ปิดรับบริจาค ขอเชิญร่วมบุญพระเจดีย์ ๓ ครูบา (ปิดรับ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒)

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย เตอร์, 23 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    แกะสลักเทวดารักษาซุ้มประตู

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 012[1].jpg
      012[1].jpg
      ขนาดไฟล์:
      117.5 KB
      เปิดดู:
      435
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2014
  2. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    ช่างกำลังแกะสลักลวดลายลงบนพระเจดีย์

    a.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 007.jpg
      007.jpg
      ขนาดไฟล์:
      142.2 KB
      เปิดดู:
      319
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2019
  3. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    พระเจดีย์ ๓ ครูบา ด้านข้าง

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 003.jpg
      003.jpg
      ขนาดไฟล์:
      71.1 KB
      เปิดดู:
      393
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2013
  4. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    พระเจดีย์ ๓ ครูบา ด้านหลัง

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 021[1].jpg
      021[1].jpg
      ขนาดไฟล์:
      121.8 KB
      เปิดดู:
      407
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2013
  5. pucca2101

    pucca2101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    5,805
    ค่าพลัง:
    +20,896
    ขอร่วมทำบุญสร้างเจดีย์ด้วยคนนะคะ วันนี้โอนเงินไปแล้ว เวลา 14.23 น. จำนวน 200 บาทค่ะ
    ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
     
  6. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    ขออนุโมทนาบุญกับคุณpucca2101 ด้วยครับ
     
  7. ลุงชาลี

    ลุงชาลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,958
    ค่าพลัง:
    +4,763
    สาธุ ขออนุโมทนากับทุกท่านครับ ปีที่ท่านป่วยผมกำลังเดินทางไปกราบขอพรท่าน ก่อนถึงวัดโทรถามทางจากศิษย์ท่าน ทราบว่ารักษาการป่วยที่โรงพยาบาลสวนดอก จึงกลับไปนอนโรงแรมก่อนคิดว่าท่านหายแล้วค่อยไปกราบท่านแต่ท่านก็มรณภาพเสียก่อน ปีหลังจึงไปกราบสรีระท่านแทนที่วัดพระบาทห้วยต้ม วาสนามีแค่นี้ ตั้งใจจะไปกราบท่านอีกที่วัด ผมจะร่วมทำบุญด้วย ขอชวนครอบครัวเพื่อนๆช่วยกันทำบุญจะแจ้งมาน่ะครับ สาธุ
     
  8. Kermit

    Kermit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +2,111
    ผมขอร่วมบุญสร้างเจดีย์ครับ ผมได้โอนเงินปัจจัยจำนวน 1,000 บาทเข้าบัญชีเมื่อวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมาแล้วครับ

    ขอร่วมโมทนาบุญกับทุกท่านมา ณ โอกาสนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    ขอโมทนาบุญกับคุณลุงชาลี และคุณKermit ด้วยนะครับ
     
  10. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    ประวัติวัดพระพุทธบาทตะเมาะ

    ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (หลวงพ่อวงศ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เล่าให้ฟังว่า วัดพระพุทธบาทตะเมาะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตกาล เนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์แห่งกัปนี้ ได้แก่ พระพุทธเจ้ากกุสันโธ พระพุทธเจ้าโกนาคมนาคม พระพุทธเจ้ากัสปะ พระพุทธเจ้าสมณโคดม เคยเสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ และประทับรอยพระพุทธบาทไว้ และเคยมีพุทธสาวกหลายองค์มาปฏิบัติ และบรรลุธรรมที่สถานที่แห่งนี้

    ภายในวัดยังมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่ง เช่น รอยพระบาทของพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์, แท่นหินที่พระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ประทับไสยาสน์, รอยพระบาทของพระสาวกซึ่งเป็นพุทธอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้ากุสันโท, รอยพระบาทของพระฤๅษีที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ฯลฯ

