จิตที่จะถอดได้เกิดที่ณาน ขั้นใดครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย somkiatfem, 11 กันยายน 2016.

  1. somkiatfem

    somkiatfem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2016
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +195
    จิตที่จะถอดได้เกิดที่ณาน ขั้นใดครับ
     
  2. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ฌาน ถอดจิตไม่ได้ ทำให้นิ่งอย่างเดียว

    อุปจาระสมาธิ ถอดได้ ขึ้นอยู่กับกำลังของสติบังคับจิต
    ให้หลุดออกจากกายเนื้อ...
     
  3. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863
    รูปฌาน 4 ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
    ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
    ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
    ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
    จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา

    ตามพระไตรปิฎก

    เมื่อท่านผู้ใด ทรงฌาณ4 ได้แล้ว พระพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้ว่า

    เหมาะอ่อน สมควรต่อการใช้งาน เธอสามารถ ถอดกายออกจากร่าง

    ซึ่งมีทุกอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ อวัยวะน้อยใหญ่ เช้นเดียวกับกายเนื้อ

    ประดุจดัง ชักใส่หญ้าปล้อง เช่นนั้นเลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 870000_2.jpg
      870000_2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111.5 KB
      เปิดดู:
      399
  4. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516
    ศาลาปฏิบัติ
    ฌาน,สมาบัติ
    ปฐมฌาน,๑,๒
    ฌาน ๓ ,๔


    ขณิกสมาธิ
    ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ คำว่า สมาธิ แปล ว่า ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี่ยว ประด๋าว จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนาเสีย แล้วกว่าจะรู้ตัวว่า จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้ นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์ สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละที่เรียกว่า ขณิกสมาธิท่านยังไม่เรียก ฌาน เพราะอารมณ์ยัง ไม่เป็นฌานท่านจึงไม่เรียกว่า สมาบัติ เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้

    อุปจารสมาธิ

    อุปจารสมาธินี้เรียกอุปจารฌาน ก็เรียก เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึง ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัติ นั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอ สมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้ เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้

    วิตก คือความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนด อยู่ได้ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลานานพอสมควร
    วิจาร การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต ที่จิตถือเอาเป็นนิมิตที่กำหนด มีอาการ เคลื่อนไหวหรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรียกว่าวิจาร
    ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการ เจริญภาวนาอารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความ สว่างปรากฏคล้ายใครนำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏ เป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นานก็หายไป อาการของปีติมีห้าอย่างคือ
    ๓.๑ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
    ๓.๒ มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
    ๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
    ๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
    ๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
    อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่างแต่จิตใจ ก็เป็นสมาธิแนบแน่นไม่หวั่นไหว มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่อง ทำเมื่อไรเข้าสมาธิได้ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้

    สุข ความสุขชื่นบาน เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อน เลยในชีวิต จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยจะมีก็ต่อเมื่อคลาย สมาธิแล้ว ส่วนจิตใจมีความสุขสำราญตลอดเวลา สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์วิตกคือการ กำหนดภาวนา ก็ภาวนาได้ตลอดเวลา การกำหนดรู้ความภาวนาว่าจะถูกต้องครบถ้วนหรือ ไม่เป็นต้น ก็เป็นไปด้วยดีมีธรรมปีติชุ่มชื่นผ่องใสความสุขใจมีตลอดเวลาสมาธิตั้งมั่นความ สว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา อาการตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ หรือเรียกว่า อุปจารฌาน คือเฉียดๆ จะถึง ปฐมฌาน อยู่แล้ว ห่างปฐมฌาน เพียงเส้นยาแดงผ่า ๓๒ เท่านั้นเอง ตอนนี้ท่านยังไม่เรียกฌานโดยตรง เพราะอารมณ์ ยังไม่ครบองค์ฌานท่านจึงยังไม่ยอมเรียกว่าสมาบัติ เพราะยังไม่ถึงฌาน
    ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ

    ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่างดังต่อไปนี้

    วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพ กสิณอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้เรียกว่าวิตก
    วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือ หายใจออก หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบา หรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนด ลมสามฐานคือ หายใจเข้าลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจ ออกลมกระทบศูนย์ กระทบอกกระทบจมูกหรือริมฝีปาก
    ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่าเราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการ ใด

    ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสัน วรรณะเป็นอย่างไร ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไป หรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณที่เราต้องการ หรือ ภาพหลอนสอด แทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า วิจาร

    ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
    ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาใน กาลก่อน
    เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้น ไม่คลาดเคลื่อน
    ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้น หูยังได้ยินเสียงภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยินแต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญ ในเสียงทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับ จิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อย แล้วตามปกติจิตย่อมสนใจในเรื่องของกาย เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับปฐมฌาน กลับเฉยเมย ต่อเสียงคิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติที่ท่านเรียกว่า ปฐมสมาบัติ ก็ เพราะ อารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌานที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อย แล้วนั่นเอง

    อารมณ์ปฐมฌาน และปฐมสมาบัติ

    เพื่อให้จำง่ายเข้า จะขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อเพื่อทราบไว้ อารมณ์- ปฐมฌานโดยย่อมีดังนี้

    วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา
    วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด
    ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา
    สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุข อย่างประณีต
    เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์ อื่นเข้ามาแทรกแซง
    องค์ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ ๕ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปรากฏพร้อม ๆ กันไปคือ นึกคิดถึงองค์ภาวนาใคร่ครวญในองค์ภาวนานั้น ๆ ว่า ครบถ้วนถูกต้องหรือ ไม่ประการใด มีความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีอารมณ์ผ่องใสสว่างไสวในขณะภาวนา มีความสุข สันต์หรรษา มีอารมณ์จับอยู่ในองค์ภาวนา ไม่สนใจต่ออารมณ์ภายนอก แม้แต่เสียงที่ได้ยิน สอดแทรกเข้ามาทำให้ได้ยินชัดเจน แต่จิตใจก็ไม่หวั่นไหว ไปตามเสียงนั้น จิตใจคงมั่นคง อยู่กับอารมณ์ภาวนาเป็นปกติ

    เสี้ยนหนามของปฐมฌาน

    เสี้ยนหนามหรือศัตรูตัวสำคัญของปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ ก็ได้แก่ เสียง เสียงเป็นศัตรูที่คอยทำลายอารมณ์ปฐมฌาน ถ้านักปฏิบัติทรงสมาธิอยู่ได้ โดยไม่ต้องระแวงหวั่นไหวในเสียง คือไม่รำคาญเสียงที่รบกวนได้ก็แสดงว่าท่านเข้าถึง ปฐมฌานแล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมก็คือ ฌานโลกีย์นี้เป็นฌานระดับต่ำ เป็นฌานที่ปุถุชน คนธรรมดาสามารถจะทำให้ได้ถึงทุกคน เป็นฌานที่เสื่อมโทรมง่าย หากจิตใจของ ท่านไปมั่วสุมกับนิวรณ์ห้าประการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าแม้แต่อย่างเดียว ฌานของท่าน ก็จะเสื่อมทันที ต่อว่าเมื่อไรท่านขับไล่นิวรณ์ไม่ให้เข้ามารบกวนจิตใจได้ ฌานก็เกิดขึ้น แก่จิตใจของท่านต่อไป ฌานจะเสื่อม หรือ เจริญก็อยู่ที่นิวรณ์ ด้านนิวรณ์ไม่ปรากฏจิตว่าง จากนิวรณ์ จิตก็เข้าถึงฌาน ถ้านิวรณ์มารบกวนจิตได้ ฌานก็จะสลายตัวไป ฌานตั้งแต่ ฌานที่ ๑ ถึง ฌานที่ ๘ มีสภาพเช่นเดียวกัน คือต้องระมัดระวังนิวรณ์ไม่ให้เข้ามายุ่ง แทรกแซงเหมือนกัน ก่อนที่จะพูดถึงฌานที่ ๒ จะขอนำเอานิวรณ์ศัตรูร้ายผู้คอยทำลาย ฌานมาให้ท่านรู้จักหน้าตาไว้เสียก่อน

