พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ทีนี้ลองมาดูพระอุปคุต ที่หลวงพ่อฤาษีฯ ท่านเล่าเอาไว้


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>พระยามาราธิราช (VS พระอุปคุต)

    วันที่ไปเยี่ยมจาตุมหาราชที่เล่ามาแล้วนั้น ก็เลยไปดาวดึงส์ ไปยามาแล้วก็ดุสิต ที่ชั้นดุสิตหลวงพ่อปานมารับ ก็กราบๆ ท่าน ท่านถามว่า เออ อยากพบพระศรีอาริย์ไหมล่ะ ตอบว่า อยากจะ เจอะ จะเจอะ ยังไงได้ล่ะ ท่านบอกว่า ไม่ต้องไปหรอก ท่านมาแล้ว สวย ดุสิตนี่สวยจริง ๆ ยามาน่ะ เขาขาวพรึ่ดหมด ต้นไม้น่ะมีแค่ ดาวดึงส์แห่งเดียวนะ เทวดานักฟ้อนก็มีแต่ดาวดึงส์แห่งเดียวเพราะว่า เป็นเมืองหลวง ชั้นยามาสวดมนต์ ตะพึด ดุสิตสวยสดงดงาม ไปถึงชั้นนิมมานรดี เทวดาที่ทำหน้าที่นิรมิตต่างๆเป็นชั้นที่ 5 ที่ว่า "ชั้น"น่ะไม่ใช่เป็นชั้นซ้อนๆ กันนะ เป็นพื้นเดียวอย่างโลกเรานี่แหละ แบ่งเป็นเขตเท่านั้นเองแต่เป็นทิพย์ ไปถึงแวะ เยี่ยมท่านแก้วจินดาก่อน ท่านแก้วจินดา ท่านก็มาด๊งเด๊ง ๆ ตามมสภาพของท่าน องค์นี้เคยทะเลาะกันมาเรื่อย

    ท่านถามว่ามาไงล่ะ ตอบว่า มาเที่ยวซี
    ถามท่านว่า เออ วิมาน พระยามาราธิราช อยู่ไหน หัวเราะก้ากเลย บอกว่า พระโง่ยังงี้ก็มีด้วย
    ถามว่าทำไมล่ะ ตอบว่า ที่นี่เขาเรียก ท้าวมาลัย ครับ ที่นี่ไม่มีพระยามาราธิราชหรอก มีแต่สมัยพระพุทธเจ้า

    ชื่อแกจริงๆ ชื่อ ท้าวมาลัย เป็นหัวหน้าเทวดาชั้น ที่ 6 เป็นผู้ว่าการ ก็เลยไปหากัน ท่านก็ออกมารับแหม สวยแฉ่งเลย รัศมีกายผ่องใส มารับที่เขตวิมานเชียวนะ ที่ไปกันตอนนี้สมทบกันไปหลายชั้น จำนวนมันก็ หลายหมื่นซี ท่านเชิญเข้าไป ไอ้หน้ามุขมันนิดเดียวแหละถามท่านว่า ขึ้นหมดรึนี่ ท่านตอบว่า ไม่เป็นไร หรอก วิมานเทวดายืดได้ แน่ะ เก่งเสียด้วย ไม่เหมือนเมืองมนุษย์หรอก ตั้งแค่ไหนก็แค่นั้น มองดูกะว่า จุสัก 200 ก็แย่แล้ว แต่เราเข้าไป เป็นหมื่นยังเต็มไม่ถึงครึ่ง คุยไปคุยมา

    ถามท่านว่า ทำไมถึงไปลิดรอนพระพุทธเจ้า ตอบว่า ปัดโธ่ ท่านไม่รู้จักความโง่ของผม
    ถามว่า ทำไมล่ะ ตอบว่า ผมกลัวพระพุทธเจ้าจะเทศน์สอนเอาคนไปนิพพานเสียหมด พอเวลาผมเป็นพระพุทธเจ้าบ้างแล้ว ผมจะสอนใครล่ะ

    เราก็นึกในใจว่า โธ่ ไม่น่าโง่เลย จะขนไปยังไงหมด ถามท่านว่า เวลานี้ยังเป็น พระยามาร ไหม ท่านตอบ ไม่ ๆ ๆ ๆ พวกท่านมีหลายคน แหม เขากลัวพระยามารกันจริง ๆ ก็ไอ้มารอยู่ในตัวเองน่ะไม่ยักกลัว พระยามารนี้เวลานี้ช่วยชาวบ้าน พวกพุทธมามกะทุกคน พระยามารต้องบังคับให้ลูกน้องไปช่วยเหลือ คือ ที่ประคับประคอง พวกเรานี่แหละ จะเรียกว่า พระยามาร ไม่ได้แล้วนะ ต้องเรียกว่า ท้าวมาลัย

    ทีนี้ย้อนมาตอนต้น ตามตำนานที่พระพุทธเจ้าตรัส มีคนถามว่า ทำไม่ท่านไม่ทรมานพระยามาราธิราชล่ะ ท่านตอบว่า ไม่ใช่คู่ปรับกัน พระยามารนี่จองขัดคอ ให้ปั่นป่วนนิดหน่อย ไม่จองเวรแรงขนาดเทวทัต เมื่อสมัยนั้น ท่านเป็นคนเลี้ยงม้าด้วยกันทั้งคู่ จะม้าแข่งหรือเปล่าก็ไม่รู้ซี ท่านไปเกี่ยวหญ้าม้ากัน เกี่ยวไปก็แยก งกันไปที ทีนี้ก็มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เสด็จจาก ภูเขาคันธมาส กุฏิของท่าน มันไม่ค่อยดี ท่านต้องการ ต้นหญ้านี่ ไปผสมกับดินทาฝา เพราะพระจะเกี่ยวหญ้าเองก็ไม่ควร เมื่อเห็นสองคนนี้เกี่ยวหญ้า ท่านก็เหาะลงมายืนเฉย พระพุทธเจ้าของเรา ก็นึกในใจว่า เราเอาของเราถวายท่าน ก็เป็นการสมควร อยากจะเอาของเพื่อนถวายบ้างสักก้อนหนึ่ง แต่ถ้าเพื่อนกลับมาแล้วแสดงความไม่พอใจ ก็จะมีโทษมาก เพราะพระพุทธเจ้า เป็นพระที่มีบุญหนัก ก็เลยไม่ได้ถวายไป พอตอนเย็นกลับมารวมกัน ขนหญ้าขึ้นเกวียน ท่านก็เล่าเรื่องให้ฟัง เท่านั้นแหละแกโกรธหาว่า กลัวจะดีเท่าเทียม เอาละ ท่านไปไหนก็ตาม เราจะตามไปขัดคอ แต่ทุกชาติไม่ได้ขัด มาขัดเอาชาติสุดท้าย เมื่อ ระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยออกมหาภิเนษกรมณ์ เห็นท่าไม่เป็นเรื่องแล้ว สิทธัตถะนี้ไปแน่ กูไม่ทันนี่หว่า แล้วก็มาขัดคอ ต่าง ๆ อย่างที่ทราบ กันดีอยู่แล้ว

    มาในระยะหลังๆที่พระเจ้าอโศกมหาราช จะฉลองพระศาสนา อีตอนนั้นซี พระอุปคุต ท่านไปคุดอยู่กลาง มหาสมุทร บรรดาพระทั้งหลายนั่งประชุมกันว่า พระเจ้าอโศกมหาราช จะฉลองพระศาสนา เจ็ดปี เจ็ดเดือน เจ็ดวัน คราวนี้ ยังไง ๆ พระยามารต้องเล่นงานแน่ แล้วเราจะมีใครป้องกันได้บ้าง พระอรหันต์ตั้งสองแสนองค์ ปฏิสัมภิทาญาณก็มีอภิญญาก็มี ไม่มีใครสู้พระยามารได้หรือ ? สู้ได้ ไม่ใช่สู้ไม่ได้ แต่ทุกองค์บอกว่า ไม่ใช่หน้าที่ของเรา