    ที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะแห่งนี้ เคยเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระฤาษี ๒ องค์ ซึ่งต่อมาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา และปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ สถานที่นิพพานของท่านทั้งสองอยู่บนแท่นหินภายในบริเวณวัด พระสรีระของท่านทั้งสองยังไม่ได้ประชุมเพลิง พระอินทร์ได้อัญเชิญพระสรีระขององค์หนึ่งไปไว้บนยอดเขาตะเมาะ ส่วนอีกองค์หนึ่งไว้ที่ยอดเขาดอยเกิ้ง เพื่อรอพระศรีอริยะเมตไตรยมาประชุมเพลิงด้วยพระองค์เอง ซึ่งบารมีของท่านทั้งสองยังคุ้มครองสถานที่แห่งนี้ ให้ผู้มุ่งหวังปฏิบัติธรรมได้รับความสงบสุข (ชาวบ้านมักเห็นแสงไฟดวงกลมวิ่งไปมาระหว่างยอดเขาทั้งสองเสมอ)

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ หลวงพ่อวงศ์ได้พาคณะศิษย์ไปที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ซึ่งขณะนั้นมีพระชาวต่างประเทศมาจำพรรษาอยู่มาก ท่านได้เล่าให้ฟังว่า ครูบาอภิชัยขาวปีเป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้ และจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๗ รวมเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ๓๓ ปี

    หลวงพ่อวงศ์ได้บูรณะสถานที่สำคัญหลายแห่งภายในวัด เช่น มณฑป ๙ ยอด ครอบรอยพระพุทธบาท ฯลฯ และหลวงพ่อวงศ์ได้มาช่วยครูบาอภิชัยขาวปีก่อสร้างเป็นเวลา ๕ ปี สิ่งก่อสร้างที่เหลือไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชื่นชมอีกอย่างก็คือ กำแพงซึ่งทำจากหินล้วนไม่มีการใช้ปูนแต่อย่างใด กำแพงดังกล่าวเป็นแนวยาว ๒ ชั้น แต่ละชั้นยาวประมาณ ๑๐๐ เมตร

    นอกจากแนวกำแพงหินแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงพ่อวงศ์ยังได้สร้างมณฑปไว้ด้วย มณฑปนี้เป็นรูปทรงล้านนา และทำจากไม้ทั้งหลังซึ่งในปัจจุบันจะหาช่างทำได้ยาก เพราะมณฑปทั้งหลังใช้การเข้าลิ่มไม้ทั้งสิ้น จะใช้น๊อตยึดก็เพียงไม่กี่ตัว ท่านเล่าให้ฟังว่า มณฑปนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ล้ำค่าของท่าน เพราะต้องผจญกับมารหลายประการ เนื่องจากเขตวัดพระพุทธบาทตะเมาะขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่ ในขณะนั้นทางการจังหวัดเชียงใหม่เข้มงวดเรื่องป่าไม้มาก แม้จะนำมาสร้างเป็นถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนาก็ยังเป็นการลำบาก

    ในระหว่างที่หลวงพ่อวงศ์มาทำการก่อสร้างที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะอยู่นั้น ท่านต้องพักผ่อนจำวัดที่ห้วยน้ำอุ่น (ปัจจุบันเป็นสถานปฏิบัติธรรม) ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดลำพูน และห่างจากวัดพระพุทธบาทตะเมาะ ๕ กิโลเมตร กิจวัตรประจำวันของท่าน เริ่มด้วยตื่นเวลา ๔ น. สวดมนต์ทำวัตรจนถึงเวลา ๕ น. เดินทางจากห้วยน้ำอุ่นไปวัดพระพุทธบาทตะเมาะ มาฉันภัตตาหารที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ จากนั้นนำคณะศรัทธาก่อสร้าง โดยท่านเป็นผู้ควบคุมเอง ในช่วงเที่ยงวัน คณะศรัทธาจะพักรับประทานอาหาร ขณะนั้นท่านฉันมื้อเดียว ท่านจึงใช้เวลาที่คณะศรัทธาพักรับประทานอาหารนี้ ไปก่อหินทำถนนระหว่างห้วยน้ำอุ่นกับวัดพระพุทธบาทตะเมาะ ซึ่งคณะศรัทธาอีกคณะหนึ่งได้นำหินมากองเรียงไว้ เมื่อถึงเวลาช่วงบ่าย ท่านก็จะกลับมาควบคุมการก่อสร้างที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะต่อไป จนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดินไม่สามารถมองเห็นลายมือแล้ว จึงเดินทางกลับไปพักที่ห้วยน้ำอุ่น ระหว่างทางที่เดินทางกลับ ก็จะช่วยกันยกหินที่คณะศรัทธาอีกคณะหนึ่งเรียงกองไว้ นำมาทำถนนระหว่างทางไปเรื่อย ท่านจะกลับถึงห้วยน้ำอุ่นประมาณ ๒๒-๒๓ น.ทุกวัน จากนั้นท่านก็จะสรงน้ำ สวดมนต์ไหว้พระ เจริญกรรมฐาน และจำวัดประมาณ ๒๔ น. ตื่นเวลา ๔ น. ท่านใช้เวลา ๓ เดือน จึงก่อสร้างแล้วเสร็จ นับเป็นความวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่ง

