเจ้าภาพและร่วมงาน
    หน้า : 141 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มิถุนายน 2552 หน้าที่ 1
    หน้า : 142 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มิถุนายน 2552 หน้าที่ 2
    หน้า : 143 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มิถุนายน 2552 หน้าที่ 3
    หน้า : 144 นำบุญมาฝากจาก รพ.สมเด็จพระยุพราชปัว อ.ปัว จ.น่าน

    หน้า : 145 ใครอยากมีตังค์ใช้ไม่ขาด....โปรดอ่านด่วนครับ
    หน้า : 146 รายละเอียดการจัดกิจกรรมทำบุญประจำเดือนในวันอาทิตย์ที่ 26 กรกฏาคม 2552
    หน้า : 147 รายนามผู้บริจาคเพิ่มเติม เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฏาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา
    หน้า : 148 ภาพการทำบุญในเดือนกรกฎาคม 2552 หน้าที่ 1
    หน้า : 149 ภาพการทำบุญในเดือนกรกฎาคม 2552 หน้าที่ 2
    หน้า : 150 ภาพการทำบุญในเดือนกรกฎาคม 2552 หน้าที่ 3
    หน้า : 151 ภาพการทำบุญในเดือนกรกฎาคม 2552 หน้าที่ 4
    หน้า : 152 ภาพการทำบุญในเดือนกรกฎาคม 2552 หน้าที่ 5
    หน้า : 153 กิจกรรมคณะทุนนิธิสงเคราะห์สงอาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ตอน..ทัวร์เขาใหญ่ ไหว้หลวงพ่ออุทัย หน้าที่ 1
    หน้า : 154 กิจกรรมคณะทุนนิธิสงเคราะห์สงอาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ตอน..ทัวร์เขาใหญ่ ไหว้หลวงพ่ออุทัย หน้าที่ 2
    หน้า : 155 แจ้งการทำบุญประจำเดือน สิงหาคม ๒๕๕๒
    หน้า : 156 หลวงปู่สอ วัดป่าบ้านหนองแสง ยโสธร
    หน้า : 157 รายละเอียดกิจกรรมประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๕๒
    หน้า : 158 คาถาบูชาพระสิวลี หลวงพ่อกวย
    หน้า : 159 คาถา "ยอดเสน่ห์" หลวงพ่อกวย
    หน้า : 160 พระคาถาพระฉิมภาลี หลวงพ่อกวย
    หน้า : 161 ภาพกิจกรรมการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หน้าที่ ๑
    หน้า : 162 ภาพกิจกรรมการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หน้าที่ ๒
    หน้า : 163 ภาพกิจกรรมการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หน้าที่ ๓
    หน้า : 164 ภาพกิจกรรมการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หน้าที่ ๔

    หน้า : 165 ภาพกิจกรรมการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หน้าที่ ๕
    หน้า : 166 ภาพกิจกรรมการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หน้าที่ ๖
    หน้า : 167 ภาพกิจกรรมการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หน้าที่ ๗
    หน้า : 168 ภาพกิจกรรมการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หน้าที่ ๘
    หน้า : 169 ภาพกิจกรรมการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หน้าที่ ๙
    หน้า : 170 ภาพกิจกรรมการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หน้าที่ ๑๐
    หน้า : 171 ภาพกิจกรรมการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หน้าที่ ๑๑
    หน้า : 172 รายงานผลการประชุม 20/9/52 เรื่องการจัดกิจกรรมในวันอาทิตย์ที่ 27/9/52
    หน้า : 173 ใบโมทนาบัตรและจดหมายตอบรับของทางโรงพยาบาลต่างๆที่ทางทุนนิธิฯได้ส่งเงินไปให้ครับ
    หน้า : 174 หลักฐานการบริจาคเงินเพิ่มเติมครับอีก 3 รพ
    หน้า : 175 ภาพกิจกรรมการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒ หน้าที่ ๑
    หน้า : 176 ภาพกิจกรรมการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒ หน้าที่ ๒
    หน้า : 177 ภาพกิจกรรมการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒ หน้าที่ ๓
    หน้า : 178 มีข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งให้ผู้ที่ได้บริจาคปัจจัยผ่านทุนนิธิฯ มาให้ทราบครับ
    หน้า : 179 ประชาสัมพันธ์แจ้งวันทำกิจกรรมที่ รพ.สงฆ์ ประจำเดือนตุลาคม 2552
    หน้า : 180 รายละเอียดของกิจกรรมของทุนนิธิฯ ประจำเดือนตุลาคม 2552
    หน้า : 181 รายนามผู้บริจาคเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2552
    หน้า : 182 หลักฐานสำเนาโอนเงินบริจาคไปยัง รพ.ภูมิภาคทั้ง 7 แห่ง
    หน้า : 183 ภาพกิจกรรมการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หน้าที่ ๑
    หน้า : 184 ภาพกิจกรรมการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หน้าที่ ๒

    หน้า : 185 กำหนดการจัดกิจกรรมที่ รพ.สงฆ์ ในเดือน พฤษจิกายน 2552 และรายละเอียดการบริจาคของเดือนนี้
    หน้า : 186 นำหลักฐานการโอนเงินผ่านทางบัญชีธนาคาร และส่งไปรษณีย์ธนาณัติ ให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ
    หน้า : 187 สรุปประเด็นการประชุม และการทำบุญและการบริจาคประจำเดือน ธันวาคม 2552
    หน้า : 188 กำหนดการร่วมทำบุญในวันอาทิตย์ที่ 27/12/52
    หน้า : 189 หลักฐานการโอนเงินไปยัง รพ.ต่างๆ ในเดือน ธ.ค. 52 เท่าที่ได้รับมาในขณะนี้ครับ
    หน้า : 190 Trip "ถ้ำระฆังทอง เอือมระอาศรัทธาธรรม" หุบเขาพระตรัยลักษณ์ #1
    หน้า : 191 Trip "ถ้ำระฆังทอง เอือมระอาศรัทธาธรรม" หุบเขาพระตรัยลักษณ์ #2
    หน้า : 192 Trip "ถ้ำระฆังทอง เอือมระอาศรัทธาธรรม" หุบเขาพระตรัยลักษณ์ #3
    หน้า : 193 Trip "ถ้ำระฆังทอง เอือมระอาศรัทธาธรรม" หุบเขาพระตรัยลักษณ์ #4
    หน้า : 194 กำหนดจัดกิจกรรมที่ รพ.สงฆ์ ในเดือนมกราคม มีกำหนดการจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24/1/53
    หน้า : 195 รูปกิจกรรมทำบุญ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2522 หน้าที่ 1
    หน้า : 196 รูปกิจกรรมทำบุญ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2522 หน้าที่ 2
    หน้า : 197 รูปกิจกรรมทำบุญ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2522 หน้าที่ 3
    หน้า : 198 รูปกิจกรรมทำบุญ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2522 หน้าที่ 4
    หน้า : 199 รูปกิจกรรมทำบุญ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2522 หน้าที่ 5
    หน้า : 200 รูปกิจกรรมทำบุญ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2522 หน้าที่ 6
    หน้า : 201 แจ้งข่าวกิจกรรมประจำเดือนนี้เป็น วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553
    หน้า : 202 รายการโอนปัจจัยบริจาคไปยัง รพ.ต่างๆ
    หน้า : 203 ใบอนุโมทนาบัตรและหนังสือขอบคุณที่ทุนนิธิฯ ได้รับกลับคืนมมาจากการบริจาคตาม รพ.ต่างๆ
    หน้า : 204 ประชาสัมพันธ์ งานบุญในเดือนนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม 2553

    หน้า : 205 รายละเอียดกิจกรรมประจำเดือน นี้เป็น วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม 2553
    หน้า : 206 ใบ อนุโมทนาบัตรของการบริจาคในเดือนธันวาคม 2552 (ออกเมื่อ 11 มีนาคม 2553)
    หน้า : 207 แจ้งข่าว: กิจกรรม ประจำเดือนเมษายน กำหนดจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2553
    หน้า : 208 ประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่ รพ.สงฆ์ ประจำเดือนนี้เป็น วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2553 (just update)
    หน้า : 209 ขอเชิญร่วม เป็นเจ้าภาพอุปสมบทหมู่รุ่นที่ ๑๑ วัดเนินตอง ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๑๙ - ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ (just update)
    <INPUT id=cur_content type=hidden value=201 name=cur_content>




    หน้าที่ 1 - บทนำ


    [​IMG]


    ด้วยในปัจจุบันพระภิกษุสงฆ์อาพาธตามโรงพยาบาลต่างๆ เช่น รพ.สงฆ์
    ยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมาก พระสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็นเนื้อนาบุญของเรา
    ดังคำกล่าวที่ว่า"ผู้ใดปราถนาจะอุปปัฏฐากเราตถาคต ผู้นั้นพึงรักษาภิกษุป่วยไข้"
    ด้วยเหตุและปัจจัยแห่งเนื้อนาบุญอันมีอานิสงส์ที่ประมาณมิได้นี้ ประกอบกับเป็นการเชิดชู
    ครูอาจารย็ที่ได้อบรมความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ในเรื่องอภิญญาจิต และความรู้เรื่องพระพิมพ์
    สกุล วัดพระแก้ววังหน้า พระพิมพ์สกุลบรมครูเทพโลกอุดรของ ท่าน อ.ประถม อาจสาคร
    กระผมและคณะจึงได้ก่อตั้งกองทุนขึ้นมาในรูปแบบของทุนนิธิ เพื่อรวบรวมเงินบริจาค
    ที่จะได้มานำไปบริจาคให้หรือรักษาไข้แก่พระภิกษุสงฆ์อาพาธที่ยากไร้ ตามโรงพยาบาลต่างๆ
    หรือบำรุงศาสนกิจที่จำเป็นตามที่คณะกรรมการของกองทุนจะได้พิจารณาขึ้น ดังนั้น กระผมและคณะ
    จึงใคร่ขอเชิญชวนทุกท่านที่ได้อ่าน ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือพุทธศาสนา ด้านการรักษาสงฆ์
    หรือศาสนกิจอื่นๆ




    บัญชี
    "ศ. ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร" (pratom foundation)
    บัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาถนนวิภาวดีรังสิต (ซันทาวเวอร์ส)
    บัญชีออมทรัพย์ หมายเลข 348-1-23245-9






    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD align=left></TD><TD align=right>หน้าถัดไป (หน้า 2) >>> </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  9. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    [​IMG]
    สุดมือสอยก็ปล่อยมันไป


    เมื่อคุณชี้ แจงไปแล้ว เขาก็ควรจะยอมรับฟัง แต่เมื่อเขาไม่ฟัง และคุณก็ได้ทำหน้าที่<wbr>ของตนเองอย่างดีที่สุดไปแล้ว ก็คงต้อง ปล่อยมันไป[FONT=&quot]” [/FONT]

    ในโลกนี้ มีเรื่องอะไรต่อมิอะไรหลายอย่<wbr>างที่เราไม่สามารถให้เวลากับมัน หรือไม่ สามารถทำในสิ่งนั้นให้ดี<wbr>ที่สุด[FONT=&quot] [/FONT]แต่แล้วเราก็ต้องปล่<wbr>อยให้สิ่งเหล่านั้นผ่านไป เพราะหากเรา มัว แต่จะนับเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา[FONT=&quot]” [/FONT]เวลาของคุณคงไม่พอเป็นแน่[FONT=&quot]
    (
    [/FONT]มีความหมาย ว่า จะพยายามทำ ให้คนทั้งโลกรู้สึ<wbr>กพอใจตัวเองในทุกเรื่อง)

    ดังนั้น ทำอะไรก็ตาม ควรทำเท่าที่เราทำได้ เมื่อทำอย่างดีที่สุดแล้ว คนเขาไม่เห็นว่าดีก็ต้อง [FONT=&quot]“[/FONT]ปล่อยมันไป[FONT=&quot]”[/FONT]

    เลือกทำใน สิ่งที่เห็นว่า เราถนัดที่สุด และมีความสุขที่จะทำก็พอแล้ว
    อะไรก็ตาม ที่เราไม่ถนัด หรือถึงถนัด...แต่ไม่มีความสุ<wbr>ขที่จะทำ ก็อย่าทำ