    ทีนี้ในการประชุมคราวนั้น พญานาค ขึ้นมาฟังด้วย พอดี พญาครุฑ บินมาในอากาศเห็นเข้าก็จะ ฉะพญานาคละซี ปฏิปักษ์กันนี่ โฉบลงมา พญานาควิ่งพรวดเข้าไปกลางวงพระ พระทั้งหลายตกตะลึง บอกว่าเณร ช่วยพญานาคเดี๋ยวนี้ เณรแกอายุ 7 ปีเท่านั้น เป็นพระอนาคามีได้อภิญญา พอท่านสั่ง เณรก็ยิ้ม เข้ามา วาโยกสิณ เอาลมหอบพยาครุฑไปเสียไกล พระได้ท่า บอกว่า เณรฉันบอกให้แกช่วยพญานาค แกยิ้มนั่นยิ้มเยาะพระ นี่ต้องลงทัณฑกรรม นั่น แน่ ไม่ใช่เล่น หาเรื่องคน เป็นที่หนึ่ง เณรก็ยอม แล้วแต่พระคุณเจ้าจะ ลงทัณฑ์ ท่านก็สั่งว่า ถ้าอย่างนั้นเธอจงลงไปตาม อุปคุต มานั่น ตอนแรกปรึกษากันว่า ใครจะเป็นคน ไปนิมนต์พระอุปคุต ที่จำพรรษาอยู่กลางทะเล พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า มีอุปคุตคนเดียวเท่านั้น ที่เป็นคู่ ปรับพระยามาธิราช ปราบให้แพ้น่ะได้ แต่คู่ปรับนี้ ต้องปราบ ให้แพ้ด้วย แล้วทำให้ เลื่อมใส กลับเป็นคนดีด้วย ความประสงค์เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้า ท่านจะปราบก็ปราบได้ แต่ท่านไม่สามารถทำให้ พระยามาร เป็นคนดีได้ ตอนก่อนจะนิพพาน ท่านจึงบอกไว้ว่า พระยามาราธิราชนี้มีคู่ทรมานเป็นพระอรหันต์ เบื้องหลัง เมื่อเรานิพพานไปแล้ว 200 ปี มีนามว่า อุปคุตพอพระอุปคุตมาถึง พระทั้งหลายก็ว่า นี่อุปคุตเป็นอรหันต์แล้ว หาความสุขแต่ผู้เดียว ไม่ช่วยกันบำรุง พระพุทธศาสนา ไปเข้านิโรธสมาบัติ อยู่กลางทะเลอย่างนี้ ต้องถูกลงทัณฑกรรม เอาอีกแล้ว ทัณฑกรรมเฟ้อจริง ๆ พระอุปคุตก็ยอมรับว่า ไม่เป็นไรครับ เอาไงก็ว่ามาเถอะ เลยได้รับมอบหมายให้ต่อต้าน พระยามาราธิราช ในอีก 7 วันข้างหน้า พระอุปคุตก็ยอม แต่ขอกินข้าวให้อ้วนเสียก่อน ไม่อ้วนนี่ ท่าจะไม่เป็นเรื่อง เอา 7 วันก็พอ ตอนเช้าท่านก็เดินย่องแย่งเป็นขี้ยาเข้ามาในเมือง มีคนเขาบอกว่า นี่องค์นี้แหละที่เขาไป ตามมาต่อต้านพระยามาร พระเจ้าอโศกมหาราช ว่า โถ ! พระขี้ยาผอม เหลือแต่กระดูกยังงี้หรือ จะไปต่อต้านพระยามาราธิราช ไม่ได้ต้องลอง เลยเอาช้างพระที่นั่ง ตัวดุที่ตกมัน มายืนดักข้างทาง พอพระอุปคุต คล้อยหลังก็ไสช้างไล่แทงเลย พระอุปคุตได้ยินเสียงข้างหลัง เอ๊ะ อะไรกันแน่ เห็นช้างวิ่งเข้ามาใกล้ท่านก็ เอานิ้วจิ้มปั๊บ บอกว่า "หยุด" ช้างกันจ้ำเบ้าเลย นั่งเหมือนกะ หินอยู่ตรงนั้น จะขี้แตก ด้วยหรือเปล่าจำไม่ได้ พระเจ้าอโศกมหาราชเลยบอกว่า ไม่ต้องไป บิณฑบาตหรอก แล้วท่านก็เอามาเลี้ยงเสียอ้วนปี๋เลย

    ทีนี้พอวันเริ่มต้นงาน พระยามารก็แสดงเดช ทำมืดครึ้ม ไม่ให้เห็นแสงอาทิตย์เลย พระทั้งหลายก็เตือนว่า นั่นไง ท่านอุปคุต พระยามารแสดงแล้ว ท่านบอกว่า ไม่เป็นไรเรื่องเล็กพอแต่งตัวรัดประคดเรียบร้อย ก็ไปหาพระยามาร บอกว่า คลายฤทธิ์เดี๋ยวนี้นะ ถ้าไม่คลายเป็นพัง เราอุปคุต พระยามารได้ยินก็ชักขนลุกซู่ ๆ รู้ฤทธิ์ รู้เดช ฉะกันมาหลายชาติแล้ว ตาเขาก็หนึ่ง ในตองอูเหมือนกัน เอ้า เก่งจริง ก็เชิญเลย นี่พระยามาราธิราชไม่เคยกลัวใคร แม้แต่ พระสมณโคดม ก็ยังไม่กลัว เลยสู้กัน ความจริง เอาเสียที่เดียว ก็ได้เหนือ ชั้นกว่ามาก ล่อกันไปล่อกันมา ท่านอุปคุต ท่านขี้เกียจขึ้นมา ก็จับเอามือไพล่หลัง อธิษฐาน ให้แก้ไม่ออก ไม่ใช่แต่เท่านั้น อธิษฐานเอาหมาเน่ามาผูกคอเสียอีกด้วย พระยามาราธิราชแกก็เทวดาองค์หนึ่งเทวดา นี่แต่กลิ่นคนเขาก็เหม็นเสียแล้ว โดนหมาเน่าเข้าวิ่งโร่ไปหาพระอินทร์เจ้านายใหญ่ พระอินทร์บอกว่า อ้าว ทำไมไปเล่นกับพระอุปคุตเล่า เขาจะทำบุญพระศาสนากันดันไปแกล้งเขา ใครจะไปมีฤทธิ์เท่าพระอรหันต์ ได้ไม่มี มีทางเดียวท่านไปขอขมาท่านอุปคุตเสีย แล้วสัญญาว่า จะไม่ทำพยศอีก พระอุปคุตก็จะอภัยแก่ เธอ ท่านก็จำเป็นจำยอมไปขอโทษขอโพย พระอุปคุตถามว่า ยังไง สิ้นฤทธิ์แล้วรึ ? แกบอกว่า ยอมๆ ยอม ทุกอย่าง ต่อไปไม่แกล้งอีกแล้ว พระอุปคุต ก็แก้หมาเน่า แก้มัดมือออก แต่ยังเอารัดประคต ผูกเข้าไว้ กับ เขาพระสุเมรุเสียอีกหลายเปลาะ ปล่อยพระยามารดิ้นด็อกแด็กอยู่ 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ดิ้นเสียเขาพระสุเมรุ หวั่นไหว ดาวดึงส์ สะเทือนไปหมด

    พอพระเจ้าอโศกมหาราช ฉลองศาสนาเสร็จ ไปถึง พระยามาร ก็บ่นว่า โธ่เอ๋ย พระสมณโคดม ท่านก็ใจดี นะ แต่สาวกนี่แหมใจร้ายเต็มที ท่านอุปคุตไปถึงก็ต่อว่า สาวกสมัยก่อน อย่างพระโมคคัลนา พระสารีบุตร พระบิณโฑลภารทวาชะ ใคร ๆ ก็มีฤทธิ์ มากกว่าท่านเสียอีก แต่ไม่ใจร้าย มีท่านคนเดียว ใจร้ายกับเรา ท่านอุปคุตก็โต้ว่า รู้แล้วไม่ใช่หรือ พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ท่านกับเราเท่านั้น ที่เป็นคู่ปรับกัน ความจริงแล้ว ท่านผู้มีฤทธิ์ ทั้งหมดน่ะ ตัวท่านสู้ไม่ได้หรอก ไม่มีทางสู้ เวลานี้ แม้แต่เณร 7 ขวบ ที่ไปตามเรา ท่านก็สู้ไม่ได้ แต่ที่ท่านทั้งหลายไม่ทำ ก็เพราะไม่ใช่หน้าที่ของท่าน แต่เป็นหน้าที่ของเราผลที่สุดพระอุปคุตท่านก็ปล่อย แต่บอกว่า ก่อนปล่อย ต้องสัญญากับเราก่อนว่า จะไม่รบกวน บรรดาภิกษุ ภิกษุณี อุบาสิกา ผู้ปรารถนาในธรรม ถ้ารบกวนเมื่อไรโทษจะหนักกว่านี้หลายพันเท่า พระยามารก็บอกว่าไม่เอาแล้ว ไอ้ 7 ปี 7 เดือน 7 วัน นี่ก็พอแล้ว
    พระอุปคุตท่าน ก็ขอร้องให้พระยามาร แสดงเป็นรูปพระพุทธเจ้า สมัยยังทรงพระชนม์อยู่ให้ดู พระยามาร ตอบว่า ได้ ๆ ๆ เรื่องเล็ก แต่สัญญากันก่อนนะ จะไหว้ผมไม่ได้ นะห้ามไหว้ โดยเฉพาะ พวกท่าน เป็นอรหันต์ เป็นพระอริยะ มาไหว้ผมละ ไม่เป็นเรื่องหรอก พระอุปคุต ก็ตกลง พระยามาราธิราช บอกว่า ผมจะ เดินไปทางหลังเขา ถ้าออกมา ห้ามไหว้เด็ดขาดนะ เพราะ บาปจะตกอยู่กับผม พอพระยามาร ไปหลังเขา พระอุปคุต ก็ให้สัญญาณ เรียกพระอรหันต์มาทั้ง 2 แสนรูป สักครู่หนึ่ง พระยามารก็ออก เป็นพระพุทธเจ้า มีฉัพพรรณรังสี รัศมี สว่างไสว สวยสด งดงามมาก มี พระโมคคัลลา พระสารีบุตร อยู่เบื้อง ซ้าย ขวา ครบ เครื่องมาเลย พระทั้งหมด ลืมสัญญา ลุกขึ้นกราบพร้อมกัน กราบพระพุทธเจ้า พระยามารรีบคลายตัว ทันทีบอกว่า ท่านทำไมทำยังงี้ เป็นโทษกับผม ท่านอุปคุตก็บอกว่า ท่านไม่ต้องวิตก เพราะว่า การกราบนี้เขา ไม่ได้กราบท่าน เขากราบพระพุทธเจ้า โทษของท่านไม่มี พระยามาราธิราชก็บอกว่า ถ้าอย่างนั้น ขอพระคุณเจ้าทั้งหมดงดโทษให้ผมด้วย พร้อมด้วยพระรัตนตรัย เพราะว่า ผมเอง ก็ปรารถนาพุทธภูมิ แล้วท่าน ก็กลับไป เรื่องก็จบลงแต่เพียงนี้

