เรื่องเด่น ว่าด้วยบริกรรม กระดูก กระดูก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 14 มกราคม 2021.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    l9jq7j0mbxN1aF90uf00f86xeq8jPuzo-oHiKIwfchAS&_nc_ohc=spREt4C2PAYAX-5kBUz&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    ว่าด้วยบริกรรม กระดูก กระดูก


    "ยังปฐมฌานให้เกิดขึ้นในเพราะอสุภนิมิตนั้น ทำปฐมฌานนั้นให้เป็นเบื้องบาท เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วจึงบรรลุ. อธิบายว่า ตัดขาดโดยประการทั้งปวง"
    อัฏฐิกสัญญา
    พึงทราบวินิจฉัยในอัฏฐิกสัญญา #ในอานาปานวรรคที่๗ เป็นต้น.
    บทว่า อฏฺฐิกสญฺญา ได้แก่ #สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เจริญอยู่ว่า #กระดูก #กระดูก #ดังนี้.
    ก็เมื่อเจริญอัฏฐิกสัญญานั้นอยู่ ผิวก็ดี หนังก็ดี ย่อมปรากฏตลอดเวลาที่นิมิตยังไม่เกิดขึ้น #เมื่อนิมิตเกิดขึ้นผิวและหนังย่อมไม่ปรากฏเลย.
    อนึ่ง โครงกระดูกล้วนมีสีดุจสังข์ย่อมปรากฏ ดังที่ปรากฏแก่สามเณรผู้แลดูพระเจ้าติสสะผู้ทรงธรรมอยู่บนคอข้าง และแก่พระติสสเถระผู้อยู่ที่เจติยบรรพต ผู้แลดูหญิงกำลังหัวเราะในที่สวนทาง.
    เรื่องทั้งหลายขยายให้พิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
    บทว่า สติ วา อุปาทิเสเส ความว่า เมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่.
    อรรถกถาอัฏฐิกสัญญา
    วิธีเจริญอัฏฐิกอสุภกรรมฐาน ให้โยคาวจรพิจารณาซึ่งซากศพที่เหลือแต่กระดูกอย่างเดียว จะพิจารณาร่างกระดูกที่ติดกันอยู่ทั้งหมดยังไม่เคลื่อนหลุดไปจากกันเลยก็ได้ จะพิจารณาร่างกระดูกที่เคลื่อนหลุดไปจากกันแล้วโดยมากยังติดกันอยู่บ้างก็ได้ จะพิจารณาท่อนกระดูกอันเดียวก็ได้ ตามแต่จะเลือกพิจารณา แล้วพึง
    บริกรรมว่า อฏฐิกํ ปฏิกูลํ กระดูกเป็นของน่าเกลียดดังนี้ร่ำไป กว่าจะสำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต
    #ถ้าโยคาวจรพิจารณาแต่ท่อนกระดูกอันเดียว
    #อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตปรากฏเป็นอย่างเดียวกัน
    ถ้าโยคาวจรพิจารณากระดูกที่ยังติดกันอยู่ทั้งสิ้น
    อุคคหนิมิตปรากฏปรากฏเป็นช่องๆ เป็นระยะๆ ปฏิภาคนิมิตปรากฏเป็นร่างกายอสุภะบริบูรณ์สิ้นทั้งนั้นฯ
    .......................................................................
    อสุภะ อานาปานสติ
    "ถือเอาอสุภนิมิต ของผู้พิจารณาเห็นอสุภะในอาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น หรือในซากศพที่ขึ้นพองเป็นต้น แล้วยังปฐมฌานให้เกิดขึ้นในเพราะอสุภนิมิตนั้น ทำปฐมฌานนั้นให้เป็นเบื้องบาท เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วจึงบรรลุ. อธิบายว่า ตัดขาดโดยประการทั้งปวง"
    ในอสุภสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า อสุภานุปสฺสี ความว่า เธอทั้งหลายเมื่อพิจารณาเห็นว่าไม่งาม ชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่งาม คืออาการที่ไม่งามในกายด้วยสามารถแห่งอาการ ๓๒ และด้วยสามารถแห่งการน้อมนำเข้าไปหานิมิตที่ตนถือเอาแล้วในศพที่ขึ้นพองแล้วเป็นต้นอยู่.
    บทว่า อานาปานสฺสติ ได้แก่ สติในลมหายใจ คือสติที่ปรารภลมหายใจนั้นเป็นไป. อธิบายว่า สติที่กำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก.
    สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้มีอาทิว่า๑- ลมหายใจเข้าชื่อว่าอานะ ไม่ใช่ลมหายใจออก ลมหายใจออกชื่อว่าปานะ ไม่ใช่ลมหายใจเข้า.
    ____________________________
    ๑- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๓๘๖
    บทว่า โว แปลว่า เพื่อเธอทั้งหลาย.
    ในบทว่า อชฺฌตฺตํ นี้ ท่านประสงค์เอาอารมณ์ภายใน.
    บทว่า ปริมุขํ ได้แก่ เฉพาะหน้า.
    บทว่า สุปติฏฺฐิตา ความว่า สติที่ตั้งมั่นไว้แล้วด้วยดี.
    ท่านอธิบายไว้ว่า ก็อานาปานสติจงเป็นอันเธอทั้งหลายเข้าไปตั้งไว้แล้วด้วยดี เฉพาะหน้ากรรมฐานดังนี้.
    อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปริมุขํ ความว่า มีการนำออกไปตามที่กำหนดไว้แล้ว.
    สมจริงดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรคว่า๒-
    บทว่า ปริ มีความหมายว่ากำหนด.
    บทว่า มุขํ มีความหมายว่านำออก.
    บทว่า สติ มีความหมายว่าเข้าไปตั้งไว้.
    ____________________________
    ๒- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๓๘๘
    ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า จงตั้งสติไว้เฉพาะหน้าดังนี้. ด้วยบทว่า ปริมุขํ สตึ นี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงการเจริญกรรมฐาน คืออานาปานสติ ๑๖ ประเภทในสติปัฏฐาน ๔.
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานที่เป็นสัปปายะแก่ผู้มีราคจริต และวิตกจริต ด้วยสามารถแห่งการพิจารณากายเนืองๆ ด้วยการทำไว้ในใจว่าปฏิกูล โดยสังเขปเท่านั้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงเฉพาะวิปัสสนากัมมัฏฐานล้วนๆ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี วิหรถ ดังนี้.
    ในวิปัสสนากัมมัฏฐาน พึงทราบหมวดทั้ง ๔ นี้ คือ อนิจจัง ๑ อนิจจลักษณะ ๑ อนิจจานุปัสสนา ๑ อนิจจานุปัสสี ๑.
    ขันธบัญจก ชื่อว่าอนิจจัง เพราะมีแล้วกลับไม่มี เพราะประกอบด้วยความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป เพราะเป็นไปชั่วคราว และเพราะแย้งต่อนิจจะ (ความเที่ยง). อาการที่มีแล้ว กลับไม่มีอันใดของขันธบัญจกนั้น อันนั้นชื่อว่าอนิจจลักษณะ. #วิปัสสนาที่ปรารภอนิจจลักษณะนั้นเป็นไป ชื่อว่าอนิจจานุปัสสนา พระโยคาวจรผู้เห็นแจ้งอนิจจลักษณะนั้นว่าไม่เที่ยง ชื่อว่าอนิจจานุปัสสี.
    ก็ในสติปัฏฐานนี้ควรจะกล่าวอสุภกถา ๑๑ อย่างให้ถึงปฐมฌาน อานาปานกถาที่มีวัตถุ ๑๖ ให้ถึงจตุตถฌาน และวิปัสสนากถาโดยพิสดาร. แต่อสุภกถาเป็นต้นนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในปกรณ์พิเศษ ชื่อว่าวิสุทธิมรรค โดยครบถ้วนทุกอาการ เพราะฉะนั้น พึงทราบโดยนัยดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นเถิด.
    บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงผลพิเศษที่จะพึงให้สำเร็จด้วยอสุภานุปัสสนาเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า อสุภานุปสฺสีนํ ดังนี้.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุภาย ธาตุยา ความว่า ในความเป็นของงาม. อธิบายว่า ในสุภนิมิต.
    บทว่า ราคานุสโย ได้แก่ กามราคานุสัยนั้นที่ควรแก่การเกิดขึ้นในเพราะสุภารมณ์. กามราคานุสัยนั้น พระโยคาวจรละได้ด้วยอนาคามิมรรค ที่ตนถือเอาอสุภนิมิต ของผู้พิจารณาเห็นอสุภะในอาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น หรือในซากศพที่ขึ้นพองเป็นต้น แล้วยังปฐมฌานให้เกิดขึ้นในเพราะอสุภนิมิตนั้น ทำปฐมฌานนั้นให้เป็นเบื้องบาท เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วจึงบรรลุ. อธิบายว่า ตัดขาดโดยประการทั้งปวง.
    สมดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า ควรเจริญอสุภะเพื่อละกามราคะ ดังนี้.
    บทว่า พาหิรา ความว่า อกุศลธรรมที่ชื่อว่าข้างนอก คือที่ชื่อว่าเป็นภายนอก เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ในภายนอก และไม่นำประโยชน์มาให้.
    บทว่า วิตกฺกาสยา ได้แก่ มิจฉาวิตกมีความดำริในกามเป็นต้น.
    ก็มิจฉาวิตกเหล่านั้นที่ยังละไม่ได้ จะคล้อยตามอาสยะ (กิเลสที่นอนเนื่อง) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วิตกฺกาสยา เพราะเมื่อมีความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัยก็จะเกิดขึ้นได้.
    ก็ในวิตกทั้ง ๓ นี้ กามวิตก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่ากามราคะนั่นเอง. เพราะฉะนั้น วิตกที่เหลือจากกามวิตกนั่นแหละ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว.
    บทว่า วิฆาตปกฺขิกา ความว่า เป็นส่วนแห่งความทุกข์ คือกระทำการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ ด้วยอำนาจแห่งความอยาก.
    บทว่า เต น โหนฺติ ความว่า ละกามวิตกเหล่านั้นได้.
    มหาวิตก ๙ อย่าง พร้อมด้วยกามวิตก ๘ คือ พยาบาทวิตก (วิตกถึงพยาบาท) วิหิงสาวิตก (วิตกถึงการเบียดเบียน) ญาติวิตก (วิตกถึงหมู่ญาติ) ชนบทวิตก (วิตกถึงชนบท) อมราวิตก (วิตกถึงเทวดา) วิตกที่ประกอบด้วยความไม่ดูหมิ่น วิตกที่ประกอบด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ วิตกที่ประกอบด้วยความเอ็นดูในผู้อื่น ที่ข่มได้ในเบื้องต้นด้วยสมาธิที่เกิดเพราะอานาปานสติ จะละได้โดยไม่มีเหลือตามสมควรด้วยอริยมรรคที่ทำวิปัสสนานั้นให้เป็นเบื้องบาท แล้วจึงบรรลุ.
    สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พึงเจริญอานาปานสติเพื่อเข้าไปตัดเสียซึ่งวิตก ดังนี้.๓-
    ____________________________
    ๓- องฺ. นวก. เล่ม ๒๓/ข้อ ๒๐๕ ขุ. อุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๘๙
    บทว่า ยา อวิชฺชา สา ปหียติ ความว่า อวิชชาใดที่ปกปิดสภาพแห่งความจริง ทำความฉิบหายให้ทุกอย่าง เป็นมูลฐานแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้น อวิชชานั้น ผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงอยู่จะตัดขาดได้.
    ได้ยินว่า บทว่า ยา อวิชฺชา สา ปหียติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยสามารถแห่งพระขีณาสพผู้เป็นสุกขวิปัสสกผู้อยู่จบพรหมจรรย์ โดยอาการแห่งอนิจจลักษณะ
    ข้อนั้นมีความสังเขปดังต่อไปนี้.
    เมื่อพระโยคาวจรทั้งหลายเริ่มตั้งสัมมัสสนญาณ เห็นแจ้งสังขารทั้งปวงที่เป็นไปในภูมิ ๓ โดยความไม่เที่ยงเป็นต้น วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินี ที่เป็นไปอยู่ว่าไม่เที่ยงดังนี้ สืบต่อได้ด้วยมรรคในเวลาใด ในเวลานั้น อรหัตมรรคก็จะเกิดขึ้นตามลำดับ เมื่อท่านเหล่านั้นพิจารณาอนิจจลักษณะเนืองๆ อยู่ ก็จะละอวิชชาได้โดยไม่เหลือ อรหัตมรรควิชชาจะเกิดขึ้น.
    คำว่า อนิจฺจานุปสฺสีนํ วิหรตํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยอนิจจลักษณะ เป็นธรรมปรากฏแก่พระโยคาวจรเหล่านั้น. หรือโดยเป็นอุบายในการถือเอาลักษณะทั้งสองนอกนี้ แต่ไม่ได้ตรัสไว้โดยที่พระโยคาวจรจะพึงพิจารณาลักษณะอย่างเดียวเท่านั้นเนืองๆ.
    สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตาดังนี้ ทั้งยังตรัสคำอื่นไว้ว่า ดูก่อนเมฆิยะ ก็อนัตตสัญญาของผู้มีอนิจจสัญญาจะตั้งมั่น ผู้มีอนัตตสัญญาจะถึงการถอนอัสมิมานะขึ้นได้ดังนี้.
    พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้.
    บทว่า อานาปาเน ปฏิสฺสโต ความว่า มีสติเฉพาะๆ ในอานาปานนิมิต. อธิบายว่า เข้าไปตั้งสติไว้มั่น.
    บทว่า ปสฺสํ ความว่า เห็นอยู่ซึ่งพระนิพพานอันเป็นที่ระงับสังขารด้วยญาณจักษุอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ.
    บทว่า อาตาปี สพฺพทา ความว่า มีความเพียรอยู่เนืองๆ ในธรรมมี #อสุภานุปัสสนา (#การพิจารณาเห็นว่าไม่งาม) เป็นต้น โดยไม่หยุดชะงักในระหว่าง คือประกอบแล้วประกอบเล่า (ทำสม่ำเสมอ).
    บทว่า ยโต ได้แก่ พยายามอยู่.
    อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ เป็นผู้แน่นอนในธรรมนั้น คือในพระนิพพานอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวงด้วยสัมมัตตนิยาม หลุดพ้นด้วยการหลุดพ้น ด้วยอำนาจอรหัตผล.
    คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวแล้วทั้งนั้น.
    จบอรรถกถาอสุภสูตรที่ ๖
    -----------------------------------------------------
    "อานาปานสติ วิปัสสนานามรูป"
    และ จิตกับอารมณ์ ในภังคาวิปัสสนาญาณนิเทศ
    อนึ่ง ภิกษุผู้มีจตุกฌานเกิดแล้วอย่างนี้ ประสงค์จะเจริญกรรมฐานด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาและมรรคแล้ว บรรลุความบริสุทธิ์จงทำฌานนั้นให้คล่องแคล่วถึงความชำนาญด้วยอาการ ๕ อย่างแล้ว กำหนดนามรูปเริ่มตั้งวิปัสสนา.
    อย่างไร เพราะภิกษุนั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรชกายและจิตเป็นเหตุเกิดลมอัสสาสะปัสสาสะ.
    เหมือนอย่างว่า ลมย่อมสัญจรเพราะอาศัยเครื่องสูบของช่องทองและความพยายาม เกิดแต่การสูญเครื่องของบุรุษฉันใด
    ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมสัญจรเพราะอาศัยกายและจิตฉันนั้นเหมือนกัน.
    แต่นั้นย่อมกำหนดกายว่า เป็นรูปในเพราะอัสสาสะปัสสาสะ และกำหนดจิตว่าเป็นอรูปในเพราะธรรมอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น.
    ครั้นภิกษุกำหนดนามรูปอย่างนี้ แล้วแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น เมื่อแสวงหา ครั้นเห็นปัจจัยนั้นแล้ว ปรารภถึงความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลแม้ ๓ แล้วจึงข้ามความสงสัยได้ ข้ามความสงสัยได้แล้ว จึงยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเป็นกลาปะ (กอง) เมื่อส่วนเบื้องต้นแห่งอุทยัพพยานุปัสสนาเกิด จึงละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ มีโอภาสเป็นต้น แล้วกำหนดอุทยัพพยานุปัสสนาญาณอันพ้นจากอุปกิเลสว่า มรรคละความเกิด ถึงภังคานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความดับ) เมื่อสังขารทั้งปวงปรากฏโดยความเป็นภัย ด้วยภังคานุปัสสนาเป็นลำดับ จึงเบื่อหน่าย พ้นบรรลุอริยมรรค ๔ ตามลำดับ ตั้งอยู่ในอรหัตผลถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณาญาณ ๑๙ เป็นทักษิไณยบุคคลผู้เลิศของโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
    ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ การเจริญอานาปานสติสมาธิ ตั้งต้นแต่การนับลมอัสสาสะปัสสาสะนั้น มีวิปัสสนาเป็นที่สุด เป็นอันครบริบูรณ์. นี้เป็นการพรรณนาปฐมจตุกะโดยอาการทั้งปวง ดังนี้แล.
