พระรับเงินได้หรือไม่ได้.

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย 9อมตะ9, 10 กันยายน 2009.

  1. 9อมตะ9

    9อมตะ9 อมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +1,288
    เป็นเรื่องน่าคิดครับ
     
  2. shimoto

    shimoto Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +35
    รับได้หากญาติโยมถวายให้เป็นปัจจัยครับ
     
  3. alexiz

    alexiz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +37
    ผมไปเซียร์รังสิต เห็นมีพระเดินประจำ 55 ไม่รู้ไปทำไมกัน
     
  4. alexiz

    alexiz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +37
    คิดว่ารับได้ ถ้าหากเอาไปทำประโยชน์แก่ส่วนรวมครับ
     
  5. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    ไม่มีสิกขาบทที่ห้ามพระรับเงินทองโดยตรง มีแต่ห้ามทำการซื้อขายด้วยรูปียะ(สิกขาบทที่ 9 โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์) หากพระละเมิดทำการซื้อขายของด้วยเงินทอง ก็ต้องอาบัตปาจิตตีย์ กรณีที่กิจของสงฆ์จำเป็นต้องใช้เงินดำเนินการเช่นซ่อมแซมศาสนาสถานก็จะมอบหมายให้ไวยาวัจกรดำเนินการแทนสงฆ์
    ลองดูตัวอย่างในพระไตรปิฎก ดูว่าพระอรหันต์ท่านทำอย่างไร เมื่อมีเหตุ ท่านก็ยังไปเรี่ยไร รับบริจาคทองมาสร้างพระเจดีย์

    ----------------------------------------------------------------------
    เมื่อมหาชนกำลังสร้างพระเจดีย์ของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ พระขีณาสพองค์หนึ่งไปสู่เจติยสถาน แลดูแล้วถามว่า "พ่อทั้งหลาย เพราะเหตุไร มุขทางทิศอุดรแห่งเจดีย์ จึงยังไม่ก่อขึ้น?"
    มหาชน. ทองยังไม่พอ.
    พระขีณาสพ. ฉันจักเข้าไปสู่ภายในบ้านแล้วชักชวน, พวกท่านจงทำกรรมโดยเอื้อเฟื้อเถิด.
    ท่านกล่าวอย่างนั้นแล้วเข้าไปสู่พระนคร ชักชวนมหาชนว่า " แม่และพ่อทั้งหลาย ทองที่หน้ามุขข้างหนึ่งแห่งพระเจดีย์ของพวกเรา ยังไม่พอ, พวกท่านจงรู้ทองเถิด" ได้ไปสู่ตระกูลแห่งนายช่างทองแล้ว. ฝ่ายนายช่างทอง กำลังนั่งทะเลาะกับภรรยาอยู่ในขณะนั้นเอง
    ครั้งนั้น พระเถระกล่าวกะเขาว่า "ทองสำหรับหน้ามุขที่พระเจดีย์อันท่านทั้งหลายรับไว้ยังไม่พอ, การที่ท่านรู้ทองนั้นย่อมควร. เขากล่าวด้วยความโกรธต่อภรรยาว่า "ท่านจงโยนพระศาสดาของท่านลงในน้ำแล้วไปเสีย".
    ลำดับนั้น นางจึงกล่าวกะเขาว่า "ท่านทำกรรมอย่างสาหัสยิ่งท่านโกรธดิฉัน ควรจะด่าหรือควรจะเฆี่ยนดิฉันเท่านั้น, เหตุไฉนท่านจึงทำเวรในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบันเล่า?"
    ทันใดนั้นเอง นายช่างทองเป็นผู้ถึงความสลดใจแล้ว กล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงอดโทษแก่กระผม" แล้วหมอบลงแทบเท้าของพระเถระ.
    พระเถระ. โยม ฉันหาถูกท่านว่ากล่าวอะไร ๆ ไม่, ท่านจงยังพระศาสดาให้อดโทษเถิด.
    นายช่างทอง. ท่านเจ้าข้า กระผมจะทำอย่างไรเล่า จึงจะให้พระศาสดาอดโทษได้?
    พระเถระ. ท่านจงทำหม้อดอกไม้ทองคำ ๓หม้อ บรรจุเข้าไว้ภายในที่บรรจุพระธาตุแล้ว เป็นผู้มีผ้าชุ่ม มีผมชุ่ม ยังพระศาสดาให้อดโทษเถิด โยม.
    เขารับว่า "ดีละ ขอรับ" แล้วเมื่อจะทำดอกไม้ทองคำ ให้เรียกบุตรชายคนใหญ่ในบุตร ๓ คนมาแล้ว กล่าวว่า "มานี่แน่ะ พ่อ, พ่อได้กล่าวกะพระศาสดาด้วยคำเป็นเวร, เพราะฉะนั้น พ่อจักทำดอกไม้เหล่านี้ บรรจุในที่บรรจุพระธาตุ ให้พระศาสดาอดโทษ, แม้เจ้าแล ก็จงเป็นสหายของเรา."
    ลูกชายคนใหญ่นั้นบอกว่า "พ่ออันฉันใช้ให้กล่าวคำเป็นเวร หามิได้, พ่อทำแต่ลำพังเถิด" แล้วไม่ปรารถนาจะทำ.
    ช่างทอง ให้เรียกลูกชายคนกลางมาแล้ว กล่าวเหมือนอย่างนั้น.แม้ลูกชายคนกลางนั้น ก็กล่าวเหมือนอย่างนั้น แล้วไม่ปรารถนาจะทำ.
    เขาจึงให้เรียกลูกชายคนเล็กมาแล้ว ก็กล่าว (เหมือนอย่างนั้น).ลูกชายคนเล็กนั้นคิดว่า "ธรรมดาว่ากิจที่เกิดขึ้นแก่บิดา ย่อมเป็นภาระของบุตร" จึงเป็นสหายของบิดา ได้ทำดอกไม้ทั้งหลายแล้ว. นายช่างทองยังหม้อดอกไม้ขนาดคืบหนึ่ง ๓ หม้อ ให้สำเร็จแล้วบรรจุในที่บรรจุพระธาตุ มีผ้าชุ่ม มีผมชุ่ม ยังพระศาสดาให้อดโทษแล้ว. เขาได้ถูกโยนลงไปในน้ำในเวลาเกิดถึง ๗ ครั้ง ด้วยประการฉะนี้.
    ก็อัตภาพของเขาที่ตั้งอยู่แล้วในที่สุดนี้ แม้ในบัดนี้ ก็ถูกโยนลงไปในน้ำ เพราะผลของกรรมนั้นเหมือนกัน. ส่วนบุตรของเขาสองคนใดไม่ปรารถนาจะเป็นสหายในเวลาทำดอกไม้ทองคำ, เพราะเหตุนั้น ภูเขาทองจึงไม่เกิดสำหรับบุตรทั้งสองนั้น, แต่เกิดสำหรับลูกชายคนเล็ก เพราะความที่เขาทำดอกไม้ทองคำร่วมกัน (กับบิดา).
    ชฎิลเศรษฐีออกบวชได้บรรลุพระอรหัต
    (เล่ม 43 อรรถกา , พระสุตตันตปิฎก , ขุททกนิกาย ธรรมบท)

