ทำสมาธิสงบใจเพียง 5 นาที 10 นาที ได้บุญอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แว๊ด, 26 ตุลาคม 2008.

  1. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    ทำสมาธิสงบใจเพียง ๕ นาที ๑๐ นาทีได้บุญอย่างไร

    เรียนญาติธรรมที่เคารพ
    วันนี้ (วันอาสาฬหบูชา) ผมเปิดฟังซีดีธรรมะบรรยายของพระเดชพระคุณพระอาจารย์สนอง กตปุญโญ วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี เห็นว่ามีคุณค่า และมีประโยชน์ จึงพยายามถอดเทปคำสอนเหล่านั้นออกมาบางส่วน บางตอน อาจจะไม่สมบูรณ์ตกหล่นไปบ้าง จึงขออโหสิกรรมต่อครูบาอาจารย์ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

    เมื่อเราทำความเพียรมาก ๆ กันไป ใจเราก็จะเป็นสุขเพราะใจเราสงบได้ เราจะให้ใครทำให้เรา ใครจะทำให้เราเป็นสุขได้ นอกจากเราจะทำความสบายใจของเรา คนเราที่เป็นทุกข์มาก ๆ เพราะไม่รู้จักปล่อยใจ วางใจ ไม่รู้จักทำใจให้ว่าง เอาแต่ความคิดนึก แต่เรื่องไม่ดีเข้ามาใส่ใจ คนโน้นว่าเรา คนนี้ว่าเรา เราระแวงสงสัยคน “ชั่วไปหมด” เราไม่สงบ ไม่ตัด ไม่ละ เอาเรื่องคนโน้นมาว่า คนนี้มาว่า เอาแต่เรื่องภายนอก

    เราไม่เคยปล่อย ไม่เคยวาง คนเราถ้ามีศีลดี มีสมาธิดี ถ้าใครว่าอะไรไม่โกรธ ใจก็เย็น คนที่ไม่มีศีล ไม่มีสมาธิปัญญา ใจก็ร้อน ใครว่าอะไรก็ขี้โกรธระแวงสงสัย อยู่กับใครก็ไม่มั่นใจ คือไม่มั่นใจทั้งเขาและเรา แต่ถ้าคนเราสติดี สมาธิดี ศีลดี จะทำให้ตัวเอง เชื่อมั่นตัวเอง ใครจะด่าว่า ใครจะนินทาอะไร ไม่ค่อยจะทุกข์ใจ ถือว่าเราดีแล้ว เราทำความดีแล้ว ใครจะนินทาเราก็ไม่ท้อถอย

    ใครจะด่าว่าก็ไม่โกรธเคือง คนมีธรรมะเป็นอย่างนี้ คนไม่มีธรรมะจะคอยฟัง ส่งใจไปหาคนว่าเราอยู่เรื่อย คอยตะแคงหูฟังว่าใครว่าเราไม่ดีบ้าง ใครจะนินทาเรา ใครจะสรรเสริญเรา พอใครสรรเสริญเรา ชอบใจ พอใครติเรา คนนั้นไม่ดี ไม่ชอบใจ เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตเราก็กระสับกระส่าย เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เร่าร้อนอยู่อย่างนั้นเอง ไม่มีอะไรแน่นอนซักอย่างเดียว ทีนี้เราก็ต้อง “ปฏิบัติธรรม”

    คนมีความโลภ โกรธ หลง ก็สอนให้คนมีความโลภ โกรธ หลง สอนให้โกรธเป็น ให้โลภเป็น ให้หลงเป็น ให้วุ่นวายอยู่ในโลกนี้ ช่วงอายุสั้น ๆ ไม่ถึงร้อยปี เราก็จากกันไปแล้ว แต่พระพุทธเจ้านั้น คำสอนของท่านยืนยาวนาน ที่ท่านสอนให้ตัดโลภ โกรธ หลง ที่ท่านไม่พะวงกับทางโลก มาพะวงกับศีลธรรม เอาธรรมะดับทุกข์ที่ท่านได้ ก็สามารถเอาธรรมะมาสอน มาให้พวกเราดับทุกข์ได้ จึงเผื่อมาถึงพวกเรา

    ให้มีโอกาสได้ปฏิบัติกัน พระองค์ใจเย็นแล้ว พระองค์จึงเผื่อใจเย็นมาให้พวกเราจนทุกวันนี้ ความเย็นของพระองค์นั้น มีพลังมาถึง ๒๕๐๐ ปี และจะอยู่อีก ๒๐๐๐ กว่าปี ถึง ๕๐๐๐ ปี ความเป็นพระพุทธเจ้าที่ตัดใจได้ สละความสุขส่วนตัว เพื่อความสุขส่วนรวม ใครจะว่าพระพุทธเจ้าเห็นแก่ตัว ทิ้งลูกทิ้งเมียมาก็เพื่อต้องการนิพพาน เพื่อจะเอานิพพานนี้ ไปให้คนทั้งโลกให้รู้จักคำว่า