    เรามีเว ลาไม่มากนักหรอกที่จะแบกสารพั<wbr>ดภาระในโลกนี้ ควรมองไหล่ ของตัวเองดูสักหน่<wbr>อยว่า พร้อมจะแบกเป้หลังที่มีน้ำหนั<wbr>กมากน้อยเพียงใด อย่าแบกอะไร ที่เกินกำลังของตั<wbr>วเองเพราะไม่เพียงแต่มันจะทำให้<wbr>คุณเป็นทุกข์ แต่บางทีอาจ มีผลต่อการยืนตรงๆ อย่างยาวนานของคุณด้วย
     
  10. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    คาถาที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    ห้ามหลวงปู่บุญสวดในบ้านชาวบ้าน

    ***********************************************************

    “วันหนึ่งได้ไปกราบหลวงปู่เพิ่มที่วัดกลางบางแก้ว โดยมีศิษยานุศิษย์ญาติโยมติดตามไปด้วยหลายคน หลวงปู่เพิ่มท่านชรามากแล้ว ลักษณะท่าทางแบบเดียวกับหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่ญาติโยมพูดตรงกันว่าท่านน่ารักเหมือนกัน วันนั้นหลวงปู่เพิ่มท่านเล่าให้ฟัง ว่าหลวงปู่บุญอาจารย์ของท่านที่มรณภาพไปนานปีแล้ว เคยเล่าให้ท่านฟัง ว่าท่านเป็นเพื่อนกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านทรงสั่งหลวงปู่บุญ ว่าอย่าสวด "พระมหาสมัยสูตร" ในบ้าน ให้สวดได้แต่ในวัดหรือในวังเท่านั้น เพราะการสวด "พระมหาสมัยสูตร" ที่ใด ที่นั้นพรหมเทพจะไปร่วมฟังมาก เพราะดังมีแสดงไว้ในพระสูตรนั้นว่าเป็นที่รักที่พึงใจ นำมาซึ่งปีติปราโมทย์แห่งจิตของเทพดา หลวงปู่เพิ่มท่านพูดเรื่องนี้ในวันนั้นหลายครั้ง จำได้ว่าไม่ต่ำกว่า 3-4 ครั้งทีเดียว เมื่อกลับจากหลวงปู่เพิ่มแล้ว ญาติโยมผู้หนึ่งจึงเล่า ว่าเป็นผู้สวด "พระมหาสมัยสูตร" ในบ้านทุกวัน เมื่อหลวงปู่เพิ่มท่านเล่าถึงคำสั่งของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ไม่ได้รู้สึกว่าตนกำลังสวดอยู่ที่บ้านตามที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านทรงห้าม หลวงปู่เพิ่มท่านเล่าครั้งแรก ก็รับรู้ธรรมดาว่า "พระมหาสมัยสูตร" นั้น ท่านห้ามสวดในบ้าน ไม่ได้นึกเลยว่าตนเองก็สวด "พระมหาสมัยสูตร" อยู่ในบ้านทุกวัน ได้ยินหลวงปู่ท่านพูดซ้ำ 4-5 ครั้ง จึงได้สติ นึกได้ว่าตนเองก็สวดอยู่ในบ้าน พอมีสติรู้ตัว หลวงปู่ท่านก็มิได้พูดซ้ำอีก จึงได้ความมั่นใจเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ว่านี่คือผลของอำนาจจิตที่เกิดจากการปฏิบัติพระพุทธศาสนา ที่เกิดแล้วแก่หลวงปู่เพิ่มท่าน ท่านไม่เคยได้รับคำบอกเล่าจากญาติโยมผู้สวด "พระมหาสมัยสูตร" ในบ้าน แต่ท่านก็พูดเหมือนรู้ เพียงแต่ไม่ได้แสดงว่าท่านรู้เท่านั้น ท่านพูดไปตามธรรมดาๆเล่าคำสั่งของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไปตามธรรมดาเท่านั้น ด้วยเหตุผลที่ว่าการสวด

    "พระมหาสมัยสูตร" พรหมเทพพึงใจ ปีติปราโมทย์เพราะเป็นพระสูตรที่รักของพรหมเทพ การสวดในบ้านเรือน สถานที่ย่อมคับแคบเกินไปสำหรับพรหมเทพที่จะไปรวมกันฟังพระสูตรที่รักที่พึงใจ”
    วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
    2 มิถุนายน พ.ศ. 2547


    บางตอนของ แสงส่องใจ ที่ระลึกวิสาขบูชา 2547 พระธรรมเทศนา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่กล่าวถึงหลวงปู่เพิ่มวัดกลางบางแก้ว


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=30></TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบพระคุณเว็บไซท์
     
  11. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    เมื่อหลวงปู่มั่นให้คาถา
    พระสยามเทวาธิราช


    คราวหนึ่งหลวงปู่ท่านพักอยู่บนดอยมูเซอ วันหนึ่ง พระสยามเทวาธิราชพร้อมคณะเทพบริวารไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ซึ่งกำลังเดินจงกรมอยู่ พอรายงานตัวเสร็จหลวงปู่ท่านถามวัตถุประสงค์ พระสยามเทวาธิราชท่านบอกว่า
    " เวลานี้ฝ่ายสัมพันธมิตรได้มาทิ้งระเบิดที่กรุงเทพอย่างหนักหน่วงพวกข้าพเจ้าได้ป้องกันเต็มที่"
    หลวงปู่มั่นท่านถามว่า
    "มีคนบาดเจ็บล้มตายไหม??"
    " มี "
    "ทำไมไม่ช่วย"
    "ช่วยไม่ได้เพราะเขามีเวรกรรมกับฝ่ายข้าศึก จะช่วยได้แต่ผู้ไม่มีกรรม สถานที่สำคัญ และพระพุทธศาสนาเท่านั้น"
    "แล้วพวกท่านมานี่ประสงค์อะไร"
    พระสยามเทวาธิราชได้กราบเรียนว่า
    "ขอให้ท่านบอกคาถาปัดเป่าลูกระเบิดไม่ตกถูกในที่สำคัญ"
    เมื่อได้ฟัง หลวงปู่มั่นก็กำหนดพิจารณาหน่อยหนึ่งได้ความว่า
    "นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา"


    เท่านั้น เทพพวกนั้นที่สาธุการแล้วลากลับไป ไม่เห็นกลับมาอีกเลย

    ที่มา,หนังสือบูรพาจารย์ 600


    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14404
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    "ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ"
    ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


    นมัตถุ สุคตัสสะ ปัญจ ธรรมะขันธานิ
    ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมซึ่งพระสุคตบรมศาสดาสักยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า แลพระนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ แลอริยสงฆ์สาวก

    บัดนี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวซึ่งธรรมะขันธ์โดยสังเขป ตามสติปัญญาฯ

    ยังมีท่านคนหนึ่ง รักตัวคิดกลัวทุกข์ อยากได้สุขพ้นภัยเที่ยวผายผัน เขาบอกว่าสุขมีที่ไหนก็อยากไป แต่เที่ยวหมั่นไปมาอยู่ช้านาน นิสัยท่านนั้น รักตัวกลัวตายมาก อยากจะพ้นแท้ ๆ เรื่องแก่ตาย วันหนึ่งท่านรู้จริงทิ้งสมุทัยพวกสังขารท่านก็ปะถ้ำสนุก สุขไม่หาย เปรียบเหมือนดังกาย นี้เองฯ

    ชะโงกดูถ้ำสนุกทุกข์ทลาย แสนสบายรู้ตัวเรื่องกลัวนั้นเบา ทำเมิน* ไปเมินมา อยู่หน้าเขา จะกลับไปป่าวร้องซึ่งพวกพ้องเล่า ก็กลัวเขาเหมาว่าเป็นบ้าบอ สู้อยู่ผู้เดียวหาเรื่องเครื่องสงบ เป็นอันจบเรื่องคิดไม่ติดต่อ ดีกว่าเที่ยวรุ่มร่ามทำสอพลอ เดี๋ยวถูกยอถูกติเป็นเรื่องเครื่องรำคาญฯ

    ยังมี บุรุษคนหนึ่งอีก กลัวตายน้ำใจฝ่อ มาหาแล้วพูดตรง ๆ น่าสงสาร ถามว่าท่านพากเพียรมาก็ช้านาน เห็นธรรมที่แท้จริงแล้วหรือยังที่ใจหวัง เอ๊ะทำไมจึงรู้ใจฉัน บุรุษผู้นั้นก็อยากอยู่อาศัย ท่านว่าดี ๆ ฉันอนุโมทนา จะพาดูเขาใหญ่ถ้ำสนุกทุกข์ไม่มี คือ กายะ คะตาสติภาวนา ชมเล่นให้เย็นใจหายเดือดร้อน หนทางจรอริยวงศ์ จะไปหรือไม่ไปฉันไม่เกณฑ์ ใช่หลอกเล่นบอกความให้ตามจริง

    แล้วกล่าวปฤษณาท้าให้ตอบ

    ปฤษณานั้นว่า ระวิง คืออะไร?
    ตอบว่า วิ่งเร็ว คือวิญญาณอาการไว เดินเป็นแถวตามแนวกัน สัญญาตรงไม่สงสัย ใจอยู่ในวิ่งไปมา สัญญาเหนี่ยวภายนอกหลอกลวงจิต ทำให้คิดวุ่นวายเที่ยวส่ายหา หลอกเป็นธรรมต่าง ๆ อย่างมายา
    ถามว่า ขันธ์ห้า ใครพ้นจนทั้งปวง?
    แก้ว่า ใจซิพ้นอยู่คนเดียว ไม่เกาะเกี่ยวพัวพันติดสิ้นพิษหวง หมดที่หลงอยู่เดียวดวง สัญญาลวงไม่ได้หมายหลงตามไป

    ถามว่า ที่ว่าตาย ใครเขาตาย ที่ไหนกัน?
    แก้ว่า สังขารเขาตาย ทำลายผล

    ถามว่า สิ่งใดก่อให้ต่อวน?
    แก้ว่า กลสัญญาพาให้เวียน เชื่อสัญญาจึงผิดคิดยินดี ออกจากภพนี้ไปภพนั้นเที่ยวหันเหียน เลยลืมจิตจำปิดสนิทเนียน ถึงจะเพียรหาธรรมก็ไม่เห็น

    ถามว่า ใครกำหนดใครหมายเป็นธรรม?
    แก้ว่า ใจกำหนดใจหมายเรื่องหาเจ้าสัญญานั้นเอง คือ ว่าดี คว้าชั่ว ผลัก ติด รัก ชัง

    ถามว่า กินหนเดียวไม่เที่ยวกิน?
    แก้ว่า สิ้นอยากดูรู้ไม่หวัง ในเรื่องเห็นต่อไปหายรุงรัง ใจก็ นั่งแท่นนิ่งทิ้งอาลัย

    ถามว่า สระสี่เหลี่ยมเปี่ยมด้วยน้ำ?
    แก้ว่า ธรรมสิ้นอยากจากสงสัย สะอาดหมดราคีไม่มีภัย สัญญาในนั้นพราก สังขารขันธ์นั้นไม่กวน ใจจึงเปี่ยมเต็มที่ไม่มีพร่อง เงียบระงับดวงจิตไม่คิดครวญ เป็นของควรชมชื่นทุกคืนวัน แม้ได้สมบัติทิพย์สักสิบแสน ก็ไม่เหมือนรู้จริงทิ้งสังขาร หมดความอยากเป็นยิ่งสิ่งสำคัญ จำอยู่ส่วนจำ ไม่ก้ำเกิน ใจไม่เพลินทั้งสิ้นหายดิ้นรน เหมือนดังเอากระจกส่องเงาหน้า แล้วอย่าคิดติดสัญญา เพราะสัญญานั้นเหมือนดังเงา อย่าได้เมาไปตามเรื่องเครื่องสังขาร ใจขยับจับใจที่ไม่ปน ไหวส่วนตนรู้แน่ เพราะแปรไป ใจไม่เที่ยงของใจใช่ต้องว่า รู้ขันธ์ห้าต่างชนิดเมื่อจิตไหว แต่ก่อนนั้นหลงสัญญาว่าเป็นใจ สำคัญว่าในว่านอกจึงหลอกลวง คราวนี้ใจเป็นใหญ่ไม่หมายพึ่ง สัญญาหนึ่งสัญญาใดมิได้หวง เกิดก็ตามดับก็ตามสิ่งทั้งปวง ไม่ต้องหวงไม่ต้องกันหมู่สัญญา เปรียบเหมือนขึ้นยอดเขาสูงแท้แลเห็นดิน แลเห็นสิ้นทุกตัวสัตว์ สูงยิ่งนักแลเห็นเรื่องของตนแต่ต้นมา เป็นมรรคาทั้งนั้นเช่นบันได

