พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.most.go.th/200year/king200year.htm

    แนวนโยบายทางการเมืองดั้งเดิมของประเทศไทยนั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับประเทศอื่น ๆ ทางตะวันออกทั่วไปในประเด็นที่ว่าพยายามแยกตนอยู่โดดเดี่ยวไม่มีการติดต่อกับต่างประเทศ
    ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ระหว่างปี พ.ศ. 2394 ถึง พ.ศ. 2411 เป็นระยะเวลาที่ประเทศมหาอำนาจในทวีปยุโรป อันได้แก่ ฝรั่งเศสและอังกฤษ เข้ามาแสวงหาอาณานิคมครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปเอเชีย และแข่งขันกันทั้งในด้านการค้าและการเมืองอย่างรุนแรง
    พระราชกรณียกิจทางด้านต่างประเทศ เป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญาณในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นพระประมุขพระองค์เดียวของประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ที่ทรงคิดได้ว่าวิธีเดียวที่ประเทศในทวีปเอเชียจะคงอยู่ได้คือ ต้องยอมรับเอาอิทธิพลทางอารยธรรมของประเทศตะวันตกมาปรับปรุงประเทศของตนให้ทันสมัย ต้องยอมเปิดประเทศทำการค้าและติดต่อกับต่างประเทศและรับความคิดเห็นใหม่ๆ พื่อเปิดโลกทรรศน์ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขประเพณีอันล้าสมัย ต้องศึกษาวิทยาการการทูตและการปกครองบ้านเมืองแบบตะวันตก (กริสโวลด์ 2511 : 1)
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเห็นว่าการดำเนินนโยบายแยกตนเองอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อกับต่างประเทศนั้น ได้ก่อให้เกิดเหตุร้ายขึ้นแล้วแก่ประเทศเพื่อนบ้านในเวลานั้นประเทศทางตะวันออกกำลังจะล่ม เพราะต้องตกเป็นทาสเป็นเมืองขึ้นของชาวตะวันตกด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ยอมประนีประนอมในการติดต่อกับประเทศมหาอำนาจที่ล่าอาณานิคม ทำให้ถูกบังคับจนต้องเสียเอกราชไป คงเหลือแต่ประเทศไทยอยู่ตรงกลางประเทศเดียวเท่านั้นในแถบนี้
    ขณะนั้นประเทศไทยยังขาดความรู้ทางวิทยาการตะวันตก ขาดกำลังรบสมัยใหม่ ยังไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ดังที่พระองค์ทรงระบายความในพระทัยถึงปัญหาของประเทศไทยไว้ดังนี้
    "ตามสภาพเท่าที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้ ประเทศเราได้ล้อมรอบไปด้วยประเทศที่มีกำลังอำนาจ 2 หรือ 3 ด้าน แล้วประเทศเล็ก ๆ อย่างเราจะเป็นประการใด ถ้าหากจะสมมุติเอาว่าเราได้ค้นพบเหมืองทองคำภายในประเทศของเราเข้า จนเราสามารถขุดทองมาได้หลายล้านชั่ง จนเอาไปขายได้เงิน มาซื้อเรือรบสักร้อยลำ แม้กระนั้นเราก็ยังจะไม่สามารถไปสู้รบปรบมือกับพวกนี้ได้ ด้วยเหตุผลกลใดเล่าก็เพราะเรายังจะต้องซื้อเรือรบและอาวุธยุทธภัณฑ์ต่าง ๆ จากประเทศพวกนั้นเรายังไม่มีกำลังพอจะจัดสร้างสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวของเราเอง แม้ว่าเราพอจะมีเงินซื้อหามาได้ เขาก็จะเลิกขายให้กับเรา ในเมื่อเขารู้ว่าเรากำลังติดเขี้ยวติดเล็บจนเกินฐานะ ในภายภาคหน้าเห็นจะมีอาวุธที่สำคัญสำหรับเราอย่างเดียวก็คือ ปากของเราและใจของเราให้เพรียบพร้อมไปด้วยเหตุผลและเชาวน์ไหวพริบ ก็เห็นพอจะเป็นทางป้องกันตัวเราได้" (มอฟแฟ็ท 2520 : 33)
    นโยบายต่างประเทศของพระองค์ ให้ความสำคัญแก่ประเทศทางตะวันตกที่เป็นมหาอำนาจ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ในรัชกาลนี้ ประเทศไทยได้ทำสัญญากับนานาประเทศ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมายในบ้านเมือง ผลที่เกิดขึ้นจากการทำสัญญา ก่อให้เกิดข้อดีและข้อเสียที่ตามมาในภายหลัง แต่เมื่อคำนึงถึงภัยที่จะเกิดในขณะนั้น ต้องนับว่าการตัดสินพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้นสมควรอย่างยิ่งแล้ว (กระทรวงศึกษาธิการ 2527 : 97)
    การที่ประเทศไทยต้องติดต่อทำสัญญากับชาติมหาอำนาจ ทำให้พระองค์ต้องทรงระมัดระวังไม่ให้กระทบกระเทือนสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับประเทศที่ทำสนธิสัญญา พระองค์ทรงใช้นโยบายไม่ผูกมัดกับมหาอำนาจชาติเดียว แต่จะทรงใช้การถ่วงดุลย์กับประเทศมหาอำนาจหนึ่ง โดยมีสัมพันธภาพ กับประเทศมหาอำนาจอื่นด้วย (ผูกมิตรกับมหา อำนาจหนึ่งไว้คอนมหาอำนาจอื่น)
    สัญญากับนานาประเทศที่กล่าวถึงนั้น เริ่มจากสัญญาเบาริงซึ่งทำกับรัฐบาลอังกฤษ ต่อมาทำกับสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เดนมาร์ก โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สวีเดน นอรเว เบลเยี่ยม และอิตาลี ตามลำดับ การทำสัญญาเบาริงนี้ มีความสำคัญต่อประเทศไทยมาก เพราะเป็นการเปิดประเทศ ไม่เช่นนั้นจะเป็นเหมือนประเทศใกล้เคียงที่ปิดประเทศ ไม่ยอมติดต่อกับต่างชาติ จนเกิดการใช้กำลังบังคับ พระองค์ทรงตระหนักว่า การสงครามได้พัฒนาขึ้น ไม่เหมือนแต่ก่อน การนำเทคโนโลยีมาใช้ในสงครามมีความสำคัญมากกว่าแม่ทัพ โดยทรงยกตัวอย่างสงครามอังกฤษกับพม่า ซึ่งในที่สุดพม่าก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ (กระทรวงศึกษาธิการ 2527 : 97) ความว่า
    "... แลฟังข่าวดูได้ยินว่า พวกเมืองอังวะเมื่อได้ยินว่า ในทัพอังกฤษเกิดความไข้มากลงรากชุมก็ดีใจ ว่าเทวดาช่วยข้างพม่า ฤาเมื่อแอดมิราลออสเตอร์แม่ทัพเรือผู้ใหญ่ในอังกฤษมาป่วยตายลงที่เมืองปรอน เห็นเรืออังกฤษทุกลำชักธงกึ่งเสาเศร้าโศรก คำนับกันตามธรรมเนียมเขา ก็ดีใจว่าแม่ทัพอังกฤษตายเสียแล้ว เห็นจะไม่มีใครบัญชาการ จะกลับเป็นคุณข้างพม่าฟังดูมีแต่การโง่ ๆ บ้า ๆ ทั้งนั้น เมื่อรบครั้งก่อนพม่าคอยสู้อังกฤษอยู่ได้แต่คุมเหงคุมเหงหลายวัน ครั้งนี้ไม่ได้ยินสักแห่งหนึ่งว่าพม่าต่อสู้อังกฤษอยู่ได้ช้าจนห้าชั่วโมงเลย..."
    พระองค์ทรงทราบดีว่า ประเทศไทยควรจะกำหนดแนวทางบริหารประเทศในรูปแบบใด จึงทรงดำเนินนโยบายเป็นไมตรี ด้วยท่วงทำนองถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เพราะการแข็งขืนไม่เป็นประโยชน์อันใด และอาจเกิดสงครามขึ้นได้ ซึ่งไม่แน่ว่าประเทศไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ในเมื่อข้อสำคัญที่ต่างประเทศต้องการ คือ ค้าขายก็ทรงเปิดให้มีการค้าขายโดยสะดวก ปัญหาอื่น ๆ ก็พลอยระงับไป ทรงตั้งพระราชหฤทัยจะรักษาความสัมพันธ์กับนานาประเทศเป็นเมืองหน้า ทรงรับเป็นไมตรีทำหนังสือสัญญากับชาติฝรั่ง สัญญาในครั้งนั้น ได้ทำในนามของพระเจ้าแผ่นดินและประธานาธิบดี ผู้ปกครองประเทศนั้น ๆ เป็นความเสมอภาค ทรงใช้นโยบายการทูตเป็นเครื่องต่อรองความสำเร็จ และเมื่อไม่อาจใช้นโยบายการทูตเป็นเครื่องต่อรอง พระองค์จำพระทัยยอมเสียผลประโยชน์ตามที่ชาติมหาอำนาจเรียกร้อง การสูญเสียครั้งสำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ การเสียดินแดนเขมรส่วนนอกให้แก่ฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2406 และ พ.ศ. 2410 พระองค์ทรงยอมเสียขัตติย-มานะ พระเกียรติยศที่ไม่สามารถแสดงแสนยานุภาพปกป้องพระราชอาณาเขต ด้วยสงครามตามแบบพระมหากษัตริย์ในสมัยก่อน เพื่อแลกกับเอกราชที่มีค่าเหนือสิ่งอื่นใด (นฤมล ธีรวัฒน์ 2525 : 277) ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทรงอดกลั้นและขมขื่นพระราชหฤทัยมิใช่น้อย
    แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแสดงออกถึงความสัมพันธ์อันดีทางการทูตกับชาติมหาอำนาจตะวันตก แต่พระองค์มิได้ทรงมีความไว้วางพระราชหฤทัยในความเป็นมิตรของประเทศเหล่านี้ หลังจากที่ทรงเห็นว่า ฝรั่งเศสพยายามใช้อิทธิพลช่วงชิงเขมรไปจากไทย โดยอ้างว่าฝรั่งเศสเป็นผู้สืบสิทธิญวนเหนือเขมร เขมรเคยเป็นประเทศราชของญวน ความไม่ไว้วางพระราชหฤทัยในต่างชาติ ทรงแสดงออกได้ชัด เมื่อ พ.ศ. 2401 จากหลักฐานคำประกาศเทพยดาและพระเจ้าแผ่นดินกรุงเก่ามารับพลีกรรม (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์ ม.ป.ป. : 43-46 อ้างถึงใน นฤมล ธีรวัฒน์ 2525 : 285) ความว่า
    "... ชาติใดน้ำใจพาลคิดการหาเหตุจะกระทำย่ำยีบ้านเมืองเขตรแดนสยามประเทศนี้ ขอพระบารมีพระเจ้าแผ่นดินทั้งปวงช่วยปกครองป้องกันซึ่งอันตราย ทั้งทวยเทพเจ้าทั้งหลายซึ่งเคยบริรักษ์พระมหานคร จงช่วยกำจัดหมู่ดัสกรให้อันตรธาน ถ้าคนนอกประเทศที่ทำปากหวาน แต่ใจคิดการจะ เหยียบย่ำข่มขี่พาโลโสคลุมคุมโทษ ทำให้ร่อยหรอประการใดๆ ก็ดี ขอให้ความประสงค์ของพวกคนที่เป็นศัตรูในใจที่นั้น กลับไปเป็นโทษแก่พวกนั้นเองอย่าให้สมประสงค์.
    พระราชกรณียกิจที่ทรงใช้เป็นเครื่องมือกระทำการให้เป็นผลสำเร็จ ในด้านนโยบายต่างประเทศ ก็คือ
    1. ทรงเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระองค์ให้ชาวต่างประเทศรู้ว่าพระองค์ก็มีความสามารถ เพราะครั้งใดที่มีการเปลี่ยนแปลงประเพณีบางประการในพระราชสำนักให้เหมือนฝรั่ง เช่น ให้ข้าราชการใส่เสื้อเวลาเข้าเฝ้า โดยโปรดเกล้าฯ ให้ทูตานุทูตต่างประเทศเข้าร่วมในพระราชพิธีเป็นบางครั้งบางคราวเหล่านี้ย่อมแพร่หลายไปถึงต่างประเทศด้วย นับว่าเข้าหลักการประชาสัมพันธ์
    2. มีพระปรีชาสามารถรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาในฐานะสยามเป็นประเทศเล็ก คือใช้พระสติปัญญามองการณ์ไกลเป็นที่ตั้ง เป็นผลให้ประสบความสำเร็จทางการทูต
    3. กำลังด้านการทหาร แม้ว่ามีไม่มากนักแต่ก็สมสมัย ดังเช่นมีการต่อเรือแบบฝรั่ง และมีการหัดทหารอย่างยุโรปในวังหน้า
    4. การแต่งคณะราชทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศทางทวีปยุโรป
    พระองค์ได้ทรงกระทำทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่ทรงกระทำได้ เพื่อที่จะให้ประเทศของพระองค์เป็นที่รู้จักและสร้างสัมพันธภาพอันดีในต่างประเทศ เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นเคารพอธิปไตยของไทย พระองค์ทรงตระหนักว่าพระองค์จะต้องทรงทำการปฏิรูปกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ และพยายามปฏิบัติให้สอดคล้องกับแนวคิดทางตะวันตก เพื่อกันมิให้ประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นยกเป็นข้ออ้าง เพื่อแทรกแซงก่อการภายในประเทศ
    นอกจากนั้น การติดต่อค้าขายกับประเทศตะวันตกทำให้เกิดผลพลอยได้ด้านอารยธรรม ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ พระองค์ทรงยอมรับอารยธรรมต่าง ๆมาใช้เป็นครั้งแรก เช่น การสำรวจทำแผนที่พระราชอาณาจักร การฝึกหัดทหารแบบยุโรป การต่อเรือกลไฟ การนำเครื่องจักรกลมาใช้เป็นประโยชน์ทุ่นแรง ตั้งโรงงานทำเหรียญกษาปณ์ โรงสีข้าว โรงเลื่อยไม้ ด้วยเครื่องจักร และตั้งโรงพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา
    ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
    พ.ศ. 2395 - ทรงแต่งตั้งราชทูตไทยไปเจริญทางพระราชไมตรีกับเมืองจีน
    - สมณทูตไทยไปลังกาทวีป
    พ.ศ. 2397 - อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ส่งราชทูตคนแรกเข้ามา ได้แก่ เซอร์ จอห์น เบาริง (Sir John Bowring) ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นราชทูตจากสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย เข้ามาเจริญพระราชไมตรี
    พ.ศ. 2398 - เซอร์ จอห์น เบาริง เข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสาสน์ และเครื่องราชบรรณาการของสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงต้อนรับดุจดังครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงต้อนรับราชทูตฝรั่งเศส ทำให้อังกฤษพอใจมาก
    - มิสเตอร์ฮาริปัก (Mr. Hary Parks) ซึ่งเคยเข้ามากับเซอร์ จอห์น เบาริง ได้กลับเข้ามาอีก เพื่อทูลเกล้า ถวายพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการอันสำคัญ อย่างหนึ่ง คือ ขบวนรถไฟพร้อมรางจำลอง (เป็นต้นเหตุของการดำเนินกิจการ "รถไฟ" ในรัชกาลต่อมา)
    เมื่อเซอร์ จอห์น เบาริง กราบบังคมทูลลา กลับไปแล้ว มีทูตอีกหลายประเทศมาทำสัญญาทางพระราชไมตรี ดำเนินตามแบบสัญญาที่อังกฤษทำไว้ทุกประการ มีการตั้งกงสุลอเมริกัน ฝรั่งเศส และประเทศในยุโรปหลายประเทศ ทรงส่งคณะทูตไทยอัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการ ไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 และยังทรงตั้งเซอร์ จอห์น เบาริง เป็นทูตไทยทำสัญญาพระราชไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ถึง 13 ประเทศ
    พ.ศ. 2399 - ทำสัญญากับสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น
    พ.ศ. 2400 - ราชทูตไทยอัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการ ไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย ณ ประเทศอังกฤษ นับเป็นครั้งแรก ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่ได้มีการส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีถึงทวีปยุโรป คณะราชทูตที่ไปนี้กลับเมื่อ พ.ศ. 2401 พร้อมด้วยเครื่องจักรที่ซื้อมาจัดสร้างโรงกษาปณ์
    พ.ศ. 2401 - ทำสัญญากับประเทศเดนมาร์ก และแอนซิเอติก
    พ.ศ. 2402 - ทำสัญญากับประเทศโปรตุเกส
    พ.ศ. 2403 - ทำสัญญากับประเทศฮอลันดา (ประเทศเนเธอร์แลนด์)
    พ.ศ. 2404 - ราชทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรี กับพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งประเทศฝรั่งเศส
    - ทำสัญญากับประเทศเยอรมนี
    - ทูตรัสเซียเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
    พ.ศ. 2405 - เจ้าเมืองเบตาเวียเข้ามาเปลี่ยนหนังสือสัญญาฮอลันดา
    - ทูตเยอรมนีเข้ามาทำสัญญา
    - สวีเดน นอรเว ส่งผู้แทนมาทำหนังสือสัญญา
    พ.ศ. 2406 - พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสถวายเครื่องราชอิสริยยศ
    พ.ศ. 2410 - ทูตโปรตุเกสเจริญสัมพันธไมตรี
    - เบลเยี่ยมส่งผู้แทนมาทำหนังสือสัญญา
    พ.ศ. 2411 - ทำสัญญากับประเทศสวีเดน นอรเว เบลเยี่ยม และ อิตาลี
    การปรับประเทศให้ทันสมัยแบบตะวันตก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี ราชประเพณี ดังต่อไปนี้
    ธรรมเนียมจับมืออย่างชาติตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มใช้ธรรมเนียมฝรั่งโดยพระราชทานพระหัตถ์ให้แก่ผู้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทจับเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2409 และครั้งนั้นได้พระราชทานพระหัตถ์ให้เจ้ากาวิโลรส เจ้าประเทศราชแห่งพระนครเชียงใหม่จับเป็นคนแรกและพระราชทานพระราชวโรกาสแก่ผู้อื่นจับพระหัตถ์เป็นลำดับไป ถือเป็นขนบธรรมเนียมสืบเนื่องใช้มาจนทุกวันนี้
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.most.go.th/200year/king200year.htm