    “ดับทุกข์ที่ใจ” ถ้าใจไม่ดับเสียแล้ว มันจะเกิดเวียนว่ายมีทุกข์ มีโศก มีโรค มีภัย มีแก่ มีตาย มีนินทาให้ร้ายกัน มีมึงมีกู มีอิจฉาริษยา เข่นฆ่าเบียดเบียนกันอยู่ในโลกนี้ไม่รู้จักจบจักสิ้น ท่านคิดอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงเสียสละความสุขพวกนั้นหมดไป ๗ วันจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิก็ไม่เอา จะเป็นเจ้าแห่งโลกก็แล้วแต่ พระองค์ท่านจะเป็นเจ้าธรรมะ การจะรู้ว่าทุกข์ที่ใจนี้ จะดับได้อย่างไร ทุกข์กายนี้รู้แล้ว มันระงับได้ชั่วคราว

    หิวข้าว กินแล้วมันก็อิ่ม มันก็หิวต่อ กินกันอยู่ทั้งปีนี่แหละ
    ง่วงนอน นอนแล้วก็หายง่วง พอไปนาน ๆ ค่ำแล้วก็ง่วงต่อ
    ร้อนเข้าที่ร่ม ก็เย็นได้ หนาวทำอะไรให้อบอุ่น เอาไฟมาก่อก็อุ่นได้

    เป็นการบำบัดทุกข์ชั่วคราว มันก็ไม่จริงจัง แต่จะบำบัดได้ถาวร เราจะไม่แก่นะ ไม่เจ็บนะ ไม่ตายนะ ทำไม่ได้ พระพุทธเจ้าทำไม่ได้ ผมอย่าหงอก ฟันอย่าหัก หนังอย่าเหี่ยว อย่าแก่ อย่าเจ็บ อย่าตาย นี่ทำไม่ได้ อันนี้ทำไม่ได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า สิ่งที่ทำไม่ได้ก็มี สุขทางโลกียะ เราไม่สามารถยึดครองได้ทุกอย่าง พระพุทธเจ้าเห็นว่ามีทางเดียวที่จะดับทุกข์ได้คือ “มาภาวนา”

    พระพุทธเจ้าเมื่อสละความสุขจากครอบครัวมาแล้ว จึงได้มาพบธรรม เห็นธรรมะ รู้ใจตัวเองว่า “ดับได้อย่างไร” พระองค์เห็นอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานด้วยอริยมรรค พยายามประพฤติ ปฏิบัติอย่างดีที่สุด สามารถตัดอนุสัยกิเลสจนเป็นสมุเฉทเป็นนิโรธ “ดับความร้อนใจ”

    พระองค์ไม่ร้อนใจแล้ว อะไรทำให้ร้อน เพราะความคิดนึกทำให้ร้อน ความคิดโน่นคิดนี่ ไม่รู้จักจบสิ้นนั้น ทำให้ร้อน ทำให้กระสับกระส่าย ทำให้ทุรนทุราย ไม่มีใครสงบได้ เมื่อพระองค์มาเจอธรรมสงบ จึงสอนให้พวกเราทำทุกวัน อานาปานสติ สติเบื้องต้น

    กำหนดรู้ลมเข้า ว่าหายใจอย่างใด กำหนดรู้ลมออก ว่าหายใจอย่างใด หายใจเข้ามีสุข หายใจออกมีสุข ก็ให้รู้ชัด หายใจเข้าดีใจ หายใจออกดีใจ หายใจเข้าอิ่มใจ หายใจออกอิ่มใจ หายใจเข้าปลื้มใจ หายใจออกปลื้มใจ หายใจเข้าตัวเบาตัวหนักก็ให้รู้ หายใจออกตัวเบาตัวหนักก็ให้รู้ หายใจเข้าเป็นสุขทางใจก็ให้รู้ หายใจออกเป็นสุขทางใจก็ให้รู้ อันนี้วิธีปฏิบัติ ที่พระองค์รู้แจ้งชัดแล้ว จึงมาสอนพวกเรา ถ้าพวกเราไม่มาทางนี้ พวกเราไม่พบเลยนะ จะเอาความสุขกันตรงไหน

    หย่อนไปก็ก่อให้เกิดกิเลส ฟุ้งซ่าน ทำให้เกิดความอยาก ตึงไปก็ทำให้ฟุ้งซ่าน กระสับกระส่าย ต้องทำให้พอดี รู้ว่าจิตเราเป็นอย่างไร จิตเราอยู่กับลม จิตเราไปกับลม จิตเราสงบ จิตเราวางเฉย ไม่ใคร่ทุกข์ร้อนอะไร