    -------------------------------------------------------------------

    เมื่อไม่มีข้อห้ามไว้ก็น่าจะรับได้ โดยเฉพาะเมื่อมีเหตุที่เป็นกิจของสงฆ์ แต่พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบเงินทองว่าประดุจอสรพิษ หากปฏิบัติไม่ดีย่อมเป็นภัยแก่พระเอง ดังนั้นเมื่อพระรับเงินทองจากญาติโยมแล้วไม่ควรยึดติด ควรน้อมถวายเป็นของสงฆ์เพื่อใช้ในกิจการส่วนรวมจึงจะควร
     
  6. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 938

    โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘

    เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

    [๑๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

    เวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์

    ฯลฯ

    ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถามว่า เธอบริจาคทรัพย์กหาปณะหนึ่ง

    แก่เราแล้วหรือ

    บุ. ขอรับ ผมบริจาคแล้ว

    อุ. เธอจงให้กหาปณะนั้นแหละแก่เรา

    บุรุษนั้นได้ถวายกหาปณะแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ในทันใด

    นั้นเองแล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระ-

    ศากบุตรเหล่านี้ รับรูปิยะเหมือนพวกเรา

    ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา

    ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อ

    สิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันท-

    ศากยบุตรจึงได้รับรูปิยะเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

    ฯลฯ

    ทรงติเตียน

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ

    ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้

    ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า การกระทำของเธอนั่น ไมเป็น

    ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส

    ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไป

    เพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น

    อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

    ทรงบัญญัติสิกขาบท

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดย

    อเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็น

    คนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ

    คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความ

    เป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความ

    กำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดย

    อเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม

    แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท

    แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ

    รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ-

    ยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ

    อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑

    เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

    ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑

    เพื่อถือตามพระวินัย ๑

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง

    อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

    พระบัญญัติ

    ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ

    ยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
     
  7. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    ถาม คำว่า " จตุปัจจัย " หมายถึงอะไร ?

    ตอบ จตุปัจจัย คือ ปัจจัย 4 จตุ แปลว่า 4 ปัจจัย แปลว่า เครื่องอาศัย ก็คือเครื่องอาศัยที่สำคัญ 4 อย่าง ที่มนุษย์ขาดเสียมิได้ คือ

    - อาหาร
    - เครื่องนุ่งห่ม
    - ที่อยู่อาศัย
    - ยารักษาโรค

    ถาม การถวายจตุปัจจัยกับพระสงฆ์ในปัจจุบัน ดูจะไม่ตรงในปัจจัย 4 ที่กล่าวเลย อย่างคำว่า " เอาจตุปัจจัยใส่ซองเสียสิ " ดังนี้ผิดถูกอย่างไร ?

    ตอบ ปัจจัย 4 ในความหมายนี้ คนทั่วไปเข้าใจและหมายถึงเงินทองที่ถวายให้กับพระสงฆ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเลย เป็นค่านิยมที่ผิดต่อธรรมวินัย ไม่ควรทำ ควรจะถวายใบปวารณาแทน หรือกล่าวคำปวารณาจึงจะถูกต้อง

    ถาม ถ้าถวายเงินทองผิดพระธรรมวินัย แล้วทำไมพระสงฆ์จึงรับเงินรับทอง ?

    ตอบ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี่ไง ว่าเป็นค่านิยมที่ผิด เป็นประเพณีที่ทำกันมานานเกินกว่าจะแก้ไข เป็นมรดกบาป ก็ยังมีพระสงฆ์ที่ท่านไม่รับ เพราะท่านกลัวบาปกรรม เพราะเป็นการละเมิดพุทธบัญญัติ เป็นอาบัติ ท่านห้ามจับด้วยซ้ำไป ดังที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก อรรถกถาเล่มที่ 2 โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 8 ว่า " ภิกษุรับเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นรับก็ดี ซึ่งเงินและทอง หรือยินดีพอใจในเงินและทองที่ผู้อื่นเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ "

    ถาม สิ่งที่ท่านห้ามไม่ให้พระจับต้อง มีอะไรบ้าง ?

    ตอบ สิ่งที่พระไม่ควรจับต้องเรียกว่า " วัตถุอนามาส " มี 8 อย่าง คือ

    - ผู้หญิง
    - เครื่องแต่งกายผู้หญิง
    - สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย
    - เงินทองและรัตนะต่างๆ
    - ศัตราวุธต่างๆ
    - เครื่องดักสัตว์ต่างๆ
    - เครื่องประโคมดนตรี
    - ข้าวเปลือก ถั่วต่างๆ และผลไม้ทุกชนิดที่อยู่กับต้น หรือที่เขากองไว้

    สิ่งเหล่านี้พระภิกษุจับต้องไม่ได้ ถ้าขืนทำหรือฝ่าฝืนก็เป็นอาบัติ มีโทษ และผู้ที่นำไปถวาย ก็ต้องเป็นบาปไปด้วย เพราะได้ทำให้พระท่านเป็นอาบัติ

    (ทุติยสมันตปาสาทิกา พระวินัยปิฎก สังฆาทิเสสข้อ 2)

    ถาม ถ้าเราต้องการจะนำเงินไปถวายพระ ที่ถูกต้องจะต้องทำอย่างไร ?