    ในการติดต่อกับต่างประเทศ ทรงมีพระราชหัตถเลขาสั่งราชการด้วยพระองค์เองกับชาวต่างประเทศ และข้าราชการไทยที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในต่างแดนหรือหัวเมือง
    โปรดให้ชาวต่างประเทศยืนเฝ้าฯ ได้ในท้องพระโรง เมื่อถึงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้ราชประเพณีเก่าอีกอย่างหนึ่งในวันเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ด้วยพระราชทานบรมราชานุญาตให้ชาวฝรั่งที่อยู่ในกรุงเทพฯ เข้าเฝ้าด้วย มีฝรั่งประมาณ 10 คน เข้าไปยืนเฝ้าฯ อยู่ข้างหลังแถวขุนนางที่หมอบ
    มีพระบรมราชานุญาตให้ดื่ม เครื่องดื่มและสูบบุหรี่ได้ต่อหน้าพระพักตร์ ระหว่างปฏิสันถาร
    โปรดให้ทำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตอบแทนกับของต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระทัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมตะวันตก เมื่อทรงทราบว่าพระมหากษัตริย์ของชาวยุโรปมีประเพณีการประดับเครื่องหมายแสดงพระเกียรติยศที่ฉลองพระองค์ จึงทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้น สำหรับเป็นเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ และสร้างสำหรับพระราชทานแก่ผู้มียศต่าง ๆ ในพระราชอาณาจักรและชาวต่างประเทศที่มีความชอบ
    โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า ตามแบบอารยธรรมตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้ไขขนบธรรมเนียม เก่า ๆ มีพระราชดำรัสสั่งให้เลิกประเพณีเข้าเฝ้าตัวเปล่าไม่สวมเสื้อ ให้เจ้านายและข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้าต่อไปเป็นนิจ
    โปรดให้วังเจ้านาย สถานที่ราชการของไทย ชักธงประจำตำแหน่งแบบกงสุลต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการให้ทำเสาธงทั้งในวังหลวงและวังหน้า เสาธงวังหลวงให้ชักธงตรามหามงกุฎ และเสาธงวังหน้าให้ชักธงจุฑามณี คนทั้งหลายเข้าใจว่า เสาชักธงเป็นเครื่องหมายพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดิน ครั้นเมื่อทำหนังสือสัญญาพระราชไมตรีกับรัฐบาลต่างประเทศแล้ว มีกงสุลนานาประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มาตั้งเสาชักธงชาติของตนขึ้นตามกงสุล คนทั้งหลายไม่รู้ประเพณีฝรั่งพากันตกใจ โจษจัน ว่าพวกกงสุลตีตัวเสมอพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงพระราชดำริหาอุบายแก้ไข โดยมีพระราชดำรัสสั่ง เจ้านายต่างกรมกับทั้งขุนนางผู้ใหญ่ ให้ทำเสาธงช้างขึ้นตามวัง ที่บ้าน และสถานที่ราชการ เมื่อมีเสาธงชักขึ้นมากคนทั้งหลายก็หายตกใจ
    พระปรีชาญาณที่ควรจะกล่าวถึงอีกเรื่องหนี่งของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือการที่ทรงเป็นนักศึกษาค้นคว้าทั้งทางด้านประวัติ-ศาสตร์และโบราณคดี พระองค์ทรงกล่าวกับเซอร์ จอห์น เบาริง ว่า "ประวัติศาสตร์สมัยโบราณของประเทศไทยยังค่อนข้างมืดมน และเต็มไปด้วยนิยายอันเหลือเชื่อต่าง ๆ" (กริสโวลด์ 2511 : 67) แต่ พระองค์ไม่ทรงยอมให้เป็นอย่างนั้นอีกต่อไป ประวัติศาสตร์สมควรได้รับการสังคายนาเช่นเดียวกับพระไตรปิฎก พระองค์จึงทรงศึกษา ค้นหาวินิจฉัย เปรียบเทียบหลักฐานทั้งหมดที่มีอยู่ เพื่อให้เป็นหลักฐานต่อ ๆ มาปรากฏว่าพระองค์ทรงพระราช-นิพนธ์บทความวินิจฉัยประวัติศาสตร์หลายเรื่อง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เราจึงได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ตอนต้นของไทยเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก แม้ว่าบางครั้งพระราชวินิจฉัยของพระองค์จะใช้เป็นแนวทางในปัจจุบันไม่ได้ แต่พระราชวินิจฉัยเหล่านั้นก็เต็มไปด้วยความเฉลียวฉลาด มุ่งตรงไปยังผลอย่างแน่ชัดและเป็นการเริ่มต้นให้ได้ทราบก่อน ไม่เช่นนั้นเราคงไม่สามารถทราบประวัติศาสตร์ได้ดีถึงทุกวันนี้ (กริสโวลด์ 2511 : 68)
    เมื่อพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้แต่งพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขานั้น ทรงคำนึงถึงความถูกต้อง มีการตรวจสอบเอกสารจากที่ต่าง ๆ ได้มีพระราชหัตถเลขาขอหนังสือเรื่องคณะเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสได้มาเจริญทางพระราชไมตรีใน รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากเซอร์ จอห์น เบาริง (กระทรวงศึกษาธิการ 2527 : 66) ความว่า
    "...เพื่ออนุโลมความคำขอของ ฯพณฯ ท่าน (เซอร์ จอห์น เบาริง : ผู้เขียน) ข้าพเจ้ากับน้องชายของข้าพเจ้า คือกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายเราคนหนึ่ง ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปรึกษากับฯพณฯท่านในนครนี้เมื่อเดือนเมษายนนั้น กำลังพยายามจะเตรียมแต่งพงศาวดารสยามอันถูกต้อง จำเดิมแต่ตั้งกรุงศรีอยุธยา โบราณราชธานี เมื่อปี ค.ศ. 1350 นั้นกับทั้งในเรื่องพระราชวงศ์ของเรานี้ ก็จะได้กล่าวโดยพิสดาร ยิ่งกว่าที่ข้าพเจ้าได้เรียบเรียงมาให้ ฯพณฯ ท่านทราบในคราวนี้ด้วย
    เราได้ลงมือแต่งแล้วเป็นภาษาไทย ในขั้นต้นเราเลือกสรรเอาเหตุการณ์บางอย่าง อันเป็นที่เชื่อถือได้มาจากหนังสือโบราณว่าด้วยกฎหมายไทย และพงศาวดารเขมรหลายฉบับกับทั้งคำบอกเล่าของบุคคลผู้เฒ่าอันเป็นที่นับถือได้ซึ่งได้เคยบอกเล่าให้เราฟังนั้นด้วยหนังสือ ซึ่งเราได้ลงมือเตรียมแต่งและแก้ไขอยู่ในบัดนี้ ยังไม่มีข้อความเต็มบริบูรณ์เท่าที่เราจะพึงพอใจ...
    ข้าพเจ้าใคร่จะขอหนังสือ ฯพณฯ ท่านสักเล่ม 1 คือหนังสือเรื่องคณะเอกอัครราชฑูตฝรั่งเศสมาเจริญทางพระราชไมตรีในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พระเจ้ากรุงสยามแต่ก่อนนั้น ฉบับหมายเลขที่ 4 ในสมุดซึ่งส่งมาด้วยนี้... ข้าพเจ้าคิดว่าหนังสือเล่มนั้น บางหน้าบางตอนคงจะช่วยให้เราจะแต่งขึ้นใหม่นี้ได้ ในกรุงสยามนี้ก็มีจดหมายเหตุรายการหรือรายละเอียดแต่งขึ้นไว้ นับว่าเป็นจดหมายเหตุของคณะเอกอัครราชฑูต ในเมื่อกลับมาจากฝรั่งเศส แต่สำนวน และข้อความไม่เป็นที่พอใจที่เราจะเชื่อได้ เพราะว่าเป็นการกล่าวเกินความจริงไปมาก กับทั้งขัดต่อความรู้ภูมิศาสตร์ ซึ่งเรารู้อยู่ในเวลานี้ว่าเป็นการเป็นไปที่แท้ที่จริงแห่งโลกนั้นมาก ด้วยผู้แต่งจดหมายเหตุของคณะเอกอัครราชฑูตสยามในครั้งนั้น คงจะคิดว่า ไม่มีใครในกรุงสยามจะได้ไปดูไปเห็นประเทศฝรั่งเศสอีกเลย..."
    พระองค์ได้ทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ดังที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ได้มีประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องราวทางโบราณคดีหรือปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาออกมาระหว่างรัชกาลนี้ แม้ว่าจะมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยเองแต่พระองค์ได้พระราชทาน พระราชดำริให้จัดทำขึ้น และยังได้ทรงมีรับสั่งให้จัดพิมพ์พระราชพงศาวดารสยาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1893 คราวเสียกรุง นอกจากนั้นยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือข้อสังเกตย่อ ๆ เกี่ยวกับพระราชพงศาวดารสยามเป็นภาษาอังกฤษ ข้อสังเกตต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาอันมืดมนในประวัติศาสตร์เก่าแก่ก็ดี โบราณคดีก็ดี หรือขนบธรรมเนียมประเพณีก็ดี เหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อนักศึกษาที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเป็นอันมาก ความรู้ทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยจึงได้เจริญแพร่หลาย แม้จนทุกวันนี้ใครจะศึกษา ประวัติศาสตร์และโบราณคดีของประเทศไทย ก็ยังได้อาศัยพระบรมราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ไว้แทบทุกคน (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 83)
    ในระหว่างที่เสด็จธุดงค์ในปี พ.ศ. 2376 ทรงค้นพบหลักศิลาจารึกที่สุโขทัย นครหลวงโบราณ หลักศิลานี้จารึกด้วยอักษรไทยรุ่นแรกที่สุดเท่าที่ค้นพบ เป็นหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ที่ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1836 นอกจากนี้พระองค์ยังทรงค้นพบพระแท่นมนังคศิลาที่พ่อขุนรามคำแหง ทรงใช้เป็นที่ประทับและได้ทรงนำมาไว้ที่กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบันได้ใช้พระแท่นนี้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทุกครั้ง (ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช : 6-7 อ้างถึงใน มอฟแฟ็ท 2520 : 19)
    ระหว่างเสด็จธุดงค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพิจารณาซากเมืองสุโขทัย ทอดพระเนตรศาสนสถานอันใหญ่โตที่ปรักหักพังอยู่ในป่าต่าง ๆ โบราณสถานเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นแบบขอมหรือไทยย่อมมีความหมายต่อประเทศ ถ้าสามารถรู้ถึงความหมายได้ พระองค์ทรงเชิญนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสเข้ามาศึกษาซากโบราณสถานเหล่านี้ เพื่อค้นหาความลับในอดีตด้วยการใช้เทคนิคแบบใหม่ สิ่งนี้ นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีและได้มีผลยิ่งขึ้นในรัชกาล ต่อ ๆ มา
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงเริ่มจัดให้มี พิพิธภัณฑสถานขึ้นในประเทศไทย (สมพงษ์ เกรียงไกรเพชร ม.ป.ป. : 423) จากความสนพระทัยส่วนพระองค์ในการรวบรวมวัตถุโบราณที่ทรงพบ ในขณะที่ได้เสด็จออกธุดงค์ในที่ต่างๆ เมื่อครั้งทรงผนวช อาทิ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง พระแท่นมนังคศิลาบาตร ซึ่งเป็นโบราณวัตถุจากเมืองเก่าสุโขทัย ในคราวเสด็จธุดงค์มณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2376 และโปรดเกล้าฯ ให้นำมาเก็บรักษาไว้ในพระบรมมหาราชวัง ครั้งแรกจัดแสดงไว้ที่พระที่นั่งราชฤดี
    ครั้งถึงปี พ.ศ. 2400 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายสิ่งของจากพระที่นั่งราชฤดีไปไว้ยังพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ในหมู่พระอภิเนาวนิเวศน์ ซึ่งได้รับการออกแบบเป็นอาคารแบบฝรั่ง ตามลักษณะพระราชวังในยุโรป เนื่องด้วยทรงเล็งเห็นว่าในรัชสมัยแห่งพระองค์ได้มีพระราชไมตรีกับพระมหานครใหญ่ ๆ ในยุโรปและอเมริกา มีเครื่องมงคลบรรณาการอย่างดีมาถวาย สมควรจะเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นที่ระลึกทางพระราชไมตรี ครั้นจะจัดประดับในพระที่นั่งอย่างไทยก็ดูจะไม่เข้ากับเครื่องบรรณาการที่มีอยู่
    พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ หรือ Royal Museum คือ พิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และในขณะนั้นเรียกพิพิธภัณฑ์ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "มิวเซียม" แม้คำว่า "พิพิธภัณฑ์" จะได้เกิดขึ้นแล้วจากท้ายนามพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ แต่ก็เป็นความนิยมที่มาเรียกกันในชั้นหลัง (ส่งศรี ประพัฒน์ทอง และคนอื่น ๆ 2536 : 23)
    นอกจากนี้ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำสิ่งของไปร่วมจัดแสดงในงานพิพิธภัณฑ์ นานาชาติ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2404 และงานพิพิธภัณฑ์นานาชาติ ณ กรุง ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2409 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้ส่งศิลปวัตถุโบราณของชาติไปแสดงถึงทวีปยุโรป (สมพงษ์ เกรียงไกรเพชร ม.ป.ป. : 423)
    จะเห็นได้ว่างานพิพิธภัณฑ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นบทบาทของพิพิธภัณฑ์ที่สอดคล้องกับแนวคิด และปรัชญาของการพิพิธภัณฑ์ในขณะนั้นแต่เพียงประการเดียว หากยังเป็นการเริ่มต้นบทบาทของพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา โดยเป็นแหล่งศึกษาความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชาติ จากโบราณวัตถุที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ด้วยเช่นกัน แม้ว่าพิพิธภัณฑ์ในระยะแรกนั้นจัดขึ้นอย่างเป็นการภายในส่วนพระองค์ ยังมิได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมก็ตาม
    ในระหว่างปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ติดต่อมาถึงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แนวทางของภาษาและหนังสือเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงผนวชอยู่ทรงให้ความสนพระทัยในการเรียนภาษาอังกฤษ และทรงศึกษาจนสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างดียิ่ง นับเป็นก้าวแรกของการยอมรับอารยธรรมตะวันตก และเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปภาษาเข้าสู่ยุคใหม่ของประเทศไทย ภาษาไทยเริ่มได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ แต่ลักษณะ ทั่ว ๆ ไปของภาษาไทยยังไม่เปลี่ยนแปลง เพียงแต่มีคำภาษาต่างประเทศมาปะปนอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น (กองหอสมุดแห่งชาติและกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปกร 2525 : 14)
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.most.go.th/200year/king200year.htm

    ตัวอย่างภาษาไทย

    ในรัชกาลที่ 4
    รดูฝน
    ฤาว่า
    กระหนกตกใจ
    สำนักพิ์
    คุมเหง
    ทองรูปประพรรณ์
    ทำบาลชี
    ตระลาการ
    ฤทชาทำเนียบ
    เข้ากันเป็น
    พระราชพิทธี
    ไปหัวเมือง
    สัญญาทานบล
    ในปัจจุบัน
    ฤดูฝน
    หรือว่า
    ตระหนกตกใจ
    สำนัก
    ข่มเหง
    ทองรูปพรรณ
    ทำบัญชี
    ตุลาการ
    ฤชาธรรมเนียม
    รวมกันเป็น
    พระราชพิธี
    ไปต่างจังหวัด
    สัญญาค้ำประกัน
    รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม้ว่าพระองค์ทรงเห็นความสำคัญ และทรงศึกษาภาษาต่างประเทศ แต่พระองค์ก็ยังทรงฝักใฝ่พระราชหฤทัยในภาษาไทย และทรงกวดขันเรื่องการใช้ถ้อยคำที่จะใช้เป็นภาษาเขียนของภาษาไทย หรือกราบทูลเรื่องราวต่าง ๆ ว่าคำใดที่ควรใช้หรือมิควรใช้ ได้พระราชทานคำอธิบายให้แบบอย่างไว้ ดังตัวอย่างเช่น

    ใส่บาตร ให้ใช้ว่า ตักบาตร
    ใส่เสื้อ " สวมเสื้อ
    ใส่กางเกง " นุ่งกางเกง
    ใส่หมวก " สวมหมวก
    ใส่ดุม " ขัดดุม
    ใส่กุญแจ " ลั่นกุญแจ
    ใส่ยา " ทายา
    ใส่กลอน " ขัดกลอน
    กะปิ " เยื่อเคย
    น้ำปลา " น้ำเคย