    จากhttp://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14589&sid=4ec5e2bac75eae0d8e4e9518a589ce92

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ผมมาคิดดูเอาอย่างง่ายๆ เป็นการเสนอความคิดจากข้อมูลเพียง 2 แหล่งข้างบนนะครับ ว่า
    การสังคายนาครั้งที่ 3 และการสร้างเจดีย์จำนวนมาก(ในความเชื่อชาวมอญ) ก็คงจะอยู่ในงานฉลองพระศาสนา 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านได้เล่า

    ต่อไปก็เป็นประวัติ พระอุปคุต จากหนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ (http://www.dhammathai.org/buddhism/chapter04_3.php)
    พระอุปคุตต์เถระ (Upaguptathera)

    ท่านเกิดในตระกูลพ่อค้าเครื่องหอมชาวเมืองมถุรา นครนี้ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยมุนา (ใกล้เมืองหลวงเดลลีปัจจุบัน) มีพี่น้อง ๓ คน ท่านเป็นคนหนึ่งในบุตร ๓ คน บิดาได้สัญญากับพระญาณวาสีว่าถ้าได้บุตรชายจะให้บวชแต่เมื่อได้มา ๓ คน ก็ยังไม่ได้ถวายพระเถระแต่อย่างใด โดยอ้างว่าจะให้เป็นผู้ค้าขายของที่ร้านแทน เมื่อหนุ่มพระเถระจึงไปแสดงตัว ขณะที่อุปคุตต์หนุ่มกำลังสาละวนอยู่กับการขายของที่ร้าน ด้วยเทศนาของพระเถระจึงได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วขออนุญาตอุปสมบทในพุทธศาสนา
    ช่วงแรกบิดายังอิดออด พระเถระจึงต้องทวงสัญญาบิดาจึงอนุญาต เมื่อได้อุปสมบทแล้วเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานจนได้บรรลุพระอรหัต ต่อมาท่านเป็นวิปัสสนาจารย์ที่ชำนาญ กล่าวกันว่าท่านมีศิษย์ศึกษากัมมัฏฐานด้วยถึง ๑๘,๐๐๐ องค์ ทุกองค์ล้วนเป็นพระอรหันต์ ท่านจำพรรษาที่วัดนัตภัตการาม ภูเขาอุรุมนท์ ต่อมาพระเจ้าอโศกได้อาราธนามาจำพรรษาที่วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร ท่านเป็นผู้พาพระเจ้าอโศกเสด็จกราบสังเวชนียสถานทั่วอินเดีย และสร้างเสาหินปักไว้เป็นหลักฐาน
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ไม่มีขายตามท้องตลาด และปัจจุบันหนังสือหมดแล้วครับ
    เนื้อหาจะไม่เหมือนกับทั้ง 2 เล่มที่คุณnanodent บอกมา
    ในหนังสือของท่านอาจารย์ประถม จะอธิบายตั้งแต่มวลสารและสิ่งที่เกี่ยวข้องมีอะไร พระราชพิธีพุทธาภิเษกทำกันอย่างไร พระสมเด็จเป็นอย่างไร ฯลฯ

    เมื่อก่อนผมเคยนำมามอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 50,000 บาท แต่ปัจจุบันผมยุติไปแล้วครับ ผมเองยังเหลืออยู่เพียง 3 เล่มเท่านั้น และคงไม่ขายให้ใครทั้งสิ้น ผมว่าจะไปที่หอสมุดแห่งชาติ จะไปดูที่ท่านอาจารย์ประถม มอบให้หอสมุดแห่งชาติไว้ 2 เล่ม ได้ยินว่าถูกฉีกไปเยอะแล้ว ถ้าผมมีเวลาว่าจะนำไปมอบให้ที่หอสมุดแห่งชาติสัก 1 เล่ม

    ตอนนี้ลองไปหาอ่านดูที่หอสมุดแห่งชาตินะครับ แต่หน้าที่มีรูปพระพิมพ์อาจจะหายไปหลายหน้า เนื้อหาน่าจะยังคงอ่านได้อยู่ครับ

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    แต่หนังสือจะเป็นความรู้พื้นฐานนะครับ

    ต้องมีผู้ที่ตรวจสอบพลังอิทธิคุณเป็น ไม่ใช่เพียงตรวจอิทธิคุณได้ ต้องตรวจทั้ง "รูป" เนื้อหาทรงพิมพ์ และ "นาม" พลังอิทธิคุณขององค์ผู้อธิษฐานจิต

    เรื่องการตรวจอิทธิคุณเป็นหรือตรวจอิทธิคุณได้ เป็นอย่างไร ลองหาอ่านในกระทู้พระวังหน้าฯ ผมเองอธิบายหลายครั้งอยู่เหมือนกันครับ

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วิธีใช้โทรศัพท์ อย่างปลอดภัย ขณะขับรถ

    http://hilight.kapook.com/view/26683

    [​IMG]

    1. การใช้อุปกรณ์เสริม Bluetooth Headset

    เป็นวิธีการที่ง่ายและถูกที่สุด อุปกรณ์บลูทูธใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ราคาไม่แพง และสามารถวางโทรศัพท์มือถือไว้ที่ใดก็ได้ขณะคุย แต่มีข้อจำกัด คือ คุณภาพของสัญญาณโทรศัพท์ที่ยังไม่ค่อยดีเท่าที่ควรเพราะหากขับรถด้วยความเร็วสูง จนเกิดเสียงดังมากขึ้นจากลมและเครื่องยนต์ จะทำให้กลบเสียงโทรศัพท์ขณะพูดคุยได้ ​

    นอกจากนี้ การใช้บลูทุธยังมีข้อจำกัดอื่นๆ อีก ดังนี้

     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE height=34 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-LEFT: 10px">
    พศ.สั่งสอบ 'ถังสังฆทาน' ทั่วประเทศ


    [17 ก.ค. 51 - 04:18]


    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>พระเทพปริยัติเมธี เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์ เปิดเผยว่า ช่วงวันเข้าพรรษานี้ วัดมีพุทธศาสนิกชนมาทำบุญถวายสังฆทานเป็นจำนวนมาก ซึ่งสังฆทาน บางชุดพบว่า ผ้าอาบน้ำฝนไม่ได้มาตรฐาน

    พระไม่สามารถนำไปใช้งานได้ โดยเฉพาะ การนุ่งอาบน้ำ เนื่องจากเมื่อแกะออกจากห่อ บางผืนมีลักษณะคล้ายกับผ้าเช็ดหน้า เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถ้าพระรูปใดตัวใหญ่ก็ไม่สามารถนุ่งได้ หรือแม้แต่จะพันให้รอบตัวยังทำไม่ได้เลย ทำให้เสียไปโดยเปล่าประโยชน์


    “ผู้ประกอบการบางกลุ่มฉวยโอกาสนำสิ่งของที่ใช้ไม่ได้มาขาย บางครั้งรู้ แต่ก็แกล้งทำไม่รู้ พระก็นำมาใช้งานไม่ได้ จึงอยากฝากถึงพุทธศาสนิกชนว่า เวลาจะซื้อผ้าอาบน้ำฝนถวายพระให้แกะออกมาดูเสียก่อน รวมทั้งเวลาจะนำของมาถวายวัด ให้ถามพระตรงๆไปว่า วัดยังขาดอะไรจะได้นำของมาถวายได้ตรงตามวัตถุประสงค์” พระเทพปริยัติเมธี กล่าว


    [​IMG]

    พระเมธีปริยัตโยดม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสร้อยทอง กล่าวว่า ถังสังฆทานที่พุทธศาสนิกชนนำมาถวาย โดยเฉพาะผ้าอาบน้ำฝน ใช้ไม่ได้ถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นผ้าบางๆ หรือมีขนาดเล็ก บางครั้งสีไม่ตรงกับนิกาย ส่วนสิ่งของในถังบางอย่าง อาทิ น้ำ กล่องชา

    จะมีกลิ่นของผงซักฟอก และสบู่ลงไปปะปน เนื่องจากจัดไว้นาน ทำให้สิ่งของไม่ได้ใช้ประโยชน์ อีกทั้งยัดกระดาษใต้ถังไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้ดูว่ามีสิ่งของเยอะและคิดราคาที่แพงด้วย ทั้งนี้ ขอแนะนำว่า ถ้าจะนำสิ่งของมาถวายพระ ควรจัดเองและ ดูว่าพระจำเป็นจะต้องใช้อะไรจะดีกว่า

    ด้านนายอำนาจ บัวศิริ ผอ.สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม กล่าวว่า ได้ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดทั่วประเทศช่วยตรวจสอบถังสังฆทานที่ไม่มีคุณภาพแล้ว และถ้าพุทธศาสนิกชนพบเห็นสังฆทานที่ไม่มีคุณภาพ ให้แจ้งมายังสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.thairath.co.th/news.php?s...&content=97303