    ถามว่า น้ำขึ้นลงตรงสัจจังนั้นหรือ?
    ตอบว่า สังขารแปรแก้ไม่ได้ ธรรมดากรรมแต่งไม่แกล้งใคร ขืนผลักไสจับต้องก็หมองมัวชั่วในจิต ไม่ต้องคิดขัดธรรมดาสภาวะสิ่งเป็นจริง ดีชั่วตามแต่เรื่องของเรื่องเปลื้องแต่ตัว ไม่พัวพันสังขารเป็นการเย็น รู้จักจริงต้องทิ้งสังขารที่ผันแปรเมื่อแลเห็น เบื่อแล้วปล่อยได้คล่องไม่ต้องเกณฑ์ ธรรมก็เย็นใจระงับรับอาการ

    ถามว่า ห้าหน้าที่ มีครบกัน?
    ตอบว่า ขันธ์แบ่งแจกแยกห้าฐานเรื่องสังขาร ต่างกองรับหน้าที่มีกิจการ จะรับงานอื่นไม่ได้เต็มในตัว แม้ลาภยศสรรเสริญ เจริญสุข นินทา ทุกข์ เสื่อมยศ หมดลาภทั่ว รวมลงตามสภาพตามเป็นจริง ทั้งแปดอย่างใจไม่หันไปพัวพัน เพราะว่ารูปขันธ์ก็ทำแก่ไข้มิได้เว้น นามก็มิได้พักเหมือนจักรยนต์เพราะรับผลของกรรมที่ทำมา เรื่องดีพาเพลิดเพลินเจริญใจ เรื่องชั่วขุ่นวุ่นจิตคิดไม่หยุด เหมือนไฟจุดจิตหมองไม่ผ่องใส นึกขึ้นเองทั้งรักทั้งโกรธไปโทษใคร

    อยากไม่แก่ไม่ตายได้หรือคน เป็นของพ้นวิสัยจะได้เชย เช่น ไม่อยากให้จิตเที่ยวคิดรู้ อยากให้อยู่เป็นหนึ่งหวังพึ่งเฉย จิตเป็นของผันแปรไม่แน่เลย สัญญาเคยอยู่ได้บ้างเป็นครั้งคราว ถ้ารู้เท่าธรรมดาทั้งห้าขันธ์ ใจนั้นก็ขาวสะอาดหมดมลทินสิ้นเรื่องราว ถ้ารู้ได้อย่างนี้จึงดียิ่ง เพราะเห็นจริงถอนหลุดสุดวิถี ไม่ฝ่าฝืนธรรมดาตามเป็นจริง จะจนจะมีตามเรื่องเครื่องนอกใน ดีหรือชั่วต้องดับเลื่อนลับไป ยึดสิ่งใดไม่ได้ตามใจหมาย ใจไม่เที่ยงของใจไหววิบวับ สังเกตจับรู้ได้สบายยิ่ง เล็กบังใหญ่รู้ไม่ทัน ขันธ์บังธรรมมิดผิดที่นี่ มัวดูขันธ์ธรรมไม่เห็นเป็นธุลีไป ส่วนธรรมมีใหญ่กว่าขันธ์นั้นไม่แล

    ถามว่า มีไม่มี ไม่มีมี นี้คืออะไร ?
    ทีนี้ติดหมด คิดแก้ไม่ไหว เชิญชี้ให้ชัดทั้งอรรถแปลโปรดแก้เถิด ที่ว่าเกิดมีต่าง ๆ ทั้งเหตุผล แล้วดับไม่มีชัดใช่สัตว์คน นี้ข้อต้นมีไม่มีอย่างนี้ตรง ข้อปลายไม่มี มี นี้เป็นธรรม ที่ลึกล้ำ ใครพบ จบประสงค์ ไม่มีสังขาร มีธรรมมีมั่นคง

    นั้นแล องค์ธรรมเอก วิเวกจริง ธรรมเป็น ๑ ไม่แปรผันเลิศภพสงบยิ่ง เป็นอารมณ์ของใจไม่ไหวติง ระงับนิ่งเงียบสงัดชัดกับใจ ใจก็สร่างจากเมาหายเร่าร้อน ความอยากถอน ได้หมดปลดสงสัย เรื่องพัวพันขันธ์ห้าซาสิ้นไป เครื่องหมุนในไตรจักรก็หักลง ความอยากใหญ่ยิ่งก็ทิ้งหลุด ความรักหยุดหายสนิทสิ้นพิษหวง ร้อนทั้งปวงก็หายหมดดังใจจง

    เชิญโปรดชี้อีกอย่างหนทางใจสมุทัยของจิตที่ปิดธรรม?

    แก้ว่า สมุทัยกว้างใหญ่นัก ย่อลงก็คือความรักบีบใจอาลัยขันธ์ ถ้าธรรมมีกับจิตเป็นนิจนิรันดร์ เป็นเลิกกันสมุทัยมิได้มี จงจำ ไว้อย่างนี้วิถีจิต ไม่ต้องคิดเวียนวนจนป่นนี้ ธรรมไม่มีอยู่เป็นนิตย์ติดยินดี ใจตกที่สมุทัยอาลัยตัว

    ว่าอย่างย่อทุกข์กับธรรมประจำจิต เอาจนคิดรู้เห็นจริงจึงเย็นทั่ว จะสุขทุกข์เท่าไรมิได้กลัว สร่างจากเครื่องมัวคือสมุทัยไปที่ดี รู้เท่านี้ก็คลายหายร้อน พอพักผ่อนเสาะแสวงหาทางหนี จิตรู้ธรรมลืมจิตที่ติดธุลี ใจรู้ธรรมที่เป็นสุข ขันธ์ทุกข์แท้แน่ประจำ ธรรมคงธรรม ขันธ์คงขันธ์เท่านั้น และคำว่าเย็นสบายหายเดือดร้อน หมายจิตถอนจากผิดที่ติดแท้ แต่ส่วนสังขารขันธ์ปราศจากสุขเป็นทุกข์แท้ เพราะต้องแก่ไข้ตายไม่วายวัน จิตรู้ธรรมที่ล้ำเลิศ จิตก็ถอนจากผิดเครื่องเศร้าหมองของแสลง ผิดเป็นโทษของใจอย่างร้ายแรง เห็นธรรมแจ้ง ถอนผิดหมดพิษใจ

    จิตเห็นธรรมดีล้นที่พ้นผิดพบปะธรรมเปลื้องเครื่องกระสัน มีสติอยู่ในตัวไม่พัวพัน เรื่องรักขันธ์ขาดสิ้นหายยินดี สิ้นธุลีทั้งปวงหมดห่วงใย ถึงจะคิดก็ไม่ห้ามตามนิสัย เมื่อไม่ห้ามกลับไม่ฟุ้งพ้นยุ่งไป พึงรู้ได้บาปมีขึ้นเพราะขืนจริง ตอบว่า บาปเกิดได้เพราะไม่รู้ ถ้าปิดประตูเขลาได้สบายยิ่ง ชั่วทั้งปวงเงียบหายไม่ไหวติง ขันธ์ทุกสิ่งย่อมทุกข์ ไม่สุขเลย

    แต่ก่อนข้าพเจ้ามืดเขลาเหมือนเข้าถ้ำ อยากเห็นธรรมยึดใจจะให้เฉย ยึดความจำว่าเป็นใจหมายจนเคย เลยเพลินเชยชม “จำ” ทำมานาน ความจำผิดปิดไว้ไม่ให้เห็น จึงหลงเล่นขันธ์ห้าน่าสงสาร ให้ยกตัวอวดตนพ้นประมาณ เที่ยวระรานติคนอื่นเป็นพื้นไปไม่เป็นผล เที่ยวดูโทษคนอื่นนั้นขื่นใจ เหมือนก่อไฟเผาตัวต้องมัวมอม ใครผิดถูกดีชั่วก็ตัวเขา ใจของเราเพียรระวังตั้งถนอม อย่า ให้อกุศลวนมาตอม ควรถึงพร้อมบุญกุศลผลสบาย เห็นคนอื่นเขาชั่วตัวก็ดี เป็นราคีที่ยึดขันธ์ที่มั่นหมาย ยึดขันธ์ต้องร้อนแท้ เพราะแก่ตาย เลยซ้ำร้ายกิเลสกลุ้มเข้ารุมกวน เต็มทั้งรักทั้งโกรธโทษประจักษ์ ทั้งกลัวนักหนักจิตคิดโหยหวน ซ้ำอารมณ์กามห้าก็มาชวน ยกกระบวนทุกอย่างต่าง ๆ ไป

    เพราะยึดขันธ์ทั้งห้าว่าของตน จึงไม่พ้นทุกข์ภัยไปได้นา ถ้ารู้โทษของตัวแล้วอย่าชาเฉย ดูอาการสังขารที่ไม่เที่ยงร่ำไปให้ใจเคย คงได้เชยชมธรรมะอันเอกวิเวกจิต ไม่เที่ยงนั้นหมายใจไหวจากจำ เห็นแล้วซ้ำดู ๆ อยู่ที่ไหว พออารมณ์นอกดับระงับไปหมดปรากฏธรรม เห็นธรรมแล้วย่อมหายวุ่นวายจิต จิตนั้นไม่ติดคู่ จริงเท่านี้หมดประตู รู้ไม่รู้อย่างนี้วิถีใจ รู้เท่าที่ไม่เที่ยง จิตต้นพ้นริเริ่ม คงจิตเดิมอย่างเที่ยงแท้ รู้ต้นจิตพ้นจากผิดทั้งปวงไม่ห่วง ถ้าออกไปปลายจิตผิดทันที

    คำที่ว่ามืดนั้นเพราะจิตคิดหวงดี จิตหวงนี้ปลายจิตคิด ออกไป จิตต้นดีเมื่อธรรมะปรากฏหมดสงสัย เห็นธรรมะอันเลิศล้ำโลกา เรื่องคิดค้นวุ่นหามาแต่ก่อน ก็เลิกถอนเปลื้องปลดได้หมดสิ้น ยังมีทุกข์ต้องหลับนอนกับกินไปตามเรื่อง ใจเชื่องชิดต้นจิตคิดไม่ครวญ ธรรมดาของจิตก็ต้องนึกคิด พอรู้สึกจิตต้นพ้นโหยหวน เงียบสงัดจากเรื่องเครื่องรบกวนธรรมดาสังขารปรากฏหมดด้วยกัน เสื่อมทั้งนั้นคงที่ไม่มีเลย

    ระวังใจเมื่อจำทำละเอียด มักจะเบียดให้จิตไปติดเฉยใจไม่เที่ยงของใจซ้ำให้เคย เมื่อถึงเอยหากรู้เองเพลงของใจ เหมือนดังมายาที่หลอกลวง ท่านว่าวิปัสสนูปกิเลส จำแลงเพศเหมือนดังจริง ที่แท้ไม่ใช่จริง รู้ขึ้นเองหมายนามว่าความเห็น ไม่ใช่เช่นฟังเข้าใจชั้นไต่ถาม ทั้งตรึกตรองแยกแยะแกะรูปนาม ก็ใช่ความเห็นเองจงเล็งดู รู้ขึ้นเองใช่เพลงคิด รู้ต้นจิต จิตต้นพ้นโหยหวน ต้นจิตรู้ตัวแน่ว่าสังขารเรื่องแปรปรวน ใช่กระบวนไปดูหรือรู้อะไร

    รู้อยู่เพราะหมายคู่ก็ไม่ใช่ จิตคงรู้จิตเองเพราะเพลงไหวจิต รู้ไหว ๆ ก็จิตติดกันไป แยกไม่ได้ตามจริงสิ่งเดียวกัน จิตเป็นสองอาการเรียกว่าสัญญาพาพัวพัน ไม่เที่ยงนั้นก็ตัวเองไปเล็งใคร ใจรู้เสื่อมของตัวก็พ้นมัวมืด ใจก็จืดสิ้นรสหมดสงสัย ขาดค้นคว้าหาเรื่องเครื่องนอกใน ความอาลัยทั้งปวงก็ร่วงโรย ทั้งโกรธรักเครื่อง หนักใจก็ไปจาก เรื่องใจอยากก็หยุดได้หายหวนโหย พ้นหนักใจทั้งหลายโอดโอย เหมือนฝนโปรยใจ ใจเย็นเห็นด้วยใจ ใจเย็นเพราะไม่ต้องเที่ยวมองคน รู้จิตต้นปัจจุบันพ้นหวั่นไหว ดีหรือชั่วทั้งปวงไม่ห่วงใย ต้องดับไปทั้งเรื่องเครื่องรุงรัง อยู่เงียบ ๆ ต้นจิตไม่คิดอ่าน ตามแต่การของจิตสิ้นคิดหวัง ไม่ต้องวุ่นต้องวายหายระวัง นอนหรือนั่งนึกพ้นอยู่ต้นจิต