    พระองค์ทรงใส่พระทัยในเรื่องการใช้ภาษาไทยของคนไทยเป็นอันมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามิได้สนพระทัยแต่เรื่องความทันสมัยเท่านั้น ได้พระราชทานพระราชกระแสทักท้วง แนะนำ ตักเตือนคนทุกระดับชั้น ตั้งแต่ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ จนถึงราษฎร ในเรื่องการเขียน การอ่าน การพูด และ การใช้ภาษาไทย หากเป็นผู้มีความรู้มากจะยิ่งทรงกวดขันเป็นพิเศษ เนื่องจากคนเหล่านี้จะเป็นอย่างแก่คนอื่น ๆ ต่อไป ขอยกตัวอย่างซึ่งแสดงให้เห็นว่าทรงพิถีพิถันในเรื่องการใช้ศัพท์ให้ตรงกับความหมายจากประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 เล่ม 2 191 (กระทรวงศึกษาธิการ 2527 : 64) ความว่า
    "…คำเรียกซากผีว่าศพนั้นถูกแล้ว ให้ใช้เขียนหนังสือแลกราบทูลว่าศพอยู่นั้นแล ใครอย่าอุตริคิดตามชาววัดคิดล้มไปเขียนบ้าง กราบทูลบ้างว่า "อสุภ อสภ อาสภ" อย่างใด ๆ อย่างหนึ่งเลย… คำว่า ศพนี้ออกจากคำมคธว่า ฉโวเป็นแท้ไม่ใช่คำอื่นฯ…"
    พระองค์ไม่โปรดให้มี การพลิกแพลงการใช้คำมากเกินไป ทรงให้เลี่ยงคำหยาบและคำผวน เช่น ผักบุ้ง โปรดให้ใช้ว่า "ผักทอดยอด" เคยกริ้วเมื่อมีผู้เรียกดอกนมแมวว่า "ดอกถันวิฬาร์" เรียกช้างว่าสัตว์โต ทรงมีพระราชดำรัสว่า พวกนี้เป็นพวกใจกระดุกกระดิกคิด
    ผู้ใช้ภาษาไทยผิด ๆ ทรงมีวิธีลงโทษเพื่อให้จดจำได้ เช่น
    ทรงแช่งไว้ว่าให้ศรีษะคนนั้นล้านเหมือนหลวงตาในวันโกนเป็นนิจนิรันดร์ไป โปรดให้อาลักษณ์ปรับเสียคำละเฟื้อง จนกระทั่ง ให้กวาดชานหมากและล้างน้ำหมาก ทั้งในทั้งนอกท้องพระโรงพระบรมมหาราชวัง
    พระอัจฉริยะทาภาษาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เพราะตราบจนทุกวันนี้หนังสือหลักภาษาไทยยังบรรจุการสอนเรื่องกับ แก่ แต่ ต่อ ซึ่งนำมาจากพระบรมราชาธิบายของพระองค์ท่าน ดังจะยกพระบรมราชาธิบายในเรื่องนี้มาแสดงให้เห็นเป็นฐาน จากประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 เล่ม 2 179 (กระทรวงศึกษาธิการ 2527 : 65) ความว่า
    "ประกาศมาให้คนเขียนหนังสือทั้งปวงทราบทั่วแล้วสังเกตใช้ให้ถูกในที่ควรจะว่า (กับ) ว่า (แก่) ว่า (แต่) ว่า (ต่อ) ว่า (ใน) ว่า (ยัง) จงสังเกตให้แน่แล้วใช้ให้ถูก อย่าให้เป็นกันไปทุกแห่ง แลอย่างกลัว (กับ) งกเงิ่นไปฯ คนสองสามคน ขึ้นไปทำกิริยาเหมือนกันใช้ว่า กับ…ผัวอยู่กับเมีย นายไปกับบ่าวคนหนึ่งนั่งพูดเล่นกับคนหนึ่ง นายปรึกษากับบ่าว…อนึ่ง ถ้าเป็นของที่ไปด้วยมาด้วย อยู่ด้วย ได้มาด้วยเสียไป หายไปด้วยกัน ก็ว่ากับได้เหมือนหนึ่งคนไปกับย่ามของตัว ไปกับดาบแลปืนของตัวก็ว่าได้ คนมากับหาบสิ่งของ คนแก่มากับไม้เท้า คนมากับช้าง กับม้า กับโค กับกระบือ คนอยู่กับหีบผ้า ทองเก็บไว้กับเงิน ผ้ากับเสื้ออยู่ด้วยกัน… ของก็ดี สัตว์ก็ดี คนก็ดีอยู่ด้วยกัน ไปด้วยกัน ทำอะไรด้วยกัน ต้องที่จะออกชื่อด้วยกัน ว่ากับได้สิ้นคือ เงินกับทอง หม้อข้าวกับเชิงกราน บังเหียนกับม้า ตะพดกับโค…อะไรเป็นอันมากที่ไปด้วยกันมาด้วยกันอยู่ด้วยกัน ทำอะไรด้วยกันว่ากับได้หมด แต่ถวายแลให้แลรับ แลเรียกเอา บอกเล่า ว่ากับไม่ได้ เลยฯ.."
    พระองค์ทรงพยายามดัดแปลงตัวอักษรและวิธีการเขียนหนังสือไทย เพื่อให้เหมือนอักษรและวิธีการเขียนหนังสือไทย เพื่อให้เหมือนอักษรของชาวยุโรป คือ สระและพยัญชนะอยู่บรรทัดเดียวกัน เรียงสระไว้หลังพยัญชนะ ตัวอักษรที่ได้ปรับปรุงแก้ไขนี้ เรียกว่า อักษรอริยกะ พระองค์โปรดให้ทดลองใช้กับพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต แต่อักษรอริยกะไม่แพร่หลาย เนื่องจากอักษรอริยกะเปลี่ยนรูปสระและพยัญชนะ และวิธีการเขียนเปลี่ยนไปจากอักษรไทยเดิม เหมาะกับการเขียนภาษาบาลีเท่านั้นไม่ช้าก็เลิกล้มไปไม่เป็นที่นิยม
    ลักษณะตัวอักษรอริยกะสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2390
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้มากมาย พระราชนิพนธ์ส่วนใหญ่เป็นร้อยแก้วมากกว่าร้อยกรอง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปยังนานาประเทศ และบุคคลสำคัญบางคนในประเทศ ด้วยลายพระหัตถ์เป็นภาษาอังกฤษ จึงได้รับการยกย่องว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศ นอกจากพระราชสาสน์ ยังมีพระบรมราชาธิบายต่าง ๆ และประกาศสำคัญ ๆ ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง สมเด็จพระนเรศวรต้องตกไปเป็นตัวประกันอยู่เมืองพม่า และพระบรมราชา ธิบายบทพระคาถาตำนานพระแก้วมรกตเป็นภาษาอังกฤษ
    (ทรงแปลจากบทพระราชนิพนธ์ของพระองค์เอง)
    วรรณกรรมที่สำคัญ คือ ชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวบรวมวิชาการสาขาต่าง ๆ ไว้ 4 หมวด คือ
    หมวดวรรณคดี
    ตอนที่ 1 ว่าด้วยอักษรและศัพท์
    ว่าด้วยอักษร ฤ ฤา ภ ภา ใช้ตัว ห นำไม่ได้
    ว่าด้วยคำ สำเร็จ เสร็จ กับคำว่า สำเรทธิ เสรทธิ
    ว่าด้วยคำว่า ทรง เขียนเป็น ธรง ไม่ได้
    ว่าด้วยลักษณะใช้ กับ แก่ แต่ ต่อ ใน ยัง
    ว่าด้วยลักษณะคำว่า ใส่
    ว่าด้วยคำ ทแกล้ว
    ว่าด้วยศัพท์ ศพ
    ว่าด้วยศัพท์ พระอิศวร ประฎิทิน
    ว่าด้วยคำภูษามาลา และวัดพนัญเชิง
    ว่าด้วยศัพท์ สัทธรรมเทศนา และคำทูลเกล้า ฯ ถวาย
    ว่าด้วยคำ พระเมรุทอง และพิหารหลวง พิหารราย
    ตอนที่ 2 ว่าด้วยนามข้าราชการ
    ว่าด้วยนามพระยาอิศรานุภาพ ธัญญาภิบาลและพระยาประเสริฐสาตรดำรง
    ว่าด้วยนามหลวงบันเทาทุกข์ราษฎร
    ว่าด้วยนามเจ้าพระยามุขมนตรี และหลวงมลโยธานุโยค
    ว่าด้วยนามผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้นเมืองกาญจนบุรี 7 เมือง
    ว่าด้วยนามผู้สำเร็จราชการเมืองนครเขื่อนขันธ์
    ตอนที่ 3 ว่าด้วยนามสถานที่ต่าง ๆ
    ว่าด้วยนามพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ และพุทไธสวรรย์
    ว่าด้วยนามวัดรัชฎาธิฐาน และวัดกาญจนสิงหาสน์
    ว่าด้วยนามท้องสนามหลวง และท้องสนามไชย
    ว่าด้วยนามเมืองประจวบคิริขันธ์เมืองปัจจันตคิรีเขตต์
    ว่าด้วยนามคลองเจดีย์บูชา
    ว่าด้วยนามพระที่นั่งชลังคพิมาน และพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง
    ว่าด้วยนามพระที่นั่งท่าที่ประทับราชวรดิษฐ์
    ว่าด้วยนามคลองผดุงกรุงเกษม คลองถนนตรง และ ถนนเจริญกรุง
    ว่าด้วยนามวัดมหาธาตุ วัดราชประดิษฐ และวัดราชบุรณะ
    ว่าด้วยเรื่องแขกเรียกเมืองมะกะ และเมืองมะดีนะว่าเมืองกบิลพัสดุ์
    หมวดโบราณคดี
    ตอนที่ 1 ว่าด้วยราชประเพณีโบราณ
    ว่าด้วยประเพณีนำริ้วตรวจทางเสด็จพระราชดำเนิน
    ว่าด้วยประเพณีลงสรงโสกันต์
    ว่าด้วยประเพณีพระราชทานเบี้ยหวัดและเงินเดือนแก่ เจ้านายในพระราชวังบวร
    ว่าด้วยประเพณีพระราชทานเบี้ยหวัดพระราชวงศานุวงศ์ที่ทรงผนวช
    ว่าด้วยประเพณีพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่พ่อค้าต่างประเทศ
    ว่าด้วยประเพณีเสด็จพระราชทานพระกฐินพระอารามหลวงกรุงศรีอยุธยา
    ว่าด้วยประเพณีพระสงฆ์รามัญสวดพระปริตรทำน้ำ พระพุทธมนต์ในพระราชวังชั้นใน
    ตอนที่ 2 ว่าด้วยจารีตโบราณ
    ว่าด้วยอากรค่าน้ำ
    ว่าด้วยอากรไม้ปกำใบและน้ำมัน
    ว่าด้วยอากรค่านา
    ว่าด้วยพิกัดเงินตรา
    ว่าด้วยการใช้เบี้ย
    ว่าด้วยพิกัดทองคำ
    ว่าด้วยตราภูมิคุ้มห้าม
    ว่าด้วยดวงตราที่ใช้ในตราภูมิ
    ว่าด้วยสักเลขหมายหมู่
    ว่าด้วยละครผู้หญิงของหลวง
    ว่าด้วยนายบ่อนทดรองเงินให้ผู้เล่นเบี้ย
    ตอนที่ 3 ว่าด้วยโบราณสถาน
    ว่าด้วยตำนานเมืองลพบุรี
    ว่าด้วยชื่อพระที่นั่งในเมืองลพบุรี
    ว่าด้วยนามเมืองลพบุรี
    ว่าด้วยพระราชทานเปลี่ยนที่วิสุงคามสีมาเมืองลพบุรี
    ว่าด้วยตำนานวัดไชยพฤกษมาลา และวัดเขมาภิรตาราม
    ว่าด้วยตำนานวัดหงสรัตนาราม
    ตอนที่ 4 ว่าด้วยโบราณวัตถุ
    ว่าด้วยพระปฐมเจดีย์
    ว่าด้วยพระเจดีย์ในวัดชุมพลนิกายาราม
    ว่าด้วยพระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกต
    ว่าด้วยพระพุทธบุษยรัตน์
    หมวดธรรมคดี
    หมวดตำรา
    ทางภาษาบาลี ทรงพระราชนิพนธ์พระคาถาตำนานพระแก้วมรกต ตำนานพงศาวดาร กรุงรัตน-โกสินทร์สังเขป และพระคาถาว่าด้วยการพระราชทานพระนามพระราชโอรสพระราชธิดาสมณสาส์น พระราชทานถวายคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายส่งไปยังคณะสงฆ์ ณ ลังกาทวีป
    ทางบทร้อยกรองที่สำคัญมี บทพระราชนิพนธ์มหาชาติซึ่งเป็นร่ายยาว ได้แก่ กัณฑ์จุลพน กัณฑ์สักรบรรพ กัณฑ์ฉกษัตริย์ กัณฑ์วนปเวสน์ และกัณฑ์มหาพน
    บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระรามเดินดง พระรามเข้าสวนพิราม
    บทเบิกโรงเรื่องพระนารายณ์ ปราบนนทุก
    บทรำเบิกต้นไม้ทองเงิน
    บทพระฤาษี
    บทละครเรื่องระบำ
    พระราชกรณียกิจอันสำคัญที่ควรกล่าวถึงในเรื่องการอนุรักษ์และการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย คือการพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้หัดละครผู้หญิงกันได้โดยทั่วไป และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทพระราชนิพนธ์ไปเล่นได้
    เมื่อเริ่มรัชกาล ยังไม่มีละครหลวง เพราะละครหลวงเลิกไปเสียแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นถึงรัชสมัยของพระองค์มิได้ทรงรังเกียจ ดังนั้นสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี จึงทรงหัดละครเด็กผู้หญิงในพระบรมมหาราชวังขึ้นชุดหนึ่ง แต่ไม่ทันได้ออกแสดง เนื่องจากสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีได้สิ้นพระชนม์ก่อน ต่อมาเมื่อทรงรับช้างเผือก (คือพระวิมลรัตน กิริณี) สู่พระบารมี ใน พ.ศ. 2396 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมละครของสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี ฝึกหัดเป็นละครหลวงได้ออกโรงเล่นสมโภชช้างเผือกเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2397
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.most.go.th/200year/king200year.htm

    ในรัชกาลนี้ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าด้วย ละครผู้หญิง พ.ศ. 2398 โปรดอนุญาตให้เจ้านาย ขุนนาง และผู้มีบรรดาศักดิ์หัดละครผู้หญิงขึ้นได้ แต่ได้ขอจำกัดสิทธิ์บางประการไว้สำหรับละครหลวง เช่นรัดเกล้ายอด เครื่องแต่งตัวลงยา พานทอง หีบทอง ซึ่งใช้เป็นเครื่องยศ เครื่องประโคมแตรสังข์ และห้ามมิให้บังคับผู้ที่ไม่สมัครใจเล่นละครให้ได้รับความเดือดร้อน จึงโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศในประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 ภาค 2 58 (หอพระสมุดวชิรญาณ 2465 : 55-56) ความว่า
    "...แต่ก่อนในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แลแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย มีลครผู้หญิงแต่ในหลวงแห่งเดียว ด้วยมีพระราชบัญญัติห้ามมิให้พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝึกหัดลครผู้หญิง เพราะฉนั้นข้างนอกจึงไม่มีใครเล่นลครผู้หญิงได้ ครั้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรดลคร แต่ทว่าทรงแช่งชักติเตียนจะไม่ให้ผู้อื่นเล่น ถึงกระนั้นก็มีผู้ลักเล่นเงียบ ๆ อยู่ด้วยกันหลายราย มาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ พระราชวงศานุวงศ์ แลข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อย ผู้ใดเล่นลครผู้ชายผู้หญิงก็มิได้ทรงรังเกียจเลย ทรงเห็นว่ามีลครด้วยกันหลายรายดี บ้านเมืองจะได้ครึกครื้น จะได้เป็นเกียรติยศแผ่นดิน เดี๋ยวนี้ท่านทั้งปวงเห็นว่าลครในหลวงมีขึ้นก็หามีใครเล่นลครเหมือนอย่างแต่ก่อนไม่ คอยจะกลัวผิดแลชอบอยู่ การอันนี้มิได้ทรงรังเกียจเลย ท่านทั้งปวงเคยเล่นอยู่แต่ก่อนอย่างไรก็ให้เล่นไปเถิด ในหลวงมีการงานอะไรบ้าง ก็จะได้โปรดหาเข้ามาเล่นถวายทอด พระเนตรบ้าง จะได้พระราชทานเงินโรงรางวัลให้บ้าง ผู้ใดจะเล่นก็เล่นเถิด ขอยกเสียแต่รัดเกล้ายอดอย่างหนึ่ง เครื่องแต่งตัวลงยาอย่างหนึ่ง พานทองหีบทองเป็นเครื่องยศอย่างหนึ่ง เมื่อบททำขวัญยกแต่แตรสังข์อย่างหนึ่ง แล้วอย่าให้ฉุดบุตรชายหญิงที่เขาไม่สมัคเอามาเป็นลคร ให้เขาได้ความเดือดร้อนอย่างหนึ่ง ขอห้ามไว้แต่การเหล่านี้ ให้ท่านทั้งปวงเล่นไปเหมือนอย่างแต่ก่อนเถิด"
    การที่ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใครก็มีละครผู้หญิงได้ การแสดงละครชายจริงหญิงแท้ เริ่มมีเป็นครั้งแรกในสมัยของพระองค์นี้เอง และเกิดการเปลี่ยนแปลงการเล่นละครซึ่งเดิมเป็นละครผู้ชาย กลายเป็นผู้หญิงเล่นแทบทั่วทั้งเมือง ผู้คนก็ชอบดูละครผู้หญิง ดังนั้นละครผู้หญิงจึงแพร่หลาย เจ้าของละครได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการรับงานละครไว้มาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งภาษีโขน-ละคร เพื่อให้เจ้าของละครได้ช่วยเหลือแผ่นดินบ้าง เรียกว่าภาษีโรงละคร พิกัดที่เก็บภาษีละคร เก็บดังนี้คือ
    ละครโรงใหญ่เล่นเรื่องละครใน
    เล่นเรื่องรามเกียรติ์ เล่นวันกับคืน 1 หรือวัน 1 ภาษี 20 บาท
    เล่นเรื่องอิเหนา เล่นวันกับคืน 1 หรือวัน 1 ภาษี 16 บาท
    เล่นเรื่องอุณรุท เล่นวันกับคืน 1 หรือวัน 1 ภาษี 12 บาท
    ละครเล่นเรื่องละครนอก
    ละครกุมปนี คือเลือกคัดแต่ตัวดีเล่นประสมโรงกัน เล่นวัน 1 ภาษี 4 บาท
    ละครสามัญ เล่นงานปลีก เล่นวันกับคืน 1 ภาษี 3 บาท
    ละครสามัญ เล่นงานปลีก เล่นวัน 1 ภาษี 2 บาท
    ละครสามัญ เล่นงานปลีก เล่นคืน 1 ภาษี 1 บาท
    ละครเล่นงานเหมา เล่นวันกับคืน 1 ภาษี 1 บาท 50 สตางค์
    ละครเล่นงานเหมา เล่นวัน 1 ภาษี 1 บาท
    ละครเล่นงานเหมา เล่นคืน 1 ภาษี
    50 สตางค์
    ละครหลวง และละครที่เกณฑ์เล่นงานหลวง ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี กับยังมีการเล่นอย่างอื่นรวมอยู่ในภาษีละครอีกหลายอย่าง จะกล่าวไว้ด้วยพอให้ทราบความเป็นมา คือ
    โขน เล่นวัน 1 ภาษี 4 บาท
    ละครหน้าจอหนัง เล่นเรื่องรามเกียรติ์ ตัวละครตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป เล่นคืน 1 ภาษี 2 บาท 50 สตางค์
    ละครชาตรีและละครแขก เล่นวัน 1 ภาษี 50 สตางค์
    เพลง เล่นวัน 1 ภาษี 1 บาท
    แคน มอญรำ ทวายรำ เล่นวัน 1 ภาษี 50 สตางค์
    กลองยาว เล่นวัน 1 ภาษี 12 สตางค์ครึ่ง
    หุ่นไทย เล่นวัน 1 ภาษี 1 บาท
    หนังไทย เล่นคืน 1 ภาษี 50 สตางค์
    งิ้ว เล่นวัน 1 ภาษี 4 บาท
    หุ่นจีน เล่นวัน 1 ภาษี 1 บาท
    หนังจีน เล่นวัน 1 ภาษี 50 สตางค์
    การแสดงเบิกโรงละครใน ก่อนที่จะแสดงละครใน จะต้องมีการแสดงชุดเบิกโรงเสียก่อน โดยผู้แสดงละครใน 2 คน แต่งกายยืนเครื่องพระ สวมหัวเทวดาโล้น สองมือกำหางนกยูง (หัวเทวดาที่ไม่มีมงกุฏ) ออกมารำเบิกโรง เรียกว่า รำประเลง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงคิดประดิษฐ์ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง โดยเอาแบบมาจากเครื่องราชบรรณาการ เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการรำเบิกโรง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงการแสดงรำเบิกโรงละครในจากชุดรำประเลง มาเป็นรำดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง โดยใช้ผู้แสดงละครใน 2 คน แต่งกายยืนเครื่องพระ สวมชฏาแทนสวมหัวเทวดาโล้น สองมือถือดอกไม้เงินดอกไม้ทองแทนหางนกยูง แล้วทรงพระราชนิพนธ์บทขับร้องประกอบการรำดอกไม้เงินดอกไม้ทองขึ้นใหม่ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2463 : 1)
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.most.go.th/200year/king200year.htm