    ********************************************

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>สคบ.เข้มประสานผู้ว่าฯ ตรวจถังสังฆทานหวั่นบรรจุสินค้าหมดอายุ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>19 กรกฎาคม 2551 12:30 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>สคบ.เข้ม!! ประสานงานผุ้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้ออกตรวจตราถังสังฆทาน หวั่นบรรจุสินค้าหมดอายุ หรือเอาเปรียบผู้บริโภค ใส่ของไม่ครบตามที่เขียนไว้ในฉลาก วอนประชาชนซื้อสินค้ามาบรรจุเองเพื่อความสบายใจ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=200>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>นางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยถึง กรณีที่พระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กัลยาโณ) ออกมาเตือนพุทธศาสนิกชนให้ระมัดระวังการนำสิ่งของที่อยู่ในถังสังฆทานหมดอายุไปถวายพระในช่วงเข้าพรรษา ว่า สคบ.ได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศแล้วเพื่อขอให้ออกตรวจสอบถังสังฆทาน อย่างละเอียด เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยสคบ.สามารถตรวจสอบได้แค่ฉลากที่ต้องมีสินค้าครบถ้วนตามฉลากที่ติดไว้ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าปัญหาจะเกิดขึ้นในร้านค้าเล็ก ๆ ที่มีการนำสินค้าต่าง ๆ มาจัดเป็นชุดสังฆทาน โดยสคบ.ได้เข้มงวดและดำเนินการตามกฎหมาย แต่ก็ถูกต่อว่ารังแก แต่เป็นหน้าที่และเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ส่วนห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่จะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น เพราะสินค้ามีครบตามที่กำหนดทุกประการ

    อย่างไรก็ตามขอเตือนประชาชนคนไทยด้วยว่าเพื่อความสบายใจและได้บุญกุศลจริงๆ ขอให้ซื้อสินค้ามาจัดชุดสังฆทานเองจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด และไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าให้ครบทุกอย่าง แต่ขอให้เลือกซื้อสินค้าเฉพาะที่พระสงฆ์ หรือทางวัดต้องการใช้จริงๆ เท่านั้น ก็ถือว่าได้บุญกุศลที่ใหญ่แล้ว และต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาประชาชนเองที่เลือกซื้อสินค้าโดยต้องการของชิ้นใหญ่ด้วยและมีราคาถูกด้วย หรือบางครั้งไม่ได้ตรวจสอบคุณภาพให้ชัดเจน ดังนั้นประชาชนต้องหันมาใส่ใจในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

    “ที่ผ่านมาตามกฎหมายสคบ.จะกำหนดให้มีการติดฉลากอย่างละเอียด ว่าธูปมีกี่ก้าน ผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดกว้างคูณยาวเท่าใด รวมถึงวันหมดอายุของสินค้าที่นำมาจัดไว้ในถังสังฆทาน หากร้านค้าขายสินค้าที่ไม่เป็นไปตามสลากที่ระบุไว้ก็ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย คือหากไม่จัดทำฉลาก หรือ จัดทำฉลากไม่ถูกต้อง จะมีโทษปรับ ผู้จำหน่ายไม่เกิน 50,000 บาท หรือ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ผลิตมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับไปแล้วหลายสิบร้านค้าทั่วประเทศ” นางรัศมี กล่าว

    นางรัศมีกล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการว่าด้วยฉลากได้ออกประกาศให้ชุดถังสังฆทานและชุดไทยธรรมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยต้องระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้ คำว่า "ชุดสังฆทานหรือชุดไทยธรรม" รายการสินค้าที่ระบุขนาด มิติ ปริมาณ ปริมาตร น้ำหนัก จำนวน และราคาของสินค้าแต่ละรายการ ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายชุดสังฆทานหรือชุดไทยธรรม วันเดือนปีที่หมดอายุ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อนของสินค้าใดสินค้าหนึ่งที่นำมารวมนั้นระบุว่า เร็วที่สุด ทั้งวันเดือนปีที่บรรจุ และราคารวมชุดจัดบรรจุที่ระบุหน่วยเป็นบาท และผู้ประกอบธุรกิจที่นำสินค้าที่อาจทำปฏิกิริยากันจนทำให้สี กลิ่น หรือรส เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นอันตรายแก่พระภิกษุสงฆ์หรือผู้รับ ต้องระบุคำเตือนบนฉลากด้วย เพื่อจะได้แยกสินค้านั้นออกจากกันโดยเร็ว
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><!-- / message --><!-- sig -->
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01p0101190751&day=2008-07-19&sectionid=0101
    ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูร้อนพระพุทธมหามรีรัตนปฏิมากร


    วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11088



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯแทนพระองค์ ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูร้อนพระพุทธมหามรีรัตนปฏิมากรเป็นเครื่องทรงฤดูฝน ณ พระอุโบสถวัดพระสรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง







    ******************************************
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อนิจจา 'อดแบบไม่เคยรู้จักคำว่าอิ่ม' เป็นแบบนี้นี่เอง

    http://www.matichon.co.th/news_detai...=41563&catid=6


    <TABLE id=table110 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=6 rowSpan=3></TD><TD colSpan=2></TD><TR><TD width=608>ภาพชีวิตอันแสนรันทดของเด็กตาดำๆ อีกซีกหนึ่งของโลก ที่ไม่มีแม้แต่น้ำนมสักหยดให้ประทังชีวิตและร่างที่ผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ดูซะ........ 'อดอยาก' นั้นเป็นอย่างไร

    มนุษย์บางคนแค่ 'อดทน' แม้เพียงเรื่องน้อยนิดยังว่ายาก แต่อีกมุมหนึ่งของโลกมีคนที่ 'อดอยาก' ไม่มีแม้แต่จะกิน โลกช่างลำเอียงกับเด็กๆ เหล่านี้ เพราะขณะที่เขาโหยหาน้ำนมแม้เพียงหยดยังไม่มี เขาไม่เคยสัมผัสคำว่า 'อิ่ม' แต่กลับจำต้องทนเผชิญคำว่า 'อด' ทุกวันๆ
    ขณะที่เพื่อนร่วมโลกอีกฟากทวีปกลับมีทั้งจานออร์เดิร์ฟ จานหลัก จานรอง ถ้วยซุป ของหวาน ไวน์ราคาแพงลิบ มาเสิร์ฟบนโตีะอาหารไม่ขาดสาย


    [​IMG]
    มือละพัน มื้อละหมื่นของคุณ ช่วยอุ้มชูเพื่อนร่วมโลกตาดำๆ ที่ผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกได้อีกนับพันชีวิต
    กินเพื่ออยู่เถิด อย่าอยู่เพื่อกิน สงสารเด็กน้อยเหล่านี้บ้าง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE id=table112 borderColor=#32689a cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" border=0><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" vAlign=top><TABLE id=table117 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE id=table117 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE id=table117 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE id=table117 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=530 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=21 background=images/box_news8.gif bgColor=#e6e6e0></TD><TD vAlign=top bgColor=#e6e6e0><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=490 align=center border=0><TBODY><TR><TD class="style1 16b">อัลบั้มรูป</TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle width="25%" bgColor=#e6e6e0><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD align=middle width=120>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD align=middle width="25%" bgColor=#e6e6e0><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD align=middle width=120>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD align=middle width="25%" bgColor=#e6e6e0><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD align=middle width=120>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top bgColor=#ffffff><TD align=middle width="25%" bgColor=#e6e6e0><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD align=middle width=120>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD align=middle width="25%" bgColor=#e6e6e0><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD align=middle width=120>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD align=middle width="25%" bgColor=#e6e6e0><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD align=middle width=120>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top bgColor=#ffffff><TD align=middle width="25%" bgColor=#e6e6e0><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD align=middle width=120>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top width=8 background=images/content_news4.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD background=images/box_news5.gif>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    เงินหายาก ต้องประหยัดกันให้มากๆ อาหารการกินก็อย่ากินทิ้งกินขว้างกันครับ
    ขอบคุณครับ

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรียกบิดาเป็นจำเลยร่วม

    คอลัมน์ ฎีกาชีวิต

    โดย รศ.พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช

    http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01lad03190751&day=2008-07-19&sectionid=0115

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>พี่น้องท้องเดียวกันต่างฝ่ายต่างมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกัน พี่ชายมีความจำเป็นบางประการ ต้องการโฉนดดังกล่าวมาทำนิติกรรมจำหน่ายกรรมสิทธิ์ในส่วนของเขา น้องสาวบอกว่าไม่รู้ไม่เห็นโฉนด ถามผู้เป็นพ่อ พ่อก็ทำเฉยเสีย เรื่องยุ่งๆ จึงเกิดขึ้น

    มีข้อเท็จจริงว่าผู้เป็นบิดามีชื่อเป็นกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนี้ด้วย ต่อมาภายหลังเมื่อพี่ชายฟ้องน้องสาวเป็นจำเลยให้ส่งมอบโฉนดและเรียกค่าเสียหายวันเผชิญสืบ ศาลขอให้บิดาช่วยตรวจดูว่าโฉนดอยู่ที่ใด ปรากฏว่าพบโฉนดในตู้เอกสารอยู่ในห้องนอน

    ศาลจึงเรียกบิดาเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดี เพราะต้องห้ามผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา เรื่องนี้จะจบลงอย่างไร