    นิวรณ์ ๕

    อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่างคือ

    กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสอันเป็นวิสัยของ กามารมณ์
    พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
    ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
    อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ
    วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิด ไว้หรือไม่เพียงใด
    อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูด ว่า จิตใจของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนม กับอารมณ์ของนิวรณ์มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับ นิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้าม กับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกัน มานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคมกันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้า- ประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌานนั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกัน มานาน

    ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการอย่างนี้เป็นกฎธรรมดา ของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่ต่อเมื่อไร ได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้นเข้ม แข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติ จงเข้าใจไว้ด้วยว่า จิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้า ยังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌานออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕ ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌาน ย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจหมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนด เวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลาเท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลาจนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อนจากฌาน มีความรู้สึก ตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ ๑ ชั่วโมง ไป หา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเองโดย ไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็ อย่าประมาทเพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มา รบกวนนั้นไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้ โลกุตตรฌาน คือ บรรลุพระอริยะ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัว ได้ว่าท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุต- ตรฌานคือ ได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณจนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริย- บุคคล แล้วอกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนักสำหรับพระอริยะต้น พอจะ กวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่างเช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัด เคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจ นิดหน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของ อุทธัจจะ คือความคิดฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะ เลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว

    อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อย ให้ใจระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ ในอารมณ์ของฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่นเอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่าเป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบเกิด เป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหม ชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของ ปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลส ได้เด็ดขาดจนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่ฌานที่ ๑ มีอานุภาพ มากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์จนเสียผลฌาน

    ทุติยฌานหรือทุติยสมาบัติ

    ทุติยฌาน แปลว่า ฌานที่ ๒ ทุติยสมาบัติ แปลว่า สมาบัติที่ ๒ ฌานและสมาบัติ ได้อธิบายมาแล้ว แต่ฌานต้นคือ ปฐมฌาน จะไม่อธิบายอีก ปฐมฌานมีอารมณ์ ๕ ตามที่ กล่าวมาแล้วในฌานที่ ๑ สำหรับทุติยฌานนี้ มีอารมณ์ ๓

    อารมณ์ ๓ ของทุติยฌานมีดังต่อไปนี้

    ปีติ ความเอิบอิ่มใจ
    สุข ความสุขอย่างประณีต
    เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
    อารมณ์ทุติยฌานนี้ ก็ตัดเอามาจากอารมณ์ปฐมฌานนั่นเอง ท่านที่ทรงสมาธิ เข้าถึงทุติยฌานนี้ ท่านตัด วิตก วิจาร อันเป็นอารมณ์ของ ปฐมฌานเสียได้ คงเหลือแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา อาการตัดวิตก วิจารนั้นมีความรู้สึกอย่างไรในเวลาปฏิบัติจริง ข้อนี้นักปฏิบัติ สนใจกันมากเป็นพิเศษเพราะเพียงอ่านรู้แล้วยังหาความเข้าใจจริงไม่ได้ การตัดก็มิใช่จะตัด ออกไปเฉยๆ ได้ตามอารมณ์ วิตก แปลว่า ตรึก นึกคิด วิจาร แปลว่า ไตร่ตรองใคร่ครวญ ท่านลองพิจารณาดูเถิดว่า วิตกวิจารนี้ เป็นอารมณ์ที่ตัดไม่ได้ง่ายเลย ใคร ๆ ที่ไหนจะมาห้าม ความรู้สึกนึกคิดกันง่าย ๆ ได้ เคยฟังท่านสอนเวลาเรียน ท่านสอนว่าให้ตัดวิตกวิจารออกเสียได้ แล้วทรงอยู่ใน ปีติ สุข เอกัคคตาเท่านี้ก็ได้ ทุติยฌาน ท่านพูดของท่านถูกฟังก็ไม่ยาก แต่ ตอนทำเข้าจริง ๆ พอมาเจอตัวตัดวิตกวิจารเข้าจริง ๆ กลับไม่เข้าใจ จะพูดให้ฟังถึงการ ตัดวิตกวิจาร

    ตัดวิตกวิจารตามผลปฏิบัติ

    ตามผลปฏิบัตินั้นวิตกวิจารที่ถูกตัดมิได้ตัดด้วยการยกเว้น คืองดการนึกคิด เอาเอง เฉย ๆ ท่านตัดด้วยการปฏิบัติเข้าถึงระดับ คือ ในระยะแรกก็เจริญภาวนาคาถา ภาวนาตามท่านอาจารย์สอน จะภาวนาว่าอย่างไรก็ได้ ท่านไม่ได้จำกัดไว้คาถาภาวนาเป็น สายเชือกโยงใจเท่านั้นให้ใจมีหลักเกาะไว้ไม่ให้สอดส่ายไปในอารมณ์นอกจากคำภาวนา อย่างนี้ท่านเรียกว่า "บริกรรมภาวนา" ขณะที่ภาวนาอยู่จิตคิดถึงคำภาวนานั้นท่านเรียกว่า " วิตก" จิตที่คอยประคับประคองคำภาวนา คิดตามว่า เราภาวนาถูกตามอาจารย์สอนหรือ ไม่ครบถ้วนหรือไม่ อย่างนี้ท่านเรียกว่า " วิจาร " การตัดวิตกวิจาร ก็ภาวนาไปอย่างนั้น จนเกิด ปีติ สุขและเอกัคคตา คือมีอารมณ์คงที่ จิตไม่สนใจกับอารมณ์ภายนอก รักษาอารมณ์ ภาวนาและอาการเอิบอิ่ม สุขสันต์อยู่ตลอดเวลา ลมหายใจชักจะอ่อนลงทุกที รู้สึกว่าหายใจ เบา อารมณ์จิตโปร่งแจ่มใส หลับตาแล้ว แต่คล้ายกับมีใครเอาประทีปมาวางไว้ใกล้ ๆ ใน ระยะนี้เองจิตจะหยุดภาวนาเอาเฉยๆ มีอารมณ์นิ่งดิ่งสบายกว่าขณะที่ภาวนามาก รู้สึกว่า ลมหายใจอ่อนระรวยลง หูได้ยินเสียงภายนอกแต่เบาลงกว่าเดิม จิตไม่สนใจกับอะไร มี อารมณ์เงียบสงัดดิ่งอยู่ บางรายพอรู้สึกตัวว่าหยุดภาวนาก็ตกใจ รีบคิดถึงคำภาวนา บางราย ก็คว้าต้นชนปลายไม่ถูก คำภาวนาภาวนามาจนคล่อง กลับคิดไม่ออกว่าอะไรเป็นต้นเป็น ปลาย กึกกักอึกอักอยู่ครู่หนึ่งจึงจับต้นชนปลายถูก อาการที่จิตสงัดปล่อยคำภาวนามีอารมณ์ เฉยไม่ภาวนานั่นแหละเป็นการละวิตกวิจาร ละด้วยอารมณ์เข้าถึงสมาธิอันดับฌาน ๒ ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะมาหยุดภาวนาไปนั้นตอนนั้นจิตตกอารมณ์ทุติยฌาน เข้าสู่อารมณ์ปฐมฌาน ตามเดิม บางรายก็เข้าสู่ภวังค์ คืออารมณ์ปกติธรรมดาเอาเลย