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระทัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมตะวันตก เมื่อได้ทรงทราบว่า พระมหากษัตริย์ของชาวยุโรป มีประเพณีการประดับเครื่องหมายแสดงพระเกียรติยศที่ฉลองพระองค์ พระองค์จึงมีพระราชดำริที่จะทรงสร้างเครื่องหมายแบบชาวตะวันตก จากรูปแบบของสิ่งที่เป็นมงคลดั้งเดิมของไทย เช่น พลอย 9 ชนิด หรือ นพรัตน์ และจากแบบอย่างของตราประทับหนังสือราชการ ซึ่งแสดงถึงเครื่องหมายแทนพระองค์พระมหากษัตริย์ เครื่องหมายดังกล่าวนี้ ภาษาสากล เรียกว่า Star พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญญัติศัพท์ ว่า "ดารา" และยังคงใช้คำนี้ในการเรียก ดารา ส่วนประกอบของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำหรับชั้นที่ 2 ขึ้นไป จนถึงชั้นสายสะพายมาจนถึงปัจจุบันนี้ (สำนักนายกรัฐมนตรี 2536 : 7)
    ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ ทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้น 6 อย่าง (ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล 2534 : 157) คือ
    1. ดาราไอราพต
    ดาราไอราพต เป็นดาราดวงแรกซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2400 สำหรับเป็นเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ โดยทรงนำแบบอย่างมาจากลวดลายของตราอันหมายถึงองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งเรียกว่าพระราชลัญจกรไอราพต เป็นรูปช้าง 3 เศียร มีฉัตรเครื่องสูงข้างละ 1 คู่ ประกอบอยู่ทางด้านซ้ายและขวา ทรงสร้างสำหรับพระองค์ 2 ดวง และสำหรับพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวอีก 2 ดวง
    ดาราไอราพต (เครื่องต้น)
    ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดี รูปกลมรี มีรัศมี 12 แฉก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.5 X 7.3 เซนติเมตร ลายกลางจำหลักเป็นรูปไอราพต (ช้างสามเศียร) มีบุษบกมหาอุณาโลมประดิษฐานอยู่บนหลัง ขนาบด้วยฉัตรข้างละ 1 คู่ อยู่ภายในวงกรอบประดับเพชร ประดับฉลองพระองค์เบื้องซ้ายสำหรับพระมหากษัตริย์ทรง
    ดาราไอราพต (องค์รอง)
    ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดีเป็นรูปกลมรี มีรัศมี 12 แฉก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.5 X 6.5 เซนติเมตร ลายกลางจำหลักเป็นรูปไอราพต เศียรกลางเฉียงขวา มีบุษบกมหาอุณาโลมประดิษฐานอยู่บนหลัง ขนาบด้วยฉัตรข้างละ 1 คู่ อยู่ภายในวงกรอบลายดอกไม้ สำหรับประดับฉลองพระองค์เบื้องซ้าย
    ดาราไอราพต สำหรับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างดาราไอราพตนี้ สำหรับพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่าพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 (สำนักนายกรัฐมนตรี 2536 : 7)
    ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดี รูปกลมรีมีแฉก 12 แฉก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.0 X 6.3 เซนติเมตร ลายกลางจำหลักเป็นรูปไอราพต (ช้างสามเศียร) เศียรกลางเฉียงซ้าย มีพระมหามงกุฎประดิษฐานบนหลังขนาบด้วยฉัตรข้างละ 1 ฉัตร อยู่ในวงกรอบซึ่งประดับทับทิมล้อมรอบวงกรอบรอบนอกมีเนื่องเพชรโดยรอบ สำหรับประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
    ดาราไอราพต (องค์รอง) สำหรับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดี รูปกลมรี 12 แฉก ลายกลางจำหลักเป็นรูปไอราพตเศียรกลางเฉียงขวามีพระมหามงกุฎประดิษฐานบนหลัง ขนาบด้วยฉัตรข้างละ 1 ฉัตร อยู่ในวงกรอบประดับทับทิมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.0 X 6.8 เซนติเมตร สำหรับประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
    . ดารานพรัตน
    พ.ศ. 2401 - พ.ศ. 2402 หลังจากที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างดาราตราตำแหน่งเลียนแบบรูปลักษณ์ และวิธีการประดับของสากลประเทศขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเครื่องประดับ สำหรับยศอื่น ๆ เป็นลำดับมา ได้แก่ ดารานพรัตน ด้วยมีพระราชดำริ อันเป็นเหตุผลที่มาในการสร้าง ดังที่พระราชทาน พระบรมราชาธิบายไว้ตอนหนึ่งว่า
    "...พระเจ้าแผ่นดินสยามในรัชกาลปัจจุบันนี้ เมื่อส้องเสพย์กับชาวต่างประเทศ ได้สืบทราบว่าในประเทศต่าง ๆ มีเครื่องยศ สำหรับสำแดงลำดับยศอย่างสูงแลลำดับนั้น ๆ ลงมา ด้วยทำเป็นดาว และดอกจันทน์ และรูปต่าง ๆ ตามบัญญัติในเมืองนั้น จึงได้คิดตั้งพระราชบัญญัติให้ทำดอกจันทน์ประดับด้วยพลอย 9 อย่าง นั้นขึ้นเพื่อจะให้ประดับในหน้า
    เสื้อเป็นสำคัญยศอย่างสูง..."
    ดอกจันทน์ประดับพลอย 9 อย่างนี้คือ "ดารานพรัตน" พระองค์ทรงสร้างดารานพรัตน ทั้งหมดขึ้น 5 ดวง ครั้งนั้นทรงสร้างขึ้นไว้เป็นเครื่องต้น 1 ดวง ภายหลังจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพิ่มเติม โดยพระราชทานให้กับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว 1 ดวง พระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ 3 ดวง คือ พระราชทานแก่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส และพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร ซึ่งเมื่อพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นี้สิ้นพระชนม์ ก็ได้พระราชทานแก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรง ดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า จุฬาลงกรณ์ฯ อีกทั้งมีแนวพระราชดำริว่า ต่อไปจะพระราชทานแก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศแหวนทองคำประดับพลอย 9 ชนิดด้วย ดารานพรัตน ดังกล่าวนี้เป็นต้นเค้าของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
    3. ดาราช้างเผือกสำหรับพระราชทานคนไทย
    พ.ศ. 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตราเป็นลายรูปช้างเผือกขึ้น ด้วยมีพระราชดำริจะให้เป็นเครื่องหมายถึงแผ่นดินสยาม เรียกกันว่า "ดาราช้างเผือก" อันเป็นต้นเค้าของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกในปัจจุบัน ดาราช้างเผือกนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสำหรับพระราชทานแก่ผู้มียศต่าง ๆ ในพระราชอาณาจักรที่มีความชอบ เป็นรูปพระมหามงกุฎบนหลังช้าง โดยกำหนดไว้เป็น 4 ชั้น ได้แก่
    ชั้นพิเศษ ทำด้วยทองคำเป็นรูปกลม มีรัศมี 16 แฉก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.3 X 6.0 เซนติเมตร ลงยาราชาวดีจำหลักเป็นช้างเผือกผูกเครื่องมั่น มีพระมหามงกุฎประดิษฐานอยู่บนหลัง กรอบล้อมด้วยเพชรประดับทับทิม รัศมีลงยาราชาวดี ใช้ประดับฉลองพระองค์เบื้องซ้าย เป็นดาราช้างเผือกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ดาราช้างเผือกชั้นพิเศษมีหลายดวง และมีขนาดแตกต่างกัน
    ชั้นที่ 1 ลักษณะเหมือนชั้นพิเศษ แต่ไม่ ประดับเพชรพลอย
    ชั้นที่ 2 ลักษณะเหมือนชั้นพิเศษ แต่ทำด้วยทองคำเกลี้ยง
    ชั้นที่ 3 ลักษณะเหมือนชั้นพิเศษ แต่ทำด้วยทองคำ ตัวช้างเป็นเงิน
    4. ดาราช้างเผือกสำหรับพระราชทานชาวต่างประเทศ
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างดาราช้างเผือกสำหรับพระราชทานชาวต่างประเทศที่มีความชอบ ทำด้วยทองคำเป็นรูปกลม 16 แฉก ขนาดกว้าง 6.0 เซนติเมตร ลงยาราชาวดี จำหลักเป็นช้างเผือกผูกเครื่องมั่น มีธงพร้อมเสาบนหลังช้าง อยู่ภายในกรอบสำหรับประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
    5. ดาราพระมหามงกุฏ (ฝ่ายใน)
    พ.ศ. 2404 เครื่องประดับยศอีกอย่างหนึ่งที่เข้าเกณฑ์เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเช่นเดียวกับดาราช้างเผือกแต่ขนาดเล็กกว่า คือดารามหามงกุฎฝ่ายในสำหรับพระราชทานเจ้าจอม ซึ่งแต่งตัวเป็นมหาดเล็กตามเสด็จ มี 2 ชั้น คือ
    ชั้นที่ 1 มีลักษณะเป็นรูปกลมรีตามแนวนอน มีรัศมี 10 แฉก ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดี ลายกลางจำหลักเป็นพระมหามงกุฎมีฉัตรเครื่องสูง กับพาน 2 ชั้น รองแว่นและรองสมุดอยู่ 2 ข้าง
    ชั้นที่ 2 ลักษณะเหมือนชั้นที่ 1 แต่ทำด้วยทองคำเกลี้ยง
    ดาราพระมหามงกุฎ (ฝ่ายใน)
    6. ดาราตราตำแหน่ง
    การสถาปนาดาราตราตำแหน่งเป็นครั้งแรก
    ดาราตราคชสีห์
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างดาราไอราพตสำหรับเครื่องทรง และพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ในปีเดียวกันนี้ (พ.ศ. 2400) ได้ทรงคำนึงถึงข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมีตำแหน่งสำคัญ คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เมื่อยังดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหมว่า สมควรจะมีดาราเพื่อแสดงถึงยศและตำแหน่งด้วย
    พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สร้างดาราขึ้นอีก 1 ดวง สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม โดยนำลายของดวงตราประจำตำแหน่งสำหรับประทับบนหนังสือราชการ ซึ่งเรียกว่าตรา คชสีห์ มาสร้างเป็นดาราประดับเสื้อ
    ลักษณะของดาราตราคชสีห์ เป็นรูปกลมรี มีรัศมี 14 แฉกทำด้วยทองคำสลักลายลงยาราชาวดี ตรงกลางจำหลักเป็นรูปคชสีห์ มีพระมหามงกุฎอยู่บนหลัง กรอบวงกลมประดับเพชร
    ดาราตราราชสีห์
    พ.ศ. 2407 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาดาราสำหรับตำแหน่งสมุหนายกซึ่งมีลักษณะเหมือนดาราตราคชสีห์ ต่างกันที่ลายตรงกลางเป็นรูปราชสีห์ซึ่งเป็นตราประทับบนหนังสือราชการของผู้ดำรงตำแหน่งสมุหนายก และผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้ใน พ.ศ. 2407 คือ เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์)
    เหรียญเงินตรา
    ประเทศไทยเริ่มใช้เงินพดด้วงตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ติดต่อเรื่อยมาจนถึงสมัย กรุงรัตนโกสินทร์
    ในสมัยกรุงสุโขทัย พระเจ้าแผ่นดินทรงริเริ่มและให้ผลิตเงินตราพดด้วงขึ้นใช้ แต่มิได้ผูกขาดในการผลิต ทรงเปิดโอกาสให้เจ้าเมืองขึ้น ตลอดจนพ่อค้าประชาชนผลิตเองได้ เงินพดด้วงสมัยกรุงสุโขทัย จึงมีตราบ้าง ไม่มีบ้าง เนื้อเงินและน้ำหนัก ตลอดจนลักษณะจึงแตกต่างกันไป
    ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทางราชการผูกขาดในการทำเงินพดด้วงทั้งหมด ซึ่งมีการผลิตเงินพดด้วงทองคำด้วย และห้ามราษฎรผลิตเงินตราใช้เอง เงิน พดด้วงจึงมีรูปร่างลักษณะ น้ำหนัก และเนื้อเงินเป็นอย่างเดียวกันหมดเป็นต้นมา จนถึงสมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
    ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เงินพดด้วงยังคงผลิตใช้ติดต่อกันมาจากสมัยกรุงธนบุรี ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเงินพดด้วงที่ระลึก 2 ครั้ง หลังจากนั้นไม่มีการผลิตอีก และโปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้ เนื่องจากมีการสร้างเหรียญเงินตราขึ้น เพื่อใช้แทนตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่โปรดให้ปฏิรูปเงินตราไทย คือ ทรงริเริ่มสร้าง "เงินแบน" หรือ "เงินแป" ขึ้นใช้แลกเปลี่ยนแทน "เงินกลม" หรือ "เงินพดด้วง" ให้เท่าเทียมประเทศตะวันตกสมัยนั้น (ตุ๋ย เหล่าสุนทร 2515 : 1)
    เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ แม้จะยังโปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเงินพดด้วงออกใช้ แต่ความต้องการเงินตราไทยมีมาก เนื่องจากในรัชสมัยนี้ กิจการค้าระหว่างประเทศได้ขยายตัวเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เรือสินค้าต่างประเทศนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายและซื้อสินค้าจากประเทศไทยออกไปเป็นเงินคราวละมาก ๆ ในขณะเดียวกันไทยก็ต่อเรือบรรทุกสินค้าไปจำหน่ายและซื้อสินค้าจากต่าง-ประเทศเข้ามามากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้พ่อค้าต่างประเทศนำเงินเหรียญประเทศต่างๆ มาใช้ในการซื้อขาย ทำความยุ่งยากให้กับพ่อค้าไทย เพราะไม่คุ้นเคยและยังไม่ค่อยเชื่อถือค่าของเงินเหรียญเหล่านั้นซึ่งมีหลายชนิดด้วยกัน พ่อค้าชาวอังกฤษ ฝรั่งเศส หรืออเมริกัน ที่เข้ามาตั้งร้านค้าขายอยู่ในกรุงเทพฯ ต้องช่วยเป็นธุระนำเงินเหรียญต่างประเทศเข้าไป วานช่างในพระคลังมหาสมบัติหลอมและทำให้เป็นเงินพดด้วงออกมาใช้เป็นจำนวนเกือบสามแสนเหรียญ แต่ช่างทำเงินพดด้วงมีจำนวนน้อย เตาผลิตมีเพียง 10 เตา สามารถผลิตได้วันละ 2,400 บาท เป็นอย่างมาก (ประยุทธ สิทธิพันธ์ 2516 : 297) จึงส่งผลให้การผลิตเงินพดด้วงทำได้น้อย และช้าไม่ทันกับความต้องการ นายเบลล์ (Mr. Charles Bell) ผู้ว่าการแทนกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทยระหว่างนั้น ได้ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนรับเงินเหรียญต่างประเทศบางชนิด โดยเฉพาะในการซื้อขายรายใหญ่ ๆ ตั้งแต่ 10 ชั่งขึ้นไป และกำหนดให้เงินเหรียญต่างประเทศชนิดหนัก 7 สลึง จำนวน 100 เหรียญ เท่ากับเงินพดด้วง 2 ชั่ง 1 ตำลึง 3 บาท 2 สลึง หรือ 167.50 บาท แต่จะขอรับอัตราแลกเปลี่ยนเพียง 166 บาทเท่านั้น ส่วนการซื้อขายรายย่อยจ่ายเป็นเงินพดด้วง (สดับ ธีระบุตร 2528 : 79-80)
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศให้ใช้เงินเหรียญต่างประเทศแทนเงิน พดด้วง ทรงมีพระราชดำริว่าเงินเข้ามาในบ้านเมืองมากเป็นการดี ทำให้ราษฎรมั่งมีทรัพย์สินเงินทองยิ่งขึ้น ประเทศอื่น เช่น จีน ญวน พม่า แขก ที่ลูกค้าชาวต่างประเทศเข้าไปค้าขาย ก็นำเงินเหรียญต่างประเทศไปใช้จ่ายไม่มีอะไรขัดข้อง เมืองขึ้นของไทยขณะนั้น เช่น เมืองสงขลา ถลาง (ภูเก็ต) พงา (พังงา) ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า ซึ่งทำการค้าขายถึงกันกับประเทศที่ขึ้นกับอังกฤษ ก็ใช้เงินเหรียญต่างประเทศอยู่บ้างนานมาแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะ มีพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธรเป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการพิจารณาแล้ว เห็นควรอนุญาตให้ใช้ได้ และอัตราแลกเปลี่ยนยุติธรรมดี จึงทรงประกาศให้ราษฎรใช้เงินเหรียญต่างประเทศได้เป็นครั้งแรกเมื่อวันพุธ เดือน 2 ขึ้น 12 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2399 โดยให้มีอัตราแลกเปลี่ยน 3 เหรียญ (ชนิดเหรียญละ 7 สลึง) ต่อ 5 บาทไทยหรือ 48 เหรียญ เม็กซิกันชนิด 8 เรียล (นิยมเรียกว่า "เหรียญนก" เพราะด้านหนึ่งเป็นรูปนกอินทรีย์) ต่อ 1 ชั่ง เหรียญญี่ปุ่นชนิดหนึ่งเยน 49 เหรียญ ต่อ 1 ชั่ง เหรียญฮอลันดาชนิด 2 1/2 กิลเดอร์ 52 เหรียญ ต่อ 1 ชั่ง และเหรียญอินเดียชนิดหนึ่งรูปี 112 เหรียญ ต่อ 1 ชั่ง ทั้งนี้คิดตามน้ำหนักและเนื้อเงิน เงินเหรียญเหล่านี้เมื่อผู้ใดสงสัยก็ให้เจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติ ตรวจตีตราประจำแผ่นดินและตราประจำรัชกาล คือ ตราจักรและตรามงกุฎบนเหรียญนั้น ๆ เพื่อแสดงว่าเป็นของแท้และมีค่าตามที่ประกาศ
    พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้มีการผลิตเงินเหรียญแทนเงินพดด้วง ความต้องการเงินตราไทย มีมากขึ้นอย่างรวดเร็ว การผลิตเงินพดด้วงไม่ทันใช้ และถึงกับต้องใช้เงินเหรียญต่างประเทศออกจ่ายเป็นเบี้ยหวัดเงินเดือนข้าราชการอยู่ระยะหนึ่ง ใน พ.ศ. 2400 จึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโรงงานผลิตเงินเหรียญขึ้นแทนเงินพดด้วง โดยมีพระราชหัตถเลขาลงวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 ถึงคณะราชทูตไทยซึ่งกำลังไปเจริญพระราชไมตรีอยู่ในประเทศอังกฤษ ให้จัดซื้อเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์ชนิดที่ผลิตได้ทั้งเหรียญเงิน และเหรียญทองคำส่งเข้ามายังประเทศไทย
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.most.go.th/200year/king200year.htm

    เครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์เครื่องแรก สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษส่งมาถวายเป็นบรรณาการ เป็นเครื่องเล็กผลิตได้ช้า ใช้ผลิตใน พ.ศ. 2400 ถึง 2401 ก็เลิก ส่วนเครื่องจักรที่สั่งซื้อมาจากประเทศอังกฤษมีขนาดใหญ่และสามารถผลิตได้เร็วกว่า
    ครั้นถึง พ.ศ. 2403 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรที่บริเวณประตูพรหมโสภา หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังแล้วเสร็จ พระราชทานนามว่า "โรงกระษาปน์สิทธิการ" เพื่อผลิตเงินเหรียญแบบสากลนิยม โดยใช้เครื่องจักรทำการแทนแรงคน เริ่มผลิตตั้งแต่ พ.ศ.2403 เงินเหรียญที่ผลิตขึ้นใช้ในระยะแรกเรียกว่า "เงินแป" หรือ "เงินแบน" เพราะมีรูปลักษณะแบนกลมเหมือนเหรียญต่างประเทศทั่วไป ตราของเงินเหรียญใช้รูปจักรมีช้างยืนบนแท่นอยู่กลางเป็นตราประจำแผ่นดิน จักรมี 9 กลีบ รอบจักรมีดอกจัน 8 ดอก ในขนาดหนึ่งบาท 4 ดอก ในขนาดกึ่งบาท 2 ดอก ในขนาดสลึง และหนึ่งดอกในขนาดเฟื้อง ส่วนตราประจำรัชกาล มีรูปร่างเป็นพระมหามงกุฎยอดมีรัศมี มีฉัตร 5 ชั้น กระหนาบสองข้าง พื้นเป็นเปลวกนกมีดอกจันล้อมรอบจำนวนเท่าด้านตราจักร
    ใน พ.ศ. 2405 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โรงกระษาปน์ผลิตเหรียญดีบุก เพื่อเป็นเครื่องแลกใช้แทนเบี้ยหอย และประกาศให้ใช้กะแปะอัฐ และโสฬสที่ทำขึ้นใหม่นี้ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2405 เหรียญดีบุกนี้ทำด้วยดีบุกดำผสมทองแดง ด้านหนึ่งมีตราช้างในวงจักร อีกด้านหนึ่งมีรูปพระมหามงกุฎกับฉัตร เหรียญดีบุกขนาดใหญ่เรียกว่า "อัฐ" มีราคา 8 อันต่อหนึ่งเฟื้อง สำหรับขนาดเล็กเรียกว่า "โสฬส" มีราคา 16 อันต่อหนึ่งเฟื้อง
    นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรักษาสภาพของอัฐ และโสฬส จึงออกประกาศห้ามมิให้นับอัฐโสฬสลงที่พื้นแข็ง ๆ ซึ่งมีข้อความดังต่อไปนี้ "ใครจะนับเบี้ยกะแปะอัฐ แลโสฬสที่ใด ๆ ห้ามอย่าให้เทลงนับที่พื้นปูน พื้นศิลา และพื้นอิฐกระเบื้อง กระดานแข็ง ๆ หยาบ ๆ ของจะสึกหรอเสียลวดลายไปเร็ว ให้ปูผ้าหรือเจียมลงก่อนแล้วจึงเทลงนับบนผ้าหรือเจียมทุกแห่งทุกตำบล คนทั้งปวงจะต้องพร้อมใจสงวน เพราะใช้ด้วยกันทุกคนไปนาน ๆ" (ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล 2534 : 139)
    พ.ศ. 2406 ประเทศไทยค้าขายกับต่าง-ประเทศได้ทองคำเข้ามามาก จึงมีพระราชดำริให้ผลิตเหรียญทองคำ มีตราทำนองเดียวกับเงินเหรียญขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องแลก 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ เรียกว่า "ทศ" หรือ "ทุกกังส์" ราคาเหรียญละ 8 บาท (เทียบเท่าราคาทองปอนด์สเตอร์ลิงก์ของอังกฤษในสมัยนั้น) ขนาดกลาง เรียกว่า "พิศ" หรือ "เอกกังส์" ราคาเหรียญละ 4 บาท และขนาดเล็ก เรียกว่า "พัดดึงส์" หรือ "จีนกังส์" ราคาเหรียญละ 10 สลึง (เท่ากับตำลึงจีน)
    ครั้นถึง พ.ศ. 2408 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญทองแดง มีตราเช่นเดียวกับเหรียญดีบุกเป็นเครื่องแลกอีก 2 ขนาด ขนาดใหญ่ เรียกว่า "ซีก" ราคา 2 อัน ต่อหนึ่งเฟื้อง และขนาดเล็ก เรียกว่า "เสี้ยว" ราคา 4 อันต่อหนึ่งเฟื้อง
    อนึ่ง การใช้เหรียญทองคำและเหรียญดีบุก เพื่อเป็นเงินตราหรือเป็นเครื่องแลกในการซื้อขาย มิได้เป็นดังพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เนื่องจากราษฎรมักนำเหรียญทองคำไปทำรูปพรรณเครื่องประดับ หรือเก็บรักษาไว้เสมือนสิ่งมีค่า ดังนั้นเหรียญทองคำจึงค่อย ๆ หายสูญไปจากท้องตลาด สำหรับเหรียญดีบุกนั้น มีการทำเหรียญปลอมขึ้น จนราษฎรรังเกียจการที่จะรับหรือใช้เหรียญดีบุก
    เงินตราสยามซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริสร้างขึ้นเป็นเงินเหรียญได้เองจากโรงกระษาปน์ภายในประเทศแล้ว เงิน พดด้วงมิได้ผลิตเพิ่ม แต่ก็ยังไม่ประกาศเลิกใช้ จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2447 เป็นต้นมา และโปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรนำเงินพดด้วงมาขอแลกเงินเหรียญ หรือนำส่งเป็นเงินภาษีอากรหรือรายได้ ของรัฐบาลอย่างอื่นๆ ทุกประเภท และทรงมีประกาศฉบับสุดท้าย กำหนดให้แลกเงินพดด้วงได้เพียงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 เป็นการยุติ (สดับ ธีระบุตร 2528 : 83-85)
    ฉะนั้นการใช้เงินพดด้วงของประเทศไทย จึงได้สิ้นสุดลง หลังจากที่ใช้กันมานานกว่า 600 ปี
    ธนบัตร
    "หมาย"
    เงินกระดาษหรือธนบัตร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2396 ดังหลักฐานจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 (ภาพประวัติศาสตร์ราชวงศ์จักรี กรุงรัตน-โกสินทร์ 200 ปี ม.ป.ป. : 468) เรียกว่า "หมาย" เป็นเครื่องแลกทำด้วยกระดาษ มีตัวอักษรพิมพ์และประทับพระราชลัญจกร 3 ดวง ให้ราคาตั้งแต่เฟื้องจนถึงหนึ่งบาท ผลิตขึ้น 3 ประเภท คือ
    หมายประเภทที่หนึ่ง ทำด้วยกระดาษปอนด์สีขาวขนาดใหญ่ ความกว้าง 4 นิ้ว ความยาว 5 นิ้วครึ่ง สันนิษฐานว่าผลิตขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2396 ตามหลักฐานที่ปรากฏ มีสี่ราคา ได้แก่ สามตำลึง สี่ตำลึง หกตำลึง และสิบตำลึง ด้านหน้ามีกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองชั้นและบ่งราคาไว้ เช่น "หมายราคาสี่ตำลึง" มีความหมายว่า "ใช้สี่ตำลึงให้แก่ผู้เอาหมายนี้มาให้เก็บหมายนี้ไว้ทรัพย์จักไม่สูญเลย" ทั้งสองข้างมีตราอักษรจีน (แปลว่าพิทักษ์หรือคุ้มครองประทับอยู่เท่ากับจำนวนตำลึง และมีตราใบไม้ประทับอยู่บนตราอักษรจีนอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันการปลอมแปลง ตรงกลางประทับตราจักรและตรามหาพิชัยมงกุฎ สำหรับด้านหลังเป็นลายเครือเถาเต็มทั้งด้าน มีตราชาดสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นอักษรขอมประทับอยู่ แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "กรุงเทวมหานครอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุธฌิยาบรมราชธานี" (ประยุทธ สิทธิพันธ์ ม.ป.ป. : ไม่ปรากฏเลขหน้า)
    หมายประเภทที่สอง เป็นกระดาษปอนด์สีขาว ขนาดความกว้าง 2 นิ้ว ความยาว 3 นิ้วครึ่ง สันนิษฐานว่าออกใช้ในปี พ.ศ. 2396 มีราคาหนึ่งเฟื้อง หนึ่งสลึง สลึงเฟื้อง สองสลึง สองสลึงเฟื้อง สามสลึง สามสลึงเฟื้อง และหนึ่งบาท ด้านหน้ามีกรอบรูปวงกลมเล็ก ๆ เหนือกรอบมีวงกลมดุนเล็ก ๆ สองวง ประทับตราชาดเช่นเดียวกับหมายประเภทที่หนึ่ง และบ่งราคาไว้ เช่น หมายราคาสองสลึง ก็มีว่า "เงิน2 ใช้หมายนี้แทนเถิด เข้าพระคลังจักใช้เงินเท่านั้นให้แก่ผู้เอาหมายนี้มาส่งในเวลาแต่เที่ยงไปจนบ่ายสามโมงทุกวัน ณ โรงทหารพระบรมมหาราชวังฯ" ด้านหลังเป็นกรอบรูปดอกไม้และใบไม้ มีอักษรบอกราคาเป็นหนังสือไทย จีน ลาติน อังกฤษ กุจาตี มลายู เขมร พม่า รามัญ ลาว สันสกฤตและบาลี ประทับตราจักรและตรามหาพิชัยมงกุฎ
    หมายประเภทที่สาม เป็นกระดาษปอนด์สีขาว ความกว้าง 2 นิ้ว ความยาว 3 นิ้ว เท่าที่หลักฐานปรากฏว่ามีราคายี่สิบบาท และแปดสิบบาท ด้านหน้ามีกรอบลวดลายต่าง ๆ กัน ภายในกรอบมีข้อความว่า "หมายสำคัญนี้ ให้ใช้แทน 320 ซีก ฤา 640 เสี้ยว ฤา 1280 อัฐ ฤา 2560 โสฬส คือเป็นเงินยี่สิบบาท ฤา ห้าตำลึง ฤา 12 เหรียญนก ฤา 28 รูเปีย ได้ให้ไปเปลี่ยนที่พระคลังจะได้จงเชื่อเถิด" ประทับตราจักร และตรามหาพิชัยมงกุฎ ด้านหลังเป็นภาษาอังกฤษ ปรากฏข้อความดังนี้
    "Twenty Ticals" This is the Testimony for exchange of the following names 320 halves, or 640 quarters, or 1280 eights, or 2560 sixteenths of a fuang, or 20 Ticals, or $ 12, or 28 Ruppees, can be obtained in any one manner at Grand Treasury Palace, Bangkok"
    ใบ "พระราชทานเงินตรา" หรือ "เช็ค" เป็นกระดาษสีขาวพิมพ์หน้าเดียว ไม่พบหลักฐานว่า ออกใช้ในปีใด สันนิษฐานว่าคงเป็นเรื่องจ่ายเบี้ยหวัดให้แก่ข้าราชการในยามที่เงินตราโลหะขาดแคลน ซึ่งอาจเป็นระหว่าง พ.ศ. 2399-2403 ว่ากันว่ามีราคา สามตำลึง สี่ตำลึง ห้าตำลึง เจ็ดตำลึง สิบตำลึง สิบสองตำลึง สิบห้าตำลึง หนึ่งชั่ง หนึ่งชั่งห้าตำลึง และหนึ่งชั่งสิบตำลึง มีขนาดกว้าง 3 นิ้วครึ่ง ยาว 4 นิ้วครึ่ง
    ใบพระราชทานเงินตราที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ได้ถือเป็นแบบอย่างใบสั่งจ่าย ให้ได้ใช้กันต่อมา แต่เรียกว่า "พระบรมราชโองการ" มีขนาดใหญ่ประมาณสามเท่าของใบพระราชทานเงินตรา
    การใช้หมายหรือที่พระคลังมหาสมบัติ เรียกว่า ธนบัตร และทั้ง "เช็ค" หรือที่เรียกกันว่าใบ "พระราชทานเงินตรา" นั้นมีมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงทรงเป็น ผู้นำในการสร้างเครื่องแลกทำด้วยกระดาษโดยแท้จริง (ประยุทธ สิทธิพันธ์ ม.ป.ป. : 144)
    1. พดด้วงเงินที่ระลึกตราพระแสงจักร-พระมหามงกุฎ พ.ศ. 2402
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำพดด้วง ชนิดราคาหนึ่งชั่งตำลึง และกึ่งตำลึง ขึ้นเพื่อฉลองพระมหามณเฑียรพระที่นั่งอนันตสมาคมในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2402
    พดด้วงเงินที่ระลึกตราพระแสงจักร-พระมหามงกุฎ พ.ศ. 2402
    1 ตราพระแสงจักร
    2 ตราพระมหามงกุฎ
    2. พดด้วงทองคำเถาที่ระลึกตราพระแสงจักรพระมหามงกุฎ พ.ศ. 2394
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกสำหรับพระราชทานในโอกาสสำคัญ สร้างหลังจากเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว
    3. พดด้วงทองคำที่ระลึกตราพระเต้า
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญ ออกใช้ก่อน พ.ศ. 2399
    . เหรียญเงินเม็กซิโกเปรูประทับตราพระแสงจักรพระมหามงกุฎ พ.ศ. 2397-2411
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประทับตราพระแสงจักร-พระมหามงกุฎ บนเหรียญที่ชาวต่างประเทศนำมาชำระค่าสินค้า เพื่อแก้ไขปัญหาผลิตเงินพดด้วงขึ้นไม่ทันต่อความต้องการทางการค้า
    5. เหรียญทองคำ เงินตราพระแสงจักร-พระมหามงกุฎพระเต้า พ.ศ. 2399
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างทดลองผลิตขึ้นใช้ก่อนที่จะได้รับเครื่องจักรทำเหรียญมาจากอังกฤษ เป็นเหรียญแบบรุ่นแรกของไทย ที่ออกใช้หมุนเวียนในระยะหนึ่ง
    6. เหรียญเงินบรรณาการตราพระแสงจักร-พระมหามงกุฎ พ.ศ. 2401
    เหรียญกษาปณ์ชุดนี้ ผลิตจากเครื่องจักรขนาดเล็ก ที่สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งประเทศอังกฤษ ส่งมาเป็นเครื่องราชบรรณาการแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    7. เหรียญทองคำพระแสงจักร-พระมหามงกุฎ พ.ศ. 2406
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเหรียญทองคำขึ้นใช้ 3 ชนิดราคาได้แก่ เหรียญทองทศ เหรียญทองพิศและเหรียญทองพัดดึงส์ ในช่วงเวลาที่การค้ากับต่างประเทศเจริญขึ้น ประจวบกับเป็นเวลาที่มีการเปิดเหมืองทองใหม่ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และเหมืองทองในทวีปออสเตรเลีย จึงมีทองคำเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมาก
    8. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ทองคำ เงิน ตราพระมหามงกุฎกรุงสยาม
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผลิตขึ้นพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์และบรรดาข้าราชการ ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบของพระองค์ เรียกกันโดยทั่วไปว่าเหรียญแต้เม้ง
    ในกระบวนการด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม ในรัชกาลนี้ได้หันความนิยมไปสู่แบบตะวันตกแทนรูปแบบศิลปะของจีน พระมหาปราสาทราชมณเฑียรรับเอารูปลักษณะ "ฝรั่ง" มาใช้มากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหมู่พระอภิเนาวนิเวศน์ ขึ้นในที่สวนขวาใหม่ทั้งหมู่ นอกจากนั้นกระบวนการช่างศิลปะอย่างยุโรปได้แพร่หลายออกไปสู่วัดวาอาราม และวังเจ้านายในท้องที่ต่าง ๆ จนกล่าวได้ว่า รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นสมัยเริ่มแรกของศิลปะตะวันตกในยุครัตนโกสินทร์ (มหาวิทยาลัย ศิลปากร 2525 : 6) อย่างไรก็ดีการรับรูปแบบศิลปะต่างชาติของรัชกาลนี้ก็มิได้หมายความว่า ศิลปะ ตะวันตกจะสอดแทรกเข้าไปทุกหนทุกแห่งในสถาปัตยกรรมไทย คงมีในบางแห่งและเป็นบางส่วนเท่านั้น
    สรุปลักษณะสถาปัตยกรรมในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นข้อสังเกตได้ดังนี้
    1. สถาปัตยกรรมมีลักษณะเป็นแบบอาคารสมัยโกธิก หรือ เรเนซองซ์
    2. การจัดรูปผังพื้นอาคารคล้อยตาม สถาปัตยกรรมของศิลปะสมัยนั้น(เฉพาะอาคารที่เป็นที่พักอาศัยและอาคารราชการ)
    3. ใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม และใช้เสาแบบคลาสสิก
    4. อาคารที่เป็นวัดไทยนิยมใช้ศิลปะตะวันตกในส่วนที่เป็นกรอบซุ้ม ประตู หน้าต่าง ลายหน้าบัน และเสา ส่วนผัง พื้น วิธีการใช้อาคารและทรงหลังคาคงเป็นไปตามแบบไทยเช่นเดิม
    สถาปัตยกรรมในรัชกาล
    1. สถาปัตยกรรมในพระบรมมหาราชวัง
    1. พระที่นั่งไชยชุมพล สร้างอยู่บนกำแพงพระบรมมหาราชวังตรงหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หน้ากระทรวงการต่างประเทศ) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพลับพลา ป้อมขันธ์เขื่อนเพชร ริมประตูวิเศษไชยศรี เป็นที่เสด็จออกทอดพระเนตรกระบวนแห่พระยายืนชิงช้า ในการพระราชพิธีตรียัมปวาย
    2. พระอภิเนาวนิเวศน์ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่หมู่หนึ่ง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2395 ใช้เวลาสร้างทั้งหมด 5 ปี พระที่นั่งและสถานที่ต่าง ๆ ในพระอภิเนาวนิเวศน์ ได้รับพระราชทานชื่อไว้คล้องจองสัมผัสกัน ดังนี้ "ภูวดลทัศไนย สุทไธสวรรย์ อนันตสมาคม บรมพิมาน นงคราญสโมสร จันทรทิพโยภาศ ภาณุมาศจำรูญ มูลมณเฑียร เสถียรธรรมปริต ราชฤทธิ์รุ่งโรจน์ โภชนลินลาศ ประพาศพิพิธภัณฑ์"
    - พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นท้องพระโรงเสด็จออกฝ่ายหน้า
    - พระที่นั่งบรมพิมาน เป็นพระมหามณเฑียรที่พระบรรทมแห่งหนึ่ง และเป็นที่รับแขกเมืองเฝ้าในที่รโหฐาน และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามที่ได้มีพระดำรัสสั่งไว้ตลอดมาจนรื้อพระที่นั่งองค์นี้
    - พระที่นั่งนงคราญสโมสร เป็นท้องพระโรงฝ่ายใน
    - พระที่นั่งจันทรทิพโยภาส เป็นพระพิมานฝ่ายใต้
    - พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญเป็นพระวิมานที่บรรทมอีกแห่งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้
    - พระที่นั่งมูลมณเทียร เป็นพระที่นั่งเดิมรื้อมาสร้างใหม่ ต่อมารื้อไปสร้างไว้ที่วัดเขมาภิตาราม
    - หอเสถียรธรรมปริตร เป็นหอพระปริตร
    - หอราชฤทธิ์รุ่งโรจน์ เป็นหอพระแสงศาสตราครม
    - หอโภชนสินลาศ เป็นหอเลี้ยงแขกเมือง
    - หอพระที่นั่งประพาศพิพิธภัณฑ์ เป็นพิพิธภํณฑ์ในพระราชฐาน
    พระที่นั่งและอาคารทั้งปวงในหมู่พระ อภิเนาวนิเวศน์นั้น สร้างด้วยโครงไม้ประกอบอิฐ ถือปูนเป็นพื้น อยู่ได้สัก 30 ปี พบไม้โครงผุก็พ้นวิสัยที่จะซ่อมแซมให้คืนดีได้ จึงได้รื้อทั้งหมด
    3. พระที่นั่งภูวดลทัศไนย เป็นพระที่นั่งสูง 5 ชั้น ชั้นยอดมีนาฬิกา 4 ด้าน สร้างในสวนตรงหน้าพระพุทธนิเวศน์
    4. พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกขปราสาท เป็นพระที่นั่งโถงจัตุรมุขยอดปราสาท ทำด้วยไม้ทั้งองค์ตั้งอยู่บนแนวกำแพงแก้ว ลักษณะหลังคาเครื่องยอดของพระที่นั่งองค์นี้เป็นหลังคาชั้นลด 4 ชั้น มียอดและเครื่องลำยองประดับเช่นเดียวกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เว้นแต่ตรงส่วนย่อไม้สิบสองรับเครื่องยอดทำเป็นรูปหงส์รับไขรา ด้านละ 3 ตัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นพระที่นั่งโถงสำหรับเสด็จโดยพระราชยาน มีเกยรับ-ส่งเสด็จทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หน้าที่ใช้งานของพระที่นั่งองค์นี้สร้างขึ้นเพื่อเสด็จประทับในพระราชพิธีโสกันต์ พระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกเธอหรือ เจ้านาย ที่มีชันษาครบวาระที่โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีให้สมพระเกียรติตามราชประเพณี
    5. พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน เป็นพระที่นั่งองค์สำคัญอีกองค์ในหมู่พระมหามณเฑียร ใช้เป็นท้องพระโรงฝ่ายหน้าสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จออกบำเพ็ญพระราชกุศลในการพระราชพิธี และเสด็จออกมหาสมาคม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนฝาผนังจากลายทองรดน้ำเป็นอย่างอื่น
    6. พระที่นั่งราชฤดี เดิมเป็นพระที่นั่งเก๋ง สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ตั้งอยู่ด้านข้างขวาพระที่นั่งอมรินทร วินิจฉัย ต่อมาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้รื้อและสร้างขึ้นแทนที่พระราชวังสวนดุสิต ถึงรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ สร้างพระที่นั่งขึ้นในที่นี้ พระราชทานนามว่า พระที่นั่ง "จันทรทิพโยภาส" แล้วเปลี่ยนเป็นพระที่นั่งราชฤดี
    7. หอศาสตราคม ตั้งอยู่ข้างทิศอิสาน แห่งพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย สร้างเป็นที่พระสงฆ์ฝ่ายรามัญนิกายทำพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์
    8. หอแก้ว เป็นที่ไว้เทวรูป เหมือนอย่างศาลพระภูมิ และเป็นที่โหรมาทำการอยู่ที่โรงแสงเก่า ข้างพระที่นั่งภาณุมาศจำรูญทิศตะวันออกเฉียงใต้ สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
    9. พระที่นั่งมหิศรปราสาท ตั้งอยู่หลังพระพุทธมณเฑียร ที่แนวกั้นเขตระหว่างสวนศิวาลัย กับเขตพระราชฐานชั้นใน สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมชนกนาถ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมชนกนาถมาประดิษฐานไว้
    10. ตำหนักแพท่าราชวรดิฐ ที่บริเวณพื้นที่ว่าง ทางตะวันตกนอกกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านติดริมลำน้ำเจ้าพระยา เดิมเป็นพระตำหนักน้ำปักเสาลงในน้ำ ทอดกระดานเหมือนเรือนแพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้รื้อลง แล้วลงเขื่อน ถมที่เสมอระดับพื้นดินสร้างพระที่นั่งขึ้นหมู่หนึ่ง พระที่นั่งองค์กลางเป็นพลับพลาสูงพระราชทานนามว่า "พระที่นั่งชลังคพิมาน" ด้านตะวันออกของ พระที่นั่งองค์นี้สร้างพลับพลา "พระที่นั่งทิพยสถานเทพยสถิตย์" ทางด้านเหนือสร้างท้องพระโรงฝ่ายหน้า พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย" ทางด้านใต้สร้างเป็นที่ปีกฝ่ายใน "พระที่นั่งอนงค์ในสราญรมย์"
    ตรงหน้าพระที่นั่งชลังคพิมาน ก่อเขื่อนเป็นที่สรง ก่อกำแพงเป็นบริเวณทั้ง 3 ด้าน มีป้อมริมน้ำปลายแนวกำแพง 2 ป้อม ด้านเหนือพระราชทาน นามว่า "ป้อมพรหมอำนวยศิลป์" ด้านใต้พระ ราชทานนามว่า "อินทร์อำนวยศร"
    ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งส่วนใหญ่ชำรุด จึงโปรดให้รักษาไว้แต่พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย นอกนั้นให้รื้อปรับที่ทำสนามเพื่อขยายเขื่อนออกไปข้างหน้า เป็นท่าเสด็จลงเรือพระราชทานนามว่า "ท่าราชวรดิฐ"
    11. ประตูพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขประตูพระบรมมหาราชวังชั้นนอก โดยทำเป็นยอดประตูปรางค์ และเพิ่มบานประตูเป็น 2 ชั้น แต่เมื่อสิ้นรัชกาลนั้นยังแก้ไขไม่ครบทุกประตู
    ประตูพระราชวังชั้นนอก เมื่อแรกสร้างในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทำด้วยเครื่องไม้ ยอดทรงมณฑป ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างเป็นเครื่องก่ออิฐถือปูน ทำเป็นซุ้มฝรั่งตามแบบประตูชั้นนอก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แก้เป็นยอดปรางค์ ส่วนประตูท้ายวังทางทิศใต้ ด้านวัดพระเชตุพนฯ นั้นปรากฏว่าเปลี่ยนเป็นประตูคฤหแบบหอรบ
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.most.go.th/200year/king200year.htm