    เหตุที่ท่านไม่สามารถจำวัดและให้คณะศรัทธาพักที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะได้ เนื่องจากขณะนั้นครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่และคณะสงฆ์ของจังหวัดเชียงใหม่มีความเข้มงวด ในระหว่างที่กำลังก่อสร้างอยู่นั้น ศิษย์ของครูบาอภิชัยขาวปีเกิดมีเรื่องกับเจ้าหน้าที่และคณะสงฆ์ของบ้านเมือง จนกระทั่งพระปันถูกจับสึกให้นุ่งขาวห่มขาว เป็นเหตุให้ครูบาอภิชัยขาวปีต้องย้ายจากวัดพระพุทธบาทตะเมาะ ไปอยู่ที่วัดพระธาตุห้าดวงและพระพุทธบาทผาหนาม ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เขตติดต่อกับวัดพระพุทธบาทตะเมาะ เมื่อสร้างมณฑปเสร็จแล้ว ก็ทำการฉลองกันอย่างรีบเร่ง ซึ่งเมื่อฉลองเสร็จหลวงพ่อวงศ์ก็ติดตามครูบาอภิชัยขาวปีไป

    หลังจากเหตุการณ์สงบลงแล้ว คณะศรัทธาเคยอาราธนานิมนต์ให้ครูบาอภิชัยขาวปีกลับไปที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ แต่ท่านก็ไม่รับนิมนต์ และบอกว่า "อีกหน่อยจะมีตุ๊ใต้มาอยู่กันเป๊อะเรอะ" (พระภาคใต้มาอยู่กันมาก ภาคใต้ตามความหมายของคนเหนือคือ นับจากภาคกลางของประเทศไทยลงไป เป็นภาคใต้หมด) ส่วนหลวงพ่อครูบาวงศ์ท่านเคยบอกว่า "ถ้าไม่ได้อยู่ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ก็จะมาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ"

    ในอดีต วัดพระพุทธบาทตะเมาะเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก โดยเฉพาะในสมัยที่ครูบาอภิชัยขาวปียังจำพรรษาอยู่ที่วัด มีศรัทธาญาติโยมทั้งชาวไทยและชาวเขากระเหรี่ยงมาร่วมกันทำบุญเป็นจำนวนมาก มีการก่อวิหาร ที่พักของพระสงฆ์ และเสนาสนะอื่นๆภายในวัด นอกจากนี้ ครูบาอภิชัยขาวปียังได้รับนิมนต์ไปก่อสร้างสาธารณประโยชน์ที่อื่นอีกมาก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ครูบาอภิชัยขาวปีไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอื่น ซึ่งภายหลังจากที่ท่านจากวัดพระพุทธบาทตะเมาะไปแล้ว วัดก็ค่อยๆเสื่อมโทรมลง จนกลายเป็นวัดร้างในที่สุด

    เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ พระอาจารย์นพดล สิริวฑฺฒโน ได้ย้ายจากวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม มาจำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ซึ่งในช่วงแรกนี้ ท่านได้สร้างเสนาสนะเท่าที่จำเป็นเพื่อการปฏิบัติธรรม ต่อมาจึงสร้างเสนาสนะเพิ่มขึ้น ได้แก่ โรงครัว หอระฆัง แท็งก์น้ำ ศาลาปฏิบัติธรรมของญาติโยม เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๑ จึงได้สร้างพระเจดีย์สามครูบาขึ้นมา เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ครูบาศรีวิชัย, ครูบาอภิชัยขาวปี และครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2011
  11. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    วัดพระพุทธบาทตะเมาะตั้งอยู่ที่ตำบลโปงทุ่ง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่