    ตอบ การจะทำให้ถูกธรรมวินัย ต้องนำเงินทองเหล่านั้น ไปมอบให้กับ
    " ไวยาวัจกร " และนำใบปวารณามาถวายพระ คือให้ท่านรับรู้ในใบปวารณา หรืออีกวิธีหนึ่ง ต้องถามท่านว่า ใครเป็นไวยาวัจกรเก็บรักษาเงินทองเหล่านี้ จะต้องไปมอบให้กับใคร ? ถ้าไม่ถามท่านก่อน ท่านจะบอกอ้างไวยาวัจกรไม่ได้ คือไม่พ้นอาบัติ เพราะเป็นการใช้ให้ผู้อื่นรับแทนซึ่งเงินและทอง ฆราวาสต้องมีหน้าที่ไต่ถาม หรือไม่ก็ทางวัดต้องติดป้ายบอกกล่าวไว้ให้ชัดเจน ในวิธีการถวายเงินและทองดังกล่าว

    (พระวินัยปิฎก อรรถกถา มหาวิภังค์ ทุติยภาค โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 8)

    ถาม สิ่งของบางอย่างพระรับได้ บางอย่างรับไม่ได้ คืออะไร ?

    ตอบ ประเภทเงินทอง พระรับประเคนไม่ได้ ผิดวินัย เป็นบาป เป็นอาบัติ
    ประเภทอาหาร พระต้องรับประเคนเสียก่อน จึงจะนำมาฉันได้ หากไม่รับประเคนแล้วนำมาฉัน ทำไม่ได้ เป็นบาป เป็นอาบัติ
    ประเภทดอกไม้ธูปเทียน พระจะรับก็ได้ ไม่รับก็ได้ ไม่ผิด ไม่ถูก ไม่เป็นบาป ไม่เป็นบุญ

    คนส่วนมากเข้าใจว่า ของทุกอย่างต้องถวายกับมือพระจึงจะใช้ได้และได้บุญมาก แม้ของที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามรับ เราก็บังคับให้พระรับ ซึ่งเป็นประเพณีที่ผิด เป็นบาป ส่วนพระก็ไม่บอก ไม่สอน ไม่ชี้แจงว่าผิด ว่าถูกเป็นอย่างไร เป็นตัวอย่างที่ผิดให้กุลบุตรรุ่นหลัง รับมรดกบาปกันต่อไป

    ถาม อยากทราบว่า " กัปปิยการก " และ " ไวยาวัจกร " คืออะไร ?

    ตอบ กัปปิยการก คือ ใครก็ได้ที่ทำหน้าที่แทนพระสงฆ์ ในกรณีที่พระทำไม่ได้ ถ้าทำจะเป็นอาบัติ พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้ใช้ผู้อื่นทำแทน ซึ่งผู้นั้นไม่ใช่พระภิกษุ จะเป็นสามเณรหรือคฤหัสถ์ก็ได้ เช่น พระภิกษุจำเป็นต้องตัดต้นไม้หรือขุดดิน ก็ต้องให้ผู้อื่นทำแทน โดยใช้คำพูดอ้อมไป ไม่บอกตรงๆ เรียกว่า " สมณโวหาร " เช่นพูดว่า " ท่านจงเอาดินขึ้นมา เราต้องการดินนี้ " หรือ " ท่านจงทำดินนี้ให้เป็นกัปปิยะ "
    ไวยาวัจกร ก็เช่นเดียวกัน แต่ส่วนมากไวยาวัจกรจะเกี่ยวกับการซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือเกี่ยวกับเงินทองที่พระภิกษุไม่สามารถกระทำได้ จึงให้ไวยาวัจกรเป็นผู้จัดการซื้อมาให้ สรุปแล้วทั้ง " กัปปิยการก " และ
    " ไวยาวัจกร " ก็คือ ผู้ทำการแทนพระภิกษุในกรณีที่ทำไม่ได้นั่นเอง

    (พระวินัย อรรถกถา ทุติยวรรค มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ 10)

    ที่มา หนังสือหายสงสัย ชมรมศึกษาพระสูตร เขตสะพานสูง กทม.
    ผู้ตอบปัญหา พระอาจารย์ผู้อบรม วัดพนมพนาวาส


    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87.160462/
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  8. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    ความคิดเห็นของท่านทะไลลามะ เป็นทัศนะความเชื่อตามแนวทางของพุทธศาสนานิกายวัชรยาน ซึ่งไม่เหมือนกับพุทธศาสนานิกายเถรวาทของเรา คือนิกายวัชรยานอนุญาตให้พระใช้เงินได้ เพียงแต่ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ในทางกุศล หรือ เพียงเท่าที่จำเป็นต่อการใช้สอยด้านปัจจัยสี่ และให้ใช้ด้วยสติปัญญา โดยมีการจัดการที่ชัดเจน เป็นการแก้ไขพระวินัยให้เหมาะสมกับยุคสมัยตามพุทธานุญาติที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกที่ว่าสิกขาบทเล็กน้อยให้ยกเลิกแก้ไขได้

    ในแง่มุมชาวพุทธนิกายเถรวาท ท่านมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่อง "พระ กับ เงิน" เพราะเหตุว่าพุทธศาสนานิกายเถรวาทของเรา เป็นนิกายที่รักษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด โดยมิให้แก้ไขพระธรรมวินัยสักข้อเดียว ทั้งนี้เพื่อต้องการักษาพระธรรมวินัยให้คงความบริสุทธิ์ให้มากที่สุด อย่างเรื่องเกี่ยวกับเงินทองมีพระวินัยบัญญัติไว้ว่า " ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ " ( หากพระภิกษุครอบครองเงินไว้กับตนก็ดี หรือ มีบัญชีไว้ในธนาคารก็ดี ตามหลักท่านถือว่าเป็นอาบัติ ต้องสละเงินที่ครอบครองออกไป จึงจะพ้นอาบัติ )

    แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า แม้ตามหลักการพุทธศาสนานิกายเถรวาทยังคงถือวินัยข้อนี้อยู่ แต่ในทางปฏิบัติปรากฏว่าพระภิกษุของเราส่วนใหญ่ในสังคมไทยไม่สามารถรักษาพระวินัยข้อนี้ไว้ได้ คือ พระภิกษุส่วนใหญ่ใช้จ่ายเงินทองเหมือนกันฆราวาสทั่วๆ ไป (ยกเว้นพระที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดบางกลุ่มที่มีจำนวนน้อยมาก ) และมีจำนวนไม่น้อย ที่ใช้จ่ายในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น ไม่ได้เป็นไปเพื่อกุศล เป็นการใช้จ่ายเงินทองเพื่อบำรุงบำเรอตน หรือ เกินความจำเป็นด้านปัจจัยสี่ จนมีข่าวเสียหายออกมาอยู่เป็นประจำ ๆ

    ดังนั้น budpage จึงขอระดมความคิดจากชาวพุทธ ทุก ๆ ท่าน ให้มาช่วยกันคิดในเชิงสร้างสรรค์ว่า พุทธศาสนานิกายเถรวาทของเรา น่าจะมีทางออกหรือการสร้างกติกาเสริมพระวินัย (ที่มีอยู่แล้ว ) อย่างไรกันดี ที่จะมาช่วยแก้ปัญหา เรื่อง เงิน ๆ ทองๆ กับ พระ ซึ่งกำลังเป็นปัญหาอยู่ทั่วไปในขณะนี้ ให้เกิดประโยชน์ต่อพระภิกษุที่จะสามารถดำเนินชีวิตได้สะดวกในสังคมปัจจุบันอย่างปลอดภัย คือ สามารถรักษาพรหมจรรย์ไว้ได้ และ รักษาพระธรรมวินัยให้ดำรงอยู่สืบต่อไป ทั้งนี้เพื่อความผาสุกของสังคมไทยและสถาบันสงฆ์ของเรา

    ( เฉพาะกระทู้นี้ budpage ขออนุญาตกลั่นกรองความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมที่แสดงความเห็น เฉพาะที่คิดเห็นในเชิงบวก และ สร้างสรรค์เท่านั้น โดยจะไม่นำความคิดเห็นเชิงวิจารณ์แง่ลบต่อสถาบันสงฆ์ไทย มาแสดงในหน้านี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นสร้างบรรยากาศการร่วมกันคิดเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันในหมู่ชาวพุทธ)


    ��� �Ѻ ��Թ
     
  9. ธรรมวินัย

    ธรรมวินัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2008
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +40

    มั่วแล้วครับ คุณถิ่นธรรม กล่าวตู่พุทธพจน์่ ท่านต้องรับวิบากในนรกครับ

    อย่ามาแสดงความคิดเห็นแบบรู้ไม่จริงเลยครับ อย่าเดาส่งเดช
    ขอให้ยึดพระวินัยปิฏกเป็นหลัก อย่ามั่วนิ่ม เพราะกล่าวตู่พุทธพจน์่
    ท่านต้องรับวิบากในนรกแน่นอนครับ


    ผมจะยกตัวอย่างพระวินัย "เฉพาะแค่เรื่องห้ามการรับเงิน" จะได้กระชับ

    นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี 30 ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่ (ดูที่ผมทำสีแดง)
    1.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน 10 วัน
    2.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
    3.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด 1 เดือน
    4.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า
    5.รับจีวรจากมือของภิกษุณี
    6.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
    7.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
    8.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
    9.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
    10.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า 3 ครั้ง
    11.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม
    12.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
    13.ใช้ขนเจียมดำเกิน 2 ส่วนใน 4 ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง
    14.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง 6 ปี
    15.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย
    16.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน 3 โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
    17.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
    18.รับเงินทอง
    19.ซื้อขายด้วยเงินทอง
    20.ซื้อขายโดยใช้ของแลก
    21.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน 10 วัน
    22.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน 5 แห่ง
    23.เก็บเภสัช 5 (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน 7 วัน
    24.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด 1 เดือนก่อนหน้าฝน
    25.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
    26.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
    27.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
    28.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
    29.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน 6 คืน
    30.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน

    คราวหลัง จะมาแสดงความคิดเห็นอะไร ก็รู้ให้จริงก่อนนะครับ
    ไม่ใช่เดากันไปส่งเดช เรื่องพระวินัย ไม่ใช่สิ่งที่จะมาพูดกันมั่วๆนะครับ
    เพราะโทษมันแรงถึงนรกครับ
     
  10. งูขาว

    งูขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2008
    โพสต์:
    945
    ค่าพลัง:
    +1,824
    ได้ก็ดี ไม่ได้ก็ดี ถกเถียงไปไม่สิ้นสุด ปัจจัตตังนั่นสิ้นสุดแล้ว
     
  11. ธรรมวินัย

    ธรรมวินัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2008
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +40
    เลิกเถียงกันได้แล้วหลานๆเอ้ย ลุงเอาพระวินัยปิฏกมาแสดงแล้ว
    ต้องยึดพระวินัยปิฏกเป็นสำคัญนะหลานๆ
    ไม่งั้นก็เถียงกันไม่สิ้นสุด

    คนสมัยนี้ชอบตะแบงทั้งๆที่รู้ไม่จริง หารู้ไม่ว่าการกล่าวตู่พุทธพจน์่
    จะต้องรับวิบากในนรกแน่นอนนะหลานๆเอ้ย อะไรที่หลานๆยังรู้ไม่จริง
    ก็อย่าแสดงออกมา รอให้ผู้รู้เค้าออกมาบอกทีกว่านะหลานๆ

    นรกมันร้อนทรมาน ใครที่ตกลงไป โอกาสจะกลับขึ้นมามันยากเต็มที
    เอาไว้วันหลัง ลุงจะเอาเรื่องนรก มาเล่าสู่กันฟังนะหลานๆเอ้ย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กันยายน 2009
  12. ธรรมวินัย

    ธรรมวินัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2008
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +40
    ศาสนาพุทธจะเสื่อมก็เพราะ พุทธบริษัท4 นี่เองแหละหลานเอ้ย ไม่ใช่ใครอื่นทำให้เสื่อมหรอก
    ชาวพุทธสมัยนี้ รวมถึงพระบางรูปด้วย ไม่ศึกษาพระธรรม พระวินัย อยากทำอะไรก็ทำตามอำเภอใจ
    นึกๆคิดๆเอาเอง โดยไม่ปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด

    ลุงเป็นห่วงคนพวกนี้จริงๆนะหลานนะ พวกเค้ายังไม่รู้ถึงโทษทัณฑ์ที่พวกเขาจะต้องได้รับ หลังจาก
    ชาตินี้ไปแล้ว น่าสงสารสัตว์โลกยุคนี้จริงๆหลานเอ้ย

    พวกที่ผิดพระวินัย พวกนี้ทำกรรมหนักมากเหลือเกิน อีกพวก คือพวกที่รู้ไม่จริงแล้วชอบออกมาแสดงความเห็น
    แบบผิดๆ นึกๆคิดๆเอาเอง หรือพวกกล้าวตู่พุทธพจน์นั่นเอง พวกนี้มีนรกเป็นที่ไปแน่นอน ลุงถึงเป็นห่วงคนกลุ่มนี้


    ลุงฝากข้อคิดให้หลานๆอีกนิดนะ ถ้าหลานๆยังรู้อะไรไม่จริง โดยเฉพาะเรื่องพระธรรม, พระวินัย ได้โปรดอย่า
    แสดงความเห็นแบบมั่วๆนะหลาน อันตรายจะเกิดกับหลายในชาติต่อไปอย่างไม่ต้องสงสัย


    ลุงเห็นเถียงกันอยู่ได้ เรื่องพระรับเงิน ทั้งที่ในพระวินัยปิฏก ก็มีข้อห้ามอยู่แล้ว ไม่รู้จะเถียงกันเพื่ออะไร
    หรือเพื่อแสดงความเก่ง เก่งแบบมิจฉาทิฐฐิ ก็เตรียมไปนรกได้เลยหลานๆเอ้ย


    นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี 30 ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่ (ดูที่ลุงทำตัวแดงๆนะหลานๆเอ้ย)
    1.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน 10 วัน
    2.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
    3.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด 1 เดือน
    4.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า
    5.รับจีวรจากมือของภิกษุณี
    6.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
    7.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
    8.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
    9.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
    10.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า 3 ครั้ง
    11.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม
    12.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
    13.ใช้ขนเจียมดำเกิน 2 ส่วนใน 4 ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง
    14.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง 6 ปี
    15.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย
    16.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน 3 โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
    17.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
    18.รับเงินทอง
    19.ซื้อขายด้วยเงินทอง
    20.ซื้อขายโดยใช้ของแลก

    21.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน 10 วัน
    22.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน 5 แห่ง
    23.เก็บเภสัช 5 (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน 7 วัน
    24.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด 1 เดือนก่อนหน้าฝน
    25.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
    26.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
    27.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
    28.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
    29.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน 6 คืน
    30.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน
     
  13. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    เป็นเพราะผมอ่านไม่ทั่วถึงเอง ต้องขอขมาต่อพระรัตนตรัยและผู้รู้ทั้งหลาย ที่แสดงความโง่เขลาออกไป
     
  14. 9อมตะ9

    9อมตะ9 อมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +1,288
    ไม่รู้ไม่ผิดครับ....เจตนาเป็นสิ่งสำคัญ.ความคิดๆได้แบบวิทยาศาสตร์....แบบหนอนตำรา....หรือแบบปฏิบัติ...คิดได้แต่ได้ไม่เหมือนคิด.
     
  15. banpong

    banpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,437
    ค่าพลัง:
    +1,770
    แหมๆๆๆๆ ทำยั่งกับไม่เคยเห็นพระรับปัจจัย ท่านจะเอาไปทำอะไรก็เรื่องของท่าน จะดี หรือไม่ดี ก็ไม่ควรคิดควรพูด มันบาป ถ้าดีก็อณุโม งามๆสักที
     
  16. banpong

    banpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,437
    ค่าพลัง:
    +1,770
    แหมๆๆๆๆ ทำยั่งกับไม่เคยเห็นพระรับปัจจัย ท่านจะเอาไปทำอะไรก็เรื่องของท่าน จะดี หรือไม่ดี ก็ไม่ควรคิดควรพูด มันบาป ถ้าดีก็อณุโม งามๆสักที
     
  17. น้องต้นหลิว

    น้องต้นหลิว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +8
    เรื่องนี้เคยฟังมาหลายความเห็นทั้งฝ่ายพระและฝ่ายฆราวาส ผมมองว่าเรื่องความผิดตามพระวินัยบัญัตินั้นมีอยู่ แต่สมัยปัจจุบันกับสมัยพุทธกาลไม่เหมือนกัน

    สมัยก่อนปัจจัย ๔ มีแก่พระครบถ้วนสมบูรณ์
    อาหาร พระท่านบิณฑบาต ปัจจุบันก็ยังทำอยู่ ยังมีญาติโยมถวายอยู่ ข้อนี้ผ่าน

    เครื่องนุ่งห่ม จีวรพระก็ยังมีญาติโยมถวายอยู่ ข้อนี้ก็ผ่าน

    ที่อยู่อาศัย สมัยก่อนถ้าไม่โยมสร้างถวาย พระท่านก็สร้างกันเอง (มีความรู็เรื่องการสร้างกุฏิ) แต่ปัจจุบันแทบจะไม่เห็นที่จัดแจงสร้างถวายพระเลย ส่วนพระท่านเกือบทุกรูป ก็สร้างกันไม่เป็น ต้องจ้างช่างมาสร้าง ประเด็นนี้ถ้าพระท่านไม่มีปัจจัยใช้สอย จะให้ทำอย่างไร หรือกุฏิ วิหาร ที่ทรุดโทรม ต้องซ่อมแซม จะให้ทำอย่างไร ในเมื่อชาวพุทธกันเอง ไม่เข้ามาช่วยท่านดูแล ดำเนินการจัดการแทนท่านในเรื่องนี้

    ส่วนเรื่อง ยารักษาโรค สมัยพุทธกาล มีหมอชีวกอยู่ เชี่ยวชาญการรักษามาก เรียกว่ารักษาทุกโรค และถวายการรักษาแด่พระคุณเจ้าฟรี แต่สมัยนี้ถ้าจะให้ทุกโรงพยาบาลรักษาพระฟรี จะเป็นไปได้ไหมครับ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย ถึงจะมีการถวายยาสังฆทานกัน แต่เป็นแค่ยาสามัญประจำบ้านไม่ใช่เหรอครับ ถ้าท่านอาพาธหนัก หรือ ล้มแข้งขาหักล่ะ