    รู้จิตเห็นจิตตัวเองอยู่เนือง ๆ เป็นสติคุ้มครอง ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งสภาวะกายใจ ธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจึงสอนให้เรา “ดับทุกข์ที่ใจ” เราก็ทำไปเถอะ ตามแต่วาสนาบารมีของเรา สร้างสมอบรมกันมาตั้งแต่ชาติก่อนด้วย ชาตินี้เราก็ได้ทำต่อ

    ชาติที่แล้วเราได้ทำดีมาแน่ จึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เราเป็นมนุษย์นี่แสดงว่าเป็นชาติอันประเสริฐ เทวดายังไม่มีโอกาสจะมานั่งฟังธรรม มาบวชมาเรียน ได้แต่เสวยผลบุญเก่า แต่มนุษย์มีปัญญามีบุญบารมีที่จะมานั่งฟัง มาบวชมาเรียน มาฝึกตนให้รู้จักดับทุกข์ได้ จึงว่ามีบุญมาก

    แต่ว่าชาตินี้ ใครจะเอามากแค่ไหน มีบุญมาเกิดแล้ว พบศาสนาแล้ว พบคำสั่งสอนให้ไปสู่ความดีแล้ว รู้จักทางดับ รู้จักทางสงบแล้ว แต่ถ้าเราทำไม่ได้ เราก็ไม่ได้สร้างบารมี ขี้เกียจเสีย ปวดเมื่อยเสีย ง่วงนอนเสีย เราผัดวันประกันพรุ่งเสีย เอาเวลานี้มาใช้ประโยชน์อื่นเสีย เอาไปกิน ไปนอน ไปเที่ยว ไปเล่นเสีย เอาไปสนุกคะนอง เราก็เลยไม่ได้สร้างบารมี กินบุญเก่าหมด บุญใหม่ไม่มีซักอย่างเดียว

    เมื่อเป็นอย่างนี้เราจึงพลาดท่า เกิดแล้ว เกิดอีก ตายแล้ว ตายอีก ทุกข์แล้ว ทุกข์อีก ร้องไห้แล้ว ร้องไห้อีก ก็ไม่มีอะไรจะมาช่วยได้ เพราะเราไม่มีธรรมะเป็นที่พึ่งทางใจ พอมาเกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา เราก็ชอบใจว่าวิธีทำสมาธิมันดีอย่างนี้หนอ มันสุขกว่าเราไปทำอย่างอื่น เราได้รู้ใจเห็นใจตัวเองนี่ มันแปลกดีจริง ๆ คนเราไม่มีใครที่จะมาเท่าทันใจตนเอง

    เราก็ได้ศึกษาธรรมะอันชัด ๆ อยู่ในตัวเรา เราก็รู้แจ้งได้ ฉะนั้นเราก็ต้องมีความเพียรพยายามตั้งใจเอา เขาได้ให้โอกาสเราแล้วในชาตินี้ ยมบาลเขาปล่อยให้เรามาเกิดแล้ว เขาให้มาเกิดสำนึกบุญ ทำบุญไม่ให้ทำบาป เป็นมนุษย์จริง ๆ แล้ว เขาให้มาทำบุญอย่างเดียว ทำบาปไม่ได้ เขาให้อยู่ในหลักศีล ๕ ศีล ๘ ห้ามทำบาป กฎของธรรมชาตินี้ เขาห้ามทำบาป ทำบาปแล้วให้ผลเป็นทุกข์ทันที

    ห้ามโกรธ ห้ามพยาบาท ห้ามโลภ ห้ามหลง ต้องกำจัดสิ่งเหล่านี้ให้น้อยลง แล้วจะไม่เป็นทุกข์ หากโกรธมาก โลภมาก หลงมาก ไม่ใช่มนุษย์เป็น “อมนุษย์” เป็นอมนุษย์ใจทมิฬ จิตใจหิน จิตใจหยาบ เขาเรียกว่า “คนดิบ” คนที่ไม่เอาสติ มีสมาธิ อย่างนั้นขึ้นมาเกิดแล้ว ก็กลับไป “ขาดทุนอีก” ถ้าตายไป ชาติหน้าก็รับกรรมอีก กลับมาก็ “เห็นผิดอีก” ฉะนั้นคนที่เกิดมาแล้วนี่ เขาห้ามทำบาป ตามเรื่องจริง ๆ แล้ว ทำบาปไม่ได้ ทำบาปแล้วเข้าตัว ทำบุญก็เข้าตัว ทำบุญมากเท่าไร ก็เข้าตัวมากเท่านั้น ทำบาปมากเท่าไรก็เข้าตัว มากเท่านั้น บาปเป็นลบ บุญเป็นบวก