    อนึ่ง ในจตุกะ ๓
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=362&p=3
    "จิตกับอารมณ์"
    ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส
    แสดงภังคานุปัสสนาญาณ
    [๕๑] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความดับ ชื่อว่า
    วิปัสสนาญาณ เป็นอย่างไร
    คือ จิตมีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์
    นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความดับไปแห่งจิตนั้น
    พิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น
    คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณา
    เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความ
    เป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลาย
    กำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
    [๕๒] เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณา
    เห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
    ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิ (ความยินดี) ได้ เมื่อคลายกำหนัด
    ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะ
    (ความยึดถือ) ได้
    จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสังขารเป็นอารมณ์
    ฯลฯ จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์ ฯลฯ
    จิตมีจักขุเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วย่อม
    ดับไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความดับไปแห่งจิตนั้น
    พิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น
    คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณา
    เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความ
    เป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลาย
    กำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
    เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็น
    โดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
    ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละ
    ราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้
    การก้าวลงสู่อารมณ์ การหลีกไปด้วยปัญญา
    การคำนึงถึงที่มีกำลัง ชื่อว่าปฏิสังขาวิปัสสนา๑-
    การกำหนดธรรม ๒ ประการ๒-
    ว่ามีสภาวะอย่างเดียวกันกับอารมณ์ปัจจุบัน
    ความน้อมจิตไปในความดับ ชื่อว่าวยลักขณวิปัสสนา๓-
    การที่พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์แล้ว
    พิจารณาเห็นความดับแห่งจิต
    และความปรากฏโดยสุญญตะ
    ชื่อว่าอธิปัญญาวิปัสสนา๔-
    พระโยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสสนา ๓
    และวิปัสสนา ๔ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่างๆ
    เพราะเป็นผู้ฉลาดในความปรากฏ ๓ ประการ๕-
    ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
    เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความดับไป
    ชื่อว่าวิปัสสนาญาณ
    ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทสที่ ๗ จบ
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=20
    -----------------------------------------------------
    อานาปานาทิเปยยาลที่ ๗ แห่งโพชฌงค์
    อัฏฐิกสัญญามีผล ๒ อย่าง
    [๖๔๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้
    มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มาก
    แล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
    เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
    ไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก
    อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญ
    แล้ว อย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    [๖๔๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือ
    เมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ก็เมื่ออัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร
    กระทำให้มากแล้วอย่างไร พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน
    หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
    น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก
    อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญา อันบุคคล
    เจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
    อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.
    [๖๔๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ
    ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก ก็อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้
    มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
    เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
    ไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก
    อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลผู้เจริญ
    แล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก.
    [๖๔๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระ
    ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ ก็อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว
    อย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัย
    วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย
    อัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษม
    จากโยคะใหญ่.
    [๖๔๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ
    ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก ก็อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำ
    ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
    น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก
    อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญ
    แล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก.
    [๖๔๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระ
    ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก ก็อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระ
    ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
    นี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
    น้อมไปในการสละ ฯลฯ เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก
    อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญ
    แล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก.
    [๖๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุฬวกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
    [๖๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วินีลกสัญญา ฯลฯ
    [๖๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิจฉิททกสัญญา ฯลฯ
    [๖๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุทธุมาตกสัญญา ฯลฯ
    [๖๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมตตา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
    [๖๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรุณา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
    [๖๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มุทิตา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
    [๖๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเบกขา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
    [๖๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
    [๖๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
    [๖๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
    [๖๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา ฯลฯ
    [๖๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ฯลฯ
    [๖๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา ฯลฯ
    [๖๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจ ทุกขสัญญา ฯลฯ
    [๖๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเข อนัตตสัญญา ฯลฯ
    [๖๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปหานสัญญา ฯลฯ
    [๖๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิราคสัญญา ฯลฯ
    [๖๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว
    อย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติ-
    *สัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ
    สละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
    อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้
    แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    [๖๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือ
    เหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี เมื่อนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว
    @๑. ตั้งแต่ข้อ ๖๔๗ ถึงข้อ ๖๖๔ มีเนื้อความเหมือนข้ออัฏฐิกสัญญา
    อย่างไร พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึด
    ถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
    อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ
    ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
    น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำ
    ให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือ
    เมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.