    ท่านชี้มรรคฟังหลักแหลม ช่างต่อแต้มกว้างขวางสว่างไสว ยังอีกอย่างทางใจไม่หลุดสมุทัย ขอจงโปรดชี้ให้พิสดารเป็นการดี

    ตอบว่า สมุทัย คือ อาลัยรัก เพลินยิ่งนักทำภพใหม่ไม่หน่ายหนี ว่าอย่างต่ำกามคุณห้าเป็นราคี อย่างสูงชี้สมุทัยอาลัยฌาน ถ้าจับตามวิถี มีในจิต ก็เรื่องคิดเพลินไปในสังขาร เพลินทั้งปวงเคยมาเสียช้านาน กลับเป็นการดีไปให้เจริญจิตไปในส่วนที่ผิด ก็เลยแตกกิ่งก้านฟุ้งซ่านใหญ่ เที่ยวเพลินไปในผิดไม่คิดเขิน สิ่งใดชอบอารมณ์ก็ชมเพลิน เพลินจนเกินลืมตัวไม่กลัวภัย

    เพลินดูโทษคนอื่นดื่นด้วยชั่วโทษของตัวไม่เห็นเป็นไฉนโทษคนอื่นเข้ามากสักเท่าไร ไม่ทำให้เราตกนรกเลย โทษของเราเศร้าหมองไม่ต้องมาก ส่งวิบากไปตกนรกแสนสาหัส หมั่นดูโทษตนไว้ให้ใจเคย เว้นเสียซึ่งโทษนั้น คงได้เชยชมสุขพ้นทุกข์ภัย เมื่อเห็นโทษตนชัดรีบตัดทิ้ง ทำอ้อยอิ่งคิดมากจากไม่ได้ เรื่องอยากดีไม่หยุดคือตัวสมุทัย เป็นโทษใหญ่กลัวจะไม่ดีนี้ก็แรง

    ดีแลไม่ดีนี้เป็นพิษของจิตนัก เหมือนไข้หนักถูกต้องของแสลง กำเริบโรคด้วยพิษผิดสำแลง ธรรมไม่แจ้ง เพราะอยากดีนี้เป็นเดิม ความอยากดีมีมากมักลากจิต ให้เที่ยวคิดวุ่นไปจนใจเหิม สรรพชั่ว มัวหมองก็ต้องเติม ผิดยิ่งเพิ่มร่ำไปไกลจากธรรม

    ที่จริงชี้สมุทัยนี้ ใจฉันคร้าม ฟังเนื้อความไปข้างนุงนังยุ่งยิ่ง เมื่อชี้มรรคฟังใจไม่ไหวติง ระงับนิ่งใจสงบจบกันทีฯ

    อันนี้ชื่อว่า ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ ประจำอยู่กับที่ ไม่มีอาการไปไม่มีอาการมาสภาวธรรมที่เป็นจริงสิ่งเดียวเท่านี้ และไม่มีเรื่อง จะแวะเวียน สิ้นเนื้อความแต่เพียงเท่านี้ฯ

    ผิดหรือถูกจงใช้ปัญญาตรองดูให้รู้เถิดฯ

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นผู้แต่ง ฯ



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    ขอขอบพระคุณเว็บไซท์
    http://www.phuttawong.net
     
  13. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> </TD></TR></TBODY></TABLE>​







    ภาค ๑ ผู้ดี ย่อมรักษา ความเรียบร้อย
    กายจริยา คือ (๑) ย่อมไม่ใช้กิริยาข้ามกรายบุคคล. (๒) ย่อมไม่อาจเอื้อมในที่ต่ำสูง. (๓) ย่อมไม่ล่วงเกินถูกต้องผู้อื่นซึ่งไม่ใช่หยอกกันฐานเพื่อน. (๔) ย่อมไม่เสียดสีกระทบกระทั่งกายบุคคล. (๕) ย่อมไม่ลุกนั่งเดินเหินให้พรวดพราดโดนผู้คนหรือสิ่งของแตกเสียหาย. (๖) ย่อมไม่ส่งของให้ผู้อื่นด้วยกิริยาอันเสือกไสผลักโยน. (๗) ย่อมไม่ผ่านหน้าหรือบังตาผู้อื่น เมื่อเขาดูสิ่งใดอยู่ เว้นแต่เป็นที่เฉพาะไป. (๘) ย่อมไม่เอิกอึงเมื่อเวลาผู้อื่นทำกิจ. (๙) ย่อมไม่อื้ออึงในเวลาประชุมสดับตรับฟัง. (๑๐) ย่อมไม่แสดงกิริยาตึงตัง หรือพูดจาอึกทึกในบ้านแขก. วจีจริยา คือ (๑) ย่อมไม่สอดสวนวาจาหรือแย่งชิงพูด. (๒) ย่อมไม่พูดด้วยเสียงอันดังเหลือเกิน. (๓) ย่อมไม่ใช้เสียงตวาด หรือพูดจากระโชกกระชาก. (๔) ย่อมไม่ใช้วาจาอันหักหาญดึงดัน. (๕) ย่อมไม่ใช้ถ้อยคำอันหยาบคาย. มโนจริยา คือ (๑) ย่อมไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านกำเริบหยิ่งโยโส. (๒) ย่อมไม่บันดาลโทสะให้เสียกิริยา.

    สมบัติของผู้ดี ภาค ๒ ผู้ดี ย่อมไม่ทำอุจาดลามก
    กายจริยา คือ (๑) ย่อมใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวอันสะอาด และแต่งโดยเรียบร้อยเสมอ. (๒) ย่อมไม่แต่งตัวในที่แจ้ง. (๓) ย่อมไม่จิ้มควักล้วงแคะแกะเการ่างกายในที่ชุมชน. (๔) ย่อมไม่กระทำการที่ควรจะทำในที่ลับในที่แจ้ง. (๕) ย่อมไม่หาวเรอให้ปรากฏในที่ชุมชน. (๖) ย่อมไม่จามด้วยเสียงอันดังและโดยไม่ป้องกำบัง. (๗) ย่อมไม่บ้วนขากด้วยเสียงอันดัง หรือให้เปรอะเปื้อน ให้เป็นที่รังเกียจ. (๘) ย่อมไม่ลุกลนเลอะเทอะมูมมามในการบริโภค. (๙) ย่อมไม่ถูกต้องหรือหยิบยื่นสิ่งที่ผู้อื่นจะบริโภคด้วยมือตน. (๑๐) ย่อมไม่ล่วงล้ำ ข้ามหยิบ ของบริโภคผ่านหน้าผู้อื่น ซึ่งควรขอโทษและขอให้เขาส่งได้. (๑๑) ย่อมไม่ละลาบละล้วงเอาของผู้อื่นมาใช้ในการบริโภค เช่น ถ้วยน้ำ และผ้าเช็ดมือ. (๑๒) ย่อมไม่เอาเครื่องใช้ของตน เช่น ช้อนส้อมไปล้วงตักสิ่งบริโภคซึ่งเป็นของกลาง. (๑๓) ย่อมระวัง ไม่พูดจาตรงหน้าผู้อื่นให้ใกล้ชิดเหลือเกิน. วจีจริยา คือ (๑) ย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งโสโครกพึงรังเกียจในท่ามกลางประชุมชน. (๒) ย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งควรปิดบังในท่ามกลางประชุมชน. มโนจริยา คือ (๑) ย่อมพึงใจที่จะรักษาความสะอาด. ภาคสาม ผู้ดี ย่อมมีสัมมาคาราวะ.


    สมบัติของผู้ดี ภาค ๓ ผู้ดี ย่อมมีสัมมาคารวะ
    กายจริยา คือ (๒) ย่อมนั่งด้วยกิริยาสุภาพเฉพาะหน้าผู้ใหญ่ (๓) ย่อมไม่ขึ้นหน้าผ่านผู้ใหญ่. (๔) ย่อมไม่หันหลังให้ผู้ใหญ่. (๕) ย่อมแหวกที่หรือให้ที่นั่งอันสมควรแก่ผู้ใหญ่หรือผู้หญิง. (๖) ย่อมไม่ทัดหรือคาบบุหรี่ คาบกล้อง และสูบให้ควันไปรมผู้อื่น. (๗) ย่อมเปิดหมวกเมื่อเข้าชายคาบ้านผู้อื่น (๘) ย่อมเปิดหมวกในที่เคารพ เช่น โบสถ์ วิหาร ไม่ว่าแห่งศาสนาใด. (๙) ผู้น้อยย่อมเคารพผู้ใหญ่ก่อน. (๑๐) ผู้ชายย่อมเคารพผู้หญิงก่อน. (๑๑) ผู้ลาย่อมเป็นผู้เคารพก่อน. (๑๒) ผู้เห็นก่อนโดยมากย่อมเคารพก่อน. (๑๓) แม้ผู้ใดเคารพตนก่อน ย่อมต้องตอบเขาทุกคน ไม่เฉยเสีย.
    วจีจริยา คือ (๑) ย่อมไม่พูดจาล้อเลียนหลอกลวงผู้ใหญ่. (๒) ย่อมไม่กล่าวร้ายถึงญาติมิตรที่รักใคร่นับถือของผู้ฟังแก่ผู้ฟัง. (๓) ย่อมไม่กล่าววาจาติเตียนสิ่งเคารพหรือที่เคารพของผู้อื่นแก่ตัวเขา. (๔) เมื่อจะขอทำล่วงเกินแก่ผู้ใด ย่อมต้องขออนุญาตตัวเขาก่อน. (๕) เมื่อตนทำพลาดพลั้งสิ่งใด แก่บุคคลใด ควรออกวาจาขอโทษเสมอ. (๖) เมื่อผู้ใดได้แสดงคุณต่อตนอย่างไร ควรออกวาจาขอบคุณเขาเสมอ. มโนจริยา คือ (๑) ย่อมเคารพยำเกรงบิดามารดาและอาจารย์. (๒) ย่อมนับถือนอบน้อมต่อผู้ใหญ่. (๓) ย่อมมีความอ่อนหวานแก่ผู้น้อย.

    สมบัติของผู้ดี ภาค ๔ ผู้ดี ย่อมมีกิริยาเป็นที่รัก
    กายจริยา คือ (๑) ย่อมไม่ฝ่าฝืนเวลานิยม คือ ไม่ไปใช้กิริยายืนเมื่อเขานั่งกับพื้นและไม่ไปนั่งกับพื้นเมื่อเวลาเขายืนเดินกัน. (๒) ย่อมไม่ไปนั่งนานเกินสมควรในบ้านของผู้อื่น. (๓) ย่อมไม่ทำกิริยารื่นเริงเมื่อเขามีทุกข์. (๔) ย่อมไม่ทำกิริยาโศกเศร้าเหี่ยวแห้งในที่ประชุมรื่นเริง. (๕) เมื่อไปสู่ที่ประชุมการรื่นเริงย่อมช่วยสนุกชื่นบานให้สมเรื่อง. (๖) เมื่อเป็นเพื่อนเที่ยว ย่อมต้องกลมเกลียวและร่วมลำบากร่วมสนุก. (๗) เมื่อตนเป็นเจ้าของบ้าน ย่อมต้องต้อนรับและเชื้อเชิญแขกไม่เพิกเฉย. (๘) ย่อมไม่ทำกิริยาบึกบึนต่อแขก. (๙) ย่อมไม่ให้แขกต้องคอยนานเมื่อเขามาหา. (๑๐) ย่อมไม่จ้องดูนาฬิกาในเวลาที่แขกยังนั่งอยู่. (๑๑) ย่อมไม่ใช้กิริยาอันบุ้ยใบ้หรือกระซิบกระซาบกับผู้ใด ในเวลาเฉพาะเมื่อตนอยู่ต่อหน้าผู้หนึ่ง. (๑๒) ย่อมไม่ใช่กิริยาอันโกรธเคือง หรือดุดันผู้คนบ่าวไพร่ต่อหน้าแขก. (๑๓) ย่อมไม่จ้องดูบุคคลโดยเพ่งพิศเหลือเกิน. (๑๔) ย่อมต้องรับส่งแขกเมื่อไปมา ในระยะอันสมควร. วจีจริยา คือ (๑) ย่อมไม่เที่ยวติเตียนสิ่งของที่เขา ตั้ง แต่ง ไว้ในบ้านที่ตนไปสู่. (๒) ย่อมไม่กล่าวสรรเสริญรูปกายบุคคลแก่ตัวเขาเอง. (๓) ย่อมไม่พูดให้เพื่อนเก้อกระดาก. (๔) ย่อมไม่พูดเปรียบเปรยเกาะแกะสตรีกลางชุมชน. (๕) ย่อมไม่ค่อนแคะติรูปกายบุคคล. (๖) ย่อมไม่ทักถึงการร้ายโดยพลุ่งโพล่งให้เขาตกใจ. (๗) ย่อมไม่ทักถึงสิ่งอันน่าอายน่ากระดากโดยเปิดเผย. (๘) ย่อมไม่เอาสิ่งที่น่าจะอายจะกระดากมาเล่าให้แขกฟัง. (๙) ย่อมไม่เอาเรื่องที่เขาพึงซ่อนเร้นมากล่าวให้อับอายหรือเจ็บใจ. (๑๐) ย่อมไม่กล่าวถึงการอัปมงคลในเวลามงคล. มโนจริยา คือ (๑) ย่อมรู้จักเกรงใจคน.