    นายเดชดวงมีอาชีพค้าขายอยู่ในเมืองสุราษฎร์ธานี มีลูกสองคนชื่อนายณรงค์เดช และ นางสาวดวงเดช ได้รับมรดกที่ดินติดถนนหน้าเมืองจากพี่สาวยกกรรมสิทธิ์ให้ตัวเขาและลูกทั้งสอง

    อีก 10 ปีต่อมา ณรงค์เดชลูกชายคนโตต้องการเอาโฉนดดังกล่าวไปทำนิติกรรม ถามผู้เป็นน้องสาวอ้างว่าไม่มี ถามผู้เป็นบิดาทำเฉยเสีย จึงเข้าใจว่าอยู่ที่น้องสาว จึงฟ้องให้น้องสาวส่งโฉนดให้ตน ต่อมาความปรากฏแก่ศาลว่าบิดาเป็นผู้เก็บรักษาไว้ ศาลเรียกบิดาเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดี

    ในที่สุด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พิเคราะห์คำจำเลยร่วมว่าโฉนดตามฟ้องมีชื่อจำเลยร่วมโจทก์และจำเลยร่วมกันจริง โจทก์รู้มาก่อนว่าโฉนดอยู่ที่จำเลยร่วม แต่กลับฟ้องจำเลย ถือว่าฟ้องผิดตัว คำฟ้องใช้ไม่ได้ เขาเคยได้รับหนังสือจากทนายโจทก์ให้ส่งโฉนดเพื่อนำที่ดินไปขายเห็นว่าไม่ควรจะขายและไม่ทราบว่าขณะนั้นโฉนดอยู่ที่ไหน จึงเฉยเสีย โจทก์เองก็ไม่รู้ว่าโฉนดอยู่ที่ผู้ใด เมื่อบิดาปฏิเสธทำเฉย ย่อมเข้าใจว่าอยู่ที่น้องสาวจึงฟ้องเป็นจำเลย หากโฉนดอยู่ที่บิดาแต่บอกเขาว่าไม่ให้ จะให้เขาฟ้องน้องสาวได้อย่างไรกัน

    นอกจากนี้ในวันเผชิญสืบ บิดาเบิกความว่าไม่รู้ว่าโฉนดอยู่ที่ไหน ต่อเมื่อศาลให้ช่วยตรวจดูจึงพบอยู่ในตู้เอกสารในห้องนอน จึงนำมาแสดงต่อศาล ศาลจึงเห็นเป็นการสมควรและจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งยุติธรรมเรียกบิดามาเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้

    ศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ฎีกาของจำเลยร่วมข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

    ฎีกาของจำเลยร่วมข้อต่อมา ที่ว่าคำแถลงของโจทก์เสี่ยงกฎหมายให้ศาลมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรและศาลมีคำสั่งเข้ามาในคดีนี้ต้องด้วยข้อห้ามของกฎหมาย เห็นว่า ตาม ป.พ.พ.ม.1562 มิได้ห้ามโจทก์ฟ้องจำเลยร่วมผู้เป็นบิดาเด็ดขาด ยังให้สิทธิโจทก์ร้องขออัยการยกคดีขึ้นว่ากล่าวได้ศาลจึงมีเหตุผลข้างต้นให้เข้ามาเป็นจำเลยร่วม

    แม้ว่าจะมีคำแถลงของโจทก์ ศาลอาจเห็นว่าไม่สมควรก็ได้ และแม้ว่าโจทก์ไม่ได้แถลงเลย หากศาลเห็นเป็นการสมควร อาจเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีก็ได้ ไม่เห็นว่าคำแถลงของโจทก์เลี่ยงกฎหมายแต่อย่างใด การที่กฎหมายตัดสิทธิไม่ให้ฟ้องบุพการีของตนต้องแปลโดยเคร่งครัดเมื่อปรากฏว่าศาลมีเหตุผลเรียกบิดาเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเช่นนี้ยังเรียกไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องบุพการีของตน จึงไม่ต้องห้าม ฎีกาข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้น

    ฎีกาข้อสุดท้าย จำเลยร่วมว่าคำฟ้องไม่เกี่ยวถึงจำเลยร่วมให้ต้องส่งมอบโฉนดแก่โจทก์เห็นว่า คำฟ้องบรรยายฟ้องแต่จำเลยผู้เดียวกระทำต่อโจทก์ ปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นแรกว่าจำเลยร่วมปฏิเสธแสดงถึงพฤติการณ์โต้แย้งของจำเลยที่จะไม่ส่งมอบโฉนด

    ศาลจึงมีคำสั่งดังเหตุผลที่ศาลยกมาข้างต้นเพราะเป็นการจำเป็นเพื่อให้มีการบังคับจำเลยร่วมรับผิดเช่นเดียวกับจำเลย ตาม ป.วิ.แพ่ง ม.57 (3) (ข) ศาลก็ชอบพิพากษาบังคับให้จำเลยร่วมรับผิดชอบตามฟ้องได้ ฎีกาของจำเลยร่วมฟังไม่ขึ้นเช่นกัน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นฟ้องด้วย

    พิพากษายืน

    ข้อมูล : เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 2412/2527
     
  11. nanodent

    nanodent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,730
    ค่าพลัง:
    +943
    ได้ยินว่าถูกฉีกไปเยอะแล้ว อนิจจังคนที่ฉีก จุดประสงค์ใดก็แล้วแต่ ไม่สมควรที่จะเล่นหาสะสมพระเครื่องให้กิเลสพอกจิตใจ ทั้งๆที่ผู้สร้างพระเครื่องต้องการให้สืบทอดพระศาสนา แต่คนเหล่านี้กลับทำตรงข้าม อนิจจัง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันเข้าพรรษา

    โดย กวี วงศ์พุฒ ธนาคารแห่งประเทศไทย Kaweew@bot.or.th

    http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01bud01200751&day=2008-07-20&sectionid=0121

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาอาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ "การเรียนภาษาบาลีอย่างง่าย" ให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รู้พื้นฐานของภาษาบาลีไปมากด้วย ในรุ่นนี้มีพนักงานให้ความสนใจมาสมัครเรียน 20 คน เรียนทุกวันพฤหัสบดีที่ชั้น 3 อาคารสโมสรพนักงาน ตั้งแต่เวลา 17.00-19.30 น. โดยประมาณ ซึ่งก็ทำให้เราได้มีความรู้ทางการปฏิบัติงานอาจารย์เสฐียรพงษ์ไปด้วย

    หลังจากที่ อ.เสฐียรพงษ์สอนพวกเราที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ในวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม ไปสัก 1 ชั่วโมง ประมาณเวลา 18.40 น. อาจารย์มีอาการยืนแล้วจะล้ม มองเห็นเป็นภาพซ้อน เนื่องจากความดันโลหิตสูงนั้น พวกเราก็เลยหยุดการเรียน อยากให้อาจารย์พักผ่อน

    หลายคนถามข่าวคราวของ อ.เสฐียรพงษ์ สำนักพิมพ์ต้องขอขอบคุณในความห่วงใย ที่จริงอาจารย์ก็พ้นขีดอันตรายไปแล้ว ปัจจุบันกำลังพักฟื้นหลังรักษาตัวที่โรงพยาบาลธนบุรี สาเหตุหนึ่งอาจจะมาจากการทำงานค่อนข้างมาก เพราะ อ.เสฐียรพงษ์เป็นผู้เสียสละ ช่วยงานไปทุกเรื่องทางด้านศาสนาพุทธ เอาทุกเรื่องเพื่อให้เห็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

    คนใกล้ชิดที่เราไปเยี่ยมเล่าให้ฟังว่า วันศุกร์อาการของ อ.เสฐียรพงษ์ก็ยังดีๆ อยู่ แต่พอวันเสาร์ก็เริ่มไม่ดี มุมปากตก พูดแล้วฟังไม่รู้เรื่อง ต้องเดาว่าอาจารย์จะพูดว่าอะไร เลยพาไปส่งโรงพยาบาลธนบุรี ซึ่ง นพ.นิพนธ์จากโรงพยาบาลศิริราช คุณหมอประจำคนไข้บอกว่าโชคดีที่มาแต่เนิ่นๆ ทันเวลา และเย็นวันนี้ (14 ก.ค.) คุณหมอจะเข้ามาตรวจอีกครั้ง ความจริงตอนเราไปเยี่ยม อ.เสฐียรพงษ์เล่าให้ฟัง ตาข้างขวามองเห็นไม่ค่อยชัด เวลาพูด จะพูดได้ไม่เป็นคำ

    จึงบอกอาจารย์ว่า อาจารย์ไม่ต้องห่วงเรื่องการสอน ขอให้อาจารย์พักรักษาตัวให้หายดีก่อน เนื่องจากพวกเราไม่มีความจำเป็นต้องรีบเรียนให้จบ เห็นอาจารย์อยากพักผ่อน พวกเราจึงลากลับครับ ก็เลยฝากไปยังท่านที่รู้จักคุ้นเคย อ.เสฐียรพงษ์ก็สบายใจหายห่วงได้ครับ ผมเลยถือโอกาสเขียนเรื่องราวภาษาบาลีในฐานะที่เป็นศิษย์ของ อ.เสฐียรพงษ์ขัดตราทับไปก่อน สักระยะหนึ่ง ควบคู่กับแง่คิดในด้านคุณภาพชีวิต