    พูดมาอย่างนี้ คิดว่าท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจแล้วว่า การละหรือตัดวิตกวิจารนั้นก็การ ที่ภาวนาไปจนมีอารมณ์สงัด จิตปล่อยคำภาวนานั่นเอง เมื่อจิตปล่อยคำภาวนาแล้ว ก็เหลือ แต่ความชุ่มชื่นหรรษามีความสุขสันต์ทางกายอย่างประณีต มีอารมณ์ใจดิ่งอยู่อย่างไม่สนใจ กับอารมณ์ใด หูเกือบจะไม่ได้ยินเสียงอะไร เป็นอารมณ์จิตที่มีความสุขสบายยอดเยี่ยมกว่า ฌานที่ ๑ มาก เพราะฌานที่ ๑ ยังต้องมีกังวลอยู่กับการภาวนาและต้องระมัดระวังบทภาวนา ให้ถูกต้องครบถ้วน จัดว่ามีกังวลมาก สำหรับทุติยฌานนี้ตัดคำภาวนาออกเสียได้ด้วยการเข้า ถึงอารมณ์ที่ละเอียดกว่า มีแต่ความชุ่มชื่นหรรษาด้วยอำนาจปีติมีความสุขละเอียดอ่อนประณีต เพราะสู่ความสุขอันประณีตด้วยอำนาจสมาธิที่ตั้งมั่นกว่าปฐมฌานจิตเป็นหนึ่ง คือมีอารมณ์ สงัดจากอารมณ์ภายนอก แม้แต่คำภาวนาก็ไม่แยแส นี่แหละที่ท่านเรียกว่าได้ทุติยฌาน หรือ ทุติยสมาบัติ เมื่อได้แล้วต้องฝึกฝนให้คล่องว่องไว คิดจะเข้าทุติยฌานเมื่อไร ก็เข้าได้ทัน ท่วงทีหรือจะทรงทุติยฌานอยู่นานเท่าใด ก็กำหนดเวลาได้ตามความประสงค์ อย่างนี้จึงจะ ชื่อว่า ได้ทุติยฌานแน่นอน แต่ทว่าเมื่อได้แล้วก็อย่าประมาท ถ้าพลั้งพลาดปล่อยให้อกุศล มารบกวนใจหรือจิตใจไปใคร่ในอกุศลเข้าเมื่อไร ทุติยฌานก็ทุติยฌานนั่นแหละ เป็นเสื่อม- ทรามลงทันที ฉะนั้นท่านจึงว่า ฌานโลกีย์นี้ระมัดระวังยาก ต้องคอยประคับประคองประคบ ประหงมยิ่งกว่าเด็กอ่อนนอนเบาะเสียอีก

    เสี้ยนหนามของทุติยฌาน

    เสี้ยนหนามของปฐมฌานได้แก่เสียง เสียงเป็นศัตรูคอยทำลายปฐมฌาน เมื่อใดถ้าจิต ยุ่งกับเสียง คือทนรำคาญไม่ไหว ก็หมายความว่า ปฐมฌานเสื่อมเสียแล้ว สำหรับทุติฌานนี้ มีวิตกวิจารเป็นเสี้ยนหนามศัตรู เมื่อขณะที่จิตทรงสมาธิอยู่ในระดับทุติยฌาน จิตคอยจะเคลื่อน เลื่อนลงมาหาอารมณ์ปฐมฌาน คือคอยจะยึดเอาคาถาภาวนาเป็นอารมณ์ เพราะคาถาภาวนา เป็นวิตกวิจาร จึงจำต้องคอยระมัดระวังไว้ อย่าปล่อยสติสัมปชัญญะให้คลาดเคลื่อนคุมอารมณ์ ทุติยฌานอย่าให้เลือนไปได้ ฝึกหัดตั้งกำหนดเวลาทรงฌานเข้าไว้ แล้วทำให้ชินตามกำหนด เวลา

    อานิสงส์ทุติยฌาน

    ฌานทั้งหมด เป็นอารมณ์สมาธิที่ทำจิตใจให้พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ เวลาจะทำ การงานก็มีความทรงจำดี จิตใจไม่เลอะเลือนฟุ้งซ่าน เป็นอารมณ์รักษาโรคประสาทได้ดี ที่สุด นอกจากนี้ เวลาจะตายก็มีสติสัมปชัญญะดีไม่หลงตาย ถ้าตายในระหว่างฌานท่านว่า ทุติยฌานที่เป็นโลกียฌานให้ผลดังนี้
    ก. ทุติยฌานหยาบ ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๔
    ข. ทุติยฌานกลาง ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๕
    ค. ทุติยฌานละเอียด ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๖

    ถ้าเอาอารมณ์ทุติยฌานไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณแล้ว สมาธิระดับทุติยฌานจะมี กำลังช่วยให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสได้ดีและรวดเร็วกว่ากำลังของปฐมฌานมาก ท่านอาจมี หวังถึงที่สุดของพรหมจรรย์ในชาติปัจจุบันก็ได้ ถ้าท่านมีความเพียรดี ปฏิบัติตรงต่อพระพุทธ- พจน์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และปฏิบัติพอดีพอควร ไม่ยิ่งหย่อนนัก เรียกว่าปฏิบัติพอเหมาะ พอดี การปฏิบัติพอเหมาะพอดีนี้ปฏิบัติอย่างไร ท่านก็ศึกษาจากตัวของท่านเองนั่นแหละตรง ต่อความเป็นจริง

    --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



    ปฐม แปลว่าที่ ๑ ทุติยะ แปลว่าที่ ๒ ตติยะ แปลว่าที่ ๓ ตติยฌานจึงแปลว่า ฌาน ที่ ๓ ตติยสมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงอารมณ์ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๓ นี้ มีอารมณ์ ๒ คือ

    สุข ได้แก่ความสุขที่ปราศจากปีติ คือความสุขทางจิตโดยเฉพาะ ไม่มีความสุข ที่เนื่องด้วยกาย
    เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่ไม่มีอารมณ์ห่วงใยในกาย เป็นอาการที่สงัด จากกาย ฌานนี้ท่านว่าเป็นฌานที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด
    อาการของฌานที่ ๓ นี้เป็นอาการที่จิตตัดปีติความเอิบอิ่มใจในฌานที่ ๒ ออกเสียได้ เมื่ออารมณ์จิตเข้าถึงฌานที่ ๓ นี้ จะรู้สึกว่า อาการขนพองสยองเกล้าก็ดี น้ำตา ไหลก็ดี กายโยกโคลงก็ดี อาการซู่ซ่าทางกาย คล้ายกายเบา กายใหญ่ กายสูงจะไม่ปรากฏ เลยมีอาการทางกายเครียดคล้ายกับใครมาจับมัดไว้จนแน่น หรือคล้ายหลักที่ปักจนแน่น ไม่มีการโยกโคลงได้ฉันนั้น จงจำไว้ว่าตั้งแต่ฌานที่ ๒ เป็นต้นมา ไม่มีการภาวนาเลย ถ้า ยังภาวนาอยู่ และหูได้ยินเสียงชัด แต่ไม่รำคาญในเสียง เป็นฌานที่ ๑ ตั้งแต่ฌานที่ ๒ มา ไม่มีการภาวนาและเรื่องเสียงเกือบไม่มีความหมาย คือไม่มีความสนใจในเสียงเลย เสียง มีอยู่ก็เหมือนไม่มีเพราะจิตไม่รับเสียง ลมหายใจจะค่อยๆ น้อยอ่อนระรวยลงทุกขณะใน ฌานที่ ๓ นี้ลมหายใจยังปรากฏ แต่ก็รู้สึกเบาเต็มที่มีอาการคล้ายจะไม่หายใจ แต่ก็พอรู้สึก น้อยๆ ว่าหายใจ จิตสงัดไม่มีการหวั่นไหว ไม่มืด มีความโพลงอยู่มีอารมณ์แน่นในสมาธิ มากจนรู้ตัวว่า อารมณ์แนบแน่นกว่าสองฌานที่ผ่านมา อย่างนี้ท่านเรียกว่าเข้าถึงฌานที่ ๓ ต้องฝึกเข้าฌานออกฌานให้แคล่วคล่องว่องไวตามที่กล่าวมาแล้ว