    สมบัติของผู้ดี ภาค ๕ ผู้ดี ย่อมเป็นผู้มีสง่า
    กายจริยา คือ (๑) ย่อมมีกิริยาอันผึ่งผายองอาจ. (๒) จะยืนนั่ง ย่อมอยู่ในลำดับอันสมควร ไม่เป็นผู้แอบหลังคนหรือหลีกเข้ามุม. (๓) ย่อมไม่เป็นผู้สะทกสะท้านงกเงิ่นหยุด ๆ ยั้ง ๆ . วจีจริยา คือ (๑) ย่อมพูดจาฉะฉานชัดถ้อยความ ไม่อุบอิบอ้อมแอ้ม. มโนจริยา คือ (๑) ย่อมมีความรู้จักงามรู้จักดี. (๒) ย่อมมีอัชฌาสัยอันกว้างขวาง เข้าไหนเข้าได้. (๓) ย่อมมีอัชฌาสัยเป็นนักเลง ใครจะพูดหรือเล่นอันใดก็เข้าใจและต่อติด. (๔) ย่อมมีความเข้าใจว่องไวไหวพริบ รู้เท่าถึงการณ์. (๕) ย่อมมีใจอันองอาจกล้าหาญ.

    สมบัติของผู้ดี ภาค ๖ ผู้ดี ย่อมปฏิบัติการงานดี
    กายจริยา คือ (๑) ย่อมทำการอยู่ในระเบียบแบบแผน. (๒) ย่อมไม่ถ่วงเวลาให้คนอื่นคอย. (๓) ย่อมไม่ละเลยที่จะตอบจดหมาย. (๔) ย่อมไม่ทำการแต่ต่อหน้า. วจีจริยา คือ (๑) พูดสิ่งใดย่อมให้เป็นสิ่งที่เชื่อถือได้. (๒) ย่อมไม่รับวาจาคล่อง ๆ โดยมิได้เห็นว่าการจะเป็นได้หรือไม่. มโนจริยา คือ (๑) ย่อมเป็นผู้รักษาความสัตย์ในเวลา. (๒) ย่อมไม่เป็นผู้เกียจคร้าน. (๓) ย่อมไม่เข้าใจว่า ผู้ดีทำอะไรด้วยตนไม่ได้. (๔) ย่อมไม่เพลิดเพลินจนละเลยให้การเสีย. (๕) ย่อมเป็นผู้รักษาความเป็นระเบียบ. (๖) ย่อมเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชาเมื่ออยู่ในหน้าที่. (๗) ย่อมมีมานะในการงานไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก. (๘) ย่อมเป็นผู้ทำอะไรทำจริง. (๙) ย่อมไม่เป็นผู้ดึงดันในที่ผิด. (๑๐) ย่อมปรารถนาความดี ต่อการงานที่ทำอยู่เสมอ.


    สมบัติของผู้ดี ภาค ๗ ผู้ดี ย่อมเป็นผู้ใจดี
    กายจริยา คือ (๑) เมื่อเห็นใครทำผิดพลาดอันน่าเก้อกระดาก ย่อมช่วยกลบเกลื่อนหรือทำไม่เห็น. (๒) เมื่อเห็นสิ่งของของใครตก หรือจะเสื่อมเสีย ย่อมต้องหยิบยื่นให้หรือบอกให้รู้ตัว. (๓) เมื่อเห็นเหตุร้าย หรืออันตรายจะมีแก่ผู้ใด ย่อมต้องรีบช่วย. วจีจริยา คือ (๑) ย่อมไม่เยอะเย้ยถากถางผู้กระทำผิดพลาด. (๒) ย่อมไม่ใช้วาจาอันข่มขี่. มโนจริยา คือ (๑) ย่อมไม่มีใจอันโหดเหี้ยมเกรี้ยวกราดแก่ผู้น้อย. (๒) ย่อมเอาใจโอบอ้อมอารีแก่คนอื่น. (๓) ย่อมเอาใจช่วยคนเคราะห์ร้าย. (๔) ย่อมไม่เป็นผู้ซ้ำเติมคนเสียที. (๕) ย่อมไม่เป็นผู้อาฆาตจองเวร.


    สมบัติของผู้ดี ภาค ๘ ผู้ดี ย่อมไม่เห็นแต่แก่ตัวถ่ายเดียว
    กายจริยา คือ (๑) ย่อมไม่พักหาความสบายก่อนผู้ใหญ่. (๒) ย่อมไม่เสือกสนแย่งชิงที่นั่งหรือที่ดูอันใด. (๓) ย่อมไม่เที่ยวแย่งผู้หนึ่งมาจากผู้หนึ่ง ในเมื่อเขาสนทนากัน. (๔) เป็นผู้ใหญ่ จะไปมาลุกนั่งย่อมไว้ช่องให้ผู้น้อยมีโอกาสบ้าง. (๕) ในการเลี้ยงดูย่อมแผ่เผื่อ เชื้อเชิญแก่คนข้างเคียงก่อนตน. (๖) ในที่บริโภค ย่อมหยิบยกยื่นส่งสิ่งของแก่ผู้อื่นต่อ ๆ ไป ไม่มุ่งแต่กระทำกิจส่วนตน. (๗) ย่อมไม่รวบสามตะกลามสี่กวาดฉวยเอาของที่เขาตั้งไว้เป็นกลาง จนเกินส่วนที่ตนจะได้. (๘) ย่อมไม่แสดงความไม่เพียงพอใจในสิ่งของที่เขาหยิบยกให้. (๙) ย่อมไม่นิ่งนอนใจให้เขาออกทรัพย์แทนส่วนตนเสมอ เช่น ในการเลี้ยงดูหรือใช้ค่าเดินทางเป็นต้น. (๑๐) ย่อมไม่ลืมที่จะส่งของ ซึ่งคนอื่นได้สงเคราะห์ให้ตนยืม. (๑๑) การให้สิ่งของหรือเลี้ยงดูซึ่งเขาได้กระทำแก่ตน ย่อมต้องตอบแทนเขา. วจีจริยา คือ (๑) ย่อมไม่ขอแยกผู้หนึ่งมาจากผู้หนึ่ง เพื่อจะพาไปพูดจาความลับกัน. (๒) ย่อมไม่สนทนาแต่เรื่องตนถ่ายเดียว จนคนอื่นไม่มีช่องจะสนทนาเรื่องอื่นได้. (๓) ย่อมไม่นำธุระตนเข้ากล่าวแทรกในเวลาธุระอื่นของเขาชุลมุน. (๔) ย่อมไม่กล่าววาจาติเตียนของที่เขาหยิบยกให้แก่ตน. (๕) ย่อมไม่ไต่ถามราคาของที่เขาได้หยิบยกให้แก่ตน. (๖) ย่อมไม่แสดงราคาของที่หยิบยกให้แก่ผู้ใดให้ปรากฏ. (๗) ย่อมไม่ใช้วาจาอันโอ้อวดตนและหลบหลู่ผู้อื่น. มโนจริยา คือ (๑) ย่อมไม่มีใจมักได้ (๒) ย่อมไม่ตั้งใจปรารถนาของรักเพื่อน. (๓) ย่อมไม่พึงใจการหยิบยืมข้าวของทองเงินซึ่งกันและกัน. (๔) ย่อมไม่หวังแต่จะพึ่งอาศัยผู้อื่น. (๕) ย่อมไม่เป็นผู้เกี่ยงงอนทอดเทการงานตนให้ผู้อื่น. (๖) ย่อมรู้คุณผู้อื่นที่ได้ทำแล้วแก่ตน. (๗) ย่อมไม่มีใจริษยา.


    สมบัติของผู้ดี ภาค ๙ ผู้ดี ย่อมรักษาความสุจริตซื่อตรง
    กายจริยา คือ (๑) ย่อมไม่ละลาบละล้วงเข้าห้องเรือนแขกก่อนเจ้าของบ้านเชิญ. (๒) ย่อมไม่แลลอดสอดส่ายโดยเพ่งเล็งเข้าไปตามห้องเรือนแขก. (๓) ย่อมไม่เที่ยวฉวยโน่นหยิบนี่ของผู้อื่นดูจนเหลือเกิน ราวกับว่าจะค้นหาสิ่งใด. (๔) ย่อมไม่เที่ยวขอหรือหยิบฉวยดูจดหมายของผู้อื่นที่เจ้าของไม่มีประสงค์จะให้ดู. (๕) ย่อมไม่เที่ยวขอหรือหยิบฉวยดูสมุดพกหรือสมุดจดรายงานบัญชีของผู้อื่น ซึ่งตนไม่มีธุระเกี่ยวข้องเป็นหน้าที่. (๖) ย่อมไม่เที่ยวนั่งที่โต๊ะเขียนหนังสือของผู้อื่น. (๗) ย่อมไม่เที่ยวเปิดดูหนังสือตามโต๊ะเขียนหนังสือของผู้อื่น. (๘) ย่อมไม่แทรกเข้าหมู่ผู้อื่นซึ่งเขาไม่ได้เชื้อเชิญ. (๙) ย่อมไม่ลอบแอบฟังคนพูด. (๑๐) ย่อมไม่ลอบแอบดูการลับ. (๑๑) ถ้าเห็นเข้าจะพูดความลับกัน ย่อมต้องหลบตาหรือลี้ตัว. (๑๒) ถ้าจะเข้าห้องเรือนผู้ใด ย่อมต้องเคาะประตูหรือกล่าววาจาให้เขารู้ตัวก่อน. วจีจริยา คือ (๑) ย่อมไม่ซอกแซกไต่ถามธุระส่วนตัวหรือการในบ้านของเขาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องแก่ตน. (๒) ย่อมไม่เที่ยวถามเขาว่า นั่นเขียนหนังสืออะไร. (๓) ย่อมไม่เที่ยวถามถึงผลประโยชน์ที่เขาหาได้เมื่อตนไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง. (๔) ย่อมไม่เอาการในบ้านของผู้ใดมาแสดงในที่แจ้ง. (๕) ย่อมไม่เก็บเอาความลับของผู้หนึ่งมาเที่ยวพูดแก่ผู้อื่น. (๖) ย่อมไม่กล่าวถึงความชั่วร้าย อันเป็นความลับเฉพาะบุคคลในที่แจ้ง. (๗) ย่อมไม่พูดสับปลับกลับกลอกตลบตะแลง. (๘) ย่อมไม่ใช้คำสบถติดปาก. (๙) ย่อมไม่ใช้ถ้อยคำมุสา. มโนจริยา คือ (๑) ย่อมไม่เป็นคนต่อหน้าอย่างหนึ่งลับหลังอย่างหนึ่ง. (๒) ย่อมเป็นผู้รักษาความไว้วางใจแก่ผู้อื่น. (๓) ย่อมไม่แสวงประโยชน์ในทางที่ผิดธรรม. (๔) ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในความเที่ยงตรง.