    การเดินทางให้ใช้เส้นทางกรุงเทพ-ลี้ เมื่อถึงแยกอำเภอดอยเต่าให้เลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอดอยเต่า จากปากทางแยกถึงวัดเป็นระยะทาง ๙ กิโลเมตร:p

    a.jpg <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 9.jpg
      9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      129 KB
      เปิดดู:
      100
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2019
  12. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    พระอุโบสถ มุงด้วยหญ้าคา ใช้เป็นที่ทำสังฆกรร

    a.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 10.jpg
      10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      171 KB
      เปิดดู:
      134
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2019
  13. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    กุฏิพระสงฆ์

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 11.jpg
      11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      161.2 KB
      เปิดดู:
      177
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2014
  14. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    ภายในวัดพระพุทธบาทตะเมาะยามเย็น

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 020[1].jpg
      020[1].jpg
      ขนาดไฟล์:
      65.8 KB
      เปิดดู:
      429
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2013
  15. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    บรรยากาศยามอาทิตย์อัสดง

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 019[1].jpg
      019[1].jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.2 KB
      เปิดดู:
      385
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2013
  16. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    ดวงอาทิตย์ขึ้นยามเช้า ตั้งอยู่ยามเที่ยง และตกในยามเย็น ชีวิตของเราก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่นกัน

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 018[1].jpg
      018[1].jpg
      ขนาดไฟล์:
      29.3 KB
      เปิดดู:
      360
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ธันวาคม 2014
  17. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    มณฑปไม้ที่หลวงพ่อครูบาชัยยะวงศาพัฒนาสร้างไว้

    a.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 001.jpg
      001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      151.4 KB
      เปิดดู:
      274
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2019
  18. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    มณฑป ๙ ยอด ครอบรอยพระพุทธบาท

    a.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 002.jpg
      002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      155.7 KB
      เปิดดู:
      292
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2019
  19. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    มณฑป ๘๔ ยอด ครอบรอยพระพุทธบาท

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 20.jpg
      20.jpg
      ขนาดไฟล์:
      89.2 KB
      เปิดดู:
      203
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2014
  20. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    ประวัติครูบาศรีวิชัย

    a.jpg

    ครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น "ตนบุญ" หรือ "นักบุญ"อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่าครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน "ตุ๊เจ้าสิลิ") แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือพระศรีวิชัยชนะภิกขุ เดิมชื่อเฟือน หรืออินท์เฟือน บ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้องเนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้นปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้นหมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาลเดือน ๙ เหนือ (เดือน ๗ ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จ.ศ. ๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๑ ที่หมู่บ้านชื่อ "บ้านปาง"ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย นางอุสา

    มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน มีชื่อตามลำดับคือ
    ๑. นายไหว
    ๒. นางอวน
    ๓. นายอินท์เฟือน (ครูบาศรีวิชัย)
    ๔. นางแว่น
    ๕.นายทา

    ทั้งนี้นายควายบิดาของท่านได้ติดตามผู้เป็นตาคือ หมื่นปราบ (ผาบ)ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์ (เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ ช่วง พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๓๑)ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปางบ้านเดิมของนายควายอยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน

    ในสมัยที่ครูบาศรีวิชัยหรือนายอินท์เฟือนยังเป็นเด็กอยู่นั้นหมู่บ้านดังกล่าวยังกันดารมากมีชน กลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาว ปกาเกอญอ(กะเหรี่ยง) ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้านจนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ ๑๗ ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัตติยะ (ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก)เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้นชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปางแล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา

    ในช่วงนั้นเด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ ๑๘ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขัตติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ ๓ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปีก็ได้เข้าอุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูนโดยมีครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่าสิริวิชโยภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็นสรีวิไชย สีวิไช หรือ สรีวิชัย

    เมื่ออุปสมบทแล้วสิริวิชโยภิกขุก็กลับมาจำพรรษาที่อารามบ้านปางอีก ๑ พรรษาจากนั้นได้ไปศึกษากัมมัฏฐานและวิชาอาคมกับครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทาจังหวัดลำพูน ต่อมาได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาวัดดอยคำอีกด้วยและอีกท่านหนึ่งที่ถือว่าเป็นครูของครูบาศรีวิชัยคือ ครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวงซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน

    ครูบาศรีวิชัยรับการศึกษาจากครูบาอุปละ วัดดอยแตเป็นเวลา ๑พรรษาก็กลับมาอยู่ที่อารามบ้านปางจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ (อายุได้ ๒๔ ปี พรรษาที่ ๔)ครูบาขัตติยะได้จาริกออกจากบ้านปางไป (บางท่านว่ามรณภาพ)ครูบาศรีวิชัยจึงรักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส และเมื่อครบพรรษาที่ ๕ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง จากนั้นก็ได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสมคือบริเวณเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดบ้านปางในปัจจุบันเพราะเป็นที่วิเวกและสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดีโดยได้ให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า วัดจอมสรีทรายมูลบุญเรืองแต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกว่า วัดบ้านปาง ตามชื่อของหมู่บ้าน

    ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัดโดยที่ท่านงดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิงท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้ ๒๖ ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียวซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าวทั้ง ๕ เดือนคงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังงดฉันผักตามวันทั้ง ๗ คือ
    วันอาทิตย์ ไม่ฉันฟักแฟง,
    วันจันทร์ ไม่ฉันแตงโมและแตงกวา,
    วันอังคาร ไม่ฉันมะเขือ,
    วันพุธ ไม่ฉันใบแมงลัก,
    วันพฤหัสบดี ไม่ฉันกล้วย,
    วันศุกร์ ไม่ฉันเทา (อ่าน "เตา"-สาหร่ายน้ำจืดคล้ายเส้นผมสีเขียวชนิดหนึ่ง),
    วันเสาร์ ไม่ฉันบอน

    นอกจากนี้ผักที่ท่านจะไม่ฉันเลยคือผักบุ้ง ผักปลอด ผักเปลว ผักหมากขี้กา ผักจิก และผักเฮือด-ผักฮี้ (ใบไม้เลียบอ่อน)โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าพระภิกษุสามเณรรูปใดงดได้การบำเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้า ผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง ๔ จะเป็นปกติถ้าชาวบ้านงดเว้นแล้วจะทำให้การถือคาถาอาคมดีนัก

    ครูบาศรีวิชัยมีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุดดังปรากฏจากคำอธิษฐานบารมีที่ท่านอธิษฐานไว้ว่า "...ตั้งปรารถนาขอหื้อได้ถึงธรรมะยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว..." ซึ่งมักจะปรากฏความปรารถนาดังกล่าวในตอนท้ายชองคัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ทุกเรื่อง

    อีกประการหนึ่งที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาวล้านนาคือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดยพลังศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมากทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง ๕ เดือนเศษโดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ

    แต่เรื่องที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักกันในระยะแรกนั้นเกิดเนื่องจากการที่ท่านต้องอธิกรณ์ซึ่งระเบียบการปกครองสงฆ์ตามจารีตเดิมของล้านนานั้นให้ความสำคัญแก่ระบบหมวดอุโบสถหรือ ระบบหัวหมวดวัด มากกว่าและการปกครองก็เป็นไปในระบบพระอุปัชฌาย์อาจารย์กับศิษย์ซึ่งพระอุปัชฌาย์รูปหนึ่งจะมีวัดขึ้นอยู่ในการดูแลจำนวนหนึ่งเรียกว่าเจ้าหมวดอุโบสถโดยคัดเลือกจากพระที่มีผู้เคารพนับถือและได้รับการยกย่องว่าเป็น ครูบาซึ่งหมายถึงพระภิกษุที่ได้รับความยกย่องอย่างสูง

    ดังนั้นครูบาศรีวิชัยซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในขณะนั้นจึงอยู่ในตำแหน่งหัวหมวดพระอุปัชฌาย์โดยฐานะเช่นนี้ ครูบาศรีวิชัยจึงมีสิทธิ์ตามจารีตท้องถิ่นที่จะบวชกุลบุตรได้ทำให้ครูบาศรีวิชัยจึงมีลูกศิษย์จำนวนมากและลูกศิษย์เหล่านี้ก็ได้เป็นฐานกำลังที่สำคัญของครูบาศรีวิชัยในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมสาธารณประโยชน์อีกทั้งยังเป็นแนวร่วมในการต่อต้านอำนาจจากกรุงเทพฯเมื่อเกิดกรณีขัดแย้งขึ้นในเวลาต่อมา