    เมื่อ อ.เสฐียรพงษ์เป็นปกติดีแล้ว ท่านก็คงมาพบกับทุกท่านอีกเช่นเคย เพราะทุกคนคงโชคดีเหมือนผมที่ได้เป็นลูกศิษย์ของราชบัณฑิต ที่มีลีลาการสอนภาษาบาลีด้วยความเล้าใจ ตั้งใจสอนมาก เราจึงมีความมานะตามที่ อ.เสฐียรพงษ์ต้องการ เรามาเริ่มเรื่องพุทธศาสนากันดีกว่า



    ในช่วงเดือนกรกฎาคมมีวันสำคัญทางศาสนาพุทธ ที่พระสงฆ์ส่วนใหญ่จะต้องจำพรรษา และอยู่กับวัดประมาณ 3 เดือน วันที่สำคัญที่ว่าคือ "วันเข้าพรรษา" โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แต่เมื่อย่างเข้าฤดูฝน ความไม่สะดวกหลายๆ อย่างอาจนำความเสียหายมาได้เช่นกัน

    การเข้าพรรษาจึงเป็นกิจวัตรที่สำคัญอีกประเพณีหนึ่งของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะจะได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน เข้าวัดฟังธรรม รวมไปถึงการบวชเรียนของชายไทยที่นับถือศาสนาพุทธ

    ความเดิมในสมัยพุทธกาล

    "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาลมีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือนในฤดูฝน

    การเข้าพรรษา เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระจำเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในวันเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

    ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลายๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์

    เมื่อหมดการเข้าพรรษาแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่าน ครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา

    ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา ผ้าอาบน้ำจึงเป็นสิ่งของที่นำมาถวายพระภิกษุในโอกาสวันเข้าพรรษาทุกปีไป

    เครื่องอัฐบริขาร

    "ผ้าจำนำพรรษา" คือผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสาวาสิกสาฎิกา" "ผ้าอาบน้ำฝน" คือผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอด 4 เดือนแห่งฤดูฝน เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสิกาฏิกา"

    เครื่องอัฐบริขารมีเพียงอัฐบริขารอันที่จำเป็นได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา

    นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา

    ประเพณีหล่อเทียนพรรษา

    ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด 3 เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูปเทียนจุดบูชาด้วย

    พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงส์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้วก็จะมีการแห่แหนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน

    บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้านนั้น

    การบวชพระ

    การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรมและความรู้ให้ และโดยทั่วไป

    การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

    แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง

    กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษา

    การเข้าพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ ถือเป็นกิจวัตรที่สำคัญอย่างหนึ่งที่พระสงฆ์ทุกรูปจะต้องจำพรรษา ณ วัดแห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นเวลา 3 เดือน กิจกรรมในวันเข้าพรรษาที่สำคัญๆ มีดังนี้

    1.ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา

    2.ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร

    3.ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล

    4.อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่างๆ
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ความเร้นลับของ สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้
    http://www.thairath.co.th/news.php?section=specialsunday08&content=97579

    [​IMG]

    ตอนที่ชาวนาคนหนึ่งขุดดินในเมืองซีอาน เมื่อปี ค.ศ. 1974 นั้น คงไม่ได้คิดมาก่อนเลยว่าจะได้พบสิ่งที่ถูกเรียกขานกันว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก สิ่งที่หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์จีนนานกว่า 2,000 ปี​
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมนำความรู้เบื้องต้น ที่เกี่ยวกับพระเครื่อง มาให้อ่านกันครับ

    ********************************************
    อุปสงค์และอุปทาน

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content -->


    ในทางเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์และอุปทานเป็นโมเดลที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าในตลาดเสรี โดยอธิบายความเปลี่ยนแปลงของราคาและปริมาณของสินค้าในตลาด เรื่องดังกล่าวเป็นแบบจำลองพื้นทางในเศรษฐศาสตร์จุลภาคที่พบได้ทั่วไป เนื่องจากมักจะถูกใช้เป็นส่วนประกอบพื้นฐานสำหรับแบบจำลองและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ชั้นสูง
    ทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบตลาดในฐานะที่มันได้อธิบายกลไกการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่เกิดขึ้น แต่สำนักนีโอคลาสสิกได้โต้แย้งว่า ความสัมพันธ์ของอุปสงค์และอุปทานจะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขปกติที่เรียกว่า ดุลยภาพทั่วไป
    <TABLE class=toc id=toc summary=เนื้อหา><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>
    [แก้] อุปสงค์

    อุปสงค์ (อังกฤษ: demand) หมายถึงปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อที่เวลาและราคาหนึ่ง<SUP class=reference id=cite_ref-demand-def_0-0>[1]</SUP> ปัจจัยที่กำหนดปริมาณอุปสงค์ของผู้บริโภคแต่ละคนได้แก่ ราคาสินค้านั้น รายได้ของผู้บริโภค รสนิยมส่วนบุคคล ราคาของสินค้าทดแทนกัน (substitution goods) และราคาของสินค้าใช้ร่วมกัน (complementary goods)
    กฎอุปสงค์กล่าวว่า เมื่อปัจจัยอื่นๆ คงที่แล้ว อุปสงค์จะมีความสัมพันธ์ในทางลบกับราคา กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ความต้องการสินค้านั้นจะลดลง อุปสงค์สามารถแสดงได้โดยเส้นกราฟและสมการคณิตศาสตร์ โดยเส้นกราฟจะมีความชันลาดลง
    แม้ว่าเส้นกราฟอุปสงค์ของสินค้าส่วนใหญ่ จะมีลักษณะความชันลาดลงตามกฎนี้ แต่ก็มีการยกตัวอย่างถึงสินค้าที่เส้นกราฟอุปสงค์มีลักษณะชันขึ้น คือมีปริมาณความต้องการสินค้ามากขึ้นเมื่อราคาสูงขึ้น โดยเรียกสินค้านั้นว่าสินค้ากิฟเฟ่น (Giffen goods) อย่างไรก็ตาม การดำรงอยู่ในสินค้ากิฟเฟนในความเป็นจริงก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

    [แก้] อุปทาน

    อุปทาน (supply) หมายถึงปริมาณสินค้าที่มีการเสนอขายแก่ผู้บริโภคที่เวลาหนึ่ง<SUP class=reference id=cite_ref-supply_def_1-0>[2]</SUP> ปัจจัยหลักที่กำหนดปริมาณอุปทานคือราคาตลาดและต้นทุนการผลิต กฏอุปทานกล่าวว่า โดยทั่วไปปริมาณอุปทานจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับระดับราคา กล่าวคือ เมื่อระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้ขายจะยินดีเสนอขายสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น
    แม้ว่าโดยทั่วไปเส้นกราฟอุปทานจะมีลักษณะชันขึ้น อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่เส้นกราฟอุปทานไม่เป็นไปตามลักษณะดังกล่าว ตัวอย่างของข้อยกเว้นนี้ได้แก่ เส้นกราฟอุปทานของแรงงานที่มีลักษณะของการโน้มกลับ กล่าวคือ เมื่ออัตราค่าแรงเพิ่มขึ้น คนงานคนหนึ่งก็พร้อมจะทำงานเป็นจำนวนชั่วโมงที่มากขึ้น แต่เมื่ออัตราค่าแรงขึ้นถึงจุดที่สูงมากๆ คนงานอาจพบกับเลือกทำงานน้อยลงและใช้เวลาว่างมากขึ้น<SUP class=reference id=cite_ref-2>[3]</SUP> การวกกลับของเส้นกราฟอุปทานยังปรากฏในตลาดอื่นด้วย เช่นในตลาดน้ำมัน ประเทศที่ส่งออกน้ำมันหลายประเทศลดการผลิตน้ำมันหลังจากราคาพุ่งสูงขึ้นในวิกฤตการณ์น้ำมันปีพ.ศ. 2520<SUP class=reference id=cite_ref-3>[4]</SUP>

    [แก้] ภาวะดุลยภาพ

    [​IMG] [​IMG]
    อุปสงค์ (สีฟ้า) และอุปทาน (สีแดง)


    เมื่อปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน จะเรียกว่าตลาดอยู่ในภาวะดุลยภาพ (อังกฤษ: equilibrium) โดยที่ภาวะนี้การกระจายสินค้าและบริการจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะปริมาณสินค้าที่มีการเสนอขายจะเท่ากับปริมาณความต้องการสินค้านั้น จากกราฟ จุดดุลยภาพคือจุดที่เส้นกราฟอุปสงค์และอุปทานตัดกัน
    เมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูกขายในตลาด ณ ระดับราคาที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากกว่าจำนวนสินค้าที่สามารถผลิตได้แล้ว ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น เรียกว่าเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (excess demand) ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับราคาของสินค้า โดยที่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความพร้อมในการจ่ายชำระ ณ ระดับราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะส่งผลให้ราคาตลาดสูงขึ้น ในทางตรงข้ามระดับราคาจะต่ำลงเมื่อปริมาณสินค้าที่มีให้นั้นมีมากกว่าความต้องการที่เกิดขึ้น หรือเรียกว่าเกิดอุปทานส่วนเกิน (excess supply) กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปจนกระทั่งตลาดเข้าสู่ภาวะดุลยภาพ


    [แก้] การเปลี่ยนแปลงของเส้นกราฟอุปสงค์และอุปทาน

    [​IMG] [​IMG]



    การเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานมีขึ้นได้ในสองลักษณะ คือ การเปลี่ยนแปลงบนเส้นกราฟ และการเปลี่ยนแปลงของเส้นกราฟ การเปลี่ยนแปลงบนเส้นกราฟ คือการเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานไปยังจุดต่างๆบนเส้นกราฟเดิม เกิดขึ้นเมื่อปัจจัยอื่นๆนอกจากราคาและปริมาณนั้นคงที่ หากมีการเปลี่ยนแปลงของเส้นกราฟ หมายความว่าที่ระดับราคาเดิม ปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานมีความเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเกิดจากปัจจัยอื่นนอกเหนือจากราคา เช่น การเปลี่ยนแปลงของรสนิยมผู้บริโภค หรือการค้นพบวิธีการผลิตที่เพิ่มประสิทธิภาพทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง เป็นต้น
    การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์นั้น สามารถนำเสนอได้โดยการเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปสงค์ไปทางขวา จากกราฟ จะเห็นว่า เส้นกราฟของอุปสงค์มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจาก D<SUB>1</SUB> ไปยัง D<SUB>2</SUB> ส่งผลให้เกิดจุดดุลยภาพใหม่ ราคาดุลยภาพเพิ่มขึ้นจาก P<SUB>1</SUB> เป็น P<SUB>2</SUB> และปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้นจาก Q<SUB>1</SUB> เป็น Q<SUB>2</SUB> ในทางกลับกัน การลดลงของอุปสงค์นั้น จะทำให้เส้นกราฟอุปสงค์นั้นเลื่อนไปทางซ้าย เช่นหากเส้นอุปสงค์เริ่มต้นที่ D<SUB>2</SUB> และเปลี่ยนเป็น D<SUB>1</SUB>
    ปริมาณและราคาสินค้าก็จะลดลง

    [แก้] ความยืดหยุ่น

    สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในหลักการของอุปสงค์และอุปทานได้แก่ความยืดหยุ่น (elasticity) ในทฤษฏีของอุปสงค์และอุปทาน ความยืดหยุ่นคือการวัดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานต่อปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์หรืออุปทาน วิธีหนึ่งในการหาความยืดหยุ่นคือการนำร้อยละของความเปลี่ยนแปลงของแต่ละตัวแปรมาหารกัน เรียกว่าความยืดหยุ่นแบบช่วง ซึ่งต่างจากความยืดหยุ่นแบบจุดที่ใช้แคลคูลัสในการหาความเปลี่ยนแปลงที่จุดๆหนึ่ง สูตรคือ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณหารการเปลี่ยนแปลงของราคา คูณ ราคาหารปริมาณ
    ความยืดหยุ่นที่นิยมนำมาพิจารณาได้แก่ความเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานต่อความเปลี่ยนแปลงของราคา เรียกว่าความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อราคา (price elasticity of demand) และความยืดหยุ่นอุปทานต่อราคา (price elasticity of supply) โดยความยืดหยุ่นชนิดนี้ ใช้ในการวางแผนของผู้ผลิตในการกำหนดราคา รวมถึงการวางแผนของรัฐบาลในการวางแผนการเก็บภาษี นอกจากนั้นแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกหนึ่งตัวคือรายได้ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (income elasticity of demand) จะวัดความเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์ของสินค้าที่มีต่อความเปลี่ยนแปลงของรายได้ของผู้บริโภค
    ความยืดหยุ่นอีกตัวหนึ่งที่มีการนำมาพิจารณาเรียกว่าความยืดหยุ่นไขว้ของอุปสงค์ (cross elasticity of demand) ซึ่งแสดงความเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์ที่มีต่อราคาของสินค้าอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมักจะใช้ในการศึกษาสินค้าใช้ร่วมกัน และสินค้าทดแทนกัน

    [แก้] อ้างอิง

    1. <LI id=cite_note-demand-def-0>^ "demand." The New Dictionary of Cultural Literacy, Third Edition. Houghton Mifflin Company, 2002. Answers.com เรียกข้อมูลวันที่ 25 พฤษภาคม 2550 (อังกฤษ) <LI id=cite_note-supply_def-1>^ "supply." The New Dictionary of Cultural Literacy, Third Edition. Houghton Mifflin Company, 2002. Answers.com เรียกข้อมูลวันที่ 25 พฤษภาคม 2550 (อังกฤษ) <LI id=cite_note-2>^ กราฟของแรงงานที่มีลักษณะโน้มกลับนี้อธิบายเพียงอุปทานส่วนบุคคลของคนงาน [1]
    2. ^ <CITE class=book id=Reference-Samuelson-2001 style="FONT-STYLE: normal">Samuelson, Paul A; William D. Nordhaus (2001). Economics, 17th edition, McGraw-Hill, 157.</CITE> ISBN 0072314885 (อังกฤษ)
    <TABLE style="CLEAR: both; BORDER-RIGHT: #90a0b0 1px solid; BORDER-TOP: #90a0b0 1px solid; FONT-SIZE: 90%; BACKGROUND: #fcfcfc; MARGIN: 10px 0px 0px; BORDER-LEFT: #90a0b0 1px solid; WIDTH: 100%; BORDER-BOTTOM: #90a0b0 1px solid" cellSpacing=0 cellPadding=3><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=40>[​IMG]</TD><TD style="COLOR: #696969" align=left>อุปสงค์และอุปทาน เป็นบทความเกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์ การเงิน ธุรกิจ หรือ การค้า ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
    <SMALL>ข้อมูลเกี่ยวกับ อุปสงค์และอุปทาน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ</SMALL></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 336/1000000Post-expand include size: 7184/2048000 bytesTemplate argument size: 1207/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:15909-0!1!0!!th!2 and timestamp 20080705021546 -->ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/อุปสงค์และอุปทาน".
    หมวดหมู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ | เศรษฐศาสตร์จุลภาค | บทความเกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์



    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อุปสงค์และอุปทาน
    http://elibrary.eduzones.com/index.php?title=%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99

    อุปสงค์(demand) และอุปทาน (supply) เป็นโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ ใช้สำหรับอธิบายการเปลี่ยนแปลงของราคาและจำนวนของสินค้าในตลาดที่มีการแข่งขัน ในทางเศรษฐศาสตร์จุลภาค เรื่องดังกล่าวเป็นหนึ่งในเรื่องพื้นฐานของแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ที่พบได้ทั่วไป เนื่องจากมักจะถูกใช้เป็นส่วนประกอบพื้นฐานสำหรับแบบจำลองและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ชั้นสูง ทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบตลาดในฐานะที่มันได้อธิบายกลไกการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่เกิดขึ้น แต่สำนักนีโอคลาสสิกได้โต้แย้งว่า ความสัมพันธ์ของอุปสงค์และอุปทานจะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขปกติที่เรียกว่า ดุลยภาพทั่วไป
    อุปสงค์
    อุปสงค์ คือ ปริมาณความต้องการสินค้าของผู้บริโภค ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยจะต้องมีทั้งความต้องการที่จะซื้อ และความสามารถในการซื้อ จากกฏอุปสงค์ กล่าวว่า เมื่อปัจจัยอื่นๆคงที่แล้ว อุปสงค์จะมีความสัมพันธ์ในทางลบกับราคา กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ความต้องการสินค้านั้นจะลดลง อุปสงค์สามารถแสดงได้โดยเส้นกราฟและสมการคณิตศาสตร์ โดยเส้นกราฟจะมีความชันลาดลง ปัจจัยที่กำหนดปริมาณอุปสงค์ของผู้บริโภคแต่ละคนได้แก่ ราคาสินค้านั้น รายได้ของผู้บริโภค รสนิยมส่วนบุคคล ราคาของสินค้าทดแทน (substitution goods) และราคาของสินค้าใช้ร่วมกัน (complementary goods) แม้ว่าเส้นกราฟอุปสงค์ของสินค้าส่วนใหญ่ จะมีลักษณะความชันลาดลง ก็ได้มีการยกตัวอย่างถึงสินค้าที่เส้นกราฟดีมานด์มีลักษณะชันขึ้น โดยเรียกสินค้านั้นว่าสินค้ากิฟเฟน (Giffen good) อย่างไรก็ตาม การดำรงอยู่ในสินค้ากิฟเฟนในความเป็นจริงก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
    อุปทาน
    อุปทาน คือ ปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตเสนอขาย ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ปัจจัยหลักที่กำหนดปริมาณอุปทานคือราคาตลาดและต้นทุนการผลิต จากกฏอุปทาน กล่าวว่า โดยทั่วไปปริมาณอุปทานจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับระดับราคา กล่าวคือ เมื่อระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้ขายจะยินดีเสนอขายสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าโดยทั่วไปเส้นกราฟอุปทานจะมีลักษณะชันขึ้น อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่เส้นกราฟอุปทานไม่เป็นไปตามลักษณะดังกล่าว ตัวอย่างของข้อยกเว้นนี้ได้แก่ เส้นกราฟอุปทานของแรงงานที่มีลักษณะของการโน้มกลับ กล่าวคือ เมื่ออัตราค่าแรงเพิ่มขึ้น แรงงานก็พร้อมจะทำงานเป็นจำนวนชั่วโมงที่มากขึ้น แต่เมื่ออัตราค่าแรงขึ้นถึงจุดที่สูงมากๆ ปริมาณอุปสงค์ของแรงงานจะลดลง ภาวะดุลยภาพ