    สมบัติของผู้ดี ภาค ๑๐ ผู้ดี ย่อมไม่ประพฤติชั่ว
    กายจริยา คือ (๑) ย่อมไม่เป็นพาลเที่ยวเกะกะระรั้วและกระทำร้ายคน. (๒) ย่อมไม่ข่มเหงผู้อ่อนกว่า เช่น เด็กหรือผู้หญิง. (๓) ย่อมไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเจ็บอาย เพื่อความสนุกยินดีของตน. (๔) ย่อมไม่หาประโยชน์ด้วยอาการที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน. (๕) ย่อมไม่เสพสุราจนถึงเมาและติด. (๖) ย่อมไม่มั่วสุมกับสิ่งอันเลวทราม. (๗) ย่อมไม่หมกมุ่นในการพนัน เพื่อจะปรารถนาทรัพย์. (๘) ย่อมไม่ถือเอาเป็นของตน ในสิ่งที่เจ้าของไม่ได้อนุญาตให้. (๙) ย่อมไม่พึงใจในหญิงที่มีเจ้าของหวงแหน. วจีจริยา คือ (๑) ย่อมไม่เป็นพาลพอใจทะเลาะวิวาท. (๒) ย่อมไม่พอใจนินทาว่าร้ายกันและกัน. (๓) ย่อมไม่พอใจพูดส่อเสียดยุยง. (๔) ย่อมไม่เป็นผู้สอพลอประจบประแจง. (๕) ย่อมไม่แช่งชักให้ร้ายผู้อื่น. มโนจริยา คือ (๑) ย่อมไม่ปองร้ายผู้อื่น. (๒) ย่อมไม่คิดทำลายผู้อื่นด้วยประโยชน์ตน. (๓) ย่อมมีความเหนี่ยวรั้งใจตนเอง. (๔) ย่อมเป็นผู้มีความละอายแก่บาป.


    ขอขอบพระคุณเว็บไซท์
    http://www.phuttawong.net
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ได้รับเรียบร้อยแล้วรอส่งอยู่พร้อมกับคุณกันยพัชร์ ทรัพย์สุขเช่นกัน รอหน่อยนิ...

    พี่เสือ
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    บางส่วนของการโอนเงินบริจาคไปยัง รพ.ภูมิภาคต่างๆ 6 แห่ง ทางธนาคาร ส่วนของ รพ.สมเด็จพระยุพราช (ปัว) จ.น่าน และ รพ.50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ที่ยังคงรอส่งธนาณัติให้ สำหรับที่ รพ.ปัตตานี จ.ปัตตานี นั้น ได้ทราบจาก จนท.ที่ดูแลเงินบริจาคของทุนนิธิฯ ว่า เงินที่บริจาคให้บางส่วนนั้น ได้นำไปรักษาต้อกระจก ของพระภิกษุที่อาพาธด้วยโรคนี้ โดยการเปลี่ยนเลนส์แก้วตาให้เป็นรูปที่ 2 แล้ว บุญทั้งปวงที่ทำให้พระสงฆ์อาพาธจากอาการตามัวอันเกิดจากต้อกระจก ได้กลับมามองเห็นและสามารถอ่านบาลี หรือบทสวดมนต์ต่างๆ ได้นี้ ผู้ที่บริจาคผ่านทุนนิธิฯ มีส่วนในบุญนี้ทุกคนเช่นกันครับ ขอโมทนา...



    [​IMG]

    รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น / รพ.สงขลา จ.สงขลา /รพ. มหาราช จ.เชียงใหม่

    [​IMG]

    รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จ.เลย / รพ.แม่สอด จ.ตาก / รพ.ปัตตานี
    จ.ปัตตานี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2010
  16. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    ครับ รอได้ครับพี่เสือครับ
    ขอบพระคุณมากๆครับ
    มหาโมทนาบุญด้วยครับ

    ขอให้พี่เสือและคณะเจริญยิ่งๆทั้งทางโลกและทางธรรมนะครับ
    ขอให้พบแต่ความดี ความสุขตลอดไปนะครับ

    ปล. ถ้าพี่เสือจะกรุณาขอ CD หลวงปู่เคราด้วยได้ไหม
    ขอบพระคุณครับ
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    "คุณแม่พิมพา" ชีใจสิงห์รัตตัญญูแห่งหินหมากเป้ง