    ส่วนสงฆ์ในล้านนาเองก็มีแนวปฏิบัติที่หลากหลายเนื่องจากมีการจำแนกพระสงฆ์ตามจารีตท้องถิ่นออกเป็นถึง ๑๘ นิกายและในแต่ละนิกายนี้ก็น่าจะหมายถึงกลุ่มพระที่เป็นสายพระอุปัชฌาย์สืบต่อกันมาในแต่ละท้องที่ซึ่งมีอำนาจปกครองในสายของตนโดยผ่านความคิดระบบครูกับศิษย์และนอกจากนี้นิกายต่าง ๆ นั้นยังเกี่ยวข้องกับชื่อของเชื้อชาติอีกด้วย เช่นนิกายเชียงใหม่ นิกายขึน (เผ่าไทขึน/เขิน) นิกายยอง (จากเมืองยอง) เป็นต้น

    สำหรับครูบาศรีวิชัยนั้นยึดถือปฏิบัติในแนวของนิกายเชียงใหม่ผสมกับนิกายยองซึ่งมีแนวปฏิบัติบางอย่างต่างจากนิกายอื่น ๆ มีธรรมเนียมที่ยึดถือคือการนุ่งห่มที่เรียกว่า กุมผ้าแบบรัดอก สวมหมวก แขวนลูกประคำ ถือไม้เท้าและพัดซึ่งยึดธรรมเนียมมาจากวัดดอยแต โดยอ้างว่า สืบวิธีการนี้มาจากลังกา

    การที่ครูบาศรีวิชัยถือว่าท่านมีสิทธิ์ที่จะบวชกุลบุตรได้ตามจารีตการถือปฏิบัติมาแต่เดิมนั้นทำให้ขัดกับพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๖)เพราะในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่า "พระอุปัชฌาย์ที่จะบวชกุลบุตรได้ต้องได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบการปกครองของสงฆ์จากส่วนกลางเท่านั้น"โดยถือเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะแขวงนั้น ๆ เป็นผู้คัดเลือกผู้ที่ควรจะเป็นอุปัชฌาย์ได้และเมื่อคัดเลือกได้แล้วจึงจะนำชื่อเสนอเจ้าคณะผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯเพื่อดำเนินการแต่งตั้งต่อไป

    การจัดระเบียบการปกครองใหม่ของกรุงเทพฯนี้ถือเป็นวิธีการสลายจารีตเดิมของสงฆ์ในล้านนาอย่างได้ผลองค์กรสงฆ์ล้านนาก็เริ่มสลายตัวลงทีละน้อยเพราะอย่างน้อยความขัดแย้งต่าง ๆก็เกิดขึ้นระหว่างสงฆ์ในล้านนาด้วยกันเอง ดังกรณีความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับพระครูมหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้ อำเภอลี้จังหวัดลำพูน เป็นต้น

    การต้องอธิกรณ์ระยะแรกของครูบาศรีวิชัยนั้นเกิดขึ้นเพราะครูบาศรีวิชัยถือธรรมเนียมปฏิบัติตามจารีตเดิมของล้านนาส่วนเจ้าคณะแขวงลี้ซึ่งใช้ระเบียบวิธีปฏิบัติของกรุงเทพฯซึ่งเห็นว่าครูบาศรีวิชัยทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าคณะแขวงลี้จึงถือว่าเป็นความผิด เพราะตั้งตนเป็นพระอุปัชฌาย์เองและเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อนครูบามหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้กับหนานบุญเติงนายอำเภอลี้ได้เรียกครูบาศรีวิชัยไปสอบสวนเกี่ยวกับปัญหาที่ครูบาศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรโดยมิได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติการจับกุมครูบาศรีวิชัยสามารถแบ่งช่วงเวลาออกเป็น ๓ช่วงเนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกือบ ๓๐ ปีและแต่ละช่วงจะมีรายละเอียดของสภาพสังคมที่แตกต่างกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2019

แชร์หน้านี้

Loading...