    เมื่อปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน จะเรียกว่าตลาดอยู่ในภาวะดุลยภาพ (equilibium) โดยที่ภาวะนี้การกระจายสินค้าและบริการจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะปริมาณสินค้าที่มีการเสนอขายจะเท่ากับปริมาณความต้องการสินค้านั้น จากกราฟ จุดดุลยภาพคือจุดที่เส้นกราฟอุปสงค์และอุปทานตัดกัน เมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูกขายในตลาด ณ ระดับราคาที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากกว่าจำนวนสินค้าที่สามารถผลิตได้แล้ว ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น เรียกว่าเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (excess demand) ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับราคาของสินค้า โดยที่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความพร้อมในการจ่ายชำระ ณ ระดับราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะส่งผลให้ราคาตลาดสูงขึ้น ในทางตรงข้ามระดับราคาจะต่ำลงเมื่อปริมาณสินค้าที่มีให้นั้นมีมากกว่าความต้องการที่เกิดขึ้น หรือเรียกว่าเกิดอุปทานส่วนเกิน (excess supply) กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปจนกระทั่งตลาดเข้าสู่ภาวะดุลยภาพ
    การเปลี่ยนแปลงของเส้นกราฟอุปสงค์และอุปทาน

    การเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานมีขึ้นได้ในสองลักษณะ คือ การเปลี่ยนแปลงบนเส้นกราฟ คือการเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานไปยังจุดต่างๆบนเส้นกราฟเดิม เกิดขึ้นเมื่อปัจจัยอื่นๆนอกจากราคาและปริมาณนั้นคงที่ หากมีการเปลี่ยนแปลงของเส้นกราฟ หมายความว่าที่ระดับราคาเดิม ปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานมีความเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเกิดจากปัจจัยอื่นนอกเหนือจากราคา เช่น การเปลี่ยนแปลงของรสนิยมผู้บริโภค หรือการค้นพบวิธีการผลิตที่เพิ่มประสิทธิภาพทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง เป็นต้น จากกราฟ จะเห็นว่า เส้นกราฟของอุปสงค์มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจาก D1 ไปยัง D2 ส่งผลให้เกิดจุดดุลยภาพใหม่ ราคาดุลยภาพเพิ่มขึ้นจาก P1 เป็น P2 และปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้นจาก Q1 เป็น Q2
    ความยืดหยุ่น สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในหลักการของอุปสงค์และอุปทานได้แก่ความยืดหยุ่น (elasticity) ในทฤษฏีของอุปสงค์และอุปทาน ความยืดหยุ่นคือการวัดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานต่อปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์หรืออุปทาน วิธีหนึ่งในการหาความยืดหยุ่นคือการนำร้อยละของความเปลี่ยนแปลงของแต่ละตัวแปรมาหารกัน เรียกว่าความยืดหยุ่นแบบช่วง ซึ่งต่างจากความยืดหยุ่นแบบจุดที่ใช้แคลคูลัสในการหาความเปลี่ยนแปลงที่จุดๆหนึ่ง ความยืดหยุ่นที่นิยมนำมาพิจารณาได้แก่ความเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานต่อความเปลี่ยนแปลงของราคา เรียกว่าความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อราคา (price elasticity of demand) และความยืดหยุ่นอุปทานต่อราคา (price elasticity of supply) โดยความยืดหยุ่นชนิดนี้ ใช้ในการวางแผนของผู้ผลิตในการกำหนดราคา รวมถึงการวางแผนของรัฐบาลในการวางแผนการเก็บภาษี นอกจากนั้นแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกหนึ่งตัวคือรายได้ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (income elasticity of demand) จะวัดความเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์ของสินค้าที่มีต่อความเปลี่ยนแปลงของรายได้ของผู้บริโภค ความยืดหยุ่นอีกตัวหนึ่งที่มีการนำมาพิจารณาเรียกว่าความยืดหยุ่นไขว้ของอุปสงค์ (cross elasticity of demand) ซึ่งแสดงความเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์ที่มีต่อราคาของสินค้าอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมักจะใช้ในการศึกษา
    http://th.wikipedia.org
    <!-- Saved in parser cache with key wikidb:pcache:idhash:4109-0!1!0!0!!th!2 and timestamp 20080720004929 -->Retrieved from "http://elibrary.eduzones.com/index.php?title=อุปสงค์และอุปทาน"
    <!-- end content -->
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระพิมพ์ของวังหน้า หรือวังหลวง สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2367 จวบจนสมัยรัชกาลที่ 6 สร้างขึ้นมากมายหลายพิมพ์ องค์ผู้อธิษฐานจิตมีหลายพระองค์มาก

    บางรุ่น หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร(ทุกพระองค์หรือบางพระองค์) และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี อธิษฐานจิต

    บางรุ่น หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร(ทุกพระองค์หรือบางพระองค์) อธิษฐานจิต

    บางรุ่น สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี และหลวงปู่แสง อธิษฐานจิต


    บางรุ่น สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี อธิษฐานจิต

    บางรุ่น สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี และหรือหลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร และหรือหลวงปู่กรมพระยาปวเรศ และหรือหลวงปู่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัด อธิษฐานจิต

    บางรุ่น สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีและหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน อธิษฐานจิต

    บางรุ่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน และหรือ หลวงปู่ศุข วัดป่าคลองมะขามเฒ่า และหรือหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหรือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว อธิษฐานจิต

    บางรุ่น หลวงปู่สมเด็จกรมพระยาปวเรศ อธิษฐานจิต

    บางรุ่น สมเด็จพระสังฆราชแพ อธิษฐานจิต

    องค์ผู้อธิษฐานจิตพระวังหน้า ,พระวังหลวง และพระวังหลัง ยังมีมากกว่านี้อีกมาก เช่น คณะพระภิกษุวัดมหาธาตุฯ เป็นต้น

    ผมจึงบอกว่า การดูแต่เพียง "รูป คือเนื้อหาทรงพิมพ์" เพียงประการเดียวไม่เพียงพอ ต้องดู "นาม คือพลังอิทธิคุณขององค์ผู้อธิษฐานจิต" ประกอบกันไปด้วยเสมอครับ
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    นอกจากพระพิมพ์แล้ว ยังมีวัตถุมงคลต่างๆ อีกมากมาย

    การสร้างนั้น สร้างโดยช่างสิบหมู่แห่งวังหน้า หรือวังหลวง หรือวังหลังครับ
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ทุกๆท่าน อย่าพึ่งบ่นผมนะครับว่า ที่ผมมาบอกเล่านี้ เรียกว่า บอกครอบจักรวาล จะไปรู้ได้อย่างไรว่า รุ่นไหน หลวงปู่องค์ไหนอธิษฐานจิต

    ต้องตรวจทั้ง รูป และ นาม เสมอ ขอย้ำครับ ต้องตรวจทั้ง รูป และ นาม เสมอ

    โมทนาสาธุครับ
     
  19. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    สวัสดีครับคุณ sithi phong ผมบังเอิญผ่านมาอ่านเจอกระทู้ของคุณน่าสนใจมากครับ
    ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสทำบุญ และสัมผัสกับพระผู้บรรลุวิปัสสนาญาณเช่นกัน
    ปัจจุบันผมเป็นแพทย์ทำงานอยู่ในรพ. ชุมชน ครับ ยินดีที่ได้พบผู้มีจิตกุศลเช่นคุณครับ
     
  20. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    ไม่รู้ว่าด้วยเหตุผลอะไรนะครับที่ชักนำให้ผมได้มาพบเวปนี้ ซึ่งนับว่าน่าแปลกใจมาก เพราะผมใช้ google search หารายละเอียดเกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่าง visa & master card
    เนื่องจากผมกำลังจะทำบัตรเครดิต (ผมไม่ค่อยได้สนใจเรื่องพวกนี้สักเท่าไร แต่ปัจจุบันเริ่มคิดว่าจำเป็นต้องมีไว้บ้าง)

    สำหรับผมเองได้มีโอกาสพูดคุยเรื่องธรรมะกับหลวงพ่อที่ผมเคารพนับถือ ซึ่งท่านเป็นศิษย์หลวงพ่อฤๅษีลิงดำเช่นกัน และสำหรับเรื่องราวของพระวังหน้า ผมเองก็ได้รับความรู้มาก่อนจะเข้าเวปนี้อยู่แล้ว
    ผมขอยืนยันว่า พระวังหน้านั้นมีอยู่จริง เป็นแรงใจช่วยอีก 1 เสียง เพราะผมเองก็ชอบศึกษาธรรมะ ขณะเดียวกันก็ชอบพระเครื่อง และศึกษาวงการนี้มาพอสมควร
    เห็นด้วยกับเรื่องอุปสงค์และอุปทานทุกประการ เซียนดูพระเก๊เป็นแท้ แท้เป็นเก๊ก็เยอะ แต่เขามีเหตุผลของเขา ซึ่งผมยังไม่อยากเล่าอะไร
    แต่พระวังหน้านั้นมีจริงแน่นอน แต่ของปลอมเยอะมากเช่นกัน อย่าไปดูถูกเขาครับผมจะบอกให้ว่าคนทำของปลอมน่ะ เขาเห็นพระมามากกว่าเซียนบางคนเสียอีก เขาถึงไปเอาพิมพ์เหล่านั้นมาได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...