    02 พฤษภาคม 2553 เวลา 10:45 น


    "วางรัก วางหลง แล้วใช้สติ ปัญญาตัดตรงเข้าสัจจะเยี่ยงคนใจสิงห์ คุณแม่ชีพิมพาจึงจากไปอย่างผู้ปล่อยวางได้อย่างแท้จริงในที่สุด"
    โดย...ภัทระ คำพิทักษ์
    ในช่วงเกิดเหตุสลดทางการเมืองไทย ก็เกิดเรื่องน่าอาลัยทางวงการพุทธศาสตร์บ้านเราเช่นกัน
    เมื่อเวลาประมาณเที่ยง วันที่ 15 เม.ย. คุณแม่ชีพิมพา วงศาอุดม หรือ คุณแม่ชีน้อย แห่งวัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ถึงแก่มรณภาพอย่างสงบ ด้วยโรคชราขณะอายุได้ 98 ปี 1 เดือน ทางวัดเตรียมพิธีประชุมเพลิงในวันที่ 9 พ.ค.นี้
    คุณแม่ชีพิมพามิใช่แม่ชีธรรมดา หากแต่เป็นแม่ชีอรหันต์
    ความนี้เป็นที่รู้กันในหมู่วงในพระกัมมัฏฐาน
    เรื่องราวของท่านอาจจะไม่ปรากฏเลยหาก หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ผู้เป็นพระอาจารย์ของท่านมิสั่งให้คุณแม่ได้เขียนประวัติตัวเองขึ้นไว้ หนังสือเล่มนี้หลวงปู่เทสก์เป็นผู้เขียนคำนำให้เอง
    เนื้อหาบางตอนระบุว่า ชีพิมพาเป็นผู้หญิงใจสิงห์คนหนึ่ง ออกปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างยอมสละชีวิต ไม่แพ้ชายอกสามศอก ได้ต่อสู้กับโจรปล้นฆ่าคนมา 2 ครั้ง เสือ งูใหญ่ อย่างละครั้ง ผีนับครั้งไม่ถ้วน โดยไม่มีอาวุธอะไรนอกจากบารมีและอธิษฐานเป็นอาวุธ แต่ก็ได้ชัยชนะอย่างน่าทึ่ง
    [​IMG]คุณ แม่ชีพิมพา
    หลวงปู่เทสก์สรุปประวัติคุณแม่ชีพิมพาไว้อย่างรวบรัดว่า พ่อแม่ของชีพิมพาอพยพมาจาก จ.ปราจีนบุรี ให้กำเนิดลูกสาวคนนี้ที่บ้านหนองกอง ต.หนองกอง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เมื่อปี พ.ศ. 2455 แม่เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังเด็ก พออายุ 20 ปี ก็แต่งงานกับคนในหมู่บ้านเดียวกัน และเป็นการเลือกคู่ชีวิตที่แปลก คือมีคนรวยมาสู่ขอไปเป็นภรรยาหลายคน แต่ท่านไม่เลือก มาเลือกเอาคนไม่เที่ยวไม่กิน อยู่กินกันมาได้ 12 ปี มีบุตร 1 คน ซึ่งเกิดมาได้ 4 เดือนก็ตาย
    เมื่อลูกตายยิ่งทำให้เห็นทุกข์ จึงชักชวนสามีออกบวช เมื่อตกลงกันได้ยกสิ่งของที่นาให้ญาติทั้งหมดแล้วก็แยกย้ายกันไปบวช บวชแล้วก็มีอุปสรรคมากแต่ก็ปฏิบัติจนเจริญก้าวหน้าในทางธรรมมาตามลำดับ แม้ว่าไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เพราะไม่รู้หนังสือ รู้แต่ว่าดีเท่านั้น พอมาอยู่วัดหินหมากเป้ง เมื่อปี พ.ศ. 2518 จึงค่อยรู้เรื่องรู้ราว ว่า อะไรเป็นอะไร จนมีความสามารถอาจหาญเขียนประวัติและข้อธรรมนั้นๆ ได้
    “แม่ชีทั้งหลายควรเอาเป็นแบบอย่าง” หลวงปู่เทสก์ สรุปความสุดท้ายไว้อย่างหมดจด
    ลึกลงในรายละเอียดในภาคส่วนขยายที่คุณแม่ชีพิมพาท่านได้เขียนไว้นั้นเต็ม ไปด้วยเรื่องราวอันน่าทึ่งและควรน้อมมาเป็นอุทาหรณ์อย่างยิ่ง
    มิต้องเอ่ยถึงการดิ้นรนต่อสู้ชีวิตในฐานะลูกกำพร้า ว่า จะยากลำบากขนาดไหน เมื่อโตเป็นสาวมีผู้มีฐานะมาสู่ขอไปเป็นสะใภ้หลายคน แต่ท่านก็มิตอบรับคนเหล่านั้นทั้งๆ ที่ญาติมิตรล้วนแต่มองว่านั่นคือโอกาสพลิกชีวิตได้อยู่บนกองเงินกองทอง เหตุที่มิได้ตอบตกลงเพราะท่านใช้ตาพิเศษเลือกคู่ มิใช่ตาธรรมดา
    ขณะนั้นคุณแม่ชีพิมพาไม่ได้มีทิพยเนตรอะไรเลย แต่ท่านมีปัญญากล่าวคือ เมื่อมีเศรษฐีผู้หนึ่งมาสู่ขอท่านไปเป็นสะใภ้ ท่านก็อยากรู้ว่า ตระกูลที่จะไปอยู่ร่วมนั้นเป็นอย่างไร อาหารการกิน การทำทานนั้นวิเศษสักเพียงไร วันหนึ่งก็แอบสะกดรอยว่าที่แม่สามีไปตลาด สิ่งที่พบเห็นกับตาคือ
    “เห็นเขาไปที่ร้านขายเนื้อ หยิบของเศษๆ ที่เขาทิ้งแล้วใส่ตะกร้า ต่อจากนั้นไปร้านขายหมู ขายปลาตามลำดับ ทำเช่นเดียวกัน ได้ของเต็มตะกร้าโดยไม่เสียเงินเลยสักสตางค์เดียว ดิฉันตัดสินใจในขณะนั้นทันทีว่า ไม่เอาแล้วคนรวยอย่างนี้ ลูกชายคงตระหนี่ถี่เหนียวแน่นเหมือนแม่ ถ้าเราซื้อของดีๆ มากินหรือทำบุญทำทาน เขาคงชี้หน้าด่าว่า อีขี้ทุกข์ มึงใช้จ่ายฟุ่มเฟือยอย่างนี้จึงทุกข์ยาก”
    ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเลือกเอานายขิ้ม วงศาอุดม คนหนุ่มผิวคล้ำ ต่ำเตี้ยมาเป็นสามีเพราะสังเกตพบว่า ชายหนุ่มคนนี้เป็นคนอารมณ์ดี น้ำใจดี เป็นคนรักษาศีลภาวนาทุกวัน พ่อแม่ก็เป็นคนมีศีลธรรมประจำใจ แม้ว่าจะยากจนแต่ก็เชื่อว่า จะมีความสุข
    สามีภรรยาคู่นี้ต่อสู้ชีวิตมาด้วยความมุมานะ จากกระต๊อบหลังเล็กๆ เสาไม้ไผ่หลังคามุงจาก หาปูหาปลาทำปลาร้า ค้าข้าวเปลือกในที่สุดก็สร้างบ้านเรือนอันสวยงามได้ อยู่กินกันมา 10 ปีไม่มีลูกได้แต่เข้าวัดจำศีลทุกวันพระ ตัวท่านเองสุขภาพมิค่อยดีนักผู้เฒ่าผู้แก่จึงแนะนำให้มีลูกเพราะเชื่อว่า ถ้าได้ขับเลือดร้ายออกมาแล้วสุขภาพจะดีขึ้น ท่านเลยแต่งขันธ์ 5 ไปอธิษฐานขอลูกแต่คำอธิษฐานของท่านนั้นบ่งชัดว่า ยึดมั่นในทางธรรมและฉายแววความเป็นนางสิงห์โดยแท้
    กล่าวคือ “ขอให้ข้าพเจ้ามีลูกและพร้อมกันนั้นก็ขอให้ลูกตายตั้งแต่ยังเล็กเพราะลูกจะ เป็นเหตุขัดขวางการไปวัด”
    และแล้วท่านก็ได้ลูกจริงๆ ขณะตนเองอายุ 31 ปี และเมื่อมีบุตรแล้ว พอลูกร้องสามีซึ่งรักลูกมากและไม่เคยพูดจาหยาบคายกับท่านกลับทนไม่ได้เมื่อ ลูกร้องไห้ ร้องเมื่อไหร่สามีก็จะบ่นว่าหยาบๆ คายๆ มึงๆ กูๆ ซึ่งท่านว่าฟังแล้วเสียดแทงหัวใจนัก เพราะอยู่ด้วยกันมา 10 กว่าปีไม่เคยพูดคำหยาบช้าใส่กันเลย ไม่ใช่แค่นั้นยังทำท่าหน้าบึ้งใส่กันอีก เลยคิดว่า ลูกจะเป็นเหตุให้แตกสามัคคีกัน ตั้งคำถามกับตัวเองว่าลูกจะพาไปสวรรค์นิพพานได้หรือ จึงบอกลูกขณะให้นมอยู่ว่า
    “ลูกจ๋า ตายนะ ตายเสีย อยู่อย่าใหญ่เลย แม่จะไปจำศีลภาวนา แม่ไม่ได้ไปวัดมา 4 เดือนแล้ว ลูกรีบตายไวๆ นะ ลูกดูเหมือนจะรู้ความ มองหน้าแล้วยิ้ม ไม่นานอายุลูกได้ 4 เดือนเศษก็ตาย”
    แม้จะอธิษฐานให้ลูกตาย แต่ใช่ว่า ท่านเป็นแม่ใจยักษ์เพราะท่านว่า พ่อแม่นั้นรักลูกไม่มีสิ่งใดเทียบเท่า ความรักสามียังเปลี่ยนแปลงได้ เบื่อหน่ายก็ทอดทิ้งกัน เมื่อท้องก็อดเปรี้ยวหวานเค็มเพราะกลัวโทษจะเกิดแก่ตนและลูก ฉะนั้นบุญคุณของพ่อแม่นั้นจึงอักโขนัก
    สองปีถัดมาท่านขอให้สามีไปแต่งงานใหม่เพราะตัวเองจะออกบวช สามีฟังแล้วเอาแต่ร้องไห้ก่อนบอกว่า “ชาตินี้ไม่ขอใจเป็นสอง”
    ทำความเข้า ใจกันอยู่ 3 วัน สามีถึงตัดใจออกบวชด้วย บางถ้อยคำนั้นมีว่า
    “คนหนุ่มคาอะไร ข้องอะไร ข้องผู้หญิงข้องผู้ชายหรือ สิ้นลมแล้วผู้หญิงผู้ชายมีที่ไหนมีแต่สิ่งปฏิกูลโสโครก กำหนัดยินดีอะไรกับรูปผู้หญิง คิดดูเวลามีลมหายใจรักกันกอดกัน สมมติว่าผู้หญิงผู้ชาย สิ้นลมแล้วมีแต่สิ่งสกปรกบูดเน่า ไม่น่ารักน่าชม ความตายมันบอกไหมว่ามันจะมาถึงเราเมื่อไหร่ ดูแต่อาทำนายังไม่เสร็จ ลูกยังไม่ทันโต
    ตอนกลางวันกินข้าวกันอยู่ที่นาเป็นอหิวาต์ ตอนเย็นตายเอาฟากห่อไปฝัง ยังไม่ทันได้กลับบ้าน มีบ้านตั้ง 2 หลัง 3 หลังยังไม่ได้นอน ตายก่อน เราเองก็เหมือนกัน พูดกันอยู่นี่ดีๆ เดี๋ยวนี้ กลับไปนอนอาเจียน 2-3 ครั้งก็เอาฟากห่อไปฝังเสียแล้ว จะรอให้แก่ทำไม น้องกลัวจะตายเสียก่อนไม่ทันได้บวช เพราะคนหนุ่มก็ตายคนแก่ก็ตายไม่มองดูหรือ ตายตั้งแต่อยู่ในท้องก็มี ถ้าพี่ตายก่อน น้องจะอยู่กับใคร ไม่มีแผ่นดินจะอยู่แล้ว ไปนะไปบวชด้วยกัน”
    พอสามีปลงใจ ท่านก็อธิษฐานอีกหนว่าอย่าให้สามีเปลี่ยนใจ
    แม้ต่างบวชแล้วแต่สายใยรักก็ใช่ว่าจะตัดขาดเสียทันที ท่านว่า ตอนเป็นฆราวาสเจ็บป่วยก็ดูแลกันแต่สองคนญาติพี่น้องไม่ได้มาดูแล พอบวชแล้วสามีป่วยก็ปลงใจว่า สามีกินอาหารได้แค่ไหน ตัวเองก็จะกินเท่านั้นเหมือนกัน ถ้าตายก็ให้ตายไปด้วยกัน พอสามีเสียชีวิตท่านเองก็กลั้นใจกะให้ตายตามกันไปแต่กลั้นไม่ไหวหายใจคืน กลับมาก็มีเสียงหัวเราะให้ได้ยินว่า คิดอย่างนี้มีแต่เจ้าคนเดียว ชาติไหนภาษาไหนจะตายด้วยกัน ใส่โลงเดียวกัน ไม่มีเลย มีแต่เจ้าคนเดียว
    พอพิจารณาไปว่า เวลาคนตายธาตุอะไรออกก่อน ไฟหรือลม ก็พบว่า ลมออกก่อน
    พอไล่ทวนดูว่า คนเรารักกันที่ไหนเพราะสุดท้ายร่างกายก็เปื่อยเน่าได้ความจาก “ผู้หนึ่ง” ตอบขึ้นว่า มันเป็นเพราะจิตหลงต่างหาก...” พอรู้ว่าความรักเป็นอาการของจิต คิดได้เช่นนั้น “ตาแตกปั้ง”
    “ความรักเลยสิ้นลงตรงนั้น ในขณะตาแตก จิตสว่างจ้า จิตของเราเลยหายห่วงไปเลยในขณะนั้น ถึงจะไปตายที่ไหนก็ไม่ห่วงแล้ว เราก็รู้ว่าเราหลงแล้วมันก็ปล่อยวาง ไม่เป็นห่วงเลย...”
    แล้วการพิจารณาสังขารก็ดำเนินไป กะโหลกศีรษะ มือ เท้าหาย เหลือแต่กระดูกขาท่อนเดียว พอมดมาแทะก็สลายเหลือแต่ดิน
    สิ้นจากรักที่ผูกพัน รุ่งขึ้นจิตก็มีแต่ปีติเบิกบาน เบากาย เบาใจ
    อย่างที่หลวงปู่เทสก์ว่า คุณแม่ชีพิมพาท่านไม่ได้รู้อะไร หนังสือก็ไม่รู้ รู้แต่ดี ไม่ดี รู้จิตรู้ใจตัวเอง ท่านต่อสู้กับความยากลำบากในการปฏิบัติธรรมมาโดยมิย่อท้อ เมื่อถึงคราวขับขันอับจนก็อาศัยเครื่องมือเดียวคือ การอธิษฐานเป็นเครื่องมือนำผ่านพ้นภยันตรายต่างๆ มาได้
    เรื่องหนึ่งซึ่งน่าอัศจรรย์ใจมากคือ ในพรรษาที่ 11 ขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าพระสถิตย์ จ.หนองคาย กับเพื่อนแม่ชีอีก 2 รูป ไม่มีพระ ไม่มีผ้าขาวแม้แต่รูปเดียว วันหนึ่งโจรร้ายชื่อ เสือสง่าก็โผล่มากบดานอยู่ที่ป่าช้า ความร้ายกาจของโจรปล้นข่มขืนฆ่าผู้นี้ทำให้บรรดาแม่ชีทั้งหลายตกอยู่ในความ หวาดกลัวอย่างสุดขีด พอทำวัตรเสร็จรีบเข้ากุฏิ อยู่เงียบๆ ไม่กล้าแม้แต่จะจุดเทียน สุดท้ายเมื่อกลัวมากไม่รู้จะทำอย่างไรก็ได้แต่เอาหนามเล็บเหยี่ยวมากั้นเป็น รั้วรักษาตัวเอาไว้ สุดท้ายท่านตั้งสัจจะอธิษฐานว่า
    “ถ้าข้าพเจ้าจะมีบุญอยู่ในเพศนักบวชชี ขอคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดร มารดา ครูบาอาจารย์ คุณศีลธรรมให้ดลบันดาลจิตครูบาอาจารย์ จะหูหนวกตาบอดก็ช่าง จะเป็นสามเณรหรือชีปะขาวก็ได้ แต่ขอให้เป็นเพศพรหมจรรย์ด้วยกัน ให้มาในสถานที่นี้ภายใน 3-7 วันจะนับถือเป็นครูบาอาจารย์ ถ้าเลยไปจากนี้ ไม่มีใครมา ข้าพเจ้าจะสึกเพราะไม่มีบุญเสียแล้ว”
    หลังอธิษฐานได้เพียง 3 วัน ปรากฏว่ามีพระถึง 20 รูปเดินทางมาถึงวัดป่าพระสถิตย์ในวันเดียวและแทบจะเป็นชั่วโมงเดียวกันด้วย ซ้ำ แต่ที่น่าประหลาดใจคือ ต่างรูปต่างมาโดยไม่ได้นัดหมายกันเลย
    ครูบาอาจารย์ที่ท่านเอ่ยนามไว้ในบันทึกก็มี “พระอาจารย์สุวัจน์ อาจารย์วัน อาจารย์สม อาจารย์สิงห์ทอง อาจารย์ประยูร อาจารย์เพ็ญ หลวงพ่อแวง หลวงพ่อลา พระอาจารย์คำมุ่ย ฯลฯ”
    พระอาจารย์สุวัจน์ รูปนี้ก็คือ พระอาจารย์สุวัจ สุวัจโจ
    พระอาจารย์วันก็คือ พระอาจารย์วัน อุตตโม
    อาจารย์สิงห์ทองก็คือ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร นั่นเอง
    ครูบาอาจารย์เหล่านี้เล่าให้ท่านฟังว่า สวดมนต์ไหว้พระเสร็จ รู้สึกคิดถึงคุณแม่มาก คิดว่าอาจจะเจ็บป่วยหรือคงจะเป็นอะไรสักอย่าง อยู่ไม่ได้มันร้อนใจเลยรีบมา ข้างพระอาจารย์สุวัจน์ก็ว่า สงสัยจะเป็นเพราะ|คำอธิษฐานของคุณแม่กระมัง
    คุณแม่ชีพิมพาเป็นศิษย์ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลายรูป รวมทั้งหลวงปู่เทสก์ เมื่อหลวงปู่เทสก์กลับจากเผยแผ่ธรรมะที่ภาคใต้ คืนสู่อีสาน ท่านได้มาพำนักที่วัดหินหมากเป้งและได้อาศัยหลวงปู่เทสก์ชี้แนะเรื่อยมา
    คุณแม่ชีพิมพาท่านเป็นรัตตัญญู คือ เป็นผู้รู้ราตรีนาน เจริญทั้งวัยและเจริญทั้งธรรม
    เมื่อมีพ่อแม่ครูอาจารย์ไปวัดหินหมากเป้งท่านทั้งหลายเหล่านั้นมักจะได้ แวะสนทนากับคุณแม่พิมพาอยู่เสมอ และคุณแม่ก็มีความเคารพในพระสงฆ์อย่างยิ่ง แม้จะเฒ่าชราแล้ว ครูอาจารย์จะขอให้นั่งตามสะดวกกับสังขารแต่ท่านก็ไม่ยอม พยายามนั่งในที่เหมาะสมไม่เทียบชั้นครูบาอาจารย์
    ว่ากันว่า เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินก็เคยมีรับสั่งถามกับท่านว่า “เขาว่าคุณแม่เป็นอรหันต์หรือ ?” ท่านก็ไม่ตอบได้แต่ยิ้มๆ
    คุณแม่ชีพิมพาเคยกล่าวไว้ว่า บาปหรือบุญล้วนขึ้นอยู่กับกายวาจาใจของเราทั้งสิ้น ถ้าสังเกตจิตใจของตนเองว่า จะไปทางบุญหรือทางบาป ก็รู้อยู่ที่จิตดวงเดียวนี้หละ ขอให้มีสติตรวจดูจิตของเราเองก็แล้วกัน ให้เราสอนจิตของตนเองถึงจะรู้ทั้งเหตุและผลของตนเองหมดทุกอย่าง ถ้าจิตรู้แจ้งเห็นจริงถึงเหตุและผลของตนเองหมดทุกอย่าง ตามปัญญาเห็นชอบมาแล้วนั้นมันก็ปล่อยวางลงไปตามสภาพเดิมของธรรมชาติ
    ธรรมดาที่มีอยู่ประจำคือ เมื่อเกิดแล้ว ตั้งอยู่ไม่นานก็ดับลงไปอีก มีแต่เรื่องทุกข์ จึงเรียกได้ว่า สัพเพสังขารา อนิจจา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สัพเพธัมมา อนัตตาติ ไม่มีอะไรหยุดปรุง หยุดแต่งก็มีสติ สัมปชัญญะ เป็นผู้รู้ปล่อยวางไปได้หมด เพราะปัญญานั้นได้กำลังของสมาธิคือ ความสงบของจิต ตามขั้นตอนก็จะเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ตามแต่มันเป็นพลังของจิตให้ก้าวหน้าขึ้นไปได้ ไม่ต้องฝากเป็นฝากตายอะไรทั้งนั้นเลย เป็นผู้เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรมได้อย่างเด็ดเดี่ยวกล้าหาญมากขึ้น...
    “...ให้เราใช้ปัญญาของเรา ให้มันตัดสินใจของเรา ให้มันลงไปให้มันถึงพระไตรลักษณ์ให้หมดทุกอย่าง แล้วมันก็จะรู้ว่าเราอยู่ในหน้าที่ของมันก็มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมด แล้วเราก็หลงเข้าไปยึดถือเอาไว้ทั้งหมด มันก็มีแต่เรื่องถูกทั้งหมด แล้วมันก็เป็นผู้รู้ถึงเหตุและผล แล้วก็ปล่อยวางไปได้อย่างแท้จริง แล้วก็หยุดปรุงหยุดแต่งไปตามเรื่องโลกอีกแล้วก็เรียกว่า เป็นผู้รู้แท้เห็นจริง แล้วก็ปล่อยวางไปได้อย่างแท้จริง ก็ไม่มีอะไรจะมาทำให้เราหลงอยู่ในของไม่เที่ยงอันนี้อีกแล้ว”
    วางรัก วางหลง แล้วใช้สติ ปัญญาตัดตรงเข้าสัจจะเยี่ยงคนใจสิงห์ คุณแม่ชีพิมพาจึงจากไปอย่างผู้ปล่อยวางได้อย่างแท้จริงในที่สุด