    เสี้ยนหนามของฌานที่ ๓

    ปีติ เป็นเสี้ยนหนามของ ฌานที่ ๓ เพราะฌานที่ ๓ ตัดปีติเสียได้ แต่ถ้าอารมณ์ ตกลงไปปีติจะปรากฏขึ้น ถ้าปีติปรากฏขึ้นเมื่อไร พึงทราบเถิดว่า ขณะนี้อารมณ์จิตเคลื่อน จากฌานที่ ๓ มาอยู่ระดับฌาน ๒ แล้วถ้าปรากฏว่ามีการภาวนาด้วย แต่จิตยังไม่รำคาญ ในเสียงก็ยิ่งร้ายใหญ่ เพราะอารมณ์สมาธิไหลออกจนเหลือเพียงฌาน ๑ ท่านให้ระมัดระวัง ด้วยการทรงสติสัมปชัญญะ อย่าให้อารมณ์สมาธิรั่วไหลเป็นอันขาด เพราะจะเป็นอันตราย แก่ฌาน ๓

    อานิสงส์ฌานที่ ๓

    ฌานที่ ๓ นี้ ถ้าทรงไว้ได้จนตาย ในขณะตาย ตายในระหว่างฌานที่ ๓ ท่านว่า จะไม่หลงตาย เมื่อมีชีวิตอยู่ ก็จะเป็นคนมีอารมณ์แช่มชื่นเบิกบานตลอดเวลา หน้าตา สดชื่นผ่องใส เมื่อตายแล้ว ฌาน ๓ ย่อมส่งผลให้เกิดเป็นพรหม คือ

    ฌานที่ ๓ หยาบ ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๗
    ฌานที่ ๓ กลาง ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๘
    ฌานที่ ๓ ละเอียด ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๙
    ฌาน ๓ ที่เป็นโลกียฌานให้ผลอย่างนี้ ถ้าเอาฌาน ๓ ไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาจะมีกำลังกล้า ตัดกิเลสให้เด็ดขาดได้โดยรวดเร็ว อาจได้บรรลุมรรคผลเบื้องสูงใน ชาตินี้โดยไม่ชักช้านัก ผลของท่านที่ทรงฌาน ๓ ไว้ได้มีผลดังกล่าวมาแล้วนี้

    จตุตถฌาน หรือ จตุตถสมาบัติ

    จตุตถะ แปลว่าที่ ๔ จตุตถฌานจึงแปลว่าฌานที่ ๔ ฌานที่ ๔ นี้มีอารมณ์ ๒ เหมือนฌาน ๓ แต่ผิดกันที่ฌาน ๓ มีสุขกับเอกัคคตา สำหรับฌานที่ ๔ นี้ ตัดความสุข ออกเสียเหลือแต่ เอกัคคตา และเติมอุเบกขาเข้ามาแทน ฉะนั้น อารมณ์ของฌาน ๔ จึงมีอารมณ์ผิดแผกจากฌาน ๓ ตรงที่ตัดความสุขออกไป และเพิ่มการวางเฉยเข้ามา แทนที่

    อาการของฌาน ๔

    ฌาน ๔ เมื่อนักปฏิบัติ ปฏิบัติถึงมีอาการดังนี้

    จะไม่ปรากฏลมหายใจเหมือนสภาพฌานอื่นๆ เพราะลมละเอียดจน ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ ในวิสุทธิมรรคท่านว่า ลมหายใจไม่มีเลย แต่บางอาจารย์ ท่านว่า ลมหายใจนั้นมี แต่ลมหายใจละเอียดจนไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ตามนัยวิสุทธิ- มรรคท่านกล่าวถึงคนที่ไม่มีลมหายใจไว้ ๔ จำพวกด้วยกัน คือ ๑. คนตาย ๒. คนดำน้ำ ๓. เด็กในครรภ์มารดา ๔.ท่านที่เข้าฌาน ๔ รวมความว่า ข้อสังเกตที่สังเกตได้ชัดเจน ในฌาน ๔ ที่เข้าถึงก็คือ ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจการที่ฌาน ๔ เมื่อเข้าถึงแล้ว และ ขณะที่ทรงอยู่ในระดับของฌาน ๔ ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจนี้เป็นความจริง มีนักปฏิบัติ หลายท่านที่พบเข้าแบบนี้ถึงกับร้องเอะอะโวยวายบอกว่าไม่เอาแล้วเพราะเกรงว่าจะตาย เพราะไม่มีลมหายใจบางรายที่อารมณ์สติสมบูรณ์หน่อยก็ถึงกับค้นคว้าควานหาลมหายใจ เมื่ออารมณ์จิตตกลงระดับต่ำกว่าฌานที่ ๔ ในที่สุดก็พบลมหายใจที่ปรากฏอยู่กับปลาย จมูกนั่นเอง
    อารมณ์จิตเมื่อเข้าสู่ระดับฌาน ๔ จะมีอารมณ์สงัดเงียบจากอารมณ์ ภายนอกจริง ๆ ดับเสียง คือ ไม่ได้ยินเสียง ดับสุข ดับทุกข์ทางกายเสียจนหมดสิ้น มี อารมณ์โพลงสว่างไสวเกินกว่าฌานอื่นใด มีอารมณ์สงัดเงียบ ไม่เกี่ยวข้องด้วยร่างกาย เลย กายจะสุข จะทุกข์ มดจะกิน ริ้นจะกัดอันตรายใดๆ จะเกิด จิตในระหว่างตั้งอยู่สมาธิ ที่มีกำลังระดับฌาน ๔ จะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เพราะฌานนี้กายกับจิตแยกกันเด็ดขาดจริงๆ ไม่สนใจข้องแวะกันเลย ดังจะเห็นในเรื่องของลมหายใจ ความจริงร่างกายนี้จำเป็นมาก ในเรื่องหายใจเพราะลมหายใจเป็นพลังสำคัญของร่างกาย พลังอื่นใดหมดไป แต่อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจยังปรากฏ ที่เรียกกันตามภาษาธรรมว่า ผัสสาหารยังมีอยู่ ร่างกาย ก็ยังไม่สลายตัว ถ้าลมหายใจที่เรียกว่าผัสสาหารหยุดเมื่อไร เมื่อนั้นก็ถึงอวสานของการ ทรงอยู่ของร่างกาย ฉะนั้น ผลการปฏิบัติที่เข้าถึงระดับฌาน ๔ จึงจัดว่าลมหายใจยังคงมี ตามปกติที่ไม่รู้ว่าหายใจก็เพราะว่าจิตแยกออกจากกายอย่างเด็ดขาดโดยไม่รับรู้อาการ ของร่างกายเลย
    อาการที่จิตแยกจากร่างกาย