    [๖๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก เพื่อความเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่ออยู่เป็น
    ผาสุกมาก ก็นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไป
    เพื่อประโยชน์มาก เพื่อความเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา
    อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็น
    ไปเพื่อประโยชน์มาก เพื่อความเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก.
    [๖๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไป
    สู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ ก็ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
    โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน ก็ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗
    อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
    ไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
    น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗
    อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
    (พึงขยายความบาลีไปจนกระทั่งถึงการแสวงหา)
    สังโยชน์ ๕
    [๖๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้ ๕ ประการ
    เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕
    ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
    ความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
    อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
    อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ
    เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล
    [๖๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่า
    ไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ก็ย่อมเป็นผู้น้อม
    ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน ก็ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗
    กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
    นิพพาน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะ
    เป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัม-
    *โพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อม
    ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
    (พึงขยายความบาลี ตั้งแต่การกำจัดราคะเป็นที่สุดเช่นนี้ไปจนถึงการแสวงหา)
    [๖๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น
    ไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕
    ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
    ความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มี
    อันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอัน
    กำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ
    สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล.
    (พึงขยายความโพชฌงคสังยุต เหมือนมัคคสังยุต)
    เรื่องในวรรคนี้ คือ
    ๑. อัฏฐิกสัญญา ๒. ปุฬวกสัญญา ๓. วินีลกสัญญา ๔. วิจฉิททกสัญญา
    ๕. อุทธุมาตกสัญญา ๖. เมตตา ๗. กรุณา ๘. มุทิตา ๙. อุเบกขา ๑๐. อานาปานสติ.
    จบ อานาปานวรรคที่ ๗ แห่งโพชฌงคสังยุต
    ๑. อสุภสัญญา ๒. มรณสัญญา ๓. อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๔. สัพพโลเกอนภิรต-
    *สัญญา ๕. อนิจจสัญญา ๖. อนิจเจทุกขสัญญา ๗. ทุกเขอนัตตสัญญา ๘. ปหานสัญญา
    ๙. วิราคสัญญา ๑๐. นิโรธสัญญา.
    จบ นิโรธวรรคที่ ๘ แห่งโพชฌงคสังยุต
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๓๖๔๐-๓๗๗๘ หน้าที่ ๑๕๓-๑๕๘.


    *******************************************

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    ?temp_hash=030498f3b08da8a5c549efbe2782c6bf.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. bird180531

    bird180531 นาย Bio

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2021
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +324
    ปฎิบัติแล้ว ได้รับอะไรบ้างครับ...
    ผมเคยมอง ไม่มีกระดูกเลยครับ....
    ต้องมองแบบไหนครับ.....
    แล้ว ธาตุทั้ง4 มองตรงไหนครับ..
    น้ำเหลือง เลือด เนื่อหนัง มองแบบไหน..
    ไม่เป็นครับ มาแชร์ความรู้กันครับ...


    ผมไม่เคย ทางด้านนี้ครับ แต่คิดจะทำ แต่ดันไม่ชอบ เหมือนเรายังตัดไม่ขาด อือ อายุคงน้อยเกินไป สยองไปนิดนึง มีวิธีแก้ความคิดแบบนี้ไหมครับ

    แต่เราปฎิบัติมา เราได้เข้าถึง อุเบกขา
    การวางเฉย น่าจะอยู่ ตรง บนท้ายทอย
    จะหยุดความคิดต่างๆได้ ที่มานั้น ก็.....
    สมาธิ เอามาแบ่งปันกันครับ จะได้สบาย
    .
    .
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2021
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ทำสมาธิ เข้าสมาธิ ฌาน ปฐมฌาน กำหนดนิมิตกระดูกขึ้นมา แล้ววิปัสสนากรรมฐาน
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    ?temp_hash=d723fddf8a98da97a15ec90c19aa5e1a.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    ?temp_hash=d723fddf8a98da97a15ec90c19aa5e1a.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    xVJBdlqgoHknX4QROCX4MLH5dbncbhht0eP5TJ_PczbJ&_nc_ohc=sW59XEHGCU4AX9syFy1&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    ?temp_hash=dc7b6b7aaba81395449eafede9668f0e.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...