    ฉะนั้นเราก็ต้องเพียรทำ จิตของเราถ้าทำให้สงบได้ ทำให้ “เป็นหนึ่งได้” มันก็เป็นบุญตลอดเวลา เรียกว่าปฏิบัติบูชา บูชาเป็นยอดบุญ เราจะบูชาด้วยดอกไม้ ของหอมสักร้อยเล่มเกวียน พันเล่มเกวียน เอามาบูชาพระพุทธเจ้า ให้พระพุทธเจ้านั่งบนดอกไม้ นอนบนดอกไม้ นอนบนกองธูป กองเทียน ก็ยังไม่เท่ากับเรามาทำสมาธิสงบใจเพียง ๕ นาที ๑๐ นาที การที่เรามาทำสมถะภาวนา วิปัสสนาภาวนา ๕ นาที ๑๐ นาที ได้บุญมากกว่าเอาดอกไม้ ของหอม มาบูชาพระพุทธเจ้าตั้งร้อยพันเล่มเกวียน

    เพราะอะไร เพราะบูชาพระพุทธเจ้าเพียงอามิสบูชา เป็นเพียงวัตถุ แต่บูชาด้วยน้ำใจพระพุทธเจ้า เป็นปฏิบัติบูชาได้เข้าถึงความสงบ ที่เข้าถึงมรรคถึงผล ถึงศีล สมาธิ ถึงนิพพานได้ในชาตินี้ บารมีที่เราจะได้มากเราจะต้องพร้อม ทาน ศีล ภาวนา ภาวนานี้จะขาดไม่ได้

    ภาวนานี้คือการรู้จักใจตนเอง รู้จักตัดความโกรธ ความพยาบาท ตัดความโลภ หลง ทำให้ใจของเราสบายขึ้น ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เร่าร้อน ให้เป็นตัวของตัว ให้เป็นใจของใจเรา ให้เป็นจิตของจิตเรา มันก็เลยสบายขึ้น พระพุทธเจ้าสอนให้ทุกคนรู้จักใจของตนเอง เพื่อดับทุกข์ที่ใจ ศีล สมาธิ นี้มารวมที่ใจสงบ ธรรมะ ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้จักคำว่า “ใจเป็นหนึ่ง”

    ทำอย่างไรจะให้ใจเป็นเป็นหนึ่ง ใจมันเป็นร้อยแปด จิตคนเราเหมือนลิง จิตของเรามันปรุงแต่งมาก สุขทุกข์ ยินดียินร้ายตลอดเวลา ท่านจึงได้ว่าให้ทำจิตให้เป็นหนึ่ง ถ้าทำใจให้เป็นหนึ่ง ทำใจให้ว่างได้ นั่นแหละ คำสอนพระพุทธเจ้า จุดหมายปลายทางคือตรงนั้น

    ที่นี้เราควบคุมใจเราไม่ค่อยได้ซิ เดี๋ยวคิดอย่างโน้น เดี๋ยวคิดอย่างนี้ ตลอดวันตลอดคืน มีแต่เรื่องคิดนึกทั้งนั้นเลย “ไม่ว่างซักที” ก็ไม่ตรงคำสอนพระพุทธเจ้าซักที เดินสวนทางกับพระพุทธเจ้า เมื่อไรจะหยุดคิดได้ซักที

    เราก็ต้องรู้ธรรมะตรงนี้ เราก็จะรู้จัก อ๋อ มาปฏิบัติบูชาตรงนี้เอง เอาดวงใจบูชาพระพุทธเจ้า บูชาดวงใจสงบนี้เอง ถ้าเราบูชาดวงใจสงบ เท่ากับบูชาพระพุทธเจ้าอย่าง “ปรมัตถ์” เลย ปรมัตถ์แปลว่าสุดยอด บูชาแบบสูงสุด ไม่มีแก้วแหวนเงินทองอะไร ที่จะบูชาได้มีค่ามากกว่าบูชาด้วย “น้ำใจที่สงบ”

    ขออนุโมทนาสาธุ ที่อ่านมาถึงตรงนี้ครับ
    ขอให้เจริญในธรรม

    http://www.dhammasatta.com/board/viewtopic.php?t=95
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2008
  2. penney

    penney เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ตอนเด็กๆ ฟังหลวงพ่อเทศน์ทุกวันไม่เข้าใจ
    พอโตขึ้นมาศึกษาธรรมะ เริ่มเข้าใจมากขึ้น
    แต่ก็ยังไ่ม่หมด เพราะยังปัญญาน้อยอยู่

    เคยเข้าไปขอคำแนะนำจากหลวงพ่อสนองค่ะ
    ท่านให้คำแนะนำมาดีมาก ยังจำได้อยู่
    แต่ยังปฏิบัติได้ไม่ได้ เลยไม่กล้าเข้าไปขอคำแนะนำอีก
     