    เพื่อให้เข้าใจชัดว่า จิตแยกออกจากร่างกายได้จริงเพียงใด เมื่อท่านเจริญสมาธิถึง ฌาน ๔ จนคล่องแคล่วชำนิชำนาญดีแล้ว ให้ท่านเข้าสู่ฌาน ๔ แล้วถอยจิตออกมาหยุดอยู่ เพียงอุปจารฌาน แล้วอธิษฐานว่า ขอร่างกายนี้จงเป็นโพรงและกายอีกกายหนึ่งจงปรากฏ แล้วเข้าฌาน ๔ ใหม่ ออกจากฌาน ๔ มาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน ท่านจะเห็นกายเป็น โพรงใหญ่ มีกายของเราเองปรากฏขึ้นภายในกายเดิมอีกกายหนึ่ง ที่ท่านเรียกในมหาสติ- ปัฏฐานว่ากายในกาย จะบังคับให้กายในกายท่องเที่ยวไปในร่างกายทุกส่วน แม้แต่เส้น ประสาทเล็กๆ กายในกายก็จะไปได้สะดวกสบายเหมือนเดินในถ้ำใหญ่ ๆ ต่อไปจะบังคับ กายใหม่นี้ออกไปสู่ภพใด ๆ ก็ไปได้ตามประสงค์ ที่ท่านเรียกว่า "มโนมยิทธิ แปลว่า มีฤทธิ์ทางใจนั่นเอง" พลังของฌาน ๔ มีพลังมากอย่างนี้ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วท่าน จะฝึกวิชชาสาม อภิญญาหกหรือปฏิสัมภิทาญาณ ก็ทำได้ทั้งนั้น เพราะวิชชาการที่จะฝึก ต่อไปนั้น ก็ใช้พลังจิตระดับฌาน ๔ นั่นเอง จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็เพียงอาการในการ เคลื่อนไปเท่านั้น ส่วนอารมณ์ที่จะใช้ก็เพียงฌาน ๔ ซึ่งเป็นของที่มีอยู่แล้วเปรียบเสมือน นักเพาะกำลังกาย ถ้ามีกำลังกายสมบูรณ์แล้วจะทำอะไรก็ทำได้เพราะกำลังพอจะมีสะดุด บ้างก็ตรงเปลี่ยนแนวปฏิบัติใหม่ จะยุ่งใจบ้างในระยะต้นพอเข้าใจเสียแล้วก็ทำได้คล่อง เพราะกำลังพอ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วก็เช่นเดียวกัน เพราะงานส่วนอภิญญาหรือวิชชาสาม ก็ใช้พลังจิตเพียงฌาน ๔ เท่านั้น ท่านที่ได้ฌาน ๔ จึงเป็นผู้มีโอกาสจะทำได้โดยตรง

    เสี้ยนหนามของฌาน ๔

    เสี้ยนหนาม หรือศัตรูตัวสำคัญของฌาน ๔ ก็คือ "ลมหายใจ" เพราะถ้าปรากฏว่า มีลมหายใจปรากฏเมื่อเข้าฌาน ๔ ก็จงทราบเถิดว่า จิตของท่านมีสมาธิต่ำกว่าฌาน ๔ แล้วจงอย่าสนใจกับลมหายใจเลยเป็นอันขาด

    อานิสงส์ของฌาน ๔

    ท่านที่ทรงฌาน ๔ ไว้ได้ ในขณะที่มีชีวิตอยู่ จะมีอารมณ์แช่มชื่นตลอดวัน เวลาจะแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างอัศจรรย์
    ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะทรงวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณได้ ถ้าท่านต้องการ
    ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะเอาฌาน ๔ เป็นกำลังของวิปัสสนาญาณชำระ กิเลสให้หมดสิ้นไป อย่างช้าภายใน ๗ ปี อย่างกลางภายใน ๗ เดือน อย่างเร็วภายใน ๗ วัน
    หากท่านไม่เจริญวิปัสสนา ท่านทรงฌาน ๔ ไว้มิให้เสื่อม ขณะตาย ตาย ในระหว่างฌานที่จะได้ไปเกิดในพรหมโลกสองชั้นคือ ชั้นที่ ๑๐ และชั้นที่ ๑๑
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กันยายน 2016
  5. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    ฌาณ 3 + นี่จิตเหนือกายเกือบเต็มกำลังเเล้วหล่ะครับ
     
  6. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    การถอดจิต มีสองลักษณะ

    1 แบบตั้งใจให้เกิด
    2 แบบไม่ตั้งใจ แต่อาศัยสภาวะปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิด

    เมื่อถามมา ตามข้อ1 จิตจะถอดออกจากกายหยาบได้ ย่อมต้องตัดกายได้หมดสิ้น ตัดรูปได้หมดสิ้น เหลือเพียงเอกคตาจิต มีกำลังมากพอ ก็ถอนออกจากกายนี้ไปได้ การถอนจิตออกจากกายหรือถอดจิต ย่อมต้องใช้กำลังจิต คือกำลังของ ของฌาณ4ครับ สาธุ
     
  7. somkiatfem

    somkiatfem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2016
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +195
    กำลังณาน 4 =5 =6 = 7=8 เเต่กำหนดไร้รูป แปลว่า ต้องถึงใช้ณาน 8 ใช้หรือไม่ครับ คืออรูป ขั้นสูง คือ ณาน 8 ใช้ไหมครับ
     
  8. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,424
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ขออนุญาตช่วยเสริมนะครับ..ทั่วๆไป
    มันก็มีแบบ ๑.คือตั้งใจ และ ๒.ไม่ได้ตั้งใจนั่นหละครับ
    และทั้ง ๒ แบบก็ขอยืนยันว่า แม้ไม่เคยฝึกสมาธิอะไรมา
    ก็จะสามารถเกิดขึ้นได้ครับ แต่การที่จะฝึกไปถึงในระดับ
    ที่สามารถให้เกิดขึ้นได้แบบตั้งใจ ไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไร
    และมีวิธีการฝึกมากมายหลายวิธีมากครับ
    และสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกำลังสมาธิในระดับอุปจารสมาธิ
    และระดับกำลังญาน ๔ เช่นกันครับ


    จริงๆแล้ว จิตมันไม่ได้เชิงว่าถอดออกจากร่างกาย
    ไปแบบเต็มๆหรอกครับ มันแค่เคลื่อนออก
    ไปจากกายนี้ชั่วคราวเฉยๆแค่นั้นครับ

    ในการฝึกวิชาพิเศษจึงใช้อุบาย
    การทิ้งร่างกายตรงนี้ก็เพื่อให้จิตมันออกจาก
    กายไป หรือ ทิ้งร่างกายให้ได้มากที่สุด
    ก็เพื่อผลในการฝึกวิชานั่นๆด้วยส่วนหนึ่งครับ

    เพราะว่าจิตมันจะถอดหรือทิ้งกายนี้จริงๆก็ต่อ
    เมื่อจิตเห็นว่าร่างกายนี้มันพัง ไม่สามารถอยู่อาศัยต่อได้
    ยังไงถ้าร่างกายไม่พัง มันจะมีสายใยเชื่อมตัววิญญาน
    เอาไว้อยู่ครับ เพียงแต่ถ้าออกไปแบบกำลังสมาธิไม่มาก
    มักจะมองไม่เห็นตรงนี้กันเฉยๆครับ
    หรือถ้าจะให้พูดตรงๆบางคนอาจจะได้เห็น
    แค่ครั้งเดียวก็คือตอนที่ตายนั่นหละครับ
    ถึงจะเข้าใจครับ


    ..เพราะว่ายังไงก็จะยังมีเส้นสายใยวิญญาน
    ที่เชื่อมกับตัวจิตอยู่ครับยกเว้นว่าจะเป็นคนตาย
    หรือร่างกายพังหรือมีเหตุกระแทกร่างกาย
    จนจิตมันรู้สึกว่าร่างกายพังจิตถึงจะออกไปครับ...