    อีกเรื่องที่จำเป็นในปัจจุบัน คือ การเดินทาง สมัยก่อนพระท่านอาศัยขบวนพ่อค้า เกวียนคนเดินทาง หรือเรือ แล้วสมัยนี้ถ้าท่านโบกพวกคุณจะรับไปส่งท่านฟรีไหมล่ะ แท๊กซี่ก็เก็บเงิน ถ้าท่านขึ้นรถตอนจะลงบอกให้รับพรแทน อาจจะขึ้นข่าวหน้าหนึ่งนะ

    เกือบลืม เรื่องการเรียนหนังสือ ด้วย เห็นหลวงพี่ท่านเรียนกัน ค่าครูสอนไม่เสียตังค์ เพราะพระสอนกันเอง แต่ค่าอุปกรณ์การเรียนการสอนนี่สิ เดี๋ยวนี้มีมหาวิทยาลัยสงฆ์อีก ท่านไม่ได้เรียนฟรีนะครับ ต้องเสียค่าเล่าเรียน ค่าจ้างฆราวาสมาเป็นผู้สอน ค่าจัดการสาธารณูปโภค ฯลฯ ถ้าพระท่านไม่ศึกษาหาความรู้ ก็ว่าท่านไม่มีความรู้ธรรมะ ไม่มีความรู้อย่างชาวโลก ไม่มีวิสัยทัศน์

    อ้อ..สุดท้าย ค่าน้ำ-ค่าไฟ วัดต้องจ่ายเองครับ

    บอกข้อจำเป็นจริง ๆ ที่ท่านต้องให้พอเห็นภาพ เห็นไหมว่าไม่มีในสมัยพุทธกาล บางอย่างก็เลยต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมไงล่ะ

    ถึงปัจจุบันจะมีกรรมการวัดก็เถอะ หลายวัดพระทำอะไรไม่ได้ จัดการตามความจำเป็นของวัดก็ลำบาก กรรมการวัดจัดการตามใจกรรมการ (ไม่เชื่อลองถามวัดใกล้บ้านดูเถอะ ถ้าไม่เจอลองถามวัดต่อไป) ถ้าเจอพวกไม่ดี ก็งุบงิบอีก เป็นซะงั้นไป

    แล้วสังฆทานที่เคยถวายกันเคยตรวจสอบไหมว่าใช้ได้จริง หรือ ใช้ไม่ได้เลย
     
  18. nattapong0925

    nattapong0925 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +165
    เท่าที่เคยรู้นะครับแต่ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่รู้ถูกต้องหรือเปล่าเพราะฟังจากพระสงฆ์รูปหนึ่งพูดให้ฟังคือ.. พระสายธรรมยุทต์ ห้ามสัมผัสเงินทอง แต่สายมหายานสัมผัสได้แต่เวลาจะใช้จ่ายต้องให้ลูกศิษย์จัดหามาให้ ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือเปล่า ไม่กล้าฟันธง เดี๋ยวมีผู้รู้ออกปากแช่งให้รับวิบากกรรมล่ะซวยเลย ผู้ไม่รู้ก้อไม่น่าผิดนะ แค่แสดงความคิดเห็นเท่าที่มีก้อเท่านั้น ไม่เห็นต้องซีเรียสเลย เที่ยวไปแช่งเขาระวังจะรับเองเต็มๆบ้างเน้อ....กระทู้เขาตั้งไว้ให้มีคนตอบ แต่คนที่เข้ามาตอบจะผิดจะถูกก้อไม่เป็นไร คนที่รอบรู้เข้ามาตอบในสิ่งที่ถูกต้องก้อจบ ไม่เห็นต้องไปหาว่าคนอื่น(ที่เข้าใจผิด)ตอบมั่ว แล้วจะตกนรกไปรับวิบากกรรม เราว่าคนที่พูดอย่างนั้น คงตกนรกตามไปด้วยแน่ๆ เพราะมัวแต่ไปคิดแต่สิ่งต่ำๆ ที่ให้คนอื่นเขาตกนรกน่ะ....มีใครเคยเห็นนรกที่เป็นรูปธรรมมั่งล่ะ มีแต่ที่กล่าวลอยๆมาแต่ไม่เคยมีใครสามารถพาคนส่วนใหญ่ไปดูหรือถ่ายรูป ,วีดีโอ มาให้ดูซักราย ความคิดในทุกๆเรื่องมนุษย์ปรุงแต่งขึ้นมาเองทั้งนั้น เหมือนกฎเกณฑ์ต่างๆ มนุษย์ขี้เหม็นก้อเป็นผู้กำหนดทั้งนั้น ไม่ว่านรกหรือสวรรค์จะมีจริงหรือเปล่า แต่ก้อขอให้เราทำแต่ความดี ละความอิจฉาตาร้อน ทิฐฐิต่างๆ ความพอใจในสิ่งที่ตนมี แค่นี้ก้อน่าจะมีความสุขแล้ว ส่วนเรื่องพระถือเงิน เราเองก้อไม่เคยเห็นด้วยเลย เพราะเท่ากับเป็นการสร้างกิเลส ให้กับผู้ที่ออกบวช จริงป่ะ...
     
  19. อีโต้

    อีโต้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    510
    ค่าพลัง:
    +256
    สมัยนี้โยมเก่งกว่าพระ

    หรือเปล่า.....
     