    2. พระอารามที่ทรงสร้างขึ้นใหม่
    1. วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร เดิมชื่อวัดบรมสุข ผู้สร้างวัดเสียชีวิต บุตรหลานจึงน้อมเกล้าฯ ถวายให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นทรงผนวชอยู่ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์และสถาปนาขึ้นใหม่ ถวายเป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การก่อสร้างวัดเสร็จ หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดบรมนิวาส" เมื่อทรงสถาปนาวัดนั้นทรงสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ ศาลาการเปรียญ ศาลาท่าน้ำ
    2. วัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างใน พ.ศ. 2396 เพื่อเฉลิมพระเกียรติและอุทิศพระราชกุศล แด่สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี เป็นพระอาราม ที่ทรงสร้างตามประเพณีครั้งอยุธยา พระวิหารเป็นอาคารทรงไทยฐานสูง หลังคามุงกระเบื้อง หน้าบันเป็นปูนปั้น ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันประดับลวดลายด้วยกระเบื้องเคลือบสีและสีทอง เป็นพระราชสัญลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระอัครมเหสีพระองค์แรก ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นปูนปั้นลงรักปิดทอง ประดับกระจกลายดอกพุดตาน มีรูปพระมหามงกุฎอยู่ตอนบนบานประตูหน้าต่าง พระอุโบสถมีลักษณะเช่นเดียวกับพระวิหารแต่ขนาดย่อมกว่าต่างกันที่เสาระเบียงเป็นเสาเหลี่ยม พระราชทานนามว่า "วัดโสมนัสวิหาร"
    3. วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร (วัดสระปทุม) สถานที่เดิมเป็นนาหลวงรวมอยู่ในทุ่งบางกะปิ ริมคลองแสนแสบ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดสระในที่นาหลวง 2 สระต่อถึงกัน สระในสำหรับเสด็จประพาสอยู่ด้านเหนือ สระนอกสำหรับมหาชนไปเล่นเรืออยู่ด้านใต้ ดินที่ขุดขึ้นถมเป็นเกาะ ขุดคลองไขน้ำจากคลองแสนแสบให้เป็นทางเรือเข้าบริเวณที่นั่งสระด้านเหนือ ตั้งพลับพลาที่ประทับมีพระที่นั่ง 2 ชั้น เป็นที่ประทับแรม มีพลับพลาที่เสด็จออก และ โรงละคร โปรดให้เรียกสระบัวที่ทรงสร้างรวมทั้งตำบลว่า "ปทุมวัน" โปรดให้สร้างพระอารามขึ้นที่ริมสระนอกด้านตะวันตก พระราชทานนามว่า "วัดปทุมวนาราม"
    4. วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2407 โดยทรงซื้อที่สวนกาแฟเดิมซึ่งเป็นที่ดินของหลวงด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ในวัดนี้มีสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นอย่างตะวันตกในเขตสังฆาวาส คือ ตำหนักสมเด็จพระสังฆราชและกุฏิสงฆ์ แล้วมีซุ้มหรือสิ่งที่ทำขึ้นสำหรับเป็นเครื่องประดับส่วนบนของประตู หน้าต่างเป็นลักษณะซุ้มทรงมงกุฎ ซึ่งแสดงความหมายตามพระนามาภิไธยขององค์ผู้สร้างมีการตกแต่งโคมระย้าภายในพระอุโบสถ และหอไตรเดิมมีลักษณะเป็นปราสาทยอดแบบจำลองพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระราชทานนามว่า "วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม"
    5. วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2410 พระราชทานนามว่า "วัดมกุฏกษัตริยาราม" แต่ในระหว่างรัชกาลคนทั้งหลายเห็นว่าพ้องกับพระบรมนามาภิไธย ไม่กล้าเรียก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า "วัดพระนามบัญญัติ" แล้วมีพระราชดำรัสสั่งไว้ว่าเมื่อเปลี่ยน รัชกาลใหม่ให้เปลี่ยนนามวัดเป็น "วัดมกุฏกษัตริยาราม" ตามเดิม
    6. วัดตรีทศเทพวรวิหาร ทรงสร้างร่วมกับพระราชโอรสทั้งสอง คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ พระราชทานนามว่า "วัดตรีทศเทพ" นามวัดที่พระราชทานแปลว่า "สร้างโดยเทวดา 3 องค์"
    7. วัดพระแก้วน้อย พระนครคีรีจังหวัดเพชรบุรี โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นวัดประจำพระราชวังพระนครคีรี เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง บริเวณพระอุโบสถของวัดจะประดับด้วยหินอ่อนโดยรอบ หลังคามุงด้วยกระเบื้องสี ใบระกาช่อฟ้าบราลีประดับด้วยกระจกฝีมือช่างหลวง หน้าบันเป็นปูนปั้นตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ตราประจำรัชกาล ด้านหน้าพระอุโบสถ มีพระเจดีย์หินอ่อนเนื้อสีเขียวทรงกลมตั้งอยู่ พระเจดีย์องค์นี้ได้มีการแกะสลักหินอ่อน เพื่อประกอบเป็นองค์เจดีย์ที่เกาะสีชัง เสร็จแล้วจึงถอดมาเป็นชิ้นเพื่อประกอบเป็นองค์เจดีย์ ณ ที่แห่งนี้
    . พระอารามที่ทรงปฏิสังขรณ์
    1. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระมณฑปเดิมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นั้น เมื่อมาถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดให้ถมที่ต่อชั้นประทักษิณ ฐานพระมณฑปออกไปทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก มีพนักศิลาล้อม สร้างซุ้มประตู ประดับกระเบื้อง ทำบันไดเพิ่มอีก 6 แห่ง ทางด้านตะวันออก สร้างปราสาทยอดปรางค์ขึ้นองค์หนึ่งประดับกระเบื้อง ทั้งผนังและองค์ปรางค์ พระราชทานนามว่า "พระพุทธปรางค์ปราสาท" ปราสาทองค์เดิมได้มีพระราชดำริให้เป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วมรกต ปรากฏว่าไม่อาจประกอบพระราชพิธี ต่าง ๆ ได้สะดวก จึงโปรดให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรี (ปัจจุบันปราสาทพระเทพบิดร) ทางด้านตะวันตกของมณฑป โปรดให้สร้างพระศรีรัตนเจดีย์ตามแบบพระมหาสถูปในวัดพระศรีสรรเพชญที่อยุธยา ทางด้านทิศเหนือเบื้องหลังปราสาทพระเทพบิดร โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างนครวัดจำลอง
    2. วัดวงศ์มูลวิหาร เดิมชื่อวัดใหม่ โปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์และพระราชทานนาม
    3. วัดชิโนรสารามวรวิหาร สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงถวายวัดเป็นพระอารามหลวง เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสสิ้นพระชนม์ ใน พ.ศ. 2396 อีก 4 ปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอารามและก่อสร้างตกแต่งพระเจดีย์ขนาดใหญ่ 2 องค์ และพระอุโบสถ แล้วโปรดให้ช่างปั้นหรือเขียนรูปนาคไว้ทั่วไป เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งพระนามเดิมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และโปรดให้ปั้นรูปพระมหามงกุฎลงรักปิดทองไว้เหนือเรือนแก้วหลังพระประธานในพระอุโบสถ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าพระองค์ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ แล้วพระราชทานนามว่า "วัดชิโนรสาราม"
    4. วัดกาญจนสิงหาสน์วรวิหาร เดิมชื่อวัดทองเป็นวัดโบราณ พ.ศ. 2397 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามวัดเสียใหม่ว่า "วัดกาญจนสิงหาสน์" พ.ศ. 2406 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระประธานและฐานชุกชี
    5. วัดบวรมงคลราชวรวิหาร เดิมชื่อวัดลิงขบเป็นวัดที่มีชื่อเสียงในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นวัดมอญมาจน พ.ศ. 2462 จึงกลายเป็นวัดธรรมยุต และมีพระสงฆ์ไทยมาจำพรรษา
    6. วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามวัดว่า "วัดเทวราชกุญชร" เพื่อเป็นเกียรติแก่ขุนนางสกุล กุญชร ณ อยุธยา เพราะสกุล กุญชร ณ อยุธยา เป็นผู้ทะนุ-บำรุงวัดนี้
    7. วัดนวลนรดิศวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดนวลนรดิศ" เพื่อเป็นที่ระลึกถึงท่านผู้หญิงนวลและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) มารดาและบุตรผู้สถาปนาวัดนี้
    8. วัดเบญจมบพิตร เดิมชื่อวัดแหลมหรือ วัดไทรทอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดเบญจบพิตร" หมายความว่าวัดของเจ้านาย 5 พระองค์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์, พระเจ้าบรม
    วงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์, พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล และพระองค์เจ้าหญิงวงศ์ ร่วมกันบูรณะปฏิสังขรณ์) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เปลี่ยนชื่อวัดจาก "วัดเบญจ-บพิตร" เป็น "วัดเบญจมบพิตร" อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 พร้อมทั้งเพิ่มสร้อยนามว่า "ดุสิตวนาราม" เพื่อให้คล้องกับพระราชวังสวนดุสิตที่ทรงสร้างใหม่
    9. วัดพิชัยญาติการามวรวิหาร เดิมชื่อวัดพระยาญาติการาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดพิชัยญาติการาม" เพื่อให้พ้องกับราชทินนามของผู้สร้าง คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) แล้วโปรดให้ทำฉัตรขาว 5 ชั้น ถวายเป็นเครื่องสักการะพระประธานในพระอุโบสถ
    10. วัดมหรรณพารามวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2393 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่การยังไม่สำเร็จ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินสมทบ 1,000 ชั่ง เพื่อสร้างพระเจดีย์ทรงกลมองค์ใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลางเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ภายในเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ เมื่อพ.ศ. 2403 ที่หน้าพระวิหาร ระหว่างศาลาการเปรียญกับโรงเรียนเทศบาล มีต้นโพธิลังกา ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปลูก 1 ต้น พระราชทานนามว่า "วัดมหรรณพาราม"
    11. วัดเวฬุราชิน เดิมชื่อวัดใหม่ท้องคุ้ง เป็นวัดที่เจ้าพระยาพลเทพ (เอี่ยม ชูโต) สร้างขึ้นแล้วน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เงินที่เจ้าพระยาพลเทพนำมาใช้ในการสร้างวัดเป็นเงินค่าภาษีไม้ไผ่สีสุก ที่ท่านเป็นเจ้าภาษีรับสัมปทานผูกขาดการเก็บภาษีไม้ ไผ่สีสุกเป็นรายปี อันเป็นเงินภาษีที่เร่งรัดเก็บได้จากภาษีติดค้างของราษฎรหลายปี วัดนี้ได้รับพระราชทานนามวัดว่า "วัดเวฬุราชิน" แปลความหมายได้ว่า วัดซึ่งเกิดจากหนี้ภาษีไม้ไผ่ของพระราชา
    12. วัดอนงคารามวรวิหาร เดิมชื่อวัดน้อยขำแถม ท่านผู้หญิงน้อย ภริยาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) สร้างถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชทานนามว่า วัดอนงคนิกายาราม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดอนงคาราม"
    13. วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร เดิมชื่อวัดเกาะแก้วลังการาม รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามวัดจากวัดเกาะแก้วลังการาม เป็น "วัดสัมพันธวงศาราม" เนื่องจากมีพระราชดำริว่าเป็นวัดพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมหลวงพิทักษมนตรีเป็นผู้สถาปนา และได้มีการเปลี่ยนนิกายของวัด จากเดิมเป็นฝ่ายมหานิกายเป็นพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต จนถึงปัจจุบัน
    14. วัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร เดิมชื่อวัดสามจีนหรือวัดบางลำพู พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระประธานในพระอุโบสถ แล้วพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดสังเวชวิศยาราม"
    15. วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อวัดชัยพฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนทรงผนวช ทรงรับพระบรมราชโองการจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ให้เป็นแม่กองดำเนินการสร้างวัดชัยพฤกษ์ โปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดเข้าในบัญชีพระอารามกฐินหลวง พระราชทานให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ มาทรงจุดเทียนพรรษาและถวายพระกฐินทุกปีตลอดรัชกาลของสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
    เป็นแม่ข่าย ดำเนินการซ่อมสร้างจนแล้วเสร็จ วัดชัยพฤกษ์จนสำเร็จลุล่วง พร้อมกับพระราชทานสร้อยนามวัดว่า "วัดชัยพฤกษมาลา" โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อที่สวนถวายเพิ่มเป็นที่วัดขุดคูรอบวัด สร้างพระอุโบสถและพระวิหารเดิมให้แล้วเสร็จ สร้างศาลาการเปรียญ ก่อพระเจดีย์ใหญ่พร้อมด้วยพระเจดีย์ทิศ 4 มุม หอสวดมนต์ หอระฆัง สะพานท่าน้ำ สะพานข้ามคลองและศาลาพระอุโบสถเก่า หน้าบันชั้นบนเป็นปูนปั้นรูปครุฑจับนาค ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่หน้าบันมุขลดเป็นปูนปั้นรูปพระมหามงกุฎ อันเป็นตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    16. วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดโบราณ ชื่อวัดเขมาหรือวัดเขนมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีผู้กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ถึงความทรุดโทรมของวัดเขมา พระองค์จึงมีพระราชเสาวนีย์ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปเฝ้าสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เพื่อกราบทูลขอพระราชทานวัดเขมาเป็นวัดกฐินในกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (วัดเขมาเป็นพระอารามที่ต้องนำพระกฐินหลวงในพระบวรราชวังไปทอด) และทำการปฏิสังขรณ์ เมื่อสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิญาณรับว่าจะปฏิสังขรณ์วัดเขมาฉลองคุณ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อที่สวนถวายเพิ่มเติมเป็นที่วัด ขุดคูรอบวัด สร้างพระอุโบสถ สร้างรูปพระอสีติมหาสาวก 80 องค์ ล้อมพระประธาน สร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่ในด้านหลังพระอุโบสถ มีพระเจดีย์ทิศ 4 พระองค์ เป็นบริวารแล้วให้เลื่อนพระเจดีย์เดิมของสมเด็จพระศรีสุริเยน- ทรา บรมราชินี ทรงสร้างไว้ไปตั้งอยู่ใน 4 มุม พระมหาเจดีย์ สร้างพระวิหารน้อย 2 หลัง ที่มุมกำแพงหน้าพระอุโบสถ สร้างการเปรียญ กุฏิ หอพระไตรปิฎก หอสวดมนต์ หอระฆัง สะพาน ศาลา โรงไฟและพระราชทานนาม "วัดเขมาภิรตาราม"
    17. วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นองค์หนึ่งซึ่งประดิษฐานอยู่ในวัดนี้
    18. วัดรัชฎาธิฐานราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าเดิม ชื่อวัดเงิน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดรัชฎาธิฐาน"
    19. วัดขุนยวน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมเป็นวัดร้าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นไปขณะที่ทรงผนวชอยู่ โปรดเกล้าฯ ให้ปลูกตำหนักและทรงปฏิสังขรณ์ให้กลับเป็นวัดมีพระสงฆ์ขึ้นอย่างแต่ก่อน
    20. วัดเบี้ย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราณอยู่ในวังจันทรเกษม โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานเป็นวัดของเจ้าจอมมารดาเที่ยง แต่ยังไม่แล้วเสร็จ จึงมิได้นิมนต์พระสงฆ์มาประจำวัด
    21. วัดชุมพลนิกายารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งอารามนับเป็นอีกวัดหนึ่งซึ่งทรงสร้างวัดเป็นผาติกรรมไถ่ พระนารายณ์ราชนิเวศน์
    22. วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนคร- ศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัด และลงรักปิดทองใหม่ทั้งองค์พระพุทธรูปพระเจ้าพนัญเชิง
    23. วัดขุนแสน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระสถูป เจดีย์ พระวิหารหลวง
    24. วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่สำหรับพระอารามพระวิหารหลวง หน้าพระเจดีย์ประดิษฐานรูปจำลองพระแก้วมรกต โรงครัว กำแพงแก้ว ล้อมรอบบริเวณพระอุโบสถและพระวิหาร
    25. วัดเขาแก้ววรวิหาร จังหวัดสระบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) เป็นแม่กองคุมการปฏิสังขรณ์ขยายพระอุโบสถก่อกำแพงรอบพระอุโบสถ ตลอดจนสร้างกุฏิและบูรณะองค์พระเจดีย์ แล้วพระราชทานนามว่า "วัดคีรีรัตนาราม"
    26. วัดพระป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ เสริมสร้างพระวิหารและเสริมหลังคา 2 ชั้น ตลอดจนถาวรวัตถุต่าง ๆ ทั้งวัด
    27. วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร เป็นวัดโบราณเดิมชื่อวัดเสื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะทรงสร้างวัดเป็นผาติกรรมไถ่พระราชวังลพบุรี จึงโปรดให้สร้างวัดขึ้นใหม่ทั้งพระอารามให้เป็นวัดพระสงฆ์ธรรมยุติกาวัดแรกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพระราชทานนาม "วัดเสนาสนาราม"
    28. วัดมณีชลขันธ์ จังหวัดลพบุรี
    29. วัดกวิศรารามราชวรวิหาร (กระวิศราราม) จังหวัดลพบุรี เดิมชื่อวัดขวิด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะใหม่ทั้งพระอารามทรงสร้างวัดเป็นผาติกรรมไถ่พระนารายณ์ราชนิเวศน์และพระราชทานนามว่า "วัดกรวิศยาราม" (ภายหลังชื่อวัดเปลี่ยนจากวัดกรวิศยาราม เป็นวัดกวิศราราม แปลว่า วัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง) แล้วนิมนต์พระสงฆ์รามัญนิกายด้วยมีพระราชประสงค์ให้สวดพระปริตรสำหรับพระราชวัง
    30. วัดธรรมามูลวรวิหาร จังหวัดชัยนาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ และทรงประทานพระพุทธ-รูปโบราณเป็นพระประธาน
    31. วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง
    32. วัดป่าโมกวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง
    33. วัดเขาบวชนาค จังหวัดนครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ทั้งพระอุโบสถและพระวิหาร
    34. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัด พิษณุโลก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวิหารขึ้นใหม่ทั้ง 2 หลัง แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ปั้นจำลองพระพุทธชินสีห์และพระศาสดาไว้ ณ พระวิหาร
    35. วัดบางพระวรวิหาร จังหวัดชลบุรี เป็นวัดโบราณ พระอุโบสถเครื่องบนผุหมด เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ทำเครื่องบนใหม่ และสร้างพระเจดีย์หลังพระอุโบสถ
    36. วัดเกาะสีชัง หรือวัดจุฑาทิศธรรมสภาราม วรวิหาร เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
    37. วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างองค์พระปฐมเจดีย์ใหญ่หุ้มองค์เดิม สร้างพระวิหาร 4 ทิศ พระระเบียง พระเจดีย์แบบองค์พระปฐมเจดีย์เดิม พระเจดีย์อย่างเมืองนครศรีธรรมราช โรงธรรม เก๋งจีน หอระฆัง
    38. วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ก่อเสริมปรางค์ขึ้นไปอีกโดยทำเป็นยอดตัดตาย (ปัจจุบันเปลี่ยนรูปทรงเป็นยอดเรียว)
    39. วัดพุทธไสยาสน์ จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารพระพุทธไสยาสน์
    40. วัดมหาสมณารามราชวรวิหาร จังหวัดเพชร-บุรี เป็นวัดโบราณ โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดมหาสมณาราม"
    41. วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร สร้างอยู่บนเชิงเขาสัตตนารถ (ปัจจุบันเรียกว่า เขาวัง) ทางทิศตะวันออก จังหวัดราชบุรี
    42. วัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร จังหวัดสมุทรสงคราม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถทั้งหลัง และสร้างศาลาโรงธรรม
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.most.go.th/200year/king200year.htm