    คุณแม่ชีพิมพานี้ เมื่อสัีกสิบกว่าปีมาก่อนผมเคยไปขอฟังธรรมและขอคำแนะนำในเรื่องกรรมฐานจากท่าน คุณแม่ชีใจเย็นมากให้คำแนะนำเป็นอย่างดี กุฏิท่านอยู่ริมน้ำโขงมองไปเห็นฝั่งลาวอยู่แค่ร้อยกว่าเมตรเท่านั้น ใครไปวัดก็มุ่งแต่ไปกราบท่านหลวงปู่เทสก์กัน ไม่เคยมีใครนึกถึงอรหันต์อีกองค์หนึ่งในสภาวะที่ครองตนเป็นแม่ชีอาวุโสประจำวัด โชคดีที่มีผู้สะกิดให้ไปกราบท่านโดยเดินลัดเลาะแยกจากกลุ่มหลัก คณะทัวร์ธรรมทานไปกัน 4 รถบัส ได้ฟังธรรมอุโฆษเรื่องตัดเป็นตัดตายจากปากของแม่ชีเพียง 3 คน เท่านั้น และ 2 ใน 3 ในวันนั้น คือผม และอีกคนในตอนนั้นท่านใชชื่อว่าปราโมทย์ ปัจจุบันท่านมีวาสนาได้บวชและเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานที่มีชื่อเสียงแล้ว หลายคนที่เป็นนักปฏิบัติก็คงจะรู้จักท่านดี สำหรับคุณแม่ชีพิมพานี้ ท่านใจสิงห์จริงๆ นับว่าเป็นบุญวาสนาแท้ที่ได้มีโอกาสสนทนาธรรมและฟังธรรมจากท่านโดยตรง โดยได้ฟังพร้อมๆ กับท่านปราโมทย์เมื่อครั้งยังเป็นฆราวาสและเดินสายทัวร์บุญปฏิบัติธรรมด้วยกัน
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    วันนี้เป็นวันวิสาขบูชา เป็นวัดพระใหญ่ อย่าลืมใส่บาตร สวดมนต์ไหว้พระ หากมีเวลาก็นั่งสมาธิทำใจให้ว่างจากความคิดทั้งปวงเอาให้ว่างจริงๆ สักสามนาทีก็ตัดภพชาติได้ชาติหนึ่งแล้ว ส่วนวันอาทิตย์ที่ 28 นี้ เป็นวันทำบุญกิจกรรมประจำเดือนของทุนนิธิฯ ที่ รพ.สงฆ์ งานวันอาทิตย์นี้เป็นบุญใหญ่เหมือนกัน เพราะเป็นงานถวายสังฆทานอาหารให้แก่พระสงฆ์อาพาธภายในตึกกัลยานิวัฒนามีจำนวนพระมากถึง 194 รูป นับว่ามากที่สุดอีกครั้งหนึ่งเช่นกัน หาไม่ได้ง่ายจริงๆ กับสังฆทานอาหารที่ถวายพระสงฆ์อาพาธที่มีจำนวนมากเท่านี้ ใครว่างๆ ขอเชิญไปทำบุญด้วยกันและร่วมไปรับแจกลูกแก้วสารพัดนึกและชายอังสะที่ผ่านการอธิษฐานจิตจากท่านหลวงปู่เคราฟรีๆ ให้กับผู้ที่ไปร่วมงานทุกๆ คนครับ พระสงฆ์เยอะขนาดนี้ต้องใช้หลายคนช่วยกันหิ้วอาหารประเคนถวายท่านที่เตียงทุกเตียง หากไปกันน้อยคน พวกที่ไปก็เดินกันเหงื่อตกเหมือนกันครับ ใครรู้แล้วบอกต่อให้ไปร่วมงานบุญด้วยก็ขอขอบคุณล่วงหน้าด้วยเช่นกัน ไปทำบุญงานนี้อย่าลืมอุทิศบุญให้พระสยามเทวาธิราชท่านด้วยก็แล้วกัน ท่านจะได้มีพลังแรงเพื่อรักษาประเทศชาติไว้ให้เราได้อยู่อาศัยกันอย่างสงบสุขตราบจนชั่วลูกหลานด้วยครับ

    ประชาสัมพันธ์ให้ทราบล่วงหน้าแค่นี้ก่อนครับ

    พันวฤทธิ์
    28/5/53


    [​IMG]

    องค์พระสยามเทวาธิราชเจ้า


    [​IMG]

    พระที่นั่งไพศาลทักษิณ สถานที่ประดิษฐาน
    วิมานพระสยามเทวาธิราช



     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    นานๆ ขอเอามาลงทีนึงครับ พระพิมพ์สมเด็จ สกุลเจ้าคุณกรมท่า "มึงมีกูไว้ัไม่จน" ตัวจริงเสียงจริง อยากดูเนื้อนอก คราบรารัก ตำหนิต่างๆ ดูเอาเอง ทำให้ดูชัดๆ แล้ว เจอที่ไหนเก็บโลด แขวนไว้เถิดจะจำเริญไม่มีจน ถึงขาดเงินก็ไม่นานก็มีคนนำมาให้ ดั่งกรมท่าที่ดูแลการค้าในสมัยโบราณซื้อง่ายขายคล่อง ติดต่อค้าขายไม่ติดขัด การประสานงานเป็นเลิศ เก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกตั้งเป็น favorit ไว้ เจอที่ไหนเอาพระมาเทียบกับเนื้อนี้ ไม่ต้องใช้แว่นขยายเพราะภาพถูกขยายชนิด macro ไว้แล้ว เนื้อใช่ ความเก่าใช่ แท้ไม่แท้วันทำกิจกรรมทุนนิธิฯ นำท่านมาด้วย เดี๋ยวรู้เอง เซียนพุทธพาณิชย์บอกพระกิ๊กก๊อกผิดเนื้อ ผิดพิมพ์ ไม่ถึงยุค หากทำปลอมได้ขนาดนี้ ขอไหว้ทีนึง เอ็งเก่งวุ๊ย..."ผิดเนื้อ" ใช่เลย วัดระฆังแก่ผง แต่นี่เป็นเนื้อปูนเพชร หากเอาพระแตกหักมาส่องดู จะเห็นเป็นประกายระยิบระยับก็มี แต่ส่วนใหญ่เนื้อในจะขาวนวลละเอียดดูซึ้งตา "ผิดพิมพ์" ใช่เลย ไอ้ที่ขายกันน๊ะมันเป็นพิมพ์ทรงมาตรฐานวงการพระ แต่นี่บ่ใช่ แต่ก็พอจำแนกได้ ในภาพเป็นพิมพ์ใหญ่ก็มี พิมพ์พระประธานที่มีหูตาก็มี พิมพ์ทรงเจดีย์ก็มี "เก่าไม่ถึงยุค" ก็ไม่ใช่อีก ลูกตาเซียนมีเครื่องตรวจคาร์บอนหรือไงก็ไม่รู้ หรือ "ไม่ทันท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เสก" บ๊ะ! เซียนสมัยนี้เก่งคุยกับพระเครื่องได้ ถ้าแน่จริงโน่น เอาแค่สองรูปพอ ท่านอาจารย์อนันต์ วัดมาบจันทร์ จ.ระยอง ท่านเจ้าคุณสนธิ์ วัดพุทธบูชา บางมด กทม. ขอให้ท่านพิจารณาให้ที ท่านเหล่านี้รู้ทางไปแล้ว ท่านไม่โกหกแน่นอน พระพิมพ์นี้บางพิมพ์ท่านหลวงปู่โลกอุดรท่านเสกให้แบบเป็นพลัีงทิพย์ในรูปอทิสมานกายก็มี นับประสาอะไร ท่านหลวงปู่เคราแค่มองดู ลูบเคราบ้าง ดูดบุหรีบ้าง คุยเฮฮาบ้าง ไม่เห็นท่านทำอะไร นำลูกแก้วถวายเป็นร้อยลูก ท่านบอกแค่โยมบอกท่านและยกออกมาวางก็เสร็จแล้ว ลองเอามาตรวจ ขนาดเราเองจิตแค่ปลายแถว ยังครางฮือ นับประสาอะไรกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่มีความเชี่ยวชาญทางจิตมาก แค่โน้มจิตมองดูแค่เคี้ยวหมากไป สนทนาธรรมไป นึกขอบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครูอาจารย์ทั้งหลายมาช่วยทำให้ พรึบเดียวติดหมดอยู่แล้ว "จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน" เท่านั้นพอ...(ขอโทษเซียนทั้งหลายในกระทู้นี้ด้วยครับ นานๆ ขอลงที เป็นการแชร์ประสบการณ์กัน มิได้มีเจตนาลบหลู่แต่อย่างใด แบบว่าเป็นความชอบส่วนตัว ของกลุ่มคนที่ชอบทำบุญและมีการฝึกจิตกันเป็นประจำเท่านั้นเอง ทุกอย่างเป็นผลพลอยได้จากการที่มีศีลเป็นบาทฐานของแต่ละบุคคลเท่านั้น)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Prathan 4.JPG
      Prathan 4.JPG
      ขนาดไฟล์:
      573.7 KB
      เปิดดู:
      103
    • Prathan A 1.JPG
      Prathan A 1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      571.8 KB
      เปิดดู:
      116
    • Prathan A 2.JPG
      Prathan A 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      539.4 KB
      เปิดดู:
      106
    • Prathan A 3.JPG
      Prathan A 3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      621.2 KB
      เปิดดู:
      57
    • PraThan B.JPG
      PraThan B.JPG
      ขนาดไฟล์:
      541.1 KB
      เปิดดู:
      75
    • PrathanYai 1.JPG
      PrathanYai 1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      78
    • Jade.jpg
      Jade.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      63
    • PB010242.JPG
      PB010242.JPG
      ขนาดไฟล์:
      541.9 KB
      เปิดดู:
      73
    • PB010243.JPG
      PB010243.JPG
      ขนาดไฟล์:
      594.9 KB
      เปิดดู:
      68
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2010
  20. ต้นแก้ว

    ต้นแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2007
    โพสต์:
    828
    ค่าพลัง:
    +3,569
    โอนเงินรวมบุญกับทุนนิธิฯสงเคราห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา ถวายพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ในวันวิสาขบูชา จำนวน 300 บาท 28/05/53 เวลา10.07 น. อนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...