  3. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509

    ใกล้ชิดครูบาอาจารย์มาก ๆ ค่ะ อย่ากลัวที่จะเข้าหาอาจารย์ ถ้าเราเป็นศิษย์กลัวอาจารย์ เราจะไม่ได้ของดีกลับมา ผิดเป็นครู ไม่เข้าใจตรงไหนต้องถาม ครูคือคุรุ แปลว่า หนัก เป็นครูท่านหนักแน่นอยู่แล้ว เวลาศิษย์ข้องใจตรงไหน ท่านก็ตอบเสมอ มีแต่ศิษย์เท่านั้นไม่เข้าหาอาจารย์

    ______________________________________


    พุธธัง สรณัง คัจฉามิ

    ด้วยพระพุทธคุณ อันเลิศล้ำ

    ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ

    ด้วยพระธรรม ทรงสัจจะ อันสูงส่ง

    สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

    ด้วยอริยสงฆ์ทุกพระองค์

    จงดำรงในวิญญาณอย่าสร่างซา
     
  4. ปัทจัดตังค์

    ปัทจัดตังค์ Pattama Nitsaro

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2008
    โพสต์:
    329
    ค่าพลัง:
    +942
    ขอบคุณในคำสอนของท่านพระเดชพระคุณพระอาจารย์สนอง กตปุญโญ วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี ขออนุโมธนา สาธุค่ะ
    ขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่พยายามถอดเทป มาให้เราได้อ่านกันด้วยค่ะ
     
  5. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    แว๊ด ไม่ได้ถอดเทปมาค่า เดี๋ยวเข้าใจผิด คนที่ถอดเทปมาคืออาจารย์ของแว๊ด แล้วแว๊ดไปเอามาให้อ่านกันน่ะค่ะ เห็นดีมีประโยชน์

    ____________________________________________

    ธรรมบทสุดท้ายอันเป็นปัจฉิมวาจา...

    ภิกษุทั้งหลายบัดนี้เราจักเตือนเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปธรรมดา พวกเธอทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด.......


    ...หนฺททานิ ภิกฺขเว

    อามนฺตยามิโว วยธมฺมา สงฺขารา

    อปฺปมาเทน สมปาเทถา ติ...
     
  6. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,667
    ค่าพลัง:
    +9,239
    "ภาวนานี้คือการรู้จักใจตนเอง รู้จักตัดความโกรธ ความพยาบาท ตัดความโลภ หลง ทำให้ใจของเราสบายขึ้น"

    ขออนุโมทนาค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PIC_1519.JPG
      PIC_1519.JPG
      ขนาดไฟล์:
      984.4 KB
      เปิดดู:
      55
    • PIC_1486.JPG
      PIC_1486.JPG
      ขนาดไฟล์:
      628.3 KB
      เปิดดู:
      56
    • PIC_1406.JPG
      PIC_1406.JPG
      ขนาดไฟล์:
      756.8 KB
      เปิดดู:
      71
  7. penney

    penney เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เป็นนิสัยเสียส่วนตัวอย่างหนึ่งค่ะ
    คือถ้าสมมติว่า อาจารย์สอนอะไรมา แล้วทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำ
    จะไม่กล้าเข้าหาอาจารย์อีกค่ะ ละอายใจ อิอิ
    แต่ใช่ว่าจะทิ้งนะคะ แต่จะพยายามทำให้ได้ก่อน
    เพราะรู้สึกว่าที่ท่านสอนมาดีมาก เราต้องปฏิบัิติตามให้ได้ก่อน
    ถ้าทำไม่ได้ก็เหมือนเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ
    ถ้าไม่สำเร็จจะไม่ไปถามอีกอ่าค่ะ และก็ช่วงนี้ก็ไม่ค่อยได้เข้าไป
    บางทีไปก็ไม่เจอท่าน ไม่อยากรบกวนท่านด้วยค่ะ
    ตอนนี้ก็ได้แต่อานาปนสติ พยายามทำทุกวัน แค่นี้พอ
    ถ้ามีอะไรดีขี้น ก็จะเข้าไปถามขอคำแนะนำจากท่านใหม่ค่ะ
     
  8. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509

    สู้ ๆ ค่ะ แว๊ดเอาใจช่วย บางทีแว๊ดท้อ ๆ แว๊ดก็ตะโกนในใจตัวเอง (ขออนุญาติใช้คำไม่สุภาพหน่อยนะคะ) สู้ ๆ โว้ย ( สู้กับนิวรณ์ สู้กับกิเลสน่ะค่ะ อิอิ) ขอให้เจริญในธรรมค่ะ

    _________________________________


    ปากอย่าไว ใจอย่าเบา เรื่องเก่าอย่าไปรื้อฟื้น

    เรื่องอื่นอย่าไปคิด กิจที่ชอบในปัจจุบันให้รีบทำ

    (หลวงพ่อจรัญฯ)

     
  9. pop024

    pop024 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +529
    อนุโมทนาครับ