    วิธีสังเกตุง่ายๆเกี่ยวกับสายใยเชื่อมวิญญานนะครับ
    ก็คือแค่เพียงเราคิดอะไรได้ในขณะที่เราออกไป
    ไม่ว่าจะกำลังระดับไหนก็ตาม เส้นสายใยเชื่อมตัวนี้มันจะดึง
    ตัวจิตเรากลับเข้าสู่ร่างกายภายในเวลาเสี้ยววินาที
    แค่นั้นหละครับ นี่คือหลักสังเกตุง่ายๆนะครับ

    การที่ถอดจิตไปแบบกำลังสติไม่มาก
    (คือไปถึงได้แบบไม่รู้ตัว ไปแล้วไม่รู้ว่าที่ๆตัวเองไปคือที่ไหน
    หรือไปแล้วไม่รู้อะไรเลย หรือตอนระหว่างที่เดินทางไป
    ไม่มีตัวสติตามตัวจิต ที่กล่าวมานี้คือ กำลังสติ
    ไม่มากทั้งนั้นนะครับ ให้ฝึกด้วยการเจริญสติ
    ให้ต่อเนื่องซะจะแก้กิริยาพวกนี้ได้ครับ)

    และเวลาไปก็มักจะถูกดูด
    ไปโผล่โน้น โผล่นี่นั้น
    แต่ถ้าเพียงแค่ระลึกขึ้นได้ ก็จะกลับมาสู่ร่างกาย
    ตัวเองได้ทันทีนั่นหละครับนี่คือ กิริยาของเส้นสายใยวิญญานครับ
    สมมุติว่าถ้าดันเป็นเทพด้านการถอดจิตไปแบบกายเนื้อเต็มๆ
    ก็จะสามารถหลงมิติอยู่อย่างนั้นได้นั่นหละครับ
    แต่กรณีอย่างนี้ พอจะนับคนที่ทำได้อยู่ครับ

    และต่อให้จะทำได้ประเภท ค่อยๆมีอีกกายค่อยๆลุก
    ออกขึ้นออกจากร่างกายเรามา
    ( ถ้าประเภทออกมา ตีลังกาหัวคะม่ำ หน้าคว่ำไร้ทิศทาง
    หมุนติ้วๆ อย่างนี้แสดงว่า กำลังสมาธิและกำลังสติยังน้อยครับ)
    หรือ พูดง่ายๆว่า นอนๆอยู่แล้ว
    มีอีกกายค่อยๆลุกขึ้นและมองเห็นร่างกายอีกร่าง
    เรานอนอยู่ ถ้าอยู่ในสภาวะนี้ ผู้ที่ทำได้จะทราบ
    ได้ดีว่า กายทิพย์เรามันจะยังมีเส้นสายใย
    ที่มันยังโยงอยู่ข้างหลังเราได้ชัดเจนเหมือนเดิมนั่นหละครับ

    ประเด็นนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ในการเข้าถึงนะครับ
    ถึงจะเข้าใจได้ดีและมันจะชัดเจนมากกว่า
    การออกไปแบบย้ายดวงจิตออกจากกายชั่วคราว
    ที่มีแต่ดวงจิตในกำลังสมาธิระดับอุปจารสมาธิ
    ที่มักมองไม่เห็นกายตัวเอง แต่เหมือนมีแต่ตาลูกเดียว
    คอยมองนั่นหละครับ
    ย้ำว่าแบบนี้ ไม่เคยฝึกอะไรมา หรือ ไม่เคยฝึกสมาธิ
    ก็ทำได้นั่นหละครับ เพราะสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปครับ

    ส่วนแบบตั้งใจนั้น ที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกำลังสมาธิ
    ไม่มากและสมาธิระดับสูงนั้น
    ในระดับกำลังสมาธิไม่มากนั้น
    สามารถฝึกให้เกิดเป็นแบบตั้งใจได้
    ด้วยการเข้าให้ถึงแล้วก็ออก
    และก็เข้าให้ถึงใหม่อีกรอบและก็ออกบ่อยๆ
    ทำซ้ำๆอย่างนี้ครับ
    ถึงจะสามารถเข้าถึงสภาวะนั้นได้นานขึ้น
    ของมันเองครับ ไม่ใช่พยายามที่จะเข้าไปแล้ว
    และพยายามไปรักษาให้นานๆนะครับ
    อย่างนี้อีกนานครับ..

    ส่วนในกำลังสมาธิระดับสูง
    ก็อาศัยความเพียร ความสม่ำเสมอ
    ในการสะสมกำลังสมาธิในระหว่างทาง
    ก่อนเข้าถึงระดับกำลังสูงเช่นกันครับ
    เพราะไม่อย่างนั้น ก็จะไม่รักษาการอยู่
    ในสภาวะอารมย์ระดับสูงได้นานเช่นกันครับ
    เพียงแต่วิธีการนี้ ต้องอาศัยความฟิตพอสมควรครับ
    เพราะจะทำได้ยากกว่า ในกำลังสมาธิระดับอุปจารสมาธิ
    เพราะอุปจารเนี่ย นอนฝึกก็ยังได้ครับ
    แต่ถ้าจะฝึกถอดในกำลังระดับสูงแล้ว
    ถ้ากำลังสมาธิไม่มากพอ ส่วนมากจะ
    กลายเป็นญานสมาหลับครับ
    หรือที่เห็นส่วนมากก็คือ
    จะกลายเป็นน้ำลายไหลออกจากปากแทนจิตครับ..(^_^)

    ที่เล่ามาทั้งหมดนั้น เป็นเพียงระดับพื้นฐานไม่ได้มี
    ความสำคัญอะไรมากครับ และไม่ใช่แนวทางพุทธศาสนาด้วยครับ
    ต้องระวังการหลงให้ดีๆด้วยครับ เพราะผู้ฝึกสมาธิใหม่ๆ
    หรือพึ่งทำได้ใหม่ๆ ทำได้บ้าง ทำไม่ได้บ้าง ที่ยังต้องนั่งหลับตาปี้
    หรือชอบใช้วิชาพิเศษต่างๆแบบนั่งหลับตา
    มักจะไปเผลอยึดเผลอหลงเข้าอย่างคาดไม่ถึง
    กลายเป็นยึดมั่นถือมั่น ว่าตัวว่าตน
    ทั้งๆที่ในระดับใช้งานแบบไม่ยึดไม่หลง
    มันไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมเลยนะครับ
    ถือว่าเป็นระดับที่พึ่งจะเริ่มคลานด้วยซ้ำ
    แต่จะหลงคิดว่าตัวเองเก่งมาก
    ต้องนี้ ถ้าใครเป็นอยู่ต้อง ระมัดระวังให้ดีๆนะครับ


    เพราะว่ายังมีการส่งออกของจิตเราอยู่ ยังเป็นมิจฉาทิฐิได้ครับ
    แต่จะมีประโยชน์ หากรู้จักนำกำลังสมาธิที่ได้มาเพื่อหนุน
    การวิปัสสนาหรือเดินปัญญาเท่านั้นครับ
    เพราะไม่งั้น แม้ทำได้เพียงเล็กน้อย
    ก็อาจจะกลายเป็นคนหลงตัวเองได้อย่างคาดไม่ถึง
    แม้ว่าไม่มีความสามารถทางจิตทำอะไรได้เป็นชิ้น
    เป็นอันก็จะยังหลงตัวเองได้อย่างคาดไม่ถึง
    และจะยึดติดกับสิ่งที่ไปรู้ไปเห็นอย่างถอนตัวได้ยากด้วยครับ.( ^_^ )
    เผลอๆดีไม่ดี เพี้ยนไปเลยก็มีตัวอย่างให้เห็นเยอะแยะครับ...