  20. titapoonyo

    titapoonyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    1,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +12,769
    สรุปว่าสมัยนี้พระท่านหลีกเลี่ยงไม่ได้หรอกครับที่จะรับเงิน มันคนละ condition กันกับสมัยพุทธกาล เห็นด้วยกับที่หลวงพ่อท่านเทศนะครับ ลองพิจารณาดูเอาละกันครับ
    [FONT=&quot]เทศนาหลวงพ่อฤาษีลิงดำ แก่ภิกษุสามเณร[/FONT]<o></o>
    [FONT=&quot]เรื่องวินัยสงฆ์เกี่ยวกับการรับเงินของพระ[/FONT]<o></o>
    [FONT=&quot]เมื่อ 17 ก.ย. 2518[/FONT]<o></o>
    [FONT=&quot]ทีนี้มาถึงสิกขาบทข้อที่ ๘. พระวินัยกล่าวว่า[/FONT] “[FONT=&quot]อนึ่ง[/FONT][FONT=&quot]ภิกษุใด[/FONT][FONT=&quot]รับก็ดี[/FONT][FONT=&quot]ให้รับก็ดี[/FONT][FONT=&quot]ซึ่งทอง[/FONT][FONT=&quot]เงิน[/FONT][FONT=&quot]หรือ[/FONT][FONT=&quot]ยินดีทอง[/FONT][FONT=&quot]เงิน[/FONT][FONT=&quot]อันเขาเก็บไว้ให้[/FONT][FONT=&quot]เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์[/FONT]”<o></o>
    “[FONT=&quot]สำหรับสิกขาบทนี้ขอท่านทั้งหลายจงใคร่ครวญให้ดี ทั้งนี้ในที่บางแห่ง หรือในเขตบางเขต เขาไม่มีโยมรับเงินรับทองกัน และชาวบ้านเขาก็เห็นกันว่าพระที่ไม่รับเงินรับทอง เป็นพระที่เคร่งครัดมัธยัสถ์ ถึงกับมีการรังเกียจพระที่รับเงินรับทอง แต่ตามความเข้าใจของผมหรือว่าพระมหาเถรานุเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีความเข้าใจกันดี อันนี้เพราะอะไรเพราะว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า รับเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นรับก็ดี หรือมีความรู้สึกอยู่ว่าเขาเก็บไว้เพื่อเรา และเราก็ถือว่าทรัพย์สินส่วนนั้นมันเป็นของเรา ท่านจะพิจารณาเห็นว่าต้องอาบัติเสมอกันคือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ทีนี้พระบางท่านเวลาเขามาถวายไม่รับ ไม่รับเอง แต่ว่าให้ลูกศิษย์รับ ให้มอบไว้กับลูกศิษย์ แต่ว่าใส่ย่ามเถอะไม่ยอมรับ มือไม่รับ อันนี้ท่านทั้งหลายที่ฟังแล้วเห็นว่ามันพ้นไหม เห็นว่ามันพ้นหรือไม่พ้น มันพ้นตรงไหนกัน รับเองก็ดี ให้คนอื่นรับก็ดี หรือว่าคนอื่นที่เขาเก็บไว้ให้เราที่เรียกว่า ไวยาวัจกร แต่เรามีความรู้สึกว่าทรัพย์สินทั้งหลายเหล่านั้นมันเป็นทรัพย์ของเราก็อาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ [/FONT]<o></o>
    [FONT=&quot]นี่ที่ผมย้ำมากๆ ก็เพราะความเข้าใจผิดของปวงชนและพระมีมาก ถ้าตนเองไม่รับเงิน แล้วต่อหน้าคนไม่รับ ลับหลังคนรับ หยิบ หรือต่อหน้าคนไม่รับ ลับหลังคนไม่รับ คนอื่นเก็บเอาไว้ให้ ก็รู้ว่านั่นเงินของเรา มีจำนวนเท่านั้นเท่านี้ จิตใจยังผูกพันอยู่ ไม่ได้พ้นโทษไปเลย ถ้ามันยังไม่พ้นโทษอยู่ นี่ตามความรู้สึกของผม หรือว่าครูบาอาจารย์หลายท่านด้วยกัน ในสมัยโบราณ ผมเรียกว่าโบราณเพราะว่าเวลากาลผ่านมาประมาณ 40 ปีเศษ ในสมัยที่ผมบวชใหม่ๆ ที่พูดนี้เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2518 ผมบวชผ่านเวลากาลผ่านมาได้ 40 ปีเศษ ถอยหลังไป 40 ปี ผมเรียกว่าโบราณ คือมันเก่าแล้ว คนสมัยนั้นหัวยังเก่าอยู่ ท่านบอกว่า การที่เราไม่รับต่อหน้าคน แต่ว่าให้คนอื่นรับ หรือว่าคนอื่นรับเงินแล้วเขาเก็บไว้เพื่อตนยินดีอยู่ แต่เราไม่ยอมรับ จิตคิดว่าเรามีความดีที่ไม่รับเงิน ท่านบอกว่าคนที่มี อารมณ์อย่างนั้นมีกิเลสหนาแน่นที่สุด เพราะว่าเป็นการหลอกลวงชาวบ้านเขา ทำตนเป็นคนดี แต่ความจริงไม่ได้ดีตามนั้นแต่จิตใจกับเลวทราม [/FONT]<o></o>
    [FONT=&quot]กับท่านผู้รับเองให้ชาวบ้านเขารู้ ไหนๆ เราจะรับแล้ว เราก็ยอมรับเสียต่อหน้าชาวบ้าน เพื่อว่าชาวบ้านเขาจะได้ทราบว่าพระองค์นี้รับเงิน ในเมื่อเขารู้ว่าแล้วเรารับเงิน เขาจะนิยมเราหรือไม่นิยม เป็นเรื่องของเขา เราไม่เกี่ยว เราเปิดเผยให้เขารับรู้เลยดีกว่า ว่าเรารับเงินรับทอง ถ้าหากว่าเราไม่รับต่อหน้าชาวบ้านแต่ว่าภายหลังเราเก็บเอง หรือบุคคลอื่นเก็บ แล้วก็ทราบว่าเงินของเรา เรามีอยู่ เงินและทองของเรามีอยู่ เราถือสิทธิ์อยู่ ยินดีอยู่ ถ้าชาวบ้านเขาทราบทีหลัง เราจะเสียสองชั้น คือเสียในเรื่องหลอกลวงชาวบ้าน และก็ต้องโทษที่พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติไว้ [/FONT]<o></o>