    จะพยายามทำ 3 สิ่งที่ควรหมั่นปฏิบัติอย่าให้ขาดในการเกิดมาชาติหนึ่งๆ นั่นก็คือ

    ทาน ศีล ภาวนา ให้ครบถ้วนที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ

    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นนะครับ
     
  10. Nud

    Nud เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,020
    ค่าพลัง:
    +555
    อนุโมทนาสาธุค่ะ อยากฝึกนั่งสมาธิให้จิตใจสงบและไม่กลัวเหมือนคนอื่นๆเขาแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี ควรจะฝึกและปฏิบัติแบบไหนถึงจะทำให้การฝึกสำเร็จไปด้วยดีค่ะ ใครรู้กรุณาแนะนำด้วยค่ะ
     
  11. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ขอกล่าวสนับสนุนคุณ แว็ด ครับ ต้องไม่กลัวอาจารย์นะครับ ยิ่งกรณีของคุณ penny
    กล่าวเล่ามานี่ ยิ่งต้องตามดูให้ทันทีเดียว ไม่ใช่การกลับคุณธรรม หรือ การกลัวรบกวน
    เวลา มันดูคล้ายๆ แต่ไม่ใช่

    ขออนุญาติกล่าวตรงๆ ละกัน อ้อมๆ นี่ จะงงเอง คือ

    หากมี การตั้งเงื่อนไข ในการเข้าพบครูอาจารย์ขึ้นมา ถ้าไม่ใช่เหตุและผลความ
    จำเป็นทางกายภาพนี่ให้สังเกตุเลยว่ามาจาก นิวรณ์ หรือ กิเลส มันปรุงขึ้นมา

    อย่าง อติมานะ คือ การปรุงว่าตนนั้นมีคุณธรรมต่ำต้อยกว่าผู้สอน อันนี้ตั้งขึ้นมาแล้ว
    แล้วไปอิน ไปปรับใช้ ปรุงภพนักปฏิบัติที่ไม่ขอรบกวนอาจารย์นี่ชัดเลย ความเป็นจริง
    เรื่องคนทั่วไปมีคุณธรรมต่ำกว่าอาจารย์นั้นเป็นเรื่องจริงอยู่แล้ว แต่ถ้าไปเอามาเป็นสาระ
    ในการเข้าหา หรือกดข่มตัวเอง กดข่มกิเลสตัวเอง ก็เรียกว่าไปอินกับมัน เราไปหาสิครับ
    แต่พอรู้ว่าตนด้อยกว่าคุณก็แสดงกริยาเคารพก็จบแล้ว ไม่จำเป็นต้องเอามาเป็นเงื่อนไข
    ในการปฏิบัติ เพราะ

    มันจะทำให้คุณ แอบตั้งจุดสำเร็จ ซึ่งตรงนี้แหละครับ จุดปิดตายของนักปฏิบัติ เรียกว่า
    จะเกิด กุกกุจจะ ตามมา และ มานะ ที่เป็นรากใหญ่ของ อติมานะ เพิ่มพูลขึ้น จนภาวนา
    อย่างไรก็แอบสร้างผลสำเร็จไว้ล่วงหน้า หรือไม่ก็สลัดผลสำเร็จทิ้งโดยไม่รู้ก็มี ทั้งสอง
    อย่างคือหน้าที่ของ นิวรณ์ กุกกุจจะ ที่แอบจับมือกับ มานะ มาเล่นงานเรา
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    การภาวนานี้คือการรู้จักใจตน ผมเห็นด้วย แต่การรู้จักตัดความโกรธ ความพยาบาท ตัดความโลภ หลง ทำให้ใจของเราสบายขึ้น" ผมคิดว่าก็ใช่อยู่ แต่ก้อยู่ในสมถะ ยังไม่ยกเป็นวิปัสนา ซึ่งไม่ทำให้เรารู้จักใจตัวเองแต่เป็นการบังคับปิดเบาเอาไว้...หรือเปล่านะ
     
  13. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    อย่ามุ่งหวังความเที่ยงให้ปรากฏครับ

    เช่น อยากให้จิตเราสงบตลอด อยากให้เราทรงฌาณ

    แต่ให้ปฏิบัติเพื่อทำตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติแต่ละชนิดแต่ละขณะพอ

    คือ ให้เน้นเป็น ขณะ ขณะ ไป แทนการเน้นความเที่ยง

    ทำสมถะ สมาธิ ก็เพื่อให้จิตใจ สงบ ก็ทำให้เห็นผลเป็นขณะ ขณะ พอ ไม่ต้อง
    เที่ยง สงบทั้งวัน สงบทุกเวลาดั่งใจนึก(ทรงฌาณ - วสี)

    ทำวิปัสสนา ก็เพื่อให้รู้สึกตัว ก็ทำเป็น ขณะ ขณะ ไป อย่างไปรู้สึกตัวทั้งวัน มี
    สติทั้งวัน ไม่ไหล ไม่หลงเลย แบบนี้จะทำให้ฝืนธรรมชาติ และกลับกลายเป็น
    ทำ สมถะ ทั้งวันเสียอีก แทนที่จะทำวิปัสสนา