    ถ้าในระดับใช้งานทั่วไป เราเพียงแต่ส่งตัววิญญานของเรา
    ไปเชื่อมยัง สถานที่ บุคคลๆ อะไรต่างๆที่เราอยากทราบ
    โดยที่ยังควบคุมตัวจิตเราให้อยู่ในร่างกายเราไว้อยู่
    และให้จิตมาสร้างเป็นภาพ อยู่ที่ข้างหน้าตัวเรา
    ให้เราเห็นได้ รู้ได้ แบบลืมตาหรือหลับตาก็ได้ครับ..
    เนื่องจากการส่งจิตออกไปเลย ยังไม่ใช่ทางจริงๆทางพุทธครับ..
    ประเด็นนี้ วิธีการนี้ คุณ tjs น่าจะทราบดี...

    ยกเว้นกรณีที่จะไปสงเคราะห์บุคคลอื่นๆ
    แบบที่ครูบาร์อาจารย์ที่มีชีวิตอยู่หรือครูบาร์อาจารย์
    ทางภพภูมิท่านทำกัน ประเด็นนี้ค่อยว่ากันภายหลังครับ..
    ปล.ประมาณนี้ ครับ (^_^)



    สุดท้ายขอเสริม ที่คุณโลกีย์ฌาณ นำมาลงกรณีที่วิ่งในร่ายกาย
    อย่างนั้น คือ ต้องประมาณว่า เข้าถึงฌาน ๔ ได้ประมาณครั้ง
    ที่ ๓ หรือ ๔ นะครับถึงจะเกิดขึ้นได้ พูดง่ายๆว่า จิตต้องแยกกับ
    กายอย่างเด็ดขาดชั่วคราวและเราต้องมี กำลังสมาธิสะสม
    และกำลังสติที่มากพอจะควบคุมจิตให้อยู่นิ่งๆในกายได้ด้วยครับ

    และการจะวิ่งไปในกาย ปกติเราจะไม่สามารถไปบังคับจิตได้นะครับ
    เพราะว่าจิตจะไปตามเนื้อหาเดิมแท้ที่เราเคยสะสมมา ถ้าวิ่งในร่างกาย
    จนเกิดการระเบิดเสียงดังมากๆๆๆ ได้ จะได้อานิสงค์ไปทางการตัด
    การยึดติดร่างกายครับ แต่ถ้ามันวิ่งซ้อนในจิตเข้าไปเรื่อยๆจนเกิดการ
    ระเบิดจะไปได้ผลทางด้านของเก่าที่เราเคยทำได้มาก่อน
    จะสามารถเกิดขึ้นและใช้งานได้เป็นธรรมดา
    ในเวลาที่เราลืมตาปกติแทนครับ
    กิริยาตรงนี้แล้วแต่บุคคลครับ
    คือวิธีที่๑.ได้การตัดร่างกายแต่ไม่ได้ของเก่าเดินปัญญาต่อได้
    ๒.ได้ของเก่า แต่ไม่ได้เรื่องปัญญา
    ก็สุดแล้วแต่ครับ (^_^)
     
  9. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452
    มันบ่ใช่ของง่ายเน้อ ความเพียรต้องเป็นเลิศ

    จะฝึกถอดจิต ที่สำคัญ อย่าถอดใจสะก่อน

    ถ้าถอดใจสะแล้ว ท่านผู้ชม

    ไปไหนไม้ได้ทั้งนั้น

    ฟันนธงงง!!!!!
     
  10. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ===============

    ระดับที่ถอดจิต ที่มีกำลัง เริ่มจากฌาณ4 ลงไปครับถึง8 ใช้ได้ครับ คือเป็นสภาวะที่พื้นฐานมีกำลัง มากพอ ที่เหลือ ก็อาศัยเทคนิคหรือ ความรอบรู้ในวิธีแยกจิตออกจากกายเท่านั้นเอง
    ฌาณ4 คือเอกคตาจิตละรูปนาม สุขทุกข์ ตัดออกจากรูปนาม ถอนจิตออกจากรูปนาม ถอนจิตออกจากกายได้
    ฌาณ5 คือเอกคตาจิต เสวยอากาศถอนรูปละรูปถอนจิตออกจากอากาศ และจากรูปจากกายหยาบสู่ภายนอกได้
    ฌาณ6 คือเอกคตาจิต เสวยวิญญาณธาตุภายใน ละรูป ถอนรูปถอนกาย พลิกแพลงสู่ละปล่อยวางในอำนาจแห่งกายธาตุและถอนออกจากวิญญาณสภาวะ พลิกแพลงให้จิตมีกำลังถอนออกจากายหยาบหลุดพ้นออกมาจากาย ถอนจิตออกได้
    ฌาณ7 คือเอกคตาจิต เสวยอากิญคือความว่างเปล่า ถอดถอนจากรูป พลิกแพลงกำลังจิตสู่ความว่าง จิตมีกำลังมาก จิตถอนออกจากความว่าง ทั้งปวงและถอนออกจากายหยาบ หนุนส่งให้ถอนจิตออกจากายได้ในที่สุด
    ฌาณ8 คือ เอกคตาจิต เสวยสัญญา คือถอนออกจากรูป และนามส่วนหนึ่ง และเสวยนามส่วนหนึ่งคือสัญญา อาศัยกำลังจากฌาณ 8นี้พลิกแพลงส่งกำลังจิตถอนออกจากสัญญา ทั้งปวงและกายหยาบ หลุดพ้นจากกายหยาบคือถอนจิตออกจากกายหยาบได้นั่นเอง

    จิตที่ถอนออกจากกายได้ แบบเต็มกำลัง ย่อมเกิดอัตภาพใหม่แก่จิต ที่ถอนออกจากกาย รับรู้สภาวะใหม่ที่เกิดขึ้น แม้จะตัดละรูปกายเดิมและนามเดิมทั้งปวง แต่สามารถรู้รูปนามเก่าใหม่ได้เป็นปกติครับ

    เมื่อรู้วิธีถอน สิ่งที่ต้องรู้ต่อวืธีควบคุมจิตขณะไม่มีกายหยาบ และสุดท้ายคือการกลับเข้าร่าง ต้องเรียนรู้วิธี เพราะมีอุปสรรคมากมาย และก่อให้เกิดอันตรายหากไม่รู้ไม่เข้าใจครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2016
  11. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ไม่ต้องถึงฌานหรอก แค่อุปจารสมาธิ ก็ไปได้แล้ว เรียกว่าไปแบบครึ่งกำลัง
     
  12. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    เรากำลังคุยกันในสภาวะที่เรียกว่าถอดจิต คือถอนออก100%
    ผมจึงอธิบายแบบ100%

    ส่วนการถอนจิตออกจากกายแบบไม่100%ผมไม่เรียกการถอดจิต แต่ในทางการปฏิบัติ เราเรียก
    การส่งกระแสจิตออกไป ในทางพระคัมภีร์ หมายถึง มโนมยิทธิ อิทธิวิธี นั่นเอง ให้ทำความเข้าใจตรงนี้ให้ตรงกันก่อนครับ
     