    [FONT=&quot]ดังนั้นในการรับเงินและทองเอง แต่ทว่าจงอย่ายินดีในเงินและทองนั้นว่าเป็นทรัพย์สินของเราโดยเฉพาะ[/FONT][FONT=&quot] พึงทำใจของเราให้มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเวลานี้เราเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส เป็นลูกของพระพุทธเจ้า เงินและทองที่เขาจะถวายเรา เขาก็ถวายเราในฐานะที่เป็นพระ ดังนั้นเวลาที่เขาจะถวายเขาก็บอกว่า ใช้ตามสมควรแก่สมณบริโภค คือเราต้องคิดไว้เสมอว่าเงินทองทั้งหลายเหล่านี้เราจะใช้บำรุงตัวเราเองตามความจำเป็น ถ้าเหลือนอกจากนั้นเราจะเอาเงินจำนวนนี้ไปสร้างบุญสร้างกุศล ให้เป็นประโยชน์แก่บรรดาสาธารณชน เป็นส่วนสาธารณะ นี่เรียกว่า แม้จะก่อสร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา หรือสร้างสิ่งตามความจำเป็นเพื่อความสะดวกของบรรดานักบวชทั้งหลายหรือว่านักบุญทั้งหลาย อย่างนี้จิตใจของเราไม่ยึดถือว่าเงินนี้มันเป็นของเราโดยเฉพาะ ถือว่าเป็นเงินของพระพุทธศาสนา เป็นเงินของพระ เขาถวายพระ ถ้าเราไม่บวชไม่มีใครเขาให้ จะไปเอาเงินจากเขา บางทีต้องมีโฉนดที่ดินไปให้เขารับรอง ดีไม่ดีเขาก็ไม่ยอมให้ นี่ทำใจของเราให้สบายแบบนี้ จงอย่าติดในลาภ อย่าติดในเงินและทอง อย่างนี้ผมถือว่า เราทนหน้าด้านแต่ว่าใจของเราไม่ด้าน ยอมรับต่อหน้าชาวบ้าน เพื่อเป็นการประกาศความจริงว่าเรามีความจำเป็นจะต้องใช้ [/FONT]<o></o>
    [FONT=&quot]สิกขาบทนี้แหล่ะท่านบรรดาสหธรรมิกทั้งหลาย ตามความเข้าใจของผม ผมคิดว่าท่านสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบว่าต่อไปในภายภาคหน้าคนที่จะพะเน้าพะนอพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เหมือนในสมัยที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ไม่มี องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้ทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสในสมัยก่อนหน้าพระปรินิพพาน ว่า[/FONT]<o></o>
    [FONT=&quot]อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว สิกขาบทบางสิกขาบทซึ่งไม่ใหญ่โตนัก ถ้าหากว่าไม่เหมาะกับกาลสมัย ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายจะเห็นว่าไม่สมควร จะเพิกถอนเสียก็ได้[/FONT]”<o></o>
    [FONT=&quot] นี่เป็นพระพุทธประสงค์ขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา แต่ด้วยว่าในเมื่อเป็นคำดำรัสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครที่ไหนจะยอมเพิกถอน ก็มีความเคารพในพระองค์ เราสู้เอาหน้าด้านแต่ใจสะอาดดีกว่า ดีกว่าต่อหน้าคนไม่รับ แต่ลับหลังรู้ค่าของเงิน รู้ค่าของทอง รู้จักใช้เงินและทองให้เป็นประโยชน์ส่วนตนและเป็นประโยชน์ส่วนรวม อย่างนี้เขาเรียกว่าหน้าดี แต่ใจด้าน ขอให้ท่านทั้งหลายเลือกเอาอย่างหนึ่ง จะยอมหน้าด้านแต่ว่าใจดี หรือว่าจะเอาหน้าดีแต่ใจด้านกัน ท่านทั้งหลายจงอย่าลืมว่า ถ้าเราตายไปแล้ว ร่างกายหรือหน้าก็ดี ตัวก็ดี มันไม่ได้ไปกับเราด้วย ส่วนที่จะไปจริงๆ มันก็คือใจ แต่จะไปเสวยความสุขหรือความทุกข์มันก็อยู่ที่ใจ หน้าด้านแต่ใจดี แสดงว่าใจสะอาด หน้าดีแต่ใจด้านแสดงว่าหน้าสะอาดแต่ว่าใจเสีย ใจสกปรก ทีนี้ถ้าใจของเราสกปรกเวลาตายเราก็เอาความสกปรกไป ส่วนที่สกปรกชาวสวรรค์เขาไม่ชอบ ชาวสวรรค์เขาต้องการความสะอาด เราอยู่ไม่ได้ คนสกปรกต้องไปอยู่ในอบายภูมิทั้ง 4 คือ ในนรก หรือไปเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน[/FONT]<o></o>
    [FONT=&quot]นี่ขอบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลายพากันวินิจฉัยตามนี้ แล้วก็เลือกปฏิบัติเอา แต่สำหรับผมน่ะขอยอมรับว่าผมหน้าด้านแน่ ในเรื่องการรับเงินรับทอง แต่ใจของผมผมไม่ยอมด้านในเรื่องนี้ เพราะว่าผมไม่ยอมเอาเงินที่เขาเอามาถวายเป็นประโยชน์ส่วนตน ซื้อไร่ซื้อนาซื้อบ้านให้เขาเช่า อะไรพวกนี้ผมไม่มี ออกเงินให้กู้ผมไม่มี ได้มาเท่าไรเหลือกินเหลือใช้ สร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา และให้ความสะดวกกับบรรดานักบุญทั้งหลาย อย่างนี้ผมยอมหน้าเสียเพื่อรักษากำลังใจของตัวเอง ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่ยกยอตัวเอง พูดตามความเป็นจริง ครูบาอาจารย์ท่านก็ปฏิบัติมาแบบนี้ เพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันหลีกเลี่ยงกันไม่ได้ แล้วทำไมเราจะมาทำหน้าดีใจเสียใจเพื่อประโยชน์อะไร พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฎฐา มโนมยา [/FONT][FONT=&quot]ธรรมทั้งหลาย มีใจถึงก่อน[/FONT][FONT=&quot]มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ[/FONT]”<o></o>
    [FONT=&quot] ถ้าใจของเราเลวแต่ว่าหน้าดีมันจะมีประโยชน์อะไร สู้ทำหน้าของเราให้เป็นหน้าด้านแต่ใจสะอาด ดีกว่าหน้าสะอาดใจด้าน เลือกกันเอานะ ผมไม่ได้บังคับ ยังไงๆ ก็บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาเราเป็นปูชนียบุคคล อย่าหลอกลวงชาวบ้านเขาเลยบรรดาเพื่อนทั้งหลาย [/FONT]<o></o>
    [FONT=&quot]ต่อไปเป็นสิกขาบทข้อที่ 9 ...............[/FONT]”


    ขอให้เจริญในธรรมครับ
    [FONT=&quot]<o>
    </o>[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 เมษายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...