    เราทำ สมถะ สมาธิ ก็เพื่อให้ใจมันสงบเป็น ขณะ แล้ว ขณะที่ใจยังสงบอยู่
    เราก็เอาช่วงเวลานั้นมาตามรู้ตามดูจิตใจเราที่เปลี่ยนแปรไปเรื่อย ดูไปเรื่อยๆ
    หากจิตใจเราสงบนิ่ง เราจะตั้งมั่นในการเห็นจิตใจมันไหลไป แต่เราไม่อิน
    เช่น เห็นโกรธผุด แต่มือเราไม่ออกไปตบ จิตใจมันตั้งมั่นอยู่ในมโน ในใจ
    แค่นี้เราก็เห็นแล้วว่า ถ้าเราไม่ตบ เราก็ไม่ผิดศีล นี่ก็รักษาศีลได้แล้ว ภาวนา
    ก็ได้แล้วเพราะหยุดอยู่ที่รู้กิเลส เห็นกิเลส แล้ว กายกรรมไม่เกิด วจิกรรมไม่เกิด
    แล้วก็ได้ปัญญาไปในตัวว่า เราไม่ตกเป็นทาสของกิเลสก็ได้ โกรธครอบงำเรา
    ไม่ได้ แค่นี้เอง การแยก รูป+นาม ให้ห่างออกจากกัน โดยเราเป็นเพียงผู้รู้ ผู้ดู
    การปฏิบัติเจริญปัญญา(วิปัสสนา)ทำสำเร็จไปแล้ว 1 จุด หนึ่งรูป นาม แต่
    ปัญญาแบบนี้ยังไม่เที่ยง วันหลังมันเกิดอีก ก็ดูไปเลยครับว่า อืม มันไม่เที่ยง
    ก็ดูไปแบบนี้ เดี๋ยวก็ค่อยๆเห็นผลที่น่าชื่นใจเอง โดยไม่ต้องทำอะไร จงใจมาก
    เกินไป ไม่เพียร(เอาแต่ทำสมธิเพื่อตั้งมั่น) ไม่พัก(เอาแต่ไหลตามกิเลส)
    เพราะเราหยุดอยู่ที่ดู เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น
     
  14. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    แจ่มครับ

    ถ้ามองออกว่า สมถะ เป็นเรื่องการ ปิดบังเอาไว้ นี่แปลว่า เก่งมากๆ ตาธรรมเริ่มเปิดแล้ว

    แต่ สมถะ มันก็มีประโยชน์นะครับ เพียงแต่อย่าทำมากเกินไปเท่านั้นเอง เพราะ สมถะ นี่
    เขามีคุณในเรื่องให้ผลเป็นวิบาก คือ การมีสุข จิตใจที่มีสุขมันจะทำให้ตั้งมั่นได้ดี แต่ถ้า
    ดูราคะมันแทรกไม่ทัน จะกลายเป็นพวกติดสุข ติดเฉย ติดรสชาติวิบากที่ได้จากการทำสมาธิ
    แล้วไปเห็นว่า มันกำจัดกิเลสได้ จะเข้าใจผิดทันที จะถูกปิดบังทันที เพราะราคะมันแทรก

    จะเห็นว่า ผลร้ายจากสมาธิไม่มี ที่มันมีเพราะดู ราคะ ที่แทรกหลังภาวะสุขเสมอๆ ไม่ทัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2008
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    สมาธิควรแยกให้ออกกับระหว่าง สมถะ และวิปัสนา เมื่อศึกษาเข้าใจถึงสมถะและวิปัสนาแล้ว จะเข้าใจว่า ยิ่งทำจะไม่ได้ธรรม พอหยุดทำกลับได้ธรรม
     
  16. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509

    เข้าไปในเวปไซด์ หลวงพ่อจรัญฯ เลยค่ะ เข้าไปในหน้า เสวนาชาวพุทธ ติดต่อกับเวปมาสเตอร์นะคะ จากนั้นเวปมาสเตอร์จะแนะนำอาจารย์สอนค่ะ

    http://www.jarun.org/v6/th/home.html

    หรือเวปนี้ มีปัญหาสงสัยถามพระอาจารย์สายัณห์ ท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อจรัญฯ ค่ะ คลิกที่ห้องสนทนาภาษาธรรม