    4. พุทธเจดีย์
    1. พระเจดีย์ช่องแสมสาร จังหวัดระยอง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออก พ.ศ. 2400 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ไว้บนไหล่เขาแหลมเทียนช่องแสมสาร สำหรับเป็นที่หมายปากช่องให้เรือแล่นได้โดยสะดวกและปลอดภัย
    2. พระเจดีย์วัดโยธานิมิตรและเขาสระบาป จังหวัดจันทบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองจันทบุรี โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์สูงที่วัดโยธานิมิตรและเขาสระบาป
    3. พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อพ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมกุฎพันธเจดีย์ สร้างเครื่องมณฑปใหญ่และสร้างพระมณฑปน้อย เปลี่ยนแผ่นเงินปูพื้นพระมณฑป สร้างพระวิหารหลวงบนฐานเดิม (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สระบุรี) สร้างเทวรูปศิลาที่เขาตก ต่อมา พ.ศ. 2403 โปรดเกล้าฯ ให้ยกยอดพระมณฑปและบรรจุพระบรมธาตุที่มกุฎพันธเจดีย์
    4. ถ้ำเขาหลวง จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างบันไดหินลงไปในถ้ำที่มีพระพุทธรูปโบราณสถิตอยู่ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปเพื่ออุทิศถวายพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน ร่วมกับเจ้านายฝ่ายในและพระบรมวงศานุวงศ์
    5. พระธาตุจอมเพชร จังหวัดเพชรบุรี เป็นเจดีย์เก่าทรงลังกา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะขึ้นใหม่ และนำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้พร้อมกับพระราชทานนามว่า พระธาตุจอมเพชร
    6. พระพุทธเสลเจดีย์ จังหวัดเพชรบุรี ที่ยอดเขามหาสวรรค์ยอดใต้ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ศิลาทึบ ทำศิลาเป็นซีกๆ ไปจากเกาะสีชังไปประกอบพระเจดีย์ และพระราชทานนามว่า พระพุทธเสลเจดีย์
    7. พระเจดีย์บนยอดเขาตังกวน จังหวัดสงขลา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสงขลา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์บนยอดเขาเพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนิน
    8. พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อ พ.ศ. 2403 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์โดยถ่ายแบบพระเจดีย์กลมที่กรุงเก่ามาสวมพระเจดีย์ไม้ สร้างกำแพงและศาลาราย 4 ทิศ สร้างพระวิหารหลวงด้านใต้ พระเจดีย์ 1 หลัง สร้างหอระฆัง ข้างหน้าพระวิหารหลวง สร้างพระวิหารน้อยข้างเหนือพระเจดีย์ 2 หลัง
    9. พระธาตุพระฝาง จังหวัดอุตรดิตถ์ พระมหาธาตุเมืองสวางคบุรีพังลงมา เมื่อพ.ศ. 2399 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างใหม่ให้บริบูรณ์เหมือนเดิม
    5. ป้อม
    1. ป้อมรอบพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมที่กำแพงพระบรมมหาราชวังเพิ่มขึ้นข้างตะวันออก 3 ป้อม คือ ป้อมสัญจรใจวิง ตรงถนนบำรุงเมือง ป้อมขยันยิงยุทธอยู่ริมพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ด้านเหนือ ป้อมฤทธิรุทร์โรมรันอยู่ริมพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ด้านใต้
    2. ป้อมรอบเขตพระนครชั้นนอก หลังจากโปรดเกล้าฯ ให้ขยายเขตพระนครออกไปและให้ขุดคลอง คูพระนครออกไปอีกชั้น
    หนึ่ง คือ ปากคลองทิศใต้ออกไปริมวัดแก้วฟ้า ปากคลองทิศเหนือ ออกไปริมวัดเทวราชกุญชร (พระราชทานนามว่า คลองผดุงกรุงเกษม) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมขึ้นใหม่ ตั้งเรียงรายอยู่ชั้นนอก รอบคลองผดุงกรุงเกษม และฝั่งตะวันตก ได้แก่
    ป้อมป้องปัจจามิตร อยู่ฝั่งตะวันตกริมปากคลองสาน ตรงข้ามกับปากคลองผดุงกรุงเกษมด้านใต้
    ป้อมปิดปัจจนึก อยู่ฝั่งตะวันออกริมปากคลองผดุงกรุงเกษมด้านใต้
    ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ อยู่ใกล้กับป้อมป้องปิดปัจจนึก เป็นป้อมสำหรับยิงคำนับแขกเมือง (ภายหลังรื้อแล้ว)
    ป้อมผลาญไพรีราบ ริมวัดพลับพลาไชย หรือบริเวณใต้วัดเทพศิรินทราวาส
    ป้อมปราบศัตรูฟ่าย อยู่ใกล้คลองนางเลิ้ง ตรงข้ามหมู่บ้านญวน
    ป้อมทำลายปรปักษ์ อยู่เหนือวัดโสมนัสวิหาร
    ป้อมหักกำลังดัสกร อยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษมข้างเหนือ ถนนราชดำเนินนอก
    ป้อมมหานครรักษา อยู่บริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษมด้านเหนือ ใกล้วัดนรนาถสุนทริการาม รื้อลงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ป้อมพรหมอำนวยศิลป์ รื้อลงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ป้อมอินทรอำนวยศร รื้อลงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ป้อมวิไชยประสิทธิ์ อยู่ฝั่งตะวันตกปากคลองบางกอกใหญ่ (ปัจจุบันยังคงสภาพดีอยู่ ส่วนป้อมอื่นรื้อไป
    หมดสิ้นแล้ว)
    3. ป้อมรอบพระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี
    ป้อมทศรถป้องปก
    ป้อมวิรุฬหกบริรักษ์
    ป้อมวิรุฬปักษ์ป้องกัน
    ป้อมเวสสุวรรณรักษา
    ป้อมวัชรินทราภิบาล
    6. วัง (พระราชวังสำหรับเป็นที่ประทับและเสด็จประพาส)
    1. พระราชวังสราญรมย์ สร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุที่จะสร้างพระราชวังแห่งนี้ เนื่องจากมีพระราชดำริว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจริญพระชันษาได้ทรงอุปสมบทแล้ว จะทรงมอบเวนราชสมบัติ พระราชทาน ส่วนพระองค์จะเสด็จออกไปประทับอยู่ที่พระราชวังสราญรมย์ในฐานะพระเจ้าหลวง เพื่อทรงช่วยแนะนำราชการแผ่นดินไปตลอดพระชนมายุ แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อนที่จะเสด็จไปประทับ ปัจจุบันเป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศและสวนสราญรมย์
    2. พระตำหนักสวนกุหลาบ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ยุบที่คลังศุภรัตเดิมสร้างเป็นพระตำหนักพระราชทาน ให้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อลาผนวชสามเณรแล้ว ภายหลังทรงใช้เป็นโรงเรียนสำหรับเจ้านายที่ยังทรงพระเยาว์ที่ประทับในพระบรมมหาราชวัง พระตำหนักสวนกุหลาบนี้เป็นที่มาของชื่อโรงเรียนสวนกุหลาบ ภายหลัง
    3. พระราชวังนันทอุทยาน พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชปรารภว่า หากพระองค์เสด็จสวรรคต และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นรับราชสมบัติสืบไป พระราชโอรสธิดา และเจ้าจอมมารดาในพระบรมมหาราชวังจะเป็นที่กีดขวางของแผ่นดินใหม่ จึงทรงซื้อที่ดินในคลองมอญสร้างวังนันทอุทยานเตรียมไว้เป็นที่ประทับของพระราชโอรสธิดา เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าหัวเสด็จสวรรคตก่อน จึงโปรดให้รื้อตำหนักที่สร้างเตรียมไว้ ปลูกพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ ที่ออกครองวัง ส่วนพระตำหนักที่ประทับและที่ดินทั้งตำบล ได้ทรงยกพระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ปัจจุบันเป็นที่ทำการของทหารเรือ
    4. พระราชวังปทุมวัน ได้มีพระราชดำริจะสร้างวังที่ประทับแปรพระราชฐานนอกเขตพระนคร ทรงเห็นว่าท้องนาหลวงทุ่งบางกะปิริมคลองแสนแสบฝั่งใต้มีทำเลที่เหมาะสม จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังและวัดขึ้น อาคารภายในพระราชวังประกอบด้วยพระที่นั่งประทับแรม 1 องค์ พลับพลา โรงละคร และตำหนักสำหรับเจ้าจอม พระราชทานพระนามว่า "วังสวนสระปทุมวัน" ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดสำหรับพระสงฆ์นิกายธรรมยุติขึ้นติดกับพระราชวัง พระราชทานนามว่า "วัดปทุมวนาราม" ภายหลังพระราชทานเป็นที่ประทับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์ อินทราชัย บริเวณวังบางส่วน คือโรงเรียนการช่างอินทราชัย ศูนย์การค้าราชประสงค์ และที่ทำการของกรมตำรวจ
    5. พระราชวังบางปะอิน เป็นพระราชวังที่สร้าง มาแต่สมัยพระเจ้าปราสาททอง ได้ทิ้งร้างมาจนถึง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงกลับเป็นที่เสด็จประพาสอีก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระ ที่นั่งขึ้นอีกองค์หนึ่ง คือ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพอาสน์ (ตรงที่สร้างพระที่นั่งวโรภาสพิมานในปัจจุบัน) มีตำหนักฝ่ายใน 1 หลัง และพลับพลาสำหรับเสด็จประพาสไร่แตง
    6. พระราชวังเมืองสมุทรปราการ สร้างที่ริมแม่น้ำฝั่งตะวันออก(ตรงสถานีรถไฟในปัจจุบัน) ถึง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้เป็นที่ราชการเป็นสถานีโทรเลข ปัจจุบันเป็นที่ทำการประมงน้ำลึก ส่วนสถานีรถไฟเมื่อเลิกรถไฟแล้วได้ใช้เป็นตลาดเทศบาล
    7. พระราชวังจันทรเกษม สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้าง แต่ไฟไหม้เสียในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 จึงเป็นวังร้าง ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นที่ประทับเวลาเสด็จประพาสกรุงเก่าภายหลังพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้เป็นที่ว่าการมณฑลอยุธยาปัจจุบันใช้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    8. พระราชวังท้ายพิกุลที่เขาพระพุทธบาท เป็นพระราชวังที่พระเจ้าทรงธรรมทรงสร้างขึ้นในวัดพระพุทธบาท ของเดิมยังเหลืออยู่แต่กำแพงวัด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักและเรือนราชบริพารขึ้นในพระราชวังนั้น เป็นเครื่องขัดแตะถือปูนบ้างเครื่องไม้บ้าง บัดนี้ผุพังไปหมดแล้ว
    9. พระนารายณ์ราชนิเวศน์ มีมาแต่ครั้งเมืองลพบุรีเป็นราชธานี แต่ชำรุดปรักหักพังเสียโดยมาก รัชกาลที่ 4 ทรงให้ซ่อมแซมส่วนที่ยังใช้ได้ เช่น ประตูแลกำแพงวัง ส่วนพระราชมณเฑียรของเก่า ทรงสร้างแต่พระที่นั่งจันทรพิศาล 1 องค์ ทรงสร้างพระที่นั่งเป็น ที่ประทับ ส่วนพระตำหนักข้างในเป็นของใหม่ทั้งหมด แต่ของเดิมก็ยังรักษาไว้มิได้รื้อทำลาย เป็นที่ประพาสตลอดรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ต่อเมื่อสร้างทางรถไฟแล้ว รัชกาลที่ 5 จึงพระราชทานให้เป็นที่ทำการราชการ ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดลพบุรี
    10. พระนครปฐม ที่จังหวัดนครไชยศรี (นครปฐม) พระราชวังแห่งนี้ทรงสร้างเนื่องในการปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ ที่ริมบริเวณพระพุทธบาท พระราชทานนามว่า "พระนครปฐม" ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อสร้างทางรถไฟแล้ว ได้พระราชทานพระราชวังนครปฐมให้เป็นที่ทำการสำหรับราชการมณฑลเทศาภิบาล แต่ของเดิมชำรุดปรักหักพังเสียมากจึงคงรักษาไว้แต่ตัวพระที่นั่งที่ประทับหลังเดียว ปัจจุบันเป็นศาลาเทศบาลเมืองนครปฐม แต่ตัวพระตำหนักนั้นได้รื้อเสียแล้ว
    11.พระนครคีรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้จัดสร้างพระราชวัง ณ บนภูสามยอดที่มีชื่อว่า
    "เขาสมน" เพื่อใช้เป็นสถานที่ว่าราชการแถบหัวเมือง รวมทั้งใช้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในช่วงฤดูร้อน โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหมู่พระมหามณเฑียรสถานปราสาท ป้อมปราการและวัดประจำพระราชวัง ตามแบบแผนเดียวกับพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานนามใหม่ว่า เขามหาสวรรค์ การก่อสร้างพระนครคีรีหรือเขามหาสวรรค์ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ยอดเขาด้านทิศตะวันออก เ ป็นที่ตั้งของวัดพระแก้วน้อย เขาออกกลางสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ พระราชทานนามว่า พระธาตุจอมเพชร เขาทางทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งของพระมหาปราสาท พระที่นั่งต่าง ๆ ในพระนครคีรีมีดังนี้
    พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ เป็นท้องพระโรงออกขุนนางและว่าราชการต่าง ๆ
    พระที่นั่งปราโมทย์มไหศวรรย์ เป็นพระตำหนักที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่หลังพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์
    พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท เป็นปราสาทองค์เล็กตั้งอยู่หลังพระที่นั่งราชธรรมสภา ปัจจุบันประดิษฐานพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระที่นั่งราชธรรมสภา พระที่นั่งองค์ขวางยาว ตั้งอยู่ทิศใต้แห่งพระที่นั่งปราโมทย์มไหศวรรย์
    ตำหนักสันฐาคารสถาน ตั้งอยู่ที่เชิงยอดเขาหลังพระที่นั่ง
    หอพิมานเพชรมเหศวร ตั้งอยู่หน้าสันถาคาร สถาน เป็นที่สำหรับประทับทอดพระเนตรละคร
    หอจตุรเวทประดิษฐพจน์ ตั้งอยู่เชิงเขาตรงหน้าพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ เป็นหอพระปริต
    หอชัชวาลย์เวียงชัย เป็นหอรูปโดมทรงสูงคล้ายกระโจมไฟ หลังคามุงด้วยกระจก กระจกทรงโค้ง ภายในห้อยโคมไฟ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อเป็นที่ประทับสำหรับทอดพระเนตรดวงดาวสำหรับศึกษาตำราโหราศาสตร์ และดาราศาสตร์ที่พระองค์ทรงเชี่ยวชาญอย่างยิ่ง นับได้ว่าเป็นหอดูดาวที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
    ประตูต่าง ๆ ในพระนครคีรี คือ ประตูนารีประเวศ, วิเศษราชกิจ, ราชฤทธิแรงปราบ, อานุภาพเจริญ, ดำเนินทางสวรรค์, จันทร์แจ่มจำรูญ, สูรย์แจ่มจำรัส
    ป้อมต่าง ๆ คือ ป้อมทศรถป้องปก, วิรุฬหกบริรักษ์, วิรุฬปักษ์ป้องกัน, เวสสุวรรณรักษา และ วัชรินทราภิบาล
    ปัจจุบันสิ่งปลูกสร้างที่เป็นบริวารในพระนครคีรีได้ปรักหักพังไปมากแล้ว ยังคงเหลือแต่พระตำหนักบนยอดเขาเท่านั้น
    7. สถาปัตยกรรมอื่น ๆ
    1. ท้องสนามไชย ด้านตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปักเสานางเรียงทางเหนือสนามแถวหนึ่ง ทางใต้แถวหนึ่งในบริเวณนั้นให้เรียกว่า "ท้องสนามไชย" กำหนดให้พระที่นั่งสุทไธสวรรย์เป็นแนวกึ่งกลาง สร้างพระแท่นเบญจาเป็นที่ข้าราชการเข้าเฝ้าด้านหน้าพระที่นั่ง มีเกยช้างอยู่ข้างเหนือ และเกยพระราชยานอยู่ด้านใต้ ตรงหน้าพระที่นั่งข้ามฟากสนาม โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึก 2 ชั้น เป็นที่สำหรับนายทหารอยู่แถวหนึ่ง ต่อไปทางเหนือ สร้างโรงทหารแถวหนึ่ง เหนือสนามไชยไปถึงตัวถนนบำรุงเมืองซึ่งสร้างใหม่ โปรดเกล้าฯให้สร้างโรงม้าแซงสองข้าง โรงโขนอยู่ตรงกลางหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์
    2. สกุณวัน ข้างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทางทิศตะวันตก เดิมเป็นอ่างแก้วสำหรับปลูกบัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ถมสระสร้างกรงนกขนาดใหญ่ ภายในก่อภูเขาและปลูกต้นไม้สำหรับเลี้ยงนก ทรงโปรดเรียกสถานที่นี้ว่า "สกุณวัน" รอบด้านทั้งสองสร้างศาลาเก๋งจีนด้านละหลัง เก๋งที่ประทับชื่อ "พระที่นั่งราชานุราชอาสน์" เก๋งฝ่ายในชื่อ เก๋งวรนารีเสพย์ เก๋งไว้เทวรูปและชำระความชื่อ เก๋งวรเทพยสถาน เก๋งสำหรับขุนนางชื่อ เก๋งสำราญมุขมาตยา ข้างสกุณวันมีเสาธง 2 เสา เสาหนึ่งสำหรับชักธงตราแผ่นดินขณะเสด็จประทับอยู่ในพระนคร ถ้าเสด็จออกนอกพระนครก็ชักธงไอยราพตแทน เสาธงอีกเสาหนึ่งมีไว้สำหรับชักธงตราประจำรัชกาลก่อน ๆ ในโอกาสที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น ๆ เสาธงนี้เวลาค่ำคืนใช้เป็นเสาชักโคมประจำทุกคืน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อสกุณวัน เพื่อสร้างลานพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
    3. หอนาฬิกา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอนาฬิกาขึ้นที่ทิมดาบเดิม โรงนาฬิกาหลังหนึ่งสูง 10 วา มีนาฬิกาทั้ง 4 ด้าน หอนาฬิกานี้อยู่ตรงที่เดียวกับมุขเด็จพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ได้รื้อลงเมื่อจะสร้างทิมดาบใหม่ในรัชกาลต่อมา
    4. โรงกษาปณ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเครื่องจักรสำหรับผลิตเงินเหรียญขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติ ตรงมุมถนนออกประตูสุวรรณบริบาล ข้างตะวันออก พระราชทานนามว่า "โรงกระสาปน์สิทธิการ" เหตุที่สร้างโรงกษาปณ์ได้ความว่า ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศ การค้าขายกับต่างประเทศเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การแลกเปลี่ยนเงินตรามีปัญหา พระคลังมหาสมบัติผลิตเงินพดด้วงด้วยวิธีอย่างเก่าไม่ทัน เมื่อราชทูตไปเมืองอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2400 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปซื้อเครื่องจักรมาสร้างโรงกษาปณ์ พ.ศ. 2403 ผลิตเงินเหรียญบาทและเงินสลึงเฟื้องจำหน่ายแทนเงินพดด้วงขึ้น พ.ศ. 2405 ผลิตเงินทองแดงซีกแลเสี้ยวแลอัฐตะกั่วใช้แทนเบี้ยเป็นต้นมา ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงกษาปณ์เล็กเกินไป โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์ใหม่ โรงกษาปณ์เก่าจึงใช้เป็นโรงหมอและคลังทหารจนถึง พ.ศ. 2440 เกิดไฟไหม้โรงกษาปณ์เก่าหมดทั้งหลัง
    5. ที่อยู่อาศัย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีการสร้างที่พักอาศัยประเภทตึกแถว เรือนแถว หรือเรือนพักอาศัยกึ่งร้านค้า (Shop House) คาดว่าได้รับอิทธิพลจากจีน ปีนัง และสิงคโปร์ ตึกแถวรุ่นแรก ๆ อยู่บริเวณถนนสนามไชย และท่าเตียน สำหรับให้ข้าราชการชาวต่างประเทศพักอาศัย ต่อมาได้สร้างเพิ่มขึ้นอีกในถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร เพื่อคนทั่วไปเช่าประกอบการค้าและพักอาศัย
    พระราโชบาย ในรัชกาลที่ 4 เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเขมร
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ จะให้รื้อปราสาทเขมร ขนาดเล็กมาก่อสร้างเขามหาสวรรค์ และวัดปทุมวันปราสาท จึงโปรดให้พระสุวรรณพิศาลและขุนชาติวิชา ไปเมืองหลวงพระนครธม พระนครวัต พระสุวรรณพิศาลและขุนชาติวิชา กลับมากราบทูลให้ทรงทราบว่า มีแต่ปราสาทใหญ่ ๆ จะรื้อเอาเข้ามาเห็นจะไม่ได้ มีเฉพาะปราสาทผไทตาพรหม ที่เมืองนครเสียมราฐ สองปราสาท สูง 6 วา พอจะรื้อถอนได้ พระองค์จึงโปรดเกล้า ฯ ให้มีตราออกไปเกณฑ์คนเมืองบัตบอง เมืองนครเสียมราฐ เมืองพนมศก ไปรื้อปราสาท แต่พระราชดำริไม่สามารถลุล่วงตามพระราชประสงค์ ด้วยเกิดเหตุชาวเขมรเข้าต่อต้าน ฆ่าพระสุวรรณพิศาลและขุนนาง พร้อมทั้งเสนาบดี เข้าชื่อกันทำเรื่องราวถวายว่า "ปราสาทศิลาที่เมืองเขมรนั้น กษัตริย์แต่โบราณให้ทำเพื่อจะให้เป็นเกียรติยศติดแผ่นดินอยู่ ของอันนี้ก็ช้านานมาจนไม่ทราบว่าทำมาได้กี่ร้อยกี่พันปี ถ้าจะไปรื้อลง คนทุกวันนี้กำลังที่จะยกรื้อก็ไม่ไหว ถ้ารื้อลงแล้วเอาเข้ามาปรับปรุงทำขึ้นไม่ได้ ก็จะเสียพระเกียรติยศไปอีก ขอพระราชทานให้ทรงพระราชดำริก่อน" เมื่อได้ทรงทราบเรื่องราว รับสั่งให้งดการนั้น แต่ผู้ร้ายฆ่าฟันให้สืบสวนเอาตัวให้ได้ ครั้นต่อมาโปรดเกล้า ฯ ให้พระสามภพพ่ายออกไปถ่ายแบบที่พระนครวัด เพื่อทำจำลองที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อจะให้คนทั้งหลายเห็นว่าเป็นของอัศจรรย์ทำด้วยศิลา ปราสาทนครวัดที่ทรงพระกรุณาให้ถ่ายแบบเข้ามาสร้างที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น ทุกวันนี้ทั่วโลกรู้จักและได้ให้ความสำคัญกล่าวขานกันว่า เป็นสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งในเจ็ดของโลก จึงเห็นได้ว่าพระอัจฉริยภาพแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้แสดงให้เห็นประจักษ์ว่า พระองค์ท่านได้ตระหนักถึงคุณค่าก่อนที่ทั่วโลกจะได้ให้ความสนใจดังเช่น ปัจจุบันนี้ ( สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ มรว. 2535 90-94 )
    "ใบพระราชทานเงินตรา"