  13. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    แบบท่านนพ เขียนเตือนไว้ เหมาะแล้ว

    ถ้าเราฝึกเพื่อจะเป็นครูศาสดาสอนเขา
    ต้องเรียนรู้ทุกอย่าง ท่องเที่ยวไปในภพต่างๆ

    ก็ไม่ว่ากัน ฝึกไปเลยจะเอาฌานสมาบัติแบบสึกชึ่ง
    ขนาดไหนก็ได้ ยิ่งฝึกยิ่งพิสดาร

    โดยธรรมชาติดวงจิตก็พิสดารอยู่แล้ว

    แต่ถ้าฝึกเพื่อพอเอาไปใช้งาน เพื่อชำระกิเลส
    อาสวะ ก็พึ่งระวัง ทุกอย่างมีคุณและโทษในตัว

    ก็เอาแต่พอดี ก็แล้วกัน ตามความพอใจเจ้าของ...
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    หลวงพ่อฤาษีฯ ฝากไว้ ถาม. หรือหาอ่านในธรรมเทสนาหลวงพี่เล็กได้

    สีลเปนเบื้องต้น. มโนยิทธิเปนท่ามกลาง. วิปัสสนาเปนที่สุดรอบ

    ถอดจิตขั้นอะไร. อย่าไปติดในอดีต. นั่งการันตีหาขั้น ให้ยก
    สู่วิปัสสนา. เที่ยงหรือไม่เที่ยง

    พิจารณาไม่เที่ยง. จะสูญเสีย การถอดจิตไหม. ไม่ แต่จะชำนาญขึ้น
    แบบ. "ทรงตัว". ( พอทรงตัวเปน. ถอดแบบส้มหล่น ไม่เจตนา เจตนา
    หรือ ธรรมเกิด. จะเปนเรื่องของ ธาตุปริวัตร ธาตุวิวัฏ. ความไม่เกษมพ้น
    จากโยคะ ให้ระลึกยกสู่ วิปัสสนา)

    พอชำนาญขึ้น. จะไม่กังวล. หรือ. ต้องไปนับขั้น. มาพิสูจน์ สัจจ

    พอชำนาญมากๆ. อินทรียอย่างไร พละก้อย่างนั้น

    ทำให้มากๆ. ตามเหนความไม่เที่ยง. ดับไม่เหลืออยู่เปนประจำ
    แล้วจะเลิก. คว้าเอาอาสวะมาเปนอาสนะ. พ้นเกิด พ้นตาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2016
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ถอดจิตหมายถึงยังไง แบบที่ว่าจิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัวไหม เช่นว่า ตัวเองนั่ง นอนอยู่บ้าน แต่จิตใจไปนั่นไปโน่น คนติดคุก ตัวอยู่ในคุกในตะราง แต่จิตอยู่ข้างนอก ถอดคิดไปหาลูกหาเมีย หาแฟน ไปเที่ยวนั่นนี่ไหม หรือยังไง
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มาจากเด_ ก็ สังเกต การปรารภวิธีการ ปฏิบัติ ให้ได้ผล ที่เขา
    แสดงวาทะ อุบาย อบรมจิต จิฮับ

    แรกเริ่มคือ มี ศีล ...... ซึ่ง มาจากเด_ ย่ำต๊อกเพียงเท่านี้
    เกินกว่านี้ เขาก็จะ พูดกันว่า ให้ละ "สักกายทิฏฐิ" ซึ่ง หมาย
    ถึง ละตัณหา อุปทาน การยึดมั่นว่าเป็นตน ของตน ในรูปและนาม

    แต่บางคน ปัญญาอินทรีย์อ่อน แทงตลอดได้แค่ ครึ่งกำลัง เขาก็
    หมายเอาที่ รูปขันธ์ ครึ่งเดียวพอ เลยมักพูดกันว่า ให้ละทิ้งกาย
    ด้วยการเกลียดทุกขอันเนื่องจากกาย แล้วแต่คนที่มี ตัณหาจริต นำหน้า

    แล้วค่อย วิปัสสนา ต่อเพื่อให้สุดรอบ "นามรูป" อีกครึ่งหนึ่ง
    ภายหลัง

    แต่คนที ปัญญาอินทรีย์นำหน้า ก็ไม่ว่ากัน หากจะ ซัด สักกายทิฏฐิ
    ที่ นามรูป เข้ามาเลย

    มาจากเด_ ก็เพียงแต่ ละตัณหา อุปทานลง แล้ว ตรึกว่า อนาคต
    นั้นคนนั้นจะทำอะไร จะใส่เสื้อสีอะไร จะเดินไปไหน จะมาหาไหม
    อะไรแบบนี้ ก็จัดว่า ถอดจิต แว้ว ถ้ากำลังเยอะ ก็จะ วางอุบาย
    ทางรูปธรรม นามธรรม เพื่อให้ นามรูปสรรพสัตว์ เกิดพฤติกรรม
    ตามอำนาจจิตของเรา นี่ก็จะเห็น การถอดจิต ได้อีก ฮะเอ่อ

    งง เต็ก ...


    จะงง หากศีล ไม่เคยสัมผัสจริง เมตตา ไม่เคยสัมผัส มันจะเกิด
    พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก กรุ้มรุม ทิฏฐิ พอได้ยินเขาพูดว่า สามารถ
    วางอุบายทางนามธรรม รูปธรรม เพื่อให้ มวลธาตุสรรพสัตว์ เป็นไป
    ตามปราถนา ก็จะ เฮ้ยยยยยย ถามกลับมาแบบ พวกกุญแจขึ้นสมอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2016
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    พร่ำอะไรเยอะแยะ พูดเรื่องถอดจิต บอกวิธีถอดสิ
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    นิวรณ์ 5 นี่ถอดจิตไหม

    ตอนแรกที่นั่งไม่มีความรู้อะไรเลยค่ะ ปรากฎว่านั่งได้นานกว่า ช.ม. มีอยู่ครั้งนึงเหมือนสัปหงก รู้สึกตัวอีกทีก็เห็นหัวตัวเอง และช่วงบ่าจากด้านซ้ายมือ ทั้งที่นั่งตอนเย็นกลับรู้สึกเหมือนกลางวันค่ะ ก็แปลกใจระคนตกใจนิดหน่อย มีความรู้สึกว่ามีตัวตนอีกคน ดูตัวเราที่นั่งสมาธิอยู่
     
  19. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,398
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,633
    จิตจะสามารถถอดได้คือ ฌาน 4 ขึ้นไปเท่านั้น

    ส่วนจิตที่จะสามารถรับรู้เรื่องโลกทิพย์ คือ
    1. จิตเป็นอุปจารสมาธิ หรือก็คือ สภาวะจิตตอนที่กำลังครึ่งหลับครึ่งตื่นนั่นเองครับ
    2. ทรงฌาน 4 ครับ
     
  20. เพ็ชร คมปภ้สษ์

    เพ็ชร คมปภ้สษ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2019
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +11
    ผมมีข้อสงสัยครับ เมิ่อจิตออกจากกาย คือตายนั้น จิตจะไม่มีรูป แล้วจิตหรือตัวเราที่มีความรู้สึกก่อนตายยังเห็นกายที่ไม่ใช่ตัวเราเป็นเพียงสิ่งที่จิตยึดติดอยู่นั้น เมื่อตายจืตหรือตัวเราจะยึดติดอะไรที่จะเป็นรูปร่างหรือไม่ จะเห็นรูปร่างแบบไหน แล้วขั้น5นั้นจะดับไปด้วยไหม ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...