    http://www.dhammasatta.com/th/

    ________________________________


    ขอทุกชีวิต เจ็บปวด จงปราศสิ้น


    ขอทุกชีวิน เจ็บไข้ จงห่างหาย


    ขอสรรพสัตว์ จงสุข ไร้อันตราย


    ข้าพเจ้า น้อมกาย รับไว้เอง

    (พระโพธิสัตว์ ทรงอธิษฐานเพื่อหมู่สัตว์)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2008
  17. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    สมาธิมี2อย่าง 1.สมาธิที่ถูกต้อง 2. สมาธิที่ไม่ถูกต้อง
    สมาธิที่ถูกต้องประกอบด้วย สมาธิที่ประกอบด้วยกุศล สมาธิที่ไม่ถูกต้องคือสมาธิที่ประกอบด้วยอกุศล ส่วนสมาธิที่ทำให้รู้แจ้งคือสมาธิที่ประกอบด้วยปัญญา..สมาธิที่จะเกิดด้วยปัญญาแต่ก็ต้องอาศัยสมาธิที่ประกอบด้วยกุศลเป็นที่ตั้ง....หรือเปล่านะ เวลาเราอยู่ในที่มืดกับที่สว่างเลือกเอาว่าที่มืดหรือที่สว่างที่เราจะเห็นทางออกได้ฉันใดสมาธิก็เป็นได้ฉันนั้น
     
  18. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    อ้าว มีคำว่า หรือเปล่านะ อีกและ

    ถ้ามีคำนี้ ก็ขออนุญาตินะครับ ที่จะกล่าวธรรมเสริม

    สมาธิ นั้น เป็นเจตสิกฝ่ายกลางๆ มีคุณในแง่ช่วยเสริมความตั้งมั่นของจิต

    เราจะทำวิปัสสนา เจริญปัญญา ก็ต้องใช้ สมาธิ มาช่วย แถมตอนเกิดมรรคผล ก็ต้อง
    ใช้สมาธิมาสมัปยุตกับปัญญาเพื่อให้รองรับการเกิด มรรคผล มรรคจิต อีก

    แต่เราจะทำชั่วสักอย่างหนึ่ง เราก็ต้องใช้ สมาธิ เช่นกัน เช่นจะยิงใครให้ตายสักคน
    หนึ่งก็ต้องใช้สมาธิเพ่งแบบว่า ทิพยจักขุ เล็งไปในเป้าอันไกลให้เหมือนใกล้ เป้าอัน
    เล็กให้เหมือนใหญ่ แค่นี้ก็ยิงตัดขั้วหัวใจได้

    ดังนั้น ลำพัง ตัวสมาธิ มีก็เพื่อการสาธารณะ ให้ผลกับกิจการงานใดก็ได้ หากนั่งสมาธิ
    แน่วแน่ก่อนออกไปยิงใคร มันก็เป็นเรื่องของการมีสมาธิ แต่หากนั่งสมาธิแล้วเอามาดู
    รูปนาม เอามาแยกรูปนาม แบบนี้สมาธิจะมีประโยชน์ในด้านเข้าใจโลก คำว่า โลก ใน
    ทางบาลี ก็คือคำว่า รูปนาม แต่เป็น Super Set

    การทำสมาธิอย่างเดียวเพื่ออภิญญาต่างๆ แล้วเข้าใจว่าเป็นกุศล เป็นสัมมาสมาธิ ก็คลาด
    ธรรมไปมากทีเดียว

    สัมมาสมาธินั้น จริงๆแล้ว เป็น สมาธิในองค์มรรค ซึ่ง มรรค นั้นก็คือ มรรคจิต และ
    มรรคจิต ก็เป็นเรื่องของการที่จิตกำลังตัดเข้ามรรคผล สัมมาสมาธิจึงไม่ใช่สมาธิที่
    นั่งทำเอาในแต่ละวัน สมาธิแบบที่ทำในแต่ละวันคือ สาธารณะสมาธิ ทีทำไปแล้วเอา
    ไปช่วยกิจการงานใดก็ได้ ตามที่กล่าวไปแล้ว จะเอาไปทำไสยก็ใช้สมาธิสาธารณะที่
    ทำเอาทุกวันเหมือนกัน

    สัมมาสมาธิ จึง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตอนที่ ทำวิปัสสนาจนเกือบถึงที่สุดแล้ว กำลังจะโอนข้าม
    โคตรจากปุถุชนเป็นอริยะ สัมมาสมาธิที่อยู่ในมรรค8 จะประชุมขึ้นในช่วงต่อ หรือ ขณะ
    จิตนั้น คำว่า สัมมาสมาธิที่ใช้ในการเจริญภาวนาแบบวันๆ จึงเป็นการใช้อย่างอนุโลม เพื่อ
    กำลังใจของนักปฏิบัติ

    สมาธิจึงมีอย่างเดียวในแง่ของคุณ คือ ช่วยกดข่มกิเลศ นิวรณ์ ยังกิจให้สำเร็จ เป็นกำลังใจ

    แต่การเอา สมาธิไปใช้ มีสองอย่างคือ 1.ทางที่ถูก 2.ทางที่ผิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2008
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ตั้งกระทู้ตรงไหนครับ ใครรู้ช่วยบอกด้วยครับ
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    กอเอ่ยกอไก่ ขอไข่ในเล้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...