    <!-- InstanceEndEditable -->
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.most.go.th/200year/history_king4.htm


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=634></TD><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><!--DWLayoutTable--><TBODY><TR><TD vAlign=top width=580 height=634><!-- InstanceBeginEditable name="EditRegion2" -->พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระนามเดิม "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์พงศ์อิศวร กษัตริย์ขัตติยราชกุมาร" พระนามเต็ม “สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ วิสุทธสมมติเทพยพงศ์วงษาดิศวรกระษัตริย์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกายบรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่ 1 เป็นพระราชโอรส องค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 และเป็นพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช 1166

    ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามภายในพระบรมมหาราชวัง โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระฉายาว่า "วชิรญาณมหาเถระ" แปลเป็นภาษาไทยว่า "ผู้มีญาณแข็งแกร่งประดุจดังเพชร" ในปี พ.ศ. 2367 ตรงกับปีวอก ฉศก จุลศักราช 1186 ทรงเจริญในสมณเพศอยู่นานถึง 26 ปี ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.2394 พระบรมวงศานุวงศ์และ ข้าราชการผู้ใหญ่กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวลาสิกขาบทขึ้นครองราชสมบัติมีพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เมื่อพระชนมายุได้ 47 พรรษา
    ทรงเสวยราชสมบัติ เมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน ยังเป็นโทศก พุทธศักราช 2394 มีพระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น 82 พระองค์

    เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2411 ตรงกับเดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ จุลศักราช 1230 ขณะพระชนมายุ 64 พรรษา สิริรวมเวลาเสวยราช 17 ปี 5 เดือน 29 วัน

    อ้างอิง :

    <DD>• http://www.banfun.com/thai/thai-king04.html <DD>• http://www.kingmongkut.com
    </DD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.banfun.com/thai/thai-king04.html

    วันนี้ตรงกับ วันอังคารที่ ๑๘ มีนาคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๕๑



    รัชกาลที่ ๔ แห่งราชจักรีวงศ์
    [​IMG]
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="20%">พระนาม</TD><TD vAlign=top width="80%">พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="20%">พระนามเต็ม</TD><TD vAlign=top width="80%">สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ วิสุทธสมมติเทพยพงศ์วงษาดิศวรกระษัตริย์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกายบรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="20%">พระนามย่อ</TD><TD vAlign=top width="80%"> -</TD></TR><TR><TD vAlign=top width="20%">พระนามเดิม</TD><TD vAlign=top width="80%">มงกุฎ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="20%">พระราชสมภพ</TD><TD vAlign=top width="80%">วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด
    ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๓๔๗ ในสมัยรัชกาลที่ ๑
    เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๔๓ และเป็นลำดับที่ ๒ ในสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="20%">เสวยราชสมบัติ</TD><TD vAlign=top width="80%">เมื่อวันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีกุน ยังเป็นโทศก พุทธศักราช ๒๓๙๔
    รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๗ ปี </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="20%">พระราชโอรส-ราชธิดา</TD><TD vAlign=top width="80%">รวมทั้งสิ้น ๘๒ พระองค์ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="20%">สวรรคต </TD><TD vAlign=top width="80%">เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ
    ตรงกับวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑
    รวมพระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา</TD></TR><TR><TD vAlign=top width="20%">วัดประจำรัชกาล</TD><TD vAlign=top width="80%">วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="20%">ตราประจำรัชกาล</TD><TD vAlign=top width="80%"> [​IMG]
    | คลิก! ดูโดยรวมทุกรัชกาล |
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="20%">เหตุการณ์สำคัญ</TD><TD vAlign=top width="80%">
    • ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง โดยทรงตั้งธรรมยุตติกาวงศ์ขึ้น เป็นนิกายใหม่ในพระพุทธศาสนา ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย และระเบียบแบบแผน
    • เป็นพระบิดาแห่งวงการวิทยาศาสตร์ไทย ด้วยทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ คือ วันที่ ๑๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ ณ ตำบลหว้ากอ เมืองประจวบคีรีขันธ์
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width="20%">พ.ศ.๒๓๙๕</TD><TD vAlign=top width="80%">
    • โปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า
    • ร้อยเอกอิมเปญ์ เข้ามาฝึกทหารแบบยุโรป
    • คณะมิชชันนารี สอนภาษาอังกฤษ ในพระบรมมหาราชวัง
    • ร้อยเอกน๊อกซ์ เข้ามาเป็นครูฝึกทหารวังหน้า
    • คณะมิชชันนารีอเมริกัน เข้ามาสอนภาษา
    • กองทัพไทย ไปตีเมืองเชียงตุง
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width="20%">พ.ศ.๒๓๙๖</TD><TD vAlign=top width="80%">
    • โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ "หมาย" แทนเงินตรา
    • ไทยรบพม่าที่เมืองเชียงตุง (เป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่าง ไทย-พม่า)
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width="20%">พ.ศ.๒๓๙๘</TD><TD vAlign=top width="80%">
    • เซอร์จอห์น เบาริ่ง ขอเข้ามาเจริญพระราชไมตรี ทำสนธิสัญญาใหม่กับอังกฤษ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width="20%">พ.ศ.๒๓๙๙</TD><TD vAlign=top width="80%">
    • ทำสนธิสัญญาทางการฑูตกับอเมริกาและฝรั่งเศส
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width="20%">พ.ศ.๒๔๐๐</TD><TD vAlign=top width="80%">
    • โปรดเกล้าฯ ให้ส่งฑูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษ
    • โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ขึ้นเป็นครั้งแรก
    • เริ่มออกราชกิจจานุเบกษา
    • เริ่มสร้างกำปั่นเรือกลไฟ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width="20%">พ.ศ.๒๔๐๒</TD><TD vAlign=top width="80%">
    • โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width="20%">พ.ศ.๒๔๐๓</TD><TD vAlign=top width="80%">
    • โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์ผลิตเหรียญ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width="20%">พ.ศ.๒๔๐๔</TD><TD vAlign=top width="80%">
    • โปรดเกล้าฯ ให้ส่งทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส
    • เริ่มมีตำรวจนครบาลเป็นครั้งแรก
    • เริ่มสร้างถนนเจริญกรุง
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width="20%">พ.ศ.๒๔๐๕</TD><TD vAlign=top width="80%">
    • นางแอนนา เลียว์โนเวนส์ เข้ามารับราชการเป็นครูสอนภาษาอังกฤษในพระราชสำนัก
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width="20%">พ.ศ.๒๔๐๗</TD><TD vAlign=top width="80%">
    • โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดราชประดิษฐ์
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width="20%">พ.ศ.๒๔๑๑</TD><TD vAlign=top width="80%">
    • โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมเรือกลไฟ
    • ทรงคำนวณว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ
    • เสด็จสวรรคต
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ปรับปรุงล่าสุดวันที่ <!--webbot bot="Timestamp" startspan S-Type="EDITED" S-Format="%d %B %Y %H:%M" -->07 กุมภาพันธ์ 2547 12:52<!--webbot bot="Timestamp" I-CheckSum="1652" endspan --> น

    อ้างอิง :
    • ประกอบ โชประการ, ประยุทธ สิทธิพันธ์, สมบูรณ์ คนฉลาด.
    • หนังสือ ๙ พระมหากษัตริย์ไทยครองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี. กรุงเทพฯ : วิชัย อังศุสิงห์ หนังสือพิมพ์รวมข่าว 2525.
    • กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. ฉัตรแก้วเก้าแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : คุรุสภา 2540.
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • king04.jpg
      king04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      12 KB
      เปิดดู:
      375
    • 04.gif
      04.gif
      ขนาดไฟล์:
      14.3 KB
      เปิดดู:
      363
  13. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    คนปกติก็ยังธรรมดาครับ แต่คนที่อ้างว่ามี........สิครับน่ากลัวกว่า555หาเรื่องแต่เช้าเลยตู...
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ aries2947 [​IMG]
    (one-eye)(one-eye)(one-eye)(one-eye)(one-eye)
    ผียังไม่น่ากลัวเท่าคนนะครับ
    ใช่ไหมครับพี่หนุ่มพี่น้องหนูครับ
    (smile)(smile)(smile)(smile)(smile)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผมไม่รู้ ผมไม่ทราบ ผมไม่มีฌาณ ผมไม่มีญาณ หุหุหุ

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรียน พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ทุกๆท่าน

    ผมมาเผยกิจกรรมในการที่จะไปพบปะเพื่อร่วมทำบุญและพบปะสังสรรค์กันในครั้งหน้า

    ผมจะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ,พระธาตุพระอรหันต์ ,พระธาตุหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ ,พระพุทธรูปปางลีลา ,พระพุทธรูปปางนาคปรก ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร(หลวงปู่อิเกสาโรนั่งตอไม้) และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี อีกทั้งจะมีพี่ท่านนึงอัญเชิญพระพุทธรูป(มีฐานผ้าทิพย์) ไปสรงน้ำกัน

    ในวันนั้นจะมีการถวายเพลพระอาจารย์นิล ซึ่งนิมนต์ท่านไว้แล้ว ส่วนพระอาจารย์อีกรูป ผมกำลังติดต่ออยู่ แต่ยังไม่ทราบว่าท่านจะว่างหรือไม่

    ต่อจากนั้นก็จะเป็นการสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ ,พระธาตุพระอรหันต์ ,พระธาตุหลวงปู่ทวด ในลำดับต่อมาก็จะสรงน้ำพระพุทธรูป 3 องค์ ,สรงน้ำหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ,สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ,พระอาจารย์นิล ฯลฯ เมื่อสรงน้ำเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นการพูดคุยกันตามปกติ ที่จะขาดไม่ได้เลยที่ผมชอบก็คือ ผมจะนำพระสมเด็จ(ซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ท่านเมตตาอธิษฐานจิตให้ก่อนปี พ.ศ.2415) และตะกรุด(พระอภิญญาใหญ่ เช่นหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ,หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ,หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ,หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ท่านเมตตาอธิษฐานจิตให้ประมาณปีพ.ศ.2451) นำไปแจกให้กับทุกๆท่านที่ได้ไปร่วมงานในวันนั้น ส่วนตะกรุดนั้น ผมเองมีน้อย ถ้าไปกันหลายๆคนมาก ผมอาจจะแจกไม่ทั่วถึง ต้องขออภัยไว้ก่อน

    อีกสิ่งหนึ่งที่จะบอกก็คือ ขอให้นำพวงมาลัยไปไหว้พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ 1 พวง ,ไหว้พระพุทธ 1 พวง ,ไหว้หลวงปู่,พระอรหันต์และพระโพธิสัตว์ 1 พวง ,ไหว้ครูบาอาจารย์ 1 พวง รวมพวงมาลัยท่านละ 4 พวง และนำขวดน้ำเปล่าไปเพื่อบรรจุน้ำสรงพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุด้วยนะครับ

    ผมจะนำสมุดไป 1 เล่ม เพื่อให้ท่านที่ไปร่วมงานได้ลงนามกันด้วยครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 10 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 8 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สวัสดีครับลุงเม้าครับ

    (อ่า ไม่รู้จะหน้าแตกกลางอากาศหรือเปล่า)
    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ใจผมเอง อยากให้ทุกๆท่านไปกันเช้าๆหน่อย ไปที่งานไม่ควรจะเกิน 10 โมงเช้าน่าจะดีนะครับ

    พี่ตุ่นครับ วันนั้นตื่นเช้าด้วยนะพี่น๊ะ ผมขอวันนึง
    น้องเอ ยังไงก็โทร.แจ้งพี่ด้วยว่าจะมานอนที่บ้านพี่ก่อนหรือเปล่า
    คุณปุ๊ ขอเช้าด้วยนะครับ
    ส่วนจานchaipat จะไปอย่างไร แจ้งด้วยนะครับ
    ขอเวลา 7.30 - 7.45 น.ที่เดิมครับพี่ตุ่น,คุณปุ๊ครับ

    ส่วนท่านอื่นๆ มีข้อสงสัยหรือมีเหตุปัจจัยต่างๆ ผมรบกวนโทร.แจ้งผมด้วยนะครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  19. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,081
    หวัดดีครับ

    แบบนี้ใครๆก็ต้องเชื่อว่ามีฌาณแน่ๆครับ 555+
    ปิดบังกันบ่ได้ดอกคูณหนุ่ม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2008
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://palungjit.org/showthread.php?t=118352&page=14

    <TABLE class=tborder id=post1045304 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 10:33 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #263 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>sithiphong<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1045304", true); </SCRIPT>
    สมาชิก ยอดนิยม
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 11:08 AM
    วันที่สมัคร: Dec 2005
    ข้อความ: 20,297 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 999 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 117,896 ครั้ง ใน 16,294 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 13610 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1045304 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->แล้วไม่นำพระบูชาปางเปิดโลกมาให้ชมกันบ้างหรือครับ รู้สึกว่าเหมาะเจาะลงตัวพอดีมากๆเลยครับ

    โมทนาสาธุครับ
    มาเปิดประเด็นอีกแล้วเรา
    <!-- / message --><!-- sig --></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=tborder id=post1045324 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 10:48 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #264 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>offerrer<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1045324", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 10:48 AM
    วันที่สมัคร: Feb 2008
    ข้อความ: 16 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 237 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 109 ครั้ง ใน 15 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1045324 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    แล้วไม่นำพระบูชาปางเปิดโลกมาให้ชมกันบ้างหรือครับ รู้สึกว่าเหมาะเจาะลงตัวพอดีมากๆเลยครับ

    โมทนาสาธุครับ
    มาเปิดประเด็นอีกแล้วเรา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    มีคนมาเปิดประเด็นเพิ่มแล้วนะครับ(ping-love
    <!-- / message --><!-- sig --></TD></TR></TBODY></TABLE>

    แอบไปจุดชนวนไว้ หนีกลับมาบ้านดีกว่า หุหุหุ

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...